วันพฤหัสบดีที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2557

น้ำมันดิบโลกลดลงอย่างมหาศาลวิกฤติ ของ บริษัทน้ำมัน !!!

เปิดสาเหตุราคาน้ำมันตกต่ำ ทำคนขายอ่วมแต่เอเชียกลับได้ประโยชน์

โดย ไทยรัฐออนไลน์ 12 ธ.ค. 2557 05:30


โลกกำลังเผชิญวิกฤติราคาน้ำมันลดลงอย่างมหาศาลในช่วงไม่กี่เดือนที่ผ่านมา จากราคาสูงกว่า 100 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อเดือนมิ.ย. เหลือเพียงราวๆ 62.5 ดอลลาร์สหรัฐฯต่อบาร์เรล เมื่อวันพุธ (10 ธ.ค.) ต่ำที่สุดในรอบ 5 ปี
สาเหตุที่ทำให้ราคาน้ำมันร่วงหนักเช่นนี้ มาจากการหลายปัจจัย แต่ปัจจัยที่เกิดขึ้นล่าสุดคือ การที่ กลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ซึ่งมีสมาชิก 12 ประเทศ รวมทั้งผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ของโลกอย่าง ซาอุดีอาระเบีย, อิหร่าน และเวเนซูเอลา ตัดสินใจคงกำลังการผลิตน้ำมันดิบเอาไว้ที่ 30 ล้านบาร์เรลต่อวันตามเดิม ที่การประชุม ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย เมื่อวันที่ 27 พ.ย.
การประชุมที่เกิดขึ้นนั้น เรียกได้ว่าเป็นการหารือครั้งสำคัญที่สุดในรอบหลายปีของโอเปก เพราะเกิดขึ้นท่ามกลางการลดลงอย่างหนักของราคาน้ำมันดิบ ทั่วโลกต่างต้องการรู้ว่าชาติ โอเปก ซึ่งผลิตน้ำมันดิบคิดเป็น 40% ของกำลังผลิตทั่วโลก จะใช้มาตรการอะไรเพื่อหยุดยั้งการตกต่ำนี้ แต่พวกเขาตัดสินใจไม่ทำอะไรเลย เชื่อว่าพวกเขาต้องการดูทิศทางลมไปก่อน ทำให้ราคาน้ำมันลดฮวบทันทีในวันนั้น
รัฐมนตรีชาติโอเปกให้สัมภาษณ์กับผู้สื่อข่าว ก่อนการประชุมที่กรุงเวียนนาเมื่อ 27 พ.ย.
ขณะที่สาเหตุยระยะยาวที่ทำให้ราคาน้ำมันดิบโลกลดลง ประกอบด้วย 3 ปัจจัยใหญ่ๆ 1. คือความเฟื่องฟูของการผลิตน้ำมันในสหรัฐอเมริกาและที่อื่นๆของโลก ส่งผลให้มีน้ำมันเข้าสู่ตลาดมากขึ้นผลักดันราคาให้ตกต่ำลง โดยในขณะที่ชาติสมาชิกโอเปกผลิตน้ำมันในปริมาณที่สม่ำเสมอ ที่อื่นๆกลับผลิตมากขึ้น และสหรัฐฯนำเป็นอันดับ 1
การผลิตน้ำมันที่เพ่ิมขึ้นอย่างใหญ่หลวงของสหรัฐฯในช่วงที่ผ่านมา ได้อานิสงส์จากการปฏิวัติการขุดเจาะน้ำมันจากชั้นหินดินดาน ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ เช่น การขุดเจาะตามแนวนอน ซึ่งทำให้สามารถเข้าถึงไฮโดรคาร์บอนที่อยู่ใต้พื้นผิวโลกได้ ส่งผลให้สหรัฐฯผลิตน้ำมันดิบต่อวันได้มากกว่าช่วงกลางทศวรรษที่ (20) 00 เกือบเท่าตัว
นอกจากสหรัฐฯ การผลิตน้ำมันในประเทศอื่นๆก็เพิ่มขึ้นเช่นกัน เช่น ที่แคนาดา เพิ่มกำลังผลิตจากประมาณ 2.5 ล้านบาร์เรลต่อวันเพียงในปี 2009 เป็นมากกว่า 3.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2013 รัสเซียเพิ่มการผลิตจากราว 9.5 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2009 เป็น มากกว่า 10 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2013 ส่วนลิเบีย กำลังเพิ่มระดับการผลิตน้ำมันดิบให้กลับสู่ภาวะปกติ หลังจากต้องเผชิญสงครามกลางเมืองในปี 2011
ปัจจัยที่ 2 คือ อุปสงค์หรือความต้องการซื้อน้ำมันที่ลดลงในหลายประเทศ เช่นญี่ปุ่นและหลายชาติในทวีปยุโรป โดยมีข้อเท็จจริงที่ว่า ในขณะที่สหรัฐฯฟื้นตัวจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยขึ้นมาเรื่อยๆ แต่อีกหลายประเทศไม่เป็นเช่นนั้น พวกเขากำลังประสบปัญหา ซึ่งนั่นกระทบต่อความต้องการน้ำมัน
ยกตัวอย่างเช่นใน ยุโรป ซึ่งเคยบริโภคน้ำมันเฉลี่ยต่อวันมากกว่า 15.3 ล้านบาร์เรล ในปี 2009 กลับลดลงเหลือต่ำกว่า 14.3 ล้านบาร์เรลต่อวันในปี 2013 และลดลงเรื่อยๆตั้งแต่นั้น สถานการณ์เช่นนี้ยังเกิดขึ้นในประเทศญี่ปุ่นด้วย
ส่วนปัจจัยที่ 3 คือ ความก้าวหน้าของประสิทธิภาพในการใช้เชื้อเพลิงของยานพาหนะ ปัจจุบันรถยนต์ในสหรัฐฯใช้เชื้อเพลิงน้อยลงกว่าเมื่อก่อน เพราะรถยนต์มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยในปี 2014 รถยนต์สหรัฐมีอัตราการใช้น้ำมันเฉลี่ย 25.3 ไมล์ต่อแกลลอน ดีขึ้นกว่าในปี 2008 ที่น้ำมัน 1 แกลลอนสามารถทำให้รถวิ่งได้เพียง 20.8 ไมล์
ราคาน้ำมันดิบที่ลดลงทำให้เกิดความยากลำบากทางเศรษฐกิจในชาติสมาชิกโอเปกบางประเทศ เนื่องจากทำให้รายได้ลดลง ส่งผลต่อการจัดสรรงบประมาณ และเริ่มมีการพิจารณาหาทางลดการใช้จ่ายของรัฐบาลแล้ว เช่นที่เวเนซูเอลา ประธานาธิบดี นิโคลัส มาดูโล ประกาศหลังการประชุมเอเปก ว่าเขาจะตัดเงินเดือนตัวเองและเจ้าหน้าที่รัฐบาล เป็นส่วนหนึ่งของการลดงบประมาณประเทศ
ส่วนที่รัสเซีย อีกหนึ่งผู้ส่งออกน้ำมันรายใหญ่ แต่ไม่ได้เป็นสมาชิกของโอเปก กระทรวงพัฒนาเศรษฐกิจ คาดการณ์เมื่อสัปดาหห์ก่อนว่า เศรษฐกิจของประเทศจะหดตัวลง 8-10% ในปี 2015 เพราะการส่งออกน้ำมันสำคัญต่อรัสเซียมาก วิกฤติราคาน้ำมันในปัจจุบันทำให้มูลค่าเงินรูเบิลของรัสเซียหายไปประมาณ 40% เมื่อเทียบกับเงินดอลลาร์สหรัฐฯ
เหล่าผู้สังเกตการณ์ต่างกล่าวโทษว่า การลดลงของค่าเงินรัสเซีย เป็นผลมาจากกำไรของการส่งออกน้ำมันที่ลดลง และการคว่ำบาตรของชาติตะวันตก ที่ต้องการลงโทษรัสเซียกรณีเข้าไปแทรกแซงสถานการณ์ในประเทศยูเครน
วลาดิเมียร์ ปูติน ประธานาธิบดีรัสเซีย
อย่างไรก็ตาม แม้ชาติผู้ส่งออกน้ำมันจะกำลังลำบากเพราะวิกฤติราคาตกต่ำ แต่ แอนดรูว์ โคลคูฮวน นักเศรษฐศาสตร์ของสถาบันจัดอับดับความน่าเชื่อถือ 'ฟิตช์ เรตติง' สาขาฮ่องกง มองว่า การลดลงของราคาน้ำมันดิบกำลังช่วยเหลือเศรษฐกิจของทวีปเอเชีย
โคลคูฮวน ระบุว่า ประเทศเอเชียแปซิฟิกส่วนใหญ่ เป็นผู้นำเข้าน้ำมัน ดังนั้น การลดลงของราคาน้ำมันเท่ากับเป็นการเพิ่มรายได้ให้แก่พวกเขา และผลกระทบใดๆก็ขึ้นอยู่กับว่า พวกเขาจะเก็บหรือใช้จ่ายรายได้นั้นหรือไม่
ในรายงานของฟิตช์ที่เพิ่งเผยแพร่ออกมาเมื่อไม่กี่วันก่อน ระบุว่าจีนและชาติเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของเอเชียส่วนใหญ่ จะมีเงินได้มากขึ้นจากการลดลงอย่างมากของราคาน้ำมัน โดยเฉพาะไทย ที่ใช้รายได้ของประเทศกว่า 15% ไปกับนำเข้าน้ำมัน มากที่สุดในภูมิภาค และเห็นได้ว่า ไทย, มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย เริ่มลดการสนับสนุนหรืออุดหนุนราคาน้ำมัน ซึ่งเป็นมักเป็นรายจ่ายก้อนโตของรัฐบาลกันแล้ว
แต่ถึงกระนั้น ผู้เชี่ยวชาญบางส่วนระบุว่า ขึ้นอยู่กับเวลาเท่านั้นก่อนที่ราคาน้ำมันจะฟื้นฟูกลับมาอีกครั้ง โดย แจ็ค เจอราร์ด ประธาน สถาบันปิโตรเลียมอเมริกัน กล่าวว่า ปริมาณความต้องการน้ำมันจะเพิ่มสูงขึ้น และราคาจะหาจุดสมดุลของมันเองได้ในที่สุด

วันอังคารที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

การเปิดสัมปทานรอบที่ 21 กระทบถึง “พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา”

โดย Walwipha Charoonroj Burusratanaphand

                การเปิดสัมปทานรอบที่  21 กระทบถึง
พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา ที่จะทำให้เกิดพันธะทางกฎหมายต่อประเทศไทยในเรื่องเขตแดน แม้จะอ้าง MOU 44 (ข้อตกลงว่าด้วยการแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล พ.ศ.2544) หรือ JC 44(แถลงการณ์ร่วมเพื่อการแบ่งผลประโยชน์ทางทะเล  พ.ศ.2544) ว่าเป็นความตกลงระหว่างรัฐ ซึ่งทำขึ้นเป็นลายลักษณ์อักษรภายใต้บังคับของกฎหมายระหว่างประเทศ(อนุสัญญากรุงเวียนนา ค.ศ.1969 ว่าด้วยกฎหมายสนธิสัญญา) แต่เป็นการกระทำขัดต่อรัฐธรรมนูญ กฎหมายสูงสุดภายในประเทศของไทย (ม.227) ก่อนที่จะดำเนินการตามเจตนาข้างต้น อันยังผลให้เป็นการกระทำขัดต่อกฎหมายระหว่างประเทศเช่นกัน        ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อหาในเอกสารลายลักษณ์อักษรทั้งสองมิได้มีผลต่อการลดหย่อนผ่อนปรนหรือป้องกันผลกระทบต่อประเทศไทยในปัญหาเรื่องอธิปไตยและเขตแดนแต่อย่างใด กลับยิ่งเป็นการเอื้อประโยชน์ เป็นการยอมรับการกระทำและเจตนา อันผิดแผกแตกต่างไปจากหลักการที่ประเทศของตนยึดถือและมีการปฏิเสธยืนยันอย่างต่อเนื่องตลอดมากก่อนหน้านั้น และเป็นการยอมรับสิทธิอธิปไตยและการใช้ประโยชน์ในพื้นที่ที่กัมพูชารุกล้ำดำเนินการ(การได้สัมปทานสำรวจขุดเจาะในพื้นที่ทับซ้อน) ตามหลักการที่แตกต่างโดยมิได้มีการพิจารณาเหตุผลหรือมิได้กระทำการทบทวน ตรวจสอบ แต่อย่างใด นับตั้งแต่มีการไปยอมรับในขณะนั้น จนเปลี่ยนรัฐบาลแต่ละยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบัน โดยไม่คำนึงถึงผลทางลบอันใดที่เกิดจากการใช้หลักการต่างกันที่จะไม่เป็นคุณต่อประเทศของตน อย่างน้อยที่เห็นอย่างเป็นรูปธรรมก็คือ
            1) ขนาดของพื้นที่ (เหตุผลมาจากการใช้หลักเส้นมัธยฐาน หรือ Equidistant line ประกาศเส้นเขตแดนทางทะเล ที่ประเทศส่วนใหญ่และประเทศไทยยึดถือเป็นหลักการจัดการร่วมกันในขณะนั้น) (โปรดเปรียบเทียบดูจากภาพของกรมอุทกศาสตร์ กองทัพเรือ – หลักฐานการศึกษา ของ น.อ.ศิริชัย เนยทอง ที่แนบมานี้)

                มีตัวอย่างของการขัดแย้งกันที่ปฏิเสธ Equidistant line ที่ผู้นำประเทศไทยจะปฏิเสธไม่รู้ไม่เห็นไม่ได้ คือ คดีขึ้นศาลโลกของนอรเวย์-เดนมาร์ก พ.ศ. 2512  เรียกว่าคดี North Sea Continental Shelf และอีกเรื่องหนึ่งคือ  จีน-เวียดนาม ในทะเลจีนใต้ หรืออ่าวตังเกี๋ย พ.ศ. 2541 หรือรู้จักกันในชื่อ หมู่เกาะสแปรตลีย์
                2) การขยายผลมาถึงการจัดการเรื่องพื้นที่หรือเขตแดนทางบก ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 1 – 73 ดังเนื้อหาในเอกสารลายลักษณ์อักษร JC 44 ข้อ 14
                (14. The two sides reaffirmed their determination to settle as soon as possible the land border demarcation in the spirit of friendship, mutual understanding and the participles of equality and good neighborliness, so as to build a borderline of lasting peace, stability and friendship between them.)
                การขยายผลจากเขตแดนทางทะเลมาถึงทางบก โดยมีกรณีคดีปราสาทพระวิหารเป็นโมเดล และนำพาประเทศไทยไปเป็นจำเลยจนถึงการไปร่วมกับรัฐบาลฮุนเซนออกแถลงการณ์ยอมทำตามคำตัดสินของศาลโลก ไม่ว่าศาลจะตัดสินอย่างไร ทำให้รัฐบาลไทยที่ผ่านมาโดยนับตั้งแต่คดีแถลงการณ์ร่วมขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารของนายนพดล ปัทมะ พ.ศ.2551 ซึ่งศาลฎีกาแผนกคดีอาญานักการเมืองรับฟ้อง(เมื่อเดือน เมษายน 2556) ถูกตั้งข้อสงสัยว่าได้เข้าร่วมขบวนการกระทำทุจริตเชิงนโยบาย แม้จะยังไม่มีการสาวลึกไปถึงตัวผู้นำ แต่ทว่ากลุ่มบุคคลในระบบราชการ ซึ่งเป็นผู้ปฏิบัตินโยบาย   ถูกร้องเรียนจากภาคประชาชนที่มีชื่อ  ยังองค์กร สถาบัน และ หน่วยงานรักษากฎหมาย  และองค์การระหว่างประเทศที่มีบทบาทหน้าที่ตามกฎหมาย  หลายกรณีและหลายคดี
                มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องกล่าวถึงคดีที่ ความผิดสำเร็จแล้ว”  ที่มีการส่งหลักฐานฟ้องร้องเอาผิดตั้งแต่ที่ศาลอาญา  สภานิติบัญญัติ จนถึงปปช. คือกรณีที่กระทรวงการต่างประเทศออกเอกสารเท็จ รายงานสถานะของรายงานเจบีซีที่มีร่างข้อตกลงชั่วคราว 6 เมษายน 2552 ว่าเสร็จสิ้นสมบูรณ์แล้ว (หลักฐานคือเอกสารที่มีชื่อว่า ข้อมูลที่ประชาชนไทยควรทราบเกี่ยวกับกรณีปราสาทพระวิหารและการเจรจาเขตแดนไทย-กัมพูชา”, กระทรวงการต่างประเทศ,ธันวาคม 2554 ที่หน้า 33  เนื้อหาตรงข้อ 8) ที่ฮอร์ นัมฮง รองนายกรัฐมนตรีกัมพูชา และ รมว.ต่างประเทศ  ได้ตั้งใจหยิบยกขึ้นอ้างในทางเป็นคุณประโยชน์ต่อรูปคดีในศาลโลก เมื่อวันแถลงปิดคดี (ดูเอกสารแนบ)  อันเป็นเรื่องทำให้เกิดการแพ้-ชนะ ไม่พิทักษ์ปกป้อง และเป็นการกระทำการโดยเจตนาที่จะเอื้ออำนวยคุณประโยชน์ให้ฝ่ายตรงข้าม แม้จะอ้างความเป็นเพื่อนบ้านที่ดีแต่อ้างไม่ถูกที่เพราะเพื่อนบ้านที่ดีนำไปอ้างบนศาล  นอกเอกสารเผยแพร่ฉบับนี้เป็นหลักฐานการกระทำผิดทั้งในและนอกราชอาณาจักร อันจะเป็นมาตรการหยุดยั้งการเปิดประมูลสัมปทานรอบที่มาได้อย่างหนักแน่นและมั่นคง
                หากคสช.เพิกเฉยต่อกระบวนการและขั้นตอนขึ้นศาลโลกจนถึงการปฏิบัติตามคำส่งศาลโลก  คสช.จะเป็นผู้ที่ได้ชื่อว่าได้ร่วมกระบวนการแบ่งแยกทำลายบูรณภาพแห่งดินแดนไปด้วยได้ ซึ่งภาคประชาสังคมที่ได้นำชื่อส่งองค์กรระหว่างประเทศทั้ง 9 ล้านชื่อ และร้องขอตัดฟ้องคดีที่ศาลโลกไว้ คงจะไม่หยุดการทำงาน หรือเลิกอุดมการณ์ เพียงแค่ คสช.เข้ามาคืนความสุขให้ประชาชน
                การประกาศเปิดสัมปทานรอบที่ 21  เป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ พื้นทีทับซ้อนอย่างแน่นอน แม้ทางเอกสารของฝ่ายไทยจะสามารถระบุได้ ว่าแค่พื้นที่แปลง 10/48 และ11/48 เท่านั้น  มีเอกสารของ CNPA กัมพูชา, ขององค์กรพัฒนาภาคเอกชนระดับนานาชาติ, ของผู้ประกอบการและเกี่ยวข้อง เช่น ของเชฟรอน  ของสำนักกฎหมายระหว่างประเทศ  ที่รวบรวมมานี้นั้น เป็น หลักฐาน  อนึ่ง  ขนาดของพื้นที่ทับซ้อนในทะเล มีขนาดจริงเท่าไร ยังไม่มีการระบุแน่ชัด จะใช้ 27,000 ตร.กม. ดังแผนที่แนบ MOU 44 หรือไม่  จะใช้ขนาดใดขนาดหนึ่งของกรมอุทกศาสตร์ไทย หรือไม่  จะใช้ขนาดที่องค์กรเอกชนกล่าวถึงหรือไม่ แม้เราจะมีตัวเลขทั้งหมด แต่ไม่มีใครบอกความจริงได้  ยิ่งจะเป็นผลลบแก่ผู้ออกนโยบายเพราะจะกลายเป็นเรื่องหาผลประโยชน์มากกว่าหาแหล่งพลังงานใหม่มาทดแทน
                หลักฐานสำคัญที่อยู่ในเอกสารหน้า 33 มีเนื้อหาดังนี้
                “8. เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2554 กระทรวงการต่างประเทศได้มีหนังสือแจ้งให้กัมพูชาทราบถึงการมีผลใช้บังคับของการบันทึกการประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับ เนื่องจากการดำเนินการตามกระบวนการกฎหมายภายในของไทยเสร็จสิ้นแล้ว ซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้มีหนังสือตอบกลับเมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม 2554 รับทราบการแจ้งของฝ่ายไทย และแจ้งว่า สำหรับกัมพูชา บันทึกการประชุมฯ ทั้ง 3 ฉบับดังกล่าว มีผลใช้บังคับตั้งแต่สิ้นสุดการประชุมเมื่อวันที่ 7 – 8 เมษายน 2552”




Walwipha Charoonroj Burusratanaphand
กว่าจะได้ความจริง ชาติและประชาชนก็สูญเสียไปมากมายและยังจะต้องสูญเสียต่อไป เมื่อนำความจริงมาตีแผ่ กลับเจอปัญหาที่เป็นสนิมฝังลึกในกมลสันดาน คือ การไม่ยอมรับข้อมูลอื่นใดที่ไม่ใช่ราชการ /ทางการ ว่าเป็นความจริง เอาเป็นว่าหนังสือเล่มนี้เปิดเผยความจริงชุดที่ 2 ก็แล้วกัน แต่มิได้มีความหมายว่า เป็น"ความจริง"ชุดที่เป็นสองรองใคร
แนวคิดที่ขัดขวางการปฏิรูปนี้เห็นได้จากตัวอย่างของการตั้งกรรมการสรรหาสมาชิกสภาปฏิรูปฯ แล้วกรรมการที่เกิดจากแนวคิดนี้ ก็จะเป็นผู้เลือกสรรสมาชิกสภาปฏิรูปฯต่อไป.....พวกเขาจะเลือกใครถ้าไม่ใช่ "พวกความจริงชุดที่ 1 เหมือนกัน" 55555 ถ้าไม่เชื่อก็ลองดูรายชื่อผู้ที่ถูกส่งตัวมาซี ที่เห็นที่รู้ ก็เป็นพวกความจริงชุดที่ 1 อีหรอบเดิม


หนังสือเล่มนี้บรรณาธิการเรียบเรียงคือ ประสิทธิ์ ไชยชมพู
เป็นส่วนหนึ่งของการขยายผลการวิจัยเรื่อง "SIA กับกรณีความขัดแย้งระหว่างไทย-กัมพูชา อันเนื่องมาจากการขึ้นทะเียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลกของกัมพูชา" ของสถาบันไทยคดีศึกษา ม.ธรรมศาสตร์


วันอังคารที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2557

ผลงานการแปรรูป และผู้ที่รับประโยชน์เกี่ยวข้อง


   มติ ครม เปรม )     เสนอแผนให้ แยก ปตท สผ จาก ปตท ปี 2531  และ จดทะเบียนบริษัทเเพื่อขายหุ้น ปตท สผ   30 ตุค  2535   อานันท์ ปันยารชุน http://webcache.googleusercontent.com/search?q=cache:_LKOZWBlFB0J:https://www.pttep.com/inc/download.aspx%3Ffile%3D../download/DocumentFile_29856-1_49_E_NatureOfBusiness_th.pdf+&cd=4&hl=th&ct=clnk&gl=th&client=firefox-a
และขายหุ้นเพิ่ม ปี 2540   ชวนหลีกภัย


  ปิยสวัสดิ์  เสนอแผนให้ยุบรวม โรงกลั่นระยองกับ ATC เป็น PTTAR   ปี 50    
มีพรชัย เป็นประธาน ต่อมาเป็นณอคุณ และต่อมาปี 2554 เปลี่ยนเป็น PTTGC มีประเสริฐเป็นประธาน กรรมการบริษัท   เงื่อนไขที่เอื้อธุรกิจปิโตรเคมี
แผน ควบรวมกิจการระหว่างบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) (บมจ.)(PTTAR) และบมจ.ปตท.เคมิคอล (PTTCH )
           PTTGC
ถือเป็นผู้นำทางด้านธุรกิจปิโตรเคมีที่ครบวงจรของกลุ่มปตท. โดย PTTGC จะมีกำลังการผลิตผลิตภัณฑ์ปิโตรเคมีทั้ง 2 สาย ได้แก่ โอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์ รวมกันถึง 8.2 ล้านตันต่อปี และผลิตภัณฑ์ปิโตรเลียมรวม 2.28 แสนบาร์เรลต่อวัน ซึ่งถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดในประเทศไทย และเป็นอันดับต้นๆ ในภูมิภาคเอเชียน
                คาดว่าในเบื้องต้นการควบ รวมกิจการ จะสามารถ สร้าง ประโยชน์ร่วมกัน(Synergies) ในเบื้องต้น ประเมินมูลค่า ผลประโยชน์อยู่ที่ 80.2-154.1 ล้ หลังควบรวมกิจการที่ จะเพิ่มขึ้น   ซึ่งหลักๆมาจากการ เพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ ที่มีอยู่           
            



         .     จ่ายราคาวัตถุดิบตาม net back ต้นทุนสินค้าที่ขายได้  มติ กพช ครั้งที่ ๒ /๒๕๔๐  วันที่ ๒ มิย ๔๐   กำหนดให้ราคาขาย ก๊าซ    LPG จากเดิมที่คิดจากราคาต้นทุน เป็นราคาผลิตภัณฑ์ ของปิโตรเคมี ส่งผลให้ราคาวัตถุดิบของ อุตสาหกรรมปิโตรเคมีลดลง                
       .๒ ไม่ต้องจ่ายภาษีสรรพสามิต  http://www.google.co.th/url?sa=t&rct=j&q=&esrc=s&source= web&cd=4&ved=0CC4QFjAD&url=http%3A%2F%2Fchonburi2.excise.go.th%2Fcs%2Fidcplg%3FIdcService%3DGET_FILE%26dID%3D142939%26dDocName%3DWEBPORTAL16200065342&ei=k5RlVNeGI8apuQSyuIK4Dg&usg=AFQjCNHw97XS75q_3yxxbBGyWdKZ0Annmw&sig2=-vG3lqEqnZh3J_vd4k9Jpw&bvm=bv.79142246,d.c2E
                การยกเว้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบ หรือส่วน ประกอบ ในการผลิตน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน  ตามพระราชบัญญัติพิกัด อัตราภาษีสรรพสามิต พ.. 2527    ดังต่อไปนี้  
·       น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำไปใช้เป็นวัตถุดิบและส่วนประกอบ ในการผลิต ในโรงอุตสาหกรรมน้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมัน
·       น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่ผลิตได้และนำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงในขบวน การผลิตในโรงอุตสาหกรรม
·        น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำไปใช้เป็นเชื้อเพลิงและใช้ใน การผลิต กระแส ไฟฟ้า
·        น้ำมันและผลิตภัณฑ์น้ำมันที่นำไปจำหน่ายในเขตต่อเนื่องของราชอาณาจักร
                                                 
.๓ จ่ายค่าไฟฟ้าน้อยกว่าครัวเรือน    มติ กพช ครั้งที่๑/๒๕๔๐     วันที่  ๑๒ กพ ๔๐ 
             .๔  มีสิทธิใช้ก่อนประชาชน  สมชาย วงค์สวัสดิ์ ปี ๕๑  
             .๕ จ่ายกองทุน LPG เพียง๑บาทต่อ กก  ยิ่งลักษณ์ ๒๕๕๔  ขณะที่อุตสาหกรรมอื่นๆจ่ายที่๑๒ บาทต่อกก. (ต่อมาลดลง )

๓  ปิยสวัสดิ์  เสนอแผนให้ แปรรูป โรงไฟฟ้าระยอง ปี ๓๗    ตาม มติ กพช  ครั้งที่ ๕๑๒๕๓๕   และขนอม  ปี ๓๘    กพช. ครั้งที่ /๒๕๓๘   เมื่อวันที่ ๓๑ พ.. ๒๕๓๘ โดยมีบริษัท EGCO และ พรชัยเป็นประธาน  กรรมการบริษัท   โบนัสตามกำไรบริษัท  

๔  ปิยสวัสดิ์  เสนอแผนให้ แปรรูป โรงไฟฟ้าราชบุรี    กพช ครั้งที่ ๑/๒๕๔๒    วันที่ ๑๐ กพ ๔๒    โดยมีบริษัทผลิตไฟฟ้ารรชบุรี   อารีพงศ์ ภู่ชะอุ่ม เป็น ผู้ไปจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท    และคุรุจิต นาครทรรพ เป็นประธาน  กรรมการบริษัท         โบนัสตามกำไรบริษัท

๕   ปิยสวัสดิ์  เสนอแผนให้ แปรรูป    ปตท   กฟผ    กฟน. กฟภ.    มติ กพช. ครั้งที่ /๒๕๔๐ เมื่อวันที่ ๑๐  .. ๒๕๔๐   เตรียมแปรรูป กฟผ แต่ถูกศาลปกครอง เบรกเสียก่อน

๖    ปิยสวัสดิ์  เสนอแผนให้ ขายหุ้นบางจาก ให้ตลาดหุ้น  มติ  กพช ครั้งที่ ๔/๒๕๔๐ วันที่ ๑๐  กย. ๔๐
๗   ปิยสวัสดิ์  เสนอแผนให้ เตรียมการ เพื่อแปรรูป   ท่อก๊าซ มติกพชครั้งที่ ๑/๒๕๔๒    วันที่๑๐ กุมภาพันธ์พ..๒๕๔๒  

๘   ปิยสวัสดิ์  รมต พลังงาน   รัฐบาลสุรยุทธิ์    แก้กฎหมาย พรบ. คุณสมบัติมาตรฐานสำหรับกรรมการ และพนักงานรัฐวิสาหกิจ  พ.. ๒๕๕๐ให้พนักงานรัฐวิสาหกิจ ไปเป็นกรรมการบริษัทเอกชนได้

๙   ปิยสวัสดิ์  รมต พลังงาน   รัฐบาลสุรยุทธิ์    แก้กฎหมาย พรบ. "พรบ.ปิโตรเลียม (ฉบับที่ ) .. ๒๕๕๐"
  ก.   แก้ไขให้ "คณะกรรมการปิโตรเลียม" ประกอบด้วยปลัดก.พลังงาน เป็นประธาน  โดย คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ คือ
     () ให้คำแนะนำแก่รัฐมนตรีตามให้สัมปทาน   เสียค่าภาคหลวง   ลดหย่อนค่าภาคหลวง
     () ให้ความเห็นชอบแก่อธิบดี ขยายอายุสัมปทาน
     () ทำความตกลงราคาขายก๊าซธรรมชาติในราชอาณาจักร
       ขแก้ไขให้ ไม่จำกัดจำนวนแปลง และพื้นที่โดยรวมของสัมปทาน
       ค.   รมต พลังงานสามารถ ลดหย่อนค่าภาคหลวง  ๙๐%
** http://law.dmf.go.th/detail.php? lan=th&itm_no=I377515290                  **http://www.thammapiban.com/admin/doc/file/290357.pdf


๑๐   ปิยสวัสดิ์  รมต พลังงาน   รัฐบาลสุรยุทธิ์    แก้กฎหมาย พรบ.การส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.. ๒๕๓๕ ตามมติ กพช ครั้งที่ /๒๕๕๐   วันที่ กพ. ๕๐ กำหนดให้ก.พลังงาน เป็นผู้เก็บ รักษาเงินแทนก.การคลัง  และ เพิ่มให้รมต..พลังงาน เป็นกรรมการในคณะกรรมการกองทุน เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์ พลังงาน
***  http://www.eppo.go.th/nepc/ kpc/kpc-110.htm



http://pttch-th.listedcompany.com/misc/ar/ar2007_th.pdf
PTTCH  เม็ดพลาสติค  ใย ผ้า  ผลิต-จําหน่าย เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน  ผลิตภัณฑ์พลาสติก

 ผลิต-จําหน่ายเอทิลีนออกไซด์ (EO)  MEG ใช้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์    เอทิลีนไกลคอล (EG)

ผู้ถือหุ้นใหญ่    PTT 49.33 %              SCG 20.26 %

 พรชัย รุจิประภา
  ประธานกรรมการ ปี 50   ขณะดำรงค์ตำแหน่ง    ปลัดกระทรวงพลังงาน
ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ประธานกรรมการ    บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
รองเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ  และสังคมแห่งชาติ
กรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จํากัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. เคมิคอล จํากัด (มหาชนปี 2550 

นายประเสริฐ  บุญสัมพันธ 
รองประธานกรรมการ  บริษัท ปตท. เคมิคอล จํากัด (มหาชนปี 2550 
ขณะดำรงค์ตำแหน่ง   ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่   บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)  PTTAR
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ  บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)


นายโอฬาร ไชยประวัติ
 กรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท เชียงใหม่ โฟรเซ่นฟูดส์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ สภามหาวิทยาลัยชินวัตร
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)

นายมนู  เลียวไพโรจน์
ประธานกรรมการกํากับดูแลกิจการ กรรมการตรวจสอบ
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จํากัด
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
ประสบการณ์
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ   บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)


นายพละ   สุขเวช
กรรมการ  ประธานกรรมการกําหนดค่าตอบแทน
ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จํากัด
 ประสบการณ์
กรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)

นายเชิดพงษ์   สิริวิชช์
ประธานกรรมการ   บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
 ประสบการณ์ 
ปลัดกระทรวงพลังงาน
ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ประธานกรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
นายทองฉัตร  หงศ์ลดารมภ์   ตำแหน่งปี 2550 
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยแฟตตี้แอลกอฮอล์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทหารไทย จํากัด
นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กรรมการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

ประสบการณ์
ที่ปรึกษานโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการสรรหาและ
กําหนดค่าตอบแทน บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. เคมิคอล จํากัด (มหาชน)

นายพิชัย  ชุณหวชิร
กรรมการ 
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน)
ประสบการณ์
กรรมการ บริษัท กฟผ. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ การไฟฟ้านครหลวง
กรรมการและกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)

นายปรัชญา  ภิญญาวัธน์
ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย   บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)
ประสบการณ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์และพัฒนาองค์กร
บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร
บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการและกรรมการกําหนดค่าตอบแทน
บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท โรงกลั่นน้ํามันระยอง จํากัด (มหาชน)

นายชลณัฐ  ญาณารณพ์
กรรมการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท เอสซีจี โพลิโอเลฟินส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโพลิโพรไพลีน จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการอํานวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ประสบการณ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย จํากัด






นายรุ่งโรจน   รังสิโยภาส   กรรมการ
ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท เอสซีจี โพลิโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จํากัด
กรรมการ บริษัท ไทยโพลิโพรไพลีน จํากัด
กรรมการ บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท สยามสไตรีนโมโนเมอร์ จํากัด
ผู้อํานวยการสํานักงานวางแผนกลาง  บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)

การเข้าร่วมประชุมของกรรมการ และ ค่าตอบแทนในปี2550

1.  นายพรชัย รุจิประภา   ประธานกรรมการ      โบนัส  3,404,590.16
(ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประธาน   กรรมการแทน นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์    ตั้งแต่ 1 .. 2550 เป็นต้นไป)

2.  นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์   โบนัส 3,404,590.16  รองประธานกรรมการ

3. นายโอฬาร ไชยประวัติโบนัส 3,404,590.16   กรรมการ     ประธานกรรมการตรวจสอบ