วันเสาร์ที่ 23 พฤษภาคม พ.ศ. 2558

ข้อมูลเก่าเรื่องก๊าซ LPG


ศึกษาเรียนรู้และนำเสนอทางออกโครงสร้างราคาน้ำมัน แก๊ส LPG เพื่อความเป็นธรรม ฉบับปี 2556
 (12/3/2556)

นำเสนอบทความโดย
คุณรุ่งชัย จันทสิงห์ facebook หรือ คุณนินจา-webmaster@GasThai.Com และ
(ที่ปรึกษาคณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา)
คำชี้แจง : เป็นการศึกษา พร้อม บทวิเคราะห์ แบบตรงไปตรงมา ไม่มีธงชี้นำ โดยเจตนาบริสุทธิ์ ไม่สังกัดพรรคการเมืองใด ไม่เลือกฝ่ายหรือสีใด
ไม่มีธุรกิจเป็นเจ้าของปั้มแก๊สทั้ง LPG/NGV/น้ำมัน ไม่ได้ขายรถยนต์ ไม่ได้ขายอุปกรณ์ติดแก๊ส หรือ ไม่มีอู่ติดตั้งแก๊ส LPG/NGV
เรียนมาด้าน IT ทำงานด้าน IT มาตลอด 25 ปี ชอบรถยนต์ และนำรถไปติดแก๊ส แล้วศึกษาทั้งรถติดแก๊สและศึกษาที่มาของแก๊ส โครงสร้างราคา ดดย ไม่มีโพลชี้นำ
การวิเคราะห์ บนพื้นฐาน เอกสาร หลักฐานราชการ ดูจาก มติ ครม. กบง. กพช. เอกสารชี้แจง จากราชการ ที่สามารถพิสูจน์ได้
ด้วยประสบการณ์ ที่อยู่ในวงการสื่อออนไลน์ที่เป็นให้ความรู้เรื่องรถยนต์ติดแก๊ส LPG/NGV ตลอดจนเป็นผู้ทดสอบรถยนต์ใช้แก๊ส LPG/NGV ทั้งยังเป็นผู้ใช้รถยนต์ติดแก๊สเองในชีวิตประจำวัน
และศึกษาข้อมูล ข้อกฏหมาย มาตรฐานความปลอดภัย การติดตั้งจากในประเทศและต่างประเทศ ตลอดจนศึกษาความเป็นมาเป็นไปของโครงสร้างราคาพลังงาน กว่า 8 ปี
@@@โปรดศึกษาและวิเคราะห์ตาม ด้วยสติปัญญา ปราศจากอคติใด@@@

    
คุณรุ่งชัย จันทสิงห์ (นินจา-webmaster@GasThai.Com) บรรยายตั้งแต่นาทีที่ 54 =VS= จับผิด รมต.พลังานหรือ สนพ.กระทรวงพลังงาน ใครพูดจริง กรณี ที่ออกเอกสารเผยแพร่
อาจจะให้ข้อมูลเป็นเท็จ ต่อประชาชน เอกสารแผ่นผับความจริงวันนี้ โดย สนพ.กระทรวงพลังาน ซึ่งขัดแย้งกับ รมต.พลังาน ชี้แจงต่อที่ประชุม วัฒิสภา
เมื่อ 28 พ.ย. 2555 ว่า LPG ภาคปิโตรเคมี ขายที่ 16.20 บาทต่อ กก.โปรด รีบ Downdload เก็บเอาไว้ก่อนคลิปนี้อาจจะถูกลบออกไปก่อน ครับ 


ทำไมราคาน้ำมันประเทศไทย แพงกว่ามาเลเซีย แพงกว่า ราคาตลาดน้ำมันตลาดซื้อขายน้ำมันสำเร็จรูป สิงค์โปร์ 2 เท่า
ราคา บาท : ลิตร  (ข้อมูล ณ 12/3/2013)อิงราคาภาษีภาษีกองทุนกองทุนราคา ณภาษีราคารวมค่าการภาษีมูลค่าเพิ่มราคาขาย
กำหนด ราคาอิงสิงค์โปร์ +ค่าขนส่ง +ค่าประกันภัยสิงค์โปร์สรรพสามิตรบำรุงท้องที่น้ำมัน 1สิ่งแวดล้อมคลังมูลค่าเพิ่มมุลค่าเพิ่มตลาดค่าการตลาดปลีก
เบนซิน 95 ULG 95R ; UNL24.39577.00000.70009.70000.250042.04572.943244.98893.04780.213348.25
เบนซิน 91 ULG 91R ; UNL23.97437.00000.70008.40000.250040.32432.822743.14702.43270.170345.75
เบนซิน GASOHOL 95 E1024.46146.30000.63004.00000.250035.64142.494938.13631.58290.110839.83
เบนซิน GASOHOL 9124.25146.30000.63001.70000.250033.13142.319235.45061.80320.126237.38
เบนซิน GASOHOL 95 E2024.44435.60000.5600-0.40000.250030.45432.131832.58611.86340.130434.58
เบนซิน 95 GASOHOL 95 E8523.51541.05000.1050-10.90000.250014.02040.981415.00187.45630.521922.98
ดีเซล H-DIESEL24.47360.00500.00051.50000.250026.22911.836028.06521.79890.125929.99
FO 600 (1) 2%S19.55301.07180.10720.06000.070020.86191.460322.3223   
FO 1500 (2) 2%S18.88741.02640.10260.06000.070020.14651.410321.5567   
Exchange Rate     29.8981 บาท/US  Ethanol Reference Price  23.36 บาท/ลิตร Biodiesel(B100) Reference Price 28.47 บ/ล
1 บาร์เรล  เท่ากับ 42 แกลลอน  เท่ากับ .61458 ลูกบาศ์กฟุต เท่ากับ 158.987 ลิตร   ที่มา : http://www.eppo.go.th/petro/price/
การยกเลิกน้ำมัน เบนซิน 91 แต่กลับมีขายเบนซิน 95 จุดประสงค์เพื่อบีบให้คนหันไปใช้ เบนซิน GASOHOL ด้วยราคาเบนซิน 91 และแก๊สโซฮอล 95 ราคาไม่ต่างกันกันมากนัก คนจึงอยาก
ใช้ เบนซิน 91 ด้วยเหตุผลจำเป็นเครื่องยนต์รถยนต์รุ่นเก่าๆ รถจักรยานยนต์ เครื่องยนต์เรือ จำต้องใช้ และอัตราสิ้นเปลืองน้อยกว่าน้ำมันแก๊สโซฮอล อีกทั้ง ส่วนเบนซิน 95 ซึ่งมี
ค่าการตลาดที่มากกว่าเบนซิน 91 จูงใจขาย ซึ่งการยกเลิกแต่ ผู้ขายได้ 2 ต่อ โดยอ้าง ว่าส่งเสริมเกษตรกรและส่งเสริมผลังงานทดแทนที่สามารถปลูกพืชพลังานในประเทศ
ลดการนำเข้าน้ำมันดิบ แต่ข้อเท็จจริงเกษตรกรได้รับผลประโยชน์จากโครงการนี้น้อยมาก ผลประโยชน์น่าจะตกกลับกลุ่มทุนผู้ผลิตเอทานอล มากกว่าเกษตรกร

การส่งเสริมน้ำมันแก๊สโซฮอล E85 ที่ต้องนำเงินกองทุนชดเชยถึง 10.90 บาทต่อลิตร ในขณะที่ราคา แอทานอล ลิตรละ 23.36 โดยราคาอิงราคาน้ำมันสำเร็จรูป ณ สิงค์โปร์ ลิตรละ
23.5154 ราคาขายปลีก ลิตรละ 22.98 บาทต่อลิตร สร้างกลไกลราคาเทียม เพื่อจูงใจให้ ค่ายรถยนต์ผลิตรถยนต์เพื่อใช้ เบนซิน E85 ออกมา หากในอานคต มีการผลิตรถยนต์
ออกมาจำนวนมากๆ คนใช้มากขึ้น ความต้องการใช้มากขึ้น จนไม่เพียงพอ แล้วต้องนำเข้าทั้ง
น้ำมันดิบและเอทานอล ซึ่งราคาเท่าๆกับเบนซิน 95 อยู่แล้ว จะเกิดปัญหามากมาย ที่จำต้องนำเงินจากกองทุนน้ำมันมาอุดหนุน บิดเบือนกลไกลการตลาด เป็นภาระกองทุนน้ำมันเพิ่มขึ้น
และจะสร้างปัญหาแบบเดียวกับ โครงสร้างการนำข้า LPG ในทุกวันนี้ ในหลักวิชาการนั้นน้ำมัน เบนซินธรรมาดา จะวิ่งได้ไกลกว่าน้ำมันเบนซินแก๊สโซฮอล สร้างผลกระทบต่อเครื่องยนต์น้อยกว่าและแก๊สโซฮอลทำลายลูกยาง
ท่อยาง โอริง ของเครื่องยนต์ รถยนต์ ที่ไม่ได้ออกแบบมาเพื่อรองรับ แก๊สโซฮอล สรุปความคือ เบนซินธรรมาดา ประหยัดกว่า แก๊สโซฮอล ยิ่งมีเอทานอลผสมมาก ก็จะสิ้นเปลืองมากกว่า และสร้างมลพิษมากกว่า LPG

น้ำมันดีเซล และไบโอดีเซล นั้น ดูจะไม่ประสบความสำเร็จ ดูจากการที่ Biodiesel(B100)
Reference Price 28.47 บ/ล แสดงให้เห็นว่า น้ำมันปาล์ม มีความจำเป็นช่วงราคาน้ำมันดิบแพง ดังนั้นการส่งเสริมเกษตรกรปลูกปาล์ม เพื่อนำมาเป็นพืชพลังาน นั้นหากไม่มี
การควบคุมให้ปริมาณการผลิตหรือการปลูก ให้สมดุลกับความต้องการใช้น้ำมัน ก็จะเกิดปัญหาการขาดแคลนหรือล้นตลาด ดังที่เคยเกิดปรากฏการร์น้ำมันพืชแพงและขาดตลาดมาแล้ว
เพราะนำปาลืมไปทำน้ำมันจนไม่มีน้ำมันพืชทำอาหาร มาถึงวันนี้ ปาล์มล้นตลาด ราคาปาล์มตกต่ำ กว่าที่เคยได้ราคาสูงๆมาก่อน เกษตรกร ที่ปลูกปาลืมเพิ่มขึ้น ออกมาประท้วง คือ
ปัญหาและบทเรียน ของรัฐบาล ทุกยุคทุกสมัย ปัจจุบันปาล์มล้นตลาด ล้นสต๊อค ปัญหาปัจจุบัน (โครงสร้างราคาน้ำมัน B5 หายไปไหน ผู้ผลิตเครื่องยนต์ให้ข้อมูลว่า สามารถได้ได้ B5 (ผสม 5%)หากเกินนี้ เครื่องยนต์ไม่รองรับ

ดังนั้น การส่งเสริมหรือไม่ส่งเสริม การกำหนดโครงสร้างราคา นั้นต้องสร้างความเป็นธรรมกับ
ทุกกลุ่มผู้ใช้น้ำมันทุกๆกลุ่ม โดยไม่อ้างว่า น้ำมันนั้นคนรวยใช้ น้ำมันนี้คนจนใช้ หรือ น้ำมันนั้นเพื่อการพาณิชณ์ หรือ เพื่อการเกษตร และ สร้างสมดุลระหว่างน้ำมันจาก
น้ำมันดิบ และ น้ำมันจาก พืชพลังงาน ต้องมีการประกันราคาพืชผลพลังงาน ให้ความรู้เกษตรกร ไม่ใช้การตั้งราคาพืชพลังงานเพียงเพื่อใช้หาเสียงจากโครงการประชานิยมเป็น
หลัก ต้องมองระยะยาว การเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันนั้น ต้องเป็นธรรม สมดุล ไม่ผลักภาระไปให้กลุ่มใด กลุ่มหนึ่ง หรือ อุ้มบางกลุ่ม จนมากเกินไป เงินกองทุนน้ำมันนั้น เอา
ไว้รักษาเสถียรภาพราคาน้ำมัน ยามเกิดวิกฤตด้านพลังานจริงๆ เช่นเกิดสงคราม หรือภัยธรรมชาติ ไม่แหล่งน้ำมันส่งขายไม่ได้
ค่อยเอามาใช้ ยามปกติ สามารถใช้เครื่องมืออื่นๆ ควบคุมราคา เช่น กองทุนน้ำมัน ภาษีสรรพสามิตร ค่าการตลาด ควบคุมได้

ราคา LPG ที่ว่าอุ้ม 330 US ต่อ ตัน นั้นราคาจริงๆ ขายเท่าไหร่ อุ้มจริงไหม?
ราคา บาท : กโลกรัม (ข้อมูล ณ 12/3/2013)อิงราคาภาษีภาษีกองทุนกองทุนราคา ณภาษีราคารวมกองทุนค่าการภาษีมูลค่าเพิ่มราคาขาย
1 กก.= 1.8 ลิตรสิงค์โปร์สรรพสามิตรบำรุงท้องที่น้ำมัน 1สิ่งแวดล้อมโรงแยกมูลค่าเพิ่มมุลค่าเพิ่มน้ำมัน 2ตลาดค่าการตลาดปลีก
LPG (ครัวเรือน COOKING)9.97052.17000.21701.32880.000013.68630.958014.6443 3.25660.228018.13
LPG  (รถยนต์ หรือ ขนส่ง AUTOBILE)9.97052.17000.21701.32880.000013.68630.958014.64433.03743.25660.440621.38
LPG (อุตสาหกรรม INDUSTRY)9.97052.17000.21701.32880.000013.68630.958014.644311.22003.25661.013430.13
1 บาร์เรล  เท่ากับ 42 แกลลอน  เท่ากับ .61458 ลูกบาศ์กฟุต เท่ากับ 158.987 ลิตร   ที่มา : http://www.eppo.go.th/petro/price/ 



ภาครัวเรือน ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม รับภาระภาษีทุกอย่าง เงินเข้ากองทุน ทุกภาค แม้แต่ ภาครัวเรือน ยังต้องนำเงินกองทุนน้ำมัน ซึ่งต่างจาก ภาคปิโตรเคมี
ถ้าสมมุติว่า แก๊สในประเทศใช้จนหมดเลย ถ้าต้องน้ำเข้า 100% โครงสร้างของปิโตรเคมี แบบนี้ ไม่ทราบว่า ท่านจะไปเจรจาของซื้อแก๊สจากตลาดโลกแบบนี้ได้ไหม? 
ที่มาเอกสาร : เอกสารชี้แจงโดย สนพ. ต่อ คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556



ที่มาเอกสาร : เอกสารชี้แจงโดย สนพ. ต่อ คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556

ใครใช้ LPG มากน้อยแค่ไหน ใครสร้างภาระการนำเข้า 
ปริมาณการใช้ การผลิต LPG  ปี 25551000 ตันร้อย ละ
     TOTAL  SUPPLY               ปริมาณการผลิต7,779100.0
           - PRODUCTION            6,04977.8
                   GSP             จากแหล่งก๊าซอ่าวไทย4,07852.4
                   REFINERY        จากโรงกลั่นน้ำมัน1,97125.3
                   OTHERS            
           - IMPORT                นำเข้า1,73022.2
     TOTAL  (CONSUMPTION+EXPORT)   7,396 
           - CONSUMPTION           ความต้องการใช้7,386100.0
                   COOKING          ภาคครัวเรือน3,04741.3
                   INDUSTRY         ภาคอุตสาหกรรม6148.3
                   AUTOMOBILE  ยานยนต์ ภาคขนส่ง1,06114.4
                   FEEDSTOCK        ภาคปิโตรเคมี1,61321.8
                  OWN USED           ภาคปิโตรเคมี1,05114.2
                     - FEEDSTOCK * 94212.7
                     - ENERGY      1101.5
           - EXPORT                10 
 BALANCE (SUPPLY-DEMAND)           383 
                   FEEDSTOCK        ภาคปิโตรเคมี1,61321.8
 1,05114.2
รวมใช้             FEEDSTOCK        ภาคปิโตรเคมี2,66536.1
ที่มา :  http://www.eppo.go.th/info/stat/T02_04_02.xls 
Source          : Department of Energy Business  
Complied by : The Energy Policy  and Planning Office (EPPO)
Remarks       :  Including own used as feedstock of IRPC and PTTGC


มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551 อุ้มปิโตรเคมี หรือไม่? 
LPG ในประเทศมาจาก 3 ส่วน คือ
1. มาจากแหล่งแก๊สในประเทศจากอ่าวไทย 53%
2. ผลพลอยได้ จากการขบวนการกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่น 25%
3. นำเข้าในรูปแบบโพรเพน และบิวเทน 22%
LPG มีใช้ในกลุ่มใดบ้าง มีคนใช้ 2 กลุ่ม คือ
1. ภาคประชาชน ใช้เพื่อลดค่าค่าใช้จ่าย ลดค่าครองชีพ
1.1. ภาคครัวเรือน ใช้เป็นเชื้อเพลิง หุงต้ม แทนฟืน ถ่าย ลดการตัดไม้ทำลายป่า คนไทย 65 ล้านคนใช้ 41%
1.2. ภาคขนส่ง ใชเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์ แทนน้ำมัน (ลดการนำเข้าน้ำมันดิบ ลดขาดดุลการค้า มีรถใช้ 1.5 ล้านคัน) 15%

2. ภาคนักลงทุน หรือ กลุมทุน ใช้เพื่อสร้างกำไร
2.1. ภาคอุตสาหกรรม ใช้เป็นเชื้อเพลิงให้พลังาน 8%
2.2. ภาคปิโตรเคมี ใช้เป็นทั้งพลังานในโรงงานและวัตถุดิบสำหรับปิโตรเคมี 36%
ข้อสังเกตุ เมื่อมิติ ครม. อุ้มกลุ่มทุน ซึ่ง ปตท.สมัยก่อน คือ การปิโตรเลี่ยมแห่งประเทศไทย เป็นองค์กรภาครัฐ จุดประสงค์ คือ สำรวจและผลิตพลังานเพื่อประชาชน โดยรับ
เงินทุนจากภาษีอาการของคนไทยไปดำเนิการ จัดหาพลังานเพื่อคนไทย ดังคำขวัญ ที่ว่า ปตท พลังงานไทย เพื่อไทย หลังจากมีการเข้ามาหาผลประโยชน์ของกลุ่มทุน เพราะมีหุ้นบางส่วน
ขายในตลาดหลักทรัพย์ ปัจจุบัน ปตท. นั้น กระทรวงการคลังถือหุ้น 51% ยังคงเป็นรัฐวิสาหกิจ แต่การบริหารงานแบบเอกชน ถูกมองว่า หลังจากเข้าตลาดหุ้นแล้วมีพฤติกรรมมุ่ง
แสวงหากำไรเพื่อตอบสนองนักลงทุนเป็นเรื่องใหญ่ ประชาชนเป็นเรื่องรอง ปตท.พยายามแตกย่อยบริษัทลูกออกเป็นเป็นร้อยบริษัท
อ้างเพื่อความคล่องตัวตามสายงานอื่นๆ เพื่อขยายทำธุรกิจอื่นๆ ทำให้ยากต่อการตรวจสอบ และ ทำให้งบการเงิน
แสดงต่อตลาดหลัหทรัพย์น้อยกว่าเป็นจริง ซึ่ง กำไร กระจายอยู่ตาม บริษัทย่อยๆ ที่ แตกออกไป ทำให้ รัฐโดยกระทรวงการคลัง ควรได้รับเงินปันผลน้อยกว่าความเป็นจริง ที่ควรจะได้รับ จากรายได้มหาศาล
และที่สำคุญ บอร์ด ผู้บริหาร บางยุคกลับกลายเป็น ข้าราชการ กระทรวงพลังงาน และอธิบดีกระทรวงอื่น ที่เกี่ยวข้องที่จะต้อง คอยตรวจสอบ โดยมี นักการเมือง
มานั่งเป็นบอร์ดบริกหาร แล้วประชาชนจะพึ่งใคร ตรวจสอบ และใครคอยกำกับดูแล องค์กร นี้ ของชาติ
ที่มา :http://www.settrade.com/C04_04_stock_boardofdirector_p1.jsp?txtSymbol=PTT&selectPage=4
และที่สำคัญ แหล่งพลังงานโดยเฉพาะแก๊สนั้น ขุดมาจากอ่าวไทยซึ่งเป็นทรัพยากรธรรมชาติของคนไทยต้องได้รับ
ผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรมในฐานะเจ้าของประเทศร่วมกัน แต่มิติ ครม. นั้น แสดงให้เห็นว่า อุ้มกลุ่มทุนมากเกินไป ดังจะเห็นการออกมิติ ว่า ให้แก๊สที่นำมาจากอ่าวไทยนั้น ให้ภาครัวเรือนและปิโตรเคมี ใช้ก่อน
เหลือแล้วค่อยให้ ภาคขนส่ง และภาคอุตสาหกรรม ใช้ต่อ หากไม่พอนำเข้า แล้วให้ ภาคครัวเรือ ชนส่ง อุตสาหกรรม รับภาระการนำเข้า โดยนำเงินเข้ากองทุนน้ำมัน หากไม่พอไปเก็บเพิ่ม
จาก กลุ่มผู้ใช้น้ำมันทุกชนิด โดยเฉพาะ กลุ่มผู้ใช้เบนซิน 91 และ 95 มติแบบนี้ ไม่น่าจะออกมาจาก ครม. ที่ประชาชนเลือกตั้งมาเลยครับ แล้วใช้สื่อบิดเบือนข้อเท็จจริง ว่า ที่แกสขาด
เพราะรถยนต์ใช้มาก ใช้ผิดประเภท? เอาไม้สักไปทำฝืน แต่ข้อเท็จจริงนั้นไม่จริงดังกล่าวหา ถึงแม้ปิโตรเคมี จะนำไม้สักไปทำเฟอร์นิเจอร์สร้างมูลค่าเพิ่ม 30-40 เท่ากำไรมหาศาล แต่
กลุ่มปิโตรเคมี เอาเปรียบประชาชน คือ ไม่เสียภาษีสรรพสามิตร ไม่เสียภาษีเทศบาล ไม่มีเงินเข้ากองทุนมาตลอด (พึ่งจะนำเข้าแค่ กก.ละ 1 บาท เริ่ม 13 ม.ค.55)นี้เอง เปรียบเสมืน 
ขออนุญาตคำบรรยายแบบชาวบ้านฟังเข้าใจ ของ นาวาอากาศเอกวินัย เสวกวิ ที่ปรึกษาอนุกรรมาธิการพลังงาน มาอธบายง่ายๆ
พ่อหุงข้าวด้วยหม้อหุงข้าว มี 1 ใบ (หมายถึงแก๊สทั้งหมดในประเทศ มี 100%) พ่อ (ปตท.) ตักให้ลูก (กลุ่มปิโตรเคมีในเครือ ปตท.) กินก่อน หลังจากนั้น พ่อตักให้เจ้าของบ้าน(ประชาชน)กินทีหลัง แล้วถ้าข้าวไม่พอกิน
ให้ไปซื้อร้านค้ามาเพิ่ม (หากนำเข้า LPG มาจาก ต่างประเทศ เพื่อให้เจ้าของบ้าน) ให้ประชาชนรับภาระไป ซ้ำร้ายยังพยายามจะลอยตัวราคาตามตลาดโลก(โลภ) ทั้งหมด ทั้งๆที่นำเข้าแค่ 20%

ความเป็นมาตอกย้ำว่า ครม. ทุกยุค ทุกสมัย อุ้ม ภาคปิโตรเคมี 
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 3/2551 (ครั้งที่ 122) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมวิเทศสโมสร ส่วนที่ 2 กระทรวงการต่างประเทศ
ที่มา :http://www.eppo.go.th/nepc/kpc/kpc-122.htm 
เรื่องที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
7. การแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG ประกอบด้วยแนวทางต่างๆ ดังนี้
7.1 มาตรการด้านราคา
7.1.1 การแก้ไขปัญหาในระยะสั้น จำเป็นจะต้องปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ให้สะท้อนราคาที่แท้จริงมากขึ้น โดยมีหลักการกำหนดหลักการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ให้สอดคล้องกับ
มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551
 คือ ปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG เฉพาะในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม โดยหลักการจัดสรรการผลิตก๊าซ LPG ในประเทศ จะถูกจัดสรรไปให้
กับภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเป็นลำดับแรก 
และจัดสรรให้ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ หากปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรให้กับภาคครัวเรือน
และปิโตรเคมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมให้มีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศมารองรับกับความต้องการใช้ในส่วนที่ขาด
การกำหนดส่วนต่างราคาในภาคครัวเรือนกับภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ที่ประมาณ 6.00 บาท/กิโลกรัม หรือ 3.24 บาท/ลิตร ใช้หลักการคำนวณส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG ณ
โรงกลั่น (10.9960 บาท/กิโลกรัม) กับต้นทุนก๊าซ LPG ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม (24.5000 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งคำนวณได้จากสัดส่วนของมูลค่าของยอดปริมาณก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศที่เหลือจากการใช้ในภาคครัวเรือนและปิ
โตรเคมีและมูลค่าของปริมาณก๊าซ LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศกับปริมาณการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม 
ปริมาณการใช้ การผลิต LPG ปี 2555
ที่มา : http://www.eppo.go.th/info/stat/T02_04_02.xls
Source : Department of Energy Business
Complied by : The Energy Policy and Planning Office (EPPO)
Remarks : Including own used as feedstock of IRPC and PTTGC

LPG ใช้มาตั้งแต่ 2528 โดย ครังเรือน นำมาใช้หุงต้ม รถยนต์นำมาเป็นเชื้อเพลิง อุตสาหกรรม ใช้เป็นเชื้อเพลิง
ส่วนปิโตรเคมี ใช้ 2535 ใครใช้ผิดประเภท เอาอะไรมาวัดว่าใครใช้ผิดประเภท?

Demand and Supply of LPG,  Propane and Butane     
UNIT : 1,000 TONS    
                            
DESCRIPTION198619871988198919901991199219931994199519961997199819992000200120022003200420052006200720082009201020112012
TOTAL  SUPPLY                 6396777518521,0071,0851,2731,4781,4551,7432,1102,5132,4172,6923,0113,4283,4343,6073,8214,1774,1594,4694,8075,2216,0086,8597,779
PRODUCTION  การผลิต LPG5825546054777279811,2721,4341,3691,7022,0312,5112,4152,6923,0113,4283,4343,6073,8184,1774,1594,4694,3554,4674,4165,4226,049
GSP  จากแหล่งก๊าซอ่าวไทย4454054382875207789651,0439159781,0701,1701,1861,2321,4011,7851,8501,9181,9602,3972,3572,6672,6642,6952,6763,4284,078
 REFINERY โรงกลั้นน้ำมัน1371501681902072033073914556738881,0029241,0831,2831,4801,4211,4781,6501,5811,5851,5671,6881,7701,7301,9941,971
OTHERS                   52733403053773271641632112081992182363210  
 IMPORT นำเข้า5712314637528010324485417922     3   4527531,5911,4371,730
 TOTAL DEMAND                 6376807568499279961,2291,3511,4391,6392,0312,3682,3722,6632,9543,3393,3103,5053,6624,0474,0944,3934,8105,2235,9686,9067,396
CONSUMPTION  ปริมาณการใช้6376807568499279961,1971,3041,4241,5381,8341,8961,9011,9362,2842,5692,6242,7352,7723,0993,5184,1164,7885,2085,9436,8907,386
COOKING   ครัวเรือน3884595826667177177878649531,0561,1711,2251,1301,2061,3481,4301,4681,5021,5131,6041,7211,8842,1242,2312,4352,6563,047
INDUSTRY  อุตสาหกรรม62717995108125156176206240268281272318319335399435450459521611665593778718614
AUTOMOBILE   ขนส่ง187150968810215416916013912813411293911622482292102253034595727766666809201,061
 FEEDSTOCK  ปิโตรเคมี      851031261142602784063224555565285885847116987987591,0561,4822,1131,613
OWN USED ปิโตรเคมี                   221192514666625674831,051
FEEDSTOCK ปิโตรเคมี                   2269170335422354353942
 ENERGY ปิโตรเคมี                    4981130240213131110
 EXPORT                      3247151011974724727276707706867708909485762782115251610
 BALANCE (SUPPLY-DEMAND)           2-3-538188451261610480145452957891241021591306576-2-240-47383
กลุ่มปิโตรเคมี ได้ก่อตั้งโรงงานและเริ่มการผลิต โดยการนำ LPG ไปเป็นวัตถุดิบ และพลังงาน ตั้งแต่ ปี 1992 (2535) และมีการเติบโตแบบก้าวกระโดด อย่างมาก โดยบริษัทส่วนใหญ่เป็นบริษัทลูกของ ปตท.
ที่มา : ข้อมูลอ้างอิงจากตาราง http://www.eppo.go.th/info/stat/T02_04_02-2.xls
E P P O D O C Energy Forecast and Information Technology Center Energy Policy and Planning Office Ministry of Energy, Thailand Revision : 03/12/2013 17:27:17

ที่มา : ข้อมูลอ้างอิงประกอบงบการเงิน ปตท.2555 ไฟล์ notes.doc หน้า 76: Download งบการเงิน ปตท.2555 

รัฐอุ้ม ภาคปิโตรเคมี และกลุ่มปิโตรเคมี เป็น บริษัท ลูกของ ปตท. จริงหรือไม่ ?




ทำไม LPG ภาคปิโตรเคมี จึงได้รับการยกเว้นเสียภาษี ? ทั้งๆที่ใช้ปริมาณ มากเกือบเท่าๆกับ ภาคครัวเรือน
ตอกย้ำว่า ภาคปิโตรเคมี ไม่ได้นำเงินเข้ากระทรวการคลังในรูปแบบ ภาษี สรรพสามิตร ภาษีเทสบาล กองทุนอนุรักษ์สิ่งแวดล้อมเลย เลย นอกจากเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม (โดยผู้ซื้อจ่าย)
และ นำเงินเข้ากองทุนน้ำมันเพียง 1 บาทต่อ กก. และพึ่งจะนำเข้า ตั้งแต่ 13 มกราคม 2555 นี้เอง
ที่มา : เอกสารแผ่นผับความจริงวันนี้ โดย สนพ.กระทรวงพลังาน



ที่มาเอกสาร : เอกสารชี้แจงโดย สนพ. ต่อ คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 19 ธันวาคม 2556
รายงานผลกระกอบการ งบการเงินสิ้นปี 2555 ของ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) PTTGC ที่นำเสนอต่อตลาดหลักทรัพย์ สิ้นปี 2555 หน้า 62 เขียนเอาไว้ว่า 
สัญญาซื้อขายวัตถุดิบและก๊าซเชื้อเพลิง บริษัทมีสัญญาซื้อขายก๊าซแอลพีจีกับผู้ถือหุ้นรายใหญ่ โดยตามสัญญากำหนดราคาขายอ้างอิงจากราคาเม็ดพลาสติก
โพลิโพรพิลีน สัญญามีระยะเวลา 15 ปี นับจากวันที่ที่มีผลบังคับตามที่ระบุไว้ในสัญญา และจะมีผลสิ้นสุดในเดือนพฤษภาคม 2564
 

ที่มา:ข้อมูลอ้างอิงประกอบงบการเงิน ปตท.2555 ไฟล์ notes.doc หน้า 62-63 download งบการเงิน PTTGC
ข้อสังเกตุ แสดงให้เห็นว่า สัญญาดังกล่าว เริ่มมีอายุของสัญญา เมื่อ พฤษภาคม 2549 ในรัฐบาลยุคนั้น และน่าจะชี้ให้เห็นว่า มติ ครม. 4 ตุลาคม 2554
ของรัฐบาลชุดปัจจุบัน น่าจะออกนโยบายที่น่าชวนให้เชื่อว่า สนองตอบรับ ต่อสัญญา ที่ทำไว้ระหว่าง ปตท และ ปตทโกบอลเคมีคอล หรือ ชี้ให้เห็นว่า มิติ ครม. อุ้ม
กลุ่มทุน ปตท. และ ปตท.โกบอลเคมีคอล และ กลุ่ม ปิโตรเคมี ในเครือ มากกว่า เห็นประโยชน์ของประชาชน
ที่มา:ข้อมูลอ้างอิงประกอบงบการเงิน PTTGC ปี 2555 ไฟล์ FINANCIAL_STATEMENTS.xls download งบการเงิน PTTGC
สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีกำไรสุทธิ ถึง 34,448,873,213 บาท
ในขณะ ปตท. บริษัมแม่ งบการเงินสำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธันวาคม 2555 มีกำไรสุทธิ เพียง 125,615,950,258 บาท
ที่มา:ข้อมูลอ้างอิงประกอบงบการเงิน PTT ปี 2555 ไฟล์ FINANCIAL_STATEMENTS.xls download งบการเงิน PTT
ตอกย้ำว่า ครม. ทุกยุค ทุกสมัย อุ้ม ภาคปิโตรเคมี 
มติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ที่ 3/2551 (ครั้งที่ 122) เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤศจิกายน พ.ศ. 2551
เวลา 09.30 น. ณ ห้องประชุมวิเทศสโมสร ส่วนที่ 2 กระทรวงการต่างประเทศ
ที่มา :http://www.eppo.go.th/nepc/kpc/kpc-122.htm 
เรื่องที่ 2 แนวทางการแก้ไขปัญหาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG)
7. การแก้ไขปัญหาก๊าซ LPG ประกอบด้วยแนวทางต่างๆ ดังนี้
7.1 มาตรการด้านราคา
7.1.1 การแก้ไขปัญหาในระยะสั้น จำเป็นจะต้องปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ให้สะท้อนราคาที่แท้จริงมากขึ้น โดยมีหลักการกำหนดหลักการปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG ให้สอดคล้องกับ
มติ ครม. เมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2551
 คือ ปรับขึ้นราคาก๊าซ LPG เฉพาะในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม โดยหลักการจัดสรรการผลิตก๊าซ LPG ในประเทศ จะถูกจัดสรรไปให้
กับภาคครัวเรือนและปิโตรเคมีเป็นลำดับแรก 
และจัดสรรให้ภาคขนส่งและอุตสาหกรรมเป็นลำดับต่อไป ทั้งนี้ หากปริมาณการผลิตก๊าซ LPG ที่เหลือจากการจัดสรรให้กับภาคครัวเรือน
และปิโตรเคมีไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรมให้มีการนำเข้าก๊าซ LPG จากต่างประเทศมารองรับกับความต้องการใช้ในส่วนที่ขาด
การกำหนดส่วนต่างราคาในภาคครัวเรือนกับภาคขนส่งและอุตสาหกรรม ที่ประมาณ 6.00 บาท/กิโลกรัม หรือ 3.24 บาท/ลิตร ใช้หลักการคำนวณส่วนต่างระหว่างราคาก๊าซ LPG ณ
โรงกลั่น (10.9960 บาท/กิโลกรัม) กับต้นทุนก๊าซ LPG ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม (24.5000 บาท/กิโลกรัม) ซึ่งคำนวณได้จากสัดส่วนของมูลค่าของยอดปริมาณก๊าซ LPG ที่ผลิตได้ในประเทศที่เหลือจากการใช้ในภาคครัวเรือนและปิ
โตรเคมีและมูลค่าของปริมาณก๊าซ LPG ที่นำเข้าจากต่างประเทศกับปริมาณการใช้ในภาคขนส่งและอุตสาหกรรม




ที่มาเอกสาร : เอกสารชี้แจงโดย สนพ. ต่อ คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556



ที่มา : ที่มาเอกสาร : เอกสารชี้แจงโดย สถาบันบริหารกองทุนพลังาน (กองทุนน้ำมัน) ต่อ คณะอนุกรรมาธิการ
พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556

FEEDSTOCK หรือ LPG ที่ใช้ใน ภาคปิโตรเคมี 2,665 พันตัน หรือ 2,665 ล้านกิโลกรัม คิดเป็น 36.1 % ในปี 2555 แต่ยอดนำส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมัน เพียง 1,383 พันล้านบาทเศษ
แสดงให้เห็นถึง ความไม่โปร่งใสและแสดงให้เห็นว่า เป็นผู้ใช้ปริมาณมากกว่า แต่กลับ นำเงินเข้ากองทุน เพียงเท่านี้ น้อยกว่าภาคอื่นๆ ทั้งยังพึ่งจะนำเข้ากองทุนเพียง 1 บาทตอ กก.
ตั้งแต่ 13 มกราคม 2555-31 ธันวาคม 2555 นี้เอง ก่อนหน้านี้ ปิโตรเคมี ซื้อ LPG กก.ละ 16.20 บาท / กก . ไม่มีการนำเข้า เงินกองทุนน้ำมันมาก่อนเลย
อ้างอิง : รายงานเสวนา 10 ก.ย. 52 การสัมมนาเรื่อง ก๊าซธรรมชาติของไทย ใครได้ประโยชน์ โดย คณะกรรมาธิการศึกษา ตรวจสอบเรื่องการทุจริตและเสริมสร้างธรรมาภิบาล
วุฒิสภา วันพฤหัสบดีที่ ๑๐ กันยาย ๒๕๕๒ เวลา ๐๙.๐๐-๑๔.๓๐ นาฬิกา ณ ห้องรับรอง ๑ - ๒ ชั้น ๓ อาคารรัฐสภา ๒ สำนักงานเลขาธิการวุฒิสภา โดยมี คุณเทวินทร์ วงศ์วานิช รอง
กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลยุทธ์และพัฒนาองค์กร บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) สมัยนั้นเป็นคนตอบคำถามคณกรรมาธิการ Click ดูรายงาน





จับผิด ใครให้ข้อมูลเท็จ ระหว่าง รมต.พลังงาน หรือ สนพ.กระทรวงพลังงาน ที่ออกเอกสารเผยแพร่
อันเป็นเท็จ โดยให้ข้อมูลเท็จต่อประชาชน เอกสารแผ่นผับความจริงวันนี้ 
โดย สนพ.กระทรวงพลังาน ซึ่งขัดแย้งกับ รมต.พลังาน ชี้แจงต่อที่ประชุม วัฒิสภา
เมื่อ 28 พ.ย. 2555 ว่า LPG ภาคปิโตรเคมี ขายที่ 16.20 บาทต่อ กก.


ผิดไหม? ถ้าข้าราชการในกระทรวงพลังงานจะไปนั่งบริหารบริษัทเอกชนด้านพลังงานและปิโตรเคมี ?

@@@ ไม่ผิดกฏหมาย แต่ไม่สง่างาม ประชาชนมองว่า ท่านอาจจะมีผลประโยชน์ทับซ้อนในการดูแล โครงสร้างราคาพลังาน แก๊ส LPG โดยเฉพาะ ราคา LPG ภาคปิโตรเคมี ที่เป็นอยู่ในขณะนี้
เพราะผลตอบแทนเงินเดือนราชการน้อยกว่า ผลตอบแทนจากเบี้ยประชุมในตำแหน่งกรรมการ บริษัทเอกชนที่ ทำธุรกิจด้านพลังานกับรัฐ ที่ผ่านมาสามารถพิสูจน์การทำหน้าที่
กำกับดูผลประโยชน์ของชาติว่า ท่านเหล่านั้น สามารถจะควบคุมดูแลไปทิศทางใด ที่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนการผลิต ซึ่งระบบแบบนี้ทำให้ขาดการตรวจสอบ และควบคุม ผล
ประโยชน์ทับซ้อนระหว่างตำแหน่งข้าราชการกับตำแหน่งกรรมการบริษัทเอกชนด้านพลังงานที่จะต้องกำกับดูแล จริงอยู่ท่านอาจจะให้เหตุผลว่าท่านไปนั่งในฐานนะผู้มีความรู้ด้านพลังงาน
ท่านไปนั่งในโควต้า กระทรวงการคลัง ถ้าหากเลือกได้ นักวิชากการ นักบริหาร มืออาชีพ ที่ได้รับการคัดสรรคโดยกระบวนการที่โปร่งใส และเขาเหล่านั้นไม่มีส่วนได้ส่วนเสีย
ในธุรกิจพลังงาน หรือ ไม่มีอำนาจหน้าที่ทับซ้อน จะดีกว่าไหม ?@@@ ขอยกตัวอย่าง ถ้าเจ้าของโรงงานผลิตอาหารกระป๋อง ไปนั่ง เป็น ประธาน อย. ที่มีหน้าที่ให้ ใบอนุญาตแบบนี้ เหมาะสมไหม?

รายชื่อผู้บริหารระดับสูงกระทรวงพลังงาน (มี.ค.2556) 
ที่มา: www.energy.go.th
รายชื่อผู้บริหารสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) 
ที่มา:www.eppo.go.th
รายชื่อกรรมการ PTT - บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)(มี.ค.2556) 
รายชื่อกรรมการ PTTGC - บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน)(มี.ค.2556) 
รายชื่อกรรมการ PTTEP - บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลี่ยมจำกัด (มหาชน)(มี.ค.2556) 
ที่มา : ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย www.settrade.com
Click ดูรายนามข้าราชการกระทรวงพลังงาน และตำแหน่งกรรมการในบริษัทพลังงานเอกชน และบริษัทปิโตรเคมี

สนพ. ออกเอกสารฉบับนี้ออกมาเพื่อ แก้ข้อกล่าวหาของ เล่ม สคส.2556

















ที่มา :
1. ภาพบันทึกการประชุมและรายละเอียดข้อมูล 

2. Download บันทึกการประชุม 6/2/2556 เรื่องโครงสร้างราคา LPG
คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา

สรุปได้ว่า เอกสารแผ่นพับของ สนพ.ออกมาภายหลังคำชี้แจงของ รมต.และใน
คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา
เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556












ยอดการนำเข้า ไม่โปร่งใส ยอดที่แจ้ง กรมศุลกากร น้อยกว่า ที่ กรมธุรกิจพลังาน ให้ข้อมูลต่อคณะอนุกรรมาธิการ
พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556
กองทุนน้ำมัน ยืดหลักการอย่างไรในการให้เงินชดเชย ???
1. ชดเชยให้ผู้นำเข้า เฉพาะ ปตท. เท่านั้น
2. ยึดรายงานจาก กรมธุรกิจพลังาน
3. อิงราคา ตลาดโลก บวกค่าขนส่ง บวกค่าดำเนินการ )ไม่ยึดรายงานจากกรมศุลากร



นโยบาย รัฐบาล เอื้อผลประโยชน์ผู้ประกอบการมากกว่าจะดูแลการใช้เงินกอง ทุนอย่างเป็นธรรมและคุ้มค่ามากที่สุด













ที่มาเอกสาร : เอกสารชี้แจงโดย สนพ. ต่อ คณะอนุกรรมาธิการ พัฒนา ส่งเสริม ตรวจสอบการพลังงานเพื่อความเป็นธรรมของประชาชน วุฒิสภา เมื่อวันที่ 6 มกราคม 2556
มีความน่าเชื่อถือแค่ไหน ครับ การสำรวจข้อมูล หาบเรา แผงลอย ของ สวนดุสิต?
ข้อสังเกตุ การสำรวจนั้นต้องใช้คนจำนวนมาก หน่วยงานที่น่าจะรับลงทะเบียนได้ดีที่สุด คือ องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น เช่น อบต อบจ เทศบาล โดยให้ สำนักงานสถิติแห่งชาติไปทำสำรวจ น่าจะมีความน่าเชื่อถือมากกว่า ส่วน
สวนดุสิต นั้นสังคมยังแคลงใจในการทำโพลเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ที่ กกต รับเรื่อง ศึกษาตรวจสอบว่าโพลมีเจตนาชี้นำหรือไม่ และผลของโพลที่ออกมา ก็ตรงกันข้าม จนขาดความน่าเชื่อถือ



สื่อเป็นกลางในการนำเสนอข้อมูลต่อประชาชน หรือไม่ ?
ข้อสังเกตุในช่วงที่ผ่านมา หลายคนคิดว่าสื่อหลักถูกครอบงำ ไม่เป็นกลาง ในการนำเสนอข้อมูล ให้ครบทุกด้าน เสนอข่าวด้านเดียว ยกตัว กรณีรถเกิดอุบัติเหตุไฟไหม้
ถ้าเป็น NGV ก็จะไม่ค่อยออกข่าว ถ้าเป็น LPG ก็จะออกซ้ำบ่อยๆ จนคิดว่า เกิดขึ้นทุกวัน พยายามนำภาพในอดีดรถบรรทุกแก๊สระเบิดที่ถนน
เพชรบุรี เมื่อ 20 กว่าปีมาประกอบคำบรรยาย ซ้ำไปกว่านั้น สื่อบางสื่อ อาศัยความนิยมในตัวบุคคล และ สื่อ เป็นตัว บิดเบือนข่าวเช่น รถตู้ติดตั้ง NGV
ประสบอุบัติเหตุไฟไหม้จนมีผู้เสียชีวิต 7 คนบาดเจ็บ 3 คน ก็ยังมาอ่านข่าวแบบมั่นใจ ย้ำคำว่า รถตู้ติดแก๊ส L P G ในช่วง ที่มีคนดูมากๆช่วงเลือกตั้งผู้ว่า ประชาชนเริ่มแสดงออก
ถึงความไม่พอใจ ในเรื่อง สร้างข่าว เช่น จะไม่ให้ติดแก๊ส LPG กับรถที่ติดตั้งใหม่ โดยไม่ให้แจ้งขนส่ง สร้างความเสียหายกับผู้ประกอบ
การติดตั้งแก๊ส ผู้ให้บริการปั้มแก๊ส ผู้ผลิตถัง ผู้นำเข้าอุปกรณ์ เป็นอย่างมาก ทั้งๆที่แสดงความคิดเห็นปราศจากการศึกษาข้อมูลให้รอบ
ครอบก่อน เพราะข่าวดังกล่าวกระทบความรู้สึกคนใช้รถยนต์ติดแก๊ส กว่า 1.5 ล้านคัน เกี่ยวข้องกับคนไม่ต่ำกว่า 5 ล้านคน แน่นอน คนใช้แก๊ส LPG เหมือนถูกใส่ร้ายมาตลอด กระทบความนิยมที่มีต่อรัฐบาล
ต่อพรรคการเมืองที่กำลังดูแลพลังงาน และประชาชน(ผู้ใช้แก๊ส) บางส่วนแสดงออก ในการเลือกตั้งผู้ว่า กทม. ที่ผ่านมา โดยเปลี่ยนใจกระทันหัน ไม่เลือกเสาไฟฟ้า (เป็นส่วนหนึ่งที่ช่วย) หักสำนักโพลไปตามๆกัน
การนำเสนอข่าวปราศจากความจริง และความรับผิดชอบต่อสังคม ทำให้ประชาชนเข้าใจผิด ทำให้คนใช้รถยนต์ติดแก๊ส LPG ได้รับความรังเกียรติ สร้างภาพว่าเป็น
ภาระของสังคม ที่ต้องนำเงินกองทุนน้ำมันมาอุ้มตลอดเวลา ทั้งๆที่ความจริงปรากฏต่อประชาชนไปแล้ว และสร้างความไม่ระวัดระวังความปลอดภัยในการใช้รถ NGV เพราะข่าว
บอกว่าปลอดภัย ไม่ติดไฟ แก๊สรั่วจะลอยขึ้นข้างบนอย่างรวดเร็ว จึงไม่เป็นอันตราย ทำให้คนใช้รถยนต์ รถบรรทุก ติด NGV เกิดความประมาท และแล้วก็มีภาพอุบัติเหตุรถไฟไหม้ รถตู้
รถบรรทุก ออกมาให้เห็น แม้สื่อจะรายงานว่า เพราะระบบไฟฟ้า อิเล็คทรอนิครัดวงจร ไฟไหม แต่ไม่บอกว่ารถนั้นติด NGV เลยทั้งๆที่ภาพมันก็ฟ้องอยู่ มาว่า สื่อใดรายงาน
จริง สื่อใดรายงานเท็จ ด้วยเจตนาใด หรือ ความไม่รู้ มาดูรายงานครับ click ดูรายงานข่าว

การแก้ไขปัญหา การอุ้ม LPG ทั้งระบบ
1. ให้แยกกองทุนน้ำมันออกจาก แก๊ส LPG โดยให้ กองทุนน้ำมัน ใช้เพื่อรักษาเสถียรภาพ ราคาน้ำมัน
ไม่ให้ขึ้นลงอย่างรุนแรงในยามวิกฤตด้านพลังาน
2. ให้ตั้งกองทุน LPG ต่างหาก แยกบัญชี บริหารเงินกองทุน โดยเรียกเก็บภาษี สรรพสามิตร ทุกภาคส่วนกัน ภาษีเทสบาล เงินเข้ากองทุนอนุรักษ์ฯ เท่ากัน
3. ภาคปิโตรเคมี ต้อง นำเงินเข้ากองทุนน้ำมัน 12 บาท เท่ากับภาค อุตสาหกรรม เพราะเป็นภาคธุรกิจมีเอกชนถือหุ้นเกิน 51 % ซึ่งจะได้เงินเข้ากองทุนแก๊ส LPG
จากภาคปิโตรเคมี ปีละกว่า 3 หมื่นล้าน 
เงินกองทุนจะเหลือเพียงพอชดเชยการนำเข้าแน่นอน
4. ให้ ภาคปิโตรเคมี นำเงินชดเชย การนำเข้ากองทุนน้ำมัน ย้อนหลังไปตั้งแต่ มีการเก็บเข้ากองทุนน้ำมันของภาค อุตสาหกรรม ในราคาเท่ากัน
เพื่อความเป็นธรรม เงินที่ได้มา นำเข้ากองทุนแก๊ส LPG
5. กรณีแก๊ส LPG ต้องนำเข้า ให้ไปขอชดเชยการนำเข้า ที่กองทุนแก๊ส
6. ไม่ผูกขาดการนำ ที่จะได้รับการพิจารณา รับเงินกองทุนน้ำมัน เพียง ปตท. รายเดียว ควรให้รายอื่น นำเข้าด้วย
7. การนำเข้าในรูปแบบ โพรเพน และบิวเทน ให้นำราคา ปริมาณ ที่แจ้งกรมศุลกากร บวกค่าขนส่ง
บวกค่าดำเนินการ ไปขอเงินชดเชยการนำเข้า จากกองทุนแก๊ส LPG
8. ผู้มีอำนาจจะต้องหยุดครอบงำสื่อ และสื่อ ควรรายงานข่าว ทั้งสองด้าน ตามความจริง เพื่อให้ความรู้
และชี้ให้เห็น ข้อดี ข้อเสียครบทุกด้าน รายงานตรงไป ตรงมา ไม่มีอะไรให้ สังคมคาใจ

หากดำเนินการแบบนี้ จะลดเงินเข้ากองทุนน้ำมันลง ลิตรละ 7 บาท
น้ำมันจะถูกลง ไม่สร้างภาระให้ ผู้ใช้รถยนต์ กลุ่มที่จะต้องเติมน้ำมันเบนซิน
เกิดความโปร่งใส สร้างธรรมาภิบาลในเรื่องพลังงาน เลิกพูดได้เลย คำว่า อุ้ม 


ติดแก็ส LPG ไม่ปลอดภัย ควรยกเลิกหรือไม่ ? 




รัฐบาล กระทรวงพลังงาน ปตท และประชาชน ควรจะหันหน้ามาปรองดอง ทำความเข้าใจกันและกัน ให้ รัฐบาลและกระทรวงพลังงานบริหารงานได้อย่างมี
ประสิทธิภาพเพื่อความมั่นคงทางด้านพลังาน รักษาผลประโชน์แห่งรัฐ เป็นที่พึ่งของประชาชนตามระบบประชาธิปไตยที่ให้ความไว้วางใจเลือกท่านมาบริหารราชการแผ่นดิน ส่วน ปตท.และ
ประชาชน พบกันครึ่งทางโดยประชาชนอยู่ได้ รับได้ และ ปตท.อยู่ได้บนผลประกอบการพอดีพองามไม่ทำให้คนในชาติเดือดร้อนมากจากราคาพลังงาน ตามโฆษณาที่
ปตท. ออกโฆษณา ส่งเสริมภาพลักษณ์องค์กร เรื่องชวนให้คนไทย ดำเนินรอยตามวิถีเศรษฐกิจพอเพียง 





เพราะประชาชน ไม่เชือตามนั้นจึงออกมาเรียกร้อง ขอความเป็นธรรม 

   

ปั่นต้านโลภ หยุดธุรกิจพลังงานกอบโกย รวมพลังปั่นต้าน(พลังงาน)โลภ ครั้งที่ 1 (10 มี.ค.56)

ข้อเรียกร้องของการรณรงค์ที่ต้องการให้รัฐบาล และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ มีดังนี้ 

1) หยุดการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มกับภาคครัวเรือนและรถยนต์ ที่กำหนดเริ่มเดือนเมษายน 2556 และ
ให้เรียกเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงจากภาคปิโตรเคมีที่ใช้ LPG เป็นวัตถุดิบใน
อัตรากิโลกรัมละ 12 บาท เหมือนที่เรียกเก็บกับอุตสาหกรรมทั่วไป
 จะทำให้หนี้กองทุนน้ำมันฯ ที่มีอยู่หมดไปในเวลาไม่ถึงหนึ่งปี
2) ชะลอการเปิดสัมปทานปิโตรเลียม รอบที่21 ในกลางปีนี้ จนกว่าจะมีการแก้ไขส่วนแบ่งสัมปทานให้เป็นธรรมต่อประเทศ และห้ามมิให้มีการแก้ไขกฎหมาย
พ.ร.บ.ปิโตรเลียม พ.ศ.2514 เพื่อขยายอายุสัมปทานที่สิ้นสุดสัญญาแล้วโดยเด็ดขาด
3) ชะลอการเปิดประมูลโรงไฟฟ้าเอกชนที่ใช้ก๊าซธรรมชาติจำนวน 5,400 เมกะวัตต์ ในกลางปีนี้ และให้สนับสนุนการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานหมุนเวียนโดยชุมชน
ด้วยการเปิดรับซื้อไฟฟ้าพลังงานหมุนเวียนที่ประชาชนผลิตโดยไม่จำกัดจำนวน
4) หยุดการผูกขาดของธุรกิจก๊าซ และพลังงานทั้งระบบของบริษัท ปตท จำกัด(มหาชน)
5) หยุดผลประโยชน์ทับซ้อนของปลัด และอธิบดีในกระทรวงพลังงานโดยด่วน
6) ให้สนับสนุนเพื่อให้มีการออกกฎหมายองค์การอิสระเพื่อการคุ้มครองผู้บริโภคโดยเร็ว

มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค มูลนิธิสุขภาพไทย และเครือข่ายธรรมาภิบาลด้านพลังงาน
สวนสันติภาพ กรุงเทพมหานคร วันอาทิตย์ที่ 10 มีนาคม พ.ศ.2556
Click ดูภาพกิจกรรมเพิ่มเติม 



รายงานงบการเงิน 2555-2554
สินสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2555สินสุด วันที่ 31 ธันวาคม 2554
รายรับกำไรสุทธิ (x ล้าน บาท)กำไรสุทธิ (x ล้าน บาท)
สำรวจและผลิตปิโตเลี่ยม109,405.9185,003.00
ก๊าซธรรมชาติ38,677.9746,991.77
นำมัน13,100.5910,780.53
การค้าระหว่างประเทศ- 3,860.463,276.65
ปิโตรเคมี1,948.502,893.93
ถ่านหิน3,597.60- 61.66
อื่นๆ130.1280.46
ภาษีเงินได้46,516.3843,225.66
กำไรสุทธิสำหรับปี125,615.95126,179.11
ที่มา:ข้อมูลอ้างอิงประกอบงบการเงิน ปตท.2555 ไฟล์ notes.doc หน้า 137-139 download งบการเงิน PTT ปี 2555




ที่มา : http://www.thairath.co.th/content/eco/332668



@@@NGV ขาดทุนสะสมจะแสนล้าน ? ดูจากงบการเงิน ช่องก๊าซธรรมชาติ ดูยังไง ดูทุกปี ก็มีกำไร ?@@@

รายงานบทสรุปการศึกษาต้นทุน NGV โดยสถาบันวิจัยจุฬาลงกรร์มหาวิทยาลัย เมษายน 2555






ดุข้อมูลเรื่องพลังงานทั้งระบบ โดยเครือข่ายนักวิชาการพลังงานภาคประชาชนได้ที่ www.ThaiEnergyS.com




เอกสารประกอบตารางสรุป

แผ่นพับที่ สนพ.ออกมาชี้แจงประชาชนเพื่อทำความเข้าใจก่อนกรับขึ้นราคาแก๊ส LPG มิถุนยายน 2556 โดย สนพ. กระทรวงพลังงาน
ข้อมูลการใช้ LPG 2555 ทุกภาส่วน นำฌสนอโดย ปตท.

ข้อมูลการใช้เงินกองทุนน้ำมัน ปี 2555 นำเสนอโดย สถาบันบริหารกองทุนน้ำมัน

ข้อมูลการปริมาณการนำเข้า LPG ในรูปโพรเพน บิวเทน ปี 2555 นำเสนอโดย กรมศุลกากร

ข้อมูลการผลิตการใช้ เชื่อเพลิงพลังงาน ปี 2555 นำเสนอโดย กรมธุรกิจพลังงาน

ข้อมูลการผลิตการใช้ LPG ปี 2555 และแนวทางปรับราคาปี 2556-2557 นำเสนอโดย สนผ.กระทรวงพลังงาน



@@@@ ไม่สงวนลิขสิทธิ์ในการเผยแพร่ บทความ ภาพถ่าย ข้อมูล @@@


หน้าแรก || สมัครสมาชิก || LOGIN || LOGOUT || เปลี่ยนไอคอนส่วนตัว || โปรแกรมย่อรูปภาพ || เกี่ยวกับลิขสิทธิ์บทความภาพถ่าย || ข้อตกลงและเงื่อนไขในการใช้เว็บ || เกี่ยวกับเรา || ติดต่อโฆษณา
แจ้งปัญหาการใช้งาน website GasThai.Com หรือขอความรู้และขอคำปรึกษารถยนต์ติดแก๊ส LPG/NGV ติดต่อ :::>>>Email::: webmaster@GasThai.Com   หรือ   ติดต่อเรา(Contact Us) 
Copy Right © Gasthai.com December 2005   Counter StatCounter - Free Web Tracker and Counter View Stats Truehits.Net Thailand Web Stat