วันศุกร์ที่ 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2554

MOU 2543 กับผลประโยชน์พลังงาน - นายกตระบัดสัตย์



MOU กับผลประโยชน์พลังงาน

จริงหรือว่า MOU มีส่วนแบ่งมูลค่ามหาศาล ในธุรกิจ น้ำมัน ?

เปิดขุมทรัพย์ แหล่งน้ำมันไทย-กัมพูชา ข้อครหาพระวิหารแลกบ่อน้ำมัน ใครได้ประโยชน์

ยังไม่ทันคลี่คลายว่า "ปราสาทเขาพระวิหาร" เป็นของใคร แต่คำครหา เขาพระวิหารแลกขุมทรัพย์กลางทะเลพื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา กลับเอ็ดอึง แม้จะบ่งถึงการมองการณ์ไกลของอดีตนายกฯ ทักษิณ ที่ชิงเจรจาธุรกิจพลังงานกับ ฮุน เซน... แต่นั่นก็หมิ่นเหม่ต่อความรู้สึก "รักชาติ" ผลสะเทือนจากการยื่นขอจดทะเบียน "ปราสาทเขาพระวิหาร" เป็นมรดกโลกบานปลายเกินกว่าที่คาดคิด โดยเฉพาะการปลุกกระแส "รักชาติ" และประเด็นการแลกเปลี่ยนเขาพระวิหารกับ "น้ำมัน" และ "ก๊าซธรรมชาติ" ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา

ภาพ-แท่นเจาะปตท. สผ. ที่รั่ว-ระเบิดในทะเลติมอร์สร้างหายนะใหญ่หลวงกับสภวะแวดล้อมชายฝั่งของ 3 ประเทศ ที่คนไทยไม่รู้สึกรู้สาอะไีร แต่รัฐบาลอินโดนีเซียเรียกร้องค่าเสียหายสูงถึง 75,000 ล้านบาท และจะกำลังเป็นปมใจ ในกรณีคนกลางเรื่องปัญหาดินแดน ไทย-เขมร ด้วยแบบนั้นมั้ย !!!

ท่ามกลางข่าวสะพัดว่า มีนักการเมืองไทยบางคนจะได้รับ "สัมปทาน" เป็นการตอบแทน

จริงเท็จแค่ไหนยังไม่ปรากฏชัด แต่ที่ผ่านมาก็มีข่าวที่ถูกนำไปเชื่อมโยงให้เห็นภาพความเกี่ยวข้องอยู่เป็น ระยะ ตั้งแต่ครั้งที่ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรีของไทย บินไปตีกอล์ฟกับ ฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา

จากนั้นก็มีข่าวว่า อดีตนายกฯ ของไทยจะไปลงทุนทำธุรกิจ ที่ จ.เกาะกง ประเทศกัมพูชา

นายจาม ประสิทธิ์ รมว.พาณิชย์กัมพูชา ให้สัมภาษณ์หนังสือพิมพ์กัมพูชา และ พล.อ.เตีย บัน ก็ยืนยันด้วยเช่นกันว่า อดีตนายกรัฐมนตรีของไทยเจรจาขอทำธุรกิจพลังงานร่วมกั

บกัมพูชา แลกกับการเจรจาเรื่องเขาพระวิหาร

แต่ นายนพดล ปัทมะ รมว.ต่างประเทศ ก็ออกมาปฏิเสธว่า ไม่มีการเกี้ยเซียะ หรือเอาแผ่นดินไปแลกอะไรอย่างเด็ดขาด

สวนแนวทางการบริหารจัดการพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล เฉพาะข้อมูลที่ นายนพดล มีอยู่ก็มากมายมหาศาลแล้ว

"พื้นที่ทับซ้อนหรือเจดีเอนั้น มีการประเมินว่ามีทั้งหมด 2.6 หมื่นตารางกิโลเมตร ตรงนี้ต้องตกลงให้ชัดเจน เด็ดขาด ทั้งสองประเทศต้องมาบริหารจัดการร่วมกัน มาพบกันครึ่งทาง เนื่องจากมีก๊าซธรรมชาติและน้ำมันอยู่ในพื้นที่ถึง 5 ล้านล้านบาท"

นายนพดล ยืนยันด้วยว่า การเจรจาจะเป็นแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล ไม่มีเอกชนเข้ามาเกี่ยวข้องอย่างเด็ดขาด แต่เมื่อเจรจาเสร็จแล้ว กัมพูชาอยากจะให้ ปตท.หรือบริษัทเอกชนเข้าไปสำรวจนั้นก็เป็นเรื่องที่เขาสามารถจะทำได้

น่าสนใจว่า หลังมีข่าวเขาพระวิหาร แลกก๊าซและน้ำมัน ไม่นาน นายนพดล ก็ไปเปิดถนนสายที่ 48 ร่วมกับตัวแทนฝ่ายกัมพูชา

ถนนสายที่ 48 เกิดมาจาก "เงินกู้ยืม" ที่รัฐบาลไทยให้แก่กัมพูชา จำนวน 1,200 ล้านบาท พร้อมเงินช่วยเหลืออีก 300 ล้านบาท ในการสร้างสะพานอีก 4 สะพาน

ที่น่าสนใจกว่านั้น คือ ถนนสายนี้จะเชื่อมเส้นทางระหว่าง จ.เกาะกง-จ.กำปงโสม ระยะทาง 152 กิโลเมตร และเชื่อมต่อไปยังกรุงพนมเปญอีกกว่า 200 กิโลเมตร

ถนนสาย 48 จึงเป็นถนนสายหลักที่เชื่อมต่อจากเมืองหลวงของกัมพูชามายัง จ.เกาะกง ซึ่งมีข่าวว่า อดีตนายกฯ ของไทยจะไปลงทุนทำธุรกิจที่นั่น !

สำหรับความคืบหน้าของการแบ่งปันผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล หลังมีการเปิดถนนสาย 48 นายนพดล บอกว่า ได้หารือกับ นายสก อัน รองนายกรัฐมนตรี และรมต.ประจำสำนักนายกรัฐมนตรีกัมพูชา

ในการหารือครั้งนี้ ได้พิจารณาว่าจะใช้หลักพื้นที่ใกล้ประเทศไหนประเทศนั้นจะได้ผลประโยชน์ มากกว่า แต่ยังเป็นสูตรที่ไม่ลงตัว โดยกัมพูชาจะส่งคณะกรรมการเทคนิคมาหารือกับไทยอีกครั้งหนึ่ง ซึ่งหวังว่าน่าจะได้ข้อสรุปภายในปีนี้

คำยืนยันของ รมว.ต่างประเทศ แม้จะยืนยันชัดว่า จะไม่มีเอกชนรายใดได้ผลประโยชน์จากพื้นที่ทับซ้อนตรงนี้ แต่เมื่อดูจากข้อมูลของพื้นที่ทับซ้อน ทั้งขนาดของพื้นที่ รวมทั้งปริมาณก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ที่ซุกอยู่ใต้ผืนทะเลก็น่าหวั่นไหวใจในขุมทรัพย์ก้อนนี้ยิ่งนัก

โดยพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทย-กัมพูชา มีพื้นที่ประมาณ 2.6-2.7 หมื่นตารางกิโลเมตร

การเจรจาพื้นที่ทับซ้อนผืนนี้มีการเจรจามานานตั้งแต่กัมพูชาประกาศเขต ไหล่ทวีปในปี 2515 และไทยมาประกาศภายหลังในปี 2516 จนเกิดพื้นที่เหลื่อมทับกัน แต่ผลการเจรจาเรื่องการปักปันเขตแดนและแบ่งผลประโยชน์ในพื้นที่ก็ยังไม่มี ความคืบหน้ามานานกว่า 30 ปี

กระทั่ง เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน 2544 รัฐบาลไทย (สมัย พ.ต.ท.ทักษิณ) และกัมพูชา ได้ร่วมลงนามในบันทึกความเข้าใจว่าด้วยพื้นที่ที่ทั้งสองประเทศอ้างสิทธิใน เขตไหล่ทวีปทับซ้อนกัน

ใจความสำคัญ ระบุว่า พื้นที่ทับซ้อนเหนือเส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือ ขึ้นไปให้ใช้แนวทางการแบ่งเขต (Delimitation) และพื้นที่ทับซ้อนใต้เส้นละติจูดที่ 11 องศาเหนือลงมาให้ใช้แนวทางการพัฒนาพื้นที่ร่วม (Joint Development Area - JDA)

ต่อมา ในวันที่ 10 สิงหาคม 2549 พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ของไทย (ในขณะนั้น) เดินทางไปเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการเพื่อเจรจาเรื่องนี้ แต่ยังไม่ประสบความสำเร็จ

ประเด็นนี้เริ่มมีความคืบหน้าอีกครั้ง หลังจากได้รัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้งที่มีความใกล้ชิดกับ พ.ต.ท.ทักษิณ ในปี 2551

แหล่งข่าวในกองบัญชาการกองทัพไทย เผยว่า เดิมกัมพูชาจะส่ง นายวากิมฮอง ประธานทีบีซีของกัมพูชา มาเจรจาในเรื่องนี้ แต่ก็เงียบหายไป

โดยครั้งที่ นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรี เดินทางไปกัมพูชา ก็มีการหยิบยกเรื่องนี้ขึ้นไปพูด แต่หลังจากนั้นก็ดูเงียบๆ ไป ซึ่งอาจจะเป็นเพราะกัมพูชาจะมีการเลือกตั้งในเดือนกรกฎาคม และอาจกำลังยุ่งๆ กับการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกอยู่ก็เป็นได้

เขามองว่า การเจรจาล่าช้าส่วนหนึ่งน่าจะเป็นเพราะ 2 สาเหตุหลัก คือ 1.ความไม่ชัดเจนของหลักเขตที่ 73 ซึ่งเป็นหลักเขตแดนไทย-กัมพูชา หลักสุดท้าย แต่กัมพูชามองว่า เขาเสียเปรียบเยอะ และมีพื้นที่ทับซ้อนที่ตกลงกันไม่ได้ประมาณ 100 ไร่ จึงไม่สามารถตกลงเขตแดนในทะเลได้ เพราะการแบ่งเขตต้องลากเส้นอ้างอิงจากจุดนี้

2."อคติ" ของตัวแทนเจรจาฝ่ายกัมพูชาที่มีต่อไทย ซึ่งจะเห็นได้ชัดจากการเจรจาเขตแดนทางทะเลกับฝ่ายเวียดนามที่มีความทับซ้อน กันประมาณ 7,000 กว่าตารางกิโลเมตร ที่สามารถเจรจาตกลงกันได้อย่างรวดเร็ว แต่กรณีพื้นที่ทับซ้อนกับไทยกลับเดินหน้าไปได้ช้ามาก

ทั้งนี้ การเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์บนพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลระหว่างไทยกับกัมพูชาคง ต้องใช้ระยะเวลาในการเจรจาอีกนาน และคงต้องรอดูว่า ผลจากการขึ้นทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลกในที่ประชุมยูเนสโกจะทำให้เกิด "อาฟเตอร์ช็อก" อะไรตามมาหรือไม่

อาฟเตอร์ช็อก ในที่นี้อาจจะมาจากกระแสคัดค้านของคนไทย ซึ่งอาจทำให้ยูเนสโกชะลอการขึ้นทะเบียนมรดกโลกไว้ก่อน

หากยูเนสโกยอมชะลอการขึ้นทะเบียนมรดกโลกไว้จริงๆ ก็ย่อมส่งผลเสียต่อพรรครัฐบาลในกัมพูชาที่พยายามนำเอาประเด็นนี้ไป "หาเสียง" กับประชาชนของเขามาตลอด แต่ฝ่ายค้านในกัมพูชาก็พยายามโจมตีกลับว่า รัฐบาลกัมพูชายอมให้ฝ่ายไทยมากเกินไป

เมื่อรัฐบาลกัมพูชาเสียคะแนน เพราะไม่เสร็จสมอารมณ์หมายในความพยายามปลุกกระแส "ชาตินิยมกินรวบ" เขาพระวิหาร..ก็อาจทำให้ฝันของใครบางคนที่จ้องจะมาแบ่งเค้กก้อนใหญ่นับล้าน ล้านบาทในอ่าวไทยอาจถึงขั้นล้มครืนก็เป็นได้

ก๊าซ-น้ำมันมหาศาลในพื้นที่ทับซ้อน

ข้อมูลของ บริษัท เชฟรอน เมื่อปี 2548 ระบุว่า ได้ค้นพบบ่อน้ำมันและก๊าซขนาดใหญ่ในพื้นที่ 2,427 ตารางกิโลเมตร ทางตอนใต้ของกัมพูชา

โดยเฉพาะพื้นที่สัมปทานแปลงเอ เนื้อที่ 6,278 ตารางกิโลเมตร คาดว่าจะมีน้ำมันสำรองถึง 700 ล้านบาร์เรล และก๊าซอีก 3-5 ล้านล้านลูกบาศก์เมตร

ธนาคารโลก ประเมินว่า แหล่งพลังงานในกัมพูชาน่าจะมีน้ำมันถึง 2 พันล้านบาร์เรลและก๊าซธรรมชาติอีก 10 ล้านล้านลูกบาศก์ฟุต

โดยจะสร้างรายได้ให้กัมพูชาไม่น้อยกว่า 2 พันล้านเหรียญต่อปี (เมื่อเทียบกับราคาน้ำมันดิบบาร์เรลละ 60 เหรียญ)

พื้นที่ที่น่าจะมีก๊าซธรรมชาติ และน้ำมันมากที่สุด ก็คือ พื้นที่ทับซ้อนทางทะเลกับไท

โดยเฉพาะแหล่งน้ำมันแปลงบี ห่างจากชายฝั่งกัมพูชา 250 กิโลเมตร ไปทางตะวันออก ติดกับเขตน่านน้ำไทยในอ่าวไทย ซึ่งครอบคลุมพื้นที่กว่า 6,551 ตารางกิโลเมตร คาดว่ามีน้ำมันและก๊าซธรรมชาติอยู่หลายร้อยล้านบาร์เ

รล

ลอลิง รักชาติ

‎3-4 มี.ค. นายสมัคร สุนทรเวช นายกรัฐมนตรีเดินทางเยือนกัมพูชาอย่างเป็นทางการ โดยให้สัมภาษณ์ภายหลังเดินทางกลับประเทศไทยว่า ได้หารือกับสมเด็จฮุนเชน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา ยืนยันจะขึ้นทะเบียนเฉพาะตั

วปราสาท แต่ไทยอาจถอยเข้ามา 4 กิโลเมตร

25-26 มี.ค องค์การยูเนสโกมีหนังสือเชิญผู้เชี่ยวชาญไทยเข้าร่วมประชุมจัดทำแผนอนุรักษ์และจัดการปราสาทพระวิหารครั้งที่ 2 ณ สำนักงานใหญ่ยูเนสโกที่กรุงปาริส โดยให้มีการทบทวนและพิจารณาความเห็นของฝ่ายไทย เพื่อผนวกให้ข้อเสนอสุดท้ายที่กัมพูชาเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลก ภายในวันที่ 15 พ.ค.แต่ไทยมิได้ส่งผู้แทนเข

้าร่วม

28 เม.ย ก.ต.เผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ว่า รัฐบาลทยได้ตอบรับคำเชิญของยูเนสโกที่เสนอจัดการประชุมที่กรุงปารีส เพื่อให้มีการหารือร่วมกันกับกัมพูชา เรื่องการขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แต่ยูเนสโกแจ้งว่ามีข้อขัดข้องบางประการ จึงเสอนให้นาย Francesco Caruso ซึ่งได้รับมอบหมายจากผู้อำนวยการใหญ่ยูเนสโก ให้เป็รผู้ประสานงานระหว่างไทยกัยกัมพูชา โดยเดินทางมาเยือนไทยและกัมพูชาเพื่อหารือกับแต่ละฝ่าย

ในเดือน พ.ค.

29 เม.ย กระทรวงการต่างประเทศเผยแพร่ข่าวประชาสัมพันธ์ว่า นายนพดลจะเป็นผู้นำคณะผู้แทนระดับสูงของหน้วยงานราชการไทย ไปร่วมประชุมหารือกับกัมพูชาเรื่องหารขึ้นทะเบียนปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ตามคำเชิญของยูเนสโกที่กรุง

ปารีส ประเทศฝรั่งเศษ

6 พ.ค. ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติให้นายวีระชัย อธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฏหมาย ดำรงตำแหน่งเอกอัคราชทูตประจำกระทรวง และโยกย้ายนายกฤต ไกรจิตติ อธิบดีกรมเศรษกิจระหว่างประเทศมาดำรงตำแหน่งอธิบดีกรมสนธิสัญญาและกฏหมายแทน นายนพดล ให้สัมภาษณ์สือมวลชนถึงการโยกย้ายนายวีระชัยว่า ขณะนี้มีประเด็นเรื่องต่าง ๆ รวมถึงเขาพระวิหาร จึงต้องปรับคนเพื่อสิทธิภาพในการประสานงานกับรัฐมนตรี และให้เหมาะสมกับงาน เมื่อผู้สื่อข่าวถามว่าจะไม่ถูกมองว่าเป็นการเปลี่ยม้ากลางศึกหรือ นายนพดลกล่าวว่า ม้าแต่ละตัวในกระทรวงมีประสิทธิภาพทั้งสิ้น แต่ต้องการม้าที่วิ่งในลู่ที่จะวิ่ง ตอนนี้นายวีระศักดิ์ ฟูตระกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ รับเป็นประธานคณะการทำงานเรื่องเขาพระวิหาร วันเดียวกันนี้ นายวีระศักดิ์ ฟูตะกูล ปลัดกระทรวงการต่างประเทศ เดินทางไปประชุมนอกรอบกับนายสก อัน ที่กรุงพนมเปญ กัมพูชาได้เสอนให้มีการตั้งคณะกรรมการพัฒนาพื้นที่ร่วมกัน โดยนายวีระศักดิ์ขอนำกลับมาหารืออีกครั้งก่อนให้คำตอบท

ี่ชัดเจน

12 พ.ค. นายนพดล ให้สัมภาษณ์สื่อมวลชน ว่าจะเดินทางไปร้วมพิธิเปิด

เส้นทางหมายเลข 48 เกาะกง-สแรอัมเบิล ในวีนที่

14 พ.ค. และจะมีการหารือกับนายกสน อัน เรื่องปราสาทพระวิหาร

15 พ.ค. ในการประชุมสภาผู้แทนราษฎร ม.ร.ว. สุขุมพันธ์ บริพัตร สส.ระบบสัดส่วนพรรคประชาธิปัตย์ ตั้งกระทู้สดถามนายนพดล เรื่องปัญหาเขาพระวิหารกับการเจรจา ผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเล รวมถึง การโยกย้ยนายวีระชัย นายนพดลกระทู้ว่า ข่าวการโยกเรื่องเขาพระวิหารกับผลประโยชน์ในพื้นที่ทับซ้อนทางทะเลเป็นความเท็จ รัฐบาลไทยมีท่าทีชัดเจนว่าต้องให้มีการบริหารพัฒนาพื้นที่ร่วมกันระหว่างสองประเทศ ก่อนที่จะมีการขึ้นทะเบียนมรดกโลก จะเร่งให้มีการเจรจาแก้ปัญกาในช่วย 2 เดือนที่เหลือก่อนการประชุมมรดกโลก รวามถึงให้มีการออกแถลงการณ

์ร่วมกันของ 2 ประเทศ

20 พ.ค. นายนพดลรายงานต่อที่ประชุม ครม. ถึงการเตียมเดินทางไปประชุมระหว่างไทย กัมพูชา และยูเนสโก เรื่องการขอขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยนายนพดลได้แจกเอกสารแนวทางแก้ไขปัญหาข้อพิพาทบริเวณเขาพระวิหารจำนนวน 8 แผ่นให้ครม. ทำคนศึกษา หลังจากชี้แจงรายละเอียด ในเรื่องดังกล่าวจบก็สั้งเจ้าหน้าที่เก็บร่วมและแผนผัง

แนบท้าย

17.มิ.ย ครม.เห็นชอบคำแถลงการณ์รวมทั้งแผนผังของกัมพูชา นอกจากนี้ยังมีมติแต่งตั้งนายปองพล อดิเรกสาร เป็นประธานคณะกรรมการแห่งชา

ติว่าด้วยอนุสัยญา มรดกโลก

18.มิ.ย นายนพดลลงการลงการแถงการณ์ร่วม และเปิดแถลงข่าวโดยเชิญ พล.ท.ดน. มีชูอรรถ พล.ท.สุรพล เผื่อนอัยกา เลขา สมช รวมชี้แจงยืนยันว่าไม่เสียดินแดน นอกจากนนี้นายกรัฐมนตรี ตลอดจนบรรดาเหล่าผู้นำเหล่าทัพต่างยืนยยันว่า กระทรวงการต่างประเทศดำเนิน

การถูกต้องล้ว และไทยไม่เสียดินแดน

24 มิ.ย. กลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตยร้องศาลปกครองกลางให้มีคำสั่งเพิกถอนการลงนามในการแถลงขการณืร่วมกันดังกล่าว กลุ่ม สว. และชนชั้นนำกว่า 300 คน ยื่นจดหมายถึงยูเนสโกผ่านสำนักงานประจำกรุงเทพฯ ขอให้คณะกรรมการมรดกโลกเลื่อนการพิจารณาปราสาทเขาพระวิหาร ที่ประชุม ครม. มีมติให้แก้ไขถ้อยคำในมติครม. วันที่ 17 มิ.ย โดยเปลี่ยนคำวาแผนผังเป็นแผนที่ การประชุมสภาผู้แทนราษฎร มีการนำปรเด็นแถลงการณ์ร่วมขึ้นมาอภิปรายไม่ไว้วางใจนา

ยนพลด

28 มิ.ย. ศาลปกครอง กลางมีคำสั่งคุ้มครองชั่วคร

าว ห้ามมิให้นายนพดลและ ครม. นำมติครม.วันที่ 17 ไปใช้ประโยชน์

1 ก.ค. ครม. มีแจ้งมติให้คณะกรรมการมรดกโลก 21 ประเทศ และกัมฑุชา ทราบถึงคำสั่งคุ้มครองชั่วคราวระงับการให้แถลงการณ์ร่วม วันเดียวกัน นายเชลดอน เชฟเฟอร์ ผอ. ยูเนสโก กรุงเทพฯ มีจดหมายถึงกลุ่มสว.ที่ยื่นหนังสือคัดค้านกัมพูชาขึ้นทะเบียนมรดกโลก โดยจ้อความตอนหนึ่งระบุว่า พันธะในการให้ความร่วมือบริหารปราสาทเขาพระวิหาร แสดงออกเป็นทางการแล้วในการลงนามระหว่างนายนพลดและนายสก อัน ที่กรุงปารีส เมื่อวันที่ 22 พ.ค. ขณะเดียวกัน สว. 77 คน เข้าชื่อเสอนเรื่องให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาว่า แถลงการณ์ร่วมดังกล่าวเข้าข

่ายมาตร 190 ตามรัฐธรรมนูญหรือไม่

3 ก.ค. นายนพดลเรียกนายเชลดอนมาชี้แจงว่า การลงนามวันที่ 22 พ.ค. มิใช่การลงนามย่อในร่างแถลงการณ์ แม้นายเชลดอนจะแสดงความเสียใจต่อความผิดพลาด แต่ยืนยันว่ายูเนสโกไม่มีอำนาจตัดสินใจว่าเอกสารใดถูกต

้อง หรือไม่ถูกต้อง

5 พ.ค. นายอภิทธ์ เวชชาชีวะ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ แถลงข่าวกรณีนายนพดล ลงนามร่างแถลงการณ์ร่วมในวันที่ 22 พ.ค. เพื่อช่วยเหลือให้กัมพูชาทำข้อเสนอสุดท้ายเสนอต่อคณะกรรมการมรดกโลกซึ่งกำหนดไว้ว่

า ต้องส่งกอ่น 6 สัปดาห์ก่อนการประชุม

7 ก.ค. คณะกรรมการมรดกโลกมีมติให้ปราสาทเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก แม้นายนพดลและนายปองพลจะแถลงคัดค้านแต่ก็ไม่เป็นผล วันเดียวกัน ศาลรัฐธรรมนูญตัดสินว่าแถลงการณ์ร่วมเข้าข่ายเป็นสนธิส

ัญญาตามรํฐธรรมนูญมาตรา 190

--------------------------

----------------

ข่าวจาก โพสท์ทูเดย์ 10 ก.ค. 51

ท่องเที่ยวสุดฮิต: เกาะเสม็ด ปาย ไปไหนดี หัวหิน ที่พักหัวหิน ที่พักเชียงใหม่ ทัวร์ต่างประเทศ!

ความเห็นที่ 8 โพสเมื่อ : 17 ก.ค. 51 : 17:33 น. โดย : Pui

15 พื้นที่ทับซ้อนไทย-กัมพูชา

ปมปัญหาที่ต้องเร่งแก้ไข

แม้ปราสาทพระวิหารจะได้รับรองจากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกไปแล้ว แต่ก็ใช่ว่าจะทำให้ปัญหาและข้อห่วงใยหมดไปซึ่ง ไม่เพียงแต่พื้นที่บริเวณรอบปราสาทซึ่งไทยและกัมพูชาต่างอ้างสิทธิอธิปไตยเท่านั้นรอบชายแดนชองทั้งสองการวิจัย ซึ่ง ประเทศกว่า 730 กิโลเมตร ยังคงมีปัญหาการอ้างสิทธิอธิปไตยเหนือกว่าดินแดนทับซ้อนกันอีกหลายพื้นที่ ทั้งทางบก และทางทะเล หากคำนึงถึงประโยชน์แล้วย่อมมีมากกว่าพื่นที่ 4.6 ตารางกิโลเมตร รอบปราสาทพระวิหาร

ปัญหาสัคัญมาจากการที่ทั้ง 2 ประเทศยึดถือแผนที่อ้างอิงแตกต่างกันซึ่งประเด็นนี้ถือเป็นเรื่องอ่อนไหว เนื่องจากครั้งหนึ่งประเด็นแผนที่ทำให้ไทยต้องยินยอมให้กัมพูชามีอำนาจอธิปไตยเหนือปราสาทพระวิหารตามคำพิพากษาของศาลโลก

ดังนั้น เพื่อมิให้ประวัติศาสตร์กลับมาซ้ำรอยเดิมอีก การปักปันเขตแดนร่วมกันของทั้ง 2 ประเทศ จึงแนสิ่งจำเป็นที่จะต้องร่วมมือกันหาข้อยุติ

การแก้ปัญหาเหล่านี้ให้ยุติลงได้ จะเป็นการป้องกันมิให้มีการปลุกกระแสชาตินิยมขึ้นมาทำให้สถานการณ์ขยายไปเป็นความขัดแย้งระหว่างรัฐ และระหว่างประชาชนทั้ง 2 ประเทศ

ข้อมูลจากภาพผนวก 1 ในจุลสารความมั่นคงศึกษา เรื่อง กรณีเขาพระวิหาร โดยโครงการความมั่นคงศึกษา สำนักงานกองทุนสนับสนุน ซึ่ง รศ.ดร.สุรชาติ บำรุงสุข นักวิชาการด้านควมมั่นคง คณะรัฐศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เป็นบรรณาธิการ ได้แสดงให้เห็นถึงพื้นที่ซึ่งมีปัญหาทับซ้อนกันของทั้ง

2 ประเทศ ถึง 15 จุด

จ.สุรินทร์

จ.สุรินทร์ มีปัญหาพรมแดนติดต่อกับประเทศกัมพูชาด้าน อ.กาบเชิง บัวเดช สังขะ และ กิ่ง อ.พนมดงรัก ซึ่งเขตดแนติดต่อมีลักษณะเป็นป่าทิวเขาพนมดงรักกั้นตลอดแนว ส่วนหนึ่งเป็นเขตประกาศรักษาพันธ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ และตามแนวชายแดน ซึ่งเป็นเขตแดนทางบกมีช่องการขึ้นลงจำนวนมาก

จ.สุรินทร์ มีหลักเขตแดนทั้งหมด 23 หลัก ตั้งแต่หลักเขตแดนที่ 2-23 มัหลักเขตแดนที่ไม่ สามารถตรวจพบ 6 หลัก คือหลักเขตแดนที่ 2 , 4,5,6 15 และ 16 ส่วนหลักเขตที่ 7 มีร่องรอยการเคลื่อนย้าย ปัญหาควมขัดแย้งที่เกิดขึ้น

สำคัญได้แก่

1. กลุ่มปราสาทตาเมือน เป็นปราสาทหินจำนวน 3 หลัง ตั้งอยู่แนวภูเขาบรรทัดบริเวณบ้านหนองคันนาสามัคคี หมู่ 18 ต.ตา เมียง กิ่ง อ.พนมดงรัก กลุ่มปราสาทตาเมือนประกอบด้วย ปราสาทตาเมือนธมเก่าแก่และม

ีขนาดใหญที่สุด ปราสาทตาเมือนโต๊ด และปราสาทตาเมือน

2.ปรสาสาทตาควาย ตั้งอยู่ในเขตบ้านทยนิยมพัฒนา หมู่ 17 ต.บักได ช่วงปี 2544 ราษฏรกัมพูชาได้แพร่กระจายข่าวว่า ปราสาทตาเมือนและปราสาทตาควายเป็นของกัมพูชา และกัมพูชาอาจยื่นขอเรียกร้องอ้างสิทธิเหนือกว่าปราสาททั้ง 2 แห่ง ซึ่งในการประชุมเจ้าหน้าที่ที่เทคนิคไทย-กัมพูชา เมื่อวันที่ 7-8 พ.ย. 2544 นำโดยประชา คุณะเกษมที่ปรึกษา รมว.ต่างประเทศ และประธานคณะกรรมาธิการเขตแดนร่วมไทย-กัมพูชา และนายวาร์ กิม ฮง ที่ปรึกษารัฐบาลกัมพูชาด้านกิจการชายแดน ประธาน ฝ่ายกัมพูชา (ปัจจุบันเป็น รมว. ต่างประเทศกัมพูชา) ฝ่ายไยเสนอว่า ขอให้จัดชุดสำรวจร่วมทำการเดินตรวจสอบแนวสันปันน้ำในภมิประเทศบริเวณปราสาท เพื่อพิสูจน์ทราบตำแหน่งปราสาททั้ง 3 หลัง โดยยึดถือตามแนวสันปันน้ำต่อเนื่องในภูมิประเทศเป็นเส้นแดน แต่ฝ่ายกัมพูชาชี้แจงว่าได้ตรวจสอบปราสาททั้ง 2 หลัง (ตาเมือนธม และ ตาเมือนโต๊ด) แล้ว ประกอบกัยหลักฐานบันทึกว่า จากการปักปันเขตแดนหมายเลขที่ 23 ระหว่างไทย-ฝรั่งเศส ปี ค.ศ. 1908 แสดงสัญลักษณ์ตัวปราสาท 2 หลัง อยู่ในเขคตกัมพูชา ขณะที่แผนที่ชุด L7017 ที่ฝ่ายไทยยึดถือและแผนที่ชุดที่ L 7016 ทึ่ฝ่ายกัมพูชายึดถือ ปราสาทตาเมือนธมอยู่ในเขตกัมพูชา และอีก 2 ปราสาท (ตาเมือนโต๊ดและตาเมือน) อยู่ในเขตไทยปัจจุบันปัญหายริเวณดังกล่าวจึงยังไม่ได้ข้อยุติ

จ.บุรีรัมย์

ไม่ปรากฏปัญหาขัดแย้ง หรือข้อพิพาทเกี่ยวกับเส้นเขตแดน แต่ยังมีเขตแดนเขตที่ต้องปักปัน ได้แก่ หลักเขตแดนที่ 25 บริเวณช่องสายตระกู ต.สายตระกู อ.บ้านกรวด ซึ่งไม่สามารถตรวจสอบได้ เพราะหลัดเขตสูญหาย

จ.สระแก้ว

พื้นที่ จ.สระแก้ว อยู้ในควมดูแลของกองกำบลัง (กกล.) บูรพา ตั้งแต่ อ.ตาพระเยา อ.คลองหาด (หลักเขตที่ 28-51) มีหลักเขตที่สบบรูณ์ 11 หลักเขตสูญหายจำนวน 6 หลักเขต แต่ที่มีเหตุให้เกิดการล้ำแ

ดนคือ

1.บริเวณเขตที่ 31-32 เนิน 48 อ.ตาพระยา-บึงครอกวน อ.ตาพระยา ซึ่งหลักเขตดังกล่าวได้สูญหาย ทำให้ไม่สามารถกำหนดเส้นเขตแดนที่ชัดเจนได้ และกัมพูชายังหล่าวหาฝ่ายไทยว่าก่อสร้างอาคารอเนกประสงค์บางส่วนรุกล้ำเขตแดนกัมพู

ชา

2. หลักเขตที่ 35 บริเวณจุดผ่อนปรนตาพระยา – บึงตรอกวน อ.ตาพระยา ซึ่งหลักเขตดังกล่าวไทยได้สูยหาย ทำให้ไม่สามารถ กำหนเส้นเขตแดนไทยที่ชัดเจน และกัมพูชายังกล่าวหาฝ่ายไทยว่าก่อสร้างอเนกปประสงค์บ

งส่วนรุกล้ำเขตแดนกัมพูชา

3.หลักเขตที่ 37-40 บริเวณเขาพนมปะและเขาพนมฉัตร อ.ตาพระยา ซึ่งทั้ง 2 ฝ่าย ต่างยึดถือแผนที่อ้างอิงต่า

งกัน

4.หลักเขขตที่ 46-48 ต.โนนหมากมุ่น กิ่ง อ.โคกสูง ถูกราษฏรกัมพูชา บ้านโชคชัย จ.บันเตียมัยนเจย ประมาณ 200 คน รุกล้ำเข้ามาปลูกที่อยู่อาศ

ัยในเขตไทย ห่างจากฃายแดนประมาณ 300 เมตร คิดเป็นเนื่อที่ประมาณ 400 ไร่ นอกจากนี้หลักเขตที่ 48 ยังถูกทำลาย

5.พื้นที่บ้านป่าไร่ใหม่ ต.ป่าไร่ อ.อรัญประเทศใกล้หลักเขตที่ 49 ฝ่ายกัมพูชาก่อสร้างกำแพงคอนกรีตในบริเวณดังกล่าว แต่ยอมยุติการก่อสร้างและไทยหรื้อถอนบางส่วนซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้นำตำรวจเข้ามาตั้งฐ

านการปฏิบัติในเขตกัมพูชา ใกล้บริเวณดังกล่าว

6.พื้นที่บริเวณจุดผ่านแดนถาวรคลองลึก อ.อรัญประเทศ เกิดจาการปรับพื้นที่เพื่อก่อสร้างบ่อนการพนันในเขตกัมพูชา อันเป็นเหตุให้ลำน้ำคอลงลึก คอลงพรมโหด ที่ใช้เป็นเส้นเขตแดนตื้นเข

ินและเปลี่ยนทิศทาง

7.หลักเขตที่ 51 บ้านคลองหาด (เขาตาง็อก) ไทยและกัมพูชาต่างใช้แผนที่อ้างอิงแตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลี่อมทับกันประมาณ 3 ตารางกิโลเมตร คิดเป็นเนื้อที่ประมาณ 1875 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาเข้าทำการปลูกสร้างสิ่งก่อสร้างไว้ และกองบัญชาการป้องกันชายแดนจันทบุรีและตราด (กปช.จต.)ได้เข้าเจรจาให้รื

้อถอนออกไป

จ.จันทบุรี

1.หลักเขตที่ 51 (พื้นที่รอยต่อ จ.สระแก้ว-จันทบุรี) ไทยและกัมพูชาต่างใช้แผนที่อ้างอิงแตกต่างกัน ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 3 กิโลเมตร ฝ่ายกัมพูชาเข้าทำการปลูกสร้างสิ่งกิ่งสร้างไว่ ต่อมา กปช.จต. ได้กดดันให้รื้อถอนสิ่งก่อส

ร้าง

2.หลักเขตที่ 62 บ้านหนองกก ต.เทพนิมิต อ.โป่งน้ำร้อน จ.จันทบุรี ซึ่งตลิ่งริมน้ำถูกกระแสน้ำกัดเซาะจนพังทลาย เป็นเหตุให้หลักเขตอ้างอิงที่ตั้งอยู่ริมคลองโป่น้ำรอ้นโค่นล้ม กองบัชชาการทหารสูงสุด ได้อนุมัติแนวทางติดตั้งหลักเขตแดนใหม่ โดยเจรจากับกัมพูชาดำเนินการติดตั้งแดนขึ้นใหม่ โดยเจรจากับกัมพูชาดำเนินกา

รติดตั้งหลักเขตชั่วคราว

3.หลักเขตแดนที่ 66 และ 67 บ้านผักกาด อ.โป่งน้ำร้อน ทั้ง 2 ประเทศต่างอ้างแนวเขตพื้นที่เหลื่อมทับกันประมาณ 1 ตารางกิโลเมตรซึ่งฝ่ายกัมพูชาได้เข้ามาตัดต้นไม้ และยังกล่าวหา ว่าไทยทำการปิดประกาศเขตป่าสวงนแห่งชาติรุกล้ำเข้าไปใต

เขตประเทศกัมพูชา

จ.ตราด

1.บริเวณบ้านคองสน บ้านคลองกวาง-ตากุจ อ.คลองใหญ่ บนเส้นเขาบรรด เนื่องจากกัมพูชาได้สร้างถนนสาย k5 ล้ำเข้ามาในเขตไทยประมาณ 4 กิโลเมตร ซึ่งฝ่ายกัมพูชายอมรับว่าสร้างล้ำเข้ามาจริง ทาง กปช.จต. จึงได้ปิดเส้นทาง ในส่วนที่ล้ำเข้ามาพร้อมทั้งจุดตรวจและลาดตระเวนตามเส้

นทางอย่างต่อเนื่อง

2.บริเวณบ้านหนองรี อ.เมือง กำลังทหารสังกัด ร้อยปชด.1 พัน ปชด.501 ได้เข้ามาตั้งฐานปฏิบัติการบริเวณพิกัด T.U509454 ลึกเข้ามาในเขตไทยประมาณ 300 เมตร กปช.จต. ได้กดดันมิให้ฝ่ายกัมพูชาก่

อสร้างอาคารเพิ่มเติม

3.หลักเขตที่แดนที่ 72 และ 73 จุดผ่านแดนถาวร บ้านหาดเล็ก ต.หาดเล็ก อ.คลองใหญ่ โดยหลักเขตที่ 72 และ 73 จุดผ่านแดนถาวร บ้านหาดเล็ก ต.หาดใหญ่ อ.คลองใหญ่ โดยหลักเขตที่ 72 สูญหาย และมีการอ้างแนวเขตจากหลักเขตที่ 73 ไปยังหลักเขตที่ 72 แตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชายึอถือค่าพิกัด TT.725886ส่วนไทยยึดถือค่าพิกัด TT.725884 ทำให้มีพื้นที่เหลื่มทับกันประมาณ 100 ไร่ ซึ่งฝ่ายกัมพูชาพยายามก่อสร

้างถาวรในพื้นที่ แต่ กปช.จต.ได้กดดันให้ยุติ

เส้นเขตแดนทางทะเล

ไทยและกัมพูชาประกาศเขตไหล่ทวีปในอ่าวไทยแตกต่างกัน ฝ่ายกัมพูชาประกาศเมื่อวันที่ 1 ก.ค. 2551 โดยลากเส้นจากจุดอ้างอิงที่ละติจูด 11 องศา 38.88 ลิปดาตะวันออก ผ่านยอดเขาสูงสุดของเกาะจูด 102 องศา 54.81 ลิปดาตะวันออก ผ่ายยอดเขา สูงสุดของเกาะกูด เลยไปถึงระยะกึ่งกลางระหว่า

งระหว่างหลักเขตที่ 73

ส่วนไทยประกาศเขตไหล่ทวีปเมื่อ 18 พ.ค 2516 โดยกำหนดจุดอ้างอิง ที่ 1 ที่ละติจูด 102 องศา 55 ลิปดาตะวันออก ที่บ้านหาดเล็ก แล้วลากเส้นเกาะกง จากนั้นแบ่งครึ่งมุมระหว่างเส้นฐานตรงออกเป็นมุมทิศ 211 องศา ไปยังตำแหน่ง ของจุดที่ 2 ทำให้เกิดพื้นที่เหลื่มทับท

างทะเลประมาณ 34043 ตารางกิโลเมตร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น