วันพฤหัสบดีที่ 28 ตุลาคม พ.ศ. 2553

อภิสิทธิ์ คิดพิเรนท์ เรื่องเขาพระวิหาร


"หาจุดยืนอะไรไม่ได้ จากการพูดเมื่อเป็นฝ่ายค้าน จากการไม่นำพาที่จะพิทักษ์สิทธิ์เหนือดินแดน ทั้งที่อยู่ในอำนาจมาเกือบ 2 ปี ง่ายๆ ขณะนี้ จะให้สภายอมรับ MOU 43 เดิมอีก ที่มีข้อผูกพัน เรื่องการเลือกใช้แผนที่ เส้นเขตแดน ที่รับรู้มาตลอด เกือบ 50 ปี ว่าตรงนั้นเป็นแผ่นดินไทย"

พธม.แถลงการณ์ประณามรัฐ ตระบัดสัตย์งุบงิบนำบันทึกผลการประชุมเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา เข้าสภา ฉะ “มาร์ค” ทั้งที่ตกลงจะให้แค่เปิดวาระเท่านั้น กลับให้มีการอภิปรายอย่างกว้างขวาง เชื่อเร่งรัดวาระอื่นๆ เรียกร้องรัฐสภาอย่าลงมติรับรองผลการประชุม ชี้ อาจผิดอาญามาตรา 119 ประกาศเชิญพี่น้องประชาชนร่วมชุมนุมค้านมติ 2 พ.ย.นี้ หน้าสภา เวลา 08.00 น.



คลิกที่นี่ เพื่อฟัง พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย แถลงการณ์

เมื่อวันที่ 28 ต.ค.เวลา 14.00 น.นายสุริยะใส กตะศิลา ผู้ประสานงานพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้อ่านแถลงการณ์ หลังจากแกนนำพันธมิตรฯ ได้ประชุมกันที่บ้านพระอาทิตย์เพื่อหารือกรณีรัฐบาลได้นำร่างบันทึกข้อตกลงคณะกรรมาธิการเขตแดนไทย-กัมพูชา (เจบีซี) เข้าสู่ที่ประชุมร่วม 2 สภา ดังนี้

แถลงการณ์ฉบับที่ 11/2553 พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย เรื่องประณามรัฐบาลตระบัดสัตย์ หยุดรัฐบาลขายชาติ

ตามที่ พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ได้ยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน 2552 โดยให้ดำเนินการยกเลิกข้อผูกพันทั้งปวงที่มีการอ้างอิงแผนที่แสดงเส้นเขตแดนระหว่างไทยกับกัมพูชา มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยประเทศฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวที่รุกล้ำดินแดนไทยเป็นจำนวนมาก และได้เรียกร้องให้ผลักดันทหารและชาวกัมพูชาออกจากดินแดนไทยโดยไม่มีเงื่อนไข พร้อมกับได้ออกแถลงการณ์ฉบับที่ 8/2553 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม 2553 ซ้ำอีกครั้งเพื่อเร่งรัดให้ดำเนินการแก้ไขปัญหาดังกล่าวเป็นครั้งที่ 2

ต่อมาเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2553 ตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย นักวิชาการ และภาคประชาชนที่เคลื่อนไหวคัดค้านข้อผูกพันทั้งปวงระหว่างไทย-กัมพูชา ที่เกี่ยวเนื่องกับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว และทำให้ฝ่ายไทยเสียเปรียบ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี โดยการถ่ายทอดสดทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ โดยนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ยอมรับเป็นหลักฐานในทางสาธารณะว่าเห็นด้วยกับภาคประชาชนหลายประการ ซึ่งรวมถึงการยอมรับว่าเส้นเขตแดนของไทยในบริเวณปราสาทพระวิหารนั้น ฝ่ายไทยได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนในบริเวณเขาพระวิหารแต่เพียงอย่างเดียว อีกทั้ง นายอภิสิทธิ์ ยังยอมรับอีกด้วยว่า มีกองกำลังทหารกัมพูชา ชุมชนชาวกัมพูชา และสิ่งปลูกสร้างของกัมพูชาได้รุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยและเพิ่มจำนวนมากขึ้นในบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร และรัฐบาลไทยพร้อมที่จะใช้ทั้งการทูตและการทหารเพื่อผลักดันและแก้ไขปัญหาการที่ฝ่ายกัมพูชารุกล้ำและยึดครองในบริเวณรอบปราสาทพระวิหาร ตลอดจนประกาศว่าจะดำเนินการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นของภาคประชาชนที่มีความคิดเห็นที่แตกต่างกับรัฐบาลก่อนที่จะนำบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ทั้ง 3 ครั้ง เพื่อขอรับความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกรัฐสภา

ทั้งนี้ บันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) 3 ครั้งนั้น เป็นผลผลิตต่อเนื่องมาจากข้อผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชาหลายฉบับที่ให้ยอมรับแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว
โดยมีจุดเริ่มต้นมาจาก บันทึกความเข้าใจการสำรวจและการจัดทำหลักเขตแดนทางบก พ.ศ.2543 (MOU 2543) ต่อมามีการจัดทำแผนแม่บทและข้อกำหนดหน้าที่ในการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนร่วมทางบก ของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (TOR 2546) และมติรัฐสภาในคราวประชุมลับเมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2551 ที่เห็นชอบกรอบการเจรจาข้อตกลงชั่วคราวไทย-กัมพูชา เกี่ยวกับสถานการณ์ชายแดนบริเวณเขาพระวิหาร และเอกสารกรอบการเจรจาสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบก ไทย-กัมพูชา ตลอดแนวในกรอบของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วม ไทย-กัมพูชา

คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) จึงได้ประชุมไป 3 ครั้ง ในการจัดทำร่างข้อตกลงชั่วคราวเพื่อดำเนินการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนทางบกในพื้นที่บริเวณรอบปราสาทพระวิหารเสียใหม่ ซึ่งถือเป็นอันตรายอย่างยิ่งต่อการสูญเสียดินแดนในทางพฤตินัยโดยทันที และอาจสูญเสียดินแดนในทางนิตินัยในอนาคต ดังนี้

1. พื้นที่รอบปราสาทพระวิหารถือเป็นส่วนหนึ่งของระวางดงรักจากช่องสะงำ จ.ศรีสะเกษจนถึงช่องบก จ.อุบลราชธานี ถือเป็นพื้นที่ซึ่งสนธิสัญญาระหว่างสยามกับฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ ค.ศ.1904 (พ.ศ.2447) ได้ตกลงกันในตัวบทในข้อ 1 ว่า บริเวณดังกล่าวให้ยึด “แนวสันปันน้ำ” เป็นเส้นเขตแดน ต่อมาจึงมีการจัดตั้งคณะกรรมการผสมระหว่างสยามฝรั่งเศสชุดแรกตามสนธิสัญญาระหว่างสยามฝรั่งเศส ค.ศ.1904 ซึ่งได้มีการเดินทางสำรวจและปักปันในบริเวณดังกล่าวแล้ว ตั้งแต่วันที่ 2 ธันวาคม ค.ศ.1906 (พ.ศ. 2449) และได้สรุปรายงานการปักปันว่าให้ใช้สันปันน้ำและหน้าผาซึ่งมีความชัดเจนตามธรรมชาติในบริเวณเขาพระวิหารเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชา โดยไม่มีความจำเป็นต้องมีการจัดทำหลักเขตแดน แม้ต่อมาสยามกับฝรั่งเศสมีการแลกแผ่นดินในปี ค.ศ.1907 (พ.ศ.2450) และมีการตั้งคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส ชุดที่สอง ขึ้นมา ก็มิได้เปลี่ยนแปลงผลของการสำรวจและปักปันเขตแดนของคณะกรรมการผสมสยาม-ฝรั่งเศส ในชุดแรกที่ได้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนแต่ประการใด

ดังนั้น การที่คณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ไปดำเนินการให้มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนซ้ำ ในพื้นที่ซึ่งได้มีการสำรวจและปักปันโดยให้ยึดแนวสันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนเสร็จสิ้นเมื่อ 103 ปีที่แล้ว จึงย่อมเท่ากับว่าฝ่ายไทยได้สละหลักการที่ใช้สันปันน้ำเป็นเส้นเขตแดนระหว่างไทย-กัมพูชาแต่เพียงอย่างเดียว ให้กลายเป็น “เส้นเขตแดนอย่างอื่น” ที่ขึ้นอยู่กับการตกลงกันใหม่ระหว่างคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) และทำให้กัมพูชาและนานาชาติย่อมเข้าใจว่า “เส้นเขตแดนอย่างอื่น” ที่จะตกลงกันใหม่นั้นย่อมหมายถึงแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวตามข้อผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชา หลายฉบับ

ทั้งนี้ แผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ได้กินรุกพื้นที่เข้ามาในดินแดนฝั่งไทยบริเวณรอบปราสาทพระวิหารถึง 2,875 ไร่ และจะรุกล้ำเข้ามาในราชอาณาจักรไทยบริเวณระวางดงรักจากช่องบกถึงช่องสะงำรวมทั้งสิ้น 87,500 ไร่โดยทันที

2.ข้อผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชา ที่ปรากฏให้มีการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น ได้ปรากฏในเอกสารของกรมสนธิสัญญา กระทรวงการต่างประเทศและทัศนคติของ นายวศิน ธีรเวชญาณ ประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ฝ่ายไทยซึ่งจะเป็นผู้ที่มีอำนาจเป็นตัวแทนประเทศไทยไปเจรจาเส้นเขตแดนกับฝ่ายกัมพูชา ได้แสดงต่อคณะกรรมาธิการวุฒิสภาหลายครั้ง ว่าจะยึดแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวเป็นหลักสำคัญยิ่งกว่าแนวสันปันน้ำ ยิ่งเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นว่า ข้อผูกพันระหว่างไทย-กัมพูชา ในเรื่องแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ในช่วงเวลาที่ผ่านนั้น ไม่ได้มีหลักประกันว่าจะยึดหลักตามแนวสันปันน้ำดังที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้กล่าวเอาไว้แต่ประการใด ในทางตรงกันข้ามกลับจะเป็นอันตรายต่อการสูญเสียดินแดนอย่างใหญ่หลวงในที่สุด

3. ข้อผูกพันตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว ที่อาจถือได้ว่าเป็นการสละแนวสันปันน้ำแล้วมาแสวงหาเส้นเขตแดนอย่างอื่นโดยการตัดสินใจร่วมกันของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ได้สร้างความเชื่อต่อนานาชาติว่าเส้นเขตแดนอย่างอื่นที่จะมีการจัดทำหลักเขตแดนใหม่นั้นหมายถึงแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,00
ดังปรากฏเป็นหลักฐานตามที่องค์การยูเนสโกได้ส่งเงินมาสนับสนุนให้ปรับปรุงซ่อมแซมตลาดชุมชนชาวกัมพูชาในดินแดนไทยรอบปราสาทพระวิหาร โดยเชื่อตามรายงานของกัมพูชา ว่า ทหารไทยได้รุกล้ำอธิปไตยของกัมพูชารอบปราสาทพระวิหารตามแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำขึ้นโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว


4.ในบันทึกผลการประชุมคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ได้มีเอกสารประกอบเป็นร่างข้อตกลงชั่วคราวระหว่างไทย-กัมพูชา ที่หมกเม็ดอาศัยสมาชิกรัฐสภาเพื่อไปยืนยัน MOU 2543 และ TOR 2546 ที่ไปยอมรับแผนที่มาตรา 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว และไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา

อีกในร่างข้อตกลงชั่วคราวดังกล่าวยังกำหนดให้ทหารทั้งสองฝ่ายออกจากพื้นที่รอบปราสาทพระวิหารซึ่งเป็นของไทย โดยไม่ได้มีการกล่าวถึงชุมชนชาวกัมพูชาและสิ่งปลูกสร้างอยู่ในบริเวณปราสาทพระวิหาร
ดังนั้น หากตกลงกันไม่ได้ชุมชนชาวกัมพูชาก็จะสามารถอยู่ได้นานโดยไม่มีกรอบระยะเวลาและจะขยายตัวเพิ่มขึ้นในบริเวณดังกล่าวอย่างไม่มีขีดจำกัดดังที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน โดยในร่างข้อตกลงดังกล่าวฝ่ายไทยไม่สามารถใช้กองกำลังผลักดันต่อไปได้ ดังนั้น การรับรองผลประชุมที่มีร่างข้อตกลงชั่วคราวโดยมติของสมาชิกรัฐสภา จึงถือเป็นการทำให้ประเทศไทยเสียดินแดนในทางพฤตินัย และสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดนในทางนิตินัยต่อไปในอนาคต

นอกจากนั้น การถอนทหารของทั้งสองประเทศออกจากดินแดนไทย หากมีการปฏิบัติตามเงื่อนไขดังกล่าวได้สำเร็จก็ยิ่งเป็นการตอกย้ำทำให้การขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชาแต่เพียงฝ่ายเดียวนั้น สามารถดำเนินการเข้าบริหารจัดการให้เกิดความสมบูรณ์ยิ่งขึ้นอันเป็นความขัดแย้งต่อการปฏิบัติการในการดำเนินการในเรื่องการ “ถอนกำลังทหารทั้งสองประเทศ” ให้ “ออกจากดินแดนไทย” ที่ทำให้ไทยต้องสุ่มเสี่ยงต่อการสูญเสียดินแดน โดยมีนานาชาติเข้ามาบริหารจัดการในพื้นที่มรดกโลกดังกล่าวเป็นการถาวร


5. เอกสารประกอบการบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) มีหลายส่วนที่มีการปราศรัยพาดพิงกล่าวหาว่าฝ่ายไทยเป็นฝ่ายรุกล้ำอธิปไตยและดินแดนฝ่ายกัมพูชาซึ่งถือเป็นการละเมิด MOU 2543 ไม่ว่าจะเป็นรอบปราสาทพระวิหาร ปราสาทตาเมือนธม และปราสาทตาควาย ฯลฯ อันถือเป็นบันทึกการปราศรัยที่เป็นเท็จโดยที่ไม่ปรากฏการปราศรัยโต้แย้งของฝ่ายไทยในบันทึกการประชุมแต่ประการใด
การนำบันทึกการปราศรัยด้วยข้อความอันเป็นเท็จให้สมาชิกรัฐสภารับรอง ย่อมเท่ากับเป็นอันตรายอย่างใหญ่หลวงในอนาคต

แม้ตัวแทนของพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและนักวิชาการได้ยื่นการคัดค้านและข้อห่วงใยในปัญหาข้างต้นต่อนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะให้ได้รับทราบแล้วอย่างน้อย 4 ครั้ง ได้แก่ การยื่นหนังสือถึง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายน พ.ศ. 2552 แถลงการณ์พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ฉบับที่ 8/2553 ลงวันที่ 23 กรกฎาคม พ.ศ.2553 การได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นระหว่างนายอภิสิทธิ์ และตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและนักวิชาการโดยการถ่ายทอดสดเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม พ.ศ.2553 รวมถึงการยื่นหนังสือของตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยในเช้าวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2553

แต่ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลกลับไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาทั้งในเรื่องข้อผูกพันในแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียว และไม่ได้มีการแก้ไขปัญหาการรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยในบริเวณรอบปราสาทพระวิหารแต่ประการใด ซ้ำร้ายรัฐบาลกลับพยายามเดินหน้าดำเนินการนำบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชาเข้าขอความเห็นชอบจากที่ประชุมสมาชิกรัฐสภา และปล่อยปละละเลยให้ทหารกัมพูชารุกล้ำ และยึดครองดินแดนไทยตามชายแดนเพิ่มขึ้นอีกหลายจุดอย่างต่อเนื่อง

จากเหตุผลดังกล่าวข้างต้นแกนนำพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยจึงได้มารวมตัวประชุมกัน และมีมติดังต่อไปนี้

1.พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ขอประณามการกระทำของรัฐบาลเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ที่ได้ตระบัดสัตย์นำเรื่องบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ทั้ง 3 ครั้ง เข้าสู่ที่ประชุมของสมาชิกรัฐสภาโดยปล่อยให้มีการอภิปรายและกำหนดวาระที่จะลงมติในการประชุมสมาชิกรัฐสภาครั้งหน้าในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553
ทั้งๆ ที่ นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ได้ตกลงกับตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและนักวิชาการและสมาชิกวุฒิสภาบางคนในเช้าวันที่ 26 ตุลาคม 2553 ว่า จะเพียงแค่ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศกล่าวเปิดวาระและจะปิดการประชุมทันทีโดยยังไม่มีการพิจารณาใดๆ

การนำวาระดังกล่าวเข้าที่ประชุมของรัฐสภาแล้วปล่อยให้มีการพิจารณาต่อเนื่อง แท้ที่จริงแล้วเป็นเล่ห์เพทุบายของฝ่ายรัฐบาล เพราะมีการเร่งรัดวาระอื่นๆ ก่อนหน้าให้ลงมติในเวลาอันรวดเร็ว อีกทั้งมีการวางแผนให้นักการเมืองฝ่ายรัฐบาลงดอภิปรายวาระก่อนหน้าเพื่อประหยัดเวลา นอกจากนั้นยังปรากฏเป็นข่าวสารจาก นายปาย สิฟาน โฆษกคณะรัฐมนตรีกัมพูชา ได้เปิดเผยเมื่อวันที่ 26 ตุลาคม พ.ศ.2553 ว่า กัมพูชาจะไม่นำปัญหาข้อพิพาทชายแดนกับประเทศไทย เข้าหารือกับนายบัน คี มุน เลขาธิการสหประชาติ เนื่องจากประเทศไทยให้คำมั่นว่า “รัฐสภาไทยจะอภิปรายเพื่อลงมติข้อตกลง 3 ฉบับ ของคณะกรรมาธิการเขนแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC)” ย่อมแสดงให้เห็นว่า มีการสมรู้ร่วมคิดกับกัมพูชาในการทำให้ฝ่ายไทยเป็นฝ่ายเสียเปรียบกัมพูชา

ตลอดระยะเวลาที่ผ่านมารัฐบาลชุดปัจจุบันไม่สามารถเป็นความหวังในการแก้ไขปัญหาแผนที่มาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งจัดทำโดยฝรั่งเศสแต่เพียงฝ่ายเดียวได้ และไม่สามารถแก้ไขปัญหาการรุกล้ำและยึดครองดินแดนไทยได้ จึงย่อมแสดงให้เห็นถึงความอ่อนแอและไร้ประสิทธิภาพในการรักษาดินแดนและอธิปไตยของชาติ ในทางตรงกันข้ามรัฐบาลไทยกลับฉกฉวยโอกาสอาศัยช่วงเวลาที่ประชาชนเดือดร้อนกับปัญหาอุทกภัย สมรู้ร่วมคิดกับรัฐบาลกัมพูชาตระบัดสัตย์หลอกลวงคนไทยในการขายชาติขายแผ่นดิน

2.เราขอร้องต่อสมาชิกรัฐสภาอย่าได้ลงมติรับรองบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา (JBC) ในวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 หรือในวันอื่นใดเพื่อรักษาผลประโยชน์ของชาติตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 ในมาตรา 70 และ 71 เพราะอาจทำให้เกิดความสุ่มเสี่ยงที่จะทำให้ราชอาณาจักร หรือส่วนใดส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรตกไปอยู่ใต้อำนาจอธิปไตยของรัฐต่างประเทศหรือเพื่อให้เอกราชของรัฐเสื่อมไป มิเช่นนั้น อาจเข้าข่ายการกระทำความผิดฐานความผิดต่อความมั่นคงของรัฐภายนอกราชอาณาจักร ตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 119 ซึ่งต้องระวางโทษประหารชีวิต หรือจำคุกตลอดชีวิต และอาจทำให้ประชาชนต้องเข้าชื่อเพื่อถอดถอนสมาชิกรัฐสภาที่ลงมติเห็นชอบกับบันทึกผลการประชุมดังกล่าวโดยทันที

3.การที่รัฐบาลได้ตระบัดสัตย์ต่อตัวแทนพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยและนักวิชาการ ทำให้ประชาชนไม่สามารถเชื่อถือในคำพูดหรือการเจรจาของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะได้ จึงขอเชิญพี่น้องประชาชนทุกหมู่เหล่า ทุกเชื้อชาติ ทุกศาสนา ทุกเพศทุกวัย ทุกภูมิภาคได้มาใช้สิทธิตามรัฐธรรมนูญ โดยมาชุมนุมภายใต้ข้อกฎหมายเพื่อคัดค้านการลงมติของสมาชิกรัฐสภาเพื่อรับรองบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ในเช้าวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553 ที่หน้ารัฐสภา เวลา 08.00 น.เป็นต้นไป

4.ขอให้พี่น้องประชาชนทั้งประเทศ ได้ยื่นหนังสือ โทรศัพท์ หรือส่งข้อความผ่านโทรสาร อีเมล เฟซบุ๊ก และชุมนุมหน้าบ้าน หรือสำนักงานของสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร หรือสมาชิกวุฒิสภาในเขตของท่านเพื่อใช้สิทธิตามกฎหมายและร้องขอให้สมาชิกรัฐสภาหยุดการขายชาติโดยให้คัดค้านบันทึกผลการประชุมของคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา ในการประชุมสมาชิกรัฐสภาให้สำเร็จโดยเร็วก่อนวันที่ 2 พฤศจิกายน 2553

5.ขอเรียกร้องให้ข้าราชการทหารในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้ปฏิบัติหน้าที่ตามบทบัญญัติของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 77 ในการพิทักษ์รักษาไว้ซึ่งเอกราช อธิปไตย และบูรณภาพแห่งเขตอำนาจรัฐ เข้าผลักดันการรุกล้ำและยึดครองแผ่นดินไทยโดยทันที

ด้วยจิตคารวะ

พันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย


28 ตุลาคม พ.ศ.2553”





คลิกที่นี่ เพื่อฟัง "พธม.แถลงฉะรัฐตระบัดสัตย์ซุกบันทึกไทย-เขมร เข้าสภา นัดแสดงพลัง 2 พ.ย."



**"สนธิ” ฉะนายกฯ โกหก ปชช. - ส่งทนายฟ้องศาล ปค.ระงับ MOU43**

http://forum.serithai.org/index.php?topic=3386.0

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072311

http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9510000072311




thailand-sm


เพลงต้องห้ามในยุค 2505
<a href="//www.youtube.com/watch?v=4zy_ua15EOM" target="_blank">http://www.youtube.com/watch?v=4zy_ua15EOM</a>

แต่งและร้องโดย คำรณ สัมบุญณานนท์
ถูกรัฐบาล สั่งห้ามเปิดออกอากาศ ณ ช่วงเวลานั้น



Quote
หลายคนที่ไม่รู้อาจเข้าใจว่า ศาลโลกก็เหมือนกับศาลทั่ว ๆ เหมือนศาลในประเทศไทยกฏระเบียบเหมือน ๆ กัน แต่ในความเป็นจริงแล้ว ศาลโลก ก็คือศาลโลก จะนำมาตราฐานศาลไทยไปเทียบไม่ได้เพราะกฏระเบียบไม่เหมือนกัน เช่น การประกาศเขตแดนกรณีที่มีข้อพิพาทให้ประเทศไหนนั้น หากประเทศ 2 ประเทศที่เป็นข้อพิพาทต่างอ้างสิทธิในเขตแดนนั้น เมื่อศาลโลกตัดสินแล้วแต่ยังมีประเทศที่คัดค้านคำตัดสินนั้นก็สามารถคัดค้านได้โดยไม่มีวันหมดอายุ คัดค้านไปเรื่อย ๆ จนกว่าจะมีหลักฐานเอกสารใหม่ยื่นเข้าไปให้ศาลโลกตัดสินใหม่ได้อีกครั้ง และศาลโลกก็สามารถตัดสินใหม่ได้เรื่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปตามข้อมูลหลักฐานใหม่ที่ประเทศนั้นยื่นเรื่องอีกครั้ง

แต่ศาลโลกมีกฏระเบียบตั้งขึ้นมาว่าด้วยเรื่องเขตแดนจะยุติคำตัดสินได้ด้วยการใช้หลักเขตแดนตามแนวสันปันน้ำเป็นที่สิ้นสุดคำพิพากษา ตามที่ทุก ๆ ประเทศในโลกนี้ใช้เป็นมาตราฐานเดียวกันคือแบ่งเขตแดนตามแนวสันปันน้ำ



เขมรเม้งแตก ด่าแผนที่โลกของ google ชี้ชัดเขาพระวิหารอยู่ในเขตแดนสันปันน้ำไทย

http://www.manager.co.th/Around/ViewNews.aspx?NewsID=9530000017086

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น