เปิดเผยแก่ประชาชนเรื่อง พลังงาน และ ปตท ตอนที่ 1 - 5
By Thirachai Phuvanatnaranubala 6-18 พ.ย.57
https://www.facebook.com/thirachai.phuvanatnaranubala…#
ประเด็น: ในปี 2544 ที่มีการแปรรูป ปตท นั้น มีการตั้งราคาหุ้นเริ่มขายในตลาดหลักทรัพย์ ต่ำมาก และหลังจากนั้น ราคาหุ้นก็ได้พุ่งขึ้นไปสูงมาก มีข้อสงสัยว่า นักการเมือง ข้าราชการ และผู้บริหาร ได้ประโยชน์ส่วนตัวหรือไม่
(1) ใครเป็นผู้ได้รับการจัดสรรหุ้น
(2) เหตุใดจึงตั้งราคาเริ่มขายต่ำ
(3) ปตท ลงบัญชีประโยชน์จากการใช้สาธารณะสมบัติโดยไม่จ่ายค่าตอบแทน ลงบัญชีเป็นรายได้และกำไรแต่ละปีหรือไม่ เท่าใด
(4) ประโยชน์จากการใช้สาธารณะสมบัติโดยไม่จ่ายค่าตอบแทน มีผลทำให้ราคาหุ้นสูงขึ้นหรือไม่ เท่าใด
(5) การไม่คืนสาธารณะสมบัติ เป็นแผนการเพื่อให้ราคาหุ้น ปตท พุ่งขึ้นสูงหรือไม่
ประเด็น: ตั้งแต่ปี 2544 ปตท ไม่ได้คืนสาธารณะสมบัติ จนกระทั่งศาลปกครองสูงสุดพิพากษาวันที่ 14 ธันวาคม 2550 ให้แบ่งแยกทรัพย์สิน ภายหลัง ปตท โอนระบบท่อคืน 16,176.22 ล้านบาท
(6) กรรมการ ปตท ในช่วงเวลาที่ไม่ได้คืนสาธารณะสมบัติเป็นใคร
(7) กรรมการทราบ แต่ละเลยหรือไม่ว่า ปตท มีหน้าที่ต้องคืนสาธารณะสมบัติ
(8) ปตท มีรายได้จากระบบท่อขนส่งปิโตรเลียมแต่ละปี เท่าใด สำหรับส่วนที่โอนไปแล้ว 16,176.22 ล้านบาท กับส่วนที่ยังไม่ได้โอนอีก 32,613.45 ล้านบาท
(9) บริษัทเอกชนอื่นที่ขุดปิโตรเลียมในอ่าวไทย และเชื่อมท่อกับระบบที่ ปตท เอกชนต้องจ่ายเงินในการร่วมใช้ท่อหรือไม่ เท่าใด ใครเป็นผู้รับเงินดังกล่าว
(10) กระทรวงพลังงานแน่ใจได้อย่างไรว่าไม่มีการโกงตัวเลขการผลิต เพราะระบบท่อไม่อยู่ในควบคุมตรงโดยกระทรวงพลังงาน
ประเด็น: วันที่ 17 ธันวาคม 2550 นายปิยสวัสดิ์ในฐานะรัฐมนตรีพลังงาน เสนอเรื่องเข้า ครม ว่าทรัพย์สินที่ต้องแบ่งตามคำวินิจฉัยของศาล มีประมาณ 15,139 ล้านบาท ครม มิได้อนุมัติตัวเลขนี้ แต่มีมติให้ สตง ตรวจสอบและรับรองความถูกต้อง
(11) ข้าราชการที่พิจารณาเรื่องนี้เป็นใคร ใช้หลักคำนวนอย่างไร ลำเอียงให้ประโยชน์แก่ ปตท เกินควรหรือไม่
(12) บุคคลที่เกี่ยวข้องในการเสนอเรื่องดังกล่าว ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือใม่
ประเด็น: วันที่ 18 ธันวาคม 2550 ปตท มีหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ แจ้งมูลค่าทรัพย์สินที่จะแยกประมาณ 15,139 ล้านบาท แต่ระบุด้วยว่า “จะได้มีการสอบทานโดย สตง ต่อไป”
(13) ปตท ใช้หลักคำนวนอย่างไร ลำเอียงให้ประโยชน์แก่ตนเองเกินควรหรือไม่
(14) ทั้งๆ ที่ ปตท ยืนยันในหนังสือถึงตลาดหลักทรัพย์ ว่า"จะได้มีการสอบทานโดย สตง ต่อไป" ต่อมาในวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ที่ ปตท ยื่นคำร้องต่อศาล เหตุใด ปตท จึงได้ละเว้นข้อมูลรายงาน สตง วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ออกจากข้อมูลที่แจ้งศาล
ประเด็น: สตง ส่งรายงานวันที่ 10 ตุลาคม 2551 แก่ ปตท แจ้งว่า ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน
(15) สตง พิจารณาอย่างไรว่า ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน
(16) ผู้บริหาร ปตท ได้เสนอรายงานนี้แก่คณะกรรมการ ปตท หรือไม่
(17) คณะกรรมการ ปตท ที่รับทราบเรื่องนี้เป็นใคร ละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร
ประเด็น: ปตท ยื่นคำร้องวันที่ 25 ธันวาคม 2551 ต่อศาลปกครองสูงสุด แจ้งการแยกทรัพย์สิน อ้างว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ร่วมกัน ตุลาการคนเดียวได้เขียนลายมือบันทึกไว้วันที่ 26 ธันวาคม 2551 ว่าบริษัทได้ดำเนินการตามคำพิพากษาเรียบร้อยแล้ว
(18) ใครเป็นผู้เสนอเรื่อง และอนุมัติ ให้ ปตท ไม่มีการแจ้งแก่ศาล รายงาน สตง วันที่ 10 ตุลาคม 2551 ว่า ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน
(19) เหตุผลที่ ปตท ไม่แจ้งแก่ศาล ก็เพราะรายงาน สตง วันที่ 10 ตุลาคม 2551 แถลงว่า ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบถ้วน หรือไม่
(20) ข้าราชการที่ ปตท อ้างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายนั้น เป็นใคร และเอกสารการพิจารณาภายในแต่ละส่วนราชการมีเหตุผลอย่างไร
(21) ข้าราชการดังกล่าว และกรรมการผู้บริหาร ปตท ทราบหรือไม่ว่า ครม มีมติให้ สตง ตรวจสอบและรับรอง
(22) ข้าราชการเหล่านี้ ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือใม่
(23) กฎระเบียบศาลปกครองกำหนดให้การพิจารณาคดี ต้องทำเป็นองค์คณะหรือไม่
(24) หากต้องเป็นองค์คณะ การบันทึกดังกล่าวโดยตุลาการคนเดียวมีผลตามกฎหมายหรือไม่
(25) หากต้องเป็นองค์คณะ องค์กรด้านบริหารของศาลได้รับทราบและดำเนินการเรื่องนี้อย่างไร หรือไม่
ประเด็น: สตง มีหนังสือวันที่ 26 ธันวาคม 2551 ถึง ปตท นำส่งรายงานว่า ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ
(26) ได้มีการเสนอหนังสือ สตง นี้ แก่คณะกรรมการ ปตท หรือไม่ กรรมการละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร
(27) เหตุใด ปตท จึงไม่นำข้อมูลในหนังสือ สตง วันที่ 26 ธันวาคม 2551 กลับไปแจ้งศาล ทั้งที่เป็นเงื่อนไขที่ ครม กำหนด
(28) กรรมการ ปตท ทราบหรือไม่ ว่า ปตท ไม่ได้กลับไปแจ้งศาลให้ทราบรายงาน สตง และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร
ประเด็น: ปตท มีหนังสือวันที่ 21 มกราคม 2552 ถึง สตง แจ้งถึงการบันทึกลายมือของศาลวันที่ 26 ธันวาคม 2551 แต่ สตง ก็ทำหนังสือวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2552 ถึง ครม (ก) แจ้งว่า ปตท ยังโอนทรัพย์สินไม่ครบ และ (ข) ย้ำว่าถึงแม้ ปตท ได้รับรายงานจาก สตง วันที่ 26 ธันวาคม 2551 ซึ่งเป็นหลังวันที่ ปตท ยื่นคำร้องต่อศาลก็ตาม ปตท ก็จะต้องนำเสนอรายงาน สตง กลับไปแจ้งให้ศาลด้วย
(29) สตง ได้เห็นการบันทึกลายมือของศาลก่อนที่ สตง จะทำหนังสือถึง ครม หรือไม่
(30) การที่ สตง ทำหนังสือถึง ครม แสดงว่า สตง เห็นว่าการบันทึกลายมือดังกล่าว ยังไม่เป็นข้อยุติหรือไม่
(31) รัฐมนตรีและข้าราชการกระทรวงคลัง และกระทรวงพลังงาน ภายหลังได้รับทราบข้อเท็จจริงดังกล่าวจาก สตง ได้ละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร เกี่ยวกับการโอนทรัพย์สินไม่ครบ
(32) และได้ละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร เกี่ยวกับข้อสังเกตว่า ปตท จะต้องนำเสนอรายงาน สตง กลับไปแจ้งให้ศาล
ประเด็น: ระหว่างเดือนมีนาคม ถึงพฤษภาคม 2553 ทั้งกระทรวงการคลังและกระทรวงพลังงานแจ้ง ครม ว่า ปตท ได้คืนทรัพย์สินครบแล้ว แต่ สตง ได้มีหนังสือวันที่ 11 สิงหาคม 2553 ถึงประธานวุฒิสภา ว่า ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ และต่อมาแจ้งเช่นเดียวกันแก่ปลัดกระทรวงการคลังวันที่ 2 พฤษภาคม 2554 และแก่ประธานรัฐสภาวันที่ 6 พฤษภาคม 2554
(33) ข้าราชการกระทรวงคลังและกระทรวงพลังงานที่พิจารณาเรื่อง ที่แจ้ง ครม ว่าปตท ได้คืนทรัพย์สินครบแล้วนั้น เป็นใคร
(34) บุคคลเหล่านี้ ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือใม่
(35) บุคคลเหล่านี้ทราบหรือไม่ ว่า ครม มีมติให้ สตง ตรวจสอบรับรอง และทราบหรือไม่ว่า สตง รายงานว่ายังคือทรัพย์สินไม่ครบ
(36) ถึงแม้ทั้งสองกระทรวงได้แจ้ง ครม ไปแล้ว เหตุใด สตง จึงยังมีหนังสืออีก 2 ฉบับ แจ้งว่า ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ
ประเด็น: วันที่ 4 กันยายน 2557 ผู้ตรวจการแผ่นดินได้มีหนังสือตอบผู้ร้องเรียนสรุปว่า
(ก) การกล่าวอ้างของ ปตท ต่อศาล (ในคำร้องวันที่ 25 ธันวาคม 2551) ที่ว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้ดำเนินการตามคำพิพากษาครบถ้วนแล้ว นั้น เป็นการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาล ที่ส่งผลต่อการพิจารณาของศาล (ข) ปตท ยังคืนทรัพย์สินไม่ครบ (ค) ผู้ที่เข้าข่ายละเลยไม่ปฏิบัติหน้าที่มี กระทรวงการคลัง กระทรวงพลังงาน และ ปตท (ง) ผู้ตรวจการแผ่นดินได้เสนอความเห็นเหล่านี้ต่อรองหัวหน้า คสช
(37) ผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาจำนวนทรัพย์สินที่พึงจะคืนอย่างไร
(38) คสช ทราบเรื่องการรายงานที่เป็นเท็จต่อศาลหรือไม่ และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการเพื่อเอาผิดลงโทษหรือไม่ เพราะเหตุใด
(39) คสช ทราบเรื่องที่ ปตท คืนทรัพย์สินไม่ครบหรือไม่ และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการเพื่อให้โอนครบหรือไม่ เพราะเหตุใด
(40) ผู้ที่เกี่ยวข้องในขบวนการพิจารณาของ คสช มีผู้ใดเคยได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือใม่
ประเด็น: ในฐานะอดีตรัฐมนตรีคลัง ผมได้ทำจดหมายเปิดผนึกวันที่ 22 กันยายน 2557 ถึงรัฐมนตรีคลังปัจจุบัน ให้ทราบเรื่องเหล่านี้
(41) รัฐมนตรีคลังปัจจุบันได้รับทราบเรื่องนี้หรือไม่ และได้ดำเนินการอย่างไร
(42) ข้าราชการกระทรวงคลังและกระทรวงพลังงานที่เกี่ยวข้อง ได้รับทราบเรื่องนี้หรือไม่ และได้ดำเนินการอย่างไร
(43) บุคคลเหล่านี้ เคยได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือใม่
(44) กรรมการ ปตท ได้ทราบเรื่องนี้หรือไม่ และละเลยหรือไม่ หรือดำเนินการอย่างไร
ประเด็น: ข้อมูลทางบัญชี ปตท ยอมรับอยู่แล้วหรือไม่ ว่าระบบท่อมิใช่ทรัพย์สินของตน แต่เป็นสาธารณะสมบัติ
(45) ปตท เคยบันทึกบัญชีระบบท่อเป็นทรัพย์สินของตนเองหรือไม่ เมื่อใด
(46) ประโยชน์ที่เกิดขึ้นจากระบบท่อ ทั้งประโยชน์ทางตรงและทางอ้อม ปตท บันทึกบัญชีเป็นรายได้ของ ปตท หรือไม่ แต่ละปีเท่าใด
(47) รายได้ดังกล่าว เกิดขึ้นจากทรัพย์สิน ที่บันทึกอยู่ในบัญชีของ ปตท หรือไม่
(48) หากรายได้เกิดจากทรัพย์สิน ที่มิได้บันทึกอยู่ในบัญชีของ ปตท แสดงว่าเป็นลาภที่ไม่ควรได้หรือไม่ หาก ปตท เห็นว่าระบบท่อเป็นทรัพย์สินของ ปตท โดยชอบธรรม เหตุใดจึงไม่บันทึกอยู่ในบัญชี ปตท
(49) กรณีที่ ปตท ไม่บันทึกบัญชีระบบท่อเป็นทรัพย์สิน ซึ่งเป็นเครื่องชี้ได้ทางหนึ่งว่า ปตท ตระหนักว่าเป็นสาธารณะสมบัติ เหตุใด ปตท จึงไม่เสนอจ่ายค่าตอบแทน ที่เป็นธรรม ให้แก่รัฐ
ประเด็น: กองทุนน้ำมันมีเงินรับและเงินจ่าย ที่พัวพันกับ ปตท จำนวนสูงมาก หรือที่ผ่านบัญชี ปตท หรือที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของ ปตท กองทุนดังกล่าวอาจจะเป็นกองทุนที่ผิดกฎหมายหรือไม่ และเป็นช่องโหว่ ที่เปิดให้บุคคลบางกลุ่มเข้ามาหาประโยชน์ส่วนตนโดยมิชอบผ่าน ปตท หรือไม่
(50) ตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ ว่าการจัดตั้งกองทุนจะต้องทำในรูป พรบ ถามว่ากองทุนน้ำมัน ได้จัดตั้งขึ้นในรูป พรบ หรือไม่
(51) กองทุนน้ำมันจ่ายเงินชดเชยให้แก่บริษัทเอกชนต่างๆ ที่ผ่านบัญชี ปตท หรือที่เกี่ยวเนื่องกับกิจกรรมของ ปตท โดยตรงโดยอ้อม แต่ละปีโดยรวมเป็นเงินเท่าใด
(52) บริษัทเอกชนเหล่านี้ ชื่ออะไร และใครเป็นผู้ถือหุ้น ทั้งทางตรง และทางอ้อมผ่านศูนย์ฟอกเงินในต่างประเทศ
(53) บริษัทเอกชนเหล่านี้ แต่ละบริษัท ได้รับเงินไปปีละเท่าไหร่ และเนื่องจากเหตุใด
ประเด็น: สัมปทานปิโตรเลียมมีผลได้ผลเสียแก่กลุ่ม ปตท อย่างมาก และเป็นผลประโยชน์ไปถึงรุ่นลูกหลาน ประเทศไทยไม่ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ยืนยันจะใช้แต่ระบบสัมปทาน ซึ่งขบวนการพิจารณาสัมปทานนั้น ไม่มีการประมูลแข่งขันกัน จริงหรือไม่
(54) ในปี 2556 กลุ่ม ปตท มีกำไรจาก ปตท สผ. คิดเป็นสัดส่วนสูงถึงร้อยละ 74 ของกำไรทั้งหมด จริงหรือไม่
(55) กำไรปี 2556 ของ ปตท สผ. เกิดจากสัมปทานในประเทศไทยสัดส่วนเท่าใด
หากสัดส่วนนี้สูง แสดงว่ากำไรส่วนใหญ่ของกลุ่ม ปตท ได้มาจากสัมปทานในประเทศไทย จริงหรือไม่ หากสัดส่วนนี้สูง แสดงว่าการพิจารณาสัมปทานรอบที่ 21 ที่จะเกิดขึ้นต่อไป จะมีผลอย่างมาก ต่อโอกาสทำกำไรของกลุ่ม ปตท ในอนาคต จริงหรือไม่
(56) ในระบบสัมปทาน ข้าราชการกระทรวงพลังงานเป็นผู้พิจารณาคัดเลือกผู้ชนะกันเองภายในกระทรวง ก่อนเสนอ ครม ใช่หรือไม่
(57 ในการเปิดเชิญชวน ให้เอกชนยื่นขอสำรวจนั้น มีประเทศอื่นๆ กี่ประเทศ ที่รัฐบาลจะทำการขุดเจาะสำรวจเองเบื้องต้นเล็กน้อยไว้ก่อน เพื่อเป็นข้อมูลจูงใจแก่ผู้ยื่น
(58) ที่ผ่านมา รัฐบาลไทยขุดเจาะสำรวจเองเบื้องต้น ก่อนเปิดเชิญชวน หรือไม่
(59) หากไม่ขุดสำรวจเบื้องต้น รัฐบาลไทยใช้ข้อมูลหรือวิธีการใด ที่จะจูงใจ เพื่อแสดงศักยภาพปิโตรเลียมในประเทศไทย และกระตุ้นให้มีผู้ยื่นความจำนง
(60) การที่กระทรวงพลังงานไม่เสนอให้รัฐบาลขุดสำรวจเบื้องต้น เพื่อให้มีข้อมูลแสดงศักยภาพปิโตรเลียมของไทย เข้าข่ายการละเลยไม่หาประโยชน์สูงสุดให้แก่ประเทศหรือไม่
(61 การให้สัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 มีแปลงสำรวจกี่แปลง ที่มีผู้ยื่นความจำนงสำหรับแปลงนั้นๆ เพียงรายเดียว คิดเป็นสัดส่วนต่อจำนวนแปลงทั้งหมดเท่าใด หากแปลงสำรวจที่มีผู้ยื่นความจำนงเพียงรายเดียว มีหลายแปลง สาเหตุเป็นเพราะรัฐบาลไทยไม่แสดงข้อมูลศักยภาพปิโตรเลียมของไทย กระตุ้นให้ผู้ยื่น หรือไม่
(62) ในรอบที่ 19 และ 20 กรณีที่มีผู้ยื่นความจำนงเพียงรายเดียวต่อแปลง ข้าราชการและผู้ที่เกี่ยวข้องได้ดำเนินการอย่างไร เพื่อให้แน่ใจได้ว่ารัฐบาลไทยได้รับผลประโยชน์สูงสุดที่พึงได้ สำหรับแปลงนั้นๆ รัฐมนตรีพลังงานที่อนุมัติรอบที่ 19 และ 20 (นายปิยสวัสดิ์) ยืนยันหรือไม่ ว่าการให้สัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 นั้น รัฐบาลไทยได้รับผลประโยชน์สูงสุดที่พึงได้ อย่างแน่นอนแล้ว
(63) กรณีมีผู้ยื่นความจำนงเกินกว่าหนึ่งรายต่อแปลง มีการกำหนดให้ผู้ยื่นทั้งหมดต้องแข่งขันกัน เพื่อให้ประโยชน์แก่ประเทศสูงสุดอย่างโปร่งใสหรือไม่ ที่ผ่านมา ขบวนการพิจารณาคัดเลือกให้เหลือรายเดียวสำหรับแปลงนั้น ทำอย่างไร
(64) การให้สัมปทานในรอบที่ 19 และ 20 มีการเปรียบเทียบระหว่างวิธีการและจำนวนเงิน ที่ผู้ชนะแต่ละแปลง ให้ประโยชน์แก่รัฐบาลหรือไม่ หากมีแปลงใดที่สัดส่วนผลประโยชน์ต่ำกว่าแปลงอื่น เหตุใดรัฐมนตรีพลังงาน (นายปิยสวัสดิ์) จึงเลือกรายนั้นให้เป็นผู้ชนะสำหรับแปลงนั้น
(65) การมอบสิทธิทำประโยชน์ให้แก่เอกชน โดยไม่มีขบวนการประมูลนั้น มีสิ่งใดที่ยืนยันได้ ว่ารัฐบาลไทยจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดที่พึงได้
(66) ตั้งแต่มี พรบ ปิโตรเลียม ปี 2514 เป็นต้นมา รัฐบาลไทยได้รับประโยชน์แต่ละปี คิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของปิโตรเลียมที่ผลิต สัดส่วนดังกล่าว ในช่วงก่อนแปรรูป เปรียบเทียบกับหลังแปรรูป แตกต่างกันอย่างใด
(67) และสัดส่วนดังกล่าว เปรียบเทียบกับรัฐบาลประเทศเกิดใหม่อื่นๆ มีสัดส่วนเท่าใด รัฐบาลไทยได้น้อยกว่า หรือมากกว่าประเทศอื่นๆ หรือไม่
(68) ในขบวนการพิจารณาสัมปทาน ซึ่งเน้นวิธีการเจรจาต่อรองเป็นรายกรณีนั้น ข้าราชการหรือรัฐมนตรีพลังงาน สามารถช่วยเหลือลำเอียง เพื่อผู้ยื่นบางรายเป็นพิเศษ ได้หรือไม่
(69) ในขบวนการแข่งขันเปิดประมูลแบ่งปันผลผลิต ซึ่งไม่ใช้วิธีการเจรจาต่อรองเป็นรายกรณีนั้น ข้าราชการหรือรัฐมนตรีพลังงาน สามารถช่วยเหลือลำเอียง เพื่อผู้ยื่นบางรายเป็นพิเศษ ได้หรือไม่
(70) เปรียบเทียบระหว่าง ขบวนการพิจารณาสัมปทาน กับขบวนการแข่งขันเปิดประมูลแบ่งปันผลผลิต ขบวนการใดโปร่งใสมากกว่ากัน และขบวนการใดทำให้ประชาชนมั่นใจได้มากกว่ากัน ว่ารัฐบาลไทยและประชาชนจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดที่พึงได้
(71) ประเทศเกิดใหม่ที่ใช้ขบวนการเปิดประมูลแบ่งปันผลผลิต มีทั้งหมดกี่ประเทศ หากมีจำนวนมาก เหตุใดกระทรวงพลังงานจึงปฏิเสธขบวนการนี้
(72) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการพิจารณาสัมปทานรอบที่ 19 และ 20 ก่อนหน้า หรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือไม่
(73) สำหรับรอบที่ 21 หากรัฐมนตรีพลังงานปัจจุบันใช้ขบวนการสัมปทานเหมือนเดิม รัฐมนตรีพลังงานปัจจุบันยืนยันได้หรือไม่ ว่ารัฐบาลไทยจะได้รับผลประโยชน์สูงสุดที่พึงได้ ด้วยวิธีการอย่างไร
ประเด็น: สัมปทานปิโตรเลียม มีผลได้ผลเสียแก่กลุ่ม ปตท อย่างมาก หรือไม่ มีข้อสงสัยว่า ผู้เสนออนุมัติให้สัมปทานแก่บริษัทตะวันออกกลางในรอบที่ 19 เป็นใคร ทั้งนี้ สัมปทานรอบที่ 19 ออกประกาศเชิญชวนวันที่ 20 สิงหาคม 2548 ในสมัยรัฐบาล พ.ต.ท. ทักษิณ กระบวนการพิจารณาผู้ยื่นความจำนงยังไม่ถึงให้สัมปทาน เกิดรัฐประหารในปี 2549 เสียก่อน ภายหลังตั้งรัฐบาล พล.อ. สุรยุทธ ประมาณหนึ่งเดือน มีการสางต่อเรื่องนี้ บริษัทที่ยื่นขอสัมปทาน มีบริษัทหนึ่ง (สมมุติชื่อบริษัท P O) ซึ่งเป็นของรัฐบาลประเทศตะวันออกกลางประเทศหนึ่ง หรือไม่ ผู้นำระดับสูงของประเทศตะวันออกกลางดังกล่าว มีความสัมพันธ์ไกล้ชิดกับอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่ง หรือไม่
(74) วันที่ 28 มกราคม 2549 มีแถลงข่าวใน Bloomberg ว่าบริษัทพลังงานของประเทศตะวันออกกลางประเทศหนึ่ง ได้ซื้อบริษัท (สมมุติชื่อบริษัท P O) โอนหุ้นภายในวันที่ 28 เมษายน 2549 ผู้ที่เสนอเรื่องสัมปทานรอบที่ 19 ทราบการซื้อดังกล่าว หรือไม่ ข่าวดังกล่าวเกิดประมาณ 9 เดือน ก่อนหน้าวันที่ 25 ตุลาคม 2549 ซึ่งมีการเสนอ ครม เพื่อให้สัมปทานแก่บริษัทดังกล่าว ใช่หรือไม่
(75) กลุ่มบริษัทนี้ (สมมุติชื่อบริษัท P O) และบริษัทอื่นๆ ที่ประเทศตะวันออกกลางนี้เป็นเจ้าของ มีที่ทำการหลักในกรุงเทพ ตั้งอยู่ในอาคารที่เกี่ยวข้องกับอดีตนายกรัฐมนตรีของไทยคนหนึ่ง ถึงแม้สัญญาสัมปทานระบุสถานที่อื่น หรือไม่ ผู้ที่เสนอเรื่องสัมปทานรอบที่ 19 ทราบความเกี่ยวโยงของบริษัทเหล่านี้ หรือไม่
ประเด็น: ขบวนการพิจารณาสัมปทานรอบที่ 20 มีผลได้ผลเสียแก่กลุ่ม ปตท อย่างมาก หรือไม่
มีข้อสงสัยว่า ในการให้สัมปทานรอบที่ 20 ได้มีการแก้ไขกฎหมายเพื่อเอื้อประโยชน์แก่บุคคลใด หรือไม่ ทั้งนี้ เนื่องจาก พรบ ปิโตรเลียมปี 2514 กำหนดให้ผู้รับสัมปทานแต่ละราย จะถือแปลงสำรวจได้ไม่เกิน 50,000 ตารางกิโลเมตร ต่อมาในปี 2532 แก้ไขลดลงเป็น 20,000 ตารางกิโลเมตร แต่ในเดือนตุลาคม 2550 มีการแก้ไข ยกเลิกเพดาน มีข้อสงสัยว่า มีบริษัทหนึ่ง (สมมุติชื่อบริษัท P O) ถือพื้นที่เกิน 20,000 ตารางกิโลเมตรอยู่ ก่อนจะมีการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว หรือไม่ มีข้อสงสัยว่า ภายหลังสัมปทานรอบที่ 20 บริษัทดังกล่าว (สมมุติชื่อบริษัท P O) ถือพื้นที่เพิ่มขึ้นในปี 2551 เกินกว่า 60,000 ตารางกิโลเมตร หรือไม่
(76) ก่อนการแก้ไขกฎหมาย มีบริษัทใดที่ถือพื้นที่สัมปทานทางตรงและทางอ้อม เกินกว่า 20,000 ตารางกิโลเมตร หรือไม่
(77) หากมี ข้าราชการที่เกี่ยวข้องละเลยหรือไม่ การบังคับใช้กฎหมายศักดิ์สิทธิ์หรือไม่
(78) ระหว่างปี 2549 ถึงปี 2556 มีบริษัทใดถือพื้นที่สัมปทานทางตรงและทางอ้อม เกินกว่า 20,000 ตารางกิโลเมตร หรือไม่
ประเด็น: การเปิดให้ข้าราชการที่กำกับธุรกิจพลังงาน เข้าเป็นกรรมการใน ปตท ทำให้ ปตท ได้ประโยชน์ หรือไม่ ผมมีข้อสังเกตว่า ในปี 2551 มีการแก้ไข พรบ คุณสมบัติกรรมการรัฐวิสาหกิจ มาตรา 5 เพื่อกำหนดว่า กรรมการของรัฐวิสาหกิจต้องไม่มีส่วนได้เสียเกี่ยวข้องกับกิจการของรัฐ วิสาหกิจนั้น เว้นแต่โดยการมอบหมายของรัฐวิสาหกิจนั้น
(79) ผู้ใดเป็นคนเสนอแก้ไขกฎหมายดังกล่าว
(80) บุคคลที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขกฎหมายดังกล่าว ทั้งข้าราชการและคณะรัฐมนตรี ก่อนหน้า หรือภายหลัง ได้ประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือไม่
ประเด็น: โดยทั่วไป สิทธิในการที่ประชาชนจะใช้พลังงานนั้น ควรจะเปิดเสรีตามสภาพตลาด ผู้ใดมีเงิน ก็ซื้อใช้ ไม่ควรมีการกำหนด ให้บุคคลกลุ่มหนึ่งกลุ่มใด มีอภิสิทธิใช้พลังงาน ก่อนกลุ่มอื่น เว้นแต่มีเหตุผลจำเป็น และทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์มากขึ้นอย่างเด่นชัด ดังนั้น หากมีการกำหนดกติกา ให้ธุรกิจปิโตรเคมีในกลุ่ม ปตท ได้สิทธิก่อนผู้อื่น จะทำให้ ปตท ได้ประโยชน์เกินควร หรือไม่ ผมมีข้อสังเกตว่า มีการเสนอเรื่องต่อ ครม วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 และ ครม อนุมัติให้ธุรกิจปิโตรเคมี ได้รับจัดสรรก๊าซหุงต้มไป ก่อนภาคส่วนอื่น ผมมีข้อสงสัยว่าอภิสิทธิ์ดังกล่าว เป็นต้นเหตุให้ประชาชนต้องจ่ายค่าพลังงานแพงขึ้น หรือไม่ ไม่เป็นธรรมแก่ประชาชน หรือไม่ และข้อกำหนดลักษณะนี้ ทำให้เกิดการถ่ายเทประโยชน์จากคนกลุ่มหนึ่ง ไปยังคนอีกกลุ่มหนึ่ง การถ่ายเทประโยชน์ดังกล่าว ยังไม่ปรากฏชัดว่า ทำให้ประเทศชาติได้ประโยชน์มากขึ้นชัดเจนอย่างไร
(81) ผู้ที่ได้รับประโยชน์จากสิทธิดังกล่าว เป็นของบริษัทปิโตรเคมีในกลุ่มของ ปตท สัดส่วนเท่าใดของสิทธิทั้งหมด
(82) ตั้งแต่มีมติ ครม บริษัทเหล่านี้ซื้อก๊าซไปจำนวนเท่าใด
(83) ซื้อก๊าซไปในราคาเฉลี่ยเท่าใด
(84) ถ้าหากไม่ได้สิทธิจัดสรรก่อน และหากบริษัทเหล่านี้ต้องซื้อก๊าซในราคาตลาดสากล บริษัทเหล่านี้จะต้องจ่ายเงินสูงขึ้นแต่ละปีเท่าใด
ประโยชน์ที่เกิดขึ้นนี้ ทำให้กำไรของ กลุ่ม ปตท สูงขึ้นหรือไม่ เท่าใด
(85) ตั้งแต่มีมติ ครม บริษัทปิโตรเคมีนอกกลุ่ม ปตท ต้องซื้อก๊าซกันในราคาเฉลี่ยเท่าใด แพงกว่าบริษัทปิโตรเคมีในกลุ่ม ปตท หรือไม่
(86) การจัดสรรดังกล่าว มีผลทำให้ประชาชนต้องจ่ายค่าพลังงานสูงขึ้น หรือไม่ เท่าใด
(87) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอ และการอนุมัติ มติ ครม ดังกล่าว ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้ประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือไม่
ประเด็น: สูตรราคาน้ำมัน มีผลได้ผลเสียแก่กลุ่ม ปตท อย่างมาก หรือไม่ เนื่องจาก กลุ่ม ปตท ครองตลาดในการกลั่นน้ำมันในสัดส่วนที่สูง จนอาจจะเรียกได้ว่า เป็นการผูกขาดโดยสภาพ รัฐบาลจึงต้องประกาศสูตรราคาน้ำมันเป็นประจำ เพื่อป้องกันมิให้ กลุ่ม ปตท เอาเปรียบประชาชน แต่การกำหนดสูตรดังกล่าว ถ้าหากสมมุติมีการสอดใส้ ลำเอียง ทำให้เอื้อประโยชน์แก่ กลุ่ม ปตท เกินควร ประชาชนก็จะเสียประโยน์ และจะเป็นวิธีการ ที่จะทำให้ กลุ่ม ปตท มีกำไรเพิ่มขึ้น อย่างง่ายๆ ผมมีข้อสังเกตว่า คณะกรรมการนโยบายพลังงานกำหนดสูตรราคาน้ำมัน เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2556 อาจจะให้ประโยชน์ ปตท เกินควร หรือไม่
(88) สูตรดังกล่าว กำหนดค่าตอบแทน สำหรับการปรับคุณภาพดีเซล จากยูโร 2 ให้เป็นยูโร 4 ไว้เท่าใด
(89) ในช่วงเวลาเดียวกัน ในตลาดสากล ราคาน้ำมันสองเกรดดังกล่าว แตกต่างกันเท่าใด ค่าตอบแทนที่กำหนดไว้ในสูตร ให้ประโยชน์แก่ กลุ่ม ปตท สูงกว่าตลาดสากล หรือไม่
(90) หากสูงกว่า เป็นการเอื้อประโยชน์แก่ ปตท เกินควรหรือไม่
และประโยชน์นี้ ทำให้กำไรของกลุ่ม ปตท สูงขึ้นหรือไม่
(91) ผู้ที่เกี่ยวข้องกับการเสนอ และการอนุมัติสูตรดังกล่าว ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้ประโยชน์จากกลุ่ม ปตท หรือไม่
ประเด็น: การอนุรักษ์พลังงานมีผลได้ผลเสียแก่กลุ่ม ปตท อย่างมาก หรือไม่ ผมมีข้อสังเกตว่า ปตท. มีส่วนเกี่ยวข้องกับกองทุนอนุรักษ์พลังงานหรือไม่ กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีการจ้างมูลนิธิแห่งหนึ่ง เพื่อนำเงินไปลงทุนในโครงการต่างๆ เงินค่าจ้างหลายสิบล้านบาท มีข้อสงสัยว่าข้าราชการกระทรวงพลังงานและบุคคลเกี่ยวข้องกับมูลนิธิดังกล่าว มีผลประโยชน์ทับซ้อนหรือไม่
(92) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้มีการจ้างมูลนิธิกี่แห่งมาเป็นผู้จัดการกองทุน แต่ละแห่งเป็นเงินค่าจ้างเท่าใด และมีการแบ่งปันผลกำไรระหว่างผู้จัดการกองทุนกับกระทรวงพลังงานอย่างไร
(93) ผู้ใดเป็นผู้จัดตั้งและยื่นขอจดทะเบียนมูลนิธิดังกล่าว
(94) เคยมีข้าราชการกระทรวงพลังงานเป็นกรรมการของมูลนิธิดังกล่าวหรือไม่ และข้าราชการกระทรวงพลังงานเหล่านี้ ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากกลุ่ม ปตท. หรือไม่
(95) ข้าราชการกระทรวงพลังงานที่เกี่ยวข้องกับ การเสนอ และการอนุมัติ โครงการที่นำไปสู่การจ้างมูลนิธิดังกล่าว และการอนุมัติรายชื่อมูลนิธิดังกล่าวให้เข้ามารับจ้างกองทุนเพื่อส่งเสริมอนุรักษ์พลังงาน ก่อนหน้าหรือภายหลัง ได้รับประโยชน์จากมูลนิธิดังกล่าวหรือไม่
(96) บุคคลที่ลงนามในเช็คที่ทางการสั่งจ่ายให้แก่มูลนิธิดังกล่าวเป็นใคร
(97) บุคคลที่ลงนามดังกล่าว ต่อมาได้รับประโยชน์จากมูลนิธิหรือไม่
(98) การดำเนินโครงการนี้ มีผลประโยชน์ทับซ้อนระหว่างข้าราชการกระทรวงพลังงาน กับมูลนิธิ หรือไม่
(99) ในการคัดเลือกผู้จัดการกองทุนเพื่อมาบริหารเงินกองทุนอนุรักษ์พลังงาน ใช้หลักเกณฑ์ในการคัดเลือกอย่างไร มีกระบวนการคัดเลือกที่โปร่งใสและเปิดเผยต่อสาธารณชนหรือไม่
(100) กลุ่ม ปตท เคยให้เงินสนับสนุนแก่มูลนิธิฯที่ทำหน้าที่เป็นผู้จัดการกองทุนอนุรักษ์พลังงานหรือไม่
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น