วันเสาร์ที่ 16 ตุลาคม พ.ศ. 2553

รัฐบาลที่บอกว่า ประชาชาต้องมาก่อน ควรเปลี่ยน ... ยี่ห้อ เป็นทัมใจ

“ยาทันใจ” ขายแพร่หลายที่สุดในยุค 70



ว่ากันถึงยาแก้ปวดลดไข้ชื่อดังสมัยเมื่อสี่สิบกว่าปีก่อน ดูเหมือน “ยาทันใจ” จะเป็นแช้มป์มียอดขายครองอันดับหนึ่ง ที่ไล่หลังมาติด ๆ ดูเหมือนจะเป็นยี่ห้อ “ยาประสะนอแรด” และยังมียา “ปวดหาย” ไล่บี้มาในระยะไม่ห่างไกลนัก

มาภายหลัง เมื่อทางการสั่งห้ามตั้งชื่อยาให้มีลักษณะส่อไปในทางโฆษณาเกินจริง “ยาทันใจ” จึงมีอันต้องเปลี่ยนเป็น “ยาทัมใจ” “ยาประสะนอแรด” เปลี่ยนเป็น “ยาประสะบอแรด” และ “ยาปวดหาย” กลายมาเป็น “ยาบวดหาย” ไป แต่กระนั้น ความนิยมในยาประเภทนี้ทั้งสามยี่ห้อดัง ก็หาได้ลดทอนลงแต่อย่างใดไม่ จนเมื่อสิบกว่าปีก่อน กระทรวงสาธารณสุขสั่งห้ามใช้ยาแก้ปวดลดไข้สูตรผสม อันมีส่วนของคาเฟอีนเป็นส่วนผสมสำคัญ เพราะทำให้ผู้บริโภคยาดังกล่าว เกิดอาการติดยา คือติดคาเฟอีนที่ผสมในยาเหล่านั้น ความร้อนแรงของกระแสนิยมยาทั้งสามยี่ห้อดังกล่าวจึงลดลงไปด้วย

จากผลการบังคับใช้ของพระราชบัญญัติยา พ..2510 ตามมาตรา 83(4) ที่ระบุว่า ห้ามมิให้พนักงานเจ้าหน้าที่รับขึ้นทะเบียนตำรับยา เมื่อคณะกรรมการเห็นว่าเป็นยาที่ใช้ชื่อโอ้อวด,ไม่สุภาพ หรืออาจทำให้เข้าใจผิดจากความเป็นจริง” นั่นเอง

ชื่อยา "ทันใจ” และ "ปวดหาย" แต่เดิมนั้น เข้าข่ายเป็นการใช้ชื่อที่โอ้อวดสรรพคุณ บริษัทผู้ผลิตจึงเปลี่ยนพยัญชนะ เป็น ” กลายเป็น"ทัมใจ" ซึ่งเป็นคำที่ไม่มีความหมาย เพื่อคงสภาพแบรนด์เดิมที่ติดตลาดแล้วให้มากที่สุด เช่นเดียวกับที่ยาปวดหาย ต้องเปลี่ยน "ป" เป็น "บ" กลายเป็น "บวดหาย" ด้วยเหตุผลเดียวกัน ซึ่งดูผิวเผินอาจไม่ทราบด้วยซ้ำว่าชื่อยามีการเปลี่ยนแปลง ให้สอดคล้องตามที่กฏหมายยากำหนด ด้วยเทคนิคการปรับเปลี่ยนแบรนด์ที่แยบยล กอรปกับลักษณะรูปแบบตัวอักษร(font)ที่ดูผิวเผินเหมือนไม่มีอะไรเปลี่ยนแปลง ทำให้ทุกวันนี้ผู้บริโภคก็ยังเรียกหายา"ทันใจ" และ "ปวดหาย" จากร้านขายยาอยู่เช่นเดิม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น