วันอังคารที่ 28 เมษายน พ.ศ. 2558

คนไทยต้องช่วยกัน...แหกปาก สว.รสนาให้พูด เรื่องปตท.มักง่ายไม่มีมาตรฐาน


มาบตาพุด ไม่มีรอยแยกแผ่นดินไหว มีแต่โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท.เสี่ยงสร้างหายนะ คนไทยต้องช่วยกัน...แหกปาก สว.รสนาให้พูด เรื่องปตท.มักง่ายไม่มีมาตรฐาน





หลายคนหลายกลุ่ม รู้เรื่องความมักง่ายของ ปตท. ที่มาบตาพุด
แต่ทิ้งชาวบ้านเสี่ยงตายกันหมด

(สว.รสนา เร่งให้สร้างโรงแยกก๊าซใหม่เพิ่มอีก ทั้งที่เรื่องเก่าก็ยังไม่ตรวจสอบ)
รสนา โพสต์ แนะนำ คสช. ยกเลิกการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มที่รัฐบาลชุดเก่าได้ทำไว้ ไม่กระทบกับโครงสร้างส่วนอื่น ดีกว่าปรับลดราคาน้ำมันลงไป เพราะเป็นเพียงโปรโมชั่นประชานิยมเท่านั้น


          วันนี้ (25 พฤษภาคม 2557) เฟซบุ๊ก รสนา โตสิตระกูล ของนางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ มีการโพสต์ข้อความเกี่ยวกับข่าวลือว่า คณะรักษาความสงบ (คสช.) จะพิจารณาลดราคาน้ำมันลงร้อยละ 30 ว่า การรีบลดราคาโดยไม่ได้แก้ไขโครงสร้าง อาจจะเป็นเพียงการทำโปรโมชั่นเท่านั้น ทางออกที่ดีกว่าคือ ระงับการขึ้นราคาก๊าซหุงต้ม เพราะไม่มีพันธะผูกพันกับหลายฝ่ายแต่อย่างใด

สำหรับข้อความทั้งหมดของนางสาวรสนา มีดังนี้

          มีข่าวร่ำลือออกมาว่า คสช. อาจจะพิจารณาลดราคาน้ำมันลงไป 30% 

          แต่การรีบลดราคาโดยไม่ได้เข้าไปแก้ไขโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่ข้าราชการในกระทรวงพลังงานที่อยู่ในกลุ่มธุรกิจพลังงานได้ผูกไว้หลายชั้น จะทำให้การลดราคาน้ำมันเป็นเพียงการทำโปรโมชั่นประชานิยมแบบชั่วครั้งชั่วคราวเท่านั้น

          สิ่งที่ คสช. สามารถทำได้ทันทีเพื่อลดภาระค่าครองชีพของประชาชนคนหาเช้ากินค่ำ คือการยกเลิกการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มซึ่งจะทำได้ทันทีโดยไม่มีผลกระทบต่อโครงสร้างราคาส่วนอื่น 

          รัฐบาลที่แล้วได้ขึ้นราคาก๊าซหุงต้มมาตั้งแต่เดือนกันยายน 2556 โดยทยอยปรับขึ้นราคาเดือนละ 50 บาท/กิโลกรัม ทำให้ราคาก๊าซหุงต้มต่อถัง 15 กิโลกรัมในขณะนี้ มีราคาตั้งแต่ 350-390 บาท เป็นสาเหตุที่ทำให้ราคาอาหารและค่าครองชีพปรับสูงขึ้น สร้างความเดือดร้อนให้ประชาชนที่มีรายได้น้อย

          ที่กล่าวว่าการยกเลิกการขึ้นราคาก๊าซหุงต้มให้กลับมาที่ราคาเดิมคือราคาถังละ 290-300 บาท ไม่กระทบโครงสร้างอื่น เพราะเงินที่กระทรวงพลังงานเก็บเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มนั้น กระทรวงพลังงานได้นำมาเก็บไว้ในกองทุนน้ำมัน โดยอ้างว่าเพื่อจะได้ลดภาระการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิน 

         แต่ข้ออ้างดังกล่าวไม่เป็นความจริงเพราะปัจจุบันมีการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากผู้ใช้น้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มจากเดิมลิตรละ 7 บาทเป็นลิตรละ 10 บาทในขณะนี้

          ปตท. เคยออกมาให้ข่าวว่า ปตท. ไม่ได้รับเงินค่าก๊าซหุงต้มเพิ่มขึ้นจากการปรับขึ้นราคาก๊าซหุงต้มของกระทรวงพลังงานในขณะนี้ ดังนั้นเงินที่เก็บเพ่ิมขึ้นจากผู้ใช้ก๊าซหุงต้มจึงถูกนำไปกองอยู่ในกองทุนน้ำมัน ซึ่งเป็นกองทุนที่ผิดกฎหมายตามที่คณะกรรมการผู้ตรวจการแผ่นดินได้ตรวจสอบแล้ว 

          เงินจากกองทุนน้ำมันถูกนำไปชดเชยก๊าซหุงต้มที่มาจากโรงกลั่นน้ำมัน และชดเชยการนำเข้าก๊าซโพรเพน และบิวเทนที่นำไปใช้โดยตรงได้เลยในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี แต่อ้างว่านำก๊าซทั้ง 2 ชนิดมาผสมเป็นก๊าซแอลพีจีหรือที่เรียกว่าก๊าซหุงต้มมาขายประชาชนในราคาอุดหนุนที่รัฐบาลกำหนดให้มีราคาต่ำกว่าต้นทุนของโรงกลั่นและราคานำเข้า จึงต้องเอาเงินกองทุนน้ำมันมาชดเชย

          ทั้งที่ปริมาณก๊าซหุงต้มที่ผลิตจากอ่าวไทยผ่านโรงแยกก๊าซทั้ง 6 โรงมีปริมาณเกินพอสำหรับภาคครัวเรือน แต่นโยบายที่รัฐบาลสมัยนายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ กำหนดขึ้นใหม่เพื่อให้อุตสาหกรรมปิโตรเคมีมาใช้ก๊าซหุงต้มหรือก๊าซแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซได้ก่อนร่วมกับภาคครัวเรือน และกำหนดว่าถ้ามีก๊าซแอลพีจีเหลืออยู่จากโรงแยกก๊าซ หลังจากที่ปิโตรเคมีและภาคครัวเรือนใช้ ค่อยให้ภาคยานยนต์และภาคอุตสาหกรรมอื่นใช้ ถ้าไม่พอใช้ก็ให้นำเข้าจากต่างประเทศและเอาเงินกองทุนน้ำมันไปชดเชย

          ปริมาณก๊าซแอลพีจีที่ผลิตจากโรงแยกก๊าซที่มาจากอ่าวไทย มีปริมาณ 3.5 ล้านตันต่อปี ภาคครัวเรือนของประชาชน 65 ล้านคนใช้ก๊าซหุงต้มเพียง 2.6 ล้านตันต่อปี ถ้ารัฐบาลกำหนดนโยบายให้ภาคครัวเรือนได้ใช้ก๊าซหุงต้มที่ผลิตได้จากโรงแยกก๊าซในประเทศก่อนผู้ใช้กลุ่มอื่น ก็มีปริมาณเพียงพอสำหรับประชาชน 65 ล้านคนในภาคครัวเรือน โดยไม่ต้องไปใช้ก๊าซนำเข้าที่มีราคาแพงกว่าของผลิตเองในประเทศ ซึ่งการที่ประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรจากแผ่นดินที่บรรพบุรุษของตนมีส่วนในการต่อสู้ ได้เสียเลือดเนื้อเพื่อปกป้องแผ่นดินนี้ไว้ สมควรจะได้รับการดูแลจากรัฐบาลก่อนธุรกิจเอกชนอื่นที่มุ่งแสวงหากำไรเพื่อองค์กรของตัวเอง ( ดูรูปที่1)

รสนา โตสิตระกูล
รูปที่ 1

          ปริมาณก๊าซแอลพีจีจากทรัพยากรของเราเองในอ่าวไทยมีเพียงพอสำหรับภาคครัวเรือนโดยไม่ต้องมาขึ้นราคากับประชาชนคนส่วนใหญ่ แต่จะไม่เพียงพอเมื่อเอาปิโตรเคมีมาใช้ร่วมด้วยในโรงแยกก๊าซก่อนผู้ใช้กลุ่มอื่นเพราะปิโตรเคมีกินจุ กินเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วเพียงระยะ 5-6 ปี ใช้ปริมาณเพิ่มขึ้น 1.5 ล้านตัน แต่ใช้ราคาถูกกว่าผู้ใช้กลุ่มอื่น 

          ก๊าซแอลพีจีจากโรงแยกก๊าซที่เหลือจากการใช้ของภาคครัวเรือน สามารถจัดสรรให้ผู้ใช้กลุ่มอื่นในราคาที่เหมาะสม แต่ถ้าต้องนำเข้าก๊าซแอลพีจี เพราะปริมาณไม่พอใช้ ก็ควรให้ภาคปิโตรเคมีและภาคอุตสาหกรรมซึ่งเป็นธุรกิจแสวงหากำไรไปรับผิดชอบราคาที่นำเข้าเอง ก็จะไม่ต้องมาขึ้นราคาก๊าซหุงต้มกับคนรายได้น้อยที่อยู่ในภาคครัวเรือน

          อีกประการหนึ่งการใช้กองทุนน้ำมันมาชดเชยก๊าซแอลพีจีจากการนำเข้า และแอลพีจีจากโรงกลั่นน้ำมันในประเทศตั้งแต่ปี 2551-2555 มีมูลค่ารวมสูงถึง 84,941 ล้านบาท หากนำเม็ดเงินจากกองทุนน้ำมันที่เอาไปชดเชยการนำเข้าก๊าซแอลพีจี เปลี่ยนมาสร้างโรงแยกก๊าซในประเทศเเทน น่าจะได้โรงแยกก๊าซเพิ่มอีก 2-3 โรง (ดูรูปที่2)

รสนา โตสิตระกูล
รูปที่ 2

          การมีโรงแยกก๊าซเพิ่มจะทำให้สามารถรองรับก๊าซดิบจากอ่าวไทยที่ยังเหลืออยู่จำนวนมาก แต่เพราะมีโรงแยกก๊าซไม่พอ ทำให้ต้องเอาก๊าซดิบไปเผาทิ้งในโรงไฟฟ้า โดยไม่แยกก๊าซแอลพีจีออกมาก่อน เปรียบเหมือนเอาไม้สักที่ปนอยู่กับเศษไม้ไปเผาทิ้งอย่างน่าเสียดาย 

          ลองดูโรงแยกก๊าซ 4 โรงที่สร้างจากเงินภาษีของประชาชน ตอนแปรรูป ปตท. ถูกตีมูลค่าเพียง 3,212 ล้านบาทเท่านั้น แต่ปัจจุบันกลายเป็นเครื่องมือทำกำไรให้กับกลุ่มทุนพลังงานแทนที่จะเป็นไปเพื่อประโยชน์ของประชาชน (ดูรูปที่3)

รสนา โตสิตระกูล
รูปที่ 3

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น