วันศุกร์ที่ 29 ตุลาคม พ.ศ. 2553

งง ดี ทำไม!!! คนรักชาติ สับสน เข้าใจเรื่องเขาพระวิหารไม่ตรงกัน


หยุด JBC !


โดย ม.ล.วัลย์วิภา จรูญโรจน์

นักวิจัยผู้เชี่ยวชาญ สถาบันไทยคดีศึกษา มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์

และผู้ประสานงาน ภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาท เขา พระวิหาร


เคย
เขียนเรื่อง JBC ในผู้จัดการออนไลน์มาแล้ว 2 ครั้ง ไม่อยากจะย้อนกลับไปเพราะเกรงจะเสียเวลา มาเดินหน้าค้นหาความจริงกันต่อดีกว่า

ข้าพเจ้าเคยตั้งข้อสงสัยกับ JBC ไทย (คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมฝ่ายไทย) และจับตามองมาโดยตลอด

ทำไมวันนี้คนของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศไทย จึงยังคงเรียกพื้นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร ที่จังหวัดศรีสะเกษ ว่า พื้นที่ทับซ้อน

ทำไมหลักเขตที่ตาเมือนโต๊ด จังหวัดสุรินทร์ ที่ JBC จัดทำ จึงย้ายจากตำแหน่งเดิมเข้ามาในเขตไทยอีกเกือบ 2 กิโลเมตร (จากการรายงานการพบหลักฐานของนายวีระ สมความคิด นายแซมดิน และ นายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ กับกลุ่มคนไทยผู้รักชาติ ซึ่งได้ร่วมกันถอนหลักเขตอัปยศของ JBC นั้นออกไปแล้วเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา)

ทำไมทหารไทยจึงไม่ทำหน้าที่อย่างชายชาติทหารตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายสูงสุดคือรัฐธรรมนูญ

มีใครเคยตั้งข้อสังเกตบ้างไหมว่า JBC ไทย ที่มีที่ปรึกษากระทรวงการต่างประเทศเป็นประธาน ยิ่งใหญ่เกินอำนาจใดในราชอาณาจักรไทย มาตั้งแต่ในแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชา ฉบับนายนพดล ปัทมะ 18 มิถุนายน 2551จนมาถึงบทบาทอย่างเปิดเผยล่าสุดในร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา วันที่ 6 เมษายน 2552 ในแง่ค้ำยันการอ้างสิทธิ์ทับซ้อนที่กัมพูชาอ้าง (ดูข้อ 5 ของอ้างอิงทั้งสองแหล่ง)

โครงสร้างของ JBC ก็ทำให้บทบาททหารไทยเล็กนิดเดียว ไม่ว่าจะมาจากหน่วยไหน มีบทบาทในฐานะเพียงแค่กรรมการ ถูกครอบงำโดยประธานที่มาจากกระทรวงการต่างประเทศดังได้กล่าวมาแล้วแต่เพียงผู้เดียว

แล้ว JBC ถือกำเนิดมาได้อย่างไร

JBC ถือกำเนิดมาจาก MOU 2543 โดยอ้างว่าให้มีหน้าที่พิสูจน์ทราบหลักเขตแดน 73 หลัก ซึ่งชำรุด สูญหายตามกาลเวลา โดยมีพื้นที่ปฏิบัติการตั้งแต่หลักเขตที่ 1 ที่ช่องสะงำ อำเภอภูสิงห์ จังหวัดศรีสะเกษ ถึงหลักเขตที่ 73 ที่บ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด (ตั้งข้อสังเกตว่าเพียงพื้นที่นี้เท่านั้นนะ!)

ดูผิวเผินเหมือน JBC มิได้มีอำนาจบาตรใหญ่แต่อย่างไร แต่ดูจากคนที่จับตามอง JBC จะรู้ว่า MOU หรือบันทึกความเข้าใจปี 2543 อ้างอิงแผนที่กัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ตัวผู้ให้กำเนิดเป็นผู้วางฐานความคิดให้JBC JBC จึงปฏิบัติงานโดยใช้หลักการอ้างอิงแผนที่กัมพูชามาโดยตลอด

คนที่จับตามอง JBC อยู่ รู้ว่า MOU 2543 ไม่ได้ผ่านการรับฟังเสียงของประชาชน และไม่ได้ผ่านรัฐสภา และใช้พื้นฐานกฎหมายที่ขัดต่อรัฐธรรมนูญ ดังนั้น MOU 2543 จึงเป็น ของเถื่อนตัวพ่อ เมื่อเป็นเช่นนี้ JBC จึงต้องเป็นของเถื่อนตัวลูก ตามไปด้วย อย่าว่าแต่จะถามว่ามีกฎหมายรองรับการทำงานของ JBC หรือไม่ เลย

หากจะอ้างมติรัฐสภา เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 (สมัยรัฐบาลนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ เป็นนายกรัฐมนตรี และนายชัย ชิดชอบ เป็นประธานรัฐสภา) ซึ่งมีการลงคะแนนเสียง 409:7 เสียง เห็นชอบต่อ กรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา ตลอดแนวและกลไกอื่นๆ ภายใต้กรอบนี้ โดยคิดว่าจะทำให้แผนแม่บทและข้อกำหนดอำนาจหน้าที่ของ JBC ซึ่งจะใช้แผนที่กัมพูชามาตราส่วน 1:200,000 ได้ผ่านรัฐสภาตามรัฐธรรมนูญ มาตรา190 (2) การกระทำเช่นนั้นก็ยังผิด และควรคิดเพิกถอนมติ เพราะเป็นการกระทำที่เข้าข่ายว่าเป็นการประชุมที่ขัดต่อกฎหมายและมีเจตนาแบ่งแยกราชอาณาจักร ตลอดจนมิได้กระทำตามเจตนารมณ์ของรัฐธรรมนูญมาตรา 190 อย่างสมบูรณ์

ความผิดขนาดนี้ก็เหลือที่จะรับแล้ว

แต่ยังปรากฏอีกว่า JBC ถือโอกาสใช้ MOU 2543 อ้างการเข้าไปสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นคนละพื้นที่ปฏิบัติการตามที่ MOU 2543 ระบุ รวมทั้งการไปเจรจากับกัมพูชาที่ใช้วาทกรรมว่าตนเป็นผู้ประคับประคองความสัมพันธ์แบบทวิภาคี ยึดสันติและความสงบสุข แต่ไม่ทำความจริงให้ปรากฏ ว่าหากจะต้องรับมือกับพหุภาคีหรือต้องขึ้นศาลโลกตามที่ JBC และกัมพูชาขู่ กระทรวงการต่างประเทศไทยจะมีศักยภาพในการต่อสู้และต่อรองตามหลักการฑูตของตนหรือไม่อย่างไร กลับกระทำการอันสุ่มเสี่ยงหลังใช้กระบวนการทางนิติบัญญัติเป็นเครื่องมือให้มีมติอัปยศของวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ดังกล่าว เพื่อไปปฏิบัติการเร่งรัดให้เกิดข้อตกลงทวิภาคีวันที่ 6 เมษายน 2552 ณ กรุงพนมเปญ ดังที่ข้าพเจ้าเคยวิเคราะห์ลงผู้จัดการออนไลน์ว่าข้อตกลงนี้มาแทนแถลงการณ์ร่วมฉบับนายนพดล ปัทมะ ที่ศาลปกครองกลางพิพากษาแถลงการณ์ฉบับนี้ไปแล้วว่าขัดรัฐธรรมนูญ และเป็นการใช้อำนาจการบริหารราชการแผ่นดินให้เกิดความเสี่ยงต่อการเสียอธิปไตยและดินแดน ดังนั้น หากข้อตกลงฉบับดังกล่าวผ่านความเห็นชอบของรัฐสภาโดยราบรื่นไปอีก เท่ากับ JBC ไทยเป็นกลไกทำให้ทั้งอำนาจบริหารและอำนาจนิติบัญญัติร่วมมือกันกระทำการขัดต่อรัฐธรรมนูญมาตรา 1 เพียงแค่ JBC ไทยรับข้อเสนอและคำแนะนำจากคณะทำงานในองค์การยูเนสโก ผ่านความร่วมมือทวิภาคี ให้นำเอกสารที่ยืนยันความสงบในพื้นที่รอบปราสาทพระวิหาร ตั้งแต่ภูมะเขือถึงช่องตาเฒ่าโดยประมาณ มาเป็นหลักฐานใช้ในการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา ส่งให้คณะกรรมการมรดกโลกพร้อมกับแผนบริหารจัดการ ภายในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2553 เท่านั้นเอง นี่เป็นการเปิดเผยที่ภาคประชาชนได้ตรวจสอบพบแล้ว ปฏิบัติการในเชิงลับของ JBC ไทย เรื่องการเปลี่ยนเส้นเขตแดนและทำแผนที่ใหม่ เพิ่งถูกเปิดเผยเพียงเศษเสี้ยวเดียวของงานที่ปฏิบัติ หลังจากกลุ่มคนไทยผู้รักชาติซึ่งเป็นหนึ่งในภาคีเครือข่ายผู้ติดตามสถานการณ์ปราสาท เขา พระวิหาร ได้พบความจริงจากหลักเขตแดนที่ปราสาทตาเมือนโต๊ด จังหวัดสุรินทร์ ในวันที่ภาคประชาชนภายใต้การนำของนายวีระ สมความคิด นายแซมดิน และนายเจริญ หมู่ขจรพันธ์ ไปรอรับนายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ที่จะเดินทางเข้ามาเมื่อวันที่ 8 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา อันเป็นช่วงเวลาเดียวกับที่นายฮุน เซน เรียกร้องให้กูเกิ้ล เอิร์ธ เปลี่ยนภาพแผนที่แสดงเส้นเขตแดนไทย-กัมพูชา ตรงบริเวณปราสาทพระวิหารจากเดิม

บ้านเมืองนี้บริหารกันอย่างไร ช่างงายดายเหลือเกินที่จะปล่อยให้คณะบุคคลที่อ้างว่าคือกลไก JBC ไทยไปเจรจา ไปปฏิบัติ และดำเนินการทุกอย่าง เพื่อเอาดินแดนไปแลกเนื้อแลกปลา

ทหารของชาติอย่างแม่ทัพภาคที่ 2 ของกองทัพบกไทยคงจะภูมิใจเสียละกระมังที่จะได้รับการอุปโลกน์จากการเจรจาทวิภาคีของ JBC ให้เป็นผู้กำหนด มาตราการที่เหมาะสม ร่วมกับผู้บัญชาการกองทัพภาคที่ 4 ของกองทัพกัมพูชา ในการช่วยเอาดินแดนไปแลกเนื้อแลกปลา และถูกลวงให้เฝ้าแหนดินแดนที่เสียไปดังกล่าวโดยผ่านกลุ่มชายฉกรรจ์ไทยที่ต่อไปนี้เขาจะไม่เรียกตัวเองว่า ทหารกล้าแต่จะเรียกว่า ชุดติดตามสถานการณ์ชั่วคราว เขียนมาทั้งหมดนี้มีหลักฐานอ้างอิงได้ทั้งนั้นไม่ว่าจะในร่างข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา วันที่ 6 เมษายน 2552 ณ กรุงพนมเปญ และ/หรือ ในรายงานประกอบมติคณะกรรมการมรดกโลกครั้งที่ 33 เมื่อเดือนกรกฎาคมที่ผ่านมา

การจะแก้ไขปัญหานั้นขอให้ช่วยกันเริ่มต้นพิจารณา JBC เถื่อน จะทำอย่างไร

MOU เถื่อน จะทำอย่างไร

และมติรัฐสภา 28 ตุลาคม 2551 ที่ให้ความเห็นชอบกรอบการเจรจา เถื่อน จะทำอย่างไร

เรื่องของอธิปไตยและดินแดนไทยที่เกิดขึ้นและรวมอยู่ในปรากฏการณ์ที่เป็นปัญหา เช่น ปัญหาเรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก ก็ดี ปัญหาการอ้างความเป็นสุภาพบุรุษและความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างประเทศในการพัฒนาพื้นที่และการใช้ที่ดินร่วมกัน ก็ดี ปัญหาเรื่องเขตแดนที่อ้างว่าจะต้องมีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา 73 หลัก รวมทั้งการทำแผนที่ใหม่ ก็ดี ตลอดจนปัญหาผลประโยชน์ทับซ้อนเรื่องพลังงานในอ่าวไทย ก็ดี ทั้งหมดนี้เกี่ยวข้องสัมพันธ์กับกระบวนการบริหารจัดการบ้านเมืองอย่างเป็นบูรณาการบนพื้นฐานของหลักการและกฎหมาย ที่หากจะมีการแก้ไขปัญหา ก็จะต้องแก้อย่างเป็นระบบไม่ว่าจะใช้กลไกใด หรือกระบวนการใด ต้องถูกตรวจสอบและแก้ไขทั่งระบบและกระบวนการ

แต่สามาถเริ่มต้นได้ หากพวกเราช่วยกัน หยุด JBC ไทย เสียก่อนอื่น!

11 กุมภาพันธ์ 2553



นายวศิน ธีรเวชญาณ

สมพงษ์เล็งชงครม.ตั้งวศินเป็นปธ.เจบีซีคุยเขมร
นายสมพงษ์ อมรวิวัฒน์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศ กล่าวว่า การประชุมคณะรัฐมนตรีวันพรุ่งนี้ (21 ต.ค.) จะเสนอชื่อนายวศิน ธีรเวชญาณ อดีตเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล เกาหลีใต้ เป็นประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เพื่อไปทำหน้าที่ในการเจาจาในกรอบเจเบีซีกับฝ่ายกัมพูชา โดยคาดว่าสามารถบรรจุวาระการประชุมได้ ประมาณวันที่ 27 ต.ค.นี้ เพื่อเดินหน้าเจรจา และหลังจากนั้นตนจะนัดหารือกับนายฮอร์ นัม ฮอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา แก้ปัญหาในการปักปันเขตแดนให้ชัดเจน เป็นลำดับสำหรับนายวศิน ธีรเวชญาณ เป็นนักการทูตที่มีความสามารถด้านกฎหมายระหว่างประเทศ เนื่องจากเคยดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฎหมาย จากนั้นได้รับการแต่งตั้งให้เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์เมื่อปี 2543 ก่อนที่จะมาเกษียณอายุราชการในตำแหน่งสุดท้ายคือ เอกอัครราชทูตไทยประจำกรุงโซล ประเทศเกาหลีใต้ เมื่อวันที่ 30 กันยายนที่ผ่านมา


อ.เทพมนตรี แฉ ข้าราชการกระทรวงต่างประเทศ ที่เป็นประธาน JBC ชื่อ นายวศิน ธีรเวชญาณ มีทัศนาคติที่ไม่ดีต่อแผ่นดินของตนเอง พยายามจะอ้างหลักฐานต่อศาลเพื่อเข้าข้างเขมรตลอดเวลา ความคิดทัศนคติที่เป็นปรปักษ์ต่อแผ่นดินไทย

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น