วันเสาร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2557

สัมปทานพลังงานรอบ 21 กับความซับซ้อนซ่อนเงื่อน

สัมปทานพลังงานรอบ 21 กับความซับซ้อนซ่อนเงื่อน

หลายฝ่ายรู้กันดี ตั้งแต่ยึดอำนาจใหม่แล้วว่า คสช.จะเร่งรัดขายสัมปทาน ที่ชงกันไว้เกือบเสร็จทั้งหมดแล้วตั้งแต่สมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์





 การรณรงค์คัดในสื่อสังคมออนไลน์ ก็มีการดำเนินการกันมาโดยตลอดมีการไปคัดค้านที่ กระทรวงพลังงาน 2 ครั้ง วันที่ 2 และ 17 กรกฏาคม 2557 มีการไปยื่นหนังสือคัดค้านที่ทำเนียบรัฐบาล ในวันที่ 16 ตุลาคม 2557 และการไปติดตามผลการประชุม กพช.ในวันที่ 22 ตุลาคม 2557 ซึ่งเป็นวันที่ รมต.พลังงาน และอธิบดีกรมเชื้อเพลิงแถลงข่าว ว่าจะขอมติที่ประชุม ซึ่งพลเอกประยุทธ นายก รมต.นั่งปธ.การประชุม เพื่อเปิดขายสัมปทาน ซึ่งผลการประชุม เมื่อ 11.30 น.วันเดียวกัน คือมีมติให้เปิดสัมปทาน หลังจากนั้น 1 วัน คือ วันที่ 23 ตุลาคม 2557 เวลา 11.00 น.กลุ่มอดีต สว.รสนา ออกมาแถลงข่าวไม่เห็นด้วยกับการเปิดสัมปทาน ทั้งที่ก่อนหน้านี้มีเวลาหลายเดือน หลายวันที่จะดำเนินการได้ กลับไม่มีการทำอะไรกันเลย ทั้งสำนักข่าว ASTV ผู้จัดการ ก็เงียบเสียงไปด้วย วาระซ่อนเร้นดังกล่าวนี้ ไม่ต่างกับพฤติกรรมของพวกเอ็นจีโอ ที่ค้านโครงการต่างๆ ที่มาบตาพุด ระยอง






คนต้นทุนทางสังคมสูง..."ฆ่าช้างเอางา ตัดเศียรพระขาย" ก็ยังคงเป็น..."คนดี้ดีของสังคม"
"แบบนี้ เรียกว่า คนดี" ก่อนอนุมัติให้ขึ้นราคาก๊าซ ก่อนอนุมัติเปิดสัมปทาน พวกท่านหุบปากกันสนิท ทั้งๆที่ ไปชี้ชวนแล้ว ซ้ำๆ...รอให้โรงงานระเบิด ชาวบ้านเดือดร้อนเจ็บตายก่อน เพื่อจะไปนั่งเป็นกรรมการปรึกษา แก้ปัญหา หรือ วิธีเก่าๆเดิมๆ ยังคงใช้ได้ ปัญหาคือปัญญาคนไทยที่ยังไม่สว่าง!!!


บทสรุปสุดท้าย...การคัดค้านสัมปทานคือ การพึ่งพระบารมี ป้องอนาคตคนไทยลูกไทยหลานไทย https://www.facebook.com/sukhon.lek/posts/584800328314884
มายื่นถวายฏีกาในหลวงเรื่องปตท.จากรัฐบาลทหารที่ปล่อยสัปทาน














กฎอัยการศึก - บิ๊กตู่อุ้มสม เปิดสัมปทานพลังงานรอบ 21

โดย ASTVผู้จัดการรายวัน 25 ตุลาคม 2557 06:52 น.

http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9570000122752
การใช้อำนาจปิดปากประชาชนที่เรียกร้องให้ปฏิรูป พลังงานแล้วหันมาเอาใจกลุ่มทุนพลังงาน ทั้งการเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมใหม่ รอบที่ 21  และการปรับขึ้นราคาก๊าซแอลพีจีของรัฐบาลทหารที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) เปิดไฟเขียวอนุมัติ เป็นเรื่องที่ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมายเท่าใดนัก หากย้อนกลับไปต่อจิ๊กซอว์ตั้งแต่คลิปฉาวเรื่อยมาจนถึงการตั้งสภาปฏิรูปแห่ง ชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน
    
       งานนี้ จึงเหมือนตอกย้ำให้รู้กันชัดๆ ไปเลยว่า รัฐบาลทหาร รัฐบาลเลือกตั้ง กลุ่มอำมาตย์ กลุ่มอำนาจใหม่ กลุ่มทุนพลังงาน ที่เกี่ยวโยงไปถึงสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ การต่ออายุสัมปทาน การปรับขึ้นราคาพลังงาน ขุมทรัพย์ปิโตรเลียมในเขตทับซ้อนทางทะเลหรือเจดีเอไทย-กัมพูชา และอะไรอีกสารพัดที่จะตามมานั้น มันเป็นเรื่องสะท้อนว่าผลประโยชน์ต้องมาก่อนเหนือสิ่งอื่นใดล้วนๆ
       ถือเป็นการปฏิรูป ปฏิเลือกเพื่อเครือปตท.และทุนข้ามชาติ เรียบร้อย อยากได้อะไร ขอให้บอก “กพช.บิ๊กตู่”  จะจัดให้
    
       ส่วนประชาชน ไม่เกี่ยว ขาหุ้นปฏิรูปพลังงานไม่เกี่ยว กลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานก็ไม่เกี่ยว ประชาชนนอกจากจะถูกปิดปากห้ามพูดห้ามวิพากษ์วิจารณ์แล้วยังถูกมัดมือมัดเท้า รอให้ผู้มากบารมีในบ้านนี้เมืองนี้บรวมหัวกับโจรใส่สูทปล้นกลางแดดโดยไม่มี ทางเลือกอีกด้วย
       การเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่ 21 ที่ได้รับการอนุมัติในที่ประชุมกพช.เมื่อวันที่ 22 ต.ค. 2557 นั้น นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.กระทรวงพลังงาน อ้างถึงความสำคัญในการจัดหาแหล่งพลังงานในประเทศเพื่อความมั่นคงในอนาคตตาม สูตรสำเร็จ


    
       ตามมาด้วยคำอธิบายจากนายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน ที่เอ่ยอ้างว่า ประเทศไทยต้องนำเข้าพลังงานมูลค่าปีละกว่า 1 ล้านล้านบาท โดยนำเข้าน้ำมันดิบ ประมาณ 85% และก๊าซธรรมชาติประมาณ 15% ของความต้องการใช้ภายในประเทศ และการใช้ยังคงเติบโตต่อเนื่อง จึงจำเป็นที่จะต้องเปิดให้เอกชนเข้ามาสำรวจและผลิตปิโตรเลียมในรอบที่ 21 ซึ่งมีทั้งหมด 29 แปลง
    
       แปลงสัมปทานรอบนี้ ประกอบด้วย แปลงบนบก 23 แปลง ภาคเหนือและภาคกลาง 6 แปลง พื้นที่ 5,458.91 ตารางกิโลเมตร ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 17 แปลง พื้นที่ 49,196.40 ตารางกิโลเมตร และแปลงในทะเลอ่าวไทย จำนวน 6 แปลง พื้นที่ 11,808.20 ตารางกิโลเมตร ซึ่งกรมฯ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา และให้รมว.ลงนามอนุมัติแนวทางการเปิดให้ยื่นสัมปทานแล้ว โดยผู้สนใจยื่นคำขอได้ภายในวันที่ 18 ก.พ. 2558
      







       รองปลัดกระทรวงพลังงาน ยังโอ่ด้วยว่า การเปิดสัมปทานครั้งนี้ หลีกเลี่ยงพื้นที่ลุ่มน้ำชั้น 1A เขตอนุรักษ์และรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยานแห่งชาติและแหล่งท่องเที่ยวสำคัญ และใช้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส (Thailand (III) Plus) ซึ่งเพิ่มผลประโยชน์จากระบบไทยแลนด์ทรีเดิมที่ใช้มาตั้งแต่ปี 2532 คือ การเก็บค่าภาคหลวงในอัตรา 5 - 15 % จากรายได้การขายปิโตรเลียม, เก็บเงินภาษีเงินได้ 50% จากกำไร, การเรียกเก็บเงินผลตอบแทนพิเศษเมื่อมีกำไรหลังคืนทุนแล้ว
    
       นอกจากนี้ ภายใต้ระบบสัมปทานไทยแลนด์ทรีพลัสจะจัดเก็บผลประโยชน์เพิ่มถึง 2 ส่วนสำคัญ คือ การเรียกเก็บค่าธรรมเนียม หรือ Signature Bonus เมื่อมีการลงนามกับเอกชนที่ได้รับสัมปทาน แม้จะสำรวจพบปิโตรเลียมหรือไม่ และการเรียกเก็บผลประโยชน์เพิ่มเติม เมื่อเอกชนสามารถผลิตได้ตามเกณฑ์ที่รัฐกำหนด หรือ Production Bonus ซึ่งหากมีผู้มายื่นขอทุกแปลงที่เปิดให้มีการยื่นขอครั้งนี้จะก่อให้เกิดการ ลงทุนประเทศไม่น้อยกว่า 5,000 ล้านบาท
    
       การอนุมัติเปิดสัมปทานดังกล่าว สะท้อนชัดว่า รัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ไม่ได้ฟังเสียงของภาคประชาชนที่ให้ศึกษาเปลี่ยนแปลงระบบจากการให้สัมปทาน เป็นระบบแบ่งปันผลผลิตแม้แต่น้อย แล้วเหตุใดทำไมไม่ศึกษาเปรียบเทียบให้เห็นชัดๆ ถึงประโยชน์ที่ประเทศชาติและประชาชนจะได้รับระหว่างสองระบบนี้เสียก่อน มิหนำซ้ำ ยังไม่มีคำอธิบายใดๆ ด้วยว่า ทำไมถึงไม่รอให้สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) เข้ามาพิจารณาเรื่องนี้ก่อนที่จะชี้ขาด
    
       ท่านผู้นำอย่าหงุดหงิด หากทำเช่นนี้แล้ว จะมีเสียงครหานินทาตามมาว่า เร่งรีบและงุบงิบสนองความต้องการของกลุ่มทุนพลังงานเป็นที่ตั้ง ไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง และไม่มีความหวังใดๆ หลงเหลืออยู่สำหรับการปฏิรูปพลังงานที่เป็นหัวใจของการปฏิรูปประเทศ คำโฆษณาของรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ และคสช. ที่มุ่งหวังให้ประชาชนอยู่ดีกินดีมีความสงบสุข เป็นเพียงคำลวงหลอกล่อให้ชาวประชามโนกันไปเท่านั้น
    
       ไม่ใช่แค่การเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่ พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะประธาน กพช. ยังไฟเขียวให้ปรับราคาก๊าซแอลพีจีโดยทยอยขึ้นไปตามขั้นบันได โดยให้เหตุผลว่าต้องปรับไปให้ได้ราคาที่แท้จริง (ราคาตลาดโลก) ไม่อย่างนั้นจะบิดเบือนราคากลไกของน้ำมันเชื้อเพลิงหมด
    
       “ต้องยอมรับกันบ้าง ไม่อย่างนั้นมันจะเสียหาย วันหน้าไปไม่ได้ วันนี้ถ้ารัฐบาลดูแลไปเรื่อยๆ อุดหนุนกันหมด วันข้างหน้าประเทศจะไปกันอย่างไร เดินหน้าไม่ได้เลย” พล.อ.ประยุทธ์ ในฐานะประธาน กพช. อธิบายเหตุผล เป็นเหตุผลที่เหมือนดังคำกล่าวอ้างของกลุ่มทุนพลังงานและนอมินีมิผิดเพี้ยน
    
       ทันทีที่ กพช. ไฟเขียวเปิดสัมปทานรอบใหม่ ม.ล.กรณ์กสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน ก็ซัดเปรี้ยงเข้าให้ว่า การให้สัมปทานปิโตรเลียมของไทยตลอด 20 ครั้งที่ผ่านมา มีลักษณะปกปิดซ่อนเร้นผลการประมูล ใครจ่ายเท่าไร สัญญาสัมปทานเป็นอย่างไร รายได้รายจ่ายแต่ละแปลงสัมปทานมากน้อยแค่ไหน ตัวเลขที่นำมากล่าวอ้างว่า รัฐได้ร้อยละ 70 ไม่มีใครรู้นอกจากผู้รับสัมปทานและเจ้าหน้าที่รัฐบางคนเท่านั้น ถามว่าผู้มีอำนาจหรือคณะรัฐมนตรี (ครม.) ที่อนุมัติให้เปิดสัมปทานรอบที่ 21 เคยเห็นรายละเอียดเรื่องเหล่านี้หรือไม่ ถ้าไม่ก็ไม่ควรอนุมัติเปิดสัมปทานรอบที่ 21
    
       ทั้งนี้ ก่อนที่ “กพช.บิ๊กตู่” จะอนุมัติเปิดสัมปทานรอบนี้ และนายณรงค์ชัย จะเร่งต่ออายุสัมปทานปิโตรเลียมแหล่งเอราวัณและบงกช ที่จะหมดอายุประมาณปี พ.ศ. 2565 - 2566 ซึ่งเชฟรอนและปตท.สผ.ถือครองอยู่ให้เสร็จสิ้นภายในปีนี้ มีเรื่องประจวบเหมาะพอดิบพอดีที่ต้องบันทึกไว้ในหน้าประวัติศาสตร์ให้ลูก หลานได้จดจำ
    
       นั่นก็คือ เมื่อวันที่ 20 ต.ค. 2557 สถานทูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย ได้เผยแพร่คลิปวิดีโอนางคริสตี้ เคนนีย์ เอกอัครราชทูตสหรัฐฯ ที่กำลังจะพ้นจากตำแหน่งในเดือนพ.ย.นี้ นำคณะไปเยือนแท่นผลิตน้ำมันและก๊าซฯ ณ แหล่งปลาทอง กลางอ่าวไทยของบริษัทเ ชฟรอน ซึ่งห่างจากชายฝั่งทะเล จ.นครศรีธรรมราช ประมาณ 200 กม. เมื่อวันที่ 15 ต.ค. ที่ผ่านมา
       เฟซบุ๊ก U.S. Embassy Bangkok ของสถานทูตสหรัฐฯ ประจำกรุงเทพฯ ยังอวดโอ่และทวงบุญคุณใหญ่โตด้วยอีกว่า เชฟรอนสนับสนุนการจ้างงานในประเทศไทยกว่า 2 แสนตำแหน่ง และก่อให้เกิดรายได้แก่รัฐบาลไทยรวมแล้วกว่า 9,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือราวๆ 300,000 ล้านบาท ในช่วง 32 ปีที่ผ่านมา แถมยังบริจาคเงินให้ทุนการศึกษาแก่เด็กไทยอีกหลายสิบล้าน
       นั่นเป็นสิ่งที่เชฟรอนบอก แต่ข้อมูลอีกด้านที่ ม.ล.กรณ์กสิวัฒน์ เกษมศรี บอกก็คือ ในความเป็นจริงแล้ว ค่าภาคหลวง ค่าภาษีของรายได้ปิโตรเลียมไทยที่ผู้รับสัมปทานควรได้รับ คือ 3 ล้านล้านบาท เพราะแค่สัมปทานแหล่งปลาทองแหล่งเดียวก็มีมูลค่าถึง 40,000 ล้านบาทต่อปีเข้าไปแล้ว   
    
        “บ่อขุดเจาะน้ำมันแหล่งปลาทอง เป็นพื้นที่ค่อนข้างอุดมสมบูรณ์ มีคอนเซนเทรตอยู่เยอะ ซึ่งก็คือม้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซลที่พวกเราใช้กันอยู่ ดีกว่าน้ำมันเตา โดยแหล่งปลาทองสามารถสูบน้ำมันได้กว่า 9,000 บาร์เรลต่อวัน และก๊าซ 336 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน รวมมูลค่า 40,000 ล้านบาทต่อปีจากทั้งหมด” ม.ล.กรกสิวัฒน์ ระบุ
    
       น่าสงสัยอย่างยิ่ง ระหว่าง 3 แสนล้านบาท แต่สิบเปอร์เซ็นต์ของ 3 ล้านล้านบาท ห่างกันลิบลับเช่นนี้ แล้วชาวประชาจะเชื่อใครดี?
    
       สำหรับยักษ์ใหญ่เชฟรอนจากสหรัฐอเมริกา เป็นผู้รับสัมปทานแหล่งเอราวัณ, ปลาทอง และแหล่งสตูล โดยเป็นผู้ลงทุนต่างชาติด้านพลังงานอันดับหนึ่งในไทย รองลงไปคือยักษ์ใหญ่พลังงานของไทย ปตท.สผ. ในเครือปตท. ซึ่งทั้งเชฟรอนและปตท.สผ.ที่ถือครองสัมปทานแหล่งเอราวัณและบงกชตามลำดับนั้น ทั้งสองแหล่ง มีกำลังการผลิตก๊าซฯ คิดเป็นประมาณร้อยละ 50 ของปริมาณการผลิตก๊าซทั้งประเทศที่ 3.8 พันล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน
    
       จะเรียกว่างานนี้ “ขาใหญ่” กดดันให้ “กพช.บิ๊กตู่” รีบตัดสินใจคงไม่ผิดนัก และเชื่อแน่ว่าคงมาพร้อมเงื่อนไขต้องไม่นำเอา “ระบบแบ่งปันผลผลิต” มาใช้เป็นอันขาด การเปิดสัมปทานรอบที่ 21 จึงใช้ระบบไทยแลนด์ทรีพลัส (Thailand (III) Plus) อย่างที่เห็น และเมื่อเป็นเช่นนี้ก็แน่เสียยิ่งกว่าแช่แป้งว่า จะมีการต่ออายุด้วยระบบสัมปทานแบบเดิม ไม่มีเรื่อง “ระบบแบ่งปันผลผลิต” หรือ “รับจ้างผลิต” ดังที่ภาคประชาชนเรียกร้องให้ต้องระคายเคืองกลุ่มทุนพลังงานเป็นอันขาด โปรดมั่นใจ
    
       แต่การใช้อำนาจบาตรใหญ่เดินหน้าไม่ฟังเสียงใครท่ามกลางข้อสงสัยต่างๆ นาๆ ครานี้ อาจจะเป็นจุดเริ่มต้นของจุดจบรัฐบาลทหารก็อาจเป็นได้ เพราะหลังจาก “กพช.บิ๊กตู่” ไฟเขียวสัมปทานเท่านั้นแหละ กลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงาน ก็ออกโรงแถลงเมื่อวันที่ 23 ต.ค. 2557 พร้อมออกมาเคลื่อนไหวตอบโต้รัฐบาลอย่างแน่นอน ทั้งที่สถานการณ์ตอนนี้ คณะรักษาความสงบเรียบร้อยแห่งชาติ (คสช.) จะยังประกาศใช้กฎอัยการศึก ที่ทหารมีอำนาจเต็มอยู่ก็ตาม
    
       น.ส.รสนา โตสิตระกูล แกนนำกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย และสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ชี้ให้เห็นการหมกเม็ดในการเปิดสัมปทานรอบนี้ว่าเร่งรีบไม่ยอมรอ สปช. พิจารณาก่อน ซ้ำยังบิดเบือนข้อมูลให้ประชาชนเข้าใจผิดว่าแหล่งปิโตรเลียมจะหมดภายใน 8 ปี หากไม่สำรวจเพิ่ม ทั้งที่จริงเป็นเรื่องของแหล่งสัมปทานเดิมคือ แหล่งเอราวัณและบงกชจะหมดอายุสัมปทานลง
    
       ที่สำคัญคือ สัมปทานรอบใหม่นี้มีการเพิ่มแปลงสำรวจเพิ่ม โดยเฉพาะแปลงใหม่ 1/57 ที่ใกล้กับพื้นที่ที่เป็นข้อพิพาทระหว่างไทย-กัมพูชา ซึ่งเป็นที่น่าสังเกตว่าจะเป็นการวางหมากให้ไทยยอมรับเส้นแบ่งเขตที่ยังเป็น ปัญหาข้อพิพาทอยู่หรือไม่ และจงจงใจให้กลุ่มผู้รับสัมปทานเดิมได้รับประโยชน์หรือไม่
    
       แต่ที่ดุเดือดเห็นจะเป็นถ้อยแถลงของ น.ส.บุญยืน ศิริธรรม ประธานสหพันธ์องค์กรผู้บริโภคและกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย ซึ่งนอกจากจะตั้งคำถามกับรัฐบาลพล.อ.ประยุทธ์ ว่า ทำตามสิ่งที่รัฐบาลเดิมวางเอาไว้จนหมดสิ้นทั้งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบที่ 21 และขึ้นราคาแอลพีจี แล้ว ยังเตรียมเคลื่อนไหวโดยไม่หวั่นกฎอัยการศึกด้วย
    
       “...ถ้ายังดื้อดึงไม่รอการปฏิรูปพลังงานจะเห็นการชุมนุมกลับมาอีก ซึ่งครั้งนี้เป็นระหว่างทหารกับคนที่รักชาติ” น.ส.บุญยืน ท้าทายอย่างไม่หวั่นเกรง
    
       "กพช.บิ๊กตู่" เลือกแล้วว่ายืนอยู่ข้างกลุ่มทุนพลังงาน นับจากนี้ขึ้นอยู่กับว่ามวลมหาประชาชนจะยังมโนอยู่ต่อไปอีกหรือไม่ หรือจะตื่นจากฝันหันมามองความจริงกันได้แล้ว

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น