วันอังคารที่ 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แม่ ... หมอเหวง รักษาการประธาน นปช. - ปล่อยให้สังคมไทยและสังคมโลกพิจารณาเอง กรณี คดียุบ ปชป. หมดอายุความ


นางธิดา ถาวรเศรษฐ์ รักษาการประธานแนวร่วมประชาธิปไตยขับไล่เผด็จการแห่งชาติ (นปช.) กล่าวว่า การที่พรรคประชาธิปัตย์ไม่ถูกยุบ เพราะศาลรัฐธรรมนูญยกคำร้องคดีการใช้เงินทุน 29 ล้านบาทนั้น เป็นผลดีต่อการเติบโตของคนเสื้อแดงเพราะทำให้คนเสื้อแดงที่รู้สึกท้อแท้กลับมาฮึดสู้ขึ้นมาโดยที่เสื้อแดงไม่ต้องทำอะไรมาก เนื่องจากคำตัดสินชี้ว่า มีสองมาตรฐานเกิดขึ้นชัดเจน "เราจะไม่ทำอะไรจะไม่เคลื่อนไหวกดดันศาลรัฐธรรมนูญ ปล่อยให้สังคมไทยและสังคมโลกพิจารณาเอง เพราะเราไม่ต้องการสร้างเงื่อนไขหรือทำให้เกิดตัวละครใหม่เพื่อให้เกิดความสับสนและเกิดปัญหาขึ้น"

นางธิดา กล่าวต่อว่า ในวันนี้ได้นัดแถลงข่าวเวลา 13.00 น. ที่ห้างอิมพีเรียล ลาดพร้าว ซึ่งทิศทางของนปช.จากนี้จะเน้นสันติวิธีและใช้เหตุผลต่อสู้ โดยแกนนำต้องการส่งสัญญาณถึงเสื้อแดงกลุ่มต่างๆ ทั่วประเทศว่า หากจะเคลื่อนไหวอะไรต้องยึดหลักการสันติ และมีสติในการทำงานเพราะเราไม่ต้องการให้เกิดอนาธิปไตย หรือความรุนแรงเพราะหากมีความรุนแรงเกิดขึ้นจะทำให้การแก้ปัญหายากขึ้น

"เราต้องการให้สังคมเข้าใจว่า เสื้อแดงต่อสู้เพื่อประชาธิปไตยไม่มีการใช้ความรุนแรงเหมือนที่รัฐบาลพยายามกล่าวหา"

...... ประวัติ หมอเหวง


7 สิ่งมหัศจรรย์ของโลก ฮือฮากันไปแล้ว แต่ทราบไหมคะ เราน่าจะจัดอันดับเรื่องจริงประเภท 'How Come? เป็นไปได้ไง (ฟระ)' บ้างก็จะดีนะคะ เรื่องประเภทไม่น่าเป็นไปได้ ยกตัวอย่าง คนที่เป็นคอมมิวนิสต์หัวรุนแรง จะมาตั้งตัวเป็นแกนนำเพื่อเรียกร้องประชาธิปไตย ...เป็นไปได้ไง(ฟระ)
เช่น คนคนนี้ หมอเหวง

ประวัติ

ชื่อตามบัตรประชาชน: นายแพทย์เหวง โตจิราการ

ชื่อจัดตั้งในพรรคคอมมิวนิสต์: สหายเข้ม
ประวัติการศึกษา:
คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล
สถานะการสมรส: สมรสแล้ว
ชื่อภริยาตามบัตรประชาชน:
ธิดา ถาวรเศรษฐ
ชื่อจัดตั้งของภริยาในพรรคคอมมิวนิสต์: สหายปูน
ประวัติการทำงาน
: มีคลีนิครักษาโรค 2
แห่ง
รัชดาคลีนิก ที่อยู่ เลขที่ 2003/3 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร โทรศัพท์ 02 5612051

กิจกรรมทางการเมือง:
- เป็นแกนนำนักศึกษามหิดล ตำแหน่งประธานพรรคแนวร่วมมหิดลและนายกสหพันธ์นักศึกษามหิดล
- มีความสนิทชิดเชื้อกับสหายเก่า "หมอมิ้ง" น.พ.พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช และ "หมอเลี้ยบ" น.พ.สุรพงษ์ สืบวงศ์ลี คนใกล้ตัว พ.ต.ท.ทักษิณ อย่างยิ่ง
- หมอเหวงเดินทางไปต่างประเทศก่อนเหตุการณ์ 6 ตุลา หลายเดือน ระหว่างทางก็มีการขัดแย้งรุนแรงระหว่างกันเอง เมื่อต้องหลบเข้าป่าไป จึงทิ้งภารกิจการนำนักศึกษามหิดลให้ หมอมิ๊ง

มีบทบาททางการเมืองช่วงเหตุการณ์เดือนพฤษภาคม 2535 โดยก่อตั้งสมาพันธ์ประชาธิปไตยขึ้นมาสนับสนุนการต่อสู้ของพล.ต.จำลอง ศรีเมือง ร่วมกับศ.นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ และครูประทีป อึ้งทรงธรรม ฮาตะ
มามีบทบาทอีกครั้งในช่วงนี้เมื่อร่วมกับหลากหลายกลุ่มทวงสัญญาให้รัฐบาลยกเลิกกฎหมาย 11 ฉบับ เข้าใจว่าคงได้พูดคุยกับคนของรัฐบาลระดับหนึ่งแล้ว และเข้าร่วมคณะกรรมการที่นายกรัฐมนตรีจัดตั้งขึ้น ที่มีคุณพันศักดิ์ วิญญรัตน์เป็นประธาน

เคยลงสมัครส.ว. แต่แพ้หวุดหวิด ลงสมัครครั้งที่ 2 เพราะคนอื่นได้ใบเหลือง ก็ยังแพ้หวุดหวิดอีก

- ต้นปี 2525 มีการประชุมสมัชชาพรรคฯครั้งที่ 4 (หน่วยอีสาน) ณ ภูผาแดง ฐานที่มั่นภูพาน ส.เข้ม ได้รับความไว้วางใจให้เป็น "เลขานุการ" การประชุมฯ ซึ่งครั้งนั้นเขาหวังลึกๆว่า พรรคจะทำการผ่าตัดใหญ่ ปรับเปลี่ยนยุทธศาสตร์ และเลือกคนรุ่นใหม่เข้าไปเป็นกรรมการบริหารพรรค

เดือนสิงหาคม 2525 เมื่อการประชุมใหญ่เสร็จสิ้น และมีการประกาศคำแถลงของคณะกรรมการบริหารกลางชุดที่ 4 ครั้งที่ 1 ซึ่งมีคณะกรรมการพรรคฯที่เป็นปัญญาชนรุ่น 14 ตุลาฯ ได้รับเลือกแค่ 3 คนคือ สหายขวาน (พิรุณ ฉัตรวนิชกุล) , สหายกาวน (ชลธิรา สัตยาวัฒนา) และ สหายปูน (ธิดา ถาวรเศรษฐ์)

"สหายเข้ม"ผู้ที่ฝากความหวังไว้สูงยิ่ง รู้สึกผิดหวังอย่างแรง โดยเฉพาะประเด็นวิเคราะห์สังคมไทย ที่ตัวแทนสมัชชาพรรคฯส่วนใหญ่เห็นด้วยกับมติของภาคอีสาน แต่กรมการเมือง พคท.บางคนคัดค้านและดั้นเมฆวิเคราะห์สังคมไทย จึงเขียนบทความขนาดยาวเรื่อง "ลัทธิเลนินกับคณะกรรมการบริหารกลางของพรรคเรา" วิพากษ์วิจารณ์องค์การนำชุดใหม่ เป้าแห่งการโจมตีครั้งนั้นคือ สหายธาร หรือ จางหย่วน หรือ "วิรัช อังคถาวร" ผู้ที่ถูกมองว่ามีอิทธพลครอบงำพรรค

ซึ่งก็มีเสียงนินทาลับหลังว่า หมอเหวงไม่ได้เป็นกรรมกลางกลางจึงเคลื่อนไหวโจมตีพรรค

- ปี 2526 สหายเข้มหรือ หมอเหวงประกาศแตกหักกับพรรค ด้วยการเขียนหนังสือ "ป่าแตก" ร่วมกับ ธิดา ถาวรเศรษฐ์ จากหนังสือเล่มดังกล่าว จึงนำมาซึ่งวิวาทะผ่านหน้าหนังสือพิมพ์ระหว่าง "สหายเข้ม" กับ "สหายขวาน" อยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะเลิกรากันไป หลังจากผู้นำสูงสุด(กลุ่มใหญ่)ของ พคท.ถูกจับกุมตัว

- หมอเหวง มีบทบาทในฐานะนักเคลื่อนไหวมวลชนเพื่อประชาธิปไตย จวบจนถึงวันที่มีการลุกฮือขับไล่ทักษิณ หมอเหวงยังสงวนท่าที เพราะไม่เห็นด้วยกับคำขวัญ "คืนพระราชอำนาจ" ของ สนธิ ลิ้มทองกุล ต่อมาเมื่อมีการจัดตั้งกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย หมอเหวงก็ขึ้นเวทีปราศรัยในประเด็นคัดค้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

แต่เมื่อถึงจุดเปลี่ยนของสถานการณ์ เมื่อพันธมิตรฯชูประเด็น "นายกฯมาตรา 7" นั่นคือเป็นจุดเริ่มของความขัดแย้งอย่างรุนแรงในกลุ่มซ้ายเก่า รวมถึงอดีตสมาชิก พคท. ที่แตกขั้วความคิดออกเป็นสองกลุ่ม โดยกลุ่มแรกหนุนให้ล้างระบอบทักษิณ เพราะเชื่อว่า"ศักดินาที่ล้าหลัง ดีกว่าทุนใหม่ที่สามานย์"

เรื่องที่น่าผิดหวังของหมอเหวง

1. ช่วงที่เป็นสมาชิกพรรคคอมมิวนิสต์นั้น หมอเหวงได้เป็นคนใกล้ชิดของลุงธง แจ่มศรี ผู้ที่ดำรงตำแหน่งเลขาธิการใหญ่ของพรรค แม้ว่าจะถูกหมอเหวงนำชื่อไปอ้างก็ตาม แต่ลุงธงก็ไม่อยากจะยุ่งด้วยแล้ว

2. เมื่อปี 2525 ที่มีการประชุมสมัชชาครั้งที่ 4 หมอเหวงที่หวังว่าจะเข้าเป็นกรรมการบริหารพรรค ก็ไม่ได้รับเลือกแต่อย่างใด

3. เมื่อวันที่ 5 - 6 พ.ค. 2550ที่ผ่านมา พคท.ได้จัดงาน เรียกว่า รวมรุ่นนายร้อยเวียดนาม 08 – 09 ที่อนุสรณ์สถานภูพาน อ.เขาวงศ์ จ.ศรีสะเกษ เพื่อรวมกลุ่มสหายนักรบดาวแดงที่ผ่านการฝึกอบรมจากโรงเรียนนายร้อยของพรรคคอมมิวนิสต์เวียดนาม และแจกแถลงการณ์ของพรรคในสถานการณ์การเมืองปัจจุบัน ปรากฎว่าเขาพูดถึง พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ ในแง่บวกมากและเขาไม่ได้เอาด้วยกับกลุ่มคุณทักษิณ ชินวัตร

ความเป็นไปของพคท. (โดยสังเขป)
ปัจจุบันมีสามกลุ่มเป็นอย่างน้อย
กลุ่มแรก คือสายจีนเก่า ของคุณวิรัช อังคถาวร หรือจางหย่วน ที่เสียชีวิตไปแล้ว ซึ่งป้าผึ้งเป็นหัวเรี่ยวหัวแรง

กลุ่มที่สอง คือสายอีสาณ นำโดยลุงปรีดา หรือวินัย เพิ่มพูนทรัพย์ กับลุงขจัด สมลีพรหมพินิจ

กลุ่มที่สามเป็นกลุ่มเล็กๆนำโดย สหายเข้ม กับสหายปูน (หมอเหวง กับ ภริยา) รวมทั้งหมอพรหมมินทร์ เลิศสุริยเดชและพวก ซึ่งต้องการจะฟื้นฟูพรรคคอมมิวนิสต์ขึ้นมาใหม่ตามแนวที่ตนต้องการ โดยเห็นว่าทุนนิยมสามานย์ดีกว่าศักดินาล้าหลัง แต่ทั้งสองสายแรกไม่เอาด้วยกับกลุ่มเล็กๆของหมอเหวง คงเพราะเห็นว่า "ศักดินาที่ล้าหลัง ยังดีกว่าทุนใหม่ที่สามานต์"

ในอดีต เคยมีการเถียงกันตั้งแต่วันก่อนเสียงปืนแตก ปี 2508 ว่าสังคมไทยเหมาะหรือไม่ที่จะเปิดการต่อสู้ด้วยอาวุธขึ้นมา ธงของพรรคคอมมิวนิสต์ควรจะเป็นธงแดงมีตราฆ้อนเขียวหรือควรจะเป็นธงชาติไทยและมีตราฆ้อนเขียวประกอบ และจะติดเหรียญประธานเหมาเจ๋อตุงหรือถือหนังสือคติพจน์ประธานเหมาหรือเปล่า ปรากฎว่าแนวทางปฏิวัติวัฒนธรรมของจีนซึ่งทำให้คนตายไปจำนวนมหาศาล ประสบชัยชนะ พรรคคอมมิวนิสต์ไทยเลยถูกครอบงำแนวทางซ้ายจัดแนวทางนี้ก็สะท้อนมายังขบวนการนักศึกษาในขณะนั้น

(ประวัตินี้อาจไม่ครบถ้วน หรือ ไม่ละเอียดเท่าใดนัก
เข้าใจว่าไม่มีใครรวบรวมจัดทำไว้มาก่อนละมัง
หรือว่าเป็นบุคคลที่ไม่มีใครให้ความสนใจแล้วจริงๆ ?)

มุมสะกิดสะเก็ด(แผล)

(1) ที่มา: ความคิดเห็นคุณพรรณชมพูแห่งเสรีไทยดอทคอม http://forum.serithai.net/index.php?topic=14565.msg191274
ณ.แขวงหลวงน้ำทา สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว
นักศึกษาแพทย์จากประเทศไทยที่เข้าร่วมขบวนการปฎิวัติ ผู้รักและเชิดชูแนวทางของพรรคคอมมิวนิสต์จีน เชิดชูประธานเหมา เจ๋อ ตง ประพฤติตนเป็นนักปฎิวัติที่เข้มแข็ง จนได้รับคำยกย่องชมเชยว่า ลูกที่ดีของพรรค และได้รับฉายาเสียดสีจากกลุ่มเพื่อนนักศึกษาและผู้นำแรงงานที่เดินทางเข้าป่าไปด้วยกันว่า ลูกที่รักของจัดตั้ง นักศึกษาแพทย์ผู้นี้ ได้เลือกชื่อจัดตั้งของตนเอง ด้วยคำที่ฟังดูแล้วแข็งขึงขัง สหายเข้ม ลูกไทย

นักศึกษาแพทย์ผูนั้นคือ นพ.เหวง ในวันนี้นั่นเอง และในเวลไล่เรี่ยกันนั้น เสกสรร (ดร.เสกสรร ในวันนี้) ก็ขอเปลี่ยนชื่อจัดั้งของตนเองในทันที โดยเลือกใช้ชื่อว่า สหายไท

สหายเข้ม ลูกไทย

แล้วสหายไท พ่อใคร????

ผู้ที่เข้าป่าไปพร้อมกับสหายเข้ม และผู้ที่เคยได้ร่วมงานปฎิวัติกับสหายเข้ม ปัจจุบันยังเหลือคบกับสหายเข้มอยู่อีกกี่คน ????

พฤติกรรม และ นิสัย อันแท้จริงของสหายเข้ม มีผู้นำมาเล่าไว้ให้หนังสือหลายเล่มแล้ว

สหายเข้ม หาจุดยืนและหลักการมาต้งแต่ยังเป็นนักศึกษาแพทย์ จนจวนจะเป็นอาจารย์ใหญ่อยู่แล้ว ยังหาไม่ใคร่จะพบเร้ยยยยย

อ้างถีง:

1) http://www2.manager.co.th/Politics/PoliticsQAQuestion.asp?QAID=746
2) http://www.parliament.go.th/news/news_detail.php?prid=69890
3) http://www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=4.msg11573
4) http://www.innnews.co.th/innexct/mar50_v34/p8.php
5) http://forum.serithai.net/index.php?topic=12876.msg173337
6) http://www.spiceday.com/index.php?name=Forums&file=viewtopic&t=8123
7) http://www.thaioctober.com/forum/index.php?topic=4.msg15946
8) http://www.bangkokbiznews.com/2007/04/03/WW65_WW65_news.php?newsid=62522
9)
http://www.prd.go.th/prdboard/view.php?qID=214
10) เสียงหมอเหวงดีเจมะลิ http://www.thaksinfc.org/index.php?showfile=1&fid=3&p=downloads&area=1&categ=6 ไม่ได้เอามาลงให้ฟังกัน แต่สามารถคลิกลิงค์ไปฟังได้เองค่ะ ดีเจมะลินี่ เป็นพิธีกรหลักคนหนึ่งของค่าย นปก เชียวนะคะ
11) http://forum.serithai.net/index.php?topic=14565.msg191274

โห มีคนพูดถึงหมอเหวงเยอะเหมือนกันนะนี่

โดย ปิรันญ่า

ภารกิจอันตรายของ “ธิดาแดง” สิ่งที่ “ฝ่ายมั่นคง”ประมาทไม่ได้
การปรับโครงสร้างเปลี่ยนหัวของคนเสื้อแดงจาก วีระ มุกสิกพงษ์ มาเป็น ธิดา ถาวรเศรษฐ ภรรยาแบบเหวง เหวง เป็นเรื่องที่ฝ่ายความมั่นคงต้องจับตาอย่างใกล้ชิดจะประมาทมิได้ เพราะถือเป็นการเปลี่ยนแปลงทั้งในเชิงสัญลักษณ์ และหมายรวมถึงแนวทางการต่อสู้อีกด้วย

ว่า กันว่า วันที่มีการแถลงข่าวปรับโครงสร้าง นปช.ให้ ธิดา รักษาการประธาน นปช. เป็นวันเดียวกับในอดีตที่เป็นจุดเริ่มต้นของพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทย

“สหายปูน” ที่เคยระหกระเหินไปใช้ชีวิตในป่านานกว่า 8 ปี กลับมามีบทบาทชักธงรบอีกครั้งในฐานะหัวหน้ากลุ่ม นปช.

ในวันเดียวกันแม้แตกต่างในห้วงเวลา แต่วิธีคิดยังไม่เคยเปลี่ยนแปลง

อดีต กรรมการสำรองคณะกรรมการกลางพรรคคอมมิวนิสต์แห่งประเทศไทยอย่าง “สหายปูน” ซึ่งมีดีกรีเป็นถึงอดีตอาจารย์ประจำคณะเภสัชศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหิดล จึงไม่ใช่คนสมองกลวงที่ใคร ๆ จะดูถูกได้

ที่สำคัญคือ เธอมิใช่สายพิราบ แต่เธอคือ พิราบ ปากเหยี่ยว ที่น่ากลัวเสียยิ่งกว่าสายเหยี่ยวตัวจริงเสียอีก เพราะฉากหน้าอหิงสา สันติ แต่ทุกวันนี้เธอก็ยังจิกกินซากศพไพร่แดงเพื่อหล่อเลี้ยงขบวนการนอกรีตของตัว เองเอาไว้

ใน ขณะที่เธอเรียกหาเสรีภาพให้สามีตัวเองที่ยังนอนในคุก กลับไม่เคยปรากฏถึงความพยายามในการช่วยเหลือไพร่พลแดงที่ยังซุกตัวเงียบ ๆ ไร้คนเหลียวแลอยู่ในตารางอีกกว่าร้อยชีวิต สะท้อนถึงความที่ไม่ควรค่าแก่การยกระดับเป็นผู้นำ

แต่เมื่อเธอคือคนที่ถูกเลือกก็น่าสนใจติดตามดูวิธีคิดว่า “ธิดาแดง”ภรรยาเหวง เหวง จะใช้ยุทธศาสตร์ใดมาขับเคลื่อน นปช. ในยุคที่ คางคกตู่ จะเปลี่ยนบทบาทตัวเองลงเป็นแค่ “เงาอสูร”เท่านั้น

ก่อนที่เสื้อแดงจะเผาเมืองรอบสองในช่วงเมษา-พฤษ ภาที่ผ่านมา “ธิดาแดง” ในฐานะครูใหญ่ของโรงเรียน นปช. เคยแจกจ่ายเอกสารให้กับมวลหมู่สมาชิกในชื่อ “ยุทธศาสตร์สองขาของ นปช.แดงทั้งแผ่นดิน” มีเนื้อหาแสดงให้เห็นความยึดโยงระหว่างมวลชนเสื้อแดงกับพรรคการเมืองซึ่งก็ หมายถึงพรรคเพื่อไทย ยืนหยัดเป็นสองขาร่วมกันเดินหน้าสู่การเปลี่ยนแปลงประเทศ

แค่ ชื่อของเอกสารที่สอดรับกับยุทธศาสตร์ใหญ่ในการเคลื่อนไหว “แดงทั้งแผ่นดิน” ก็บ่งบอกชัดแจ้งแล้วว่า “ธิดาแดง” คือ มันสมองของคนเสื้อแดงมาโดยตลอด การเปลี่ยนผ่านผลัดผ้าใหม่เลิกใช้บุคลากรจากฝ่ายการเมืองมาทำงานภาคประชาชน

ด้าน หนึ่งเป็นความพยายามก้าวข้ามทักษิณของฝ่ายซ้าย ที่เปิดเผยตัวเองออกมาหน้าฉากในภาวะที่คิดว่าสถานการณ์เริ่มสุกงอมมากพอโดย ไม่ต้องอาศัยทักษิณมาเป็นตัวชูโรงเพื่อเรียกคนอีกต่อไป

เป็นการแสดงออกว่าคนเสื้อแดงที่มีทักษิณเป็นปานดำติดตัวมาตั้งแต่เกิดตามสำนวนของ จรัล ดิษฐาอภิชัย กำลัง ลอกคราบขูดปานดำออกจากตัว พยายามแสดงบทบาทว่าต่อไปจะไม่มีการเคลื่อนไหวเพื่อทักษิณเพียงคนเดียว แต่ขบวนการนี้จะร่วมกันเปลี่ยนแปลงประเทศ

ด้วยการปฏิวัติจากประชาชนโดยกำหนดเวลา 5 ปี ถึงเป้าหมาย ใช้ช่วงเวลาจากนี้ไปนวดสถานการณ์สร้างชุดความคิดใหม่ที่เป็นอันตรายต่อ สถาบันหลักของชาติ เพื่อนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองในอนาคต

ใน อดีต “ธิดาแดง” และสหายอีกจำนวนมากต่อสู้ตามอุดมการณ์บนวาทกรรม “ศักดินาล้าหลัง” มาวันนี้ “สหายปูน” และเพื่อนร่วมแก๊งยกระดับจาก “ศักดินาล้าหลัง” มาเป็น “โค่นล้มอำมาตยาธิปไตย” ซึ่งชัดเจนว่า ความหมายของอำมาตย์นั้นไปไกลเกินกว่าที่จะหยุดยั้งอยู่แค่ “สถาบันองคมนตรี”

สิ่งที่ฝ่ายความมั่นคงต้องติดตามอย่างใกล้ชิด สกัดให้ทันท่วงที คือ การเผยแพร่ข้อมูลให้ร้ายสถาบันหลักของชาติ ซึ่งจะมีการนำเสนอผ่าน

“เวปซ้าย” หลากหลายชื่อเปลี่ยนสมญานามไปเรื่อย ๆ เพื่อหนีเงื้อมมือของกฎหมาย

เอกสาร ที่มีการเผยแพร่จะมีทั้งที่เขียนในเชิงนิทาน เรื่องเล่า บทความเสียดสี ซึ่งไม่ว่าจะมาในรูปลักษณ์ใดล้วนมีเป้าหมายเดียวกัน คือ ให้ข้อมูลเท็จจาบจ้วงสถาบันหลักของชาติเพื่อสั่นคลอนศรัทธาจากประชาชน

เรา เห็นบทเรียนจากพลานุภาพของโลกในยุคข้อมูลข่าวสารผ่านเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มาแล้ว ทั้งจากกรณีคลิปตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ ไปจนถึง การแฉข้อมูลลับของ วิกิลีคส์ ซึ่งแม้แต่ สหรัฐอเมริกาก็ยังปวดเศียรเวียนเกล้าจำนนต่อเครื่องมือไฮเทคที่ตัวเองสร้าง ขึ้น โดยไม่ทันคิดว่าคอมพิวเตอร์ที่ทำเงินมหาศาลให้กับสหรัฐจะกลับกลายมาเป็น อาวุธร้ายทำลายตัวเอง

ถึง เวลาแล้วที่กระทรวงไอซีทีต้องทำงานใกล้ชิดกับฝ่ายความมั่นคง และควรมีชุดเฉพาะกิจแฮคเร็ว คอยติดตามความเคลื่อนไหวบนโลกไซเบอร์ของพวกเวปซ้าย เพื่อปิดช่องทางการทะลุทะลวงส่งผ่านข้อมูลพิษล้างสมองประชาชน

ส่วน กทช. ซึ่งดูแลวิทยุชุมชนก็ต้องประสานงานต่อเนื่องกับฝ่ายความมั่นคงเช่นเดียวกัน เพื่อป้องกันไม่ให้มีการใช้วิทยุชุมชนไปให้ข้อมูลเท็จ ใส่ร้ายสถาบันหลักของชาติ ปลุกปั่นให้คนไทยหลงผิดคิดเปลี่ยนแปลงระบอบการปกครองตามที่มีใครบางคนวางแผน ไปสู่ รัฐไทยใหม่

ขณะ เดียวกันก็ต้องให้ข้อมูลที่เป็นจริงกับประชาชนเกี่ยวกับการเคลื่อนไหวของคน กลุ่มนี้ว่า นอกจากจะท้าทาย วอนนอนคุกแล้ว คนเหล่านี้ยังมีพฤติกรรมเข้าข่าย ควรนอนคุก จากความคิดที่เป็นกบฏต่อแผ่นดินอย่างไร

ซี ดีอุบาทว์ที่ไล่แจกกันทุกครั้งระหว่างการชุมนุมของคนเสื้อแดง มีเนื้อหาอย่างไรไม่ขอสาธยายถึง บอกได้แต่เพียงว่าเป็นความพยายามที่เล็งไปถึงอนาคตซึ่งผูกโยงกับสถานการณ์ สำคัญของบ้านเมือง ที่คนเหล่านี้คิดว่าจะเป็นจุดเปลี่ยนผ่านและเป็นโอกาสให้หน่อเนื้อเชื้อโรค ร้ายแพร่พันธุ์ได้อย่างรวดเร็วกัดกินประเทศไทยไปสู่ความเปลี่ยนแปลงที่อำนาจ เปลี่ยนมือ

จริง อยู่ว่า ทุกสังคมต้องมีการพัฒนาและทุกองค์กรก็ต้องมีการปรับเปลี่ยนให้สอดคล้องกับ สถานการณ์ แต่รากฐานของประเทศที่ต้องรักษาไว้ คือ

ระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข จะต้องดำรงอยู่คู่บ้านเมืองต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 18 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แสงประหลาด ในกรุงเทพ ประเทศไทย

ผู้คนไทยทั่วประเทศอาจจะเคยชิน จนไม่เห็นถึงความประหลาดนั้นไปแล้ว ซึ่งไม่ใช่ ลำแสงที่เกิดจากการหักเหของแสง หรือแสงที่อาจมาจากสิ่งชีวิตอื่นนอกโลก แต่แสงนั้น กลับเป็นแสงที่ทำให้ ผู้คนต่างๆ ในบ้านนี้เมืองนี้ ที่ต้องเผชิญปัญหาต่างๆ คิดตกได้ ความคิดที่ไม่ใช่ข้อสรุป แต่กลายเป็น ความคิดที่ตกแตก!!!

บ้านเมืองประเทศชาติ ที่ถูกอ้างถึงบ่อยครั้งว่าเป็น นิติรัฐ แต่วันนี้ และหลายวันที่ผ่านมา กฎหมาย ถูกบังคับใช้ และออกแบบ ตามความเหมาะสม ความยุติธรรม ที่ถูกตัดสินตามความเหมาะสม เบี่ยงเบนไปตามกระแสธารของอำนาจและทุน โดยอ้างว่า ยุติธรรม และเหมาะสมแล้ว ฯ

การประเมินผิดพลาดหลายครั้งของรัฐบาล จนทำให้การบริหารจัดการความเสี่ยง ที่ผู้คนประชาชน-เจ้าหน้าที่ข้าราชการของรัฐ จะได้รับผลกระทบ ทั้งร่างกายชีวิตทรัพย์สิน เป็นจำนวนมาก ซึ่งประเมินความสูญเสียเสียหายได้ยากยิ่ง และคงดำรงอยู่ในความยากลำบากอย่างแสนสาหัส แต่อ้างว่าได้จัดงบเยียวยาออกไปมากแล้วแต่ชดเชยความยากลำบากได้เพียงเล็กน้อย ผู้คนจึงก้มหน้ารับกรรมที่ไม่ควรจะเกิดขึ้นกันไปเองเพราะไม่มีผู้ใดสื่อความเดือดร้อนขัดข้องหมองใจให้ แม้จะผิดพลาดบ่อยครั้งแค่ไหน ยังคงอยู่ได้ และอาจกำลังจะสร้างความเสียหายซ้ำอีก ทั้งเรื่องการตัดสินใจที่เกี่ยว ข้องการดินแดน ทั้งบนบกและทะเล ที่แอบอิงไปกับผลประโยชน์มหาศาล การปรับแก้กฎหมายสำคัญ ที่เกี่ยวข้องกับการดำรงอยู่ได้ของนักการเมือง โดยไม่ยี่หระว่า จะมีคนต่อต้าน คัดค้านอย่างไร หลายเรื่องที่ผิดไม่ถูกสอบสวนทวนความ อ้างว่าไม่อยู่ในอำนาจที่จะเข้าไปสอดแทรก ฯ

ผู้คนในบ้านนี้เมืองนี้อาจมองเห็นเป็นเรื่องปกติ แต่ผู้คนที่อื่นๆ เขามองเป็นเรื่องประหลาด เป็นแสงประหลาด ในกรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของประเทศไทยฯ




MusicPlaylistView Profile
Create a playlist at MixPod.com

วันอังคารที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ASTV ผู้จัดการ - ผีโม่แป้ง ตัวพ่อ กำลังเต้าข่าวอะไร

ภาพหน้าข่าวเศรษฐกิจ เผยภาพไม่มีที่มาของ เสาเข็มที่ตอกไม่ลง
เหมือน เคยไปเจอ เด็กจบเทคนิค อ้างว่า ดินมาบตาพุด เป็นหินแข็งด้านล่าง
ทั้งที่วันนี้ เสาไฟสูง กลางถนน หน้าตลาดมาบตาพุด กำลังตอกเสาเข็มอยู่


สภาพน้ำท่วมโรงแยกก๊าซ ปตท. เมื่อ 12 ก.ค. หลังฝนตกหนัก
สภาพภูมิศาสตร์เป็นร่องรับน้ำขนาดใหญ่
ชั้นดินด้านล่าง แข็งถึงแข็งมาก แน่นถึงแน่นมาก ที่สุดในประเทศไทย
เชื่อหรือไม่ - ทดสอบแล้วรับน้ำหนักประลัยได้ 120 ตัน/ม2
สร้างถังน้ำได้สูงเท่าตึก 8-10 ชั้น โดยไม่จำเป็นต้องตอกเสาเข็ม

เล่นข่าว เพราะตรงนี้ไง!!! โรงแยกก๊าซที่ 6 กับโรงแยกก๊าซอีเทน
ไม่ตอกเสาเข็ม ทั้งโรงงาน กำลังจะดันทุรังเปิดใช้งาน
ศาลปกครองสูงสุด อาจไม่รับคำฟ้อง

สมาคมโลกร้อน ฟ้องศาล ปค.เพิกถอน 26 โครงการ ขัด รธน.ม.67


สมาคมต่อต้านโลกร้อน ยื่นฟ้องศาลปกครอง เพิกถอนสัมปทาน 26 โครงการขุดเจาะสำรวจผลิตปิโตรเลียมของ 4 บริษัท พร้อมให้ประกาศพื้นที่ 120 ไมล์ทะเลโดยเป็นเขตคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ชี้ 26 โครงการ ไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความเห็นตาม รธน.มาตรา 67 แถมอาจสร้างผลกระทบทำลายสิ่งแวดล้อมและธรรมชาติ ขณะเดียวกันหวั่นทะเลสวย เจอน้ำมั่นรั่วซ้ำรอยอ่าวเม็กซิโก และทะเลติมอร์ ที่แท่นเจาะของ ปตท. ไฟไหม้ระเบิด จนมีปัญหากับสภาวะแวดล้อม



วานนี้ (16 พ.ย.) สมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน ร่วมกับสมาคมอนุรักษ์ส่งเสริมท่องเที่ยวเกาะสมุย เกาะพะงัน สมาคมสปาเกาะสมุย และมูลนิธิเกาะสีเขียว พร้อมด้วยชาวบ้านรวม 309 คน ได้ยื่นฟ้องกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ รมว.กระทรวงพลังงาน คณะรัฐมนตรี คณะกรรมการสิ่งแวดล้อม และเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อขอให้ศาลเพิกถอนประทานบัตร ใบอนุญาตการประกอบกิจการที่เกี่ยวกับการขุดเจาะสำรวจ หรือผลิตปิโตรเลียม ในพื้นที่อ่าวไทยรวม 26 โครงการ ของ 4 บริษัท รวมทั้งให้สั่งเพิกถอนรายงานผลกระทบสิ่งแวดล้อมหรืออีไอเอของโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากเลขาธิการสำนักงานนโยบายและแผนพัฒนาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ตั้งแต่วันที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 มีผลบังคับใช้ จนถึงวันที่ศาลมีคำพิพากษา และขอให้ศาลสั่งให้รมว.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมประกาศให้พื้นที่เกาะสมุย เกาะพะงัน เกาะเต่า และพื้นที่ใกล้เคียงในรัศมี 120 ไมล์ทะเลเป็นเขตพื้นที่คุ้มครองสิ่งแวดล้อมตาม พ.ร.บ.ส่งเสริมและรักษาคุณภาพสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ พ.ศ.2535 มาตรา 43 และ 44

ทั้งนี้ นายศรีสุวรรณ จรรยา นายกสมาคมต่อต้านสภาวะโลกร้อน กล่าวว่า ที่ต้องมีการฟ้องคดีดังกล่าว เนื่องจากเห็นว่า การที่ผู้ถูกฟ้องคดีทั้งหมดเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการสำรวจหรือขุดเจาะปิโตรเลียมเข้ามาดำเนินโครงการในพื้นที่อ่าวไทย หรือใกล้พื้นที่ท่องเที่ยวของชาวบ้าน โดยไม่ผ่านกระบวนการรับฟังความคิดเห็นการมีส่วนร่วมของชาวบ้านอย่างแท้จริงตามรัฐธรรมนูญมาตรา 67 วรรคสอง ทำให้ชาวบ้านและผู้ประกอบธุรกิจท่องเที่ยวได้รับความเดือดร้อนและเสียหาย ทั้งทางเศรษฐกิจ สังคมและสิ่งแวดล้อม เมื่อทักทวงไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็กับนิ่งเฉยไม่มีการดำเนินการให้ถูกต้องจนพ้นระยะเวลาที่กฎหมายกำหนด ซึ่งในส่วนของธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมนั้น เป็นที่ทราบกันดีว่า ทั้ง 3 หมู่เกาะเป็นตลาดการท่องเที่ยวทางทะเลระดับแนวหน้าของโลก จนสามารถสร้างดึงดูดให้นักท่องเที่ยวต้องเดินทางมาเยือน สร้างงานสร้างเงิน สร้างอาชีพในคนในชุมชนอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน โดยจากตัวเลของศูนย์ประสานงานการท่องเที่ยวเกาะสมุยพบว่า ปี 52 มีนักท่องเที่ยวมาเยือน 3 หมู่เกาะจำนวน 1,148,906 คน ซึ่งสร้างรายได้เฉพาะช่วงเดือน ม.ค.-มิ.ย.52 สูงถึง 18,492 ล้านบาท

ขณะเดียวกัน บริเวณ 3 หมู่ และหมู่เกาะใกล้เคียงมีความสมบูรณ์ของแนวปะการังที่เป็นที่ยอมรับของนักท่องเที่ยวรอบโลก โดยเฉพาะอ่าวบ้านดอน จ.สุราษฎร์ธานี รายงานของสำนักงานประมงจำหวัด ระบุว่า เป็นแหล่งที่เหมาะกับการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำ โดยมีกิจการเพาะเลี้ยงสัตว์ เช่น กุ้ง หอยแครง หอยนางรม ปลากะพง ซึ่งสามารถสร้างรายได้ให้จังหวัดไม่ต่ำกว่าหมื่นล้านบาทต่อปี และบางพื้นที่สัมปทานและพื้นที่ขุดเจาะของผู้ประกอบการบางราย อาทิ ของบริษัท เซฟรอนฯ ยังตั้งอยู่ในพื้นที่วางไข่ของปลาทูแขกและปลาโอ โดยในรายงานการประเมินผลประทบสิ่งแวดล้อมของบริษัทเซฟรอนฯ ยังระบุว่า ในพื้นที่ที่บริษัทได้รับสัมปทานมีรายงานของศูนย์วิจัยทางทะเลและชายฝั่งอ่าวไทยตอนกลาง ระบุว่า พบสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมที่หายากและใกล้สูญพันธุ์ เช่น โลมาหัวบาตรหลังเรียบ โลมาเผือกหลังโหนก และเต่าทะเล ซึ่งในบริเวณใกล้เคียงยังพบสัตว์ทะเลหายากและสัตว์ทะเลไทยหลายชนิด เช่น ฉลามวาฬ พะยูน โลมา เต่าทะเล รวมทั้งมีหญ้าทะเลที่เป็นอาหารของพะยูนขึ้นอยู่ประมาณ 3,663 ไร่ ซึ่งทั้งหมดเป็นจุดขายที่สำคัญอย่างยิ่งของหมู่เกาะทั้ง 3 และพื้นที่โดยรอบ นอกเหนือจากชายหาดที่ขาวสะอาด และอากาศที่บริสุทธิ์ จนทำให้นักท่องเที่ยวทั่วโลกเดินทางมาเยือน ดังนั้น การที่ผู้ถูกฟ้องทั้งหมดอนุญาตให้มีการประกอบกิจกรรมการขุดเจาะสำรวจหรือผลิตปิโตรเลียมในพื้นที่ดังกล่าว นอกจากจะไม่สอดคล้องกับยุทธศาสตร์และทิศทางการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวตามนโยบายของรัฐบาลที่แถลงไว้ต่อรัฐสภา ว่า จะผลักดันให้พื้นที่เกาะสมุยมีการบริหารเมืองในรูปแบบพิเศษเหมือนกทม.และพัทยาแล้ว ยังอาจเป็นการทำลายโครงการที่ผ่านมาในอดีตและในอนาคตอีกด้วย

นายศรีสุวรรณ กล่าวอีกว่า การคัดค้านจนนำมาสู่การฟ้องคดี เนื่องมาจากมีข้อมุลการศึกษาวิจัยของหน่วยงานหลายแห่งทั้งภาครัฐและเอกชน สถาบันการศึกษา นักวิชาการอิสระที่ยืนยันสอดคล้องกันว่า โครงการสำรวจหรือขุดเจาะปิโตรเลียมนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะกระทบกับสภาพแวดล้อมและสุขภาพของประชาชนในชุมชน ประกอบกับรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมของบริษัท นิวคอสตรอล ประเทศไทย จำกัด หนึ่งในผู้ที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบกิจการก็ยังระบุผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นไว้อย่างชัดเจนว่า กิจกรรมตามปกติระหว่างการพัฒนาและผลิตปิโตรเลียมของโครงการ อาจมีผลกระทบกับสิ่งแวดล้อมทางกายภาพ สิ่งแวดล้อมทางชีวภาพ คุณค่าการใช้ประโยชน์ของมนุษย์หรือคุณภาพชีวิตได้ นอกจากเหตุการณ์ที่ผิดปกติ เช่น ความผิดพลาดในการดำเนินการตามปกติประจำวัน อุปกรณ์เกิดความเสียหาย ภัยธรรมชาติ การพุ่งของน้ำมันดิบระหว่างการขุดเจาะ การหกรั่วไหลของน้ำมันและสภาพอากาศที่เลวร้ายและพายุใต้ฝุ่นอาจมีผลกระทบได้เช่นกัน ซึ่งแม้ขณะนี้บริษัทที่ได้รับสัมปทานจะยังอยู่ระหว่างการเริ่มขุดเจาะและบางแห่งกำลังเริ่มผลิต แต่ก็พบว่า บริเวณหาดตลิ่งงาม เกาะสมุย ปรากฏคราบน้ำมันปกคุลมผิวน้ำและชายฝั่ง เมื่อมีการติดต่อไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็อ้างว่า เป็นคราบน้ำมันที่รั่วไหลจากเรือเดินทะเล โดยไม่มีการตรวจสอบลงลึกแต่อย่างใด จึงทำให้ชาวบ้านและผู้ประกอบการในพื้นที่ เกรงว่า การสำรวจและขุดเจาะปิโตรเลียมอาจก่อให้เกิดการแพร่กระจายของมลพิษหลายประเภทที่ส่งผลต่อสุขภาพอนามัยของชาวบ้าน เหมือนกับกรณีวิกฤตการรั่วไหลของน้ำมันบริเวณอ่าวเม็กซิโกของบริษัทน้ำมันบีพีฯ จึงต้องนำคดีที่ฟ้องต่อศาล และในอีก 1-2 วันนี้ ก็จะมายื่นขอให้ศาลกำหนดมาตรการบรรเทาทุกข์ชั่วคราวก่อนมีคำพิพากษาโดยขอให้สั่งให้ทั้ง 26 โครงการระงับการดำเนินการไว้ก่อนจนกว่าศาลจะมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งเป็นอย่างอื่น

ด้าน นายเรืองนาม ใจกว้าง นายกสมาคมโรงแรมไทยภาคใต้ฝั่งตะวันออก กล่าวว่า สาเหตุที่สมาคมร่วมยื่นฟ้องฯ เนื่องจากเกรงว่า โครงการดังกล่าวอาจทำให้เกิดน้ำมันรั่วไหลเหมือนที่เกิดในอ่าวเม็กซิโก อีกทั้งที่ผ่านทางในการเข้ามารับฟังความเห็นชาวบ้าน ๆ ก็คัดค้านทุกครั้ง แต่โครงการก็ยังกลับเดินหน้าต่อ โดยอ้างว่าตอนรับฟังความเห็นคนที่คัดค้านมีส่วนน้อย ซึ่งทางสมาคมก็ยื่นหนังสือร้องเรียนไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องตลอด แต่ไม่ได้รับคำตอบชัดเจน เกรงว่าถ้ายังดำเนินโครงการต่อไปจะกระทบธุรกิจการท่องเที่ยว สิ่งแวดล้อม “กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ อ้างว่าจำเป็นต้องขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม เพราะน้ำมันมีราคาสูง แต่คงไม่คุ้มกับการที่ธุรกิจโรงแรมลงทุนไปแล้วกว่า 2 แสนล้านบาท”

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า สำหรับรายชื่อโครงการขุดเจาะสำรวจ ผลิตปิโตรเลียมในพื้นทีอ่าวไทยที่อาจก่อให้เกิดผลกระทบต่อชุมชนอย่างรุนแรง ซึ่งไม่ได้ปฏิบัติตามกฎหมาย แต่กลับได้รับความเห็นชอบจากคณะกรรมการผู้ชำนาญการ (คชก.) ภายหลังจากที่รัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 บังคับใช้ประกอบด้วย 1.โครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียม แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข G4/43 ตั้งที่บริเวณอ่าวไทย ของ บริษัท เซฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อก.ย. 50 2.โครงการผลิตปิโตรเลียมพื้นที่ผลิตลันตาปิโตรเลียม แปลงสัมปทานปิโตรเลียมหมายเลข G4/43 ตั้งที่บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ก.ย.50 3.โครงการสำรวจ โดยวิธีวัดความไหวสะเทือนในทะเลแบบ 2 มิติ แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข G11/48 ตั้งที่บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย บางกอก จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ต.ค.50

4.โครงการผลิตปิโตรเลียม แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข B8/38 พื้นที่บังหลวง ตั้งที่บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท โชโค เอ็กซ์พลอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ พ.ย.50 5.โครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมพื้นที่ชบาและพื้นที่จามจุรีใต้ แปลงสัมปทานปิโตรเลียมหมายเลข BB/32 ตั้งที่บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ม.ค.51 6.โครงการผลิตปิโตรเลียมพื้นที่ชบาและพื้นที่จามจุรีใต้ แปลงสัมปทานปิโตรเลียมหมายเลข B8/32 ตั้งที่บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ เม.ย.51 7.โครงการสำรวจปิโตรเลียม โดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนในทะเล แบบ 3 มิติ แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข G1/48 ตั้งที่อ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย (อมตะ) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ มิ.ย. 51

8.โครงการสำรวจปิโตรเลียม โดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนในทะเล แบบ 2 มิติ แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข G6/48 ตั้งที่อ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย (อมตะ) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ มิ.ย.51 9.โครงการสำรวจปิโตรเลียม โดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนในทะเล แบบ 2 มิติ แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข G2/48 ตั้งที่อ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย (อมตะ) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ มิ.ย.51 10.การขอเปลี่ยนแปลงการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม โครงการขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียมในแหล่งแร่ไพลิน บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ซึ่ง คชก.ให้ความเห็นชอบเมื่อพ.ย.51 11.โครงการพัฒนาปิโตรเลียมแหล่งสงขลา แปลงสัมปทานปิโตรเลียมหมายเลข G5/43 และ G5/50 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัทนิวคอสตอล (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ พ.ย.51

12.โครงการผลิตปิโตรเลียมพื้นที่ผลิตมะลิวัลย์ ระยะที่ 2 แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข B8/32 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ออฟชอร์ (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ พ.ย.51 13.โครงการผลิตปิโตรเลียมพื้นที่ผลิตยูงทอง แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข G4/48 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ปัตตานี จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อธ.ค.51 14.โครงการพัฒนาก๊าซธรรมชาติแหล่งปลาทองระยะที่ 2 แปลงสัมปทานปิโตรเลียมหมายเลข 10, 10A, 11 และ 11A บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ธ.ค.51 15.โครงการสำรวจปิโตรเลียมโดยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือนแบบ 3 มิติ แปลงสัมปทานหมายเลข G4/50 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ธ.ค.51

16.โครงการผลิตก๊าซธรรมชาติแหล่งมรกตและอุบลตะวันตก แปลงสัมปทานปิโตรเลียมหมายเลข B12/27 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอนประเทศไทย สำรวจและผลิต จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ม.ค.52 17.การขอเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการสำรวจปิโตรเลียมด้วยวิธีวัดคลื่นไหวสะเทือน 3 มิติ แปลงสัมปทานหมายเลข G4/50 บริเวณอ่าวไทย ของ บริษัท เซฟรอน ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ก.พ.52 18.การของเปลี่ยนแปลงรายละเอียดโครงการผลิตปิโตรเลียม แปลงสัมปทานหมายเลข B8/38 พื้นที่บัวหลวง บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท โซโคเอ็กซ์พลอเรชั่น (ประเทศไทย)จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อมี.ค.52 19.โครงการขุดเจาะหลุมสำรวจปิโตรเลียมแปลงสำรวจปิโตรเลียมหมายเลขG10/48 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ เม.ย.52 20.โครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล แปลงสัมปทานหมายเลข G11/48 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย บางกอก จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ มิ.ย.52

21.โครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล แปลงสัมปทานหมายเลข G2/48 หลุมkaew-1 บริเวณอ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย ออฟชอร์ จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อมิ.ย.52 22.โครงการขุดเจาะสำรวจปิโตรเลียมในทะเล แปลงสำรวจในทะเลอ่าวไทย หมายเลข G6/48 ของบริษัท เพิร์ล ออย (อมตะ) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อต.ค.52 23.โครงการปิโตรเลียมของบริษัท โซโคเอ็กซ์พลอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ของบริษัทโซโคเอ็กซ์พลอเรชั่น (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ต.ค.52 24.โครงการเจาะสำรวจปิโตรเลียมG4/50 อ่าวไทย ของบริษัท เซฟรอน ปิโตรเลียม (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อต.ค.52 25.โครงการจัดการน้ำจากกระบวนการผลิตพื้นที่แหล่งผลิตแหล่งจัสมิน แปลงสัมปทานปิโตรเลียม หมายเลข B5/27 อ่าวไทย ของบริษัท เพิร์ล ออย (ประเทศไทย) จำกัด ซึ่ง คชก.เห็นชอบเมื่อ ต.ค.52 26.โครงการขุด เจาะ สำรวจ ปิโตรเลียมอื่นใดในบริเวณพื้นที่อ่าวไทย ที่ได้รับความเห็นชอบจากหน่วยงานของรัฐที่เกี่ยวข้องมาจนถึงปัจจุบัน ของทุกบริษัทที่เกี่ยวข้อง ที่คชก.เห็นชอบ ตั้งแต่วันที่ 24 ส.ค.50- ปัจจุบัน

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ สงครามกลางเมือง ที่ความยุติธรรมหมดความน่าเชื่อถือ




ในอดีตที่ผ่านมา มีสงครามกลางเมืองครั้งใหญ่ ที่ได้รับการขนานนามว่า “สงครามที่พี่น้องฆ่ากันเอง” นั่นคือสงครามกลางเมืองในประเทศสหรัฐอเมริการะหว่างฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ที่เกิดขึ้นในปีพ.ศ. 2404 เพราะญาติพี่น้อง มิตรสหายที่เป็นคนอเมริกันเหมือนกัน ต่างแบ่งเป็นสองฝ่าย จับอาวุธปืนเข้าประหัตประหารกันเอง

ประธานาธิบดีของทั้งสองฝ่ายก็เกิดในรัฐเคนทักกี้ด้วยกัน ประธานาธิบดีอับราฮัม ลินคอล์นที่อยู่ฝ่ายเหนือก็มีพี่เขยเป็นทหารของฝ่ายใต้ถึง 4 คน และ 1ใน4 ของทหารที่จบจากโรงเรียนนายร้อยเวสปอยต์ก็เป็นนายทหารของฝ่ายใต้

สงครามดำเนินไปประมาณสี่ปี คนอเมริกันฆ่ากันตายไปประมาณ 6 แสนคน ไม่นับรวมคนบาดเจ็บที่ต้องตัดแขน ตัดขาอีกหลายแสนคน กว่าฝ่ายใต้จะประกาศยอมแพ้ มากกว่าทหารสหรัฐอเมริกันที่เสียชีวิตในสงครามโลกทั้งสองครั้งและสงครามเวียดนามรวมกัน

และเป็นสัดส่วนการตายที่สูงมาก เมื่อคิดจากประชากรในประเทศสหรัฐอเมริกาขณะนั้นที่มีประมาณ 30 ล้านคน และค่าเสียหายทางเศรษฐกิจคิดเป็นมูลค่าประมาณ 3แสนล้านบาท (มูลค่าเมื่อร้อยกว่าปีก่อน)

ถือเป็นโศกนาฏกรรมทางการเมืองครั้งร้ายแรงที่สุดของประเทศนี้ ซึ่งทั้งสองฝ่ายไม่มีใครคิดว่า เมื่อตอนเริ่มเกิดสงครามใหม่ ๆ เหตุการณ์จะลุกลามใหญ่โตและสร้างความย่อยยับให้กับประเทศถึงเพียงนี้

บรรยากาศทางการเมืองในสหรัฐอเมริกาก่อนหน้านี้เต็มไปด้วยความขัดแย้ง ระหว่างประชาชนของรัฐฝ่ายเหนือกับรัฐฝ่ายใต้ที่สะสมกันมานานหลายสิบปี

รัฐทางเหนือมีประชากรประมาณ 22 ล้านคน เป็นคน มีรายได้จากการประกอบอุตสาหกรรมเป็นหลัก ไม่จำเป็นต้องใช้แรงงานทาส ขณะที่รัฐทางใต้มีประชากรประมาณ 9 ล้านคน ส่วนใหญ่มีรายได้จากการทำเกษตรกรรม จึงต้องใช้แรงงานทาสเพื่อการเพาะปลูก

คนทางใต้มักเป็นผู้ดีเก่าที่อพยพมาจากยุโรป เป็นเจ้าของที่ดินมหาศาล มีความภูมิใจว่าเป็นผู้สร้างชาติมาตั้งแต่แรก และมักดูถูกพวกคนทางเหนือว่าเป็นพวกนายทุน พวกคนรวยรุ่นใหม่ แต่อดีตเคยเป็นชนชั้นต่ำมาก่อน

แต่รัฐธรรมนูญของสหรัฐอเมริกาที่ประกาศใช้ในปีพ.ศ. 2330 ได้ระบุว่าทุกคนเกิดมาเท่าเทียมกัน จึง ได้เขียนไว้ในบทเฉพาะกาลว่า “อเมริกาจะต้องเลิกการค้าทาสให้หมดไปภายในกำหนด 21 ปี” พอครบกำหนด รัฐบาลกลางได้ออกกฎหมายเลิกการค้าทาส แต่ผู้คนในรัฐทางใต้ยังเพิกเฉย

ความขัดแย้งในสังคมจึงได้เกิดขึ้นอย่างรุนแรง คนทางใต้ยิ่งนำเข้าทาสจากทวีปแอฟริกาเพิ่มขึ้นจาก 6 แสนคนเป็น 4 ล้านคนภายในเวลาอันรวดเร็ว คนทางเหนือพากันประณามความไร้มนุษยธรรม ขณะที่คนทางใต้ ซึ่งเป็นคนเคร่งศาสนาก็ตอบโต้ว่า ไม่มีข้อห้ามในศาสนา และพวกเขาปฏิบัติต่อทาสเหล่านี้ด้วยความเมตตา

นักการเมืองทางใต้ก็พากันต่อต้านกฎหมายเลิกทาส เพราะรู้แน่ว่าจะส่งผลสะเทือนต่อระบบเศรษฐกิจของฝ่ายใต้ บรรดาสส.ในสภาต่างฝ่ายต่างก็โหวตให้กับผลประโยชน์ของฝ่ายตัวเอง

สื่อมวลชนก็เริ่มเลือกข้าง หนังสือพิมพ์จากรัฐทางเหนือ ไม่สามารถมาขายรัฐทางใต้ได้ เช่นเดียวกับหนังสือพิมพ์จากรัฐทางใต้ก็ไม่สามารถมาขายในรัฐทางเหนือได้อีกต่อไป
แม้กระทั่งตราชั่งแห่งความยุติธรรมก็เอียง ศาลสูงสหรัฐที่เป็นคนใต้ หรือคนเหนือบางคนก็เริ่มตัดสินคดีความตามผลประโยชน์ของฝ่ายตัวเองเป็นหลัก

ในที่สุดเมื่อลินคอล์น แห่งพรรครีพับลิกันชนะการเลือกตั้งขึ้นดำรงตำแหน่งประธานาธิบดี ฝ่ายใต้ที่ประกอบด้วย 11 รัฐก็ประกาศแยกประเทศ ไม่ขึ้นต่อรัฐบาลกลางอีกต่อไป และบุกโจมตีป้อมทหารแห่งหนึ่งของทหารฝ่ายเหนือ จนลุกลามเป็นสงครามกลางเมือง ประธานาธิบดีลินคอล์นประกาศระดมทหารเข้าสมรภูมิ 2 ล้านกว่าคน ขณะที่ทหารฝ่ายใต้มีกำลังเพียง 1 ล้านคนเศษ

สงครามครั้งนี้มีการผลิตอาวุธที่ใช้สังหารผู้คนทีละมาก ๆ อาทิปืนกล ระเบิด เรือดำน้ำ รวมไปถึงปืนโคลต์ .45 ปืนสั้นที่มีชื่อเสียง มีการรบกันแทบทุกวัน นับรวมได้สองพันกว่าครั้ง และครั้งที่โหดร้ายที่สุดคือสมรภูมิเกเตสเบิร์ก มีคนตายรวดเดียว 4 หมื่นกว่าคน ประธานาธิบดีลินคอล์นได้เดินฝ่ากระสุนมาเยี่ยมผู้บาดเจ็บ และกล่าวสุนทรพจน์ด้วยความสะเทือนใจที่เห็นพี่น้องชาติเดียวกันต้องมาฆ่ากันตาย

“ เราได้ตั้งปณิธานอย่างแน่วแน่ว่า ทหารทั้งหลายที่เสียชีวิตนี้จะไม่ตายอย่างไร้ค่า เพราะประเทศชาตินี้ภายใต้พระหัตถ์ของพระเจ้าจะได้ก่อกำเนิดเสรีภาพครั้งใหม่ และรัฐบาลของประชาชน โดยประชาชน เพื่อประชาชน จะไม่สูญสลายไปจากโลก”

ไม่นานนัก ทหารฝ่ายเหนือก็เอาชนะทหารฝ่ายใต้ได้อย่างเด็ดขาด เพราะพลังทางเศรษฐกิจของฝ่ายเหนือที่แข็งแรงกว่า ประชากรที่มากกว่า และอาวุธเทคโนโลยีอันทันสมัยกว่า ทิ้งความย่อยยับของสงครามให้คนในประเทศได้เยียวยากันอีกหลายสิบปี เพราะไม่มีใครคาดคิดตอนเริ่มสงครามว่า จะมีผู้คนล้มตายมากมาย และประเทศพังพินาศถึงเพียงนี้

หลายปีก่อน ผมมีโอกาสไปรัฐเวอร์จิเนีย ไปเยี่ยมสถานที่แห่งหนึ่งเรียกว่า นิวมาร์เก็ต เป็นทุ่งหญ้าหลายพันไร่ ในอดีตคือสมรภูมิรบอันดุเดือดแห่งหนึ่ง ยังเห็นร่องรอยของโรงนาที่เป็นโรงพยาบาลสนาม ปืนใหญ่ของทหารทั้งสองฝ่ายที่ยังตั้งประจันหน้ากันอยู่เป็นอนุสรณ์เตือนความทรงจำให้คนรุ่นหลัง

สมรภูมิแห่งนี้ นักเรียนโรงเรียนนายร้อยเวอร์จิเนียของฝ่ายใต้ประมาณ 200 คนที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ ได้ออกจากห้องเรียนกระทันหัน พร้อมอาวุธปืนมุ่งหน้าสู่นิวมาร์เก็ต เมื่อทราบข่าวว่ากองทหารฝ่ายเหนือได้ยกทัพใกล้เข้ามา

นักเรียนเหล่านั้นไม่เคยได้กลับเข้าห้องเรียนอีกเลย

ร้อยกว่าปีผ่านมา เราเรียนรู้ว่า

ประวัติศาสตร์สอนให้เรารู้ว่า เราไม่เคยเรียนรู้อะไรจากประวัติศาสตร์เลย

ถ้าศาล หมดความน่าเชื่อถือ ... ประเทศนี้สิ้นสุดความเป็นนิติรัฐ


แนวความคิดเรื่อง
หลักนิติรัฐ(Rule of law)หรือหลักนิติธรรม
ความคิดในเรื่องนิติรัฐ เป็นความคิดของประชาชนที่ศรัทธาในลัทธิปัจเจกนิยม (Individualism) และรัฐธรรมนูญของรัฐที่จะเป็นนิติรัฐได้นั้น จำต้องมีบทบัญญัติในประการสำคัญกล่าวถึงหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรด้วย เช่น เสรีภาพในร่างกาย ในทรัพย์สิน ในการทำสัญญา และในการประกอบอาชีพ ในฐานะนี้ รัฐจึงมีสภาพเป็นคนรับใช้ของสังคมโดยถูกควบคุมอย่างเคร่งครัด จะเห็นได้ว่า การที่รัฐจะเคารพต่อเสรีภาพต่างๆ ของราษฎรได้นั้น ย่อมมีอยู่วิธีเดียว ก็คือ การที่รัฐยอมตนอยู่ใต้บังคับแห่งกฎหมายโดยเคร่งครัดเท่านั้น และตราบใดที่กฎหมายยังใช้อยู่กฎหมายนั้นก็ผูกมัดรัฐอยู่เสมอ
ความคิดเรื่องนิติรัฐ ย่อมเกิดขึ้นโดยการที่ราษฎรต่อสู้กับ
การปกครองระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ โดยราษฎรเริ่มเรียกร้องเสรีภาพขึ้นก่อน
ดังที่กล่าวมาแล้ว จะเห็นได้ว่า การที่ประเทศใดประเทศหนึ่งจะเป็นนิติรัฐได้นั้น ต้องมีลักษณะดังนี้
1) ในประเทศนั้นกฎหมายจะต้องเป็นไปตามกฎหมายและชอบด้วยกฎหมายหลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎรอยู่ที่กฎหมาย ถ้าเจ้าพนักงานของรัฐเข้ามากล้ำกรายสิทธิเสรีภาพของรัฐโดยไม่มีกฎหมายให้อำนาจ เจ้าพนักงานก็ย่อมจะมีความผิดทางอาญา
2) ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ ขอบเขตแห่งอำนาจหน้าที่ของรัฐย่อมกำหนดไว้แน่นอน เริ่มแต่การแบ่งแยกอำนาจออกเป็นสามอำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร และอำนาจตุลาการ โดยมีขอบเขตในการใช้อำนาจของรัฐ อำนาจของเจ้าพนักงานของรัฐที่ลดหลั่นลงมาก็เป็นอำนาจที่วัดได้ คือ เป็นอำนาจที่มีขอบเขตเช่นเดียวกัน และต้องมีการควบคุมให้มีการใช้อำนาจภายในขอบเขตเท่านั้น เช่น ในประเทศไทยบุคคลย่อมทราบได้จากกฎหมายว่า ตำรวจ มีอำนาจหน้าที่เพียงใด จะใช้อำนาจจากราษฎรได้หรือไม่เพียงใด
3) ในประเทศที่เป็นนิติรัฐ ผู้พิพากษาจะต้องมีอิสระในการพิจารณาพิพากษาคดี โดยจะต้องมีหลักประกันดังกล่าวไว้ในรัฐธรรมนูญ และเพียงแต่รัฐใดจะจัดให้ผู้พิพากษาเป็นอิสระ สำหรับพิจารณาคดีแพ่งและคดีอาญาเท่านั้น ก็มีศาลแพ่งและศาลอาญาประกอบด้วยผู้พิพากษาที่มีอิสระสำหรับพิจารณาคดีแพ่งคดีอาญา ความสำคัญอยู่ที่จะต้องให้ศาลยุติธรรมควบคุมฝ่ายปกครอง กล่าวคือ ให้ศาลยุติะรรมวินิจฉัยการกระทำของเจ้าพนักงานได้ว่าพนักงานได้กระทำผิดในทางอาญาต่อราษฎรหรือกระทำการละเมิดในทางแพ่งหรือไม่ โดยในนี้นิติรัฐจึงเป็นรัฐยุติธรรม กล่าวคือ ศาลยุติธรรมควบคุมการกระทำของเจ้าพนักงานในทางอรรถคดี ปัญหามีว่าการที่รัฐบางรัฐได้จัดตั้งศาลปกครองขึ้นโดยเฉพาะนั้น จะยังคงเป็นนิติรัฐอยู่อีกหรือไม่ มีคำตอบข้อนี้ก็คือแล้วแต่ผู้พิพากษาศาลปกครองจะเป็นอิสระหรือไม่ ถ้าเป็นอิสระรัฐนั้นก็เป็นนิติรัฐ ทั้งนี้เพราะความสำคัญอยู่ที่หลักประกันสิทธิและเสรีภาพของราษฎร ซึ่งจะมีได้ต่อเมื่อผู้พิพากษาที่วินิจฉัยข้อพิพากษาเป็นอิสระอย่างแท้จริง แต่การที่จัดตั้งศาลโดยเฉพาะขึ้น เช่น ศาลปกครองประกอบด้วยผู้พิพากษาที่รอบรู้ในวิชาปกครอง ย่อมจะอำนวยประโยชน์ เพราะทำให้ศาลที่จัดตั้งขึ้นไว้ สามารถพิพากษาคดีได้ถูกต้องขึ้น และเมื่อผู้พิพากษาในศาลดังกล่าวเป็นอิสระ ก็เป็นหลักประกันอันพอเพียงสำหรับราษฎร
แนวความคิดเรื่องนิติรัฐนี้เองก่อให้เกิด หลักนิติธรรม (The Rule of law) ขึ้นในระบบกฎหมายต่างๆ อันมีที่มาจากแนวคิดของ
อริสโตเติลที่ว่า การปกครองที่ดีไม่ใช่การปกครองโดยปุถุชน หากแต่เป็นการปกครองโดยกฎหมาย เพราะการปกครองโดยปุถุชนย่อมเสี่ยงต่อการปกครองตามอำเภอใจ ขณะที่การปกครองโดยกฎหมายเอื้ออำนวยต่อการที่จะมีความเสมอภาค (equality) และเสรีภาพ (liberty) มากกว่า เพราะหากมีการปกครองโดยหลักนิติธรรมอยู่จริง ทุกคนก็จะมีความเสมอภาคกันในสายตาของกฎหมาย และมีเสรีภาพ คือ ปราศจากความหวาดกลัวว่าจะมีการใช้อำนาจตามอำเภอใจโดยผู้ปกครอง แนวความคิดนี้จึงเป็นที่มาของลัทธิรัฐธรรมนูญนิยม(constitutionalism) ซึ่งในอีกแง่หนึ่งมีความหมายเช่นเดียวกับคำว่า Law and Order หรือ บ้านเมืองมีขื่อมีแป นั่นเอง
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในอังกฤษ Albert Venn Dicey (1835-1922) นักกฎหมายรัฐธรรมนูญผู้เรืองนามได้สรุปว่าหลักนิติธรรมนั้นจะต้องประกอบด้วยลักษณะ 3 ประการดังนี้คือ

Albert Venn Dicey
1) ฝ่ายบริหารไม่มีอำนาจตามอำเภอใจ ซึ่งหมายถึงบุคคลจะต้องรับผิดในทางอาญาต่อเมื่อได้กระทำการอันเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และโทษนั้นต้องเป็นโทษตามกฎหมายอันแสดงให้เห็นว่าบุคคลจะถูกจำกัดสิทธิเสรีภาพโดยกฎหมายเท่านั้น เจ้าพนักงานของรัฐใช้อำนาจตามอำเภอใจมิได้
2)บุคคลทุกคนอยู่ภายใต้กฎหมายเดียวกันและศาลเดียวกันจะเป็นผู้พิจารณาพิพากษาซึ่งหมายถึง บุคคลทุกคนต้องถูกกฎหมายบังคคับโดยเท่าเทียมกันไม่เลือกฐานะและตำแหน่งหน้าที่และเมื่อมีข้อพิพากษาเกิดขึ้นในระหว่างเอกชน หรือ เอกชนกับรัฐทั้งตามกฎหมายแพ่ง กฎหมายอาญา และกฎหมายอื่น เช่น กฎหมายปกครองศาลยุติธรรม เท่านั้นที่จะทำหน้าที่พิจารณาคดีเหล่านี้ได้ และการพิจารณาพิพากษานี้ถ้าเป็นไปโดยอิสระปราศจากการแทรกแซงของฝ่ายของฝ่ายใดฝ่ายใดทั้งสิ้น
3) หลักทั่วไปของกฎหมายรัฐธรรมนูญเป็นผลมาจากกฎหมายธรรมดา ของประเทศ กล่าวคือ ศาลนั่นเองเป็นผู้พิพากษาคดีเกี่ยวด้วยสิทธิเสรีภาพของเอกชนทำให้เกิดการยอมรับสิทธิเสรีภาพขึ้น
ในทางการปกครอง การปกครองโดยหลักนิติธรรมก็คือ หลักการที่ว่า บรรดาเจ้าหน้าที่ของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นโดยการเลือกตั้งหรือแต่งตั้งต้องกระทำการภายใต้กฎหมาย และธรรมนูญการปกครอง ใช้อำนาจภายในขอบเขตซึ่งกฎหมายกำหนดไว้ให้ ดังนั้น การปกครองโดยหลักนิติธรรมในนัยที่จะให้เกิดความเป็นธรรมนั้น จะต้องมีการออกกฎหมายที่เป็นธรรมด้วย
สรุปได้ว่า หลักนิติธรรม ก็คือ “การปกครองประเทศโดยกฎหมาย กล่าวคือ บุคคลเสมอกันในกฎหมาย บุคคลจะต้องรับโทษเพื่อการกระทำผิดอันใด ต่อเมื่อมีกฎหมายบัญญัติไว้ว่า การกระทำนั้นเป็นความผิดและกำหนดโทษไว้ และจะต้องได้รับการพิจารณาคดีจากศาลยุติธรรม ที่มีความเป็นอิสระในการชี้ขาดตัดสินคดีไม่ว่าจะเป็นข้อพิพาทที่เกิดขึ้นระหว่างเอกชนด้วยกันเองก็ดี หรือระหว่างเอกชนกับรัฐก็ดี” อาจถือได้ว่าหลักนิติธรรมนั้น เป็นหลักสำคัญของนิติรัฐ ตลอดจนเป็นรากแก้วของระบบการปกครองแบบประชาธิปไตยโดยแท้


จาก หนังสือพิมพ์ บ้านเมือง 2 พ.ย.2553
2 กระแสความเคลื่อนไหวนี้น่าจะตีคู่ขนานกันไปจนกว่าจะมีคำตัดสิน ซึ่งก็เข้าใจว่า ศาลรัฐธรรมนูญในอีก 1 เดือนข้างหน้าจะบอบช้ำมากไปกว่านี้
แล้วถ้าศาลต้องพิจารณาคดีไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง ด้วยเหตุผลเกรงว่า บ้านเมืองจะวุ่นวาย ปัญหาก็คือประเทศนี้จะ "มั่ว" กันไปอีกนานแค่ไหน
อาการ "ลืมตัว" เพราะมุ่งหวังชัยชนะเวลานี้ ทำให้ลืมกระทั่งพระราชดำรัส เมื่อวันที่ 25 เมษายน 2549 ซึ่งพระราชทานแก่ผู้พิพากษาประจำศาลสำนักงานศาลยุติธรรม
"...ปกครองประเทศมั่วไม่ได้ ที่จะคิดอะไรแบบ แบบว่าทำปัดๆ ไปให้เสร็จๆ ไป ถ้าไม่ได้เขาก็โยนให้พระมหากษัตริย์ทำ ซึ่งยิ่งร้ายกว่าทำมั่วอย่างอื่น เพราะพระมหากษัตริย์ ไม่ ไม่มีหน้าที่ที่จะไปมั่ว.."
คำสั่ง "ยุบพรรค" มีบทเรียนสำคัญมาแล้วไม่ต่ำกว่า 2 ครั้ง คือ กรณี พรรคไทยรักไทยจ้างพรรคการเมืองขนาดเล็กลงสมัครรับเลือกตั้งเมื่อวันที่ 2 เมษายน 2549 เพื่อหนีเกณฑ์ 20 เปอร์เซ็นต์ และกรณียุบพรรคชาติไทย มัชฌิมา และพลังประชาชน หลังการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2550
เมื่อครั้งก่อนการตัดสินยุบพรรคไทยรักไทย เวลานั้นก็มีการสร้างกระแสว่า บ้านเมืองจะลุกเป็นไฟหากคำตัดสินไม่ออกมาตามความคาดหวังของกองเชียร์
เวลานั้นพระองค์ท่านทรงมีพระราชดำรัสเมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม พ.ศ.2550 ต่อคณะตุลาการศาลปกครองที่เข้าเฝ้าฯ ว่า ศาลต้องกล้าหาญและสุจริตในการตัดสินและเมื่อตัดสินแล้วต้องใช้สติปัญญาของทุกคนอธิบายผลที่เกิดขึ้นให้กับประชาชนทุกระดับได้เข้าใจในผลการตัดสิน
ความกล้าหาญและสุจริตในการทำหน้าที่ของศาล และอธิบายต่อประชาชนก็ทำให้วิกฤติทั้ง 2 ครั้งผ่านมาได้
แรงปะทะที่ฝ่ายการเมืองต่อสู้ชิงอำนาจ ส่งผลสะเทือนถึงศาลรัฐธรรมนูญอย่างไม่อาจหลีกเลี่ยง วิกฤตินี้ส่งผลให้เกิดข้อเรียกร้องต่อการปฏิรูปศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งนั่นย่อมเป็นสิ่งดี แต่การปฏิรูปศาลกับการพิจารณาคดียุบพรรคประชาธิปัตย์ เป็นคนละเรื่อง
"กล้าหาญและสุจริตในการทำหน้าที่" ตามแนวพระราชดำรัสที่ทรงพระราชทานต่างหากผิดถูกว่ากันไปตามข้อเท็จจริง
ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญเปลี่ยนได้ นัก การเมือง ขั้วรัฐบาลเปลี่ยนได้ แต่ความเป็น "นิติรัฐ" ของประเทศเปลี่ยนไม่ได้