แหล่งผลิตปิโตรเลียมบนบก
ปิโตรเลียมเป็นแหล่งเชื้อเพลิงที่มีความสำคัญต่อประชากรโลกเป็นอย่างมาก โดยเฉพาะในประเทศไทยซึ่งใช้ปิโตรเลียมเป็นเชื้อเพลิง เพื่อผลิตไฟฟ้า ให้ความร้อนในโรงงานอุตสาหกรรมและครัวเรือน และ ใช้เพื่อการคมนาคม ขนส่งสินค้า รวมแล้วประมาณร้อยละ 82 ของการใช้พลังงานขั้นต้นในเชิงพาณิชย์
ปิโตรเลียมที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ประมาณร้อยละ 50 ผลิตได้ภายในประเทศ จากแปลงสัมปทานปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเลอ่าวไทย รวมถึงพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย(ก๊าซธรรมชาติ) โดยมีปริมาณการผลิตเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา ดังแสดงในภาพนี้ครับ (ไม่รวมน้ำมันดิบจากแหล่งฝาง)
ปิโตรเลียมที่ผลิตได้ภายในประเทศไทย ร้อยละ 92 ผลิตได้จากแหล่งในอ่าวไทย มีเพียงร้อยละ 8 ที่ผลิตได้จากแหล่งที่อยู่บนบก แต่การเสนอข่าว หรือ การให้ข้อมูลของคนกลุ่มหนึ่ง อาจสร้างความเข้าใจผิดว่า ประเทศไทยผลิตปิโตรเลียมบนบกได้มากมาย มีแหล่งผลิตหลายแหล่ง มีหลุมผลิตอยู่หลายร้อยบ่อ แต่ถูกปกปิดไม่มีใครรู้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูล (ซึ่งหน่วยงานรัฐได้ทำอยู่แล้ว มีรายงานประจำทุกเดือน) ผมจึงขออนุญาตแชร์ข้อมูลที่เกี่ยวกับ แหล่งผลิตปิโตรเลียมที่ตั้งอยู่บนบก ว่ามีแหล่งใดบ้าง อยู่บริเวณไหน มีการผลิตและใช้ประโยชน์กันอย่างไร
แหล่งปิโตรเลียมบนบกที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย
1. แหล่งฝาง ตั้งอยู่บริเวณอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย กรมพลังงานทหาร ซึ่งเป็นผู้ลงทุน สำรวจและผลิตเอง น้ำมันดิบที่ผลิตได้จะทำการกลั่น ขาย และ ใช้ประโยชน์ เพื่อความมั่นคงทางการทหาร ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน จากหลุมผลิตจำนวน 60 หลุม
2. แหล่งสิริกิติ์ หรือแหล่งลานกระบือ เป็นที่ตั้งของสถานีผลิตน้ำมันดิบ ภายในแปลง S1 (สัมปทานในรอบที่ 6) เริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี 2526 ภายในแปลงประกอบด้วยแหล่งขนาดเล็กๆ อีกหลายแหล่ง เช่นแหล่งทับแรต หนองมะขาม หนองตูม วัดแตน เสาเถียร ประดู่เฒ่า ปรือกระเทียม หนองแสง และยางเมือง โดยกระจายอยู่ในบริเวณ พื้นที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบรวมกันประมาณ 33,600 บาร์เรลต่อวัน หรือ 5.34 ล้านลิตรต่อวัน น้ำมันดิบที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะนำไปเก็บรวมไว้ที่ คลังน้ำมันบึงพระ (สถานีบึงพระ) ก่อนส่งต่อโดยรถไฟไปเข้าโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นไทยออยล์ และอีกส่วนหนึ่งขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันไปเข้าโรงกลั่นไออาร์พีซีและพีทีที โกลบอล จากจำนวนที่ผลิตได้ 5.34 ล้านลิตรต่อวันนั้น ตัวเลขนี้ไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรงกับปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปนะครับ เพราะผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้จริง คิดเป็นน้ำมันเบนซินได้ประมาณ 1.14 ล้านลิตร น้ำมันดีเซลประมาณ 2.8 ล้านลิตร ที่เหลือเป็นน้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตาและอื่นๆ รวมกันอีกประมาณ 1.38 ล้านลิตร
ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับน้ำมันดิบ จะเป็นก๊าซที่มีความดันต่ำ ถ้ามีปริมาณน้อย จะไม่คุ้มค่าในการนำมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นแหล่งขนาดเล็กจะต้องเผาทิ้งเพื่อความปลอดภัย แต่แหล่งสิริกิติ์ได้พัฒนาท่อส่งจากแหล่งขนาดเล็กๆ มารวมกันจนมีปริมาณที่ใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งผลิตรวมกันได้ประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นำไปผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าลานกระบือ ใช้ทำ NGV สำหรับรถยนต์ และ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับสินค้าการเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์กล้วยทอดของชาวบ้าน นอกจากนั้นยังสามารถผลิตก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มได้อีกประมาณ 280 ตันต่อวัน จากโรงแยกก๊าซขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ภายในสถานีผลิตลานกระบือ
จำนวนสถานีหลุมผลิต(wellsite) ที่กระจายตัวอยู่บริเวณ 3 จังหวัด ดังกล่าวแล้ว มีประมาณ 70 แห่ง มีหลุมผลิตที่เปิดผลิตประมาณ 320 หลุม จากหลุมผลิตทั้งหมดประมาณ 650 หลุม หลุมที่เปิดผลิตอยู่นั้นมันไม่ได้ไหลขึ้นมาได้เองนะครับ ต้องใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย เช่น การใช้ก๊าซอัดเข้าไปในหลุมเพื่อช่วยยกน้ำมันขึ้นมาหรือใช้ปั๊มชนิดต่างๆ เพื่อทำให้น้ำมันไหลขึ้นมาได้ และสำหรับหลุมที่ไม่ได้เปิดผลิตนั้น มีทั้งหลุมที่หมดสภาพแล้วคือไม่สามารถผลิตน้ำมันขึ้นมาได้แล้ว บางหลุมปิดพักชั่วคราว บางหลุมปิดรอการปรับปรุง บางหลุมปิดรอเทคโนโลยี เป็นต้น ดังนั้นการมีจำนวนหลุมมากไม่ได้หมายความว่าจะมีปิโตรเลียมอยู่มากนะครับ เพราะหลุมแต่ละหลุมจะมีระยะเวลาในการผลิต สั้นยาวแล้วแต่ศักยภาพปิโตรเลียมบริเวณนั้น (ถ้าอยากรู้ว่า แต่ละแหล่งมีศักยภาพปิโตรเลียมเป็นอย่างไร ให้เอาอัตราการผลิตหารด้วยจำนวนหลุมที่เปิดผลิต แล้วเปรียบเทียบกันดูนะครับ) และในแต่ละปีจะต้องขุดหลุมผลิตเพิ่มมากกว่า 50 หลุม เพื่อรักษาระดับการผลิตให้ยาวนานขึ้นครับ
ภาพแสดงจำนวนหลุมเจาะในปี 2556
ภาพแสดง แปลง ผู้ดำเนินงาน แหล่งผลิต อัตราการผลิต จำนวนหลุม
3. กลุ่มแหล่งขนาดเล็ก ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงรอบๆ แปลง S1 ประกอบด้วย แหล่งอรุโณทัย(L10/43) ปัจจุบันหยุดผลิตแล้ว แหล่งบูรพา (L11/43) แหล่งบึงหญ้า บึงม่วง (NC) แหล่งบึงหญ้าตะวันตก บึงม่วงใต้ หนองสระ (L21/43) และ แหล่งวังไผ่สูง (L22/43) โดยกลุ่มนี้มีการผลิตรวมกันประมาณ 2,548 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.41 ล้านลิตรต่อวัน ขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันเพื่อนำไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจาก ได้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซินประมาณ 0.09 ล้านลิตร น้ำมันดีเซล 0.2 ล้านลิตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมกันอีก 0.11 ล้านลิตร
4. กลุ่มแหล่งขนาดเล็ก บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย แหล่งวิเชียรบุรี ศรีเทพ นาสนุ่น(SW1) แหล่งนาสนุ่นตะวันออก บ่อรังเหนือ วิเชียรบุรีส่วนขยาย (L44/43) และ แหล่งแอล33 (L33/43) อยู่ในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 1,005 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.16 ล้านลิตรต่อวัน ขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันเพื่อนำไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจาก โดยกลั่นได้น้ำมันเบนซินประมาณ 0.034 ล้านลิตร น้ำมันดีเซลประมาณ 0.084 ล้านลิตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆรวมกันอีก 0.041 ล้านลิตร
5. กลุ่มแหล่งขนาดเล็ก บริเวณภาคกลาง ประกอบด้วย แหล่งอู่ทอง สังฆจาย กำแพงแสน (PTTEP I) อยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แหล่งบึงกระเทียม แปลง L53/43 แหล่งหนองผักชี (L54/43) และแหล่งแอล53เอ(L53/48) อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง และ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบรวมกันประมาณ 943 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.15 ล้านลิตรต่อวัน ขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันเพื่อนำไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจาก โดยกลั่นได้น้ำมันเบนซินประมาณ 0.032 ล้านลิตร น้ำมันดีเซลประมาณ 0.078 ล้านลิตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ภาพแสดงอัตราการผลิตน้ำมันดิบต่อวัน
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบัน มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่ง คือ
แหล่งก๊าซน้ำพอง บริเวณอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แหล่งก๊าซสินภูฮ่อม บริเวณอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ต่อท่อส่งก๊าซจากแหล่งผลิตมาเข้าขบวนการผลิตใกล้กับแหล่งน้ำพอง ปัจจุบันมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 87 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวหรือคอนเดนเสทประมาณ 380บาร์เรลต่อวัน
ก๊าซธรรมชาติจากทั้งสองแหล่ง ถูกนำไปผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าน้ำพอง และ ใช้ทำ NGV สำหรับรถยนต์ ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวจะถูกใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมและโรงกลั่นน้ำมัน
ภาพแสดง การผลิตและการใช้ประโยชน์
การผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งบนบกรวมกันได้ประมาณ 38,100 บาร์เรล หรือ 6 ล้านลิตรต่อวัน แต่เมื่อนำไปกลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์เป็น น้ำมันเบนซินประมาณ 1.3 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 6 ของความต้องการใช้ (22 ล้านลิตรต่อวัน) และน้ำมันดีเซลประมาณ 3.2 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 5.6 ของความต้องการใช้ (57 ล้านลิตรต่อวัน) สำหรับก๊าซที่ผลิตได้จากแหล่งบนบก รวมกันประมาณ 125 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของความต้องการใช้ก๊าซในปีที่ผ่านมา (4,820 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน)
จากข้อมูลดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของแหล่งผลิตปิโตรเลียมที่ตั้งอยู่บนบกนั้น นอกจากแหล่งสิริกิติ์ที่จัดเป็นแหล่งขนาดกลางแล้ว ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก ผลิตปิโตรเลียมรวมกันน้อยกว่าความต้องการใช้อยู่มาก มูลค่าปิโตรเลียมที่ได้จึงมีไม่มาก แม้รัฐจะจัดสรรเงินค่าภาคหลวงส่วนหนึ่งมาให้ในพื้นที่ที่เป็นบริเวณที่ตั้งของแหล่งผลิตต่างๆ โดยผ่าน อบต./เทศบาล อบจ. ก็ตาม เงินดังกล่าวนี้จะต้องนำไปใช้พัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ได้นำมาแจกจ่ายคนในพื้นที่ ดังนั้น จึงไม่สามารถทำให้ประชาชนในพื้นที่ซึ่งถูกนำไปกล่าวอ้างในทำนองว่าเป็นเจ้าของทรัพยากรตัวจริงนั้น หายจากความยากจนกลายเป็นคนร่ำรวยขึ้นมาได้ ตามที่มีคนพยายามบิดเบือนในเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ
น้ำมันดิบที่ใช้ป้อนโรงกลั่นภายในประเทศ ประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผลิตได้จากแหล่งบนบกดังแสดงตามภาพนี้ครับ
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ
ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และเนื่องจากยังไม่สามารถเข้าที่ทำงานได้ ข้อมูลตัวเลขการผลิต จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เฉลี่ยในปี 2556
http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=saleValueRoyalty
ข้อมูลโรงกลั่นนำมาจากเวป ของกรมธุรกิจพลังงาน ตามลิงค์นี้ครับ
http://www.doeb.go.th/info/info_procure.php
http://www.doeb.go.th/info/info_sum.php
สัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เฉลี่ยมาจากโรงกลั่นบางจากครับ
ลิงค์บทความทั้งหมดที่นำเสนอไว้ครับ
https://www.facebook.com/chayutpongn/notes
ปิโตรเลียมที่ใช้กันอยู่ในทุกวันนี้ ประมาณร้อยละ 50 ผลิตได้ภายในประเทศ จากแปลงสัมปทานปิโตรเลียมทั้งบนบกและในทะเลอ่าวไทย รวมถึงพื้นที่พัฒนาร่วมไทย-มาเลเซีย(ก๊าซธรรมชาติ) โดยมีปริมาณการผลิตเฉลี่ยในปีที่ผ่านมา ดังแสดงในภาพนี้ครับ (ไม่รวมน้ำมันดิบจากแหล่งฝาง)
ปิโตรเลียมที่ผลิตได้ภายในประเทศไทย ร้อยละ 92 ผลิตได้จากแหล่งในอ่าวไทย มีเพียงร้อยละ 8 ที่ผลิตได้จากแหล่งที่อยู่บนบก แต่การเสนอข่าว หรือ การให้ข้อมูลของคนกลุ่มหนึ่ง อาจสร้างความเข้าใจผิดว่า ประเทศไทยผลิตปิโตรเลียมบนบกได้มากมาย มีแหล่งผลิตหลายแหล่ง มีหลุมผลิตอยู่หลายร้อยบ่อ แต่ถูกปกปิดไม่มีใครรู้ ดังนั้นเพื่อเป็นการเผยแพร่ข้อมูล (ซึ่งหน่วยงานรัฐได้ทำอยู่แล้ว มีรายงานประจำทุกเดือน) ผมจึงขออนุญาตแชร์ข้อมูลที่เกี่ยวกับ แหล่งผลิตปิโตรเลียมที่ตั้งอยู่บนบก ว่ามีแหล่งใดบ้าง อยู่บริเวณไหน มีการผลิตและใช้ประโยชน์กันอย่างไร
แหล่งปิโตรเลียมบนบกที่อยู่ในบริเวณภาคเหนือและภาคกลางตอนบน ประกอบด้วย
1. แหล่งฝาง ตั้งอยู่บริเวณอำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ ดำเนินงานโดย กรมพลังงานทหาร ซึ่งเป็นผู้ลงทุน สำรวจและผลิตเอง น้ำมันดิบที่ผลิตได้จะทำการกลั่น ขาย และ ใช้ประโยชน์ เพื่อความมั่นคงทางการทหาร ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 1,000 บาร์เรลต่อวัน จากหลุมผลิตจำนวน 60 หลุม
2. แหล่งสิริกิติ์ หรือแหล่งลานกระบือ เป็นที่ตั้งของสถานีผลิตน้ำมันดิบ ภายในแปลง S1 (สัมปทานในรอบที่ 6) เริ่มผลิตมาตั้งแต่ปี 2526 ภายในแปลงประกอบด้วยแหล่งขนาดเล็กๆ อีกหลายแหล่ง เช่นแหล่งทับแรต หนองมะขาม หนองตูม วัดแตน เสาเถียร ประดู่เฒ่า ปรือกระเทียม หนองแสง และยางเมือง โดยกระจายอยู่ในบริเวณ พื้นที่อำเภอลานกระบือ จังหวัดกำแพงเพชร อำเภอคีรีมาศ อำเภอกงไกรลาศ จังหวัดสุโขทัย และอำเภอบางระกำ จังหวัดพิษณุโลก
ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบรวมกันประมาณ 33,600 บาร์เรลต่อวัน หรือ 5.34 ล้านลิตรต่อวัน น้ำมันดิบที่ผลิตได้ส่วนใหญ่จะนำไปเก็บรวมไว้ที่ คลังน้ำมันบึงพระ (สถานีบึงพระ) ก่อนส่งต่อโดยรถไฟไปเข้าโรงกลั่นบางจากและโรงกลั่นไทยออยล์ และอีกส่วนหนึ่งขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันไปเข้าโรงกลั่นไออาร์พีซีและพีทีที โกลบอล จากจำนวนที่ผลิตได้ 5.34 ล้านลิตรต่อวันนั้น ตัวเลขนี้ไม่สามารถนำมาใช้เปรียบเทียบกันได้โดยตรงกับปริมาณการใช้น้ำมันสำเร็จรูปนะครับ เพราะผลิตภัณฑ์ที่กลั่นได้จริง คิดเป็นน้ำมันเบนซินได้ประมาณ 1.14 ล้านลิตร น้ำมันดีเซลประมาณ 2.8 ล้านลิตร ที่เหลือเป็นน้ำมันเครื่องบิน น้ำมันเตาและอื่นๆ รวมกันอีกประมาณ 1.38 ล้านลิตร
ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตขึ้นมาได้พร้อมกับน้ำมันดิบ จะเป็นก๊าซที่มีความดันต่ำ ถ้ามีปริมาณน้อย จะไม่คุ้มค่าในการนำมาใช้ประโยชน์ ส่วนใหญ่ถ้าเป็นแหล่งขนาดเล็กจะต้องเผาทิ้งเพื่อความปลอดภัย แต่แหล่งสิริกิติ์ได้พัฒนาท่อส่งจากแหล่งขนาดเล็กๆ มารวมกันจนมีปริมาณที่ใช้ประโยชน์ได้ ซึ่งผลิตรวมกันได้ประมาณ 25 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน นำไปผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าลานกระบือ ใช้ทำ NGV สำหรับรถยนต์ และ ใช้เป็นเชื้อเพลิงสำหรับสินค้าการเกษตร เช่น ผลิตภัณฑ์กล้วยทอดของชาวบ้าน นอกจากนั้นยังสามารถผลิตก๊าซแอลพีจีหรือก๊าซหุงต้มได้อีกประมาณ 280 ตันต่อวัน จากโรงแยกก๊าซขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ภายในสถานีผลิตลานกระบือ
จำนวนสถานีหลุมผลิต(wellsite) ที่กระจายตัวอยู่บริเวณ 3 จังหวัด ดังกล่าวแล้ว มีประมาณ 70 แห่ง มีหลุมผลิตที่เปิดผลิตประมาณ 320 หลุม จากหลุมผลิตทั้งหมดประมาณ 650 หลุม หลุมที่เปิดผลิตอยู่นั้นมันไม่ได้ไหลขึ้นมาได้เองนะครับ ต้องใช้เทคนิคต่างๆ เข้าช่วย เช่น การใช้ก๊าซอัดเข้าไปในหลุมเพื่อช่วยยกน้ำมันขึ้นมาหรือใช้ปั๊มชนิดต่างๆ เพื่อทำให้น้ำมันไหลขึ้นมาได้ และสำหรับหลุมที่ไม่ได้เปิดผลิตนั้น มีทั้งหลุมที่หมดสภาพแล้วคือไม่สามารถผลิตน้ำมันขึ้นมาได้แล้ว บางหลุมปิดพักชั่วคราว บางหลุมปิดรอการปรับปรุง บางหลุมปิดรอเทคโนโลยี เป็นต้น ดังนั้นการมีจำนวนหลุมมากไม่ได้หมายความว่าจะมีปิโตรเลียมอยู่มากนะครับ เพราะหลุมแต่ละหลุมจะมีระยะเวลาในการผลิต สั้นยาวแล้วแต่ศักยภาพปิโตรเลียมบริเวณนั้น (ถ้าอยากรู้ว่า แต่ละแหล่งมีศักยภาพปิโตรเลียมเป็นอย่างไร ให้เอาอัตราการผลิตหารด้วยจำนวนหลุมที่เปิดผลิต แล้วเปรียบเทียบกันดูนะครับ) และในแต่ละปีจะต้องขุดหลุมผลิตเพิ่มมากกว่า 50 หลุม เพื่อรักษาระดับการผลิตให้ยาวนานขึ้นครับ
ภาพแสดงจำนวนหลุมเจาะในปี 2556
ภาพแสดง แปลง ผู้ดำเนินงาน แหล่งผลิต อัตราการผลิต จำนวนหลุม
3. กลุ่มแหล่งขนาดเล็ก ที่อยู่บริเวณใกล้เคียงรอบๆ แปลง S1 ประกอบด้วย แหล่งอรุโณทัย(L10/43) ปัจจุบันหยุดผลิตแล้ว แหล่งบูรพา (L11/43) แหล่งบึงหญ้า บึงม่วง (NC) แหล่งบึงหญ้าตะวันตก บึงม่วงใต้ หนองสระ (L21/43) และ แหล่งวังไผ่สูง (L22/43) โดยกลุ่มนี้มีการผลิตรวมกันประมาณ 2,548 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.41 ล้านลิตรต่อวัน ขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันเพื่อนำไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจาก ได้เป็นผลิตภัณฑ์น้ำมันเบนซินประมาณ 0.09 ล้านลิตร น้ำมันดีเซล 0.2 ล้านลิตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ รวมกันอีก 0.11 ล้านลิตร
4. กลุ่มแหล่งขนาดเล็ก บริเวณจังหวัดเพชรบูรณ์ ประกอบด้วย แหล่งวิเชียรบุรี ศรีเทพ นาสนุ่น(SW1) แหล่งนาสนุ่นตะวันออก บ่อรังเหนือ วิเชียรบุรีส่วนขยาย (L44/43) และ แหล่งแอล33 (L33/43) อยู่ในพื้นที่อำเภอวิเชียรบุรี และ อำเภอศรีเทพ จังหวัดเพชรบูรณ์ ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบประมาณ 1,005 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.16 ล้านลิตรต่อวัน ขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันเพื่อนำไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจาก โดยกลั่นได้น้ำมันเบนซินประมาณ 0.034 ล้านลิตร น้ำมันดีเซลประมาณ 0.084 ล้านลิตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆรวมกันอีก 0.041 ล้านลิตร
5. กลุ่มแหล่งขนาดเล็ก บริเวณภาคกลาง ประกอบด้วย แหล่งอู่ทอง สังฆจาย กำแพงแสน (PTTEP I) อยู่ในพื้นที่ อำเภอเมือง อู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี และอำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม แหล่งบึงกระเทียม แปลง L53/43 แหล่งหนองผักชี (L54/43) และแหล่งแอล53เอ(L53/48) อยู่ในพื้นที่อำเภอเมือง และ อำเภออู่ทอง จังหวัดสุพรรณบุรี ปัจจุบันมีอัตราการผลิตน้ำมันดิบรวมกันประมาณ 943 บาร์เรลต่อวัน หรือ 0.15 ล้านลิตรต่อวัน ขนส่งโดยรถบรรทุกน้ำมันเพื่อนำไปกลั่นที่โรงกลั่นบางจาก โดยกลั่นได้น้ำมันเบนซินประมาณ 0.032 ล้านลิตร น้ำมันดีเซลประมาณ 0.078 ล้านลิตร และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
ภาพแสดงอัตราการผลิตน้ำมันดิบต่อวัน
สำหรับภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ปัจจุบัน มีแหล่งก๊าซธรรมชาติ 2 แหล่ง คือ
แหล่งก๊าซน้ำพอง บริเวณอำเภอน้ำพอง จังหวัดขอนแก่น ปัจจุบันมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 13 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน แหล่งก๊าซสินภูฮ่อม บริเวณอำเภอหนองแสง จังหวัดอุดรธานี ต่อท่อส่งก๊าซจากแหล่งผลิตมาเข้าขบวนการผลิตใกล้กับแหล่งน้ำพอง ปัจจุบันมีอัตราการผลิตก๊าซธรรมชาติประมาณ 87 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน และก๊าซธรรมชาติเหลวหรือคอนเดนเสทประมาณ 380บาร์เรลต่อวัน
ก๊าซธรรมชาติจากทั้งสองแหล่ง ถูกนำไปผลิตไฟฟ้าที่โรงไฟฟ้าน้ำพอง และ ใช้ทำ NGV สำหรับรถยนต์ ส่วนก๊าซธรรมชาติเหลวจะถูกใช้เป็นตัวทำละลายในอุตสาหกรรมและโรงกลั่นน้ำมัน
ภาพแสดง การผลิตและการใช้ประโยชน์
การผลิตน้ำมันดิบจากแหล่งบนบกรวมกันได้ประมาณ 38,100 บาร์เรล หรือ 6 ล้านลิตรต่อวัน แต่เมื่อนำไปกลั่นจะได้ผลิตภัณฑ์เป็น น้ำมันเบนซินประมาณ 1.3 ล้านลิตร คิดเป็นร้อยละ 6 ของความต้องการใช้ (22 ล้านลิตรต่อวัน) และน้ำมันดีเซลประมาณ 3.2 ล้านลิตรต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 5.6 ของความต้องการใช้ (57 ล้านลิตรต่อวัน) สำหรับก๊าซที่ผลิตได้จากแหล่งบนบก รวมกันประมาณ 125 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน คิดเป็นร้อยละ 2.6 ของความต้องการใช้ก๊าซในปีที่ผ่านมา (4,820 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน)
จากข้อมูลดังกล่าวนี้ แสดงให้เห็นว่าศักยภาพของแหล่งผลิตปิโตรเลียมที่ตั้งอยู่บนบกนั้น นอกจากแหล่งสิริกิติ์ที่จัดเป็นแหล่งขนาดกลางแล้ว ที่เหลือส่วนใหญ่เป็นแหล่งขนาดเล็ก ผลิตปิโตรเลียมรวมกันน้อยกว่าความต้องการใช้อยู่มาก มูลค่าปิโตรเลียมที่ได้จึงมีไม่มาก แม้รัฐจะจัดสรรเงินค่าภาคหลวงส่วนหนึ่งมาให้ในพื้นที่ที่เป็นบริเวณที่ตั้งของแหล่งผลิตต่างๆ โดยผ่าน อบต./เทศบาล อบจ. ก็ตาม เงินดังกล่าวนี้จะต้องนำไปใช้พัฒนาเพื่อให้เกิดประโยชน์ต่อส่วนรวมไม่ได้นำมาแจกจ่ายคนในพื้นที่ ดังนั้น จึงไม่สามารถทำให้ประชาชนในพื้นที่ซึ่งถูกนำไปกล่าวอ้างในทำนองว่าเป็นเจ้าของทรัพยากรตัวจริงนั้น หายจากความยากจนกลายเป็นคนร่ำรวยขึ้นมาได้ ตามที่มีคนพยายามบิดเบือนในเรื่องนี้อยู่บ่อยๆ
น้ำมันดิบที่ใช้ป้อนโรงกลั่นภายในประเทศ ประมาณ 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน ผลิตได้จากแหล่งบนบกดังแสดงตามภาพนี้ครับ
บทความนี้เป็นความคิดเห็นส่วนตัว ผิดพลาดประการใดต้องขออภัยด้วยนะครับ
ข้อมูลจากกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ และเนื่องจากยังไม่สามารถเข้าที่ทำงานได้ ข้อมูลตัวเลขการผลิต จึงเป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้น เฉลี่ยในปี 2556
http://www.dmf.go.th/index.php?act=service&sec=saleValueRoyalty
ข้อมูลโรงกลั่นนำมาจากเวป ของกรมธุรกิจพลังงาน ตามลิงค์นี้ครับ
http://www.doeb.go.th/info/info_procure.php
http://www.doeb.go.th/info/info_sum.php
สัดส่วนผลิตภัณฑ์ที่ได้จากการกลั่นน้ำมันดิบ เฉลี่ยมาจากโรงกลั่นบางจากครับ
ลิงค์บทความทั้งหมดที่นำเสนอไว้ครับ
https://www.facebook.com/chayutpongn/notes
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น