วันอังคารที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2557

หนังสือ ด่วนที่สุด! จากผู้ตรวจการแผ่นดิน เรื่องท่อก๊าซ !!!


"ฟ้อง ปตท. เอาผิดอะไร ปตท.ไม่ได้ แต่ถ้า ปตท.ฟ้องผม ผมอาจจะติดต้องคุก" 
"ความล่าช้า คือ ความไม่เป็นธรรม"... กม.ของ ประเทศไทย พิกลพิการหรือ !!!


หนังสือร้องเรียน เจ้าหน้าที่รัฐ ต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน
วันที่ 27 เดือน มีนาคม พุทธศักราช 2555
เรื่อง ขอร้องเรียนเรื่องข้าราชการการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและ ประมวลจริยะธรรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3 มาตรา 279
เอกสารแนบ 1) รายชื่อผู้ร้องเรียน
2) เอกสาร คำสั่งศาลปกครอง
3) เอกสารคืนท่อก๊าซบางส่วน
....
ก ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
1. นายอภิเดช เดชวัฒนะสกุล
2. นาย เรืองศักดิ์ เจริญผล
3. นอ.บัญชา รัตนาภรณ์
4. นาย ศรัลย์ ธนากรภักดี แกนนำมาบตาพุด กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย
5. พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
ผู้ร้องเรียนในฐานะ ผู้เสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ และประชาชนปฏิบัติ หน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ชาติ


หนังสือตอบกลับ จากผู้ตรวจการแผ่นดิน 




หนังสือร้องเรียนเจ้าหน้าที่รัฐ เสนอต่อ ผู้ตรวจการแผ่นดิน

วันที่  27   เดือน มีนาคม พ.ศ. 2555
เรื่อง    ขอร้องเรียนเรื่องข้าราชการการเมือง  และเจ้าหน้าที่รัฐ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายและ ประมวลจริยะธรรม ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 3  มาตรา 279
 เอกสารแนบ   1) รายชื่อผู้ร้องเรียน
2) เอกสาร คำสั่งศาลปกครอง
3) เอกสารคืนท่อก๊าซบางส่วน
4) เอกสารหน้า 22-26 รายงาน ฯ
5) กรรมการ ปตท. รายชื่อ
6) เอกสารแนบค่าไฟฟ้า
7) ข่าว สื่อมวลชน เรื่องการใช้ LPG
8) เอกสารแนบสัดส่วน LPG การใช้ รายงานของกรมธุรกิจพลังงาน
9) เอกสารแนบสัดส่วน  LPG  
10) โครงสร้างราคาน้ำมัน
11) กำไร ปตท. และใบเสร็จน้ำมัน เคมีคอล
12) จ่ายค่าน้ำมันแพงเกินความจริง
13) ข่าวผู้จัดการออนไลน์
14)   เอกสาร รายงานการพิจารณาศึกษา ของคณะกรรมการธิการศึกษา ตรวจสอบ  เรื่อง การทุกจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาลวุฒิสภาเรื่องธรรมาภิบาลในระบบพลังงาน ของประเทศ ภาค1 ภาค
15)  เอกสาร รายงาน ผลผลิตก๊าซรรมชาติ
16)  เอกสารใบเสร็จราคาน้ำมัน

ก  ชื่อและที่อยู่ของผู้ฟ้องคดี
  1. 1.    นายอภิเดช เดชวัฒนะสกุล   
  2. 2.    นาย เรืองศักดิ์ เจริญผล    
  3. 3.    นอ.บัญชา รัตนาภรณ์  
  4. 4.    นาย ศรัลย์ ธนากรภักดี     แกนนำมาบตาพุด กลุ่มทวงคืนพลังงานไทย
  5. 5.    พท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี    

               ผู้ร้องเรียนในฐานะ ผู้เสียหายจากการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าหน้าที่รัฐ   และประชาชนปฏิบัติ หน้าที่ปกป้องผลประโยชน์ชาติ     มีความประสงค์ขอร้องเรียน
ข.ผู้ถูกร้องเรียน   
1   คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ              ที่อยู่    121/1-2  ถนนเพชรบุรี   แขวงทุ่งพญาไท เขต ราชเทวี  กทม  10400 โทร    0 2612 1555,    แฟกซ์  0 2612 1364
2  คณะกรรมการบริหารนโยบายพลังงาน     ศูนย์ Energy Complex     เลขที่  555/2 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร  กรุงเทพ 10900   โทรศัพท์: 0-2140-6000
 3  รมต กระทรวงพลังงาน        ที่อยู่ กระทรวงพลังงาน  อาคาร B ชั้น 24 ศูนย์ Energy Complex     เลขที่  555/2 ถนนวิภาวดีรังสิต เขตจตุจักร  กรุงเทพ 10900   โทรศัพท์: 0-2140-6000
4        คณะกรรมการ บริษัท ปตท. ที่อยู่ สำนักงานใหญ่555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร  กทม                        โทร 0-2537-2000        0-2537-3498-9
5        คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ที่อยู่  319 อาคารจัตุรัสจามจุรี ชั้น 19 ถนนพญาไท แขวงปทุมวัน เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330โทร02-2073502   02-2073508  023073599 email:support@erc.or.th
6        ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน   ที่อยู่   121/1-2 ถนนเพชรบุรี แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี  กรุงเทพ ฯ 10400 โทร 02-612 1358
7        อดีต  รมต พลังงาน นายปิยสวัสดิ์ อัมระนั้นทร์
6    อดีตนายกรัฐมนตรี พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์
ค.การมีสิทธิ์ร้อง เรียน    
ค.1   ผู้ ร้องเรียน เป็นประชาชนคนไทย ถือบัตรประชาชน ไทย   มีสิทธิและ หน้าที่ปกป้องรักษา ผลประโยชน์ของ ชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย รัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พศ 2550    ย่อมได้รับความคุ้มครอง ตามมาตรา 3, 5, และมาตรา 6     รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ บทบัญญัติใดของกฎหมาย กฎ หรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้ บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับมิได้         และมีสิทธิ เป็นผู้เสียหาย ตาม รัฐธรรมนูญ มาตรา 3 วรรคสอง    และมาตรา  71     บุคคลมีหน้าที่ป้องกันประเทศ รักษาผลประโยชน์ของชาติ และปฏิบัติตามกฎหมาย
            ดังนั้นประชาชน ทุกคนจึงเป็นผู้เสียหายตามรัฐธรรมนูญมาตรา  71 นี้      
ค.2    ผู้ ร้อเงรียน  เป็นผู้เสียหาย และได้รับผลกระทบจากการประกาศขึ้นค่าก๊าซ   และน้ำมัน ดังนี้
ค.2.1  ผู้ ร้อเงรียนเป็นผู้ใช้ไฟฟ้า ตามเอกสารบิลล์ค่าไฟฟ้า  .(เอกสารแนบที่...)  ซึ่งเมื่อราคาค่า ก๊าซ เพิ่มขึ้นค่าไฟฟ้า เอฟที ต้องเพิ่มขึ้นตามในอนาคต เนื่องจาก  การคิดค่าเอฟที คิดตามต้นทุนการผลิตไฟฟ้าซึ่งก็คือ  ก๊าซที่เป็นต้นทุนผลิตกระแสไฟฟ้ากว่า 70%
ค.2.2   ผู้ร้อเงรียนต้องจ่ายเงินเพิ่มขึ้น ในราคาน้ำมัน ที่ต้องไปสมทบใน กองทุนน้ำมัน
ค.2.3   ผู้ ร้อเงรียน จักต้องมีภาระจ่ายค่าสินค้าอุปโภคบริโภคแพงขึ้นเนื่องจาก ค่าขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น จากต้นทุนก๊าซเพิ่ม ต้นทุนไฟฟ้าเพิ่ม  ผู้ประกอบการต้องผลักภาระต้นทุนเหล่านี้ ให้แก่ผู้บริโภค

               ผู้ถูกร้องเรียน เป็น ข้าราชการ การเมือง และ  เจ้าหน้าที่รัฐ    ตามพระราชบัญญัติ  กระทรวงพลังงาน   และเป็นหนึ่งในคณะกรรมการนโยบายพลังงานมีหน้าที่ ตามพระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบาย พลังงาน แห่งชาติ พ.ศ. 2535  มาตรา 6  คณะกรรมการนโยบาย พลังงานแห่งชาติมีอำนาจหน้าที่ (2) กำหนดหลักเกณฑ์ และเงื่อนไขในการกำหนด ราคาพลังงานให้สอดคล้อง กับนโยบายและแผนการบริหารและ พัฒนาพลังงาน ของประเทศ   และกำกับดูแลเกี่ยวกับเรื่องพลังงานทั้งหมด   และต้องปฏิบัติตามกฎหมายรัฐธรรมนูญมาตรา 279  ว่าด้วยเรื่องการปฏิบัติหน้าที่ตามประมวลจริยธรรม    นักการเมือง     และมาตรา 57 วรรคสอง   วรรคสองที่เขียน ไว้ว่า การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ  การออกกฎ ที่อาจมีผลกระทบต่อ ส่วนได้เสียสำคัญของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็น ของประชาชน อย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ               
ง. กฎหมายที่เกี่ยวข้อง
ง. 1 รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พศ 2550
             มาตรา   57    การวางแผนพัฒนาสังคม เศรษฐกิจ  การออกกฎที่อาจมีผลกระทบต่อ ส่วนได้เสียสำคัญ ของประชาชน ให้รัฐจัดให้มีกระบวนการรับฟังความคิดเห็นของประชาชนอย่างทั่วถึงก่อนดำเนินการ
มาตรา 58 บุคคลย่อมมีสิทธิมีส่วนร่วมในกระบวนการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ของรัฐ ในการปฏิบัติราชการทาง ปกครองอันมีผลหรืออาจมีผลกระทบต่อสิทธิและเสรีภาพของตน
มาตรา 66  บุคคลซึ่งรวมกันเปนชุมชน ชุมชนทองถิ่น หรือชุมชนทองถิ่นดั้งเดิม ยอมมี สิทธิอนุรักษหรือฟน ฟูจารีตประเพณี และมีสวนรวมในการจัดการ   และการใชประโยชนจากทรัพยากร ธรรมชาติ  สิ่งแวดลอม
มาตรา 67  สิทธิของบุคคลที่จะมีส่วนร่วมกับรัฐและชุมชนในการอนุรักษ์ บำรุงรักษาและการได้ ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติ  
 มาตรา 74 บุคคลผู้เป็นข้าราชการ พนักงาน ลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ
รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าหน้าที่อื่นของรัฐ มีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายเพื่อรักษาประโยชน์
ส่วนรวม อำนวยความสะดวก และให้บริการแก่ประชาชนตามหลักธรรมาภิบาลของการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
  มาตรา 85  รัฐตองดําเนินการตามแนวนโยบายดานที่ดิน ทรัพยากรธรรมชาติ และ สิ่งแวดลอม ดังตอไปนี้
(4) จัดใหมีแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำและทรัพยากรธรรมชาติอื่นอยางเปนระบบ และเกิดประโยชนตอ
สวนรวม ทั้งตองใหประชาชนมีสวนรวมในการสงวน บํารุงรักษา และใช ประโยชนจากทรัพยากรธรรมชาติ และความหลากหลายทางชีวภาพอยางสมดุล
มาตรา279  มาตรฐานทางจริยธรรมของผูดํารงตําแหนงทางการเมือง ขาราชการ หรือ เจาหนาที่ของรัฐ แตละ ประเภท ใหเปนไปตามประมวลจริยธรรมที่กําหนดขึ้นมาตรฐานทางจริยธรรมตาม วรรคหนึ่ง  จะตองมีกลไกและระบบในการดําเนินงานเพื่อให การบังคับใชเปนไปอยางมีประสิทธิภาพ รวมทั้งกําหนด ขั้นตอนการลงโทษตามความรายแรงแห่งการกระทํา    การฝาฝนหรือไม่ปฏิบัติตามมาตรฐาน ทางจริยธรรม ตามวรรค หนึ่งให้ถือวาเปนการกระทําผิด ทางวินัย          
                    ในกรณีที่ผูดํารงตําแหนงทางการเมืองฝาฝนหรือไมปฏิบัติตาม ใหผูตรวจการแผนดินรายงาน          ตอรัฐสภา คณะรัฐมนตรี หรือสภาทองถิ่นที่เกี่ยวของ แลวแตกรณี และหากเปนการกระทําผิดรายแรง ใหสงเรื่องใหคณะ กรรมการ ปองกันและปราบปรามการทุจริตแหงชาติพิจารณาดําเนินการ
ง.2 ระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยประมวลจริยธรรมของข้าราชการการเมืองพ.ศ.2551
ข้อ 4 ในระเบียบนี้ "ข้าราชการการเมือง" หมายความว่า นายกรัฐมนตรี รัฐมนตรี และข้าราชการการเมืองอื่น ที่นายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีแต่งตั้งตามกฎหมายว่า ด้วยระเบียบข้าราชการการเมือง
 ข้อ 5 ให้นายกรัฐมนตรีรักษาการตามระเบียบนี้
ข้อ 6 ข้าราชการการเมืองมีหน้าที่ดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมาย รักษาประโยชน์ส่วนรวม ยึดหลักธรรมาภิบาล โดยจะต้องยึดมั่นในค่านิยมหลัก ดังนี้
(5) ยืนหยัดทำในสิ่งที่ถูกต้อง เป็นธรรม และถูกกฎหมาย
(7) ให้ข้อมูลข่าวสารแก่ประชาชนอย่างครบถ้วน ถูกต้อง และไม่บิดเบือนข้อเท็จจริง
ข้อ 8 ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการรักษาไว้และปฏิบัติตามซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ทุกประการ
ข้อ 9 ข้าราชการการเมืองต้องเป็นแบบอย่างที่ดีในการเป็นพลเมืองดีการเคารพและปฏิบัติตามกฎหมายอย่าง เคร่งครัด
 ข้อ14  ขาราชการการเมืองตองไมใชหรือยินยอมใหผูอื่นใชสถานะหรือตําแหนงการเปน ขาราชการการเมือง ไปแสวงหาประโยชนที่มิควรไดโดยชอบดวยกฎหมายสําหรับตนเองหรือผูอื่น ไมวาจะเปนประโยชน ในทางทรัพยสิน หรือไมก็ตาม
ขอ 25ขาราชการการเมืองตองไมใชหรือบิดเบือนขอมูลขาวสารของราชการเพื่อใหเกิด ความเขาใจผิดหรือ เพื่อผลประโยชนสําหรับตนเองหรือผูอื่น
ข้อ 30 นายกรัฐมนตรีมีหน้าที่กำกับดูแลการประพฤติปฏิบัติตนของรัฐมนตรีและข้าราชการ การเมืองอื่นที่นายกรัฐมนตรีแต่งตั้งให้เป็นไปตามระเบียบนี้ ในกรณีที่พบว่ามีการประพฤติปฏิบัติตนที่ไม่ถูกต้องตามระเบียบนี้ ให้นายกรัฐมนตรีดำเนินการ ลงโทษตามความร้ายแรงแห่งการกระทำ
จ.  รายละเอียดของการกระทำ ข้อเท็จจริง หรือพฤติการณ์ เกี่ยวกับการกระทำที่เป็น เหตุให้เกิดความเดือดร้อนเสียหาย ที่เป็นเหตุแห่งการฟ้องคดี

                ผู้ร้องเรียน  ได้รับความเสียหาย  หรืออาจจะได้รับความเสียหาย และปฏิบัติหน้าที่รักษา ผลประโยชน์ชาติ   จากการที่   ผู้ถูกร้องเรียน   ซึ่งเป็นผู้รับผิดชอบ เกี่ยวกับพลังงาน  ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพลังงานของประเทศทั้งหมด      ซึ่งเป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐ  มีอำนาจหน้าที่ตาม พระราชบัญญัติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ         
        จ.1 ละเมิดคำสั่งศาล และใช้ทรัพน์สินของประชาชนมาแสวงหาประโยชน์       ในช่วงเวลา ตั้งแต่ วันที่ 14 ธันวาคม  พศ 2550  จนถึงปัจจุบัน  เหตุเกิด ณ บริษัท ปตท   สำนักงานใหญ่555 ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร  กทม         ถูกศาลปกครองสูงสุด สั่งให้คืน. ท่อก๊าซให้แก่แผ่นดิน   ตามเอกสารแนบ ….2    แต่ปรากฎว่า บริษัท ปตท .มิได้ปฏิบัติตามคำสั่งศาล   ให้คืนท่อก๊าซที่เป็น ส่วนของแผ่นดิน ให้กับรัฐให้หมด  แต่ปตท คืนเพียงบางส่วน   ตามเอกสารแนบ 3       ดังหนังสือ ของสำนักงานตรวจเงินเเผ่นดิน   ที่ ผลสอบของ สตง. ระบุว่าปตท.ยังส่งคืนสมบัติแผ่นดิน ให้ กระทรวงคลังไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา ของศาล ปกครองสูงสุด ยังมีท่อก๊าซฯบนบก และในทะเล มูลค่ารวม 32,613 ล้านบาท   เวลาล่วงเลยมาสามปีกว่า
             ในจำนวนนี้เป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่ปรากฏชื่อโครงการในคำพิพากษาของศาลปกครอง สูงสุด จำนวน 36,642.76 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้แบ่งแยก และส่งมอบให้กระทรวงการคลัง จำนวน 14,808.62 ล้านบาท คงเหลือส่วนที่บริษัทยังไม่ได้แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง จำนวน 21,834.14 ล้านบาท      
               และเมื่อวันที่   22  เมษายน  2551   ผู้ถูกกล่าวโทษที่3-6   ร่วมกันกระทำ การละเมิด อำนาจศาล   ทั้งที่รู้ว่า ท่อก๊าซ ส่วนที่เป็นของรัฐที่ปตท จักต้องคืน  ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด ทั้งยังนำเอาท่อก๊าซ ที่เป็นทรัพย์สิน ของแผ่นดิน นำไปใช้แสวงหาประโยชน์ โดยเรียกเก็บค่า ก๊าซ ผ่านท่อ เพิ่มเติมจากเดิม ตาม คู่มือการคำนวณราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ธรรมชาติ”     มีผลบังคับใช้เมื่อ1  เมษายน  2552 ตามเอกสารรายงานของ  รายงานการพิจารณาศึกษา ของคณะกรรมการธิการศึกษา ตรวจสอบ  เรื่อง การทุกจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล  วุฒิสภา เรื่องธรรมาภิบาล ในระบบ พลังงาน ของประเทศ ภาค1 ภาค 2  หน้า 22-26 ที่ผ่านที่ ประชุมวุฒิสภา เห็นชอบเเล้วเมื่อ วันที่ 4 พค. 53   และ15 สค. 54 ทำให้เกิดรายได้ และ ผลประโยชน์ แก่เอกชน ที่ถือหุ้น ส่วนหนึ่ง ของปตท   ตัวอย่าง ตามเอกสารแนบ 5   และ คณะกรรมการผู้บริหารที่ได้ โบนัส ตามผลกำไรของปตท.  เป็นการขูดรีด และ ฉ้อโกง ประชาชนซึ่งหน้า     โดย เจ้าหน้าที่ รัฐทั้งสี่ สมรู้ร่วมคิดทั้งๆที่รู้ว่า ท่อก๊าซ ส่วนนั้น เป็นสมบัติของแผ่นดิน        อีกทั้งคณะกรรมการกำกับกิจการ พลังงาน ยังใช้เป็นกรอบในการคำนวณ และพิจารณาอนุมัติราคาก๊าซ  และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ    โดยมิได้คำนึงถึงว่า ท่อก๊าซเหล่านี้ศาล ได้มีคำสั่งให้คืนแก่แผ่นดินแล้ว    ซึ่งทำให้ราคาก๊าซ เพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อโครงสร้าง ค่าไฟฟ้าเอฟที ที่คิดจากต้นทุนราคาก๊าซ ที่เพิ่นขึ้น ทั้งค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น ยังส่งผลกระทบต่อ ต้นทุนสินค้าทุกชนิด สร้างความเดือดร้อนต่อ ประชาชนทั้งประเทศ รวมทั้ง ผู้ร้องเรียนที่เสียหายจากการที่ต้อง รับภาระค่าไฟฟ้า   (เอกสารแนบ ใบเสร็จค่าไฟฟ้า ) และราคาสินค้า ทุกชนิด  
             ผู้ถูกร้องเรียนที่ 3-6  มีความผิดตาม  มาตรา 368     มาตรา  148    มาตรา 152    มาตรา 157    ขัดประมวลจริยะธรรม  นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ  ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279   


หมกเม็ด เอื้อประโยชน์เอกชน   
 เมื่อช่วงเดือนมีนาคม  2555   ผู้ถูกร้องเรียนที่ 1-3  ให้ข้อมูลสู่สาธารณะ  มีการหมกเม็ด  เพื่อประโยชน์ตนเองหรือผู้อื่น ทั้ง   ร่วมกัน นำ เสนอ ข้อมูลที่หมกเม็ด บิดเบือน ต่อประชาชน    เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า ก๊าซ LPG ในประเทศ ไม่พอใช้สำหรับครัวเรือน และภาคขนส่ง จนต้องสั่งจากต่างประเทศ     (จากข่าวสื่อมวลชน  เอกสารแนบ 7 )   จากรายงานของวุฒิสภา   พบว่า   ปริมาณก๊าซLPG ที่ใช้ในครัวเรือน และขนส่ง มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น น้อยกว่า ภาคปิโตรเคมี  เช่นในปี 2551 และ 2552   ภาคปิโตรเคมี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น   470 พันตัน   ส่วนภาคครัวเรือน เพิ่มขึ้น  107 พันตัน ภาคขนส่ง ใช้ลดลง 110 พันตัน      (อ้างอิง หนังสือที่ สว. (กมธ.2 ) 0010 /2563 ลงวันที่ 17 มิย 53    เอกสารแนบ 8 ) 
           ส่วนในปี   2554  ช่วงเดือน มค-พค 54 (ช่วง ห้าเดือน ) เทียบกับปี 53  (12 เดือน ) สัดส่วนการใช้  LPG ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น  11พันตัน  ในรถยนต์เพิ่มขึ้น  12 พันตัน  ภาคปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น  54 พันตัน   (ที่มากรมธุรกิจพลังงาน เอกสารแนบ  8 )  ดังนั้น  การนำเข้า ก๊าซ LPG      ที่นำเข้ามานั้น   ใช้ในอุตาหกรรมปิโตรเคมีมากกว่าครัวเรือน และขนส่ง มาก  ไม่ใช่ ใช้ในครัวเรือน หรือขนส่ง   แต่เวลาสื่อต่อสาธารณะ กลับให้ข่าว ที่ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า ครัวเรือนและ ภาคขนส่งใช้ก๊าซมาก เกินจำนวนที่ผลิตในประเทศ  เอกสารแนบ  9   ( ทั้งที่ ในประเทศมีปริมาณ ก๊าซธรรมชาติ เพียงพอ  แต่ไม่สร้างโรงแยกก๊าซให้เพียงพอ  )    และ ปตท สั่งก๊าซ โพรเพนและบิวเทน เข้ามา เพื่อ ปิโตรเคมี ในบริษัทลูกของปตท. แต่ไม่แสดงให้ประชาชนรับรู้ เพราะถ้าประชาชน ล่วงรู้ความจริง    จะมีการต่อต้าน ทั้งการนำเข้านี้ราคาสูงกว่าในประเทศ ที่ต้องเอาเงินกองทุนน้ำมัน ที่ผู้ร้องเรียน ต้องแบกภาระ ในรูปของราคาน้ำมันเบนซิน และก๊าซโซฮอลล์ที่เก็บ เงินเข้ากองทุน ลิตรละสองถึง สามบาท  ( เอกสารแนบ 10  )    แต่กลับไปเอื้อประโยชน์กลุ่มปิโตรเคมี ที่ส่วนใหญ่ เป็นบริษัทลูก ของปตท   ซึ่งสร้างกำไร แก่บริษัทเหล่านี้   เช่น บริษัท ปตท เคมิคอล กำไรเพิ่มขึ้น 180 % .ในไตรมาส สอง ปี 2554 ( ตามเอกสารแนบ  11  )  เท่ากับ เสนอข้อมูล  ฉ้อฉล กลลวง เพื่อขูดรีด เงินค่าน้ำมัน ไปชดเชย การนำเข้า ก๊าซ โพรเพนและบิวเทน  แต่ออกข่าวเสมือนหนึ่ง ว่าประชาชน ใช้มาก ครัวเรือน  และยานยนต์   เพื่อผลประโยชน์ในการเรียกเก็บค่าใช้จ่ายจากกองทุนน้ำมัน และการกู้เงินเพื่อไปชดเชย ราคาก๊าซที่สั่งเข้ามา เพื่อปิโตรเคมี   ถือเป็นการปกปิดบิดเบือนข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ ผู้อื่น   
             จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อ กฎหมายอาญามาตรา 341    มาตรา 148   มาตรา 152 มาตรา 157    ขัดประมวลจริยะธรรมนักการเมือง   ข้อ 6  (5)  (7)  ข้อ 8  ข้อ 9   ข้อ14     ขอ 25
3   เจ้าหน้าที่รัฐ แก้ไข กฎหมายเพื่อ ให้ประโยชน์แก่  ผู้อื่น
              เมื่อปี 2550  นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทร์ รมต พลังงาน  ในสมัย พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์  ได้แก้ไขพรบ ปิโตรเลี่ยม    (มาตรา 22    อำนาจการให้สัมปทานเป็นของรมต พลังงาน มาตรา28  ขยายพื้นที่ให้สัมปทาน ไม่จำกัด       มาตรา 99 สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ ไม่เกิน 90%)     ให้เอื้อแก่เอกชน และให้อำนาจ รมต พลังงาน สามารถ ให้สัมปทาน  ลดค่าสัมปทาน     แก่เอกชน ได้ โดยไม่ผ่านความเห็นหรือการมี ส่วนร่วม ของประชาชน       หรือการแบ่งประโยชน์ อย่างเป็นธรรม ตาม รัฐธรรมนูญ  มาตรา 57   58   66  67  85(4)   ในการมีส่วนร่วมในนโยบายที่มีผลกระทบแก่ตน และมีส่วนร่วม ในการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างสมดุลย์ แต่กลับกลายเป็นว่าทรัพยากรพลังงานของประเทศที่ มีมากมาย (เอกสาร  เเหล่งน้ำมันในประเทศ )  นั้น  กว่าครึ่ง หนึ่ง ที่ใช้ในประเทศ ยังมีการส่งออกไปต่างประเทศที่มีมูลค่ามากกว่า ข้าว  (เอกสารแนบ     )   แต่ค่าสัมปทาน ได้ต่ำมาก เช่น 5-15 %    แต่ประเทศอื่นๆได้ 30-90 %  (เอกสาร แนบ     )    อีกทั้ง ทรัพยากรพลังงานของประเทศได้ตกอยู่ในมือ นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐเพียงไม่กี่คน   ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา   66  67  85(4)  279 และ      ขัดประมวลจริยะธรรมนักการเมือง   ข้อ 6  (5)  (7)  ข้อ 8  ข้อ 9   ข้อ14     ขอ 25       
              ดังนั้นข้าพเจ้า และผู้ร้องเรียน ใคร่ขอให้ ผู้ตรวจการแผ่นดิน  ไต่สวนข้อเท็จจริง และขอให้มีคำสั่ง ดังต่อไปนี้ 
1 ขอให้ผู้ถูกร้องเรียน ปฎิบัติตามมาตรฐาน ประมวลจริยธรรม นักการเมือง และเจ้าหน้าที่รัฐ ปฏิบัติตามกหลักนิติธรรม   ในการให้ข้อมูลความจริงแก่ประชาชน และ  การคิดค่าใช้จ่ายราคาพลังงานที่เป็นธรรม และตามต้นทุนที่แท้จริง
 2      ควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการบริหารและการได้ประโยชน์ทรัพยากรธรรมชาติ  อย่างสมดุลย์  ตามรัฐธรรมนูญมาตรา 66  67  85(4)
 3   ขอให้ตรวจสอบ พรบ.ปิโตรเลี่ยม  ฉบับยที่ 6   พศ 2550     มาตรา 22    อำนาจการให้สัมปทานเป็นของรมต พลังงาน      มาตรา28  ขยายพื้นที่ให้สัมปทาน ไม่จำกัด       มาตรา 99 สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ ไม่เกิน 90%      ขัดรัฐธรรมนูญ มาตรา 3    66  67  85(4)     หรือไม่ หากมีมูลขอให้ส่งไปที่ศาลรัฐธรรมนูญ
4    หากไต่สวนแล้วพบว่า ผู้ถูกร้องเรียนละเมิดต่อกฎหมายจริง  หรือมีมูล  ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินส่งเรื่องไปยัง คณะรัฐมนตรี  รัฐบาล และ ปปช    ศาลรัฐธรรมนูญ เพื่อ  ดำเนินการตามกฎหมายต่อไป
                 จึงใคร่ขอกราบเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณา ไต่สวนข้อเท็จจริง  เพื่อให้ทุกหน่วยงาน ของรัฐปฏิบัติตามหลักนิติธรรม และ ตามรัฐธรรมนูญมาตรา3  มาตรา  279   ขอขอบพระคุณอย่างสูง
                           
ผู้ร้องเรียนและผู้รับมอบอำนาจ
พท.พญ.กมลพรรณ   ชีวพันธ์ศรี  สมาชิกสภาพัฒนาการเมือง
นายอภิเดช  เดชวัฒนสกุล
นอ .บัญชา รัตนาภรณ์
นายเรืองศักดิ์ เจริญผล  
นาย ศรัลย์ ธนากรภักดี     







2 ความคิดเห็น:

  1. ขอบคูณคะที่ช่วยเผยแพร่

    ตอบลบ
  2. อำนาจหน้าที่ของผู้ตรวจการแผ่นดิน
    มาตรา ๑๓ ผู้ตรวจการแผ่นดินมีอำนาจหน้าที่ ดังต่อไปนี้
    (๑) พิจารณาและสอบสวนหาข้อเท็จจริงตามคำร้องเรียนในกรณี
    (ก) การไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย หรือปฏิบัตินอกเหนืออำนาจหน้าที่ตามกฎหมายของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น
    (ข) การปฏิบัติหรือละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่ของข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือราชการส่วนท้องถิ่น ที่ก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้ร้องเรียนหรือประชาชนโดยไม่เป็นธรรม ไม่ว่าการนั้นจะชอบหรือไม่ชอบด้วยอำนาจหน้าที่ก็ตาม
    (ค) การตรวจสอบการละเลยการปฏิบัติหน้าที่หรือการปฏิบัติหน้าที่โดยไม่ชอบด้วยกฎหมายขององค์กรตามรัฐธรรมนูญและองค์กรในกระบวนการยุติธรรม ทั้งนี้ ไม่รวมถึงการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีของศาล
    (ง) กรณีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
    (๒) ดำเนินการเกี่ยวกับจริยธรรมของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองและเจ้าหน้าที่ของรัฐตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญ
    (๓) ติดตาม ประเมินผล และจัดทำข้อเสนอแนะในการปฏิบัติตามรัฐธรรมนูญ รวมตลอดถึงข้อพิจารณาเพื่อแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญในกรณีที่เห็นว่าจำเป็น
    (๔) รายงานผลการตรวจสอบและผลการปฏิบัติหน้าที่พร้อมข้อสังเกตต่อคณะรัฐมนตรีสภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภาทุกปี ทั้งนี้ ให้ประกาศรายงานดังกล่าวในราชกิจจานุเบกษาและเปิดเผยต่อสาธารณะด้วย
    การใช้อำนาจหน้าที่ตาม (๑) (ก) (ข) และ (ค) ให้ผู้ตรวจการแผ่นดินดำเนินการเมื่อมีการร้องเรียน เว้นแต่เป็นกรณีที่ผู้ตรวจการแผ่นดินเห็นว่าการกระทำดังกล่าวมีผลกระทบต่อความเสียหายของประชาชนส่วนรวมหรือเพื่อคุ้มครองประโยชน์สาธารณะ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจพิจารณาและสอบสวนโดยไม่มีการร้องเรียนได้

    มาตรา ๑๔ ผู้ตรวจการแผ่นดินอาจเสนอเรื่องต่อศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลปกครองได้เมื่อเห็นว่ามีกรณี ดังต่อไปนี้
    (๑) บทบัญญัติแห่งกฎหมายใดมีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญ ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาวินิจฉัย
    (๒) กฎ ข้อบังคับ ระเบียบ คำสั่ง หรือการกระทำอื่นใดของบุคคลใดตามมาตรา ๑๓ (๑) (ก) มีปัญหาเกี่ยวกับความชอบด้วยรัฐธรรมนูญหรือกฎหมาย ให้เสนอเรื่องพร้อมด้วยความเห็นต่อศาลปกครองโดยไม่ชักช้า เพื่อให้ศาลปกครองพิจารณาวินิจฉัย

    ตอบลบ