วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556

ตัดสินคดีพระวิหาร ไทยไม่เสียดินแดน 4.6 ตร.กม.-ไทยรัฐ


ตัดสินคดีพระวิหาร ไทยไม่เสียดินแดน4.6ตร.กม.




บางส่วนของคำตัดสิน - http://www.icj-cij.org/docket/files/151/17704.pdf

98. From the reasoning in the 1962 Judgment, seen in the light of the pleadings in the original proceedings, it appears that the limits of the promontory of Preah Vihear, to the south of the Annex I map line, consist of natural features. To the east, south and south-west, the promontory drops in a steep escarpment to the Cambodian plain. The Parties were in agreement in 1962 that this escarpment, and the land at its foot, were under Cambodian sovereignty in any event. To the west and north-west, the land drops in a slope, less steep than the escarpment but nonetheless pronounced, into the valley which separates Preah Vihear from the neighbouring hill of Phnom Trap, a valley which itself drops away in the south to the Cambodian plain (see paragraph 89 above). For the reasons already given (see paragraphs 92-97 above), the Court considers that Phnom Trap lay outside the disputed area and the 1962 Judgment did not address the question whether it was located in Thai or Cambodian territory. Accordingly, the Court considers that the promontory of Preah Vihear ends at the foot of the hill of Phnom Trap, that is to say:
where the ground begins to rise from the valley. In the north, the limit of the promontory is the Annex I map line, from a point to the north-east of the Temple where that line abuts the escarpment to a point in the north-west where the ground begins to rise from the valley, at the foot of the hill of Phnom Trap.
The Court considers that the second operative paragraph of the 1962 Judgment required Thailand to withdraw from the whole territory of the promontory, thus defined, to Thai territory any Thai personnel stationed on that promontory

104. In these circumstances, the Court does not consider it necessary further to address the
question whether the 1962 Judgment determined with binding force the boundary line between  Cambodia and Thailand. In a dispute concerned only with sovereignty over the promontory of Preah Vihear, the Court concluded that that promontory, extending in the north to the Annex I map line but not beyond it, was under Cambodian sovereignty. That was the issue which was in dispute in 1962 and which the Court considers to be at the heart of the present dispute over interpretation of the 1962 Judgment.
"วีรชัย พลาศรัย" สรุปคำพิพากษาศาลโลก เบื้องต้น ศาลไม่ได้ตัดสิน พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ภูมะเขือเป็นของกัมพูชา แนะทั้ง 2 ฝ่าย หารือ พื้นที่พิพากษาโดยมียูเนสโกเป็นตัวประสาน ในฐานะเป็นมรดกโลกร่วมกัน

วันที่ 11 พ.ย. ที่ศาลโลก กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ แถลงข่าวครั้งแรกหลังรับทราบคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร ระหว่างไทย-กัมพูชา ของศาลโลก ว่า เบื้องต้นศาลโลกไม่ได้ตัดสินให้กัมพูชา ได้รับพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. พื้นที่ "ภูมะเขือ" ศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนหรือ ให้ใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน และประเด็นสุดท้าย ศาล ยังแนะนำให้ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกัน ในฐานะเป็นมรดกโลก โดยมียูเนสโก ร่วมหารือ
สำหรับคำพิพากษาบางส่วน ที่ศาลได้อ่านระหว่างขึ้นบัลลังก์ พิจารณาคดี ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนหน้าผา บนทือกเขาดงรัก เป็นพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชา เมื่อเดือน ก.พ. ปี2504 กัมพูชาได้ อ้าง เส้นสันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ตามเขตแดนที่กรรมการทั้งสองฝ่ายกำหนด และได้มีการออกแผนที่ 17 ระวางครอบคลุมชายแดน ไทย-กัมพูชา โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนและสยาม ในขณะนั้น
จากแผนที่นั้น ทำให้ปราสาทพระวิหาร ตกเป็นของกัมพูชา แต่คณะกรรมการก็ยุติหน้าที่ไปก่อนที่จะมีการทำแผนที่ฉบับสมบูรณ์ จากแผนที่นั้น เส้นในแผนที่ภาคผนวก 1 ก็กลายเป็นพรมแดนระหว่างสองประเทศ แต่ไทยบอกว่า ไม่ยอมรับแผนที่นั้น และนำมาสู่ข้ออ้างว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในฝ่ายไทย
ศาลเห็นว่า บทปฏิบัติการ กล่าวว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในดินแดนอธิปไตยของกัมพูชา ไทยมีพันธะในการถอนทหารออกมา หลังจากที่มีคำพิพากษา ปี 2505 ไทยก็ถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนามล้อมรอบปราสาทพระวิหาร หลังจากนั้นจนถึงวันนี้ กัมพูชาก็ได้ยื่นตีความ โดยธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60 ศาลฯ สามารถรับคำร้องในการตีความได้ ถ้ามีข้อพิพาทในคำพิพากษาจริง
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่คำพิพากษา ไทยมองว่า ไทยออกจากปราสาทพระวิหารแล้ว และไทยได้กำหนดแต่ฝ่ายเดียวว่า เขตของปราสาทพระวิหาร ตามมติ ครม. 2505 ซึ่งทางกัมพูชา ไม่ยอมรับการถอนกำลังของไทย กัมพูชาแย้งว่า รั้วลวดหนามได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนกัมพูชา ถือเป็นมุมมองที่แตกต่างกัน
ความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นอีกครั้ง เมื่อกัมพูชา พยายามยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แปลว่า ทั้งสองฝ่าย มีข้อพิพาทในคำพิพากษาจริงศาลเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นขัดแย้งกัน และเส้นตามแผนที่ 1:200,000 ก็มีมุมมองที่ต่างกันว่า จะเป็นเขตแดน หรือไม่ และศาลก็เห็นว่า ทั้งสองฝ่ายก็มีมุมมองที่แตกต่างกันจริงในมุมมองของปราสาทและดินแดนของกัมพูชาตามบทปฏิบัติการข้อสองในคำพิพากษา 2505
ศาลเข้าใจว่า ปราสาทอยู่ในดินแดนของกัมพูชา นอกจากนั้น ศาลยังดูถึงเรื่องการถอนทหารของไทย จากตัวปราสาท และบริเวณใกล้เคียง รวมถึงกรณีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและการปะทะกัน แสดงว่า มีความเข้าใจที่ต่างกันจริงว่า ไทยต้องถอนทหารไปที่ใด ซึ่งยืนยันด้วยการให้การเป็นลายลักษณ์อักษร และการให้การโดยวาจาของทั้งคู่

ศาลเห็นว่า มีข้อพิพาท 3 ข้อ
1) คำพิพากษาปี 2505 ถือว่า เส้นเขตแดน ตามแผนที่ 1:200000 เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ หรือไม่

2) บริเวณของกัมพูชา ตามบทปฏิบัติการที่ 2 อยู่ที่ใด ซึ่งเป็นผลที่ต่อเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1
3) พันธกรณีของไทยที่ต้องถอนทหารตามข้อบทปฏิบัติการที่สอง ต้องถอนไปที่ใด
จากทั้ง 3 ข้อ ศาลจึงเห็นว่า ต้องรับตีความคำพิพากษาของบทปฏิบัติการที่ 2 และผลทางกฎหมายของภาคผนวกที่ 1 ดังนั้นศาลโลก รับตีความคำพิพากษาตามคำร้องของกัมพูชา

ต่อมา ศาลจะอ่านข้อปฏิบัติการ และจะอยู่ในข้อพิพากษาเดิมอย่างเคร่งครัด จะไม่หยิบยก เรื่องที่ไม่ได้พิพากษาเอาไว้เมื่อปี 2505 มาพิจารณา อาจพิจารณาเหตุผลเพื่ออธิบายการตีความข้อปฏิบัติการได้ตามเหตุผลของ การพิพากษาในปี 2505 เพราะจะแสดงให้เห็นพยานหลักฐานในช่วงนั้น
ไทยตีความสู้ว่า ศาลโลกห้ามตีความเกินกว่าคำพิพากษาในปี 2505 ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานอยู่แล้ว ซึ่งศาลจะไม่สามารถตีความขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 2505 ได้ ตามธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60 ศาลไม่สามารถนำบทสรุปมาตีความได้ เพราะไม่ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา ศาลไม่ถือว่าบทสรุปของคำพิพากษาในปี 2505 ว่าสามารถนำมาตีความได้
โดยเมื่อปี 2551 ไทยอ้างว่า การปะทะกันเกิดจากคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาไม่ใช่สนธิสัญญา คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล อยู่ที่ว่าศาลพิพากษาอะไร ไม่ใช่ความเข้าใจของคู่ความที่เข้าใจกันเอง
ตรงนี้มีลักษณะ 3 ประการของคำพิพากษาในปี 2505 คือ
1) ศาลพิจารณาว่า นี่คือข้อพิพาทของอำนาจอธิปไตยของที่ตั้งปราสาท ศาลฯไม่ได้ทำหน้าที่ปักปันเขตแดน เมื่อกลับไปดูคำพิพากษา 2505 ประเด็นนี้เป็นเรื่องของเขตอธิปไตยมากกว่าเขตแดน แต่ศาลจะรับพิจารณาเฉพาะในส่วนของเหตุผล โดยไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงแผนที่ 1:200000 ไม่มีการแนบแผนที่ไปกับคำพิพากษา ดังนั้นศาลไม่ต้องตีความตรงนี้
2) แผนที่ 1:200,000 เป็นเหตุผลหลักในการพิพากษา ประเด็นหลักคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ 1:200,000 และเส้นแบ่งเขตแดนแล้ว หรือไม่
ศาลได้ดูพฤติการณ์แล้วเห็นว่า ไทยยอมรับทางอ้อมในแผนที่ 1:200000 และเส้นแบ่งเขตแดนบนแผนที่นั้นไปแล้ว เพราะไทยได้ยอมรับว่า แผนที่นี้ คือ แผนที่ที่เกิดจากคณะกรรมการเขตแดน และยอมรับเขตแดนตามแผนที่ 1:200000 ไปแล้ว

3) กัมพูชากล่าวว่า ขอบเขตของพื้นที่พิพาทนั้น มีขนาดเล็กมาก ซึ่งในทันทีหลังจากศาลได้พิพากษา ศาลได้อธิบายบริเวณนั้นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ด้านตะวันออกของเทือกเขาดงรัก ซึ่งถือเป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ในขณะที่แผนที่ 1:200000 กลับวางเขตแดนยาวหลายร้อยกิโลเมตร ดังนั้น ศาลจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่พิพาทเท่านั้นเมื่อศาลไปดูบทปฏิบัติการทั้ง 3 นั้น ศาลเห็นว่า บทปฏิบัติการทั้ง 3 เป็นบทปฏิบัติการเดียวกัน ไม่ถือว่าแยกจากกัน

บทปฏิบัติการข้อ 1 นั้นชัดเจนว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา แต่ศาลก็เห็นว่า เมื่อพิจารณาบทปฏิบัติการที่ 2-3 นั้น เห็นว่า บทปฏิบัติการที่ 2 ไม่ได้พูดถึงดินแดนของกัมพูชาที่ไทยจะต้องถอน รวมถึงบริเวณใกล้เคียง รวมถึงไม่ได้กำหนดว่า จะต้องถอนเจ้าหน้าที่ใดเนื่องจากบทปฏิบัติการที่ 2 บอกว่า ไทยจะต้องถอนทหารและผู้ดูแลจากปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียง
โดยไทยมีผู้เฝ้ายามอยู่ 1 คน บ้านพัก และแคมป์ขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งไทยบอกว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้ แผนที่ 1:200000 แต่อยู่เหนือสันปันน้ำกัมพูชาต่อสู้ในปี 2505 ว่า ต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน อย่างไรก็ตาม ศาลไม่เห็นว่าต้องพิจารณาเส้นสันปันน้ำบริเวณนั้น
แต่สันปันน้ำ มีความสำคัญ เพราะไทยต่อสู้ว่าเส้นสันปันน้ำนั้นใกล้เคียงกับเส้นสันปันน้ำของกัมพูชา ดังนั้นสถานีตำรวจนั้นจึงอยู่เหนือเส้นสันปันน้ำเมื่อไทยดำเนินการถอนทหารนั้น ไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยอื่นอีกแล้วในบริเวณนั้น ดังนั้น บริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหารจึงควรนับไปถึงสถานีตำรวจของไทยที่ถอนไปนั้น และไม่ถือว่า เส้นตามมติครม. 2505 เป็นเส้นเขตแดน
เมื่อพิจารณาภูมิศาสตร์ หน้าผาสูงซึ่งกัมพูชา สามารถขึ้นสู่ปราสาทได้ ดังนั้น ศาลเห็นว่าเขตแดนกัมพูชาในทางเหนือนั้น ไม่เกินเส้นแบ่งของแผนที่ 1:200000 และสถานีตำรวจนั้นก็อยู่ไม่ไกลไปทางทิศใต้ของเส้นนั้น ศาลพิจารณาเห็นว่า พื้นที่ตามบทปฏิบัติการที่ 2 ต้องขยายครอบคลุมหน้าผา แทนที่จะเป็นมติครม. 2505
แต่ศาลไม่สามารถรับคำจำกัดความของกัมพูชาที่ขยายเขตแดนไปไกลจนถึงภูมะเขือ หรือไกลกว่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ในปี 2505 กัมพูชาไม่ได้ถือว่า ภูมะเขือและดงรัก อยู่ในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ดังนั้น จึงไม่ถือว่า ภูมะเขือ คือ ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร ไม่มีข้อเชื่อมโยงของทั้งสองสถานที่กับการถอนทหารของไทยและอธิปไตยของกัมพูชา
เมื่อพิจารณาบริเวณปราสาทพระวิหารด้านใต้ และตะวันตกเฉียงใต้นั้น ดังนั้นศาลจึงพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกข้อพิพาท และคำพิพากษาปี 2505 ก็ไม่ได้บอกว่าภูมะเขือ อยู่ในเขตแดนของใคร
คำพิพากษากำหนดว่า การถอนทหารของไทย จะกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนในการถอนทหาร อย่างไรก็ตาม ศาลไม่สามารถตีความคำพิพากษานั้น ได้เพราะไม่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษา 1 ศาลโลกรับตีความคำพิพากษาตามคำร้องของกัมพูชา คำพิพากษา 2: ภูมะเขือและหน้าผาอยู่นอกบริเวณปราสาทพระวิหาร
3) ศาลไม่เห็นว่า จะต้องตอบคำถามว่า จะต้องพิจารณาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา หรือไม่ ในการให้การ ไทยได้ยอมรับที่จะเคารพอธิปไตยของกัมพูชา ศาลเห็นว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันเอง โดยมียูเนสโกเป็นตัวกลาง ด้วยมติเอกฉันท์ การขอตีความนั้น ศาลสามารถตีความได้
ด้วยมติเอกฉันท์ คำพิพากษาในปี 2505 กัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนของปราสาทพระวิหาร และไทยต้องถอนทหารออกจากเขตดังกล่าว

จบการพิจารณาคดี สรุป ศาลรับตีความ ปราสาทพระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา และไทยต้องถอนทหารออกจากปราสาทและบริเวณใกล้เคียง แต่ภูมะเขือ และผาใกล้เคียงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร การจะถอนทหารออกไปตรงที่ใด ให้ทั้งสองประเทศกำหนดเอง เพื่อรักษามรดกโลกโดยมียูเนสโกร่วมหารือ

อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/17704.pdf

ไทยรัฐออนไลน์

    โดย ไทยรัฐออนไลน์
    11 พฤศจิกายน 2556, 18:32 น.

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น