วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเปิดสัมปทานรอบที่ 21 กระทบถึง “พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา”

โดย Walwipha Charoonroj Burusratanaphand

                การเปิดสัมปทานรอบที่  21 กระทบถึง
พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ที่จะทำให้เกิดพันธะทางกฎหมายต่อประเทศไทยในเรื่องเขตแดน แม้จะอ้าง MOU 44 (ข้อตกลงว่าด้วยการแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล พ.ศ.2544) หรือ JC 44(แถลงการณ์ร่วมเพื่อการแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล  พ.ศ.2544) ว่าเป็นความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ(อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ.1969 ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา) แต่เป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดภายในประเทศของไทย (ม.227) ก่อนที่จะดำเนินการตามเจตนาข้างต้น อันยังผลให้เป็นการกระทำขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศเช่นกัน        ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาในเอกสารลายลักษณ์อักษรทั้งสองมิได้มีผลต่อการลดหย่อนผ่อนปรนหรือป้องกันผลกระทบต่อประเทศไทยในปัญหาเรื่องอธิปไตยและเขตแดนแต่อย่างใด กลับยิ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ เป็นการยอมรับการกระทำและเจตนา อันผิดแผกแตกต่างไปจากหลักการที่ประเทศของตนยึดถือและมีการปฏิเสธยืนยันอย่างต่อเนื่องตลอดมากก่อนหน้านั้น และเป็นการยอมรับสิทธิอธิปไตยและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่กัมพูชารุกล้ำดำเนินการ(การได้สัมปทานสำรวจขุดเจาะในพื้นที่ทับซ้อน) ตามหลักการที่แตกต่างโดยมิได้มีการพิจารณาเหตุผลหรือมิได้กระทำการทบทวน ตรวจสอบ แต่อย่างใด นับตั้งแต่มีการไปยอมรับในขณะนั้น จนเปลี่ยนรัฐบาลแต่ละยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน โดยไม่คำนึงถึงผลทางลบอันใดที่เกิดจากการใช้หลักการต่างกันที่จะไม่เป็นคุณต่อประเทศของตน อย่างน้อยที่เห็นอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ
            1) ขนาดของพื้นที่ (เหตุผลมาจากการใช้หลักเส้นมัธยฐาน หรือ Equidistant line ประกาศเส้นเขตแดนทางทะเล ที่ประเทศส่วนใหญ่และประเทศไทยยึดถือเป็นหลักการจัดการร่วมกันในขณะนั้น) (โปรดเปรียบเทียบดูจากภาพของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ – หลักฐานการศึกษา ของ น.อ.ศิริชัย เนยทอง ที่แนบมานี้)

                มีตัวอย่างของการขัดแย้งกันที่ปฏิเสธ Equidistant line ที่ผู้นำประเทศไทยจะปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ คือ คดีขึ้นศาลโลกของนอรเวย์-เดนมาร์ก พ.ศ. 2512  เรียกว่าคดี North Sea Continental Shelf และอีกเรื่องหนึ่งคือ  จีน-เวียดนาม ในทะเลจีนใต้ หรืออ่าวตังเกี๋ย พ.ศ. 2541 หรือรู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะสแปรตลีย์
                2) การขยายผลมาถึงการจัดการเรื่องพื้นที่หรือเขตแดนทางบก ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 1 – 73 ดังเนื้อหาในเอกสารลายลักษณ์อักษร JC 44 ข้อ 14
                (14. The two sides reaffirmed their determination to settle as soon as possible the land border demarcation in the spirit of friendship, mutual understanding and the participles of equality and good neighborliness, so as to build a borderline of lasting peace, stability and friendship between them.)
                การขยายผลจากเขตแดนทางทะเลมาถึงทางบก โดยมีกรณีคดีปราสาทพระวิหารเป็นโมเดล และนำพาประเทศไทยไปเป็นจำเลยจนถึงการไปร่วมกับรัฐบาลฮุนเซนออกแถลงการณ์ยอมทำตามคำตัดสินของศาลโลก ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไร ทำให้รัฐบาลไทยที่ผ่านมาโดยนับตั้งแต่คดีแถลงการณ์ร่วมขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของนายนพดล ปัทมะ พ.ศ.2551 ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองรับฟ้อง(เมื่อเดือน เมษายน 2556) ถูกตั้งข้อสงสัยว่าได้เข้าร่วมขบวนการกระทำทุจริตเชิงนโยบาย แม้จะยังไม่มีการสาวลึกไปถึงตัวผู้นำ แต่ทว่ากลุ่มบุคคลในระบบราชการ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัตินโยบาย   ถูกร้องเรียนจากภาคประชาชนที่มีชื่อ  ยังองค์กร สถาบัน และ หน่วยงานรักษากฎหมาย  และองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย  หลายกรณีและหลายคดี
                มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกล่าวถึงคดีที่ ความผิดสำเร็จแล้ว”  ที่มีการส่งหลักฐานฟ้องร้องเอาผิดตั้งแต่ที่ศาลอาญา  สภานิติบัญญัติ จนถึงปปช. คือกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศออกเอกสารเท็จ รายงานสถานะของรายงานเจบีซีที่มีร่างข้อตกลงชั่วคราว 6 เมษายน 2552 ว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว (หลักฐานคือเอกสารที่มีชื่อว่า ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารและการเจรจาเขตแดนไทย-กัมพูชา”, กระทรวงการต่างประเทศ,ธันวาคม 2554 ที่หน้า 33  เนื้อหาตรงข้อ 8) ที่ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และ รมว.ต่างประเทศ  ได้ตั้งใจหยิบยกขึ้นอ้างในทางเป็นคุณประโยชน์ต่อรูปคดีในศาลโลก เมื่อวันแถลงปิดคดี (ดูเอกสารแนบ)  อันเป็นเรื่องทำให้เกิดการแพ้-ชนะ ไม่พิทักษ์ปกป้อง และเป็นการกระทำการโดยเจตนาที่จะเอื้ออำนวยคุณประโยชน์ให้ฝ่ายตรงข้าม แม้จะอ้างความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีแต่อ้างไม่ถูกที่เพราะเพื่อนบ้านที่ดีนำไปอ้างบนศาล  นอกเอกสารเผยแพร่ฉบับนี้เป็นหลักฐานการกระทำผิดทั้งในและนอกราชอาณาจักร อันจะเป็นมาตรการหยุดยั้งการเปิดประมูลสัมปทานรอบที่มาได้อย่างหนักแน่นและมั่นคง
                หากคสช.เพิกเฉยต่อกระบวนการและขั้นตอนขึ้นศาลโลกจนถึงการปฏิบัติตามคำส่งศาลโลก  คสช.จะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าได้ร่วมกระบวนการแบ่งแยกทำลายบูรณภาพแห่งดินแดนไปด้วยได้ ซึ่งภาคประชาสังคมที่ได้นำชื่อส่งองค์กรระหว่างประเทศทั้ง 9 ล้านชื่อ และร้องขอตัดฟ้องคดีที่ศาลโลกไว้ คงจะไม่หยุดการทำงาน หรือเลิกอุดมการณ์ เพียงแค่ คสช.เข้ามาคืนความสุขให้ประชาชน
                การประกาศเปิดสัมปทานรอบที่ 21  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ พื้นทีทับซ้อนอย่างแน่นอน แม้ทางเอกสารของฝ่ายไทยจะสามารถระบุได้ ว่าแค่พื้นที่แปลง 10/48 และ11/48 เท่านั้น  มีเอกสารของ CNPA กัมพูชา, ขององค์กรพัฒนาภาคเอกชนระดับนานาชาติ, ของผู้ประกอบการและเกี่ยวข้อง เช่น ของเชฟรอน  ของสำนักกฎหมายระหว่างประเทศ  ที่รวบรวมมานี้นั้น เป็น หลักฐาน  อนึ่ง  ขนาดของพื้นที่ทับซ้อนในทะเล มีขนาดจริงเท่าไร ยังไม่มีการระบุแน่ชัด จะใช้ 27,000 ตร.กม. ดังแผนที่แนบ MOU 44 หรือไม่  จะใช้ขนาดใดขนาดหนึ่งของกรมอุทกศาสตร์ไทย หรือไม่  จะใช้ขนาดที่องค์กรเอกชนกล่าวถึงหรือไม่ แม้เราจะมีตัวเลขทั้งหมด แต่ไม่มีใครบอกความจริงได้  ยิ่งจะเป็นผลลบแก่ผู้ออกนโยบายเพราะจะกลายเป็นเรื่องหาผลประโยชน์มากกว่าหาแหล่งพลังงานใหม่มาทดแทน
                หลักฐานสำคัญที่อยู่ในเอกสารหน้า 33 มีเนื้อหาดังนี้
                “8. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือแจ้งให้กัมพูชาทราบถึงการมีผลใช้บังคับของการบันทึกการประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากการดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของไทยเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้มีหนังสือตอบกลับเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 รับทราบการแจ้งของฝ่ายไทย และแจ้งว่า สำหรับกัมพูชา บันทึกการประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่สิ้นสุดการประชุมเมื่อวันที่ 7 – 8 เมษายน 2552”




Walwipha Charoonroj Burusratanaphand
กว่าจะได้ความจริง ชาติและประชาชนก็สูญเสียไปมากมายและยังจะต้องสูญเสียต่อไป เมื่อนำความจริงมาตีแผ่ กลับเจอปัญหาที่เป็นสนิมฝังลึกในกมลสันดาน คือ การไม่ยอมรับข้อมูลอื่นใดที่ไม่ใช่ราชการ /ทางการ ว่าเป็นความจริง เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้เปิดเผยความจริงชุดที่ 2 ก็แล้วกัน แต่มิได้มีความหมายว่า เป็น"ความจริง"ชุดที่เป็นสองรองใคร
แนวคิดที่ขัดขวางการปฏิรูปนี้เห็นได้จากตัวอย่างของการตั้งกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปฯ แล้วกรรมการที่เกิดจากแนวคิดนี้ ก็จะเป็นผู้เลือกสรรสมาชิกสภาปฏิรูปฯต่อไป.....พวกเขาจะเลือกใครถ้าไม่ใช่ "พวกความจริงชุดที่ 1 เหมือนกัน" 55555 ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูรายชื่อผู้ที่ถูกส่งตัวมาซี ที่เห็นที่รู้ ก็เป็นพวกความจริงชุดที่ 1 อีหรอบเดิม


หนังสือเล่มนี้บรรณาธิการเรียบเรียงคือ ประสิทธิ์ ไชยชมพู
เป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลการวิจัยเรื่อง "SIA กับกรณีความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา อันเนื่องมาจากการขึ้นทะเียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา" ของสถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น