หอการค้าฯ แฉยุคคอรัปชั่นครองเมือง ทั้งสินบนส่วย-เรียกใต้โต๊ะ 50%
วันที่ 19/05/2554 16:38 (ผ่านมา 77 วัน 22 ชั่วโมง 10 นาที)หอการค้าไทย แฉคอรัปชั่นไทยเข้าสู่ยุคที่เลวร้ายสุดๆ บีบภาคเอกชนต้องจ่ายใต้โต๊ะ 50% ให้ผู้มีอำนาจ แถมยังต้องส่งส่วยเพื่อให้รับงานได้แบบไม่มีปัญหา เตรียมปลุกกระแสคนไทยต่อต้าน เลิกค่านิยมโกงยอมรับได้ พร้อมเปิดตัวภาคี 21 องค์กรไทยหยุดเป็นผู้ให้ผลประโยชน์ 1 มิ.ย.นี้ เพื่อยุติการให้ และจะได้ไม่มีผู้รับ
นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทยและสภาหอการค้าแห่งประเทศไทย กล่าวว่า สถานการณ์ทุจริตคอร์รับชั่นในปัจจุบันเลวร้ายมากขึ้น มีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับผู้มีอำนาจ เพื่อให้ได้งานหรือสิทธิประโยชน์มากถึง 50% เพิ่มจากอดีตในช่วง 20-30 ปีที่มีการจ่ายเงินโต้โต๊ะ 2-3% และเพิ่มมาเป็น 30-40% ในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา
กรณีดังกล่าว ถือเป็นการปล้นชาติ เพราะงบประมาณทุกบาทที่ควรนำมาพัฒนาประเทศได้ถูกโกงกินจากโครงการขนาดใหญ่ (เมกะโปรเจกต์) และที่น่าตกใจคือค่านิยมของคนไทยปัจจุบันกลับมองการโกงกินเป็นสิ่งที่ยอมรับได้ อันตรายมากกว่าการคอร์รัปชั่น ถ้าปล่อยไว้อนาคตประเทศไทยคงล่มสลาย
ทั้งนี้ องค์กรภาคเอกชนถือว่าการคอร์รัปชั่นเป็นปัญหาระดับชาติ จึงได้ร่วมมือกัน 21 องค์กรไทย เช่น สภาหอการค้าไทย หอการค้าต่างประเทศ สมาคมธนาคาร สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย สมาคมบริษัทจดทะเบียน สภาธุรกิจตลาดทุนไทย เป็นภาคีเครือข่ายการป้องกันและต่อต้านคอร์รัปชั้น โดยในวันที่ 1 มิถุยายน 2554 นี้ จะมีการประกาศจุดยืนของภาคเอกชนทุกคนที่อยู่ในภาคียุติการให้ เพราะการคอร์รัปชั่นมีทั้งผู้ให้และผู้รับ
ดังนั้น เมื่อผู้ให้ยุติการให้ เป็นจุดเริ่มต้นที่ทำให้การคอร์รัปชั่นทำได้ยากมากขึ้น และอยากให้คนไทยทุกคนร่วมมือในการสอดส่อง เพราะหากจะหวังพึ่งกฎหมายและองค์กร เช่น สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) อาจไม่ทันการณ์ เห็นได้จากการคอร์รัปชั่นที่รุนแรงเพิ่มขึ้นทุกวันนี้
พร้อมกันนี้ ยังเป็นจังหวะดีเพราะจะมีการจัดสัมมนา “ต่อต้านคอร์รัปชั่น จุดเปลี่ยนประเทศไทย” ในวันที่ 1 มิถุยายน 2554 ซึ่งอยู่ในช่วงขั้นตอนของการเลือกตั้ง ที่จะได้รัฐบาลใหม่ในอีกไม่นานนี้ ถือเป็นการเตือนนักการเมืองที่จะมาเป็นผู้แทนประชาชนให้หยุดพฤติกรรมดังกล่าว เพราะเอกชนจะเป็นผู้หยุดให้เช่นกัน
นักธุรกิจก้มหัวรับคอรัปชั่นไทยจ่ายเพิ่ม30-40% |
ธุรกิจ-การค้า |
ม.หอการค้าไทยเผยดัชนีสถานการณ์คอรัปชั่นไทยเลวร้ายลงกว่าเดิม คาดใน 5 ปีไม่เร่งแก้ปัญหาอาจต้องจ่ายเพิ่มถึง 5 แสนล้านบาทใน 5 ปี จากปัจจุบัน 3 แสนล้านบาท แต่ประชาชนยังแอบหวังสถานการณ์จะดีขึ้น นางเสาวนีย์ ไทยรุ่งโรจน์ รองอธิการบดีฝ่ายวิจัย มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอรัปชั่นไทย ที่สำรวจจากกลุ่มเป้าหมาย 3 กลุ่มคือ ประชาขน ข้าราชการ และนักธุรกิจ ระหว่างเดือนพ.ค.-มิ.ย.54 ว่า ได้ สำรวจใน 3 ประเด็นคือ 1.ความรุนแรงของปัญหาทุจริตคอรัปชั่น 2.ทัศนะคติและจิตสำนึกของคนในสังคมต่อการทุจริตคอรัปชั่น และ3.ปะสิทธิภาพการต่อต้านการทุจริตคอรัปชั่น ซึ่งมีทั้งการป้องกัน การปราบปราม และการปลูกจิตสำนึก สำหรับดัชนีสถานการณ์คอรัปชั่นในเดือนมิ.ย.54 อยู่ที่ 3.4 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน (0 คะแนนหมายถึงการคอรัปชั่นรุนแรงมากที่สุด และ 10 คะแนน หมายถึงไม่มีการคอรัปชั่นเลย) ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือนธ.ค.53 ที่อยู่ที่ 3.5 คะแนน ส่วน ดัชนีสถานการณ์คอรัปชั่นไทยในปัจจุบันอยู่ที่ 3.1 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 2.9 คะแนน และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอรัปชั่นไทยอยู่ที่ 3.8 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.7 คะแนน ส่วนเมื่อแยกดัชนีสถานการณ์คอรัปชั่นรวมเดือนมิ.ย.ออกเป็น 4 หมวด พบว่า ดัชนีปัญหาและความรุนแรงของการคอรัปชั่นเดือนมิ.ย.54 อยู่ที่ 2.9 คะแนน ลดลงจากการสำรวจครั้งก่อนที่อยู่ที่ 3.3 ดัชนีการป้องกันการคอรัปชั่นอยู่ที่ 4.1 ลดลงจาก 4.3 ดัชนีการปราบปรามการคอรัปชั่นอยู่ที่ 3.7 เท่ากับครั้งก่อน และดัชนีการสร้างจริยธรรมและจิตสำนึกอยู่ที่ 3.1 เพิ่มขึ้นจาก 2.9 ทั้งนี้ ในแต่ละดัชนีนั้น กลุ่มเป้าหมายที่เป็นกลุ่มนักธุรกิจจะให้คะแนนต่ำที่สุด ส่วนกลุ่มข้าราชการจะให้คะแนนสูงสุด และกลุ่มประชาชนจะให้คะแนนระดับปานกลาง โดยในดัชนีสถานการณ์คอรัปชั่นรวมในเดือนมิ.ย.ที่ 3.4 คะแนนนั้น กลุ่มนักธุรกิจให้คะแนนต่ำสุดที่ 3.1 เพราะเห็นว่าสถานการณ์คอรัปชั่นไทยรุนแรงมากขึ้นจากการสำรวจครั้งก่อน ขณะที่ข้าราชการให้คะแนนสูงสุดที่ 3.9 เพราะเป็นฝ่ายที่เกี่ยวข้องการคอรัปชั่น และยังรักษาภาพพจน์ของตนเอง ส่วนประชาชนให้คะแนน 3.3 ขณะที่ดัชนีปัญหาและความรุนแรงนั้น นักธุรกิจให้คะแนน 2.4 ข้าราชการ 3.6 ประชาชน 2.9 ดัชนีการป้องกันคอรัปชั่น นักธุรกิจให้คะแนน 3.7 ข้าราชการ 4.6 ประชาชน 4.1 ดัชนีการปราบปราม นักธุรกิจให้คะแนน 3.5 ข้าราชการ 4.2 ประชาชน 3.4 และดัชนีการสร้างจริยธรรมและจิตสำนึก นักธุรกิจให้ 3.0 ข้าราชการ 3.4 และประชาชน 2.9 นางเสาวนีย์ กล่าวต่อถึงประสิทธิภาพการทำงานในการต่อต้านการคอรัปชั่นของรัฐบาลชุด ปัจจุบันว่า ผู้ตอบแบบสอบถามตอบทั้งมี และไม่มีประสิทธิภาพในสัดส่วนใกล้เคียงกัน ส่วนประสิทธิภาพของสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ส่วนใหญ่จะตอบมีประสิทธิภาพ และผู้ตอบให้คะแนนความเชื่อในการทำงานของป.ป.ช. และองค์กรอิสระในการปราบคอรัปชั่น ที่ 5.77 รวมถึงให้คะแนนความเชื่อมั่นในการทำงานของภาคเอกชนในการต่อต้านคอรัปชั่น ที่ 5.67 คะแนน อย่างไรก็ตาม ความสามรถที่จะทนทานต่อการทุจริตคอรัปชั่นของคนไทยอยู่ที่ 3.11 คะแนน จากเต็ม 10 คะแนน (0 หมายถึงเกลียดการทุจริตคอรัปชั่น และ 10 หมายถึงสามารถทนได้) ด้าน นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า จากตัวเลขสถานการณ์คอรัปชั่น แสดงให้เห็นว่า ผู้ตอบแบบสอบถามยังเห็นว่า สถานการณ์ความรุนแรงของคอรัปชั่นมีมากขึ้นกว่าการสำรวจครั้งก่อนมาก แต่ มีแนวโน้มลดลงในอนาคต เพราะภาคเอกชนรวมตัวกันเป็นภาคีเครือข่ายต่อต้านการคอรัปชั่น และมีกิจกรรมต่างๆ ที่ดำเนินการเพื่อต่อต้านการคอรัปชั่นมากขึ้น ขณะเดียวกัน ประชาชนตระหนักรู้ถึงความรุนแรงของการคอรัปชั่น และต้องการแก้ปัญหา จึงทำให้หวังว่า จะมีการแก้ไขปัญหาให้ดีขึ้นได้ในอนาคต การสำรวจครั้งก่อน นักธุรกิจตอบว่าต้องจ่ายเงินใต้โต๊ะ เพื่อแลกกับการให้ได้รับงานมากถึง 25-30% ของวงเงินงบประมาณ หรือ 200,000-300,000 ล้านบาท และครั้งนี้มีการตอบเพิ่มขึ้นเป็น 30-40% แต่เป็นส่วนน้อย ภาพรวมจึงยังมีความเสียหายอยู่ที่ 200,000-300,000 ล้านบาทเท่าเดิม แต่คาดว่า วงเงินที่ต้องจ่ายจะเพิ่มขึ้นเป็น 300,000-400,000 หรืออาจจะถึง 500,000 ล้านบาทได้ภายใน 5 ปีหากไม่มีการแก้ปัญหา" นายธนวรรธน์กล่าว อย่าง ไรก็ตาม ยอมรับว่า ต้องใช้เวลานานในการแก้ปัญหา เพราะคนในสังคมยังเห็นว่า การที่รัฐบาลทุจริตคอรัปชั่น แต่มีผลงานและทำประโยชน์ให้สังคมเป็นเรื่องที่รับได้ รวมถึงการให้สินน้ำใจ เงินพิเศษเล็กๆ น้อยๆ แก่เจ้าหน้าที่รัฐเป็นเรื่องไม่เสียหาย ด้าน นายดุสิต นนทะนาคร ประธานกรรมการหอการค้าไทย และประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านการคอรัปชั่น กล่าวว่า ต้องการให้ทุกภาคส่วนช่วยกันต่อต้านการคอรัปชั่น ที่สถานการณ์ทวีความรุนแรงมากขึ้น แม้จะใช้เวลานานในการแก้ปัญหา แต่ต้องมีการเริ่มต้น ส่วนพรรคการเมืองที่รับการต่อต้านคอรัปชั่นไปเป็นนโยบายในการหาเสียงนั้น ถือเป็นเรื่องดี แต่เมื่อเป็นรัฐบาลแล้วต้องนำสิ่งที่หาเสียงไว้ไปปฏิบัติให้ได้ ซึ่งภาคีเครือข่ายต่อต้านการคอรัปชั่นจะติดตามความเคลื่อนไหวอย่างใกล้ชิด หากเห็นว่าไม่มีการทำจริง ก็ถือว่าไม่ทำตามคำพูด และยอมรับไม่ได้ |
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น