แจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ คณะกรรมการบริษัท ปตท. และพวก
วันที่ 28 มีนาคม 2555
เรื่องขอแจ้งความร้องทุกข์หรือกล่าวโทษต่อ
1. คณะกรรมการบริษัท ปตท. (รายชื่อกรรมการตามเอกสารแนบท้าย )
2. คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
3. ผู้อำนวยการสำนักนโยบาย และแผนพลังงาน
กราบเรียน ผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ
(1) ชื่อและที่อยู่ของผู้เสียหาย และเพิ่มเติมดังเอกสารแนบท้าย 1
1.1 นาย ศรัลย์ ธนากรภักดี
1.2 นายเรืองศักดิ์ เจริญผล
1.3 พ.ท.พญ.กมลพรรณ ชีวพันธ์ศรี
1.4 นอ.บัญชา รัตนาภรณ์
1.5 นายอภิเดช เดชวัฒนสกุล
(3) ชื่อหรือตำแหน่งหน้าที่ของผู้ถูกกล่าวหา
3.1 คณะกรรมการ บริษัทปตท.
3.2 คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน
3.3 ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน
(4) ข้อกล่าวหาและพฤติการณ์แห่งการกระทำผิดตามข้อกล่าวหา ความเสียหายที่ได้รับพร้อมพยานหลักฐานชัดเจนเพียงพอที่จะดำเนินการ ไต่สวนข้อเท็จจริงต่อไปได้
ผู้ร้องทุกข์กล่าวโทษ ได้รับความเสียหาย
หรืออาจจะได้รับความเสียหาย และปฏิบัติหน้าที่รักษา ผลประโยชน์ ชาติ
จากการที่ผู้ถูกกล่าวหา เป็นผู้รับผิดชอบ
ดูแลเกี่ยวกับเรื่องพลังงานของประเทศทั้งหมด เป็นเจ้าหน้าที่ ของรัฐ มีอำนาจหน้าที่ตาม รัฐธรรมนูญ และกฎหมายที่เกี่ยวข้อง กระทำการละเมิด ดังต่อไปนี้
4.1 ละเมิดคำสั่งศาล และใช้ทรัพน์สินของประชาชนมาแสวงหา
ประโยชน์ ในช่วงเวลา ตั้งแต่ วันที่ 14 ธันวาคม พศ 2550
จนถึงปัจจุบัน เหตุเกิด ณ บริษัท ปตท สำนักงานใหญ่ เลขที่ 555
ถนนวิภาวดีรังสิต แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กทม และสถานที่ที่เกี่ยวข้อง
ถูกศาลปกครองสูงสุด สั่งให้คืน. ท่อก๊าซให้แก่ แผ่นดิน ในคดี หมายเลข
คดีแดงที่ ฟ.35/2550 ตามเอกสารแนบ ….2 แต่ปรากฎว่า บริษัท ปตท
.มิได้ปฏิบัติตามคำสั่ง ศาลที่ให้คืนท่อก๊าซที่เป็น ส่วนของแผ่นดิน
ให้กับรัฐให้หมด แต่ปตท คืนเพียงบางส่วน ตามเอกสารแนบ 3
ดังหนังสือ ของสำนักงานตรวจเงินเเผ่นดิน ที่ ผลสอบของ สตง.
ระบุว่าปตท.ยังส่งคืน สมบัติแผ่นดิน ให้ กระทรวงการคลัง
ไม่ครบถ้วนตามคำพิพากษา ของศาล ปกครองสูงสุด ยังมีท่อก๊าซฯบนบก และในทะเล
มูลค่ารวม 32,613 ล้านบาท เวลาล่วงเลยมาสามปีกว่า จนถึงปัจจุบัน
ในจำนวนนี้เป็นระบบท่อส่งก๊าซฯ ที่ปรากฏชื่อโครงการในคำพิพากษาของ
ศาลปกครอง สูงสุด จำนวน 36,642.76 ล้านบาท ซึ่งบริษัทได้แบ่งแยก
และส่งมอบให้กระทรวงการคลัง จำนวน 14,808.62 ล้านบาท
คงเหลือส่วนที่บริษัทยังไม่ได้แบ่งแยกให้กระทรวงการคลัง จำนวน 21,834.14 ล้านบาท
และเมื่อวันที่ 22 เมษายน 2551 ผู้ถูกกล่าวโทษที่1-3
ร่วมกันกระทำ การละเมิด อำนาจศาล ทั้งที่รู้ว่า ท่อก๊าซ
ส่วนที่เป็นของรัฐที่ปตท จักต้องคืน ตามคำสั่งศาลปกครองสูงสุด
ทั้งยังนำเอาท่อก๊าซ ที่เป็น ทรัพย์สิน ของแผ่นดิน นำไปใช้แสวงหาประโยชน์
โดยเรียกเก็บค่า ก๊าซ ผ่านท่อ เพิ่มเติมจากเดิม ตาม หนังสือ
“คู่มือการ คำนวณ ราคาก๊าซธรรมชาติ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ ธรรมชาติ”
ที่ได้ร่วมกันจัดทำขึ้น มีผลบังคับ ใช้เมื่อ1 เมษายน 2552 ตามเอกสารแนบ
4 จากบันทึกใน “รายงานการพิจารณาศึกษา ของคณะกรรมการธิการ ศึกษา
ตรวจสอบ เรื่อง การทุกจริต และเสริมสร้างธรรมาภิบาล วุฒิสภา
เรื่องธรรมาภิบาล ในระบบ พลังงาน ของประเทศ ภาค1 ภาค 2 หน้า 22-26
ที่ผ่านที่ ประชุมวุฒิสภา เห็นชอบเเล้วเมื่อ วันที่ 4 พค. 53 และ15 สค.
54 ทำให้เกิดรายได้ และ ผลประโยชน์ แก่เอกชน ที่ถือหุ้น ส่วนหนึ่ง ของปตท
ตามเอกสารแนบ 5 รวมทั้งผู้ถูกกล่าวหา ที่1
คณะกรรมการผู้บริหารที่ได้ โบนัส ตามผลกำไรของปตท. เป็นการขูดรีด
และ ฉ้อโกงประชาชน ซึ่งหน้า โดย เจ้าหน้าที่รัฐทั้งสาม สมรู้ร่วมคิด
ทั้งๆที่รู้ว่า ท่อก๊าซ ส่วนนั้น เป็นสมบัติของแผ่นดิน อีกทั้ง
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้ถูกกล่าวหาที่ สอง ยังใช้เป็น
กรอบในการคำนวณ และพิจารณาอนุมัติ ราคาก๊าซ และอัตราค่าบริการส่งก๊าซ
โดยมิได้คำนึงถึงว่า ท่อก๊าซเหล่านี้ศาล ได้มีคำสั่งให้คืนแก่แผ่นดินแล้ว
ซึ่งทำให้ราคาก๊าซ เพิ่มขึ้น มีผลกระทบต่อโครงสร้าง ค่าไฟฟ้าเอฟที
ที่คิดจากต้นทุนราคาก๊าซ ที่เพิ่นขึ้น ทั้งค่าไฟฟ้าที่เพิ่มขึ้น
ยังส่งผลกระทบต่อ ต้นทุนสินค้าทุกชนิด สร้างความเดือดร้อนต่อ
ประชาชนทั้งประเทศ รวมทั้ง ผู้ร้องเรียนที่เสียหายจากการที่ต้อง
รับภาระค่าไฟฟ้า (เอกสารแนบ ใบเสร็จค่าไฟฟ้า ) และราคาสินค้า ทุกชนิด
ผู้ถูกร้องเรียนทั้งสาม มีความผิดตาม มาตรา 368 มาตรา 148 มาตรา
152 มาตรา 157 และ ขัดประมวลจริยะธรรม
นักการเมืองและเจ้าหน้าที่รัฐ ตามรัฐธรรมนูญ มาตรา 279
4.2 ฉ้อฉลประชาชน หมกเม็ดบิดเบือนข้อมูล เอื้อประโยชน์เอกชน
ในช่วงปี 2554 จนถึงปัจจุบัน ผู้ถูกร้องเรียนที่ 1-3
ให้ข้อมูลสู่สาธารณะ มีการหมกเม็ด ปิดบังบางส่วน เพื่อประโยชน์
ตนเองหรือผู้อื่นทั้งร่วมกัน นำ เสนอ ข้อมูลที่หมกเม็ด บิดเบือน ต่อประชาชน
เพื่อให้ประชาชนเข้าใจว่า ก๊าซ LPG ในประเทศ ไม่พอใช้สำหรับครัวเรือน
และภาคขนส่ง จนต้องสั่งจากต่างประเทศ (จากข่าวสื่อมวลชน เอกสารแนบ 7 )
จากรายงานของวุฒิสภา ฯ พบว่า ปริมาณก๊าซLPG ที่ใช้ในครัวเรือน
และขนส่ง มีสัดส่วน เพิ่มขึ้น น้อยกว่า ภาคปิโตรเคมี เช่นในปี 2551 และ
2552 ภาคปิโตรเคมี มีสัดส่วนเพิ่มขึ้น 470 พันตัน ส่วนภาคครัวเรือน
เพิ่มขึ้น 107 พันตัน ภาคขนส่ง ใช้ลดลง 110 พันตัน (อ้างอิง
หนังสือที่ สว. (กมธ.2 ) 0010 /2563 ลงวันที่ 17 มิย 53 เอกสารแนบ 9 )
ส่วนในปี 2554 ช่วงเดือน มค-พค 54 (ช่วง ห้าเดือน )
เทียบกับปี 53 (12 เดือน ) สัดส่วนการใช้ LPG ในครัวเรือนเพิ่มขึ้น
11พันตัน ในรถยนต์เพิ่มขึ้น 12 พันตัน ภาคปิโตรเคมี เพิ่มขึ้น 54
พันตัน (ที่มากรมธุรกิจพลังงาน เอกสารแนบ 8 ) ดังนั้น การนำเข้า
ก๊าซ LPG ที่นำเข้ามานั้น ใช้ในอุตาหกรรม ปิโตรเคมีมากกว่าครัวเรือน
และขนส่ง มาก ไม่ใช่ ใช้ในครัวเรือน หรือขนส่ง แต่เวลาผู้ถูกกล่าวหา
ที่หนึ่ง ให้เข่าว สื่อต่อสาธารณะ ทำให้ประชาชนเข้าใจผิดว่า ครัวเรือนและ
ภาคขนส่งใช้ก๊าซมากเกินจำนวนที่ผลิต
ในประเทศ เอกสารแนบ 7 จนต้องนำเข้า ในราคาสูง ( ทั้งที่
ในประเทศมีปริมาณ ก๊าซธรรมชาติ เพียงพอ แต่ไม่สร้างโรงแยกก๊าซให้ เพียงพอ
) และ ปตท สั่งก๊าซ โพรเพนและบิวเทน เข้ามา เพื่อ ปิโตรเคมี
ในบริษัทลูกของปตท. แต่ไม่แสดงให้ประชาชนรับรู้ เพราะถ้าประชาชน
ล่วงรู้ความจริง จะมีการต่อต้าน ทั้งการนำเข้านี้ราคาสูงกว่า ในประเทศ
ที่ต้องเอาเงินกองทุนน้ำมัน ที่ผู้ร้องเรียน ต้องแบกภาระ
ในรูปของราคาน้ำมันเบนซินและก๊าซโซฮอลล์ ที่เก็บ เงินเข้ากองทุน ลิตรละสองถึง สามบาท ( เอกสารแนบ 10 ) แต่กลับไปเอื้อประโยชน์กลุ่มปิโตรเคมี
ที่ส่วนใหญ่ เป็นบริษัทลูก ของปตท ซึ่งสร้างกำไร แก่บริษัทเหล่านี้
เช่น บริษัท ปตท เคมิคอล กำไรเพิ่มขึ้น 180 % .ในไตรมาส สอง ปี 2554 (
ตามเอกสารแนบ 11 ) เท่ากับ เสนอข้อมูล ฉ้อฉล กลลวง เพื่อขูดรีด
เงินค่าน้ำมัน ไปชดเชย การนำเข้า ก๊าซ โพรเพนและบิวเทน
แต่ออกข่าวเสมือนหนึ่ง ว่าประชาชน ใช้มาก ครัวเรือน และยานยนต์
เพื่อผลประโยชน์ในการเรียกเก็บ ค่าใช้จ่าย จากกองทุนน้ำมัน
และการกู้เงินเพื่อไปชดเชย ราคาก๊าซที่สั่งเข้ามา เพื่อปิโตรเคมี ถือเป็น
หลอกลวงผู้อื่นให้ได้มาซึ่งทรัพย์ เป็นการปกปิดบิดเบือนข้อมูล เพื่อผลประโยชน์ตนเองหรือ ผู้อื่น
จึงเป็นการกระทำที่ขัดต่อ กฎหมายอาญามาตรา 341 มาตรา 148
มาตรา 152 มาตรา 157 ขัดประมวล จริยะธรรมนักการเมือง ข้อ 6 (5)
ข้อ 8 ข้อ 9 ข้อ14 และรัฐะรรมนูญมาตรา 279
3 ฉ้อโกง ราคาน้ำมัน
ในเดือน มกราคม- พฤศจิกายน 2553 โดยเทียบราคากับราคาน้ำมันในเดือน ธค พศ 2552 คณะกรรมการ ตรวจสอบฯวุฒิสภาได้พบว่า ประชาชนต้องจ่ายค่าน้ำมันแพงกว่าความ
จริง ไม่ได้ ขึ้นลง ตามกลไกราคาตลาดโลกตามมติครม.
เช่นในกรณีย์ค่าเงินเเข็งขึ้น และราคาน้ำมันขึ้นลง ตามราคาตลาดโลก
ปรากฎว่า ผู้ถูกกล่าวโทษที่1 ได้คิดโครงสร้างราคาน้ำมัน ที่แพงกว่า
ความจริงถึง กว่า 30,000 ล้านบาท เช่น จ่ายค่าราคาน้ำมันเบนซิน 91
สูงเกินไป 4,014.57 ล้านบาท จ่ายค่าราคาน้ำมันเบนซิน 95 สูงเกินไป 102.10
ล้านบาท จ่ายค่าราคาน้ำมัน ดีเซล สูงเกินไป 28207.74 ล้านบาท
รายละเอียดตามรายงาน ของคณะกรรมาธิการวุฒิสภา (เอกสารแนบ 12 )
สังเกตได้ว่าราคาน้ำมันในประเทศมักจะขึ้น มากกว่าลง และลงช้ากว่าเวลา น้ำมันตลาดโลกแพงขึ้น จะขึ้นเร็วมาก
ดังนั้น ทาง ภาคประชาชน ที่มีรายชื่อแนบท้ายเอกสารนี้จึงขอ
ร้องทุกข์ กล่าวโทษแก่บริษัทปตท.จำกัด คณะกรรมการ ปตท.
คณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน ผู้อำนวยการสำนักนโยบายและ แผนพลังงาน ขอให้
ดำเนิน คดีฐานละเว้นการปฏิบัติหน้าที่เพื่อก่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใดตามประมวลกฎหมายอาญา
มาตรา 157 จนกว่าคดีจะถึงที่สุด ที่ทำให้ ผู้ร้องทุกข์ ประชาชน ประเทศชาติ เสียหาย ขาดประโยชน์ ที่พึ่งมีพึ่งได้ตามกฎหมาย
ขอแสดงความนับถือ
ความผิดฐานฉ้อโกง
มาตรา 341 ผู้ใดโดยทุจริต หลอกลวงผู้อื่นด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดข้อความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง และโดยการหลอกลวงดังว่านั้นได้ไปซึ่งทรัพย์สินจากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ผู้นั้นกระทำความผิดฐานฉ้อโกง ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสามปี หรือปรับไม่เกินหกพันบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
ลักษณะการกระทำอย่างไร เป็นความผิดฐานฉ้อโกงทรัพย์ :: พ.ต.ท.ศักกพล สุขปาน
1. ต้องมีการหลอกลวงด้วยการแสดงข้อความอันเป็นเท็จ หรือปกปิดความจริงซึ่งควรบอกให้แจ้ง
2. ข้อความนั้นต้องเป็นเท็จและต้องเป็นเหตุการณ์ในอดีตหรือปัจจุบัน ไม่ใช่เหตุการณ์ในอนาคต เว้นแต่เหตุการณ์ในอนาคตนั้นพออนุมานได้ว่าเป็นการแสดงถึงเหตุการณ์ในปัจจุบันรวมอยู่ด้วย
4. การแสดงข้อความเท็จนั้น อาจเป็นเท็จต่อเพียงบางส่วนก็ได้ ไม่จำต้องเท็จทั้งหมด
5. การหลอกลวงนั้นต้องกระทำก่อนที่จะได้ทรัพย์สิน จากผู้ถูกหลอกลวงหรือบุคคลที่สาม ถ้าได้ทรัพย์มาในความครอบครองก่อนแล้ว จึงหลอกลวงไม่เป็นฉ้อโกง
7. การแสดงข้อความอันเป็นเท็จนั้น อาจกระทำด้วยทางวาจา กิริยาท่าทาง
ลายลักษณ์อักษร เครื่องขยายเสียง วิทยุ โทรทัศน์ หรืออื่นๆก็ได้
กฎหมายไม่จำกัดเฉพาะทางวาจาเท่านั้น
8. การปกปิดความจริงที่ควรบอกให้แจ้ง คือจะต้องรู้ความจริงแล้วนิ่งเสียไม่ยอมบอกให้เขาทราบเพื่อจะให้ได้ทรัพย์สิน ฯ อาจกระทำโดยกิริยา ท่าทาง หรืออย่างอื่นๆก็ได้
10. การหลอกลวงนั้นต้องทำให้เขาหลงเชื่อและได้ไปซึ่งทรัพย์สิน หรือ ทำให้เขาทำ ถอน หรือทำลายเอกสารสิทธิ ก็เป็นความผิดสำเร็จแล้ว หากให้เพราะความสงสารหรือเพื่อจะเอาเป็นพยานหลักฐานในการฟ้องคดีหรือไม่เชื่อจึงไม่ให้ทรัพย์ หรือเชื่อแต่ไม่ให้ทรัพย์หรือไม่มีทรัพย์จะให้ ดังนี้ เป็นเพียงความผิดฐานพยายามฉ้อโกง
14. ความผิดฐานฉ้อโกง ผู้กระทำต้องมีเจตนาทุจริตมาก่อนหรือในขณะหลอกลวงอันเป็นเหตุให้ได้ทรัพย์นั้น ถ้าผู้กระทำมีเจตนาทุจริตขึ้นในภายหลังไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง แต่ผิดฐานยักยอก
15. ความผิดฐานฉ้อโกงนั้น ต้องหลอกลวงเอาทรัพย์ของผู้อื่น การหลอกลวงเอาทรัพย์ของตนเองไปจากผู้อื่นไม่เป็นความผิดฐานฉ้อโกง ดูฎีกาที่ 16/2510
http://www.police.go.th/
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น