คำถวายฎีกา
แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราชแห่งบรมราชจักรีวงศ์ สถาบันพระมหากษัตริย์ไทย ประมุขแห่งราชอาณาจักรไทย และจอมทัพไทย
โดย..สภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติ พรรคองค์การนำใหม่ประชาชนปฏิวัติสันติ(พรรคตามธรรมชาติ) สภาบันปฏิวัติสันติพุทธอหิงสาธรรมประเสริฐ ทรัพย์สุนทร คณะธรรมยาตรากอบกู้รักษาผืนแผ่นดินไทยในกรณีเขาพระวิหาร-มณฑลบูรพา ขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติ แนวทาง ร.๕ ร.๖ ร.๗ นโยบาย ๖๖/๒๓
เลขที่ ๒๒๑ หมู่ ๔ บ้านโศกขามป้อม ต.ภูผาหมอก อ.กันทรลักษ์ จ.ศรีสะเกษ โทร. ๐๘๙-๘๘๖-๐๘๖๘
-----------------------------------------------------------------------------------------------

ขอเดชะ ใต้ฝ่าละอองธุลีพระบาทปกเกล้าปกกระหม่อม
เรื่อง การสูญเสียแผ่นดินเข้าพระวิหารและมณฑลบูรพา พร้อมทั้งการกอบกู้
ข้าพเจ้าทั้งหลาย ในฐานะปวงชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของประเทศ และผู้เป็นพสกนิกรที่จงรักษ์ภักดีต่อสถาบันพระมหากษัตริย์ไทยแห่งทศพิธราชธรรมตลอดมาและตลอดไป และสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณพระบรมเดชานุภาพ พระบารมีปกเกล้าฯ อันยิ่งใหญ่แผ่ไพศาล เป็นล้นพ้น ขอพระบรมราชานุญาตทูลเกล้าถวายฎีกาเพื่อทรงพระกรุณาทราบ ว่าด้วยปัญหาการสูญเสียแผ่นดินเขาพระวิหารและมณฑลบูรพาพร้อมทั้งการกอบกู้ อันเป็นไปตามพระราชปณิธานที่เป็นพระบรมราชโองการอันยิ่งใหญ่ว่า.. “ในรัชกาลของข้าพเจ้าจะไม่ให้เสียแผ่นดินแม้แต่ตารางนิ้วเดียว” ที่เป็นไปตามพระปฐมบรมราชโองการอันลือลั่นไปทั่วโลกว่า.. “เราจะครองแผ่นดินโดยธรรม เพื่อประโยชน์สุขแห่งมหาชนชาวสยาม” และทรงมีพระบรมราชวินิจฉัยในฐานะประมุขแห่งรัฐ(Head of State) และจอมทัพไทย(Generalissimo) ซึ่งองค์รัฎฐาธิปัตย์(The Sovereign)เพื่อทรงมีพระบรมราชโองการหรือมีพระราชดำริตามพระราชวินิจฉัย ควรมิควรประการใดแล้วแต่จะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ตามพระราชอำนาจอันชอบธรรมศักดิ์สิทธ์(Righteousness) และหน้าที่พระราชภารกิจอย่างอันสูงสุดในแผ่นดินนี้ เพื่อพิทักษ์รักษาความมั่นคงแห่งชาติราชอาณาจักรไทย และความปลอดภัยของปวงชนชาวไทยอันเป็นกฎหมายสูงสุด(Supreme Law)ที่ไม่มีกฎหมายใดแม้แต่กฎหมายรัฐธรรมนูญซึ่งเป็นกฎหมายหลัก(Principle Law)ก็ไม่อาจจะขัดหรือแย้งได้อย่างสิ้นเชิงถ้าขัดหรือแย้งย่อมเป็นโมฆะตามหลักนิติธรรม(Rule of Law) ซึ่งข้าพเจ้าทั้งหลาย ได้เคยยื่นคำถวายฏีกาในเรื่องนี้ครั้งหนึ่งแล้วเมื่อวันที่ ๑๘ มีนาคม พุทธศักราช ๒๕๕๖ ในนามของ.. “คณะธรรมยาตรากอบกู้รักษาผืนแผ่นดินไทยในกรณีเขาพระวิหาร-มณฑลบูรพา” และขอพระบรมราชานุญาตถวายคำฎีกาอีกครั้งหนึ่งเพิ่มเติมให้ทันต่อสถานการณ์ปัจจุบัน ดังความที่จะกราบบังคมทูล ต่อไปนี้...
๑. ขอพระบรมราชานุญาต อ้างถึงหนังสือพิมพ์ ASTV ผู้จัดการออนไลน์ วันที่ ๑๖ กรกฎาคม พุทธศักราช ๒๕๕๘ ที่ได้พาดหัวข่าวว่า.. “เขมรงัดอีกไม้ ขอยืมแผนที่จากยูเอ็น สหรัฐฯ ฝรั่งเศส อังกฤษ ยืนยันเขตแดนสางพิพาทกับไทย-เวียดนาม” โดยมีเนื้อข่าวโดยสรุปว่า.. “โฆษกกระทรวงการต่างประเทศกัมพูชา กอย เกือง แถลงก่อนหน้านั้นว่า กัมพูชายังไม่ลืมคำตัดสินของศาลโลก และจะต้องดำเนินการตามคำสั่งของศาลยุติระหว่างประเทศ แต่ที่ต้องหยุดชะงักลงไปก็เนื่องจากสถานการณ์ทางการเมืองของไทยที่ไม่ปกติ นายเกือง การที่ศาลโลกสั่งให้ไทยต้องถอนทหารออกจากพื้นที่ที่กลายเป็น “เขตปลอดทหาร” นั้น เป็นการยืนยันให้เห็นว่า พื้นที่รอบๆ ปราสาทพระวิหารทั้งหมดเป็นของกัมพูชา” ตามลิงก์ดังต่อไปนี้... http://www.manager.co.th/IndoChina/ViewNews.aspx?NewsID=9580000080688
ได้เป็นที่ปรากฏชัดแล้วว่า รัฐบาลของระบอบเผด็จการรัฐสภา ได้ทำให้เสียแผ่นดินรอบๆ ปราสาทพระวิหาร และแผ่นดินทั้งบนบกและในทะเลอ่าวไทยจำนวนมาก ตามคำตีความคดีปราสาทพระวิหาร พ.ศ. ๒๕๐๕ ของศาลโลก เมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน พุทธศักราช ๒๕๕๖ โดยรัฐบาลของระบอบเผด็จการรัฐสภาดังกล่าวไม่ได้แสดงความรับผิดชอบ แก้ไขจากแพ้แก้ให้เป็นชนะ หรือไม่ได้สงวนสิทธิ์ในการต่อสู้ใหม่ของไทยไว้เลยแม้แต่นิดเดียว แต่ยังยอมรับความพ่ายแพ้ ยอมยกแผ่นดินไทยให้แก่ต่างชาติโดยดุษฎี ขัดอย่างร้ายแรงต่อพระบรมราชโองการอันยิ่งใหญ่และศักดิ์สิทธิ์ว่า.. “ในรัชกาลของข้าพเจ้าจะไม่ให้เสียแผ่นดินแม้แต่ตารางนิ้วเดียว” และต่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. ๒๕๕๐ โดยเฉพาะมาตรา ๑ “ประเทศเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียวจะแบ่งแยกไม่ได้” อีกทั้งขัดต่อเจตจำนงแห่งชาติของประชาชนไทยและกองทัพไทยที่รักชาติรักแผ่นดินเหนือชีวิตอย่างสิ้นเชิง(Self-Determination of thai people & Royal Thai Army) อีกทั้งขัดต่อพระบรมราชโองการของบูรพมหากษัตริย์ไทยทุกพระองค์ และขัดต่อเจตจำนงของบรรพบุรุษไทยที่ก่อตั้งชาติก่อตั้งแผ่นดิน และเสียสละชีวิตเลือดเนื้อพิทักษ์ปกป้องและกอบกู้แผ่นดินไทยไว้ให้ลูกหลานเหลนไทยตลอดมาและตลอดไป
๒. ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช รัชกาลที่ ๙ แห่งบรมราชจักรีวงศ์นั้น ได้เกิดเสมือนว่าจะสูญเสียแผ่นดินครั้งหนึ่ง ในกรณีคดีปราสาทพระวิหาร ที่ประเทศกัมพูชาได้ยืนฟ้องต่อศาลโลกเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ ว่าปราสาทพระวิหารและแผ่นดินเขาพระวิหารเป็นของกัมพูชา ฝ่ายได้โดยรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ได้แต่งตั้งให้ ม.ร.ว.เสณีย์ ปราโมช เป็นหัวหน้าคณะทนายฝ่ายได้เพื่อไปทำการต่อสู้ให้ชนะในศาลโลก แต่คณะทนายฝ่ายได้ชุดดังกล่าว ไม่ได้ฟ้องศาลโลกว่าสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๗ ที่เป็นสัญญารุกรานของลัทธิล่าอาณานิคม ที่ฝ่ายกัมพูชานำขึ้นฟ้องต่อศาลโลกนั้นเป็นโมฆะ ไม่ชอบธรรม และถูกยกเลิกไปแล้วโดอนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. ๑๙๔๑ เพราะข้อตกลงวอชิงตัน(Washington Accord) ค.ศ. ๑๙๔๖ เป็นโมฆะเพราะไม่ได้รับสัตยาบันจากรัฐสภาของไทยไม่มีผลผูกพันธ์ประเทศไทยแต่อย่างใดทั้งสิ้น อีกทั้งยังถูกบีบบังคับอย่างช่อฉลจากฝรั่งเศสอีกด้วย และขัดต่อสนธิสัญญา Entente cordiale ค.ศ. ๑๙๐๔ และขัดต่อกฎบัตรสหประชาชาติและขัดต่อธรรมนูญของศาลโลกเอง เพราะสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๗ เกิดจากการใช้กำลังบังคับของฝรั่งเศสต่อประเทศสยาม(ไทย) ที่ใช้เรือรบ ๒ – ๓ บุกเข้าแม่น้ำเจ้าพระยา อันเป็นการรุกรานอธิปไตยของไทย เมื่อ ร.ศ. ๑๑๒ และบีบบังคับให้ฝ่ายไทยจ่ายค่าปรับ ๓ ล้านฟรังซ์ให้แก่ฝรั่งเศส และเข้ายึดจันทรบุรีเพื่อบีบบังคับให้ไทยยอมเอาดินแดนลาวฝั่งขวามาแลกคืน และยึดตราดเพื่อบีบบังคับให้ไทยยอมเอาดินแดนเขมรในมาแลกคืน (เอาดินแดนของไทยแลกดินแดนของไทย) โดยบังคับให้ไทยทำ.. “สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๗” ซึ่งขัดต่อหลักธรรมเนียมประเพณีกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎหมายระหว่างประเทศสมัยใหม่(The Customary Rule of International Law & Modern International Law) ที่เป็นข้อห้ามสูงสุด(Juscogen) คือ ห้ามใช้กำลังแพร่เข้าไปยึดเอาแผ่นดินประเทศอื่น แม้จะมีกติกาสัญญากันไว้ก็เป็นโมฆะไม่มีผลบังคับแต่อย่างใดทั้งสิ้น
เมื่อคณะทนายฝ่ายไทยไม่ยกอนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. ๑๙๔๑ และฟ้องให้สนธิสัญญารุกราน(Aggressive Treaty) คือ สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๗ ให้เป็นโมฆะใช้ไม่ได้ในศาลโลกแล้ว จึงสาเหตุที่ทำให้ฝ่ายไทยพ่ายแพ้แก่ฝ่ายกัมพูชา ศาลโลกจึงตัดสินพิพากษาให้ปราสาทพระวิหารเป็นอธิปไตยของกัมพูชา เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๕ แต่ฝ่ายไทยไม่ยอมรับจึงได้.. “สงวนสิทธิ์ที่จะต่อสู้พิทักษ์ปกป้องเขาพระวิหารไว้ต่อไป ยังไม่ยอมแพ้หรือยังไม่ยอมยกแผ่นดินให้แก่กัมพูชาแต่อย่างใดทั้งสิ้น” โดย พ.อ.ถนัด คอมันต์ อดีตรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศของไทย ดังนั้น จึงยังไม่อาจจะสรุปไปได้อย่างเด็ดขาดเบ็ดเสร็จสิ้นเชิงว่า.. “ไทยเสียแผ่นดินเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา” ดังนั้น จึงสรุปได้ว่า.. “ไทยยังไม่เสียแผ่นดินเขาพระวิหารให้แก่กัมพูชา” ฉะนั้น ในรัชกาลของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ รัชกาลที่ ๙ ก็ยังไม่เสียแผ่นดินไทยแม้แต่ตารางนิ้วเดียว ไทยก็ไม่เคยยกเลิกการสงวนสิทธิ์ดังกล่าวเลยตั้งแต่บัดนี้มาจนถึงรัฐบาลยิ่งลักษณ์ รัฐบาลไม่ได้ยกเอาสิทธิ์ที่ไทยสงวนไว้นั้นขึ้นมาต่อสู้เอาเขาพระวิหารคืน แต่กลับยอมรับว่าปราสาทพระวิหารเป็นของกัมพูชา และยอมรับสนธิสัญญารุกราน คือ “สนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๗” ว่าเป็นสัญญาที่ถูกต้องชอบธรรมเช่นเดียวกับรัฐบาลก่อนๆ ไม่ฟ้องยกเลิกสนธิสัญญารุกรานฉบับนี้ แม้ว่าจะมีขบวนการประชาธิปไตยแห่งชาติตามแนวทางประชาธิปไตยของ ร.๕ ร.๖ ร.๗ และนโยบาย ๖๖/๒๓ ในนาม.. “คณะธรรมยาตรากอบกู้รักษาผืนแผ่นดินไทยในกรณีเขาพระวิหาร-มณฑลบูรพา” ได้ยื่นหนังหลายฉบับถึงรัฐบาล และถึงกระทรวงการต่างประเทศและทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องในขณะนั้น ให้ฟ้องโมฆะสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๗ และใช้อนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. ๑๙๔๑ ขึ้นสู่ในศาลโลกจึงจะมีชัยชนะรักษาแผ่นดินเขาพระวิหารและปราสาทพระวิหารไว้ได้ อีกทั้งยังสามารถกอบกู้.. “ดินแดนมณฑลบูรพา ๔ จังหวัด คือ จังหวัดพระตะบอง จังหวัดพิบูลสงคราม จังหวัดนครจำปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง รวมเนื้อที่ทั้งหมด ๖๙,๐๒๙ ตารางกิโลเมตร” คืนมาเป็นของราชอาณาจักรไทยเช่นเดิมได้อีกด้วย แต่รัฐบาลยิ่งลักษณ์ก็ไม่ยอมดำเนินการให้ถูกต้องดังกล่าว จึงเป็นเหตุให้ไทยแพ้กัมพูชา และเสียแผ่นรอบปราสาทพระวิหารและเสียปราสาทพระวิหารให้แก่กัมพูชา และยังเสียแผ่นดินบริเวณตะเข็บขายแดนไทย-กัมพูชาประมาณ ๑,๘๐๐,๐๐๐ ไร่ และพื้นที่ในอ่าวไทยประมาณ ๑๗,๐๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร อีกทั้งยังทำให้เสียการกอบกู้ดินแดนมณฑลบูรพา ๔ จังหวัด จำนวน ๖๙,๐๒๙ ตารางกิโลเมตร ไปอีกอย่างน่าเสียดายยิ่ง
๓. แต่ไทยยังไม่เสียแผ่นดินที่กล่าวข้างต้นให้แก่กัมพูชาเป็นการถาวร ยังสามารถกอบกู้กลับคืนได้อย่างสันติและถูกกฎหมายระหว่างประเทศ และกฎบัตรสหประชาชาติ และธรรมนูญศาลโลกทุกประการ คือ...
- ดินแดนตัวปราสาทพระวิหาร
- แผ่นดินโดยรอบปราสาทพระวิหาร และ พื้นที่ ๔.๖ ตารางกิโลเมตร
- แผ่นดินตลอดตะเข็บชายแดนไทย-กัมพูชา ๑,๘๐๐,๐๐๐ ไร่
- พื้นที่ในทะเลอ่าวไทย ๑๗,๐๐๐,๐๐๐ ตารางกิโลเมตร ที่มีก๊าซธรรมชาติมหาศาล
- ดินแดนมณฑลบูรพา ๔ จังหวัด ๖๙,๐๒๙ ตารางกิโลเมตร
เพราะฝ่ายไทยโดยรัฐบาลเฉพาะกาลประชาธิปไตย และรัฐสภาประชาชนประชาธิปไตย ในระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง จะสามารถต่อสู้กอบกู้แผ่นดินเอาชนะต่อต่างชาติอย่างสันติวิธีในแผ่นดินที่ไทยเสมือนจะสูญเสียไปดังกล่าวข้างต้นทั้ง ๕ ส่วน และยังจะได้เงินค่าปรับ ๓ ล้านฟรังซ์คูณด้วยอัตราเงินเฟ้อและดอกเบี้ยกว่าร้อยปี ได้เกียรติ์ได้ศักดิศรีของไทย ได้เอกราชไทยสมบูรณ์ ได้สันติภาพถาวรไทย-กัมพูชา ภูมิภาคและโลก
รัฐบาล(Administrative) ของระบอบเผด็จการรัฐสภานั้น ย่อมไม่อาจจะสามารถต่อสู้กอบกู้พิทักษ์ปกป้องรักษาแผ่นดินไทยได้ เพราะระบอบเผด็จการรัฐสภา หรือ อำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อย นั้นมีความอ่อนแอเกินกว่าจะต่อสู้กอบกู้พิทักษ์ปกป้องรักษาแผ่นดินไทยได้เลย เพราะเป็นระบอบที่เสื่อมโทรมผุกร่อนชราภาพ เพราะเป็นอำนาจที่อ่อนแอเสื่อมโทรมสุดขีด อีกทั้งยังเป็นเหตุให้.. “อธิปไตยของชาติอ่อนแอตามไปด้วย” อธิปไตยของไทยจึงไม่เข้มแข็ง ไม่อาจจะต่อสู้ปกป้องเอาชนะต่อการแผ่อิทธิพลแทรกแซงรุกรานของต่างชาติได้เลยแม้แต่น้อย จึงกล่าวโดยสรุปดังนี้
- อธิปไตยของชาติอ่อนแอ..เพราะเป็น..อธิปไตยของชาติที่อยู่บนพื้นฐานของอธิปไตยของส่วนน้อย หรือ อยู่ภายใต้ระบอบเผด็จการรัฐสภา
- อธิปไตยของประชาชนอ่อนแอ..เพราะเป็น..อธิปไตยของคนส่วนน้อย หรือระบอบเผด็จการรัฐสภา
แต่เราสามารถจะทำให้อธิปไตยของชาติเข้มแข็งได้ สามารถต่อสู้เอาชนะการแทรกแซงรุกร่านแผ่อิทธิพลครอบงำของต่างชาติได้ และสามารถกอบกู้แผ่นดินไทยกลับคืน ทำให้เอกราชสมบูรณ์ได้ โดย...
... “ทำให้อธิปไตยของชาติเข้มแข็ง..โดย..เปลี่ยนอำนาจอธิปไตยของคนส่วนน้อย..มาเป็น..อำนาจอธิปไตยของปวงชน..หรือ..เปลี่ยนระบอบเผด็จการรัฐสภา..มาเป็น..ระบอบประชาธิปไตยที่แท้จริง” โดยการจัดตั้ง.. “การปกครองเฉพาะกาล”(Provisional Government) เพื่อเปลี่ยนผ่านประเทศไทยไปสู่การปกครองแบบประชาธิปไตยที่แท้จริงสมบูรณ์ แล้วรัฐบาลและสภาเฉพาะกาลสร้างประชาธิปไตยดังกล่าวนี้ใช้อนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. ๑๙๔๑ (ละทิ้งสนธิสัญญาสยาม-ฝรั่งเศส ค.ศ. ๑๙๐๔ – ๑๙๐๗) เข้าทำการต่อสู้กอบกู้พิทักษ์รักษาแผ่นดินเขาพระวิหารและมณฑลบูรพาให้บรรลุความสำเร็จต่อไปอย่างสันติและถูกกฎหมายระหว่างประเทศต่อไป
๔. การปกครองเฉพาะกาล(Provisional Government) ซึ่งเป็นการปกครองชนิดพิเศษตามอุดมการณ์ลัทธิประชาธิปไตย(Democracy) ไม่ใช่รัฐบาลและรัฐสภาตามอุดมการณ์ลัทธิรัฐธรรมนูญอันเป็นลัทธิเผด็จการที่ทำกันล้มเหลวมาโดยตลอด ที่จะเข้ามาทำภารกิจในระยะเปลี่ยนผ่าน คือ “สร้างประชาธิปไตย” โดยจัดตั้งสภาและรัฐบาลชนิดพิเศษที่มีความเข้มแข็งเป็นพิเศษ ดังต่อไปนี้ คือ...
- มีสภาประชาธิปไตยแห่งชาติ หรือ สภาประชาชนสร้างประชาธิปไตยแห่งชาติ สภาประชาชนปฏิวัติสันติแห่งชาติ (สภาปฏิวัติแห่งชาติ) ที่ประกอบด้วยผู้แทนของปวงชนชาวไทยอย่างทั่วถึงและกว้างขวางที่สุดทั้งประเทศรวมประมาณ ๓ – ๕ พันคน คือ มีผู้แทนเขตอำเภอละ ๑ คน และผู้แทนอาชีพอำเภอละ ๑ คน เป็นต้น นี่คือ รูปธรรมที่ทำให้อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน(Sovereignty of the people)ด้านผู้แทน(Representative) อันเป็นบุคคล(Person) เช่น เป็นไปตามแบบอย่างของ.. “สภากรรมการองคมนตรีของ ร.๗” ตามทฤษฎีอำนาจรัฐคู่แบบประชาธิปไตย(Democratic Dual Power) เพื่อทำหน้าที่โอนอำนาจไปสู่ประชาชนอย่างสันติ
- มีรัฐบาลเฉพาะกาลสร้างประชาธิปไตย ที่มีนโยบายสร้างประชาธิปไต