วันอาทิตย์ที่ 3 กรกฎาคม พ.ศ. 2554

แล้วก็ถึงวันที่"นารีขี่ม้าขาว" ... เปลว สีเงิน 4 กรกฎาคม 2554


ประชาชนให้ "คำตอบประเทศไทย" ออกมาแล้วครับ ตกลง...ยกประเทศให้ "ทักษิณ ชินวัตร" ในนามพรรคเพื่อไทยเป็นผู้นำฝ่ายบริหาร ก็ขอแสดงความยินดีกับเพื่อไทย และขบวนการ นปช. "เสื้อแดง" ทุกคน เมื่อได้ ส.ส.เกินครึ่ง คือกว่า ๒๖๐ เฉียด ๓๐๐ คน เช่นนี้ ก็ชอบธรรมด้วยประการทั้งปวงที่จะเป็นฝ่ายยึดครองอำนาจบริหารประเทศในฐานะรัฐบาล
จะเอาใครเป็นนายกฯ และจะเอาใครเป็นรัฐมนตรี ไม่ว่าจตุพร ณัฐวุฒิ เหวง อริสมันต์ ตั้งเลยครับ เพราะการชนะชนิดที่เรียกว่า "สิ้นข้อสงสัย" เช่นนี้
อยากทำอะไร...ทำเลย!
นี่ผมพูดจริงๆ เพราะในจำนวนผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งประเทศ กว่า ๔๖ ล้านคน และกว่า ๕๐% ที่ออกมาใช้สิทธิ์ เขาสะท้อนความต้องการเช่นนั้น ผ่านการเลือก ส.ส.ทั้งระบบเขต และทั้งระบบพรรคของเพื่อไทย ชนิด...พรรคเดียวตั้งรัฐบาลได้
มันชัดเจนตามเจตนารมณ์ประชาธิปไตย ของประชาชน-โดยประชาชน-เพื่อประชาชน ในเมื่อประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ "เลือกแล้ว" เลือกให้เพื่อไทยเป็นรัฐบาลบริหารประเทศ เลือกให้เป็นผู้กำหนดชะตาอนาคตประเทศ
ท่านก็จงทำ!
จะแดง-จะดำทั้งแผ่นดิน แบบไหน-อย่างไร ถ้าอยู่ในกรอบกฎหมาย หรือท่านแก้กฎหมายให้เป็นไปตามกรอบของท่านได้สำเร็จ ก็จงทำตามนั้น
เพราะนั่นคือ ประชาชนที่เลือกท่าน...เขาต้องการ!
และถ้าทักษิณพอใจ-ต้องการให้โคลนนิง "นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร" ปาร์ตี้ลิสต์ หมายเลข ๑ ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิง "คนแรกของประเทศ" ดังประสงค์จริงๆ ละก็!
ประกาศให้ชัดเจนเลยครับ เพื่อจะได้ไม่ว่อกแว่กเรื่องฟอร์มรัฐบาล เพราะเมื่อแน่นอนเรื่องตัวนายกฯ แล้ว จะได้เอาเวลาไปคัดตัวรัฐมนตรีให้มันไวขึ้น อย่างช้า...ซักต้นหรือกลางๆ สิงหา บ้านเมืองจะได้มีนายกฯ ใหม่-รัฐบาลใหม่บริหารประเทศไงล่ะ
ผมคิดว่า ใครก็ไม่มีเหตุผล หรือข้อเกี่ยงงอนใดที่จะโต้แย้งเจตนารมณ์ประชาชนด้วยการขัดขวางการจัดตั้งรัฐบาลของเพื่อไทย คณะรัฐมนตรีของเพื่อไทย และการขึ้นเป็นนายกฯ ของนางสาวยิ่งลักษณ์ เพราะนี่คือ
อาณัติจากประชาชน!
ผมว่าการเลือกตั้ง ๓ ก.ค.๕๔ นี้ ประชาชนเลือกได้ "ถูกต้อง" แล้ว ถูกต้องในความหมายคือ ท่ามกลางความขัดแย้งในชาติที่หาทางไปไม่เจอ ในเมื่อประเทศชาติเป็นของประชาชน-ประชาชนเป็นของประเทศชาติ ก็ให้ "ประชาชน" นั่นแหละเป็นผู้ตัดสิน "เลือกทางไป" ของสังคมชาติ
เลือกขั้วใด-ขั้วหนึ่งให้ "ขาด" ไปเลย.....
และเมื่อเลือกเพื่อไทย-เพื่อทักษิณเป็นทางไป...ขาดไปเลยเช่นนี้ ก็โอเค!
ไปก็ไปกัน ไม่ไป-ไม่รู้ ถ้าทางนี้เป็นทาง "สู่ความพ้นทุกข์" ผมก็อนุโมทนาด้วย แต่ถ้ามันกลายเป็นเส้นทาง "สู่ความเพิ่มทุกข์" ถ้าเป็นอย่างนั้น นั่นก็ไม่เป็นไร....
ระบอบประชาธิปไตย "มีทางออก" ทุก ๔ ปี!
คำตอบโจทย์ประชาธิปไตย ไม่ได้อยู่ที่ "ผิด-ถูก" หากแต่อยู่ที่ "เสียงข้างมาก" และเสียงข้างมากนั้น ก็ไม่ใช่บทสรุปของความผิด-ความถูก หากแต่เป็นบทสรุปของ "ความต้องการ"
ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องการสิ...
แล้วจะได้อยู่เหนือ "ความผิด-ความถูก"!
การชนะเลือกตั้งของเพื่อไทยครั้งนี้ ว่าไปแล้วก็ไม่นอกเหนือความคาดหมาย ที่นอกเหนือก็ตรง "ชนะเกินครึ่ง" ชนิดทิ้งห่างประชาธิปัตย์เกือบเท่าตัวเท่านั้น
การเลือกตั้งครั้งนี้ ผู้มีสิทธิ์เลือกตั้งทั้งหมด ๔๖,๙๐๔,๘๒๓ คน ออกมาใช้สิทธิ์ ๓๐,๙๘๗,๘๐๑ คน คิดเป็น ๗๔%
ดูตัวเลขรวมแฟนๆ ประชาธิปัตย์อาจใจหาย แต่ถ้าลงรายละเอียดถึงพื้นที่ "ฐานคะแนน" ของแต่ละพรรคแล้ว ไม่แปลก และไม่น่าใจหายที่เพื่อไทยนำห่างและชนะขาดประชาธิปัตย์ในภาวะกระแส "แดงครองเมือง"
เพราะแค่อีสานกับเหนือเป็น "ฐานหลัก" ของเพื่อไทย ในจำนวนเต็ม ส.ส.๓๗๕ คน เป็นภาคอีสาน ๑๒๒ คน ภาคเหนือ ๖๘ คน ๒ ภาครวมแล้วมี ส.ส.๑๙๐ คน แค่นี้ก็ตุนอยู่ในกระเป๋ากว่า ๘๐-๙๐% แล้ว
เนี่ย...ดูคร่าวๆ ตอนเปิดหีบ อีสาน-เพื่อไทยพรวดก็ ๙๙ คนแล้ว เหนืออีก ๔๗ ไม่ต้องไปดู-ไปลุ้นจากภาคอื่น แค่ ๒ ภาคนี้เกือบครึ่งหนึ่งของจำนวนเต็มของ ส.ส.๓๗๕ คนแล้ว!
ยิ่งมาได้ภาคกลาง ซึ่งมี ส.ส.รวม ๙๙ คน ไปอีก ๔๐ กว่าคน ทุกอย่างก็...จบ พรรคเพื่อไทยขึ้นสู่ความเป็น "พรรคเดียว-ชนะขาด" ไม่หนี ๒๕๐-๒๖๐ คนขึ้น
แต่ถ้าเจาะลงไปถึงจังหวัดภาคกลางที่เพื่อไทยได้ และมี ส.ส.ได้หลายคนก็สิ้นสงสัย เพราะจังหวัดเหล่านั้น "ฐานแดง" ชัดเจนอยู่แล้ว เช่น อยุธยา-นนทบุรี-ปทุมธานี-สมุทรปราการ เป็นต้น
ที่น่าพอใจก็คือที่ กทม.ศูนย์กลางประเทศ เพราะผลออกมา "ตรงข้าม" จากเอ็กซิตโพล ที่ทุกสำนักฟันธงว่าเพื่อไทยชนะขาดประชาธิปัตย์ แต่ปรากฏว่าเพื่อไทยแพ้ขาดประชาธิปัตย์!
หมายความว่าประชาธิปัตย์ยังรักษาฐานที่มั่นของพรรคไว้ได้ ทั้งภาคใต้ที่กวาดมาเกือบหมด และกทม.๒๓ เขต ในจำนวน ๓๓ เขต เพียงแต่ในภาคที่เป็นฐานของตนมีจำนวน ส.ส.น้อยกว่าภาคอีสานและเหนือเท่านั้น
สรุปคร่าวๆ จากหัวค่ำนะครับ รวม ส.ส.เขตและ ส.ส.ปาร์ตี้ลิสต์ เพื่อไทยจะมี ๒๖๒ ที่นั่ง ประชาธิปัตย์ ๑๖๐ ที่นั่ง ภูมิใจไทย ๓๕ ที่นั่ง ชาติไทยพัฒนา ๑๙ ที่นั่ง ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ๙ พลังชล ๗ รักประเทศไทย ๔ มาตุภูมิ ๒ รักษ์สันติ ๑ กิจสังคม ๑
ตัวเลขขั้นต้นนะครับ เอามาเนาๆ ให้เห็นภาพว่าชนะขาดกันอย่างไร และพรรคไหนได้กันเท่าไรบ้างเท่านั้น ก็แน่นอนว่าจากตัวเลขนี้ คนที่มีความสุขที่สุดในโลกขณะนี้มีคนเดียวที่ชื่อ "ทักษิณ ชินวัตร"
และรัฐบาลคงไม่ได้ตั้งที่พรรคเพื่อไทย แต่ตั้งทั้งทางโทรศัพท์ ทั้งมีคนบินไปจากเมืองไทยไปดูไบ และจากดูไบถึงกรุงเทพฯ จากตัวเลข ๒๖๒ "เกินครึ่ง" พรรคเดียวตั้งรัฐบาลได้ก็จริง แต่ทักษิณต้องการให้ทุกพรรคมาร่วมเป็นรัฐบาลกับเขา มากกว่าจะปล่อยให้ไปเป็นฝ่ายค้านกับประชาธิปัตย์
ที่แน่ๆ ที่ฟอร์มตัวขั้นต้น รัฐบาลใหม่จะประกอบด้วย เพื่อไทย ๒๖๒+ชาติไทยพัฒนา ๑๙+ชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ๙ = ๒๙๐ เสียง
ที่เหลือจะเป็นฝ่ายค้าน ๒๑๐ เสียง!
มองดูก็ "ห่างกัน" ไม่เห็นฝุ่น แต่ผมคิดว่าทักษิณไม่พอใจแค่นี้ จะต้องเอามาร่วมให้ได้ ๓๐๐ เสียงขึ้น เหตุผลก็คือ เป้าหมายซ่อนเร้นทักษิณแก้รัฐธรรมนูญ ออกกฎหมายนิรโทษกรรม เอา ๔๖,๐๐๐ ล้านคืนมิใช่หรือ?
การทำอย่างนั้นได้ ต้องอาศัยเสียง ส.ส.และ ส.ว.ที่เรียกว่า "สมาชิกรัฐสภา" รวมกันเกินครึ่ง ฉะนั้น เพื่อกันพลาด และไม่ต้องหวังพึ่ง ส.ว.มากนัก กวาดต้อนพรรคเล็ก-พรรคน้อยมาไว้ใต้กระโปรงนายกฯ ยิ่งลักษณ์ไว้ให้มากที่สุดเท่าที่ทำได้ก่อน ไม่ชัวร์กว่าหรือ?
จำไว้อย่าง อะไรที่ทักษิณ-ยิ่งลักษณ์ และคนเพื่อไทยบอกว่า "ไม่ทำ" ตอนหาเสียง นั่นแหละ พอได้อำนาจบริหาร-อำนาจนิติบัญญัติไว้ในมือแล้ว
จะทำทุกอย่าง!
เพราะคนพรรคเพื่อไทย รวมทั้งตัวนายกฯ และรัฐมนตรี คิดอะไรเองไม่เป็นหรอก "ทักษิณ-คิด" ทั้งนั้น ส่วนพรรคเพื่อไทยเป็นเพียงหุ่นยนต์ที่คอยทำตามเท่านั้น ก็เห็นมั้ยล่ะ เขาติดป้ายบอกทั่วประเทศ
"ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ"!
ประชาชนก็ตัดสินใจให้ "เพื่อไทย-ทำ" แล้ว จะสังคายนาพระพุทธศาสนา จะถมทะเลสร้างเมืองใหม่ จะเปลี่ยนเป็นแดงทั้งแผ่นดิน จะทำอะไรๆ อย่างที่แสดงวิสัยทัศน์ประเทศไทย ๒๐๒๐ ไว้น่ะ ก็จงรีบทำ หรือจะรีบไปจูบปากกับฮุน เซน ยกพื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตรให้ขึ้นทะเบียนมรดกโลก ก็จงทำ
แล้วพวกผม...ประชาชนคนไทย จะคอยดูว่าที่ "ทักษิณคิด เพื่อไทยทำ" นั้น ใครได้?
ประเทศไทย-คนไทย
หรือ...
กลุ่มตระกูลไหน-คนไหน...ได้?
วันนี้ ยังคุยอะไรไม่สะดวกนะครับ เพราะตัวเลขที่เป็นฐานในการมองยังออกมาไม่ครบ เอาที่แน่ๆ ก็คือ เพื่อไทยชนะ ได้เป็นรัฐบาล ยิ่งลักษณ์เป็น "ว่าที่นายกฯ หญิง" ประชาธิปัตย์แพ้ เป็นฝ่ายค้าน ส่วนอภิสิทธิ์ที่นับจากวันนี้จะกลายเป็น "อดีตนายกฯ" จะทบทวนตัวเอง หรือเตรียมแผนสู้ใหม่หลังกลางปี ๒๕๕๕
ประชาชนกำลังรอฟัง!



เปิดโผ 125 ปาร์ตี้ลิสต์ พท.แกนนำแดง-เมียโผล่เพียบ “จุฤทธิ์” เสียบแทน “สุวโรช” “ปุระชัย-สนธิ” เข้าวิน “ประดิษฐ์” ปิ๋ว “ชูวิทย์” ควงพวกอีก 3 เข้าสภา ประชาธิปไตยใหม่-มหาชน สุดพลิกล็อก!! ได้พรรคละ 1 ที่

วันนี้ (4 ก.ค.) หลังจากที่คณะกรรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้รายงานผลการนับคะแนนเสียงเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรอย่างไม่เป็นทางการที่มีการนับคะแนนแล้วเสร็จเกือบ 100% โดยพรรคเพื่อไทย (พท.) ได้ ส.ส.แบบเขตและบัญชีรายชื่อ รวม 265 ที่นั่ง ขณะที่พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) ได้ 159 ที่นั่ง ผู้สื่อข่าวได้สรุปรายชื่อว่าที่ ส.ส.บัญชีรายชื่อทั้ง 125 คน จาก 11 พรรค ซึ่งมีดังนี้

พรรคเพื่อไทย ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 60 ที่นั่ง ประกอบด้วย
1.นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร
2.นายยงยุทธ วิชัยดิษฐ
3.ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง
4.นายเสนาะ เทียนทอง
5.พล.ต.อ.ประชา พรหมนอก
6.นายมิ่งขวัญ แสงสุวรรณ์
7.นายปลอดประสพ สุรัสวดี
8.นายจตุพร พรหมพันธุ์
9.นายณัฐวุฒิ ใสยเกื้อ
10.นายสุชาติ ธาดาธำรงเวช
11.พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก
12.นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ
13.นายบัญฑูรย์ สุภัควณิช
14.พ.อ.อภิวันท์ วิริยะชัย
15.นายสันติ พร้อมพัฒน์
16.พล.ต.อ.วิรุฬห์ ฟื้นแสน
17.พล.ต.ท.วิโรจน์ เปาอินทร์
18.นายวิรุฬ เตชะไพบูลย์
19.นายเหวง โตจิราการ
20.นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล
21.นายนิวัฒน์ธำรง บุญทรงไพศาล
22.นายวัฒนา เมืองสุข
23.พล.อ.ยุทธศักดิ์ ศศิประภา
24.นายนิติภูมิ นวรัตน์
25.น.ส.ภูวนิดา คุณผลิน
26.นายสุนัย จุลพงศธร
27.นางรพิพรรณ พงศ์เรืองรอง
28.นายคณวัฒน์ วศินสังวร
29.นายอัสนี เชิดชัย
30.น.ส.สุณีย์ เหลืองวิจิตร
31.พ.ต.อาณันย์ วัชโรทัย
32.นายวิรัช รัตนเศรษฐ
33.นายพรศักดิ์ เจริญประเสริฐ
34.นายนภินทร ศรีสรรพางค์
35.นายถาวร ตรีรัตน์ณรงค์
36.นางวราภรณ์ ตั้งภากรณ์
37.น.ส.สุนทรี ชัยวิรัตนะ
38.น.ส.ตวงรัตน์ โล่ห์สุนทร
39.นายสมพล เกยุราพันธุ์
40.นายพงศกร อรรณนพพร
41.นายพร้อมพงศ์ นพฤทธิ์
42.น.ส.ขัตติยา สวัสดิผล
43.นายธนเทพ ทิมสุวรรณ
44.น.ส.กฤษณา สีหลักษณ์
45.นายเกียรติชัย ติรณศักดิ์กุล
46.นายวิภูแถลง พัฒนาภูมิไท
47.นางเยาวนิตย์ เพียงเกษ
48.นายพายัพ ปั้นเกตุ
49.นางรังสิมา เจริญศิริ
50.รศ.เชิดชัย ตันติรินทร์
51.นายกานต์ กัลป์ตินันท์
52.นายธนิก มาศรีพิทักษ์
53.นายพิชิต ชื่นบาน
54.นายก่อแก้ว พิกุลทอง
55.นายนิยม วรปัญญา
56.น.ส.จารุพรรณ กุลดิลก
57.นายอรรถกร ศิริลัทธยากร
58.นายเวียง วรเชษฐ์
59.นายอดิศักดิ์ โภคกุลกานนท์
60.นายวิเชียร ขาวขำ

พรรคประชาธิปัตย์ ได้แบบบัญชีรายชื่อ 45 ที่นั่ง ได้แก่
1.นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
2. นายชวน หลีกภัย
3.นายบัญญัติ บรรทัดฐาน
4.นายเทอดพงษ์ ไชยนันทน์
5.นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์
6.นายกรณ์ จาติกวณิช
7.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช
8.นายอภิรักษ์ โกษะโยธิน
9.นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี
10.นายชำนิ ศักดิเศรษฐ์
11.นายไพฑูรย์ แก้วทอง
12.นายอิสสระ สมชัย
13.นายเจริญ คันธวงศ์
14.นายอลงกรณ์ พลบุตร
15.นายอาคม เอ่งฉ้วน
16.นายนิพนธ์ วิสิษฐยุทธศาสตร์
17.นายสุทัศน์ เงินหมื่น
18.นายองอาจ คล้ามไพบูลย์
19.นายพีระพันธุ์ สาลีรัฐวิภาค
20.นายวิฑูรย์ นามบุตร
21.นายถวิล ไพรสณฑ์
22.นางศิริวรรณ ปราศจากศัตรู
23.พ.อ.วินัย สมพงษ์
...
25.นางผุสดี ตามไท
26.นายปัญญวัฒน์ บุญมี
27.นายสามารถ ราชพลสิทธิ์
28.นพ.บุรณัชย์ สมุทรักษ์
29.นายภุชงค์ รุ่งโรจน์
30.นายนิพนธ์ บุญญามณี
31.นางอานิก อัมระนันทน์
32.นายโกวิทย์ ธารณา
33.นายอัศวิน วิภูศิริ
34.นายธรรมวิชญ์ โพธิพิพิธ
35.นายเกียรติ สิทธีอมร
36.นายบุญยอด สุขถิ่นไทย
37.นายกนก วงษ์ตระหง่าน
38.พล.อ.พิชาญเมธ ม่วงมณี
39.นายสุกิจ ก้องธรนินทร์
40.นายประกอบ จิรกิติ
41.นายพีระยศ ราฮิมมูลา
42.นายกษิต ภิรมย์
43.นายวีระชัย วีระเมธีกุล
44.นางรัชฎาภรณ์ แก้วสนิท
45.นายวัชระ เพชรทอง
46.นายจุฤทธิ์ ลักษณวิศิษฏ์
*หมายเหตุ นายสุวโรช พะลัง ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 24 เสียชีวิต

พรรคภูมิใจไทย ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 5 ที่นั่ง ได้แก่
1.นายชวรัตน์ ชาญวีรกูล
2.นายชัย ชิดชอบ
3.นายเรืองศักดิ์ งามสมภาค
4.นางนาที รัชกิจประการ
5.นายศุภชัย ใจสมุทร

พรรคชาติไทยพัฒนา ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 ที่นั่ง ได้แก่
1.นายชุมพล ศิลปอาชา
2.พล.ต.สนั่น ขจรประศาสน์
3.นายนิติวัฒน์ จันทร์สว่าง
4.นายยุทธพล อังกินันทน์

พรรครักประเทศไทย ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 4 ที่นั่ง ได้แก่
1.ชูวิทย์ กมลวิศิษฎ์
2.ชัยวัฒน์ ไกรฤกษ์
3.โปรดปราน โต๊ะราหนี
4.พงษ์ศักดิ์ เรือนเงิน

พรรคชาติพัฒนาเพื่อแผ่นดิน ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 2 ที่นั่ง ได้แก่
1.ร.ต.ประพาส ลิมปะพันธุ์
2.นายชาญชัย ชัยรุ่งเรือง

พรรคพลังชล ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง ได้แก่
1.นายสันต์ศักดิ์ งามพิเชษฐ์

พรรคมาตุภูมิ ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง ได้แก่
1.พล.อ.สนธิ บุญยรัตกลิน

พรรคประชาธิปไตยใหม่ ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง ได้แก่
2.พัชรินทร์ มั่นปาน

หมายเหตุ : นายสุรทิน พิจารณ์ ผู้สมัคร ส.ส.บัญชีรายชื่อลำดับที่ 1 คุณสมบัติไม่ครบ

พรรครักษ์สันติ ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง ได้แก่
1.ร.ต.อ.ปุระชัย เปี่ยมสมบูรณ์

พรรคมหาชน ได้ ส.ส.แบบบัญชีรายชื่อ 1 ที่นั่ง ได้แก่
1.นายอภิรัต ศิรินาวิน

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น