วันจันทร์ที่ 7 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

กระทู้ที่ เพจพลังงานไทยพลังงานใคร ถูก ICT แบน - แฉยักษ์น้ำมัน "โทเทล" และ "เชฟรอน" แอบค้ำจุนรบ. พม่า


วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555


แฉยักษ์น้ำมัน "โทเทล" และ "เชฟรอน" แอบค้ำจุนรบ. พม่า

เอิร์ธไรท์ส  อินเตอร์เนชั่นแนล  กลุ่มพิทักษ์สิทธิมนุษยชนของสหรัฐเผย  "โทเทล"  บริษัทน้ำมันสัญชาติฝรั่งเศส  และ  "เชฟรอน"  บริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงานของสหรัฐ  ให้การค้ำชูรัฐบาลทหารพม่าผ่านโครงการก๊าซธรรมชาติยาดานา  ทำให้รัฐบาลพม่ามีเงินซุกซ่อนอยู่ในธนาคารแดนลอดช่องเกือบ  5  พันล้านดอลลาร์



     "สัมปทานในแหล่งก๊าซยาดานาของโทเทลและเชฟรอน  ทำรายได้ให้รัฐบาลพม่าราว  4.83  พันล้านดอลลาร์  ในช่วงปี  2543-2551"  เอิร์ธไรท์สระบุในรายงานที่เผยแพร่เมื่อวันพฤหัสฯ



     แมทธิว  สมิต  ผู้เขียนรายงานฉบับนี้ระบุว่า  รัฐบาลทหารพม่าไม่ได้รวมรายได้มหาศาลดังกล่าวในงบประมาณแผ่นดิน  แต่นำเงินเกือบทั้งหมดไปฝากไว้ที่ธนาคาร  2  แห่งของสิงคโปร์  คือ  โอซีบีซี  และดีบีเอส  ทั้งที่ปัจจุบันคนพม่าส่วนใหญ่ยังคงยากจนและได้รับสวัสดิการจากรัฐน้อยที่ สุดในบรรดาชาติเอเชีย

     รายงานยังระบุด้วยว่า  โทเทลและเชฟรอนพยายามปกปิดกรณีทหารพม่าที่ดูแลท่อก๊าซกระทำการทารุณประชาชน  ทั้งการบังคับใช้แรงงานและฆ่าทิ้ง

     เอิร์ธไรท์สเรียกร้องประชาคมโลกช่วยเพิ่มแรงกดดันโทเทลและเชฟรอนให้ยุติการกระทำดังกล่าวซึ่งขัดต่อหลักสิทธิมนุษยชน

     โทเทลและเชฟรอน  เป็นบริษัทพลังงานต่างชาติรายใหญ่ที่สุดในพม่า  การดำเนินธุรกิจของทั้งสองบริษัทนี้ไม่ได้ถูกจำกัดโดยมาตรการคว่ำบาตรทาง เศรษฐกิจที่สหรัฐและสหภาพยุโรปประกาศใช้ลงดาบพม่า  ทั้งนี้  แม้โทเทลจะถูกรุมวิจารณ์มานานเรื่องการสนับสนุนรัฐบาลทหารพม่า แต่มาตรการคว่ำบาตรของอียูกลับครอบคลุมเพียงการห้ามค้าอาวุธ  ไม้  แร่  โลหะ  และอัญมณีกับพม่าเท่านั้น  ขณะที่รัฐบาลฝรั่งเศสเองก็แสดงท่าทีปกป้องโทเทลเสมอมา

     เช่นเดียวกับสหรัฐที่ยกเลิกแผนคว่ำบาตรที่จะช่วยกดดันให้เชฟรอนต้องถอนตัว จากแหล่งก๊าซยาดานา  หลังเกิดเหตุสลายการชุมนุมครั้งใหญ่ในพม่าเมื่อ  1  ปีก่อนหน้านี้

     โทเทลเป็นผู้ลงทุนหลักในโครงการแหล่งก๊าซยาดานา  ที่เริ่มมาตั้งแต่ปี  2535  ปัจจุบันถือหุ้นอยู่  31.24%  ส่วนอีก  28%  ถือโดยเชฟรอน  ก๊าซธรรมชาติที่ผลิตได้จากแหล่งนี้ซึ่งคิดเป็น  60%  ของก๊าซทั้งหมดในพม่าส่งขายให้กับไทย

     อย่างไรก็ดี   ล่าสุดทั้งโทเทลและเชฟรอนปฏิเสธที่จะชี้แจงหรือให้ความเห็นเกี่ยวกับข่าวนี้.


ที่มา - สำนักข่าวอิสรา ซึ่งข่าวนี้ ถูกบล็อคไปแล้ว


สภาสหรัฐฯ หงอไม่ลงดาบภาษี Chevron ในพม่า 


ผู้จัดการรายวัน -- สมาชิกสภาผู้แทนราษฎรสหรัฐฯ ได้ตกลงถอนมาตรการลงโทษทางภาษีแก่เชฟรอน คอร์ป (Chevron Corporation) ซึ่งเป็นบริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่อันดับ 3 ของประเทศ ซึ่งมีหุ้นในหลุมก๊าซยาดานา (Yadana) ในอ่าวเมาะตะมะ ร่วมกับบริษัทน้ำมันฝรั่งเศส และไทย ก่อนจะผ่านร่างกฎหมายคว่ำบาตรพม่าฉบับใหม่อย่างเป็นเอกฉันท์เมื่อวันอังคาร (15 ก.ค.) 
    
       ร่างมาตรการแต่เดิมนั้นรัฐบาลสหรัฐฯ จะต้องยุติการยกเว้นภาษีผลประกอบการของบริษัทสหรัฐฯ ทุกแห่งที่มีผลประโยชน์ทางธุรกิจในพม่า ทั้งหมดนี้เป็นหนึ่งในมาตรการใหญ่ที่ใช้คว่ำบาตรรัฐบาลทหารหลังการปราบปราม ประชาชนที่เดินขบวนในเดือน ก.ย.ปีที่แล้ว
    
       การประชุมพิจารณามาตรการในสัปดาห์นี้ ได้มีการประนีประนอมระหว่างสภาผู้แทนราษฎรกับวุฒิสภา ซึ่งทำให้มีการยกบทเฉพาะกาลที่เกี่ยวกับเชฟรอนออกไป หลังจากบริษัทน้ำมันใหญ่แห่งนี้กล่าวว่า หากเลิกลงทุนในพม่าบริษัทอื่นๆ รวมทั้งจากอินเดีย และจีนก็จะเข้าแทนที่อยู่ดี สำนักข่าวเอเอฟพีรายงาน อ้างการเปิดเผยของเจ้าหน้าที่รัฐสภา
    
       “สิ่งหนึ่งที่ทำกัน ก็คือ ได้ยกข้อความที่เกี่ยวกับการยกเว้นภาษีที่จะส่งผลกระทบต่อบริษัทต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่อาจจะมีธุรกิจอยู่ในพม่า” เจ้าหน้าที่กล่าวกับเอเอฟพี อธิบายเกี่ยวกับมาตรการแซงชั่นที่สภาผู้แทนราษฎรลงมติรับรองอย่างเป็น เอกฉันท์ผ่านออกมาเป็นร่างกฎหมายในวันเดียวกัน
    
       ร่างรัฐบัญญัติฉบับดังกล่าวได้ “เรียกร้อง” ให้ “นักลงทุน” ในโครงการก๊าซ (ในพม่า) “พิจารณาโดยสมัครใจเลิกการลงทุนในเวลาข้างหน้า” ถ้าหากระบอบปกครองทหารไม่ยอมทำการปฏิรูปการปกครองระบอบประชาธิปไตยในประเทศ
    
       เชื่อกันว่า ร่างรัฐบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายคว่ำบาตรพม่านี้ จะได้รับการรับรองจากวุฒิสภาอย่างไม่มีปัญหาใดๆ
    
       การพิจารณาคว่ำบาตรบริษัทธุรกิจ และนักลงทุนสหรัฐฯ ในพม่านี้ เป็นเพียงส่วนหนึ่งในร่างรัฐบัญญัติ แก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายฉบับเดิมที่พยายามหาทางหยุดยั้งการนำเข้าสินค้าอัญมณี และเครื่องประดับที่มีต้นทางจากพม่า ซึ่งกลุ่มสิทธิมนุษยชนกล่าวว่า ถูกส่งผ่านประเทศที่สาม โดยเฉพาะอย่างยิ่ง คือ ไทย จีน ไต้หวัน มาเลเซีย และสิงคโปร์

ร่างรัฐบัญญัติของสองฝ่ายนี้ได้ผ่านการเจรจาอย่างระมัดระวังกับวุฒิสภา การแก้ไข (เนื้อหา) ทำให้สามารถได้ข้อมติผ่านการรับรองออกมา เอเอฟพีอ้างคำกล่าวของนายเฮาเวิร์ด เบอร์มัน (Howard Berman) ประธานคณะกรรมาธิการวิเทศสัมพันธ์ สภาผู้แทนราษฎร
    
       ก่อนหน้านี้ รัฐสภาแห่งสหภาพยุโรปได้ออกกฎหมายห้ามการนำเข้าอัญมณีจากพม่า เช่นเดียวกันกับรัฐบาลแคนาดา นายเบอร์มัน กล่าว
    
       ภายใต้แผนดั้งเดิมนั้น “จะไม่มีการยกเว้นภาษี” จากประกอบการในโครงการก๊าซยาดานาให้แก่เชฟรอน และบริษัทนี้ยังอาจจะถูกสั่งห้ามมิให้จ่ายเงินใดๆ แก่รัฐบาลทหาร จากผลประกอบการในโครงการที่ถือหุ้นร่วมกับบริษัท โตตาลออยล์ (หรือโททัลออยล์) บริษัทน้ำมันยักษ์ใหญ่ของฝรั่งเศส บริษัท ปตท.สำรวจ และผลิตปิโตรเลียม จำกีด (มหาชน) จากประเทศไทย และ รัฐวิสาหกิจน้ำมัน และก๊าซพม่าหรือ MOGE (Myanmar Oil & Gas Enterprise)
    
       เชฟรอน เป็นบริษัทจากโลกตะวันตกขนาดใหญ่ที่สุดที่เข้าลงทุนในพม่า โดยถือหุ้นส่วนน้อย 28% ในโครงการดังกล่าว หลังจากเข้าซื้อผลประโยชน์นี้จากบริษัทยูโนแคล (UNOCAL) หรือ Union Oil of California เมื่อปี 2548
    
       รัฐบาลสหรัฐฯ ได้ใช้มาตรการคว่ำบาตรต่อพม่ามาหลายครั้ง ทั้งดานการค้า การลงทุน และการทูต แต่เชฟรอน (ยูโนแคลเก่า) เข้าไปมีกิจการในพม่าก่อนจะที่จะเริ่มมีมาตรการคว่ำบาตรเมื่อปี 2546
    
       ภายใต้กฎหมายพม่านั้น ถ้าหากเชฟรอนขายหุ้นในโครงการยาดานาออกไป ก็จะต้องจ่ายให้กับรัฐบาลทหารถึง 500 ล้านดอลลาร์
    
       รองประธานบริษัท เชฟรอน นายปีเตอร์ โรเบิร์ตสัน (Peter Robertson) ได้ให้การปกป้องการลงทุนในพม่าในการประชุมซักถามของสภาผู้แทนราษฎรในเดือน พ.ค.ที่ผ่านมา โดยระบุว่าเชฟรอนได้มีส่วนช่วยเหลือชาวพม่าที่ประสบภัยพิบัติจากไซโคลนนา ร์กิส
    
       “แผนการของเราคือ จะอยู่ในพม่าต่อไป.. ถ้าหากเราขายผลประโยชน์ไป เราจะต้องจ่ายภาษีเงินได้ให้แก่พวกเขา (รัฐบาลทหาร)” นายโรเบิร์ตสัน กล่าว
    
       อะไรก็ตามที่ไปจากเชฟรอน จะตกไปเป็นประโยชน์แก่รัฐบาลพม่า รองประธานเชฟรอนกล่าว
    
       หลังพายุนาร์กิสพัดเข้าถล่มดินแดนปากแม่น้ำอิรวดี เขตย่างกุ้ง ไปจนถุงรัฐมอญ และรัฐกะเหรี่ยงในวันที่ 2-3 ก.ค.ปีนี้ เชฟรอนคอร์ปได้บริจาคเงิน 2 ล้านดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัย

ในนั้นบริจาคผ่านสหพันธ์สภากาชาดสากล จำนวน 1 ล้านดอลลาร์ กับอีก 1 ล้านดอลลาร์ จะจัดสรรให้ 4 องค์กรใหญ่ คือ องค์กรระหว่างประเทศ เพื่อการโยกย้ายถิ่นฐาน หรือ IOM หน่วยเมอร์ซีคอร์ป (Mercy Corps) หน่วยงานช่วยเหลือเด็ก Pact and Save the Children
    
       “เราภูมิใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการให้ช่วยเหลืออย่างงเร่งด่วนแก่ เหยื่อไซโคลนร่วมกับองค์กรความช่วยเหลือต่างๆ” นายโรเบิร์ตสัน กล่าวในครั้งนั้น
    
       นายจิม แบล็คเวล (Jim Blackwell) ประธานบริษัทสำรวจ และผลิตในเอเชียแปซิฟิกของเชฟรอน(Chevron Asia Pacific Exploration & Production) กล่าวว่า การบริจาคเงินช่วยเหลือของเชฟรอนคอร์ป เป็นการแสดงให้เห็นถึงความรับผิดชอบที่มีต่อประเทศพม่า
    
       ปีที่แล้วประธานาธิบดีสหรัฐฯ ประกาศเพิ่มมาตรการคว่ำบาตรพม่า และความพยายามที่จะแก้ไขรัฐบัญญัติคว่ำบาตรพม่าได้เริ่มมาตั้งแต่นั้น ด้วยโทษฐานที่ยังคงทำธุรกิจอันเป็นแหล่งสนับสนุนด้านการเงินให้แก่คณะผู้นำ ทหารพม่า
    
       ก่อนหน้านั้น สหรัฐฯ ได้ออกมาตรการคว่ำบาตรอีกชุดหนึ่ง เล่นงานบริษัทพม่าในสิงคโปร์หลายแห่ง รวมทั้งบริษัทสายการบินแอร์พุกาม (Air Bagan) ของกลุ่มตู๋ (Htoo Group) ซึ่งสหรัฐฯ กล่าวว่า เป็นแหล่งรายได้ของคณะผู้นำทหารพม่าที่ครองอำนาจมานานเกือบ 50 ปีในขณะนี้

วันอังคารที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2557

เปิดประวัติผู้ทรงคุณวุฒิ 'ซุปเปอร์บอร์ด รสก.' เป็นใครมาจากไหน?


โดย ทีมข่าวไทยรัฐออนไลน์ 27 มิ.ย. 2557 18:50

เปิดประวัติผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายและกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจ หรือซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ ภายหลัง คสช.ได้มีคำสั่งแต่งตั้งจำนวน 17 คน โดยมี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้า คสช. เป็นประธาน....
ส่วนกรรมการอื่นๆ ประกอบด้วย รองหัวหน้าและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจของ คสช. รองหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจ คสช. ปลัดกระทรวงกลาโหม ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงคมนาคม ปลัดกระทรวงพลังงาน ปลัดกระทรวงมหาดไทย เลขาธิการคณะกรรมการกฤษฎีกา เลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
นอกจากนี้ ยังมีชื่อกรรมการที่น่าสนใจ ได้แก่ นายบัณฑูร ล่ำซำ นายบรรยง พงษ์พานิช นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล นายรพี สุจริตกุล นายวิรไท สันติประภพ และนายทวีศักดิ์ กออนันตกูล เข้ามาทำหน้าที่ซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ ซึ่งจะมีหน้าที่กำหนดยุทธศาสตร์การบริหารรัฐวิสาหกิจ มีโครงสร้างคล้ายกับคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน (บีโอไอ) มีอำนาจในการดูแลแต่งตั้งคนเข้ามาเป็นกรรมการรัฐวิสาหกิจให้มีความเหมาะสม พิจารณาอนุมัติการลงทุนของรัฐวิสาหกิจให้มีความเชื่อมโยงกัน และไม่ให้เกิดการซ้ำซ้อน และตรวจสอบโครงการต่างๆ ของรัฐวิสาหกิจ ที่มีมูลค่า 100 ล้านบาทขึ้นไป ก่อนการอนุมัติดำเนินการ
สำหรับ นายบัณฑูร ล่ำซำ อายุ 61 ปี ปัจจุบันเป็นประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน) ในอดีตเคยมีความเห็นเรื่องนโยบายเศรษฐกิจไม่ตรงกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ซึ่งขณะนั้นเป็นนายกรัฐมนตรี จนถึงขั้นปะทะคารมกันมาแล้วจนเป็นที่ฮือฮา และยังรับรางวัลนักการเงินแห่งปีถึง 3 ครั้ง ในปี 2537 2542 และ 2552 

นอกจากนี้ ยังเป็นผู้ริเริ่มนำคำว่า รื้อปรับระบบองค์กร (Re-engineering) มาใช้กับประเทศไทย ภายหลังเกิดวิกฤติเศรษฐกิจ และนำมาสู่การเปลี่ยนโลโก้ธนาคารกสิกรไทย ซึ่งใช้มาจนปัจจุบัน และจากการที่คนในตระกูลล่ำซำมีสัมพันธ์กับพรรคประชาธิปัตย์มาเนิ่นนาน จนมีกระแสข่าวเมื่อปี 2547 ว่า นายบัณฑูร ถูกทาบทามให้มานั่งหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แต่ก็ได้มีการปฏิเสธไป เพราะไม่มีความสนใจที่จะก้าวสู่แวดวงการเมือง อีกทั้งงานแบงก์ และกิจกรรมสังคมมีมากจนแทบไม่มีเวลา และขอเวลาทุ่มให้แก่การเขียนนิยายรักดีกว่า ซึ่งที่ผ่านมาปี 2556 มีผลงานเขียนหนังสือจินตนิยายอิงประวัติศาสตร์ เรื่อง "สิเนหามนตาแห่งลานนา" แบ่งเป็น 2 ภาค ภาคแจ้ง คือ เรื่องราวในปัจจุบัน ที่หญิงสาว และชายหนุ่มอีก 2 คน ได้ไปเที่ยวจังหวัดน่านเมื่อเดือน ม.ค. 2556 ระยะเวลา 7 วัน และภาคเงา ที่เป็นเรื่องราวในอดีต 600-700 ปี ซึ่งทั้ง 2 ภาค มีความสัมพันธ์ และเชื่อมโยงกัน
ส่วนบุคคลผู้ทรงคุณวุฒิ ในซุปเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจอีกคน ดร.ประสาร ไตรรัตน์วรกุลอายุ 61 ปี ปัจจุบันเป็นผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย คนที่ 22 ของประเทศ ต่อจากนางธาริษา วัฒนเกส และถือเป็นลูกหม้อแบงก์กสิกรฯ เป็นอดีตกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย นอกจากนั้นยังเคยดำรงตำแหน่งสำคัญๆ ในองค์กร ทั้งภาครัฐและเอกชนหลายแห่ง อาทิ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (ก.ล.ต.) และธนาคารกสิกรไทย จำกัด (มหาชน)
นอกจากนั้น ยังเคยดำรงตำแหน่งที่สำคัญในสังคมอีกหลายตำแหน่ง เช่น คณะกรรมการที่ปรึกษาเพื่อการปฏิรูประบบสถาบันการเงิน กระทรวงการคลัง กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิ คณะกรรมการนโยบายทุนรัฐวิสาหกิจ ที่ปรึกษา คณะกรรมการนโยบายสถาบันการเงิน ธนาคารแห่งประเทศไทย อีกทั้งได้รับการเสนอชื่อและได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสมาคม ธนาคารไทย (TBA) ทำให้มีประสบการณ์ครอบคลุมอย่างกว้างขวางในธุรกิจธนาคารและตลาดการเงิน
ที่ผ่านมาในช่วงที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับปัญหาการส่งออก เนื่องจากค่าเงินบาทแข็ง ปรากฏความขัดแย้งระหว่าง ดร.ประสาร กับนายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังในขณะนั้น ปะทุขึ้นอีกครั้ง จากความเห็นที่แตกต่างในการดำเนินนโยบายดอกเบี้ย จนเกิดกระแสการปลดออกจากตำแหน่งผู้ว่าฯ แบงก์ชาติ โดยนายกิตติรัตน์ ส่งสัญญาณชัดเจนว่า ต้องการให้แบงก์ชาติประกาศลดดอกเบี้ย เพื่อสกัดกั้นเงินทุนไหลเข้า ซึ่งเป็นสาเหตุทำให้ค่าเงินบาทแข็ง และส่งผลกระทบต่อการส่งออก แต่ ดร.ประสาร ไม่ยอมตอบสนอง โดยระบุว่า เงินทุนที่ไหลเข้า ไม่ได้เกิดจากอัตราดอกเบี้ยเพียงองค์ประกอบเดียว และการลดดอกเบี้ยก็ต้องพิจารณาผลข้างเคียงอื่นด้วย โดยเฉพาะเงินเฟ้อ นำไปสู่ฟองสบู่ในระบบเศรษฐกิจ
ส่วนผู้ทรงคุณวุฒิ ที่มาจากวงการตลาดทุน นายบรรยง พงษ์พานิช อายุ 60 ปี นักบริหารการเงินชื่อดัง มากประสบการณ์ ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ธนาคารเกียรตินาคิน จำกัด (มหาชน) เคยเป็นอดีตประธานกรรมการ บริษัท หลักทรัพย์ ภัทร จำกัด (มหาชน) และอดีตบอร์ดการบินไทย นายบรรยง ถือเป็นโบรกเกอร์รุ่นเก่าแก่ที่อยู่คู่ตลาดทุนมานาน และเป็นอดีตเทรดเดอร์คนสำคัญตั้งแต่ยุคเคาะกระดาน
ที่ผ่านมา นายบรรยงเคยมีวิสัยทัศน์ผ่านทางข้อเขียนเกี่ยวกับพลังงานไทยที่ต้องปรับปรุง โดยเฉพาะการขายหุ้น ปตท. เมื่อปี 2544 ให้กับรายย่อยที่มีผู้คนสนใจมาเข้าคิว แต่หุ้นถูกกันเอาไว้ให้กับลูกค้าของขาใหญ่หมดภายในไม่ถึง 2 นาที จึงมองว่า เป็นการฉ้อฉลเอาเปรียบ ทำไม่ถูก มีการตั้งข้อครหาว่าแปรรูปผลประโยชน์ไปให้เอกชนที่มาถือหุ้น    
    
คนต่อมา ดร.ทวีศักดิ์ กออนันตกูล อายุ 60 ปี ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ ซึ่งที่ผ่านมาเมื่อปี 2556 ได้ออกมาต่อต้านการบริหารงานของนายวรวัจน์ เอื้ออภิญญกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีในขณะนั้น พร้อมกับเจ้าหน้าที่และพนักงานในสำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์เทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) โดยยืนยันจะปกป้องเกียรติของ สวทช.ไม่ให้ถูกนักการเมืองย่ำยี
สำหรับ ดร.ทวีศักดิ์ ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (เนคเทค) นอกจากนี้ ยังเคยเป็นผู้ช่วยผู้จัดรายการสถานีวิทยุบีบีซี ภาคภาษาไทย กรุงลอนดอน สหราชอาณาจักร ปี 2524, อาจารย์ประจำภาควิชาวิศวกรรมไฟฟ้า คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ปี 2526 เป็นต้น
ขณะที่ผู้ทรงคุณวุฒิอีกคน ถือว่ามีความเชี่ยวชาญด้านกฎหมาย นายรพี สุจริตกุลปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการบริษัทหลักทรัพย์ กสิกรไทย (มหาชน) เคยเป็นตัวเต็งที่จะขึ้นเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ธนาคารกสิกรไทย แทน ดร.ประสาร ที่ไปดำรงตำแหน่งผู้ว่า แบงก์ชาติ ในอดีตเคยเป็นนิติกรฝ่ายกฎหมาย ธนาคารแห่งประเทศไทยมาก่อน เนื่องจากเป็นนักเรียนทุนธนาคารแห่งประเทศไทย จบปริญญาโท ด้านกฎหมาย จากมหาวิทยาลัยบริสตอล ประเทศอังกฤษ จากนั้นมาดำรงตำแหน่งผู้บริหารระดับสูง สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นั่งตำแหน่งสำคัญเป็นผู้ช่วยเลขาธิการคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์
สุดท้าย ดร.วิรไท สันติประภพ อายุ 44 ปี นักเศรษฐศาสตร์รุ่นใหม่ที่ทำงานในระดับนานาชาติ บุตรชาย พล.ต.อ.ประทิน สันติประภพ อดีตอธิบดีกรมตำรวจ ดีกรี ปริญญาโท-ปริญญาเอก มหาวิทยาลัยฮาร์วาร์ด เคยเป็นที่ปรึกษาช่วงวิกฤติต้มยำกุ้งให้กับนายธารินทร์ นิมมานเหมินท์ อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง จากพรรคประชาธิปัตย์ และประสบการณ์ทำงานจากภาคเอกชนมาโชกโชน เคยดำรงตำแหน่งรองผู้จัดการ สายงานพัฒนาและวางแผนกลยุทธ์องค์กร ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นที่ปรึกษาให้กับบริษัทเอกชนบางแห่งและที่ทีดีอาร์ไอ
นอกจากนี้ ยังทำงานเพื่อสังคม ให้กับมูลนิธิปิดทองหลังพระ สืบสานแนวพระราชดำริ และที่ปรึกษาฝ่ายเศรษฐกิจ คณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข.