วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555

กระชากหน้ากากใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์...?

เอามาไว้ตรงนี้ อีกที่ กันคนไทยหลงลืม ...

กระชากหน้ากากใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์...? ที่นี่ที่เดียว

ขณะที่ฝ่าย ค้านเปิดคลิปวิดีโอเพื่อหวังจะ “ขึงพืด” ประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาต่อเนื่องเป็นวันที่ 2 ซึ่งประเด็นที่ทำให้สังคมไทยต้องกลับมาถกเถียงเรื่องคลิปที่ว่าด้วยความ กังขาอย่างหนักก็คือ 2 เรื่องหลัก 1.ใครยิง 6 ศพ ในวัดปทุมฯ กับ 2.ใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์

ทีม ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์ เปิดปฏิบัติการวีรบุรุษสีกากีกลุ่มหนึ่ง อย่าเรียกว่าปิดทองหลังพระ แต่เป็นการทำด้วยจิตวิญญาณ ของความเป็นตำรวจไทยน้ำดีผู้พิทักษ์สินติราษฎร์ของแท้ ไม่ใช่ของเทียมอย่างที่เห็นชอบโชว์เอาหน้าออกโทรทัศน์ กันอยู่เป็นประจำ ช่วงมีเหตุการณ์รุนแรงก็กบดาน พอสถานการณ์สงบก็ออกทีวีลอยหน้าลอยตา

มี มืด ก็มีสว่าง มีรวย ก็มีจน มีตำรวจเลว ก็มีตำรวจดี เมื่อพูดถึงตำรวจ เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ตำรวจถูกหาว่าเกียร์ว่าง บางคนก็ว่าไม่ใช่เกียร์ว่าง แต่เข้าเกียร์ถอยหลังต่างหากแถมเป็นตำรวจมะเขือเทศ แต่อย่างที่ว่า เมื่อมีมืด ก็ย่อมต้องมีสว่าง มีตำรวจเลวก็ต้องมีตำรวจดี

นี่คือเหตุการณ์จริงๆ ก่อนและหลังห้างเซ็นทรัลเวิลด์ถูกเผาที่ “นักการเมือง” ไม่กล้าเล่าในสภา…!

ภารกิจลับที่ 1 ความจริงวันนี้... เปิดโฉมหน้าคนเผา ช่วยตัวประกันเซ็นทรัลเวิลด์

ก่อน ศึกการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะเริ่มขึ้นไม่กี่ วันเรามีโอกาสได้พูดคุยกับ พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 เจ้าของพื้นที่ สน.ปทุมวัน และ พล.ต.ต.วิทยา รัตนวิชช์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 เล่าเบื้องหลังการลุยไปช่วยตัวห้างเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53 ให้ฟังว่า

ภารกิจลับนี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 14.00 น.หลัง จากที่ได้รับแจ้งจากที่พนักงานของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ตกอยู่ในอันตราย โทรมาขอความช่วยเหลือ เพราะพวกเขาไม่สามารถหลบหนีลงมาที่ด้านนอกห้างได้ เนื่องจากมีผู้ที่ไม่หวังดีบางกลุ่มที่อยู่บริเวณชั้นหนึ่ง ซึ่งมีท่าว่าจะเข้ามาปล้น เผาห้าง ยิง-โยนระเบิดสกัดไม่ให้หลบหนี ซึ่งแรงระเบิดทำให้ทีม รปภ.ที่เข้าไปขัดขวางทำให้บาดเจ็บหลายคน
หลังจากได้รับ แจ้งแล้ว พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ ซึ่งทำหน้าที่คุ้มกันอยู่ที่วังสระปทุม ร่วมกับ พ.ต.ท.สุรกาญจณ์ นาคสิงห์ รอง ผกก (จร.) สน.ยานนาวาจึงได้ตัดสินใจกับ พ.ต.ท.ธนันท์ธร รัตนสิทธิภาคย์ รอง ผกก.ปป.สน.พลับพลาไชย 1 แบ่งกำลังหนึ่งหมวด (ราว 40 นาย) รุดไปที่เกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือทันที พอเขาเห็นพวกเรา ปรากฏว่าเขาใช้ระเบิดปิงปองและประทัดยักษ์สู้ เราก็ใช้ระยะเวลารุก ทั้งหมอบคลานเพื่อยิงปืนรุกเรื่อยๆ ชุลมุนอยู่นาน หลังจากที่รุกหนักจนเขาถอยร่น ที่สุดแล้วก็สามารถจับกุมผู้ก่อเหตุร้ายที่เตรียมจะเผาห้าง ซึ่งหลบอยู่ตามชั้นในห้างเวิลด์เทรดมาได้ถึง 9 คน กับของกลางเช่นสายกระสุนปืนกล เครื่องประดับที่โจรกรรมภายในห้างมาอย่างมากมาย

เมื่อภารกิจบุกเข้า ไปเสร็จสิ้น พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ ได้คุ้มกันพนักงานของห้างที่หลบอยู่ที่ลานจอดรถชั้น 3 รวมแล้วมากถึง 471 คน ซึ่งของที่อยู่ในห้างนั้นก็โดนรื้อ-ทุบกระจุยกระจายตำรวจก็ยิงเปิดทางนำ พนักงานที่ติดอยู่ในนั้นกลับออกมาจากเซ็นทรัลเวิลด์ หนีออกมาทางด้านหลังโรงแรมแล้วก็มาทะลุหลังพารากอนมาเรื่อยๆ จนออกมาสู่ ถนนพระราม 1 ท่ามกลางห่ากระสุนและความร้อนจากไฟที่กำลังโหมไหม้ห้างบริเวณราชประสงค์ ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีรถดับเพลิงเข้ามาวิ่งวนอยู่รอบๆ ตัวด้วยความปลอดภัย

ภารกิจลับบทที่ 2 : ฝ่าห่ากระสุน ลุยดับไฟเพลิง...!

หลัง จากคืนอิสรภาพและความปลอดภัย ให้กับพนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ภารกิจของ พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิบัติฝ่าห่ากระสุนที่บริเวณราชประสงค์เพื่อกรุยทางนำ รถดับเพลิงเข้าไปดับไฟที่โหมแรงที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และ บิ๊กซี ก็ต้องเริ่มต้นต่อ

“ขณะเรานำกำลังกลับไปประจำการที่เดิม ตอนนั้นเราเริ่มได้ข่าวว่ามีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ที่ด้านล่าง โรงหนังสยาม และที่ใกล้ๆ ละแวกนั้นหลายแห่ง แต่รถดับเพลิงที่เข้าไปดับเพลิงบริเวณนั้นไม่สามารถเข้าไปได้ เนื่องจากพอเข้าไปก็โดนยิงสวนจากคนที่อยู่บริเวณนั้นกลับมาทันที อีกทั้งยังมีกลุ่มฮาร์ดคอร์ที่อยู่ในวัดปทุมฯ มากมาย ตำรวจก็ทำอะไรไม่ได้มาก คือนำกำลังออกไปแต่ต้องล่าถอยกลับ เนื่องจากผู้ดูแลพื้นที่คือทหารยังไม่เคลียร์ ฉะนั้นเราไม่รู้ว่าจะมีผู้ก่อเหตุซุ่มยิงอยู่หรือไม่ การประสานงาน ณ ขณะไฟไหม้นั้นก็สับสน ทำให้ไม่มีหน่วยงานไหนเป็นเจ้าภาพ”
พ.ต.อ.ฤชากร เล่าต่อว่า เหตุการณ์ตอนนั้นมันมั่วมากๆ (เน้นเสียง) รถดับเพลิงก็เข้าไปดับไฟไม่ได้เพราะว่า พนักงานดับเพลิงที่เข้าไปบริเวณนั้นโดนกลุ่มผู้ชุมนุมเอาปืนจ่อหัวไม่ให้ เข้าไป จึง ตัดสินใจเข้าไปในพื้นที่ แต่ทหารบอกว่ายังเคลียร์พื้นที่ไม่ได้ แต่ก็ทนไม่ได้ที่จะเห็นไฟไหม้ต่อหน้าเช่นกัน ที่สุดแล้วก็ต่อโทรศัพท์นานมากจนได้คุยโทรศัพท์กับท่านสุเทพ เทือกสุบรรณ ท่านถามว่าต้องการอะไร ก็บอกว่ารถดับเพลิงและกำลังทหาร จากนั้น 1 ชั่วโมงรถดับเพลิงก็มา

“ผมก็เดินหน้านำกองร้อยนำรถดับเพลิงไปเลย ทั้งๆ ที่มืดแบบนั้น ถามว่ากลัวไหมบอกได้เลยแบบไม่อายว่ากลัวเหมือนกัน รอบๆ ตัวผมได้ยินเสียงปืน มีควันไฟเต็มไปหมด เดินทะลุประตูน้ำ เข้าแยกราชดำริ แต่ละย่างก้าวที่พวกเราจะเดินไปมันลำบากมากๆ (เสียงสั่น) นี่เล่าแล้วยังสั่นอยู่ ซึ่งความรู้สึกว่าระยะทางข้างหน้าใกล้ๆ เท่านั้นแต่เรารู้สึกว่าไกลมากๆ (เน้นเสียง) มือหนึ่งถือปืน อีกมือถือไฟฉายส่องนำทาง แต่สิ่งหนึ่งที่เชื่อที่ผ่านมา ตำรวจไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร ดังนั้นไม่น่าจะมีใครมาดักทำร้ายเรา ที่สำคัญมีกำลัง 150 คนถ้าโดนยิงก็ไม่น่าจะตายฟรีแน่ ที่สำคัญบ้านเมืองและทรัพย์สินของประชาชนรออยู่ข้างหน้า และทนไม่ได้จริงๆที่สถานที่ต่างๆจะไหม้ไปต่อหน้าต่อตาและประชาชนเดือดร้อน”

ที่ สุดแล้วแม้ภารกิจจะผ่านพ้นไปโดยไม่มีใครเสียชีวิต แต่สิ่งที่ พ.ต.อ. ฤชากร จรเจวุฒิ เสียใจก็คือช่วยห้างบิ๊กซีไม่ทัน เนื่องจากนักผจญเพลิงบอกว่าอาคารบิ๊กซีเหมือนเป็นเตาอบ ไม่รู้ว่าจะฉีดน้ำไปด้านไหนก็เลยต้องถอย ตนอยู่ตรงนั้นจนถึงตี 4 ถึงจะสกัดแนวไฟได้แล้วถึงกลับมานอนเพราะว่า 8 โมงเช้าหลังจากนั้นประชุมเพื่อคลี่คลายปัญหาต่อ...!?!

“ถามว่าเสี่ยง ชีวิตไปแล้วได้อะไรกลับคืนมาบ้างนอกจากถูกตีตราว่าเป็นตำรวจมะเขือเทศ จริงๆ ผมขอแค่ให้ประเทศชาติและประชาชนไม่เป็นอะไร และประเทศไทยสงบดังเดิมก็เพียงพอ” นักปิดทองหลังพระผู้พิทักษ์สันติ ราษฎร์กล่าวทิ้งท้าย

มาฟังความจริงอีกฝ่ายจากปาก ของผู้บริหารของเซ็นทรัลเวิลด์อยู่ในเหตุการณ์ เผยความรู้สึกว่าก่อนหน้าจะเกิดการเผาได้มีการเตรียมถังดับเพลิง และคนเฝ้าระวังประจำ FIRE MAN ตลอด 24 ชั่วโมง แต่ที่สุดแล้วก็ต้องแพ้พ่ายต่อความบ้าคลั่งของผู้ชุมนุมบางคน

“พอได้ รับข่าวแกนนำมอบตัวก็ปรากฏว่ามีเอ็ม 79 ถึง 1 ลูก  (ม็อบเทวดาไม่เคยมี เอ็ม-79 ลงไปเลย มีแต่คนอื่นโดน)ลงมาที่หน้าห้าง หลัง จากนั้นผู้ชุมนุมก็กรูเข้ามาในห้างก็กรูเข้าไปทุบกระจกอย่างบ้าคลั่ง บางคนก็ถือถังแก๊สดับเพลิงและถังน้ำมันอยู่ เริ่มทำการจุดไฟเผาห้างต่อหน้าต่อตา รปภ. และพนักงานหลายคนจะวิ่งเข้าไปดับ แต่ปรากฏว่า โดนไล่ยิง จนต้องหนี และติดอยู่ในห้าง คิดว่าต้องตาย จนกระทั่งตำรวจมาช่วยเหมือนกับตายแล้วเกิดใหม่จริงๆ” ผู้บริหารเล่า เสียงสั่นเครือด้วยความกลัว

และนี่เป็นเรื่องราว เบื้องหน้าเบื้องหลัง ภารกิจลับทั้งหมดของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในวันที่ 19 พ.ค. 53 หรือ “วันเผาเมือง” ที่นักการเมืองในสภาไม่เคยรู้ หรือถึงรู้ก็อาจจะไม่กล้าเล่า... เพราะการหยิกเล็บก็เจ็บเนื้อตัวเอง...!

ที่ มา - http://www.thairath....tent/life/86712

แถมให้ มี ภาพ ด้วย อิอิ

http://forum.seritha...php?f=2&t=24984

จาก http://webboard.serithai.net/topic/14113-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2-central-world-%E0%B9%84%E0%B8%AB/

วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

รวมรูป พระมหาชนก

จากที่ได้พยายามหารูป เกี่ยวกับพระมหาชนก ในอินเตอร์ไม่มีเวบไซด์ที่ทำรูปไว้ ที่สามารถ ดูรายละเอียดได้เลย จึงได้จัดทำลงไว้ เพื่อประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจ (กดที่รูปเพื่อเข้าสู่โหมด สไลด์โชว์)
















































ความอิสระของศาลยุติธรรม



ความอิสระของศาลยุติธรรม
โดย สราวุธ เบญจกุล / รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทั้งนี้ศาลยุติธรรมจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 คือต้องเป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
    
       อย่างไรก็ดี การจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยยุติธรรมได้นั้น ผู้พิพากษาต้องมีอิสระเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม และต้องไม่ถูกแทรกแซงการใช้อำนาจจากบุคคลหรือองค์กรใด ซึ่งหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษานั้นมีการรับรองไว้ทั้งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
    
       ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการดุลและคานกัน ทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถมีอำนาจในการให้คุณให้โทษฝ่ายตุลาการได้ ในการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาจะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
    
       นอกจากนี้ผู้พิพากษาต้องมีความเป็นกลาง และสามารถใช้ดุลพินิจในการมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายและพยาน หลักฐานที่เกี่ยวข้อง จากการรับรองหลักความเป็นอิสระของตุลาการ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างเต็มที่นี้เอง จึงเป็นหลักการสากลที่ว่าผู้พิพากษาได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ (Judicial Immunity)
    
       หลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการเป็นแนวคิดอันมีที่มาจากประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดของประเทศอังกฤษ ที่ว่า “the King can do no wrong” ซึ่งมีหลักการในการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มครองแก่พระมหากษัตริย์และ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เช่นตุลาการ เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางการเมืองและตามกฎหมายใด ๆ ไม่ว่าจะในฐานะส่วนพระองค์หรือ ในฐานะประมุขของรัฐและไม่อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
    
       จากแนวคิดดังกล่าวนี้เอง ต่อมาจึงได้มีการพัฒนามาเป็นหลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ เพราะผู้พิพากษาถือเป็นบุคคลที่ใช้อำนาจตุลาการภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มกันทางกฎหมายแก่ผู้พิพากษาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาพิพากษาคดี จากการถูกดำเนินคดีในการใช้อำนาจทางตุลาการซึ่งกระทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาคดีได้อย่างเป็นธรรม โดยไม่จำต้องกังวลถึงภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของตน ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำพิพากษา
    
       สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในคดี Randall v Brigham, 74 US (7 Wall.) 523 (1868) ได้เคยมีคำพิพากษาในกรณีผู้พิพากษามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตว่าความของทนายความ ทนายความผู้นั้นจึงฟ้องผู้พิพากษา ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าทนายความไม่สามารถฟ้องผู้พิพากษาได้ เพราะผู้พิพากษาไม่ต้องรับผิดหากเป็นการใช้อำนาจทางตุลาการ เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    
       แม้ผู้พิพากษาจะได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การใช้อำนาจดังกล่าวจะไม่มีขอบเขตจำกัด หรือไม่สามารถตรวจสอบความชอบธรรมได้ ผู้พิพากษาจึงไม่อาจใช้อำนาจได้ตามความพอใจของตน การตรวจสอบการใช้อำนาจทางตุลาการของผู้พิพากษาสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การอุทธรณ์ ฎีกา อันเป็นวิธีการตรวจสอบดุลพินิจในการรับฟ้องพยานหลักฐานและการทำคำพิพากษาโดยให้คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจคำพิพากษา สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาต่อศาลสูงซึ่งได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ผู้มีหน้าที่กลั่นกรองคำพิพากษาของศาลล่างอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นสิทธิของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเป็นต้น
    
       นอกจากหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการตามลำดับชั้นศาลแล้ว ผู้พิพากษาอาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการได้หากผู้พิพากษาผู้นั้นได้กระทำความผิดวินัย แต่องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องทางวินัยของผู้พิพากษานั้นมีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 220 ว่าให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒซึ่งวุฒิสภาเลือกจากบุคคลที่ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2 คน
    
       ก.ต. จึงมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบผู้พิพากษาทางวินัย โดยการให้ความเห็นชอบในการเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม และการให้ความเห็นชอบดังกล่าวของ ก.ต. ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว
    
       การได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการนั้นมีขอบเขตจำกัด ผู้พิพากษา จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อได้กระทำภายในกรอบอำนาจหน้าที่ทางตุลาการของตนเท่านั้น เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นการกระทำนอกกรอบอำนาจหน้าที่ หรือเป็นการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่นการเรียกรับสินบน ผู้พิพากษาย่อมต้องรับผิดในการกระทำของตนโดยอาจถูกดำเนิน คดีอาญาได้
    
       ดังนั้น ความอิสระและเป็นกลางของศาลยุติธรรม เป็นหลักการสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ที่จะนำมาซึ่งความปลอดภัยและมั่นคงในสังคม ทั้งยังเป็นการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนที่ให้สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกด้วย
    
       สราวุธ เบญจกุล
       รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม




- สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม


รายชื่อ ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิ

รายชื่อ ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิ 

 
รายชื่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
วาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่  22 มี.ค. 2553  - 21 มี.ค. 2555

ประธาน ก.ต.
นายไพโรจน์ วายุภาพ
ปธ.ฏีกา

ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลฎีกา
๑. นายธานิศ เกศวพิทักษ์
รองประธานศาลฎีกา
๒. นายมานัส เหลืองประเสริฐ
รองประธานศาลฎีกา
๓. นายประทีป เฉลิมภัทรกุล
รองประธานศาลฎีกา
๔. นายดิเรก  อิงคนินันท์
รองประธานศาลฎีกา
๕. นายวีระพล  ตั้งสุวรรณ
หน.ฎีกา

ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลชั้นอุทธรณ์
๑. นายชีพ  จุลมนต์ปธ.อุทธรณ์ภาค ๓
๒. นายบุญชู ทัศนประพันธ์ปธ.แผนกคดีสิ่งแวดล้อม ฯ อุทธรณ์ภาค 3
๓. นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐหน.อุทธรณ์
๔. นายวิบูลย์ แสงชมภูหน.อุทธรณ์

..ผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลชั้นต้น
๑. นายนิรัตน์  จันทพัฒน์อธภ. ๘
๒. นายจุมพล  ชูวงษ์รอง อธ.อาญา

ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิจากวุฒิสภา
1. นายสามขวัญ  พนมขวัญ 
2.  นายนเรศ  จิตสุจริตวงศ์ 

เลขานุการ ก.ต.
นายวิรัช ชินวินิจกุล      
เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม