วันพุธที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2558

ภาคประชาชนจี้รัฐใช้ระบบแบ่งปันผลผลิตปิโตรเลียม เตรียมเสนอร่าง พ.ร.บ.ใหม่ทั้งฉบับใน 2 สัปดาห์

การประชุมนโยบายด้านพลังงานของประเทศ ระหว่างภาครับกับภาคประชาชน “น.ต.ประสงค์” เสนอใช้ ม.44 ปฏิรูปพลังงาน “ปานเทพ” เผยภาคประชาชนจะร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมใหม่ทั้งฉบับภายใน 2 สัปดาห์ “รสนา” จี้ทบทวนจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน ถึงเวลาต้องใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต “ม.ล.กร” แนะการตรวจสอบปิโตรเลียมรั่วไหลที่ปากหลุม ชี้รัฐไม่ทราบปริมาณชัดเจน มีผลการจัดเก็บภาคหลวง


       
       วันนี้ (8 เม.ย.) ที่ทำเนียบรัฐบาล ม.ล.ปนัดดา ดิสกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศ โดยกล่าวก่อนการประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ข้อสังเกตและขอความร่วมจากคณะทำงานชุดนี้ในการพิจารณา ในเรื่องระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบสัมปทาน หรือการแบ่งปันผลผลิต โดยให้พิจารณาเป็นเรื่องแรกและนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
       
       ด้าน น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีตรมช.ต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า ตนรู้สึกเสียใจเนื่องจากภายหลังการประชุมในครั้งแรกเมื่อวันที่ 6 มี.ค. ที่ผ่านมา แต่ข้อเสนอในการตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากภาครัฐ อย่างไรก็ตาม ตนไม่เห็นด้วยหากจะมีการแกไขกฎหมายเพียงผิวเผิน แต่จะต้องลงลึกในรายละเอียดเพื่อไม่เอื้อประโยชน์ให้ใคร ซึ่งการปฏิรูปพลังงานของ คสช. ที่ระบุว่าความคาดหวังของประชาชนเป็นสิ่งที่สังคมและภาคประชาสังคมจะต้องทำให้เกิดผล คือ การปฏิรูปพลังงานให้เกิดความโปร่งใส และจัดสรรให้แก่ภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นธรรม ปราศจากการทุจริตคอร์รัปชันจากกลุ่มทุนทั้งในและนอก จนสามารถพัฒนาให้เกิดความเจริญแก่ประเทศโดยไม่กระทบต่อประชาชนส่วนร่วม แต่ในความเป็นจริงซึ่งผ่านมาเกือบ 1 ปีกลับไม่มีความคืบหน้า จึงขอร้องให้ คสช. ใช้มาตรา 44 ดำเนินการในสิ่งที่มีการสั่งการไปแล้วแต่ไม่ได้ดำเนินการ และขอให้ปลัดกระทรวงพลังงานหรือรองปลัดหรือผู้มีอำนาจเข้าร่วมในการประชุมด้วย เพราะการทำงานกับประชาชนจะต้องเข้าถึงประชาชนเพราะ คสช. ระบุว่าจะยืนเคียงข้างประชาชน ในฐานะข้าราชการก็ต้องทำเพื่อประชาชนด้วย
       
       นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ เครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย ระบุว่า การจัดสรรทรัพยากรไม่ว่ารูปแบบใด ประชาชนจะไว้ใจก็ต่อเมื่อทรัพยากรถูกนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด จึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาทางออก ขณะเดียวกัน คสช. ก็มีข้อมูลและทราบปัญหาไม่ต่างกับเครือข่ายประชาชน จึงขอให้สร้างความมั่นคงแห่งรัฐอย่างแท้จริง กำหนดราคาที่เป็นธรรม เอกชนมีการจัดการที่เป็นธรรม คำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม จัดการโดยมีธรรมาภิบาล ซึ่งเครือข่ายภาคประชาชนจะร่าง พ.ร.บ. ปิโตรเลียมใหม่ทั้งฉบับให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และให้มีการทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ หากไม่มีข้อโต้แย้งใด รวมทั้งจะต้องมีมาตรการจัดการปิโตรเลียมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะมี พ.ร.บ. ปิโตรเลียม
       
       นอกจากนี้ จะเสนอให้รัฐต้องให้เอกชนรายอื่นสามารถสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มเติม เนื่องจากขณะนี้ ปตท. ผูกขาดการซื้อก๊าซปากหลุมจึงผูกขาดโรงแยกด้วย และใช้ก๊าซราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก ทำให้ก๊าซหุงต้มขาดแคลน จนต้องนำเข้าในราคาที่แพงขึ้น ประชาชนต้องใช้ราคาแพง ดังนั้นจึงลดการผูกขาด และการอำนาจเหนือตลาดของ ปตท. ทั้งนี้ ในระหว่างจะตั้งบรรษัทแห่งชาติ ให้มีการตั้งคณะกรรมการบริการจัดการปิโตรเลียมแห่งชาติ ประกอบด้วย ภาครัฐและประชาชน และต้องไม่มีการขัดกันของผลประโยชน์ทั้งทางตรงและทางอ้อม เพื่อให้สามารถทำได้จริง รวดเร็วมีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 44 ที่รัฐบาลแจ้งว่าจะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับการจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน
       
       นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ข้อเสนอของภาคประชาชนวันนี้ หากข้อใดที่กระทรวงพลังงานเห็นว่ายังไม่ดี ไม่เห็นด้วยหรือควรปรับปรุง ก็ขอให้ตั้งเป็นแกนไว้ และให้กระทรวงพลังงานนำเสนอข้อโต้แย้งเพื่อให้ได้ข้อยุติ และสามารถชี้แจงประชาชนได้
       
       ด้าน น.ส.รสนา โตสิตระกูล สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน กล่าวว่า การปฏิรูปพลังงานถือเป็นต้นทางในการปฏิรูปด้านอื่นๆ ด้วย ซึ่งขณะนี้สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อยู่ในขั้นตอนศึกษาและเสนอแนะ ขอให้เปิดกว้างให้ประชาชนได้เข้าไปร่วมดู ซึ่งมีการศึกษา พ.ร.บ. ฉบับเดิม ซึ่งมีหลายประเด็นที่ล้าสมัย ถ้าการยกร่างฯ มีการนำความเห็นของประชาชนไปด้วยและการยกร่างใหม่น่าจะดีกว่าการแก้ไข นอกจากนี้ ต้องทบทวนเรื่องการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และใช้การจัดเก็บภาษีในเรื่องทรัพยากรมาเป็นสวัสดิการต่างๆ ส่วนรูปแบบในการบริหารทรัพยากรนั้นก็มองว่าถึงเวลาที่จะต้องใช้รูปแบบการแบ่งปันผลผลิต ที่ผ่านมาใช้ระบบสัมปทานรัฐมีรายได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ของมูลค่าทรัพยากร โดยมีรายได้จากงบลงทุนเพียง 5 พันล้านบาท จากมูลค่าทรัพยาการถึง 5 แสนล้านบาท
       
       ม.ล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ขอเสนอให้มีการแก้ไขในเรื่องการตรวจสอบปริมาณการรั่วไหลของปิโตรเลียมบริเวณปากหลุม เนื่องจากที่ผ่านมามีการแก้ไขกฎหมายโดยตัดสาระสำคัญที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องเป็นผู้ควบคุมการตรวจสอบ แต่ขณะนี้มีการยกเลิกไปทำให้ไม่สามารถทราบถึงปริมาณที่นำออกมาอย่างชัดเจน จึงอาจทำให้ไม่เกิดความเป็นธรรมต่อภาคประชาชน และยังมีผลต่อการเก็บค่าภาคหลวงด้วย ที่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้
       
       ด้านตัวแทนกรมเชื้อเพลิงพลังงาน ชี้แจงถึงกรณีที่ระบุว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ไปร่วมตรวจสอบปริมาณปิโตรเลียมที่ปากหลุมนั้น เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบได้จากจุดอื่น ยืนยันว่าเป็นระบบตรวจสอบที่ดีกว่า
       
       นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองปลัดสำนักปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี (สปน.) กล่าวว่า หลังจากนี้จะรวบรวมข้อคิดเห็นของภาคประชาชนทั้งหมดจัดทำเป็นข้อสรุปใน 3 ส่วน ได้แก่ 1. ข้อมูลที่เป็นความเห็นของภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบแบบแผนที่กระทรวงพลังงานสามารถจะแก้ไขได้ ซึ่งจะส่งให้กระทรวงพลังงานพิจารณา 2. เรื่องเชิงนโยบานที่ต้องให้นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีพิจารณาและ 3. การแก้ไขกฎหมายซึ่งจะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา โดยทั้ง 3 ส่วนจะมีการนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีรับทราบด้วยและจะมีการชี้แจงของภาครัฐถึงความคืบหน้าในการทำงานแต่ละส่วนต่อไปให้ประชาชนรับทราบ

ASTVผู้จัดการรายวัน-"ปนัดดา" แจง "บิ๊กตู่" สั่งระดมสมองหารูปแบบจัดการทรัพยากรพลังงานของชาติ เครือข่ายประชาชน แนะงัด ม.44 มาใช้ หลังทำมาปีกว่าไม่คืบ ลั่นเดินหน้าร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมใหม่ทั้งฉบับ ก่อนทำประชาพิจารณ์ "รสนา"หนุนใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต "มล.กรกสิวัฒน์"จี้รัฐตรวจสอบการรั่วไหลที่ปากหลุม ด้านเวทีแผนผลิตไฟฟ้าใหม่ ปี 58-79 ระบุค่าไฟตลอดแผน 4.587 บาทต่อหน่วย แย้มข่าวดี ค่าไฟงวด พ.ค.-ส.ค. จ่อลด 10 สตางค์ 

       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วานนี้ (8เม.ย.) เวลา 14.00 น. ที่ทำเนียบรัฐบาล มล.ปนัดดา ดิศกุล รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุมเพื่อแลกเปลี่ยนข้อมูล ความคิดเห็นเกี่ยวกับนโยบายด้านพลังงานของประเทศ
       
       มล.ปนัดดา กล่าวก่อนการประชุมว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ให้ข้อสังเกต และขอความร่วมมือจากคณะทำงานชุดนี้ ในการพิจารณาเรื่องระบบการบริหารจัดการทรัพยากรในรูปแบบสัมปทาน หรือการแบ่งปันผลผลิต โดยให้พิจารณาเป็นเรื่องแรก และนำเสนอต่อนายกรัฐมนตรีต่อไป
       
       ***แนะ"บิ๊กตู่"งัดม.44ปฏิรูปพลังงาน 
       
       น.ต.ประสงค์ สุ่นศิริ อดีต รมช.ต่างประเทศ ในฐานะตัวแทนภาคประชาชน กล่าวว่า ตนรู้สึกเสียใจ เนื่องจากภายหลังการประชุมในครั้งแรก เมื่อวันที่ 6 มี.ค.ที่ผ่านมา ข้อเสนอในการตั้งคณะกรรมการ 3 ฝ่าย ยังไม่ได้รับการตอบสนองจากภาครัฐ โดยตนไม่เห็นด้วย หากจะมีการแก้ไขกฎหมายเพียงผิวเผิน แต่จะต้องลงลึกในรายละเอียด เพื่อไม่เอื้อประโยชน์ให้ใคร ซึ่งการปฏิรูปพลังงานของ คสช. ที่ระบุว่า ความคาดหวังของประชาชนเป็นสิ่งที่สังคมและภาคประชาสังคมจะต้องทำให้เกิดผล คือ การปฏิรูปพลังงานให้เกิดความโปร่งใส และจัดสรรให้แก่ภาคส่วนต่างๆ อย่างเป็นธรรม ปราศจากการทุจริต คอร์รัปชันจากกลุ่มทุนทั้งในและนอกประเทศ จนสามารถพัฒนาให้เกิดความเจริญแก่ประเทศ โดยไม่กระทบต่อประชาชนส่วนรวม
       
       "ในความเป็นจริง ซึ่งผ่านมาเกือบ 1 ปี กลับไม่มีความคืบหน้า จึงขอร้องให้ คสช. ใช้ มาตรา 44 ดำเนินการในสิ่งที่มีการสั่งการไปแล้ว แต่ไม่ได้ดำเนินการ และขอให้ปลัดกระทรวงพลังงาน หรือรองปลัด หรือผู้มีอำนาจเข้าร่วมในการประชุมด้วย เพราะการทำงานกับประชาชน จะต้องเข้าถึงประชาชน เพราะคสช.ระบุว่าจะยืนเคียงข้างประชาชน ในฐานะข้าราชการ ก็ต้องทำเพื่อประชาชนด้วย"
       
       ***เสนอยกร่างพ.ร.บ.ปิโตรเลียมใหม่ 
       
       นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ แกนนำเครือข่ายประชาชนปฏิรูปพลังงานไทย กล่าวว่า การจัดสรรทรัพยากรไม่ว่ารูปแบบใด ประชาชนจะไว้ใจก็ต่อเมื่อทรัพยากรถูกนำมาใช้ประโยชน์สูงสุด จึงได้ประชุมร่วมกันเพื่อหาทางออก ขณะเดียวกัน คสช. ก็มีข้อมูลและทราบปัญหาไม่ต่างกับเครือข่ายประชาชน จึงขอให้สร้างความมั่นคงแห่งรัฐอย่างแท้จริง กำหนดราคาที่เป็นธรรม เอกชนมีการจัดการที่เป็นธรรม คำนึงถึงสภาพแวดล้อมโดยให้ประชาชนมีส่วนร่วม จัดการโดยมีธรรมาภิบาล
       
       ทั้งนี้ เครือข่ายภาคประชาชน จะร่าง พ.ร.บ.ปิโตรเลียมใหม่ทั้งฉบับให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ และให้มีการทำประชาพิจารณ์ทั่วประเทศ และเห็นควรให้มีมาตรการจัดการปิโตรเลียมในช่วงเปลี่ยนผ่าน ก่อนที่จะมี พ.ร.บ.ปิโตรเลียมด้วย
       
       ขณะเดียวกัน ขอเสนอให้รัฐต้องให้เอกชนรายอื่นสามารถสร้างโรงแยกก๊าซเพิ่มเติม เนื่องจากขณะนี้ ปตท. ผูกขาดการซื้อก๊าซปากหลุม จึงผูกขาดโรงแยกก๊าซด้วย และใช้ก๊าซราคาต่ำกว่าราคาตลาดโลก ทำให้ก๊าซหุงต้มขาดแคลน จนต้องนำเข้าในราคาที่แพงขึ้น ประชาชนต้องใช้ราคาแพง ดังนั้น จึงต้องลดการผูกขาด และการใช้อำนาจเหนือตลาดของ ปตท.
       
       อย่างไรก็ตาม ในระหว่างจะตั้งบรรษัทแห่งชาติให้มีการตั้งคณะกรรมการบริการจัดการปิโตรเลียมแห่งชาติ ประกอบด้วยภาครัฐและประชาชน และต้องไม่มีการขัดกันของผลประโยชน์ทั้งทางตรง และทางอ้อม เพื่อให้สามารถทำได้จริง รวดเร็ว มีประสิทธิภาพ มีประโยชน์ต่อประเทศชาติ โดยอาศัยอำนาจตาม มาตรา 44 ที่รัฐบาลแจ้งว่าจะใช้อำนาจอย่างสร้างสรรค์ เช่นเดียวกับการจัดตั้งสถาบันการบินพลเรือน
       
       ***เปิดทางให้"พลังงาน"โต้แย้ง 
       
       นายธีระชัย ภูวนาถนรานุบาล อดีต รมว.คลัง กล่าวว่า ข้อเสนอของภาคประชาชนในวันนี้ หากข้อใดที่กระทรวงพลังงานเห็นว่ายังไม่ดี ไม่เห็นด้วย หรือควรปรับปรุง ก็ขอให้ตั้งเป็นแกนไว้ และให้กระทรวงพลังงานนำเสนอข้อโต้แย้งเพื่อให้ได้ข้อยุติและสามารถชี้แจงประชาชนได้
       
       ***แนะใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต
       
       น.ส.รสนา โตสิตระกูล สภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) ด้านพลังงาน กล่าวว่า การปฏิรูปพลังงาน ถือเป็นต้นทางในการปฏิรูปด้านอื่นๆ ซึ่งขณะนี้ สภานิติบัญญัติแห่งชาติ (สนช.) อยู่ในขั้นตอนศึกษา และเสนอแนะ ขอให้เปิดกว้างให้ประชาชนได้เข้าไปร่วมดู ซึ่งจากการศึกษา พ.ร.บ. ฉบับเดิม พบว่ามีหลายประเด็นที่ล้าสมัย ถ้าการยกร่างฯ มีการนำความเห็นของประชาชนไปใช้ด้วย และการยกร่างใหม่น่าจะดีกว่าการแก้ไข และต้องทบทวนเรื่องการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมัน และใช้การจัดเก็บภาษีในเรื่องทรัพยากรมาเป็นสวัสดิการต่างๆ
       
       ส่วนรูปแบบในการบริหารทรัพยากรนั้น มองว่าถึงเวลาที่จะต้องใช้รูปแบบการจัดสรรผลผลิต ที่ผ่านมาใช้ระบบสัมปทานรัฐมีรายได้เพียง 1 เปอร์เซ็นต์ ของมูลค่าทรัพยากร โดยมีรายได้จากงบลงทุนเพียง 5 พันล้านบาท จากมูลค่าทรัพยาการถึง 5 แสนล้านบาท
       
       ***จี้ตรวจสอบการรั่วไหลที่ปากหลุม 
       
       มล.กรกสิวัฒน์ เกษมศรี นักวิชาการอิสระ กล่าวว่า ขอเสนอให้มีการแก้ไขในเรื่องการตรวจสอบปริมาณการรั่วไหลของปิโตรเลียมบริเวณปากหลุม เนื่องจากที่ผ่านมา มีการแก้ไขกฎหมายโดยตัดสาระสำคัญที่ให้เจ้าหน้าที่ของรัฐจะต้องเป็นผู้ควบคุมการตรวจสอบ แต่ขณะนี้มีการยกเลิกไป ทำให้ไม่สามารถทราบถึงปริมาณที่นำออกมาอย่างชัดเจน จึงอาจทำให้ไม่เกิดความเป็นธรรมต่อภาคประชาชน และยังมีผลต่อการเก็บค่าภาคหลวงด้วย ที่ประชาชนไม่สามารถตรวจสอบได้
       
       ด้านตัวแทนกรมเชื้อเพลิงพลังงาน ชี้แจงถึงกรณีที่ระบุว่า ไม่มีเจ้าหน้าที่ไปร่วมตรวจสอบปริมาณปิโตรเลียมที่ปากหลุมนั้น เนื่องจากปัจจุบันมีการพัฒนาเทคโนโลยี เป็นเครื่องมือที่สามารถตรวจสอบได้จากจุดอื่น ยืนยันว่า เป็นระบบตรวจสอบที่ดีกว่า
       
       ***เตรียมรวบรวมข้อสรุปเสนอ"บิ๊กตู่" 
       
       นายจำเริญ ยุติธรรมสกุล รองปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า หลังจากนี้จะรวบรวมข้อคิดเห็นของภาคประชาชนทั้งหมด จัดทำเป็นข้อสรุปใน 3 ส่วน ได้แก่ 1.ข้อมูลที่เป็นความเห็นของภาคประชาชนที่เกี่ยวข้องกับระเบียบแบบแผนที่กระทรวงพลังงานสามารถจะแก้ไขได้ ซึ่งจะส่งให้กระทรวงพลังงานพิจารณา 2.เรื่องเชิงนโยบาย ที่ต้องให้นายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี (ครม.) พิจารณา และ 3.การแก้ไขกฎหมาย ซึ่งจะส่งให้สภานิติบัญญัติแห่งชาติพิจารณา โดยทั้ง 3 ส่วน จะมีการนำเสนอให้นายกรัฐมนตรีรับทราบด้วย และจะมีการชี้แจงของภาครัฐถึงความคืบหน้าในการทำงานแต่ละส่วนต่อไปให้ประชาชนรับทราบ
       
       ***พีดีพีใหม่ค่าไฟเฉลี่ยหน่วยละ 4.587 บาท 
       
       วันเดียวกันนี้ นายอารีพงศ์ ภู่ชอุ่ม ปลัดกระทรวงพลังงาน ได้เป็นประธานเปิดการสัมมนารับฟังความคิดเห็นกลุ่มย่อย “ร่างแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยพ.ศ.2558-2579 หรือพีดีพี 2015"
       
       นายอารีพงศ์กล่าวว่า แผนดังกล่าวจะมุ่งเน้นการบริหารเชื้อเพลิงผลิตไฟฟ้าระยะยาว เพื่อให้เกิดความมั่นคง ราคาเป็นธรรม และสามารถดูแลภาคอุตสาหกรรมให้แข่งขันทางการค้าในเวทีโลกได้ รวมถึงการคำนึงถึงสิ่งแวดล้อมด้วยการนำแผนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือก (AEDP) และแผนอนุรักษ์พลังงาน (EE) มาประกอบการจัดทำ ซึ่งทำให้เฉลี่ยทั้งแผนค่าไฟจะอยู่ที่ 4.587 บาทต่อหน่วย
       
       “ค่าไฟเฉลี่ยตลอด20 ปีจะอยู่ที่ 4.587 บาทต่อหน่วย โดยท้ายแผน คือ ปี 2579 จะอยู่ที่ 5.55 บาทต่อหน่วย ซึ่งระดับราคาดังกล่าว มั่นใจว่าจะทำให้ศักยภาพของประเทศสามารถแข่งขันได้ โดยหลังรับฟังความเห็น ก็จะเปิดประชาพิจารณ์ทั่วไปในวันที่ 28 เม.ย. และนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (กพช.) ในเดือนพ.ค.เห็นชอบต่อไป” นายอารีพงศ์กล่าว
       
       ***เปิดแผนผลิตไฟฟ้าปี2556-79 
       
       นายชวลิต พิชาลัย ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและแผนพลังงาน (สนพ.) กล่าวว่า ร่างแผนพีดีพีครั้งนี้ ถือเป็นการปรับใหญ่กว่าทุกครั้ง เนื่องจากปัจจัยเศรษฐกิจมีการเปลี่ยนแปลง โดยอัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจ (จีดีพี) เฉลี่ยปี 2556-79 เฉลี่ยอยู่ที่ 3.94% จากแผนเดิมเฉลี่ยที่ 4.41% และเป็นการเตรียมพร้อมเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (AEC) โดยกรณีฐานที่นำเอาแผนอนุรักษ์พลังงานมาพิจารณา100% ภาพรวมกำลังการผลิตไฟฟ้าสิ้นปี 2579 จะอยู่ที่ 70,410 เมกะวัตต์ แยกเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าใหม่ 57,467 เมกะวัตต์ และมีกำลังการผลิตที่ปลดออก 24,669 เมกะวัตต์ จากกำลังการผลิตสิ้นปี 2557 ซึ่งอยู่ที่ 37,612 เมกะวัตต์ โดยแยกเป็นกำลังการผลิตที่ผูกฟันแล้วและมีผลต่อความมั่นคง ปี 2558-68 กำลังการผลิตรวม 26754 เมกะวัตต์ ประกอบด้วย โรงไฟฟ้าถ่านหิน 4,365 เมกะวัตต์ (6โรง) โรงไฟฟ้าก๊าซธรรมชาติ 14,878 เมกะวัตต์ (13โรง) โคเจนเนอเรชั่น 3,695เมกะวัตต์ พลังน้ำสูบกลับ 500เมกะวัตต์ ซื้อไฟต่างประเทศ3,316เมกะวัตต์
       
       โครงการโรงไฟฟ้าใหม่ปี 2569-2579 กำลังการผลิตรวม 30,731 เมกะวัตต์ แยกเป็น โรงไฟฟ้าถ่านหินสะอาด 3,000 เมกะวัตต์ (3โรง) โรงไฟฟ้าจากก๊าซฯ 2,600 เมกะวัตต์ (2โรง) โรงไฟฟ้านิวเคลียร์ 2,000 เมกะวัตต์ท้ายแผน2 โรง โรงไฟฟ้ากังหันแก๊ส 1,250 เมกะวัตต์ (5โรง) โคเจนเนอเรชั่น 357 เมกะวัตต์ พลังงานหมุนเวียน 12,205 เมกะวัตต์ พลังน้ำสูบกลับ 1,601 เมกะวัตต์ ซื้อไฟต่างประเทศ7,700 เมกะวัตต์
       
       “แผนดังกล่าวเบื้องต้นยังไม่เลื่อนโรงไฟฟ้าของเอกชนทั้งในส่วนของ ผู้ผลิตรายเล็กหรือ SPP และรายใหญ่ IPP ทั้ง ของเนชั่นแนลพาวเวอร์ที่เดิมจะเลื่อนออกไป และของกัลฟ์ เจพี เนื่องจากรัฐมีเงื่อนไขว่าแผนเจรจาต้องไม่ขอเพิ่มค่าไฟ ส่วนพลังงานทดแทนและพลังงานทางเลือกตามเป้าหมายก็จะส่งเสริมมาก เช่นปี 2576 จะมีโรงไฟฟ้าจากหญ้าเนเปียร์ 680 เมกะวัตต์ แสงอาทิตย์ปี2561 จำนวน 6,000เมกะวัตต์ เป็นต้น”นายชวลิตกล่าว
       
       ทั้งนี้ จากแผนดังกล่าว จะทำให้สัดส่วนการใช้เชื้อเพลิงเมื่อสิ้นปี 2579 เป็นดังนี้ ได้แก่ ซื้อไฟพลังน้ำจากต่างประเทศ 15-20% จากแผนเดิมสิ้นสุดปี 2573 อยู่ที่ 7% ถ่านหินสะอาดไม่รวมลิกไนต์เป็น 20-25% จากเดิม 19% พลังงานหมุนเวียน 15-20% จากเดิม 8% ก๊าซธรรมชาติ 30-40% จากเดิม58% นิวเคลียร์ 5% จากเดิมไม่มี
       
       ***ข่าวดีค่าไฟงวดพ.ค.-ส.ค.จ่อลด10สต.
       
       แหล่งข่าวจากการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) กล่าวว่า แนวโน้มค่าไฟฟ้าผันแปรอัตโนมัติ หรือ Ftงวดใหม่ (พ.ค.-ส.ค.) มีแนวโน้มที่จะปรับลดลงเฉลี่ยอย่างต่ำ 10 สตางค์ต่อหน่วย จากภาวะอัตราแลกเปลี่ยนที่แข็งค่าและราคาก๊าซธรรมชาติที่สะท้อนจากต้นทุนราคาน้ำมันย้อนหลัง6 เดือนที่ราคาน้ำมันได้ลดต่ำลงต่อเนื่อง ทำให้ก๊าซฯ มีราคาลดลง
       
       อย่างไรก็ตาม คงจะต้องรอให้คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน (เรกูเลเตอร์) พิจารณาอย่างเป็นทางการภายในเม.ย.นี้ อีกครั้ง เนื่องจากอาจมีปัจจัยอื่นๆ เข้ามา เช่น แผนการลงทุนของ3การไฟฟ้าว่าจะมีการนำมาเกลี่ยลดหรือไม่อย่างไร
8 เม.ย. 58 เวลา 14.00-16.30 น. (ตอนที่ 1 - รูปและคลิปถ่ายทอดสด 10 คลิป) มล.ปนัดดา ดิศกุล รมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นัดประชุมหารือเพื่อแลกเปลี่ยนข้อคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ในการปฏิรูปพลังงาน ระหว่างภาครัฐกับภาคประชาชน (คปพ.) ต่อเป็นครั้งที่ 2 (ห่างกับครั้งแรก 1 เดือนเต็ม) ...ณ ห้องประชุมไกวัลวทีชั้น 1 อาคารสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี ทำนียบรัฐบาล
>> ดูคลิปที่นี่ (ขอบคุณ NEWS1 ที่ถ่ายทอดสดนะครับ)
- คลิป 1 => https://youtu.be/J7W3u_RvYqI
- คลิป 2 => https://youtu.be/cAmsHwQ6ngA
- คลิป 3 => https://youtu.be/EULlfMoTrW8
- คลิป 4 => https://youtu.be/ww2-xgleg84
- คลิป 5 => https://youtu.be/GjEpKAqdOng
- คลิป 6 => https://youtu.be/NBUJSu2ERBI
- คลิป 7 => https://youtu.be/IbbJ72x1C04
- คลิป 8 => https://youtu.be/WoVNlvBBcnw
- คลิป 9 => https://youtu.be/IbbJ72x1C04
- คลิป 10 => https://youtu.be/FJ9ad1er8Jc
>> คปพ.เคยเสนอแต่งตั้ง "คณะกรรมการร่วมภาครัฐ-ประชาชน 3 ฝ่าย" ไปยังท่านนายกฯ แต่ยังคงไม่ได้รับการอนุมัติจนบัดนี้ แต่คณะกรรมการทั้ง 3 ฝ่ายก็ประชุมทุกสัปดาห์มาตลอด 1 เดือนเต็ม และเมื่อวานก็ประชุมสรุปจนถึงตี 3 ถึงบ้านกันตี 4 และต้องเตรียมเอกสารกันต่อในวันนี้ช่วงเช้า บางท่านมาประชุมด้วยตาอันแดงก่ำเพราะอดนอน
>> มล.ปนัดดากล่าวว่า "ท่านนายกฯกำชับให้จดบันทึกให้ครบถ้วน เพราะอยากรับฟังความเห็นที่หลากหลาย"

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น