วันอังคารที่ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2556

'การปฏิวัตินกหวีด' มองเชื่อมโยงกับปัญหาอนาคตการเมืองไทย



'ธีรยุทธ'มองอนาคตหลังปฏิวัตินกหวีด



ธีรยุทธ : 'การปฏิวัตินกหวีด' มองเชื่อมโยงกับปัญหาอนาคตการเมืองไทย

             "...การต่อสู้ครั้งนี้อาจไม่บรรลุชัยชนะ หรือเราอาจผิดหวังกับผลงานของผู้ที่จะทำงานให้กับประชาชนในอนาคต แต่ที่สำคัญที่สุดคือได้เกิดประสบการณ์การใช้สิทธิอำนาจของประชาชน พลังที่แท้จริงของภาคประชาชน อำนาจต่อรองกับอำนาจการเมืองอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ซึ่งคุ้มค่าแก่ความเหนื่อยยากทั้งปวงอยู่แล้ว .."
             1. คนไทยจะปฏิรูปประเทศไทยอย่างรอบด้านได้ไหม? ประเทศไทยเลยเวลาที่จะปฏิรูปมาเนิ่นนานแล้ว เพราะ
             • ตั้งแต่ 14 ตุลาคม 2516 ประชาธิปไตยเลือกตั้งมีการใช้เงินและผลประโยชน์ซื้อเสียงเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ จนมาถึงขั้นการใช้นโยบายประชานิยม แจกเงินโดยตรงแก่ประชาชน
             • การคอร์รัปชั่นพัฒนาไปทุกรูปแบบ เป็นคอร์รัปชั่นด้วยนโยบาย เช่น การจำนำข้าว การเปิดเสรีรัฐวิสาหกิจ ฯ นักการเมืองกินเพิ่มขึ้นเป็น 30-40% การส่งส่วยของตำรวจจากผู้น้อยไปสู่ผู้ใหญ่มีทุกระดับ การใช้เงิน การรับใช้ทางการเมืองหรือเรื่องสกปรกแลกตำแหน่งมีทุกวงการ หลังสุดถึงขั้นว่าเมื่อส่วนกลางจัดงบประมาณให้หน่วยงานต่างจังหวัด หน่วยงานจะต้องส่งคืนกลับ 10-20% ให้ผู้บังคับบัญชาที่อนุมัติ
             • ความศักดิ์สิทธิ์ของกฎหมายและการบังคับใช้กฎหมายเสื่อมทรามลงไปเรื่อยๆ คนทุกกลุ่มเลิกสนใจคุณธรรมหน้าที่ต่อบ้านเมือง มีการสมคบร่วมกันแย่งทึ้งประเทศชาติ เพราะเป็นหนทางเดียวที่จะได้เปรียบไม่เสียเปรียบคนอื่นในทุกวงการ อย่างที่โบราณว่าไว้ว่า “ฝูงแร้งสมจร ฝูงแร้งด้วยกัน” ทั้งนี้เพราะพฤติกรรมที่ผ่านมาบ่งว่าเราอยู่ใต้ระบบสมจรของทักษิณ ใต้รัฐบาลสมจรหุ่นของทักษิณ และสภาก็คือขี้ข้าทักษิณมาสมจรกัน
             • การใช้อำนาจของนักการเมืองมีลักษณะเหิมเกริม ไร้ความละอายมากขึ้นเรื่อยๆ
             • ข้าราชการสมคบสยบยอมนักการเมืองเปิดเผยชัดเจนเกือบทั้งหมด
             • นโยบายจำนำข้าวเป็นดัชนีที่ชัดเจนว่าเศรษฐกิจประเทศล้มเหลวและเกิดปัญหาร้ายแรงในที่สุด
             ทั้ง 6 ปัจจัยนี้จะทำให้ประเทศและสังคมไทยแตกวิ่นเป็นกลุ่มแสวงหาผลประโยชน์กลุ่มเล็กและใหญ่กระจายไปทั่ว และจะแตกวิ่นในลักษณะภูมิภาค ท้องถิ่น ชนชั้น กลุ่มอาชีพ ฯลฯ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะทำให้ประเทศชาติมีชะตากรรมที่เลวร้ายที่สุดตั้งแต่เคยเป็นมา ทั้ง 6 ปัจจัยเป็นเหตุผลให้ควรเร่งแก้วิกฤติการเมืองไทยอย่างจริงจัง ไม่ทำแบบขอไปที
             2. ทำไมประเทศไทยไม่เคยปฏิรูปสำเร็จ ที่ปฏิรูปไม่สำเร็จเพราะมีไทยเฉยเยอะ ที่เป็นไทยเฉยมี 5 กลุ่มใหญ่ๆ คือ
             1) ชาวบ้านในเมือง รากหญ้าในชนบท เฉย ไม่ใช่เพราะโง่เง่าหรือขาดการศึกษา แต่เพราะต้องดิ้นรนทำกิน และปัจจุบันก็ตื่นตัวในเรื่องข้อมูลข่าวสาร สิทธิของตนเองมากขึ้น ทั้งในแนวเสื้อแดง เสื้อเหลือง หรือในขบวนการนกหวีด
             2) ชนชั้นกลางเฉยเพราะต้องตั้งเนื้อตั้งตัว แต่ก็ดีขึ้น เช่น กลุ่มธุรกิจสีลม อโศก รัชดา กลุ่มอาชีพต่างๆ
             3) ผู้ดี ราชครูปุโรหิตทำหน้าที่สรรเสริญพระเจ้าอยู่หัวเฉยๆ แต่ไม่กล้าหาญพอจะปฏิบัติหน้าที่ให้บรรลุ ในการรักษ์ความยุติธรรม ป้องกันการโกง การสร้างประชาธิปไตยที่แท้จริง และความอยู่ดีมีสุขของประชาชนแทนพระองค์
             4) ข้าราชการ เสนาอำมาตย์ เฉย ไม่นำพาต่อการโกงกินบ้านเมือง แม้คนเป็น 1-2 ล้านออกมาเรียกร้องก็ไม่นำพา กลับเริ่มเสวยสุขกับนักการเมืองโกงกินทั้งหลาย
             5) เจ้าสัวเฉย ไม่ยอมลงทุนเพื่อสร้างสรรค์การเมือง มีแต่ลงทุนเฉพาะทางธุรกิจเพื่อให้ครอบครัวร่ำรวย และออกมาคร่ำครวญเดือดร้อนอย่างน่าเห็นใจทุกคนเมื่อมีวิกฤติการเมือง
             3. มองพลังประชาชนอย่างมีความหวัง ขบวนนกหวีดที่เริ่มขึ้นเล็กๆ จากกลุ่มเครือข่ายนักศึกษาประชาชนปฏิรูปประเทศ (คปท.) ที่อุรุพงษ์ กลุ่มกองทัพธรรมที่ผ่านฟ้า กลุ่มคัดค้านพระราชบัญญัตินิรโทษกรรมที่สามเสนและราชดำเนิน จนเกิดเป็น กปปส. ทำให้การปฏิรูปประเทศไทยอย่างรอบด้านมีโอกาสเป็นจริงขึ้นได้ เราสามารถอธิบายได้ว่าการแข็งขืนของ กปปส. หรือ “ขบวนนกหวีด” ครั้งนี้ โดยแก่นแท้ไม่ใช่ปัญหาว่าเป็นประชาธิปไตยหรือไม่ ไม่ใช่เป็นการไม่เคารพเสียงส่วนใหญ่หรือเป็นขบถ
             แต่เป็นทั้งการใช้ “สิทธิและการปฏิบัติหน้าที่อันจำเป็นและหลีกเลี่ยงไม่ได้” สิทธิและหน้าที่ที่ว่าก็คือ การต่อต้านล้มล้างรัฐบาลที่ฉ้อฉลหรือเป็นทรราช (tyrannicide) ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของทฤษฎีและปรัชญาการเมืองประชาธิปไตย และมีการกระทำที่เป็นจริงมาตั้งแต่สมัยประชาธิปไตยของกรีก โรมัน งานของนักคิดสำคัญๆ จำนวนมาก เช่น Juan de Mariana, Hugo Grotius, John Locke ซึ่งเป็นบิดาของการปฏิวัติประชาธิปไตยของอังกฤษ ล้วนยืนยันสิทธิในการขับไล่ล้มล้างรัฐบาลฉ้อฉลทั้งสิ้น เช่น Locke มองว่าสิทธิในการปฏิวัติของประชาชนเป็นการป้องกันให้พ้นจากระบบทรราช
             และถือว่าเมื่อมีการละเมิดผลประโยชน์ของประชาชนภายใต้สัญญาประชาคม ประชาชนมีสิทธิปลุกระดมเพื่อก่อการปฏิวัติเพื่อเปลี่ยนเป็นรัฐบาลที่รับใช้ผลประโยชน์ของประชาชน (ดูงาน Mariana, De rege et regis institutione (1598), Locke, Two Treatise of Government (1689), Grotius, Truth of the Christian Religion (1627) และ The Rights of War and Peace, including the Law of Nature and of Nations (1901))
             โทมัส เจฟเฟอร์สัน, เบนจามิน แฟรงคลิน ต่างใช้สิทธิและหน้าที่นี้ในการต่อสู้กับจักรวรรดิอังกฤษ ดังแฟรงคลินได้เสนอแบบเหรียญมหาลัญจกรของประเทศสหรัฐอเมริกา ซึ่งมีข้อความการขับไล่ทรราชเป็นพันธกิจศักดิ์สิทธิ์ต่อพระเจ้าในคำประกาศอิสรภาพของอเมริกาที่เขียนไว้ว่า “เมื่อการใช้อำนาจไม่ชอบ การฉกฉวยดำเนินไปต่อเนื่องไม่ผันแปร ... จะเป็นระบบทรราชแบบสมบูรณ์
             จึงเป็นสิทธิเป็นหน้าที่ของประชาชนที่จะล้มล้างรัฐบาลเช่นนั้นเสีย” ในคำปรารภรัฐธรรมนูญฝรั่งเศสปี 1793 ก็มีกำหนดไว้หลายมาตรา เช่น มาตรา 27 “... เมื่อรัฐบาลละเมิดสิทธิของประชาชน ประชาชนย่อมต้องลุกฮือขึ้นต่อต้าน โดยถือว่าเป็นสิทธิที่ศักดิ์สิทธิ์ที่สุด และเป็นหน้าที่ที่จักขาดเสียไม่ได้มากที่สุด” และยังมีคำยืนยันสิทธินี้ในรัฐธรรมนูญอีกหลายประเทศ และยังมีกำหนดไว้โดยนัยยะในปฏิญญาสากลว่าด้วยสิทธิมนุษยชนด้วยเช่นกัน
             การใช้สิทธิดังกล่าวส่วนใหญ่ต้องมีการยกเลิกกฎหมายหรือละเมิดกฎหมายบางข้อ แต่ก็มีการอ้างได้ว่าเป็นการกระทำเพื่อประโยชนสูงสุดของประเทศชาติ เช่น โทมัส เจฟเฟอร์สัน กล่าวว่า “การเคารพกฎหมายอย่างเคร่งครัดเป็นหน้าที่ที่สูงส่งอย่างไม่ต้องสงสัยของพลเมืองที่ดี แต่การรักษาประเทศของเราจากอันตรายเป็นพันธกิจที่สูงกว่า การสูญเสียประเทศของเราโดยการติดยึดกับกฎหมายที่ตราไว้โดยสำนึกทางศีลธรรมของเรา จะเท่ากับเป็นการสูญเสียระบบกฎหมายทั้งหมด ชีวิต เสรีภาพและทรัพย์สินทั้งหมดของเรา จึงเท่ากับเป็นการเสียสละเป้าหมาย (ประเทศและชีวิต) เพื่อรักษาเครื่องมือ (คือตัวบทกฎหมายบางข้อ – ผู้เขียน) ไว้อย่างไร้เหตุไร้ผลโดยสิ้นเชิง”
             อย่างไรก็ตาม ศาลมักเตือนว่าการใช้สิทธิดังกล่าว รัฐธรรมนูญ กฎบัตรต่างๆ มักพิจารณาให้ใช้ในสภาวะที่เป็นความจำเป็นที่เกิดขึ้นจริงๆ เป็นมาตรการสุดท้าย โดยการไตร่ตรองด้วยเหตุผลและสามัญสำนึก ไม่ใช่การโน้มน้าวจูงใจด้วยอารมณ์หรือความเคียดแค้นชิงชัง
             4. “การปฏิวัตินกหวีด” หรือ “ประชาภิวัฒน์” กปปส. ปฏิเสธการยุบสภาเพื่อให้มีการเลือกตั้งใหม่ของรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ทางเลือกของ กปปส. จึงเหลือเพียง 2 ทาง ทางแรกคือการกดดันให้เกิด “สุญญากาศ” ทางการเมือง เพื่อใช้มาตรา 3 มาตรา 7 แต่คาดว่าพรรคเพื่อไทยคงไม่ยินยอม และหนทางดังกล่าวจะทำให้เกิดความอึดอัดไม่สบายใจของฝ่ายต่างๆ ที่จะตีความรัฐธรรมนูญหรือปฏิบัติตามแนวคิดดังกล่าว
             อีกหนทางไม่เคยเกิดในประเทศไทย คือการปฏิวัติของประชาชน ทั้งนี้เพราะการเปลี่ยนแปลง 2475 เป็นการปฏิวัติของทหารร่วมกับพลเรือน เพื่อล้มระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ เหตุการณ์ 14 ตุลาคม 2516 ประชาชนมีส่วนเฉพาะการโค่นล้มระบอบเผด็จการ
             แต่ไม่มีส่วนในการออกแบบระบอบการเมืองที่ใช้กันต่อมา เหตุการณ์พฤษภาคม 2535 การปฏิวัติ 19 กันยายน 2549 ก็มีลักษณะเช่นเดียวกัน ประชาภิวัฒน์หรือ “การปฏิวัตินกหวีด” จึงอาจถือเป็นการ “ปฏิวัติประชาชน” ครั้งแรก เพราะเรียกร้องสภาที่ประชาชนมีอำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญ เป็นครั้งแรกในประวัติศาสตร์การเมืองไทย แต่เนื่องจากระบอบการเมืองที่ถูกล้มไป
             มาจากการเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญที่ชอบธรรม [หมายเหตุ การปฏิวัติกับประชาธิปไตยเป็นคนละสิ่งกัน การปฏิวัติไม่เคยเกิดจากประชาชนหมดทั้งประเทศออกมาใช้สิทธิแบบการเลือกตั้ง ไม่ว่าการปฏิวัติประชาธิปไตยของอังกฤษ (1688) การปฏิวัติฝรั่งเศส (1789) การประกาศอิสรภาพของอเมริกา (1776) การปฏิวัติกำมะหยี่ (1989) ของเชกโกสโลวาเกีย การปฏิวัติสีส้ม (2004) ของยูเครน
             ล้วนเป็นประชาชนจำนวนหนึ่งซึ่งอ้างเจตนารมณ์ร่วม (General Will) ของประชาชนทั้งสิ้น อำนาจในการสถาปนารัฐธรรมนูญของประเทศทั่วโลกก็มาจากตัวแทนของฝ่ายต่างๆ ซึ่งแต่งตั้งโดยผู้ทำการปฏิวัติทั้งสิ้น]
             จึงอธิบายได้ว่าประชาชนทำปฏิวัติได้ เพียงแต่ต้องทำให้คนเชื่อมั่นว่า “การปฏิวัติประชาชน” ครั้งนี้จะทำให้ประเทศเป็นประชาธิปไตยมาก มีสิทธิเสรีภาพที่ดีขึ้นกว่าเก่า มีความเคารพซึ่งกันและกันมากขึ้น ทำให้ประเทศมีสภาพที่ดีขึ้น และแก้ปัญหาเลวร้ายที่เรียกว่าระบอบทักษิณได้จริงหรือไม่ บ่อยครั้งการอ้างความเป็นตัวแทนของประชาชนก็ไม่เป็นจริง แม้ในสหรัฐเองตัวแทนจากหลายรัฐก็มาจากอภิสิทธิ์ชนเกือบทั้งหมด สวิสเซอร์แลนด์อาจเป็นข้อยกเว้นประเทศเดียว (ดู R.R.Palmer, The Age of the Democracy Revolution vol.I,II (1989)) ประเด็นสำคัญคือเนื้อหาและการปฏิบัติให้เป็นจริงมากกว่า
             5. ความยากลำบากที่สุดของการนำพาให้การปฏิวัติประชาชนสำเร็จ และไม่สามารถทำให้สำเร็จได้ในเมืองไทย การปฏิวัติประชาชนเกิดขึ้นได้ยากอย่างยิ่ง โดยเฉพาะของประเทศไทยในครั้งนี้ซึ่งอาศัยเพียงนกหวีดเป็นอาวุธ และโดยประเพณีในการเมืองไทยต้องประกอบไปด้วยปัจจัย
             ก. การรับรองจากประมุขของประเทศ
             ข. การยอมรับจากกองทัพ ตำรวจ ข้าราชการ
             ค. ในปัจจุบันประชาชนซึ่งตื่นตัวในสิทธิประชาธิปไตยมีมากขึ้น การยอมรับของประชาชนทุกส่วนและภาคเอกชนก็เป็นปัจจัยที่สำคัญยิ่ง
             ผู้เขียนสนับสนุนแนวทางการปฏิวัติของประชาชน เพราะเป็นพัฒนาการอีกขั้นของการตระหนักถึงสิทธิอำนาจของประชาชน อยากให้ประสบความสำเร็จ ให้มวลมหาประชาชนกว่า 2 ล้านคนได้สมหวัง จึงขอออกแรงในทางความคิดเสนออย่างจริงจังและตั้งใจจริง ดังนี้
             กปปส. ควรตระหนักว่า การประกาศทวงอำนาจสูงสุดคืออำนาจอธิปไตยคืนเป็นของประชาชน ซึ่งโดยนัยยะมี กปปส. เป็นตัวแทนถืออำนาจนั้น เป็นเรื่องที่ยิ่งใหญ่สำคัญมาก ไม่เคยปรากฏมาก่อนในบ้านเรา เพราะมันหมายถึงการยอมให้มีการเปลี่ยนแปลงผู้ถือครองอำนาจในการจัดการสิทธิเสรีภาพในชีวิต ทรัพย์สิน ของแต่ละคน รวมทั้งทิศทางทั้งหมดของประเทศได้ จึงมีความจำเป็นที่ กปปส. ต้องตระหนักดังนี้
             ก. การเร่งรัดให้คนกลุ่มอาชีพต่างๆ ยอมรับการตัดสินใจของ กปปส. โดยไวเกินไป ยิ่งทำให้คนลังเล การใช้เวลาให้คนส่วนใหญ่ได้ครุ่นคิด ตริตรอง ทำความเข้าใจ และมีโอกาสได้ไต่ถามพูดคุยกับ กปปส. กระบวนการเกิดนโยบายหรือการจัดตั้งสภาประชาภิวัฒน์เพื่อร่างรัฐธรรมนูญ ควรต้องเป็นการปรึกษาหารือเพื่อสร้างฉันทามติอย่างกว้างขวางจริงใจ จากนั้นอาจต้องผ่านประชามติและเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยจริงๆ โดยเร็วที่สุด เพื่อสร้างความเข้าใจกับประชาชน กปปส. ควรแสดง
             1) การมีเจตจำนงการเมืองที่แน่วแน่ (Political Will) ที่จะบรรลุภารกิจที่ตัวเองประกาศไว้ นั่นคือการแก้ไขการขยายตัวของการคอร์รัปชั่น ซึ่งเป็นตัวฉุดดึงทั้งภาคเศรษฐกิจ สังคม ความมั่นคงของชาติ ให้ล่มสลายตามไปด้วย ซึ่งจำเป็นต้องมีมาตรการกฎหมายที่เข้มงวด มีการสร้างหน่วยงานปราบคอร์รัปชั่นที่มีอำนาจสูง การปฏิรูประบบยุติธรรม เช่น ตำรวจ อัยการ ให้ทำงานสอดคล้องกัน พิสูจน์ลงโทษให้เห็นชัดเจน
             2) ต้องมีคำประกาศอุดมการณ์การเมืองที่ชัดเจน ผูกมัดตัวเอง ผูกมัดสังคมที่จะเคารพสิทธิเสรีภาพของประชาชน สิทธิเสรีภาพของประชาคมและชุมชน ท้องถิ่น จริงจัง ต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่ประชาธิปไตยที่แท้จริงโดยไว
             3) ต้องมีอุดมการณ์เศรษฐกิจที่ชัดเจน ซึ่งควรเป็นเสรีนิยมที่เป็นธรรม ไม่ใช่เป็นประชานิยมเอียงซ้าย หรือชาตินิยมแบบอเมริกาใต้ ซึ่งนำความเสื่อมโทรมมาสู่เศรษฐกิจชาติอย่างชัดเจน ขณะเดียวกันก็เป็นการสร้างความเป็นธรรม อำนาจในการจัดสรรแบ่งปันทรัพยากร ความมั่งคั่งที่กระจายอย่างยุติธรรมมากขึ้น
             4) ควรเน้นเนื้อหาการกระจายอำนาจสู่ภูมิภาค เน้นการเคารพการตัดสินใจในการดูแลผลประโยชน์ของท้องถิ่น
             5) เคารพภูมิปัญญา วัฒนธรรม ประเพณี ประวัติศาสตร์ท้องถิ่นเอาใจใส่เอื้ออาทรซึ่งกันและกัน
             6) พัฒนาแลกเปลี่ยนระดับความรู้ของทุกภูมิภาคให้เท่าเทียมกัน ทั้งในด้านการศึกษา วิจัย การพัฒนา
             7) ดังที่ได้ย้ำหลายหนว่า การปฏิวัติเพื่อสถาปนารัฐธรรมนูญที่มีการอ้าง “อำนาจประชาชน” หรือเจตจำนงของประชาชน โดยไม่เคยเป็นประชาธิปไตย 100% ทุกที่ แต่ก็ต้องให้สภาประชาภิวัฒน์หรืออื่นๆ มีลักษณะเป็นระบบตัวแทนที่กว้างขวางที่สุด
             ข. กปปส. มีความสามารถในการโน้มน้าวจูงใจ แจกแจงเหตุผลให้กับมวลชนจำนวนมากที่สุดเท่าที่เคยมีมา ซึ่งก็คือลักษณะของขบวนการต่อต้านคัดค้านรัฐบาล (protest movement) เป็นทุนหรือเป็นพลังทางการเมืองที่สำคัญ แต่แม้จะเพิ่มจำนวนผู้เข้าร่วมอีกก็ยังไม่สามารถบรรลุเป้าหมายได้
             แต่การจะได้มาซึ่งอำนาจอธิปัตย์โดยเฉพาะการยอมรับจากประมุขประเทศ และการสนับสนุนถึงขั้นให้ข้าราชการทหาร ตำรวจ พลเรือน มารายงานตัว ยังต้องอาศัยการยอมรับ ความไว้วางใจในเจตจำนงทางการเมือง อุดมการณ์ทางเศรษฐกิจ การเมือง บุคลิกท่วงทำนองประชาธิปไตย การเคารพซึ่งกันและกัน การอดทนต่อความแตกต่าง บุคคลเข้าร่วมหรือพร้อมจะเข้าร่วมที่มีคุณวุฒิ มีความสามารถด้านต่างๆ มาประกอบ ถ้าจะเปรียบเทียบก็คือ กปปส. และมวลมหาประชาชนเป็นเสมือนฐานราก ยังจำเป็นต้องมีส่วนอื่นๆ คือ เสา ฝา หลังคา รั้ว เพื่อประกอบเป็นโครงสร้างหน้าที่ที่สมบูรณ์
             ถ้าใช้ศัพท์การเมืองก็คือการมีองค์กรแนวร่วม (united front) ที่ประกอบด้วยบุคคลที่เสมือนเป็นทุนทางสังคม ทุนทางสัญลักษณ์ ทุนทางศรัทธา ความน่าเชื่อถือ ความสามารถและมีประสบการณ์ ซึ่งที่จริง กปปส. สามารถที่จะแสวงหาทรัพยากรเหล่านี้ได้ไม่ยาก
             ทั้งจากผู้เข้าร่วมชุมนุมอยู่แล้ว และจากพรรคประชาธิปัตย์ จากองค์กรภาคธุรกิจเอกชน 7 องค์กรที่ประกาศพร้อมจะเป็นคนกลาง บุคคลผู้อาวุโสในสังคม เทคโนแครตบางส่วน การเน้นคนเหล่านี้อาจถูกหาว่าเป็นอภิชนนิยม การเปิดทางให้ชนชั้นสูงเป็นใหญ่ (elitism แต่ถ้าเน้นเฉพาะหลักการให้การเลือกตั้งเป็นตัวสินในทุกสถานการณ์ ก็เป็นแนวธนานิยม moneyism คือแนวโน้มการให้อำนาจเงินเป็นใหญ่ไปอีกทาง) จึงควรมีองค์ประกอบจากตัวแทนรากหญ้า ผู้นำปัญญาชนการเมืองท้องถิ่นทุกจังหวัดด้วย
โครงสร้างแนวร่วมประชาภิวัฒน์ที่ควรจะเป็น
             การต่อสู้ครั้งนี้อาจไม่บรรลุชัยชนะ หรือเราอาจผิดหวังกับผลงานของผู้ที่จะทำงานให้กับประชาชนในอนาคต แต่ที่สำคัญที่สุดคือได้เกิดประสบการณ์การใช้สิทธิอำนาจของประชาชน พลังที่แท้จริงของภาคประชาชน อำนาจต่อรองกับอำนาจการเมืองอย่างจริงจังเป็นครั้งแรก ซึ่งคุ้มค่าแก่ความเหนื่อยยากทั้งปวงอยู่แล้ว และถ้ารักษาพลังนี้ได้เราก็อาจได้แนวร่วมของขบวนการตรวจสอบภาคการเมืองต่อต้านคอร์รัปชั่นที่เข้มแข็งของประเทศในอนาคตได้
ธีรยุทธ บุญมี
แถลงที่สมาคมนักข่าวนักหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย
10 ธันวาคม 2556 วันรัฐธรรมนูญ

วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ประมวลข่าว “ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร”



    รายละเอียดคำตัดสิน
       
       • เสียดินแดนเพิ่ม! ศาลโลกสั่งไทยถอนกำลังรอบปราสาทพระวิหาร(อ่านคำพิพากษาคำต่อคำ) 
       • คำต่อคำ “ทูตวีรชัย” รับกลางสภา ไทยเสียดินแดนเกินเส้นมติ ครม.ปี 05
       • ดูชัดๆ “ฟิฟทีนมูฟ” แฉไทยเสียเกือบครึ่งของ 4.6 ตร.กม.เขมรจ่อได้ “มออีแดง” เพิ่ม





       
       • ดาวน์โหลดคำพิพากษา : REQUEST FOR INTERPRETATION OF THE JUDGMENT OF 15 JUNE 1962 IN THE CASE CONCERNING THE TEMPLE OF PREAH VIHEAR (CAMBODIA v. THAILAND) ไฟล์สกุล PDF เป็นภาษาอังกฤษ
       • ประมวลข่าว สถานการณ์เขาพระวิหาร และชายแดนไทย-กัมพูชา
       
       ข่าว
       
       ก่อนอ่านคำพิพากษา
       
       • “ลุงจำลอง” ประกาศไม่รับศาลโลก พร้อมนำมวลชนต้านคำตัดสิน “พระวิหาร” (ชมคลิป) - 11 พ.ย.
       • “สนธิ” ซัดมหาอำนาจขุดคดีพระวิหารฮุบพลังงาน ลั่นต้องปฏิรูปเลิกการเมืองถอนทุน แฉมีคนขอลี้ภัยไปอังกฤษ (ชมคลิป) - 11 พ.ย.
       • “ยิ่งลักษณ์” โพสต์เฟซบุ๊กก่อนตัดสินพระวิหาร ให้มั่นใจรัฐปกป้องชาติ ขอ ปชช.อยู่ในความสงบ - 11 พ.ย.
       • “ปู” เล็งแถลงหลังคำตัดสินพระวิหาร 40 นาที-มท.1 สั่งผู้ว่าฯรับมือ จ่อฟัน ปชป.กบฏ - 11 พ.ย.
       
       หลังอ่านคำพิพากษา
       
       • “สื่อนอก” ระบุ “ศาลโลก” ตัดสินให้ “กัมพูชา” เป็นเจ้าของดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร - 11 พ.ย.
       • “ศาลโลก” ตัดสินให้ “พื้นที่ตั้งปราสาทพระวิหาร” เป็นของ “กัมพูชา” - 11 พ.ย.
       • ศาลโลกยกพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร - เอเอฟพี - 11 พ.ย.
       • เขมรตีปีกพอใจศาลโลกยืนยันอธิปไตย “ทั่วทั้งบริเวณ” พระวิหาร - 11 พ.ย.
       
       • “ทูตวีรชัย” แจงคำสั่งศาลโลกไทยไม่เสีย 4.6 ตร.กม.แต่เขมรได้จุดที่แคบมาก สั่ง 2 ฝ่ายร่วมดูแลปราสาท - 11 พ.ย.
       • “ปู” แถลง อ้างคำสั่งศาลโลกเป็นคุณกับไทย - 11 พ.ย.
       • “ปานเทพ” ยันคำตัดสินศาลโลกไทยเสียดินแดนมากกว่าเดิม หวั่นกัมพูชาชอบธรรมรุกล้ำ - 11 พ.ย.
       • ผู้ชุมนุมสุดทนไทยเสียดินแดนจุดไฟเผาตัวเอง-กปท.ท้า “ปู” พักงาน-ผบ.เหล่าทัพมาพบ - 11 พ.ย.
       
       • “คำนูณ” ตีความไทยเสียพื้นที่เพิ่ม เสนอ 4 ทางออกให้รัฐบาลตัดสินใจ - 11 พ.ย.
       • “ทีมทนาย” ยันศาลโลกตัดสินเป็นคุณกับไทย ใกล้เคียงมติ ครม.ปี 05 - 11 พ.ย.
       • “ดร.สมปอง” ชี้ยังไม่เสียดินแดน เว้นแต่พี่ไทยใจดีโมเมยกให้เขมรเอง - 11 พ.ย.
       
       • กกล.สุรนารี พบ ผบ.ทหารเขมร ยันสัมพันธ์แนบแน่น ไร้เหตุปะทะ - 12 พ.ย.
       • ทหารไทย-กัมพูชา เปิบมื้อกลางวันร่วมกันในปราสาทตาควาย หลังพิพากษาพระวิหารวานนี้ - 12 พ.ย.
       • “ปู” ประชุม ครม.ถกคำตัดสินศาลโลก ขอเปิดสภาแก้วิกฤตม็อบ ทหารยันไม่ถอนกำลังพ้นพระวิหาร - 12 พ.ย.
       • ฝ่ายค้านกังขารัฐบาลนัดรัฐสภาถกปราสาทพระวิหาร แทนสถานการณ์บ้านเมือง - 12 พ.ย.
       • “มาร์ค” ชี้ไทยส่อเสียดินแดน 0.3 ตร.กม.ให้เขมร จี้ ตร.ล่าชายชุดดำจ้องป่วนม็อบ - 12 พ.ย.
       
       • “ปู” ชี้ผลพิพากษาชัยชนะ 2 ชาติ รอถามเสียแดนให้เขมรเท่าใด อ้างศาลไม่วินิจฉัยแผนที่เป็นคุณ - 12 พ.ย.
       • “นพดล” ตีความเอง ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหารเป็นคุณกับไทย - 12 พ.ย.
       • กมธ.ตปท.หวั่นศาลโลกทำเสียท่าเขมร ย้ำเจรจาต้องเข้าสภา-วุฒิฯ ลงมติ ป.ป.ช.ใหม่
       • 40 ส.ว.ย้ำไทยเสียดินแดนชะง่อนผาให้เขมร ซัดรัฐบาลแถลงแต่ด้านดี-เตือนระวังโทษประหาร - 12 พ.ย.
       • “บิ๊กตู่” ถามเสียดินแดนตรงไหน! อ้างศาลไม่ได้พูดชัด ลั่นไม่ถอนกำลัง - 12 พ.ย.
       
       • กห.เน้นสงบสุข รักษาสัมพันธ์เพื่อนบ้าน ไม่สร้างความตึงเครียด - 12 พ.ย.
       • นักวิชาการจุฬาฯ อ้างไทยเสียดินแดนแค่รู้สึกไปเอง แนะจับมือเขมรเน้นสันติวิธี - 12 พ.ย.
       
       • “ปานเทพ” ชี้ไทยเสียเกือบพันไร่ให้เขมร แฉ 5 ข้อ “รัฐบาลปู” พูดไม่หมด - 13 พ.ย.
       • “ทูตวีรชัย” อ้างศาลไม่ได้ตัดสินตามคำขอเขมร ปชช.เข้าใจได้ใครแพ้ ใครชนะ - 13 พ.ย.
       • “ปู” ขอบคุณทีมสู้คดีพระวิหาร ฝากแจง ปชช. ย้ำคำพิพากษาเป็นผลบวกกับไทย - 13 พ.ย.
       • “รสนา” ค้าน รบ.เปิดรัฐสภาหารือพระวิหาร ชี้คำพิพากษายังไม่ชัด ส่อมีเงื่อนงำ - 13 พ.ย.
       • “มาร์ค” จวกรัฐไม่แจงคำพิพากษาพระวิหาร เตือน ตร.อย่าเลือกข้างลุยม็อบ - 13 พ.ย.
       
       • สภาทนายฯ ยันศาลโลกให้ไทยแพ้คดีพระวิหาร สูญเสียอธิปไตยเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม. - 13 พ.ย.
       • “ทูตวีรชัย” รับแล้วไทยเสียดินแดนพระวิหาร เกินเส้นมติ ครม.-“ยิ่งลักษณ์” โผล่สภา - 13 พ.ย.
       • “ปานเทพ” ฉะรัฐปกปิดส่อเสียดินแดนเพียบ จี้ประชามติถามใจ ปชช.รับศาลโลกหรือไม่ - 13 พ.ย.
       • กห.รอรัฐตีความพระวิหารให้ชัด ย้ำสัมพันธ์ทหารเขมรดี - 13 พ.ย.
       • คปท.ยื่น 7 ข้อ จี้รัฐไม่ทำตามคำสั่งศาลโลก ชะลอทูลเกล้าฯ ม.190-จวก ตร.หาเรื่องจับรถติดธงชาติ - 13 พ.ย.
       
       • “คำนูณ” ยันไทยเสียดินแดน 600 กว่าไร่บวกลบ จี้รัฐเจรจาเขมรต้องเข้าสภาฯ ทุกขั้นตอน - 13 พ.ย.
       • ร.ร.ภูมิซรอลเปิดเรียนวันแรก หลังศาลโลกตัดสิน “เขาวิหาร” - 13 พ.ย.
       • “อภิสิทธิ์” จี้นายกฯ ระงับทูลเกล้าฯ ม.190 “ปู-ปึ้ง” อ้างไม่เคยพูดยอมรับอำนาจศาลโลก - 13 พ.ย.
       
       • “ทูตวีรชัย” ของขึ้นซัด “ศิริโชค” ยกเมฆอ้างแผนที่พระวิหารทำไทยเสียดินแดน - 14 พ.ย.
       • “ปู” สร้างภาพยุติความรุนแรง! จี้หยุดจ้อพระวิหาร แนะรอฟัง กต.โวยทำเจรจาลำบาก - 14 พ.ย.
       • “ตรึงใจ” โต้ “นพเหล่” ชี้ไทยพลาดลงนามยกพระวิหารมรดกโลกให้เขมร แนะรัฐไม่ควรโอ๋มากเกิน - 14 พ.ย.
       
       • “ทูตวีรชัย” โอดอย่าด่วนสรุปไทยเสียกี่ไร่ คดีเขาพระวิหารจะเสียประโยชน์คุยกับเขมร - 15 พ.ย.
       
       • ปลัด กห.วอนหยุดพูดพระวิหารหวั่นเข้าทางเขมร จี้ม็อบตอบอยู่ไปเพื่ออะไร - 16 พ.ย.
       
       รายงานพิเศษ
       
       • ย้อนรอยเขาพระวิหาร “ใครทำไทยเสียแผ่นดิน”
       • รายงานพิเศษ : สำรวจ “ชายแดนไทย-เขมร” ในห้วงเวลาชี้ชะตาพระวิหาร
       • ส่องกล้องคำวินิจฉัยศาลโลก : ชาวเขมรเข้าใจว่าพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ตกเป็นของกัมพูชา
       • เรื่องที่ทูตวีรชัยอาจยังไม่ทราบ ..“ฮุนเซน” ยันศาลโลกตีความตามแผนที่ 1/200,000
       • เปิดสภาผ่านคดีเขาพระวิหาร “ตบตา” คนไทยเลี่ยง “ม.190”
       
       • ถอดรหัสคดีพระวิหาร ไทยแพ้ กัมพูชาชนะ ใครว่า win – win?
       • “ทักษิณ-สมัคร-นพดล” 3 คนบาปแห่งเขาพระวิหาร
       • “มาร์ค-ปู” ดื้อตาใส ทำไทยเสียดินแดน??
       
       บทความ
       
       • ศาลโลกตัดสินแล้ว...เอาไงต่อ?
       • ต้องลงประชามติ และเอามาตรา 190 คืนมา ข้อเรียกร้องที่อาจหยุดยั้งการเสียดินแดน !
       • ใครทำให้ไทยเสียดินแดนให้เขมร

วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ศาลโลก บรรยาย “ชะง่อนผา” เขาพระวิหารเกินขอบเขต

 “ฟิฟทีนมูฟ” แฉนิยามวรรค 98 คำตัดสินศาลโลก บรรยาย “ชะง่อนผา” เขาพระวิหารเกินขอบเขต รวมเอาพลาญอินทรีย์ สถูปคู่ เข้าไปด้วย พบไทยต้องเสียให้กัมพูชาเกือบครึ่งหนึ่งของ 4.6 ตร.กม.แถมเขมรอาจตีความเอาภาพสลักนูนต่ำบนผามออีแดง ซ้ำยังให้ใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนกำหนดแนวทิศเหนือของชะง่อนผา เท่ากับศาลให้ใช้เส้นนี้กำหนดเขตแดนไทย-กัมพูชา
      


เขาพระวิหาร ที่สื่อไทย นักการเมือง ทหารใหญ่ ทำให้คนไทย เข้าใจอะไรผิดๆ ไม่มีพื้นที่ทับซ้อน บนเขาพระวิหาร มีแต่ พื้นที่ ที่ถูกเขมรยึดไว้!!!

       หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ได้อ่านคำพิพากษาคดีการตีความคำตัดสินคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า พื้นที่บริเวณชะง่อนผา หรือ ยอดเขา (promontory) ตามที่ศาลได้อธิบายไว้ในวรรคที่ 98 ของคำตัดสินนี้ เป็นพื้นที่ของกัมพูชา และไทยมีพันธกรณีที่จะถอนกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาจากบริเวณนั้นทั้งหมด ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงว่า ชะง่อนผา หรือ ยอดเขา ตามวรรค 98 กินพื้นที่แค่ไหนกันแน่ ล่าสุดเว็บไซต์ “ฟิฟทีนมูฟ” ซึ่งได้เกาะติดการเสียดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหารมาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องยาวนาน ได้นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง คำตัดสินคดีพระวิหาร “เล็ก แคบ จำกัด” แค่ไหนโดยการแปลคำนิยามของวรรคที่ 98 ของคำตัดสินศาลโลกวันที่ 11 พ.ย.56 แล้วนำไปวางจุดบนแผนที่จริงและคำนวณพื้นที่ ซึ่งพบว่าขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหาร ตามคำนิยามวรรค 98 มีพื้นที่ใกล้เคียงครึ่งหนึ่ของพื้นที่ 4.6 ตร.กม.และบรรยายขอบเขตกินความไกลเกินกว่าคำว่าชะง่อนผา คือรวมเอาพื้นที่หุบเขาพลาญอินทรีย์ เนินที่ตั้งของสถูปคู่และธงชาติไทย เข้าไว้ด้วย ทั้งนี้ ไม่นับรวมว่าอาจมีการตีความกินพื้นที่ผามออีแดงที่มีรูปสลักนูนต่ำและอื่นๆ เข้าไปด้วย
      
       นอกจากนี้ แม้ศาลโลกจะพยายามบอกว่าไม่ได้ตีความเรื่องเขตแดน แต่การให้ใช้เส้นในแผนที่ภาคผนวก 1 (มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000) กำหนดขอบเขตล่วงเลยไปไกลกว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะบอกว่าศาลโลกให้ใช้เส้นนี้แบ่งเขตระหว่างไทย-กัมพูชา
      
       คำตัดสินคดีพระวิหาร “เล็ก แคบ จำกัด” แค่ไหน 
       (โดย เว็บไซต์ “ฟิฟทีนมูฟ”)
      
       จากคำตัดสินของศาลโลกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ในคดีที่กัมพูชาขอให้ตีความคำตัดสินเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ศาลโลกได้มีมติเป็นเอกฉันท์ รวมผู้พิพากษาสมทบ (Judge ad hoc) ชาวฝรั่งเศสที่ไทยแต่งตั้งด้วย มีสาระคัญ ๒ เรื่อง คือ ส่วนแรกศาลคิดว่าศาลมีอำนาจในการตีความ และส่วนที่สอง ตีความว่า คำตัดสินเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ได้ตัดสินว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือพื้นที่ทั้งหมดของชะง่อนผาหรือยอดเขา (promontory) พระวิหาร ดังกำหนดไว้ในวรรค ๙๘ ของคำตัดสินปัจจุบัน
      
       คำตัดสินที่ “เป็นคุณแก่ไทย” ตามที่นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร ระบุว่า “เล็ก แคบ จำกัด” นั้นกินพื้นที่แค่ไหน จำเป็นต้องไปดูการบรรยายขอบเขตที่วรรค ๙๘ ซึ่งระบุไว้ดังนี้
      
       98. From the reasoning in the 1962 Judgment, seen in the light of the pleadings in the original proceedings, it appears that the limits of the promontory of Preah Vihear, to the south of the Annex I map line, consist of natural features. To the east, south and south-west, the promontory drops in a steep escarpment to the Cambodian plain. The Parties were in agreement in 1962 that this escarpment, and the land at its foot, were under Cambodian sovereignty in any event. To the west and north-west, the land drops in a slope, less steep than the escarpment but nonetheless pronounced, into the valley which separates Preah Vihear from the neighbouring hill of Phnom Trap, a valley which itself drops away in the south to the Cambodian plain (see paragraph 89 above). For the reasons already given (see paragraphs 92-97 above), the Court considers that Phnom Trap lay outside the disputed area and the 1962 Judgment did not address the question whether it was located in Thai or Cambodian territory. Accordingly, the Court considers that the promontory of Preah Vihear ends at the foot of the hill of Phnom Trap, that is to say: where the ground begins to rise from the valley.
      
       In the north, the limit of the promontory is the Annex I map line, from a point to the north-east of the Temple where that line abuts the escarpment to a point in the north-west where the ground begins to rise from the valley, at the foot of the hill of Phnom Trap.
      
       The Court considers that the second operative paragraph of the 1962 Judgment required Thailand to withdraw from the whole territory of the promontory, thus defined, to Thai territory any Thai personnel stationed on that promontory.
      
       การบรรยายขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหารตามวรรค ๙๘ แจกแจงได้ดังนี้
      
       (๑) ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชะง่อนผาชันดิ่งจากขอบผาลงไปยังตีนเขาและพื้นราบของกัมพูชา (ซึ่งขอบผาที่ว่าก็คือเส้นสันปันน้ำที่เป็นเส้นเขตแดนอย่างที่ควรจะเป็น)
      
       (๒) ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นดินลาดต่ำแต่ไม่สูงชันลงไปยังหุบเขา (พลาญอินทรีย์) ที่แยกพระวิหารออกจากภูมะเขือ (Phnom Trap) ซึ่งเป็นเนินเขาใกล้เคียง หุบเขาที่ว่าลาดต่ำไปทางทิศใต้ลงไปยังพื้นราบของกัมพูชา ขอบเขตตามทิศนี้ศาลโลกชี้ว่าชะง่อนผาพระวิหารสิ้นสุดที่ตีนเขาของภูมะเขือ และเจาะจงว่าคือแนวที่พื้นดินเริ่มยกตัวสูงขึ้นจากหุบเขา (ฝั่งภูมะเขือ)
      
       (๓) ทิศเหนือ ขอบเขตของชะง่อนผาคือเส้นในแผนที่ภาคผนวกหนึ่ง (Annex I map line) โดยบรรยายว่าเริ่มต้นจากจุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวปราสาทคือจุดที่เส้นจรดกับที่ลาดชัน/หน้าผา (escarpment) ไล่แนวไปยังจุดในทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่พื้นดินเริ่มยกตัวจากหุบเขา (พลาญอินทรีย์) ที่ตีนเขาภูมะเขือ
      
       คำบรรยายขอบเขตชะง่อนผาหรือยอดเขาพระวิหาร ศาลโลกได้ใช้แผนที่ภาคผนวก ๑ และเส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ เป็นเส้นแบ่ง ส่วนที่เหลือใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์และระดับสูงต่ำของพื้นที่ ประเด็นที่ต้องพิจารณาหลักคือ เส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ อยู่ตรงไหนของภูมิศาสตร์จริงหรือในแผนที่ปัจจุบัน เป็นที่ทราบว่าแผนที่ดังกล่าวคือแผนที่ต่อท้ายคำฟ้องคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตราส่วน ๑ ต่อ ๒๐๐,๐๐๐ ระวางดงรัก จัดทำขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ที่มีความคลาดเคลื่อนทางภูมิศาสตร์อย่างมาก และไม่สามารถมาวางทาบในแผนที่ปัจจุบันได้ การกำหนดพิกัดให้ใกล้เคียงเป็นเรื่องยาก ภายหลังกัมพูชาได้มีการนำแผนที่ภาคผนวก ๑ มาขยาย เช่น Map sheet 3 attached to annex 49 (มาตราส่วน ๑ ต่อ ๕๐,๐๐๐) หรือในรูปแบบอื่นที่อ้างว่าเป็นส่วนขยายของแผนนี้ เช่น ที่ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกและเอกสารตอบโต้คำชี้แจงของฝ่ายไทยที่ส่งไปยังศาลโลก เป็นต้น ไทยก็ได้มีการจัดทำแผนที่ลักษณะคล้ายกัน คือ แผนที่เขาพระวิหาร มาตราส่วน ๑ ต่อ ๑๕,๐๐๐ (ปรากฎในเอกสารที่กัมพูชายื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร)
      
       จากแผนที่ส่วนขยายของแผนที่ภาคผนวก ๑ เท่าที่รวบรวบได้ พอที่จะกำหนด “เส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑” ที่มีความเป็นไปได้ และขอบเขตของพื้นที่ “เล็ก แคบ จำกัด” ของชะง่อนผาหรือยอดเขาพระวิหาร ได้ดังนี้
ภาพแผนที่ทางภูมิศาสตร์แสดงความสูงของพื้นที่แสดงขอบเขตชะง่อนผาพระวิหารตามการตีความของศาลโลก ๑๑ พ.ย. ๕๖
      
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงขอบเขตชะง่อนผาพระวิหารตามการตีความของศาลโลก เมื่อ ๑๑ พ.ย. ๕๖
       แผนที่ทั้งสองแสดงขอบเขตของชะง่อนผาหรือยอดเขาพระวิหารตามแต่จะเรียก ด้วยเส้นประสีแดงและสุดที่ขอบผาเขาพระวิหารเนื่องจากเป็นเขตของไทยแต่เดิมก่อนการตีความ โดยมีข้อสังเกตเพิ่มเติม
     
       (๑) ศาลโลกให้นับรวมหุบเขาซึ่งคือส่วนที่เป็นพลาญอินทรีย์ เข้าเป็นส่วนเดียวกับชะง่อนผาเขาพระวิหาร (ดูคำอธิบายที่ส่วนแจกแจง ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ) บริเวณนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่มีการปะทะเกิดขึ้นหลายครั้ง
     
       (๒) จุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (บริเวณผามออีแดง) ที่อธิบายจุดเริ่มของเส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ มีความเป็นไปได้ ๒ แนวทาง คือ จุดแดงที่อยู่เหนือศูนย์วัฒนธรรมขึ้นไปซึ่งเป็นบริเวณจุดบรรจบที่พบในแผนที่ต่างๆ กับ จุดสีเหลืองอยู่บริเวณขอบผาของศาลาจุดชมวิว ซึ่งสอดคล้องกับการบรรยายของศาลโลก
     
       จากการคำนวณเบื้องต้นขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหารมีพื้นที่ใกล้เคียง ๑/๒ ของพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม.ที่เขมรรุกล้ำเข้ามา นอกจากนี้มีความชัดเจนว่าการบรรยายขอบเขตกินความไกลเกินกว่าคำว่าชะง่อนผา คือรวมเอา (๑) พื้นที่หุบเขาพลาญอินทรีย์ (๒) เนินที่ตั้งของสถูปคู่และธงชาติไทย เข้าไว้ด้วย ทั้งนี้ ไม่นับรวมว่าอาจมีการตีความกินพื้นที่ผามออีแดงที่มีรูปสลักนูนต่ำและอื่นๆ เข้าไปด้วย
     
       หากจะจำกัดพื้นที่ของชะง่อนผาให้ตรงตามภูมิศาสตร์จริง เส้นแบ่งสำคัญทางทิศเหนือควรเป็นห้วยตานี และใช้ห้วยนี้เป็นแนวเริ่มจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือสิ้นสุดที่หุบซึ่งอยู่ใต้สมบกคะมุม (ทิศเหนือของวัดแก้วฯ)
     
       แม้ศาลโลกจะพยายามบอกว่าไม่ได้ตีความเขตแดน แต่การใช้เส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ กำหนดขอบเขตล่วงเลยไปไกลกว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเอ่ยว่าศาลโลกให้ใช้เส้นนี้แบ่งเขตระหว่างไทย-กัมพูชา คือการชี้เขตแดนโดยนัย ส่วนที่ศาลขอให้ทั้งสองประเทศร่วมกันดูแลมรดกโลกนั้น เห็นว่าศาลโลกทะลึ่งพูดเลยเถิดไปไกลเกินกว่าคำขอของกัมพูชาและเกินขอบเขตหน้าที่ของตัวเอง

วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

“ปานเทพ” ยันคำตัดสินศาลโลกไทยเสียดินแดนมากกว่าเดิม หวั่นกัมพูชาชอบธรรมรุกล้ำ




อดีตแกนนำพันธมิตรฯ รุ่น 2 เผยหลังศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร ชี้ไทยเสียดินแดนมากกว่าเดิม ต้องถอยกำลังไปยังใกล้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสน ติง “วีระชัย” พูดวกมาที่ภูมะเขือ อ้างเขมรไม่ได้ตามที่ร้องขอทั้งหมด ทั้งที่เป็นเรื่องละเอียดอ่อน ยังมีปมกัมพูชาสร้างถนนรุกล้ำฝั่งไทยบริเวณบ้านโกมุย หวั่นอ้างความชอบธรรมรุกล้ำมากกว่าเดิม



       
       วันนี้ (11 พ.ย.) เมื่อเวลาประมาณ 17.00 น. นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ อดีตแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย รุ่น 2 กล่าวในรายการพิเศษ เกาะติดคำพิพากษาคดีเขาพระวิหาร ทางเอเอสทีวี หลังศาลยุติธรรมระหว่างประเทศอ่านคำพิพากษาการตีความคดีปราสาทพระวิหารเสร็จสิ้นลง โดยกล่าวว่า บทสรุปของคำพิพากษาศาลโลก ศาลมีอำนาจในการรับตีความ เนื่องจากมีข้อพิพาทจริงในเรื่องของการตีความว่าพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารอยู่ที่ไหน ประการต่อมา ศาลไม่สามารถจะตีความไปไกลเกินกว่าคำพิพากษาของศาลเดิม อะไรที่เกิดขึ้นหลังจากศาลมีคำพิพากษาแล้วศาลไม่รับรู้ เพราะฉะนั้นให้ยึดเฉพาะการตีความในคดีปราสาทพระวิหารในคดีนี้ ซึ่งศาลก็ระบุชัดเจนว่า พื้นที่ที่ฝ่ายไทยล้อมรั้วปราสาทพระวิหารโดยมติ ครม. นั้น ไม่ได้อยู่ในคำพิพากษาของศาลโลก และต้องถอยไปถึงในบริเวณที่ตำรวจจะถอน หมายถึงกองกำลังอยู่ ดังนั้นจะต้องถอยไปไกลเกินกว่าล้อมรั้วมากกว่านั้นอีก หมายความว่าเสียดินแดนเพิ่มเติมในทางตอนเหนือของปราสาทพระวิหาร ในปี 2505 เราไม่รู้ว่าสถานีตำรวจอยู่ที่ไหน แต่คำพิพากษาระบุว่าอยู่ใกล้แผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตารางกิโลเมตร ซึ่งต้องถอยทหาร ยามรักษาการณ์ ตำรวจออกจากพื้นที่บริเวณใกล้เคียงปราสาทพระวิหาร ไม่มีเสมอทั้งสองฝั่ง ถอยฝ่ายไทยฝ่ายเดียว ถอยมากกว่าเดิมแน่นอนแล้ว
     
       ประการต่อมา ศาลระบุว่าไม่ก้าวล้ำไปถึงภูมะเขือ เพราะไม่ได้อยู่ในกรณีพิพาท ศาลจึงไม่พิพากษาตามที่กัมพูชาร้องขอ ให้เป็นไปตามแผนที่ 1 ต่อ 200,000 ตารางกิโลเมตรในส่วนของกัมพูชา อีกประการหนึ่ง สิ่งที่น่าเป็นห่วงคือ ศาลโลกกล่าวว่าในกรณีแบบนี้จะต้องให้มีทางขึ้นได้จากฝั่งกัมพูชา ตรงนี้น่าเป็นห่วงที่สุด เส้นเดิมกัมพูชาได้พยายามสร้างถนนและทางขึ้นที่มาจากบ้านโกมุย อ้อมเข้ามา ล้ำเข้ามาเพื่อให้มีทางขึ้น ซึ่งในทางปฏิบัติแล้วจะต้องมีทางขึ้นให้ได้ด้วย จากฝั่งกัมพูชาจะขึ้นได้จริง จึงให้ฝ่ายไทยถอยออกทั้งหมด หมายถึงว่าประเทศไทยต้องถอยมากกว่าปี 2505 แน่นอนแล้วทั้งอาณาบริเวณ ตนเรียกว่าเป็นการสูญเสียอธิปไตยมากขึ้นกว่าเดิม จากที่เราขึ้นศาลโลกครั้งนี้
     
       ด้าน พล.ร.ท.ประทีป ชื่นอารมณ์ กล่าวว่า ถ้ามองในภาพรวมเราย้อนกลับมาประเด็นที่เราตั้งไว้ว่าศาลน่าจะมีคำพิพากษาออกมา 4 หนทาง คือ ไม่รับพิจารณา หรือรับพิจารณาแต่ออกมาเป็น 3 แนวทาง คือ รับพิจารณาแล้วตีความว่าเส้นเขตแดนจะเป็นไปตามมติ ครม.ของไทย กับตีความแล้วเส้นเขตแดนจะเป็นไปตามแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตารางกิโลเมตร ที่กัมพูชาต้องการ หรือสาม รับตีความแล้วตีความว่าเส้นเขตแดนเป็นไปตามที่ศาลโลกจะกำหนด ทั้งนี้ ในภาพรวมของคำพิพากษาซึ่งอ่านเสร็จ มองภาพรวมแล้วก็จะเห็นว่า ข้อหนึ่ง รับตีความ ข้อสอง ไม่ใช่ เพราะไม่ได้เป็นไปตามเส้นเขตแดน มติ ครม.ข้อสาม ใช่แล้วอาจจะมากกว่าที่ใช่ คือพื้นที่อาจจะมากกว่าที่เราคาดว่าจะสูญเสีย คือ 4.6 ตารางกิโลเมตร หรืออาจจะมากกว่า 4.6 กิโลเมตร แต่เรายังไม่เห็นที่ตั้งของสถานีตำรวจ
     
       อีกประการหนึ่ง คือ ไทยจะต้องถอนทหารออกไป เพื่อเปิดเส้นทางให้กัมพูชาสามารถเดินหรือเข้าสู่ตัวปราสาทได้ เพราะฉะนั้นเส้นทางที่ว่านั้นขณะนี้ได้ทำแล้ว ก่อสร้างแล้วตั้งแต่บ้านโกมุย ที่ฝ่ายไทยประท้วงว่าไม่ได้ เป็นการสร้างทางรุกล้ำเขตแดน อธิปไตยของไทย เพราะฉะนั้นแล้วเราก็ไม่ทราบว่าพื้นที่ตรงนี้มันแค่ไหน เพราะเส้นทางเปิดมาแล้ว แล้วทหารไทยจะต้องถอนออกไปจากขอบทางถนนนั้นไปเท่าไหร่ แต่ที่แน่ๆ คือมากกว่าเดิม เพราะว่าพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตรที่เรากำหนดไว้นั้น ไม่ถึงบ้านโกมุย ซึ่งไทยถือว่าเป็นของเรา ตรงนี้ยังไม่แน่นอนว่าจะมากหรือจะน้อยกว่า 4.6 ตารางกิโลเมตร ขณะเดียวกันที่ภูมะเขือที่ศาลไม่ตัดสิน ขณะนี้บริเวณสันเขาครึ่งหนึ่งทหารกัมพูชาได้ตั้งกองกำลังไว้ แต่เดิมอีกครึ่งหนึ่งไทยไปตั้งกำลังไว้ แต่ปัจจุบันไทยได้ถอนทหารลงมาจากยอดภูมะเขือแล้วทั้งหมด เพราะฉะนั้นคำพิพากษานี้จะทำให้ไทยสามารถเอาทหารขึ้นไปวางได้
     
       นายปานเทพ กล่าวว่า คำตัดสินที่เกิดขึ้นไม่มีอะไรบวก มีแต่เสียเพิ่มขึ้นมากกว่าเดิมในแง่ของคำพิพากษาครั้งนี้ ซึ่งจะต้องคำนวณอีกครั้งหนึ่ง
     
       พล.ร.ท.ประทีป กล่าวว่า ขอตั้งข้อสังเกตอย่างหนึ่ง ว่า การที่ศาลโลกมีคำพิพากษาเมื่อปี 2505 เห็นว่าแผนที่ภาคผนวก 1 เป็นส่วนหนึ่งของสนธิสัญญาปี 1904 และไทยได้ยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตารางกิโลเมตรแล้ว ดังที่สมเด็จฯ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ เสด็จฯ ขึ้นไปบนปราสาทพระวิหาร และมีเจ้าหน้าที่ฝ่ายฝรั่งเศสต้อนรับ ในฐานะเจ้าของพื้นที่ เป็นมุมมองของศาลชุดปัจจุบันที่เห็นคำพิพากษาศาลโลกปี 2505 เห็นเป็นอย่างนี้ แต่คำพิพากษาของศาลโลกในครั้งนี้เขารับตีความ และเน้นย้ำว่าในบทปฏิบัติการที่ 2 และภาคผนวก 1 ผนวกเข้าด้วยกัน โดยอ้างว่าต้องตีความแผนที่ภาคผนวก 1 ที่เกี่ยวกับบทปฏิบัติการ ซึ่งการที่ไทยถอนทหารและกองกำลังออกจากปราสาทและบริเวณใกล้เคียง จึงตีความว่ากองกำลังทหารของไทยมีอยู่ที่ไหนสัมพันธ์กัน ซึ่งมีหลักฐานว่าที่ตั้งอยู่สถานีตำรวจ ณ ขณะนั้น ซึ่งมากกว่ารั้วที่เคยขีดเอาไว้ และเส้นเขตแดนแผนที่มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตารางกิโลเมตร โดยที่ไม่ต้องบอกว่าเป็นเส้นเขตแดน ขณะที่ไทยมีพันธกรณีที่ต้องเปิดทางให้กัมพูชาเข้าถึงตัวปราสาทได้ ก็ใกล้เคียงกับเส้นเขตแดนมาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ตารตางกิโลเมตรแล้ว
     
       ส่วนการให้สัมภาษณ์ของนายวีรชัย พลาศรัย หัวหน้าทีมทนายความสู้คดี นายปานเทพ กล่าวว่า ตนฟังจากคำแปลฝั่งไทยยังไม่เห็นต้นฉบับ อาจมีความคลาดเคลื่อน เพราะเราฟังจากคำแปลที่ถ่ายทอดจากช่อง 11 นายวีรชัย กล่าวว่า ศาลมีอำนาจตัดสินซึ่งเราเห็นตรงกัน ซึ่งรู้ว่าเป็นผลร้ายอย่างไร นายวีรชัย จึงกล่าวว่ากัมพูชาไม่ได้ตามที่ร้องขอทั้งหมด เพื่อจะบอกว่าไม่ใช่ทั้งหมดที่กัมพูชาจะได้ ซึ่งการพูดอย่างนี้ไม่ผิด แต่ลึกๆ ก็คงเสียดินแดนมากกว่าเดิม กัมพูชาได้มากกว่าเดิม แต่นายวีรชัยกลับวกมาที่ภูมะเขือเลย ซึ่งประเด็นนี้เป็นประเด็นที่ละเอียดอ่อน ดังนั้นจึงย้ำไปว่าที่ภูมะเขือกัมพูชาไม่ได้ตามที่ร้องขอ และย้ำว่าพื้นที่เล็กมากๆ ซึ่งอันนี้ตนก็ย้ำว่า ศาลโลกก็พยายามย้ำบ่อยๆ เรื่องของพื้นที่ที่เล็กมากๆ เพียงแต่เราไม่สบายใจในสองประเด็น คือ เล็กมากๆ ที่ศาลโลกพูดถึงมันเป็นความที่พื้นที่เล็กมากๆ เหมือนที่ไทยคิดหรือเปล่า โดยเฉพาะอย่างยิ่งมี 2 ประโยคสำคัญก็คือ เราถอยไปมากกว่าเดิม แต่พื้นที่ที่สองที่เรากังวลกว่าก็คือ การที่บอกว่าจะต้องมีทางขึ้นได้ทั้งสองฝั่งจะต้องไปคุยกัน อันนี้ก็จริง เพียงแต่ว่าการที่ปล่อยให้มีพื้นที่กัมพูชาเข้าได้ มันจะแปลความหมายอะไรได้ ในเมื่อเราประท้วงมาโดยตลอดว่าถนนที่ทำทางเข้านั้นเป็นพื้นที่เพียงใดของฝั่งไทย ตนก็ไม่คิดว่าจะเป็นข่าวดีสำหรับฝั่งเมืองไทย
     
       “ผมยังเห็นว่าคุณสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รมว.ต่างประเทศ ไม่ควรใช้คำว่าเป็นที่น่าพอใจ ผมคิดว่ามันเป็นเรื่องที่ไม่น่าพอใจอย่างยิ่ง สำหรับคนไทยทั้งหมด และควรจะประกาศว่าศาลโลกเราไม่ควรจะยอมรับอำนาจ เพราะเราเสียมากขึ้นกว่าเดิม ไม่ได้ได้มากขึ้นกว่าเดิม วิธีการนำเสนอที่อยู่ในเวลาตอนนี้คือ ฝ่ายไทยต้องถอยมากกว่าเดิม และถ้าอยู่ระหว่างการเจรจาทั้งสองฝั่ง ฝั่งกัมพูชาย่อมมีความชอบธรรม ที่จะรุกไปมากกว่าเดิม โดยอาศัยจากการตีความครั้งนี้ได้” นายปานเทพ กล่าว

ตัดสินคดีพระวิหาร ไทยไม่เสียดินแดน 4.6 ตร.กม.-ไทยรัฐ


ตัดสินคดีพระวิหาร ไทยไม่เสียดินแดน4.6ตร.กม.




บางส่วนของคำตัดสิน - http://www.icj-cij.org/docket/files/151/17704.pdf

98. From the reasoning in the 1962 Judgment, seen in the light of the pleadings in the original proceedings, it appears that the limits of the promontory of Preah Vihear, to the south of the Annex I map line, consist of natural features. To the east, south and south-west, the promontory drops in a steep escarpment to the Cambodian plain. The Parties were in agreement in 1962 that this escarpment, and the land at its foot, were under Cambodian sovereignty in any event. To the west and north-west, the land drops in a slope, less steep than the escarpment but nonetheless pronounced, into the valley which separates Preah Vihear from the neighbouring hill of Phnom Trap, a valley which itself drops away in the south to the Cambodian plain (see paragraph 89 above). For the reasons already given (see paragraphs 92-97 above), the Court considers that Phnom Trap lay outside the disputed area and the 1962 Judgment did not address the question whether it was located in Thai or Cambodian territory. Accordingly, the Court considers that the promontory of Preah Vihear ends at the foot of the hill of Phnom Trap, that is to say:
where the ground begins to rise from the valley. In the north, the limit of the promontory is the Annex I map line, from a point to the north-east of the Temple where that line abuts the escarpment to a point in the north-west where the ground begins to rise from the valley, at the foot of the hill of Phnom Trap.
The Court considers that the second operative paragraph of the 1962 Judgment required Thailand to withdraw from the whole territory of the promontory, thus defined, to Thai territory any Thai personnel stationed on that promontory

104. In these circumstances, the Court does not consider it necessary further to address the
question whether the 1962 Judgment determined with binding force the boundary line between  Cambodia and Thailand. In a dispute concerned only with sovereignty over the promontory of Preah Vihear, the Court concluded that that promontory, extending in the north to the Annex I map line but not beyond it, was under Cambodian sovereignty. That was the issue which was in dispute in 1962 and which the Court considers to be at the heart of the present dispute over interpretation of the 1962 Judgment.
"วีรชัย พลาศรัย" สรุปคำพิพากษาศาลโลก เบื้องต้น ศาลไม่ได้ตัดสิน พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ภูมะเขือเป็นของกัมพูชา แนะทั้ง 2 ฝ่าย หารือ พื้นที่พิพากษาโดยมียูเนสโกเป็นตัวประสาน ในฐานะเป็นมรดกโลกร่วมกัน

วันที่ 11 พ.ย. ที่ศาลโลก กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แถลงข่าวครั้งแรกหลังรับทราบคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร ระหว่างไทย-กัมพูชา ของศาลโลก ว่า เบื้องต้นศาลโลกไม่ได้ตัดสินให้กัมพูชา ได้รับพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. พื้นที่ "ภูมะเขือ" ศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนหรือ ให้ใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน และประเด็นสุดท้าย ศาล ยังแนะนำให้ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกัน ในฐานะเป็นมรดกโลก โดยมียูเนสโก ร่วมหารือ
สำหรับคำพิพากษาบางส่วน ที่ศาลได้อ่านระหว่างขึ้นบัลลังก์ พิจารณาคดี ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนหน้าผา บนทือกเขาดงรัก เป็นพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชา เมื่อเดือน ก.พ. ปี2504 กัมพูชาได้ อ้าง เส้นสันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ตามเขตแดนที่กรรมการทั้งสองฝ่ายกำหนด และได้มีการออกแผนที่ 17 ระวางครอบคลุมชายแดน ไทย-กัมพูชา โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนและสยาม ในขณะนั้น
จากแผนที่นั้น ทำให้ปราสาทพระวิหาร ตกเป็นของกัมพูชา แต่คณะกรรมการก็ยุติหน้าที่ไปก่อนที่จะมีการทำแผนที่ฉบับสมบูรณ์ จากแผนที่นั้น เส้นในแผนที่ภาคผนวก 1 ก็กลายเป็นพรมแดนระหว่างสองประเทศ แต่ไทยบอกว่า ไม่ยอมรับแผนที่นั้น และนำมาสู่ข้ออ้างว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในฝ่ายไทย
ศาลเห็นว่า บทปฏิบัติการ กล่าวว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในดินแดนอธิปไตยของกัมพูชา ไทยมีพันธะในการถอนทหารออกมา หลังจากที่มีคำพิพากษา ปี 2505 ไทยก็ถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนามล้อมรอบปราสาทพระวิหาร หลังจากนั้นจนถึงวันนี้ กัมพูชาก็ได้ยื่นตีความ โดยธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60 ศาลฯ สามารถรับคำร้องในการตีความได้ ถ้ามีข้อพิพาทในคำพิพากษาจริง
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่คำพิพากษา ไทยมองว่า ไทยออกจากปราสาทพระวิหารแล้ว และไทยได้กำหนดแต่ฝ่ายเดียวว่า เขตของปราสาทพระวิหาร ตามมติ ครม. 2505 ซึ่งทางกัมพูชา ไม่ยอมรับการถอนกำลังของไทย กัมพูชาแย้งว่า รั้วลวดหนามได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนกัมพูชา ถือเป็นมุมมองที่แตกต่างกัน
ความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อกัมพูชา พยายามยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แปลว่า ทั้งสองฝ่าย มีข้อพิพาทในคำพิพากษาจริงศาลเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นขัดแย้งกัน และเส้นตามแผนที่ 1:200,000 ก็มีมุมมองที่ต่างกันว่า จะเป็นเขตแดน หรือไม่ และศาลก็เห็นว่า ทั้งสองฝ่ายก็มีมุมมองที่แตกต่างกันจริงในมุมมองของปราสาทและดินแดนของกัมพูชาตามบทปฏิบัติการข้อสองในคำพิพากษา 2505
ศาลเข้าใจว่า ปราสาทอยู่ในดินแดนของกัมพูชา นอกจากนั้น ศาลยังดูถึงเรื่องการถอนทหารของไทย จากตัวปราสาท และบริเวณใกล้เคียง รวมถึงกรณีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและการปะทะกัน แสดงว่า มีความเข้าใจที่ต่างกันจริงว่า ไทยต้องถอนทหารไปที่ใด ซึ่งยืนยันด้วยการให้การเป็นลายลักษณ์อักษร และการให้การโดยวาจาของทั้งคู่

ศาลเห็นว่า มีข้อพิพาท 3 ข้อ
1) คำพิพากษาปี 2505 ถือว่า เส้นเขตแดน ตามแผนที่ 1:200000 เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ หรือไม่

2) บริเวณของกัมพูชา ตามบทปฏิบัติการที่ 2 อยู่ที่ใด ซึ่งเป็นผลที่ต่อเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1
3) พันธกรณีของไทยที่ต้องถอนทหารตามข้อบทปฏิบัติการที่สอง ต้องถอนไปที่ใด
จากทั้ง 3 ข้อ ศาลจึงเห็นว่า ต้องรับตีความคำพิพากษาของบทปฏิบัติการที่ 2 และผลทางกฎหมายของภาคผนวกที่ 1 ดังนั้นศาลโลก รับตีความคำพิพากษาตามคำร้องของกัมพูชา

ต่อมา ศาลจะอ่านข้อปฏิบัติการ และจะอยู่ในข้อพิพากษาเดิมอย่างเคร่งครัด จะไม่หยิบยก เรื่องที่ไม่ได้พิพากษาเอาไว้เมื่อปี 2505 มาพิจารณา อาจพิจารณาเหตุผลเพื่ออธิบายการตีความข้อปฏิบัติการได้ตามเหตุผลของ การพิพากษาในปี 2505 เพราะจะแสดงให้เห็นพยานหลักฐานในช่วงนั้น
ไทยตีความสู้ว่า ศาลโลกห้ามตีความเกินกว่าคำพิพากษาในปี 2505 ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานอยู่แล้ว ซึ่งศาลจะไม่สามารถตีความขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 2505 ได้ ตามธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60 ศาลไม่สามารถนำบทสรุปมาตีความได้ เพราะไม่ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา ศาลไม่ถือว่าบทสรุปของคำพิพากษาในปี 2505 ว่าสามารถนำมาตีความได้
โดยเมื่อปี 2551 ไทยอ้างว่า การปะทะกันเกิดจากคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาไม่ใช่สนธิสัญญา คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล อยู่ที่ว่าศาลพิพากษาอะไร ไม่ใช่ความเข้าใจของคู่ความที่เข้าใจกันเอง
ตรงนี้มีลักษณะ 3 ประการของคำพิพากษาในปี 2505 คือ
1) ศาลพิจารณาว่า นี่คือข้อพิพาทของอำนาจอธิปไตยของที่ตั้งปราสาท ศาลฯไม่ได้ทำหน้าที่ปักปันเขตแดน เมื่อกลับไปดูคำพิพากษา 2505 ประเด็นนี้เป็นเรื่องของเขตอธิปไตยมากกว่าเขตแดน แต่ศาลจะรับพิจารณาเฉพาะในส่วนของเหตุผล โดยไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงแผนที่ 1:200000 ไม่มีการแนบแผนที่ไปกับคำพิพากษา ดังนั้นศาลไม่ต้องตีความตรงนี้
2) แผนที่ 1:200,000 เป็นเหตุผลหลักในการพิพากษา ประเด็นหลักคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ 1:200,000 และเส้นแบ่งเขตแดนแล้ว หรือไม่
ศาลได้ดูพฤติการณ์แล้วเห็นว่า ไทยยอมรับทางอ้อมในแผนที่ 1:200000 และเส้นแบ่งเขตแดนบนแผนที่นั้นไปแล้ว เพราะไทยได้ยอมรับว่า แผนที่นี้ คือ แผนที่ที่เกิดจากคณะกรรมการเขตแดน และยอมรับเขตแดนตามแผนที่ 1:200000 ไปแล้ว

3) กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตของพื้นที่พิพาทนั้น มีขนาดเล็กมาก ซึ่งในทันทีหลังจากศาลได้พิพากษา ศาลได้อธิบายบริเวณนั้นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ด้านตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ซึ่งถือเป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ในขณะที่แผนที่ 1:200000 กลับวางเขตแดนยาวหลายร้อยกิโลเมตร ดังนั้น ศาลจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่พิพาทเท่านั้นเมื่อศาลไปดูบทปฏิบัติการทั้ง 3 นั้น ศาลเห็นว่า บทปฏิบัติการทั้ง 3 เป็นบทปฏิบัติการเดียวกัน ไม่ถือว่าแยกจากกัน

บทปฏิบัติการข้อ 1 นั้นชัดเจนว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แต่ศาลก็เห็นว่า เมื่อพิจารณาบทปฏิบัติการที่ 2-3 นั้น เห็นว่า บทปฏิบัติการที่ 2 ไม่ได้พูดถึงดินแดนของกัมพูชาที่ไทยจะต้องถอน รวมถึงบริเวณใกล้เคียง รวมถึงไม่ได้กำหนดว่า จะต้องถอนเจ้าหน้าที่ใดเนื่องจากบทปฏิบัติการที่ 2 บอกว่า ไทยจะต้องถอนทหารและผู้ดูแลจากปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียง
โดยไทยมีผู้เฝ้ายามอยู่ 1 คน บ้านพัก และแคมป์ขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งไทยบอกว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ แผนที่ 1:200000 แต่อยู่เหนือสันปันน้ำกัมพูชาต่อสู้ในปี 2505 ว่า ต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน อย่างไรก็ตาม ศาลไม่เห็นว่าต้องพิจารณาเส้นสันปันน้ำบริเวณนั้น
แต่สันปันน้ำ มีความสำคัญ เพราะไทยต่อสู้ว่าเส้นสันปันน้ำนั้นใกล้เคียงกับเส้นสันปันน้ำของกัมพูชา ดังนั้นสถานีตำรวจนั้นจึงอยู่เหนือเส้นสันปันน้ำเมื่อไทยดำเนินการถอนทหารนั้น ไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยอื่นอีกแล้วในบริเวณนั้น ดังนั้น บริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหารจึงควรนับไปถึงสถานีตำรวจของไทยที่ถอนไปนั้น และไม่ถือว่า เส้นตามมติครม. 2505 เป็นเส้นเขตแดน
เมื่อพิจารณาภูมิศาสตร์ หน้าผาสูงซึ่งกัมพูชา สามารถขึ้นสู่ปราสาทได้ ดังนั้น ศาลเห็นว่าเขตแดนกัมพูชาในทางเหนือนั้น ไม่เกินเส้นแบ่งของแผนที่ 1:200000 และสถานีตำรวจนั้นก็อยู่ไม่ไกลไปทางทิศใต้ของเส้นนั้น ศาลพิจารณาเห็นว่า พื้นที่ตามบทปฏิบัติการที่ 2 ต้องขยายครอบคลุมหน้าผา แทนที่จะเป็นมติครม. 2505
แต่ศาลไม่สามารถรับคำจำกัดความของกัมพูชาที่ขยายเขตแดนไปไกลจนถึงภูมะเขือ หรือไกลกว่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ในปี 2505 กัมพูชาไม่ได้ถือว่า ภูมะเขือและดงรัก อยู่ในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ดังนั้น จึงไม่ถือว่า ภูมะเขือ คือ ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร ไม่มีข้อเชื่อมโยงของทั้งสองสถานที่กับการถอนทหารของไทยและอธิปไตยของกัมพูชา
เมื่อพิจารณาบริเวณปราสาทพระวิหารด้านใต้ และตะวันตกเฉียงใต้นั้น ดังนั้นศาลจึงพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกข้อพิพาท และคำพิพากษาปี 2505 ก็ไม่ได้บอกว่าภูมะเขือ อยู่ในเขตแดนของใคร
คำพิพากษากำหนดว่า การถอนทหารของไทย จะกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนในการถอนทหาร อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความคำพิพากษานั้น ได้เพราะไม่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษา 1 ศาลโลกรับตีความคำพิพากษาตามคำร้องของกัมพูชา คำพิพากษา 2: ภูมะเขือและหน้าผาอยู่นอกบริเวณปราสาทพระวิหาร
3) ศาลไม่เห็นว่า จะต้องตอบคำถามว่า จะต้องพิจารณาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา หรือไม่ ในการให้การ ไทยได้ยอมรับที่จะเคารพอธิปไตยของกัมพูชา ศาลเห็นว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันเอง โดยมียูเนสโกเป็นตัวกลาง ด้วยมติเอกฉันท์ การขอตีความนั้น ศาลสามารถตีความได้
ด้วยมติเอกฉันท์ คำพิพากษาในปี 2505 กัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนของปราสาทพระวิหาร และไทยต้องถอนทหารออกจากเขตดังกล่าว

จบการพิจารณาคดี สรุป ศาลรับตีความ ปราสาทพระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยต้องถอนทหารออกจากปราสาทและบริเวณใกล้เคียง แต่ภูมะเขือ และผาใกล้เคียงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร การจะถอนทหารออกไปตรงที่ใด ให้ทั้งสองประเทศกำหนดเอง เพื่อรักษามรดกโลกโดยมียูเนสโกร่วมหารือ

อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/17704.pdf

ไทยรัฐออนไลน์

    โดย ไทยรัฐออนไลน์
    11 พฤศจิกายน 2556, 18:32 น.