วันเสาร์ที่ 4 ตุลาคม พ.ศ. 2557

ผลประโยชน์มหาศาลในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา.... จะสำเร็จในรัฐบาลประยุทธ์ ?

ผลประโยชน์มหาศาลของแหล่งพลังงานในพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา.... จะสำเร็จในรัฐบาลประยุทธ์ ?

พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา เป็นแหล่งพลังงานที่เหลือเพียงไม่กี่แห่งในโลกที่ยังไม่ได้ถูกขุดเจาะ และพร้อมให้กลุ่มทุนเข้าไปดำเนินงาน ในพื้นที่แถบชายฝั่งและนอกชายฝั่ง ซึ่งจากการบรรยายของ TE DUONG TARA ผู้อำนวยการ Cambodian National Petroleum Authority เมื่อ 18 มกราคม 2006 ระหว่างการประชุมว่าด้วยเรื่องเทคโนโลยีปิโตรเลียม ของอาเซียนครั้งที่ 4 ระบุว่า กัมพูชามีแหล่งก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน และมีการผลิตจำนวนมากนอกชายฝั่ง โดยปัจจุบันมีเชฟรอน ได้รับสัมปทานอนุญาตขุดเจาะ และยังมีบริษัทจากไทยคือบริษัท ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) (PTTEPI) ซึ่งเป็นบริษัทในเครือ ปตท. ได้ร่วมทุน 30% กับอีก 2 บริษัท คือ บริษัท Resourceful Petroleum Ltd. และ SPC Cambodia Ltd. อีก 10% เป็นของ CE Cambodia B Ltd.
ปตท.สผ. อินเตอร์เนชั่นแนลได้รับสัมปทานจากรัฐบาลกัมพูชาในการขุดเจาะน้ำมันและก๊าซ นอกชายฝั่ง ในบริเวณอ่าวไทย แต่ยังมีพื้นที่แหล่งนี้ที่กัมพูชาเรียกว่า “บล็อก B” และ ปตท.สผ. ตั้งรหัสว่าโครงการจี 9/43 มีการพบเบื้องต้นว่ามีน้ำมันและก๊าซจำนวนมาก แต่ในหนังสือรายงานประจำปี 2550 ได้ระบุว่าเป็นพื้นที่คาบเกี่ยวระหว่างไทย-กัมพูชา และกำลังแก้ไขปัญหาเรื่องเส้นแบ่งเขตทางทะเล หรือเป็นหนึ่งในพื้นทับซ้อนระหว่างไทยและกัมพูชาอีกพื้นที่หนึ่ง
เมื่อย้อนดูความพยายามของผู้เข้ามามีอำนาจของไทย ทุกคนล้วนพยายามที่จะหารือเกี่ยวกับพลังงานในพี้นที่ซับซ้อนไทย – กัมพูชา จึงไม่ต้องแปลกใจว่า ทำไมไม่ว่าใครมาเป็นรัฐบาลจะต้องเร่งรีบเข้าไปคารวะฮุนเซนเพื่อขอเจรจาเรื่องพลังงานในพื้นที่ทับซ้อน เพราะหากรัฐบาลใดทำสำเร็จ นั่นหมายถึงผลประโยชน์อันมหาศาลจากขุมทรัพย์แหล่งพลังงาน ดังนั้น ทุกรัฐบาลจึงเลือกกลุ่มนายทุนพลังงานหน้าเก่าตัวจริงเสียงจริงที่มีอำนาจใน ปตท. โดยให้กระทรวงพลังงานซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เข้ามาดำเนินการเป็นตัวเปิดทางให้บริษัท ปตท. ได้เข้าไปรับสัมปทาน
- สมัยรัฐบาลนายชวน
ภายหลังจากที่มีการลงนามในบันทึกความเข้าใจ (MOU 2543) เรื่องการสำรวจเพื่อปักปันเขตแดนตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส ค.ศ.1904-1907 ผู้นำรัฐบาลในขณะนั้นได้กำลังดำเนินการเจรจาเพื่อแบ่งเขตแดนทางทะเล ปัญหาที่จะต้องพิจารณาสำหรับไทยและกัมพูชาคือ เมื่ออ้างเขตไหล่ทวีปทับซ้อนกันจะทำอย่างไร ความจริงสองประเทศรู้ปัญหาเรื่องนี้ตั้งแต่ก่อนการประกาศเขตไหล่ทวีปเสียอีก กล่าวคือปรากฏว่าเคยมีการหารือเรื่องนี้ในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2513คิดแล้วเป็นเวลา 2-3ปี ก่อนที่สองประเทศจะประกาศเขตไหล่ทวีปของตัวเองเสียด้วยซ้ำไป แต่การเจรจาครั้งนั้นไม่เป็นผล หลังจากนั้นไทยและมาเลเซียได้ดำเนินการและประสบผลสำเร็จในการจัดการเขตทับ ซ้อนทางทะเลโดยการทำเป็นเขตพัฒนาร่วม (joint development area – JDA) ฝ่ายไทยตั้งแต่สมัยพลเอกชาติชาย ชุณหะวัน ก็พยายามผลักดันให้ทำแบบเดียวกันกัมพูชาบ้าง แต่เนื่องจากสถานการณ์การเมืองภายในของกัมพูชาไม่เอื้ออำนวย แม้หลังจากการสิ้นสุดปัญหากัมพูชาแล้ว มีการเจรจาระหว่างไทยและกัมพูชาในปัญหานี้ช่วงปี 2537-2538 ก็ไม่ประสบผลสำเร็จ ล่วงเลยมากระทั่งสมัยรัฐบาลชวน หลีกภัย ครั้งที่สองคือประมาณปี 2543รัฐบาลได้ส่งพลเอกมงคล อัมพรพิศิษฎ์ ผู้บัญชาการทหารสูงสุดไปหารือนอกรอบกับกัมพูชาเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลและนำ ไปสู่การประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส ที่ชะอำ เพชรบุรี เมื่อวันที่ 5ตุลาคม พ.ศ. 2543แต่ยังไม่ได้ดำเนินการอะไรรัฐบาลชวน2ก็หมดอายุไปเสียก่อน ดูเหมือนมีการเปิดเผยข้อมูล (ซึ่งก็ไม่ได้ลับอะไร) นี้กันในสภามาหลายครั้งแล้ว
- สมัยรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ -
รัฐบาลภายใต้การนำของทักษิณ ชินวัตร เข้ามาในปี 2544 ก็ดำเนินการสานต่อแนวทางที่รัฐบาลชวนดำเนินการไว้ มีการประชุมเจ้าหน้าที่ อาวุโสในเดือนเมษายน 2544 และสุดท้ายนำไปสู่การทำบันทึกความเข้าใจในวันที่ 18มิถุนายน 2544 ในบันทึกความเข้าใจนั้นกำหนดว่า รัฐบาลสองประเทศได้กำหนดพื้นที่อ้างสิทธิในเขตทับซ้อนทางทะเลที่จะต้องเจรจา เพื่อแบ่งเขตสำหรับทะเลอาณาเขตและเขตเศรษฐกิจจำเพาะในพื้นที่ซึ่งอยู่เหนือ เส้นละติจูด 11องศาเหนือขึ้นไปจนถึงเส้นที่กัมพูชาอ้างและส่วนที่อยู่ใต้เส้นนี้ลงไปก็ ให้ทำเป็นเขตพัฒนาร่วม
คำถามสำคัญคือ ทำไมต้องเส้น11องศาเหนือ ทำไมไม่เอาต่ำกว่านั้น คำตอบคือเส้นนี้มาจากการประนีประนอมในการเจรจา กล่าวคือข้อเสนอเดิมของไทยนั้นให้กำหนดเขตไหล่ทวีปตั้งแต่หลักเขตที่ 73 ตรงแหลมสารพัดพิษไปจนบรรจบเส้นเขตแดนทางทะเลไทยเวียดนาม แล้วแบ่งกันเด็ดขาดไปเลยจะดีกว่า กัมพูชาเห็นว่าการเจรจาแบ่งเขตแบบเด็ดขาดนั้นคงใช้เวลานานมาก กัมพูชาอยากจะแสวงประโยชน์จากทรัพยากรทางทะเลก่อน จึงเสนอว่าทำเขตพัฒนาร่วมดีกว่า ก็เลยหาจุดประนีประนอมด้วยการเอาเส้นละติจูดดังกล่าวเป็นเกณฑ์ดังนั้นก็จะมี พื้นที่ 2ใน 3เป็นพื้นที่พัฒนาร่วมส่วนที่เหลืออีกหนึ่งส่วนให้แบ่งทะเลอาณาเขตและเขต เศรษฐกิจจำเพาะไปเลย ส่วนที่ว่าแบ่งแบบนี้แล้วเป็นธรรมหรือไม่ หรือใครจะได้ประโยชน์มากกว่าใคร คงจะเถียงกันได้เรื่อยๆ แต่ก็ยังไม่มีความพยายามที่จะขยับหรือเปลี่ยนแปลงเส้นแนวการแบ่งนับตั้งแต่ ตกลงกันเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน
หลังจากการลงนามในปี 2544 แล้วทำอะไรกันบ้าง กัมพูชานั้นไม่สนใจการแบ่งเขตไหล่ทวีปเท่าใดนักเมื่อเปรียบเทียบกับความสนใจ ที่จะพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนร่วมกัน (อาจจะรู้ว่าพื้นที่เหนือเส้น 11องศาเหนือไม่มีทรัพยากรมากก็เป็นได้) เพราะต้องการขุดทรัพยากรมาใช้และขาย ซึ่งการขายนั้นคงจะขายให้ไทยเป็นหลักเพราะมีความต้องการมากกว่าด้วย ส่วนไทยนั้นก็อยากได้ทรัพยากรพอๆกับอยากจะแบ่งเขตทางทะเล ปัญหาที่เกิดตามมาคือจะแบ่งปันผลประโยชน์จากการพัฒนาร่วมอย่างไร สูตร 50:50ที่ไทยและมาเลเซียเคยใช้นั้นไม่เป็นธรรมเพราะปัจจุบันสองฝ่ายรู้แล้ว ว่าพื้นที่ซึ่งมีทรัพยากรนั้นไม่ได้อยู่ตรงกลาง มีบางส่วนชิดไปทางฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งมากกว่า ดังนั้นจึงมีการเสนอหลักการว่า ถ้าอยู่ใกล้ฝั่งใดให้ฝั่งนั้นได้ประโยชน์มากกว่าที่ผ่านมามีการเสนอสูตรใน การแบ่งผลประโยชน์หลายสูตรตั้งแต่ 60:40, 80:20หรือแม้แต่ 90:10 ก็มี แต่ทั้งหมดนั้นก็ยังไม่สามารถตกลงอะไรกันได้ ระหว่างที่ยังตกลงอะไรกันไม่ได้นั้น มีความเปลี่ยนแปลงเล็กน้อยในองค์ประกอบของคณะกรรมการร่วมคือ มีการเพิ่มคณะอนุกรรมการทางเทคนิค 3คณะ และในเดือนกุมภาพันธ์ 2548 ฝ่ายไทยได้เปลี่ยนตัวประธานกรรมการ่วมจากรัฐมนตรีต่างประเทศเป็น รัฐมนตรีพลังงาน มีการส่งเอกสารไปมาระหว่างสองฝ่าย แต่ยังไม่มีการประชุมร่วมจนกระทั่งเกิดความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองหลังการ รัฐประหารในเดือนกันยายน พ.ศ. 2549ความพยายามและการดำเนินการในเรื่องเขตทับซ้อนทางทะเลก็หยุดชะงักลง
- สมัยรัฐบาลพลเอกสุรยุทธ์ –
ในรัฐบาล พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ตามมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 16 มกราคม 2550 ออกสัมปทาน แหล่งน้ำมัน “นงเยาว์” ที่บริษัทกลุ่มมูบาดาลา ได้รับสิทธิการผลิตอยู่ในแปลง G11/48 ซึ่งเป็นแปลงสัมปทานที่ออกเมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 2550 โดยขณะนั้นมี ดร.ปิยะสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
- สมัยรัฐบาลของนายสมัคร -
“นพดล ปัทมะ” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ อดีตทนายความ และโฆษกประจำตัวของ “ทักษิณ” ไปลงนามเมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2551 เพื่อยอมรับคำแถลงการณ์ร่วมไทย-กัมพูชาสนับสนุนให้กัมพูชาจดทะเบียนปราสาท เขาพระวิหารเป็นมรดกโลก จนอาจทำให้ประเทศไทยเสียดินแดน กลายเป็นข้อสงสัยว่าทำเพื่ออะไร
ก่อนลงนามเพียง 1 เดือน พล.อ.เตีย บัน รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม กัมพูชา ออกมาให้สัมภาษณ์สื่อมวลชนไทยว่า “ทักษิณ” จะลงทุนธุรกิจพลังงาน เช่น น้ำมัน ก๊าซธรรมชาติในกัมพูชา โดยเฉพาะการเช่า เกาะกง ซึ่งมีรีสอร์ตดังอย่าง “สีหนุวิลล์” เป็นจุดขาย หลังจากที่ได้หารือกับสมเด็จฮุนเซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชาเรียบร้อยแล้ว
“พลเอกเตีย บัน” ยังบอกด้วยว่า เรื่องธุรกิจน้ำมันและก๊าซ เป็นเรื่องที่จะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งชาวกัมพูชา ยังคงต้องซื้อน้ำมันในราคาที่แพง และทำให้ค่าครองชีพสูง แต่ทุกคนก็ต้องเผชิญปัญหานี้ต่อไป ตราบใดที่กัมพูชายังไม่สามารถขุดน้ำมันและก๊าซธรรมชาติมาใช้ได้ในระยะอัน ใกล้
- สมัยรัฐบาลนายสมชาย -
สมัยรัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ นายกรัฐมนตรี โดยรัฐสภาไทยได้มีการประชุมลับ และลงมติเรื่องกรอบการเจรจาระหว่างไทย-กัมพูชา ให้รับรอง MOU 2543 และ TOR 2546 ซึ่งมีการระบุว่าการเจรจา การสำรวจและปักปันเขตแดนให้เป็นไปตามมาตราส่วน 1 : 200,000 ซึ่งเป็นแผนที่ซึ่งฝรั่งเศสจัดทำขึ้นเองเพียงฝ่ายเดียว โดยสมาชิกรัฐสภา (ฝ่ายค้าน รัฐบาล และวุฒิสภา) ลงมติเห็นชอบด้วยเสียงข้างมากด้วยคะแนนเสียง 406 ต่อ 8 งดออกเสียง 2 คน ไม่เว้นแม้แต่อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ผู้นำฝ่ายค้านที่ลงมติ เห็นชอบ กับวาระดังกล่าวด้วยความสัมพันธ์ที่แนบแน่นของสมชายกับกัมพูชา เห็นได้จากการเปิดถนนหมายเลข 48 และสะพาน 4 แห่ง เชื่อม จ.ตราด-เกาะกง เมื่อวันที่ 14 พ.ค. 2551 จึงปรากฏร่างของสมชายทั้งที่ไม่ได้กำกับดูแลกระทรวงการต่างประเทศ
- สมัยรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ -
เดือนเมษายน 2554 ฮุนเซนกล่าวในการระหว่างพิธีมอบปริญญาบัตรผู้สำเร็จการศึกษาจากมหาวิทยาลัยการจัดการ ที่ศูนย์ประชุมและแสดงสินค้าเกาะเพชร กัมพูชา ว่า “นายสุเทพมากัมพูชาสามครั้ง เขาคงลืมไป ครั้งแรกในเดือนเมษาฯ ตอนนั้นมาไกล่เกลี่ยเพื่อรับรองให้ผมไปพัทยาร่วมการประชุมอาเซียน หลังจากมีเรื่องในสภาไทยที่กษิต ภิรมย์ เรียกผมว่าเป็นนักเลง ต่อมาก็มีทำหนังสือขอโทษ ภายหลังนายสุเทพก็มากัมพูชาอีกพร้อมกับรัฐมนตรีกลาโหม แล้วก็ได้มีการหารือเรื่องนั้นเรื่องนี้ โดยไม่ได้พูดถึงเรื่องน้ำมันเลย วันที่ 27 มิถุนายน ภริยาผมทำอาหารเลี้ยงส่วนตัวคือทำแกงเลียง ให้เขารับประทาน หากแต่เรื่องที่แปลกคือ นายสุเทพได้เอาเอกสารแผนที่เกี่ยวกับบล็อคน้ำมันในทะเลมาด้วย แล้วเขาได้แจ้งว่า อภิสิทธิ์ได้แต่งตั้งเขาให้มาเจรจากับสมเด็จฯ ให้เสร็จภายในสมัยของนายกรัฐมนตรีอภิสิทธิ์ ดังนั้น เขาไม่ต้องการเจรจากับรองนายกรัฐมนตรี ซก อาน เขาต้องการเป็นคู่เจรจากับฮุนเซนเท่านั้น” ฮุนเซน กล่าวต่อว่า “ผมได้แจ้งกลับไปว่า ผมมีรองนายกรัฐมนตรีที่รับผิดชอบเจรจาเรื่องนี้ ไม่สามารถเป็นคู่เจรจากับ ฯพณฯ ได้” พร้อมกล่าวต่อว่า “สุเทพต้องการยกตัวให้เสมอกับฮุน เซน เรื่องการเจรจาบนพื้นที่ทางทะเล ซึ่งการเจรจาเบื้องต้นได้เกิดขึ้นที่ตาเคมา จ.กัณดาล ที่ตอนนั้น เราได้ต้อนรับเขาด้วยแกงเลียง แล้วก็ขณะที่มาพบนั้นไม่มีประเด็นอื่นอีก การเจรจาลับเริ่มต้นจากตาเคมา ส่วนการเจรจาที่ฮ่องกงและที่คุนหมิง ประเทศจีน เป็นเรื่องถัดมา”
- สมัยรัฐบาลนางสาวยิ่งลักษณ์ -
เดือนสิงหาคม พ.ศ. 2550 มีข่าวเรื่อง ทักษิณ จะเดินทางไป กัมพูชา เพื่อพบฮุนเซน นายกฯกัมพูชา และ พลเอก เตีย บัญ รองนายกฯและรมว.กลาโหมกัมพูชา และจะมีการนำนักธุรกิจ นักลงทุนต่างประเทศ ประชุมเกี่ยวกับธุรกิจพลังงานในกัมพูชา และจะช่วยรัฐบาลไทย เจรจากับกัมพูชา เพื่อร่วมกันพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล ไทย-กัมพูชา บริเวณอ่าวไทย ในรูปแบบรัฐต่อรัฐ เพื่อให้ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซึ่งมี กระทรวงการคลัง เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เข้าไปลงทุนร่วมกับกัมพูชา โดยมอบหมายให้ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.คลังขณะนั้น สานต่อโครงการนี้ทันที รวมถึงการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อน ระหว่างไทย-กัมพูชา ที่เป็นแหล่งปิโตรเลียมสำคัญ
ทั้งนี้ที่ผ่านมา ได้มีการเจรจาจนใกล้สำเร็จแล้ว โดยจะแบ่งพื้นที่ทับซ้อน 26,000 ตร.กม. ออกเป็น 3 พื้นที่ แต่ยังไม่ทราบว่า ปริมาณสำรองที่แท้จริงมีเท่าใด แม้ทางกัมพูชา จะคาดว่ามีประมาณ 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต ก็ตาม แต่คาดว่าจะเป็นพื้นที่ ที่มีศักยภาพเพราะใกล้แหล่งเอราวัณของไทย โดยแนวทางการบริหารพื้นที่ เพื่อแบ่งผลประโยชน์ระหว่างกัน สามารถดำเนินการได้หลายรูปแบบ เช่น การแบ่งพื้นที่ฝ่ายละครึ่ง หรือ จัดตั้งบริษัทร่วมขึ้นมาบริหาร
นายเกา คิม ฮอร์น เจ้าหน้าที่ระดับสูง กระทรวงต่างประเทศกัมพูชา ได้แจ้งต่อบริษัทว่า รัฐบาลไทยและกัมพูชา เกือบได้ข้อยุติในเรื่องนี้ ไม่นานนักก่อนรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ จะถูกขับพ้นจากการเป็นรัฐบาล นายเกา กล่าวว่า ทั้งสองฝ่ายเห็นพ้องกัน ในหลักการแบ่งรายได้ ดังนี้ พื้นที่ใกล้ไทยมากที่สุด ไทยได้ 80% กัมพูชา 20% ส่วนพื้นที่ตรงกลางแบ่ง 50%-50% และพื้นที่ใกล้ฝั่งกัมพูชา ไทยได้ 20% กัมพูชา 80% ในเวลานั้น เขาคิดว่า ถ้ามีเวลาในการเจรจาเพิ่มเติมอีก 6 เดือน ก็น่าจะตกลงกันได้
- รัฐบาลพลเอกประยุทธ์ -
ต้นกันยายน 2557 พล.อ.ธนะศักดิ์ ปฎิมาประกร รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงต่างประเทศ และผู้บัญชาการทหารสูงสุด (ผบ.สส.) เป็นหัวหน้าคณะเร่งรีบเดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ ตามคำเชิญของสมเด็จฮุนเซ็น นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ซึ่งการเดินทางเยือนครั้งนี้มีหลายหน่วยงานร่วมคณะไปด้วย เช่น กระทรวงพลังงาน กระทรวงพาณิชย์
นายครุจิต นาครทรรพ อธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กล่าวว่า การเยือนกัมพูชาครั้งนี้เป็นการร่วมคณะกับรองนายกรัฐมนตรี มีหลายหน่วยงานร่วมเดินทางไปด้วย เน้นการหารือด้านความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ยังไม่มีการหารือปัญหาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยและกัมพูชา
"เวทีเจรจาลักษณะนี้ ไม่ได้พูดคุยลงรายละเอียดอะไร จึงไม่มีการหารือเรื่องพื้นที่ทับซ้อน"
ทั้ง นี้ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติเตรียมงานที่จะเสนอนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานไว้แล้ว โดยการจัดหาแหล่งปิโตรเลียมมี 3 เรื่อง คือ การหาข้อตกลงร่วมกับกัมพูชา ในการสำรวจและพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมพื้นที่ไหล่ทวีปทับซ้อน การประกาศให้สัมปทานปิโตรเลียมในไทยรอบที่ 21 ครอบคลุมพื้นที่สัมปทานเก่าภาคอีสานและอ่าวไทย ที่มีการคืนพื้นที่สัมปทานก่อนหน้านี้
และการต่ออายุสัมปทานแหล่งผลิตก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ 2 แหล่ง คือ แหล่งเอราวัณและแหล่งบงกช ที่เชฟรอน และ ปตท.ถือสัมปานอยู่ และหมดอายุในปี 2565
ส่วนนายณรงค์ชัย อัครเศรณี รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เปิดแผน สร้างความมั่นคงด้านพลังงาน ทั้งด้านการพัฒนาแหล่งพลังงาน การผลิตไฟฟ้า และความร่วมมือกับประเทศเพื่อนบ้าน โดยจะดำเนินการให้แล้วเสร็จในปี 2558 ตามระยะเวลาการบริหารประเทศของรัฐบาล โดยเฉพาะการเจรจากับกัมพูชาพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เพื่อพัฒนาแหล่งปิโตรเลียม
กระทรวงพลังงานจะมีการเร่งเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบใหม่รอบที่ 21 ให้ได้ภายในสิ้นปี 2557 นี้ รวมไปถึงการบริหารจัดการในแปลงสัมปทานที่จะหมดอายุ นอกจากนี้ จะมีการเจรจาพัฒนาความร่วมมือด้านพลังงานกับประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่งจะเน้นที่ประเทศพม่าและกัมพูชาเป็นหลัก โดยในวันที่ 9-10 ต.ค.นี้ ที่ พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี จะเดินทางไปประเทศพม่า เพื่อหารือการพัฒนาศักยภาพการผลิตกระแสไฟฟ้าร่วมกันในอนาคต รวมทั้งความร่วมมือในการปรับปรุงโรงกลั่นน้ำมัน เนื่องจากไทยมีหน่วยงานที่มีศักยภาพเช่น บริษัท ปตท. ซึ่งมีความรู้ความสามารถในเรื่องดังกล่าวเป็นอย่างดี
นายณรงค์ชัย กล่าวว่าความร่วมมือกับประเทศกัมพูชา จะมีการเจรจาเรื่องการพัฒนาพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลให้แล้วเสร็จ เพื่อพัฒนาแหล่งปิโตรเลียมในทะเลต่อไป โดยจะมีการตั้งคณะทำงานด้านพลังงาน ร่วมกันระหว่างกระทรวงพลังงานของไทยและกัมพูชา
‪#‎ปล‬. การปิโตรเลียมแห่งชาติกัมพูชา เร่งจัดตั้งบริษัทขึ้นมาร่วมทุนกับกลุ่มบริษัทพลังงานยักษ์ใหญ่จากสหรัฐ อเมริกา เพื่อขุดค้นน้ำมันและก๊าซธรรมชาติในอ่าวไทย เพื่อนำมาใช้ประโยชน์ให้ได้ภายในปี 2012 และ เร่งเซ็นสัญญากับญี่ปุ่น สร้างโรงกลั่นน้ำมันแห่งแรกในประเทศ เพื่อใช้น้ำมันหยดแรก ในปี 2012 ซึ่งเป็นปีที่มีการเฉลิมฉลองการครองอำนาจ 36 ปีของนายกฯฮุนเซน
บริษัทร่วมทุน กัมพูชา ประกอบด้วย กลุ่ม Chevron Corp บริษัทพลังงานยักษ์ ใหญ่จากสหรัฐอเมริกา โดย Chevron Corp ตั้งบริษัทร่วมทุนกับ กลุ่ม Mitsui จากญี่ปุ่น และกลุ่ม GS Caltex จากเกาหลีใต้ เพื่อสำรวจหาแหล่งน้ำมัน และแก๊สธรรมชาติในเขตน่านน้ำของกัมพูชานับตั้งแต่ปี 2545
เซฟรอน นักผลาญพล่าทรัพยากร สัญชาติอเมริกาจะเป็นบริษัทผูกขาดรายเดียวที่จะสามารถเข้าขุดน้ำมันได้แต่ เพียงรายเดียว และขณะนี้ เซฟรอน ได้สัมปทานจากรัฐบาลไทยไปทั้ง 15 แปลงแล้ว (หรืออาจมากกว่านี้) และฝั่ง กพช. เชฟรอน ได้เข้าดำเนินการสำรวจและขุดเจาะในพื้นที่ 1.2 ล้านเอเคอร์ (4,709 ตารางกิโลเมตร) ในบล็อก เอ ในอ่าวไทย ซึ่งเมื่อปี 2553 และคาดว่ารัฐบาลกัมพูชาจะอนุมัติสัมปทานระยะเวลา 30 ปี

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น