วันอังคารที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2557

เปิดอำนาจครอบจักรวาล'กฎอัยการศึก' ปี2457


เปิดอำนาจครอบจักรวาล'กฎอัยการศึก' ปี2457

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 20 พ.ค. 2557 14:24
แล้วในที่สุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) ก็ตัดสินใจประกาศ "กฎอัยการศึก" ในช่วงเช้าตรู่ เวลาประมาณ 03.00 น. ของวันที่ 20 พ.ค. 2557 ภายใต้รหัสปฏิบัติการ "แสดงพลัง" เพื่อหวังเข้าควบคุมสถานการณ์การเมืองของประเทศ
พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา ผู้บัญชาการทหารบก
ภายหลังเกิดวิกฤตการณ์ม็อบมวลมหาประชาชน กปปส. ที่นำโดย นายสุเทพ เทือกสุบรรณ เลขาธิการ กปปส. นำมวลชนเข้าประท้วงรัฐบาล น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร ครั้งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย จากกรณีผ่านร่าง พ.ร.บ.นิรโทษกรรม และการทุจริตโครงการจำนำข้าว ตั้งแต่ช่วงปลายปี 2556 ที่ผ่านมา ลากยาวมาจนถึงปัจจุบัน สถานการณ์การเมืองที่ส่อเค้ารุนแรงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ และ 2 ขั้วการเมืองใหญ่ เกิดความขัดแย้ง ชนิดไม่มีใครยอมใคร มีการประท้วง เดินขบวน มีพี่น้องประชาชนบาดเจ็บล้มตายเป็นจำนวนมาก นับพันคน
ยืนประจำการตามคำสั่ง
จนการเมืองมาถึงทางตัน เมื่อวุฒิสภา ซึ่งเป็นองค์กรนิติบัญญัติที่เหลืออยู่เพียงองค์กรเดียว พยายามหาทางออกให้ประเทศ ด้วยการเสนอเป็นตัวกลางที่จะสรรหานายกรัฐมนตรีคนใหม่ ที่มีอำนาจเต็ม เพื่อผ่าทางตันให้ประเทศ โดยนายสุรชัย เลี้ยงบุญเลิศชัย ว่าที่ประธานวุฒิสภา ได้ขอหารือกับ นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล รักษาการปฏิบัติหน้าที่แทนนายกรัฐมนตรี และยื่นข้อเสนอขอให้ลาออก เพื่อเปิดทางตั้งนายกรัฐมนตรีที่มีอำนาจบริหารประเทศเต็มตามตำแหน่ง แต่ก็ได้รับการปฏิเสธ จนต้องออกมาแถลงข่าวว่า มีการเตรียมแผน 2-แผน 3 เพื่อที่จะตั้งนายกฯ ให้ได้นั้น และนี่ก็อาจเป็นฉากจบของวิกฤติการเมืองครั้งนี้ ซึ่งก็ไม่รู้ว่าจะเป็นจุดเริ่มต้นของปัญหาการเมืองใหม่ต่อไปหรือไม่
เจ้าหน้าที่ทหารหารือกันในชุดเครื่องแบบ
พ.อ.บรรพต พูลเพียร โฆษกกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายใน (กอ.รมน.) กล่าวกับทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ ว่า พ.ร.บ.กฎอัยการศึก 2457 นั้น ให้อำนาจเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ให้มีอำนาจครอบคลุมควบคุมในทุกๆ ด้าน สำหรับผู้ที่มีอำนาจในการประกาศกฎอัยการศึกได้ กฎหมายให้อำนาจนายทหารระดับผู้บังคับกองพันตั้งแต่ยศชั้นนายพันขึ้นไป เพื่อให้สามารถเข้าควบคุมสถานการณ์วุ่นวายที่เกิดขึ้นในประเทศ
"ยอมรับว่า ปกติตามมารยาท เขาก็จะให้ระดับแม่ทัพภาค 1, 2, 3, 4 เป็นผู้ประกาศ ซึ่งสถานการณ์เช่นนี้ก็แน่นอน ต้องเป็น ผู้บัญชาการทหารบก (ผบ.ทบ.) เท่านั้น จะเป็นผู้ประกาศได้ และเมื่อมีการประกาศใช้กฎอัยการศึก เจ้าหน้าที่ทหารจะมีอำนาจควบคุมสถานการณ์แบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาด เพราะ พ.ร.บ.ฉบับนี้ กำหนดให้อำนาจทุกอย่างที่จำเป็นในการควบคุม เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยในประเทศ ให้ไปขึ้นอยู่ที่เจ้าหน้าที่ทหารเท่านั้น ไม่เกี่ยวข้องกับฝ่ายบริหารแต่อย่างใด ทั้งอำนาจควบคุม จับกุมคุมขัง ฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามคำสั่งทหาร ครอบคุมทั้งด้านสังคม เศรษฐกิจ ชีวิตความเป็นอยู่ประชาชน การขับขี่ จราจร หรือแม้แต่อำนาจในการพิจารณาคดีความของศาลยุติธรรม และกฎหมายก็ยังกำหนดอีกว่า ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการประกาศ พ.ร.บ.อัยการศึกดังกล่าวเอง ก็ไม่สามารถฟ้องร้องอะไรทางกฎหมายได้ตามมาตรา 16 ของกฎอัยการศึก"
อาวุธ ทหารจัดมาเต็ม
เรียกว่า ครอบคลุมทั้งหมดอย่างกว้างขวาง แต่ก็ขึ้นอยู่กับผู้ประกาศใช้กฎอัยการศึกว่าจะใช้อำนาจอะไรบ้าง หรือจะไม่ใช้อำนาจอะไร ถึงแม้กฎหมายจะให้อำนาจแบบเบ็ดเสร็จเด็ดขาดก็ตาม
อย่างไรก็ตาม เมื่อตัดสินใจประกาศใช้แล้ว การยกเลิกใช้ยากยิ่งกว่า เนื่องจากเวลาประกาศใช้ นายทหารระดับนายพัน หรือผู้บัญชาการแม่ทัพภาคขึ้นไป สามารถประกาศได้ แต่เวลายกเลิก จะเป็นไปได้ก็ต่อเมื่อ มีประกาศกระแสพระบรมราชโองการเท่านั้น ดังนั้น การยกเลิกจึงยากกว่า
มาลุ้นกันดู...ว่า บทสรุปสุดท้ายจะจบลงแบบใด เมื่อชุดเขียวตัดสินใจโดดเข้ามาแก้ปัญหาประเทศเต็มตัวแล้ว จะสามารถผ่าทางตันประเทศนี้ ไปสู่ความสงบสุขอย่างที่ประชาชนทั้งประเทศต้องการได้หรือไม่ อย่างไร คงต้องเฝ้าติดตามกันด้วยใจระทึก!
ภายในสถานีโทรทัศน์ช่อง11
พระราชบัญญัติ กฎอัยการศึก พระพุทธศักราช 2457

มีพระบรมราชโองการในพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาวชิราวุธพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ดํารัสเหนือเกล้าฯ ให้ประกาศทราบทั่วกันว่า กฎอัยการศึก ซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติไว้ตั้งแต่ พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) นั้น อํานาจเจ้าพนักงานฝ่ายทหารที่จะกระทําการใดๆ ยังหาตรงกับระเบียบพิชัยสงคราม อันต้องการของความเรียบร้อย ปราศจากภัย ซึ่งจะมีมาจากภายนอก หรือเกิดขึ้นภายในได้โดยสะดวกไม่ บัดนี้ สมควรแก้ไขกฎอัยการศึกและเปลี่ยนแปลง ให้เหมาะกับกาลสมัย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกเลิกกฎอัยการศึก พ.ศ. 2450 (ร.ศ. 126) นั้นเสีย และให้ใช้กฎอัยการศึกซึ่งได้ตราเป็นพระราชบัญญัติขึ้นใหม่ ดังต่อไปนี้
มาตรา 1 พระราชบัญญัตินี้ ให้เรียกว่า “กฎอัยการศึก พ.ศ. 2457
”
ใช้พระราชบัญญัติที่ใด เมื่อใด ต้องประกาศ ------

มาตรา 2 (1) เมื่อเวลามีเหตุอันจําเป็นเพื่อรักษาความเรียบร้อยปราศจากภัย ซึ่งจะมาจากภายนอก หรือภายในราชอาณาจักรแล้ว จะได้มีประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้กฎอัยการศึกทุกมาตรา หรือแต่บางมาตรา หรือข้อความส่วนใดส่วนหนึ่งของมาตรา ตลอดจนการกําหนดเงื่อนไขแห่งการใช้บทบัญญัตินั้น บังคับในส่วนหนึ่งส่วนใดของราชอาณาจักร หรือตลอดทั่วราชอาณาจักร และถ้าได้ประกาศใช้เมื่อใด หรือ ณ ที่ใดแล้ว บรรดาข้อความในพระราชบัญญัติ หรือบทกฎหมายใดๆ ซึ่งขัดกับความของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับ ต้องระงับและใช้บทบัญญัติของกฎอัยการศึกที่ให้ใช้บังคับนั้นแทน

 มาตรา 2 (2) แก้ไขโดยมาตรา 3 แห่งพระราชกําหนดแก้ไขเพิ่มเติมกฎอัยการศึก พ.ศ.2457 พุทธศักราช 2485

เมื่อเลิกต้องประกาศ ------

มาตรา 5 การที่จะเลิกใช้กฎอัยการศึกแห่งใดนั้น จะเป็นไปได้ต้องมีประกาศกระแสพระบรมราชโองการ

ภาพมุมสูงรถทหารกับบังเกอร์
อํานาจทหารเมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ------

มาตรา 3 ถ้าไม่ได้ประกาศใช้กฎอัยการศึกทั่วพระราชอาณาจักร ในประกาศนั้นจะได้แสดงให้ปรากฏว่า มณฑลใด ตําบลใด หรือเขตใดใช้กฎอัยการศึก
ผู้มีอํานาจใช้กฎอัยการศึก ------

มาตรา 4 เมื่อมีสงคราม หรือจลาจลขึ้น ณ แห่งใด ให้ผู้บังคับบัญชาทหาร ณ ที่นั้น ซึ่งมีกําลังอยู่ใต้บังคับ ไม่น้อยกว่าหนึ่งกองพัน หรือเป็นผู้บังคับบัญชาในป้อม หรือที่มั่นอย่างใดๆ ของทหารมีอํานาจประกาศใช้กฎอัยการศึก เฉพาะในเขตอํานาจหน้าท่ีของกองทหารนั้นได้ แต่จะต้องรีบรายงานให้รัฐบาลทราบโดยเร็วที่สุด

มาตรา 6 ในเขตท่ี่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ให้เจ้าหน้าท่ี่ฝ่ายทหารมีอำนาจเหนือเจ้าหน้าที่ฝ่ายพลเรือน ในส่วนที่เกี่ยวกับการยุทธการระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และเจ้าหน้าทีฝ่ายพลเรือนต้องปฏิบัติตามความต้องการของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร
อํานาจศาลทหาร และอํานาจศาลพลเรือน
กองทัพส่งกำลังเข้าดูแลสถานที่สำคัญ
เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึก ------

มาตรา 7 ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก ศาลพลเรือนคงมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีได้อย่างปกติ เว้นแต่คดีที่อยู่ในอํานาจของศาลอาญาศึก และผู้มีอํานาจประกาศใช้กฎอัยการศึก มีอํานาจประกาศให้ศาลทหาร พิจารณาพิพากษาคดีอาญา ซึ่งการกระทําผิดเกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก และในระหว่างที่ใช้กฎอัยการศึก ตามที่ระบุไว้ในบัญชีต่อท้ายพระราชบัญญัตินี้ทุกข้อ หรือแต่บางข้อ และหรือบางส่วนของข้อใดข้อหนึ่งได้ ทั้งมีอํานาจในการแก้ไขเพิ่มเติม หรือ ยกเลิกประกาศดังกล่าวนั้น ด้วย
มาตรา 6 แก้ไขโดยข้อ 1 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515
มาตรา 7 แก้ไขโดยข้อ 2 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515
ประกาศให้ศาลทหารมีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีตามความในวรรคแรก ให้มีผลบังคับเฉพาะคดีที่การกระทําความผิด เกิดขึ้นตั้งแต่วันเวลาที่ระบุไว้ในประกาศวันเวลาที่ระบุนั้น จะเป็นวันเวลาที่ออกประกาศนั้น หรือภายหลังก็ได้ ประกาศเช่นว่านี้ ให้โฆษณาในราชกิจจานุเบกษาด้วย

นอกจากกรณีดังกล่าวแล้ว ถ้าคดีอาญาใดที่เกิดขึ้นในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึกมีเหตุพิเศษเกี่ยวกับความมั่นคงของประเทศ หรือความสงบเรียบร้อยของประชาชน ผู้บัญชาการทหารสูงสุดจะสั่งให้พิจารณาพิพากษา คดีอาญานั้นในศาลทหารก็ได้

มาตรา 7 ทวิ ประกาศให้ศาลทหารมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาตามความในมาตรา 7 นั้น จะให้ศาลทหารในทุกท้องที่ หรือแต่บางท้องท่ี่มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญา ตามที่กล่าวในมาตรานั้นเท่ากัน หรือมากน้อยกว่ากันก็ได้

มาตรา 7 ตรี ได้เลิกใช้กฎอัยการศึกแล้ว ให้ศาลทหารคงมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังคงค้างอยู่ในศาลนั้น และให้มีอํานาจพิจารณาพิพากษาคดีอาญาที่ยังมิได้ฟ้องร้อง
ในระหว่างเวลาที่ใช้กฎอัยการศึกนั้น ด้วย
เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจ ------

มาตรา 8 เมื่อประกาศใช้กฎอัยการศึกในตําบลใด, เมืองใด, มณฑลใด, เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจเต็ม ที่จะตรวจค้น, ที่จะเกณฑ์, ที่จะห้าม, ที่จะยึด, ที่จะเข้าอาศัย, ที่จะทําลาย หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่, และที่จะขับไล่

ชุดเขียว ลุย!
การตรวจค้น ------

มาตรา 9 การตรวจค้นนั้น ให้มีอํานาจที่จะตรวจค้น ดังต่อไปนี้

(1) ที่จะตรวจค้น บรรดาสิ่งซึ่งจะเกณฑ์ หรือต้องห้าม หรือต้องยึด หรือจะต้องเข้าอาศัย หรือมีไว้ในครอบครองโดยไม่ชอบด้วยกฎหมาย ทั้งมีอํานาจที่จะตรวจค้นได้ ไม่ว่าที่ตัวบุคคล ในยานพาหนะ เคหสถาน สิ่งปลูกสร้าง หรือที่ใดๆ และไม่ว่าเวลาใดๆ ทั้งสิ้น

(2) ที่จะตรวจข่าวสาร จดหมาย โทรเลข หีบห่อ หรือสิ่งอื่นใดที่ส่งหรือมีไปมาถึงกัน ในเขตที่ประกาศใช้กฎอัยการศึก

(3) ที่จะตรวจหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพโฆษณา บทหรือคําประพันธ์ 

มาตรา 7 ตรี เพิ่มเติมโดยมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ 3) พุทธศักราช 2487 
มาตรา 9 แก้ไขโดยข้อ 3 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515
การเกณฑ์ ------

มาตรา 10 การเกณฑ์นั้น ให้มีอํานาจที่จะเกณฑ์ได้ดังนี้ 
(1) ที่จะเกณฑ์พลเมืองให้ช่วยกําลังทหารในกิจการ ซึ่งเนื่องในการป้องกันพระราชอาณาจักร หรือช่วยเหลือเกื้อหนุนราชการทหารทุกอย่างทุกประการ 
(2) ที่จะเกณฑ์ยวดยาน, สัตว์พาหนะ, เสบียงอาหาร, เครื่องศาสตราวุธ และเครื่องมือเครื่องใช้ต่างๆ จากบุคคล หรือบริษัทใดๆ ซึ่งราชการทหารจะต้องใช้เป็นกําลังในเวลานั้นทุกอย่าง
ทหารประจำการพร้อมอาวุธครบมือ
การห้าม ------

มาตรา 11 การห้ามนั้น ให้มีอำนาจที่จะห้ามได้ดังนี้

(1) ที่จะห้ามมั่วสุมประชุมกัน

(2) ที่จะห้ามออก จําหน่าย จ่ายหรือแจก ซึ่งหนังสือ สิ่งพิมพ์ หนังสือพิมพ์ ภาพบทหรือคําประพันธ์

(3) ที่จะห้ามโฆษณา แสดงมหรสพ รับหรือส่งซึ่งวิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์

(4) ที่จะห้ามใช้ทางสาธารณะเพื่อการจราจร ไม่ว่าจะเป็นทางบก ทางน้ําหรือทางอากาศ รวมถึงทาง
รถไฟและทางรถรางที่มีรถเดินด้วย


(5) ที่จะห้ามมี หรือใช้เครื่องมือสื่อสาร หรืออาวุธ เครื่องอุปกรณ์ของอาวุธ และเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มี
คุณสมบัติทําให้เกิดอันตรายแก่บุคคล สัตว์ พืช หรือทรัพย์สิน หรือที่อาจนําไปใช้ทําเป็นเคมีภัณฑ์ หรือสิ่งอื่นใดที่มีคุณสมบัติดังกล่าวได้

(6) ที่จะห้ามบุคคลออกนอกเคหสถานภายในระหว่างระยะเวลาที่กําหนด

(7) ที่จะห้ามบุคคลเข้าไปหรืออาศัยอยู่ในเขตท้องที่ใดซึ่งเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารเห็นว่า เป็นการจําเป็นเพื่อการยุทธ การระงับปราบปราม หรือการรักษาความสงบเรียบร้อย และเมื่อได้ประกาศห้ามเมื่อใดแล้ว ให้ผู้ซึ่งอาศัยอยู่ในเขตนั้นออกไปจากเขตนั้นภายในกําหนดเวลาที่ได้ประกาศกําหนด

(8) ที่จะห้ามบุคคลกระทํา หรือมีซึ่งกิจการ หรือสิ่งอื่นใดได้ตามรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหมได้กําหนดไว้ว่าควรต้องห้ามในเวลาที่ได้มีการประกาศใช้กฎอัยการศึก
การยึด ------

มาตรา 12 บรรดาสิ่งซึ่งกล่าวไว้ ในมาตรา 9 มาตรา 10 และมาตรา 11 นั้น ถ้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร เห็นเป็นการจําเป็น จะยึดไว้ชั่วคราวเพื่อมิให้เป็นประโยชน์แก่ราชศัตรู หรือเพื่อเป็นประโยชน์แก่ราชการทหาร ก็มีอํานาจยึดได้

การเข้าอาศัย ------

มาตรา 13 อํานาจการเข้าพักอาศัยนั้น คือ ที่อาศัยใดๆ ซึ่งราชการทหารเห็นจําเป็น จะใช้เป็นประโยชน์ในราชการทหารแล้ว มีอํานาจอาศัยได้ทุกแห่ง
การทําลายหรือเปลี่ยนแปลงสถานที่ ------

มาตรา 14 การทําลาย หรือเปลี่ยนแปลงสถานที่นั้น ให้มีอํานาจกระทําได้ ดังนี้ 
(1) ถ้าแม้การสงคราม หรือรบสู้เป็นรองราชศัตรู มีอํานาจที่จะเผาบ้านและสิ่งซึ่งเห็นว่าจะเป็นกําลังแก่ราชศัตรู เมื่อกรมกองทหารถอยไปแล้ว หรือถ้าแม้ว่าสิ่งใดๆ อยู่ในที่ซึ่งกีดกับการสู้รบ ก็ทําลายได้ทั้งสิ้น 
(2) มีอํานาจที่จะสร้างที่มั่น หรือดัดแปลงภูมิประเทศหรือหมู่บ้านเมืองสําหรับการต่อสู้ราชศัตรู หรือเตรียมการป้องกันรักษา ตามความเห็นชอบของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ทุกอย่าง
การขับไล่------

มาตรา 15 ถ้ามีผู้หนึ่งผู้ใดซึ่งไม่มีภูมิลําเนาอาศัยเป็นหลักฐาน หรือเป็นผู้มาอาศัยในตําบลนั้นชั่วคราว เมื่อมีความสงสัยอย่างหนึ่งอย่างใด หรือจําเป็นแล้วมีอํานาจที่จะขับไล่ผู้นั้นให้ออกไปจากเมือง หรือตําบลนั้นได้

มาตรา 15 ทวิ 8 ในกรณีที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร มีเหตุอันควรสงสัยว่าบุคคลใดจะเป็นราชศัตรู หรือได้ฝ่าฝืนต่อบทบัญญัติของพระราชบัญญัตินี้ หรือต่อคำสั่งของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารมีอํานาจกักตัวบุคคลนั้นไว้ เพื่อการสอบถาม หรือตามความจําเป็นของทางราชการทหารได้ แต่ต้องกักไว้ไม่เกินกว่า 7 วัน
บรรยากาศประกาศกฎอัยการศึกวันแรก
ร้องขอค่าเสียหาย หรือค่าปรับจากเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้ ------
มาตรา 16 ความเสียหายซึ่งอาจบังเกิดขึ้นอย่างหนึ่งอย่างใด ในเรื่องอํานาจของเจ้าหน้าที่ฝ่ายทหาร ตามที่ได้กล่าวมาแล้วในมาตรา 8 และมาตรา 15 บุคคล หรือบริษัทใดๆ จะร้องขอค่าเสียหาย หรือค่าปรับอย่างหนึ่งอย่างใด แก่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารไม่ได้เลย เพราะอํานาจทั้งปวงที่เจ้าหน้าที่ฝ่ายทหารได้ปฏิบัติและดําเนินการตามกฎอัยการศึกนี้ เป็นการสําหรับป้องกัน พระมหากษัตริย์ ชาติ ศาสนา ด้วยกําลังทหาร ให้ดํารงคงอยู่ในความเจริญรุ่งเรือง เป็นอิสรภาพ และสงบเรียบร้อย ปราศจากราชศัตรูภายนอกและภายใน

มาตรา 15 ทวิ แก้ไขโดยข้อ 5 แห่งประกาศของคณะปฏิวัติ ฉบับที่ 303 ลงวันที่ 13 ธันวาคม พุทธศักราช 2515
มอบอํานาจให้เจ้ากระทรวง ------
มาตรา 17 ในเวลาปกติสงบศึก เจ้ากระทรวงซึ่งบังคับบัญชาทหาร มีอํานาจตรากฎเสนาบดีขึ้นสําหรับบรรยายข้อความ เพื่อให้มีความสะดวกและเรียบร้อยในเวลาที่จะใช้กฎอัยการศึกได้ตามสมควร ส่วนในเวลาสงคราม หรือ จลาจล แม้ทัพใหญ่ หรือแม่ทัพรอง มีอํานาจออกข้อบังคับบรรยายความเพิ่มเติม ให้การดําเนินไปตามความประสงค์ของกฎอัยการศึกนี้ และเมื่อได้ประกาศกฎเสนาบดี หรือข้อบังคับของแม่ทัพในทางราชการแล้ว ให้ถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของพระราชบัญญัตินี้
บัญชีต่อท้าย พระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2502
ก. คดีที่เกี่ยวกับตัวบุคคลบางจําพวก

1. คดีที่ตํารวจกระทําความผิดในขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการสนาม

2. คดีที่บุคคลพลเรือนสังกัดในราชการทหาร เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิด ไม่ว่าจะเกี่ยวกับหน้าที่ราชการหรือไม่ และไม่ว่าจะได้กระทําความผิดในที่ใดๆ ในเขตที่ใช้กฎอัยการศึก

3. คดีที่บุคคลใดๆ เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่า กระทําความผิดร่วมกับบุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหาร หรือร่วมกับบุคคลดังกล่าวใน ๑. หรือ ๒. ไม่ว่าจะเป็นตัวการ หรือผู้สนับสนุน

4. คดีที่บุคคลที่อยู่ในอํานาจศาลทหาร เป็นผู้ถูกกล่าวหาว่ากระทําความผิดร่วมกับบุคคลที่มิได้อยู่ในอํานาจศาลทหารไม่ว่าจะเป็นตัวการ หรือผู้สนับสนุน
ข. คดีที่เกี่ยวกับความผิดบางอย่าง
1. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญาทหาร
2. คดีที่มีข้อกล่าวหาว่ากระทําความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ สําหรับใช้ในราชการทหารแห่งกองทัพไทย หรือกองทัพพันธมิตรแห่งประเทศไทย หรือความผิดเกี่ยวกับชีวิตและร่างกายทหารไทย หรือทหารพันธมิตรแห่งประเทศไทย ในขณะกระทําการตามหน้าที่ หรือเพราะเหตุที่กระทําการตามหน้าที่
3. ความผิดตามประมวลกฎหมายอาญา ดังต่อไปนี้

(1) ความผิดต่อองค์พระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท และผู้สําเร็จราชการแทนพระองค์ ตั้งแต่มาตรา 107 ถึงมาตรา 112
(2) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายในราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 113 ถึงมาตรา 118(3) ความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตั้งแต่มาตรา 119 ถึงมาตรา ๑๒๙ 
(4) ความผิดต่อสัมพันธไมตรีกับต่างประเทศ ตั้งแต่มาตรา ๑๓๐ ถึงมาตรา ๑๓๕
 (5) ความผิดต่อเจ้าพนักงาน ตามมาตรา 137 เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร มาตรา 136 มาตรา
 138 ถึงมาตรา 142 มาตรา 145 และมาตรา 164 (6) ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ราชการ ตั้งแต่มาตรา 147 ถึงมาตรา 154 มาตรา 158 ถึงมาตรา 
165 
(7) ความผิดต่อเจ้าพนักงานในการยุติธรรม ตามมาตรา 172 เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร มาตรา 170 มาตรา 171 มาตรา 175 ถึงมาตรา 185 มาตรา 189 มาตรา 193 มาตรา 197 และมาตรา 198 เฉพาะเมื่อ ศาลนั้นเป็นศาลทหาร
(8) ความผิดต่อตําแหน่งหน้าที่ในการยุติธรรม ตามมาตรา 201 และมาตรา 202
รถทหารประจำการตามคำสั่งผบ.ทบ.
9 บัญชีต่อท้าย แก้ไขโดยพระราชบัญญัติกฎอัยการศึก (ฉบับที่ 5) พ.ศ.2502
 
(9) ความผิดเกี่ยวกับความสงบสุขของประชาชน ตั้งแต่มาตรา 209 ถึงมาตรา 216
 (10) ความผิดเกี่ยวกับการก่อให้เกิดภยันตรายต่อประชาชนตั้งแต่มาตรา 217 ถึงมาตรา 224 มาตรา 226 มาตรา 228 ถึงมาตรา 232 มาตรา 234 มาตรา 235 มาตรา 237 และมาตรา 238 
(11) ความผิดเกี่ยวกับดวงตรา แสตมป์ และตั๋ว ตั้งแต่มาตรา 250 ถึงมาตรา 253 เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร 
(12) ความผิดเกี่ยวกับเอกสาร ตั้งแต่มาตรา 265 ถึงมาตรา 268 เฉพาะที่เกี่ยวกับราชการทหาร (13) ความผิดเกี่ยวกับทรัพย์ ตามมาตรา 336 มาตรา 339 และมาตรา 340
4. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการเกณฑ์พลเมืองอุดหนุนราชการทหาร

5. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเขตปลอดภัยในราชการทหาร
6. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยเครื่องแบบทหาร

7. ความผิดตามพระราชบัญญัติรับราชการทหาร พ.ศ. 2497 ตั้งแต่
8. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยฝิ่น

9. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยยาเสพยาติดให้โทษ

และ 10. ความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการป้องกันการกระทําอันเป็นคอมมิวนิสต์.