วันจันทร์ที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สถานการณ์พลังงาน ปี 2542 ถึง กลางปี 2543

สถานการณ์พลังงาน ปี 2542
ถึง กลางปี 2543


1. บทนำ
2. สถานการณ์ราคาน้ำมันและแนวโน้ม

2.1 ราคาน้ำมันดิบ
2.2 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์
2.3 ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง
2.4 ค่าการตลาดและค่าการกลั่น
2.5 แนวโน้มราคาน้ำมัน

3. สถานการณ์การผลิต การใช้และการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ ปี 2542 และแนวโน้มปี 2543
3.1 ภาพรวมพลังงาน ปี 2542
3.2 แนวโน้มสถานการณ์พลังงาน ปี 2543
3.3 สถานการณ์พลังงานแต่ละชนิดในปี 2542 และปี 2543

4. การดำเนินนโยบายและมาตรการในปี 2542 ถึงกลางปี 2543
4.1 ด้านการจัดหาพลังงาน
4.2 ด้านการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
4.3 ด้านการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงาน
4.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
4.5 ความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ

5. บทสรุป
ตารางประกอบ


1. บทนำ

ปี 2542 นับว่าเป็นปีที่เป็นจุดเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมัน กล่าวคือ ราคาน้ำมันดิบซึ่งเคยตกต่ำอยู่ที่ระดับ $ 10-11ต่อบาร์เรล ในช่วงปลายปี 2541 ได้ปรับตัวสูงขึ้นถึงกว่าเท่าตัวในช่วงปลายปี 2542 โดยมาอยู่ ที่ระดับ $ 24-26 ต่อบาร์เรล อันเป็นผลมาจากความร่วมมือในการลดปริมาณการผลิต อย่างได้ผลของกลุ่มโอเปค และความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลกที่เริ่มปรับตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของโลก โดยเฉพาะในภูมิภาคเอเซีย และถึงแม้ว่ากลุ่มโอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นมาในระดับเดิม แต่ในระยะแรกก็ยังไม่เพียงพอกับความต้องการ ทำให้ราคาน้ำมันยังคงทรงตัวอยู่ที่ระดับ $ 27-30 ต่อบาร์เรล ในช่วงครึ่งแรกของปี 2543 ราคาน้ำมันในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้น ได้ส่งผลให้ระดับราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ปรับตัวสูงขึ้นตาม ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท และการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน เมื่อต้นปี 2541 ยิ่งเป็นปัจจัยเร่งให้ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงในประเทศ ถีบตัวสูงยิ่งขึ้น โดยราคาขายปลีกน้ำมันเบนซินและดีเซลในประเทศได้ปรับตัวสูงขึ้นจากระดับ 10.40 และ 7.57 บาทต่อลิตร ในช่วงต้นปี 2542 มาอยู่ที่ระดับ 14.94 และ 11.88 บาทต่อลิตร ในช่วงกลางปี 2543
อย่างไรก็ตาม นักวิเคราะห์คาดการณ์ว่า แนวโน้มราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 จะอ่อนตัวลง เนื่องจากระดับราคาน้ำมันที่สูง จะทำให้ความต้องการใช้ปรับตัวลดลง อีกทั้งการประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตของกลุ่มโอเปค และนอกกลุ่มโอเปคเมื่อเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา ได้ทำให้น้ำมันดิบไหลเข้าสู่ตลาดมากขึ้น ซึ่งในระยะยาวแล้วปริมาณสำรองน้ำมันของโลก จะกลับมาสู่ระดับปกติ และตลาดจะอยู่ในภาวะสมดุล โดยราคายังคงทรงตัวอยู่ในระดับที่สูง ส่วนราคาน้ำมันสำเร็จรูปนั้น คาดว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงปกติตามฤดูกาล โดยราคาน้ำมันเบนซินจะอ่อนตัวลงหลังฤดูร้อน และหากการเพิ่มปริมาณสำรองน้ำมันดีเซล ในช่วงฤดูหนาว ไม่ทันการณ์ อาจทำให้ราคาน้ำมันดีเซลถีบตัวสูงขึ้นได้
จากภาวะเศรษฐกิจไทยที่เริ่มส่งสัญญาณฟื้นตัวมาตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2542 และต่อเนื่องมาจนถึงปลายปี ได้ส่งผลให้ความต้องการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศ เริ่มปรับตัวสูงขึ้น โดยในปี 2542 ปริมาณความต้องการได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยยังคงมีการใช้ก๊าซธรรมชาติและลิกไนต์/ถ่านหินในอัตราที่สูง ส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงและไฟฟ้าพลังน้ำลดลงเล็กน้อย สำหรับการผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศ และการนำเข้า ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 และ 9.0 ตามลำดับ เมื่อเทียบกับปีก่อน โดยมีสัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ อยู่ในระดับร้อยละ 62.2 และหากในปี 2543 เศรษฐกิจขยายตัวต่อเนื่องมาอยู่ที่ระดับร้อยละ 4.5 ตามที่คาดการณ์ไว้ คาดว่าการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 สัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศอยู่ในระดับร้อยละ 59.6 ซึ่งลดลงจากปี 2542 ทั้งนี้ คาดว่าจะมีการใช้ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์/ถ่านหิน ไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า เพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ในขณะเดียวกันการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะยังคงลดลงเล็กน้อย เนื่องจากมีการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันเตา ในการผลิตไฟฟ้า และในภาคอุตสาหกรรมมากขึ้น
จากปัญหาวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของประเทศ และภาวะความผันผวนของราคาน้ำมันในช่วงที่ผ่านมา ได้ส่งผลกระทบ ต่อการดำเนินนโยบาย และมาตรการทางด้านพลังงานเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตาม ส่วนหนึ่งยังคงเป็นมาตรการ ที่ดำเนินการต่อเนื่องจากปีก่อนๆ แต่ก็มีมาตรการอีกส่วนหนึ่งที่ออกมา เพื่อให้สอดคล้องเหมาะสม กับสถานการณ์ของประเทศที่เปลี่ยนแปลงไป โดยเฉพาะมาตรการบรรเทาผลกระทบ จากราคาน้ำมัน ที่เพิ่มสูงขึ้นได้ให้ความสำคัญ ต่อมาตรการในการอนุรักษ์พลังงานและการส่งเสริมการใช้พลังงานทดแทนอื่นๆ เป็นอย่างมาก เพื่อลดการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงของประเทศ
สำหรับการดำเนินการเพื่อส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงาน ในส่วนของการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน นับว่าก้าวหน้าไปพอสมควร ทั้งกิจการด้านไฟฟ้า ก๊าซธรรมชาติและน้ำมัน ตลอดจนการยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน นอกจากนี้ได้มีการดำเนินการป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม โดยมุ่งเน้นการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันเตา และส่งเสริมการนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ เพื่อลดปัญหาสิ่งแวดล้อมที่เกิดจากการผลิตและการใช้พลังงาน อย่างไรก็ตาม นอกเหนือจากการดำเนินการตามมาตรการดังกล่าวข้างต้นแล้ว การดำเนินการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือด้านพลังงาน กับต่างประเทศยังคงเป็นมาตรการ ที่จะต้องดำเนินการอย่างต่อเนื่อง เพื่อกระชับความร่วมมือและรักษาบทบาทของประเทศ ในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศต่อไป

2. สถานการณ์ราคาน้ำมันและแนวโน้ม

2.1 ราคาน้ำมันดิบ ในปี 2542 เป็นปีที่เป็นจุดเปลี่ยนของราคาน้ำมัน ตั้งแต่เดือนเมษายน เป็นต้นมา ราคาน้ำมันดิบที่เคยอยู่ในสภาพตกต่ำ ได้ปรับตัวสูงขึ้น จากระดับ $10-11 ต่อบาร์เรล ในช่วงปลายปี 2541 มาอยู่ในระดับ $24-26 ต่อบาร์เรล ในเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นผลจากความร่วมมือในการลดปริมาณการผลิตอย่างได้ผลของกลุ่มโอเปค ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันในตลาดโลก ได้เพิ่มสูงขึ้น โดยเฉพาะความต้องการใช้ของประเทศต่างๆ ในเอเซียที่เพิ่มสูงขึ้นจากภาวะเศรษฐกิจที่เริ่มปรับตัวดีขึ้น ทำให้ปริมาณน้ำมันสำรองลดลงจากระดับปกติ และส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันในช่วงปลายปี 2542 ต่อเนื่องถึงครึ่งแรกของปี 2543 ซึ่งแม้ว่าโอเปคจะเพิ่มปริมาณการผลิตขึ้นมาในระดับเดิม แต่ยังไม่เพียงพอกับความต้องการใช้ ราคาน้ำมันดิบกลางปี 2543 อยู่ในระดับ $27-30 ต่อบาร์เรล
ราคาน้ำมันดิบและน้ำมันสำเร็จรูปในสิงคโปร์
หน่วย : เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
ชนิดน้ำมัน25412542254325422543
ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4ไตรมาส 1ไตรมาส 2
น้ำมันดิบ         
ดูไบ12.1517.2025.4811.0715.2519.7522.7324.3825.08
เบรนท์13.1418.1327.5611.5315.7920.9624.2627.0927.21
น้ำมันสำเร็จรูป         
เบนซินออกเทน 9517.1721.0230.8514.6218.9425.1625.3730.7031.00
ก๊าด16.3121.4430.5215.0318.6424.4227.6631.6129.43
ดีเซลหมุนเร็ว15.4019.1429.4213.7416.9721.1924.6630.3328.51
เตา (3.5%S)10.7015.7424.359.9313.3017.8521.8723.2925.42
2.2 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ การสูงขึ้นของต้นทุนราคาน้ำมันดิบได้ส่งผลกระทบต่อราคาน้ำมันสำเร็จรูป โดยนับตั้งแต่เดือนเมษายน ถึงสิ้นปี 2542 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ได้แก่ น้ำมันเบนซิน ดีเซล และเตา ได้ปรับตัวสูงขึ้น $12, $10 และ $8 ต่อบาร์เรล หรือคิดเป็นร้อยละ 72, 70 และ 75 ตามลำดับ แต่การปรับตัวยังสูงขึ้นในระดับที่ต่ำกว่าราคาน้ำมันดิบ เพราะกำลังการกลั่นที่สูงกว่า ความต้องการในภูมิภาคเอเซีย ทำให้เกิดภาวะน้ำมันล้นตลาด และค่าการกลั่นตกต่ำในครึ่งแรกของปี 2543 ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในตลาดจรสิงคโปร์ ปรับตัวสูงขึ้นตามต้นทุนราคาน้ำมันดิบ แต่ผลจากการลดกำลังกลั่น เพราะค่าการกลั่นตกต่ำ ได้ทำให้ตลาดน้ำมันตึงตัว เมื่อการจัดหาถูกจำกัดจากการปิดซ่อมแซมโรงกลั่น โดยกระทันหัน ราคาน้ำมันสำเร็จรูปโดยเฉลี่ย จึงปรับตัวสูงขึ้นกว่าราคาน้ำมันดิบ โดยราคาน้ำมันเบนซิน ดีเซล และเตาปรับตัวสูงขึ้น $6, $4 และ $4 ต่อบาร์เรล ตามลำดับ
2.3 ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิง การเปลี่ยนแปลงของราคาน้ำมันสำเร็จรูปของไทยสอดคล้องกับต้นทุนที่เปลี่ยนไป ซึ่งประกอบด้วย การเปลี่ยนแปลงของอัตราแลกเปลี่ยน ภาษีสรรพสามิต และราคาน้ำมันดิบในตลาดโลก
(1) ต้นทุนราคาน้ำมันที่สูงขึ้น จากฐานภาวะเศรษฐกิจที่เปลี่ยนไป ผลจากค่าเงินบาทที่ อ่อนตัวลงหลังการลอยตัวค่าเงินบาท และการขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน เมื่อต้นปี 2541
  • การอ่อนตัวของค่าเงินบาท หากเปรียบเทียบค่าเงินบาทในปลายปี 2543 กับก่อนการลอยตัวค่าเงินบาทกลางปี 2540 ค่าเงินบาทได้อ่อนตัวจากระดับ 25.50 บาท/เหรียญสหรัฐ มาอยู่ในระดับ 39 บาท/เหรียญสหรัฐ ทำให้ต้นทุนน้ำมันเบนซิน และดีเซลสูงขึ้น ในระดับ 2.3 บาท/ลิตร และกลางปี 2543 ค่าเงินบาทได้อ่อนตัวลงมาอยู่ในระดับ 40 - 41 บาท/เหรียญสหรัฐ ต้นทุนน้ำมันเบนซิน และดีเซลจึงสูงขึ้นมาอีก 0.30-0.40 บาท/ลิตร
  • การเปลี่ยนแปลงอัตราภาษีสรรพสามิตและอัตรากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ต้นปี 2541 รัฐบาลได้ปรับขึ้นภาษีสรรพสามิตน้ำมันเบนซิน 1 บาท/ลิตร ภาระภาษีรวมทั้งหมดเพิ่มขึ้น 1.21 บาท/ลิตร นอกจากนี้มีการปรับระดับอัตราภาษีเล็กน้อยอีก 2-3 ครั้ง และมีการลดภาษีสรรพสามิตน้ำมันดีเซลลง 0.42 บาท/ลิตร เป็นการชั่วคราว 3 เดือน ตั้งแต่ 5 ตุลาคม 2542 - 5 มกราคม 2543
(2) ต้นทุนจากราคาน้ำมันในตลาดโลก ในปี 2542 จากผลของการจำกัดปริมาณการผลิต ที่ได้ผลของกลุ่มโอเปค ทำให้ราคาน้ำมันในตลาดโลกของปีที่ผ่านมา ได้แข็งตัวขึ้นเมื่อเทียบกับปีก่อนหน้า ส่งผลให้ราคาขายปลีกน้ำมันสำเร็จรูปของไทย ได้แข็งตัวขึ้นตาม โดยปลายปี 2542 น้ำมันเบนซินและดีเซลได้ปรับตัว สูงขึ้นจากผลของราคาตลาดโลกเมื่อเทียบกับต้นปี 3.3 และ 2.9 บาท/ลิตร และครึ่งแรกของปี 2543 ราคาได้ แข็งตัวขึ้นอีก 1.1 และ 1.0 บาท/ลิตร ตามลำดับ
หากเปรียบเทียบการเปลี่ยนแปลงของราคาขายปลีกที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ เมื่อกลางปี 2540 กับกลางปี 2543 จะพบว่าการเปลี่ยนแปลงของราคาจากผลของต้นทุนต่างๆ เป็น ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของต้นทุนราคาน้ำมันที่เกิดจากปัจจัยต่างๆ
(เปรียบเทียบ ณ กลางเดือนกรกฎาคม 2543 : ช่วงก่อนลอยตัวค่าเงินบาทกลางปี 2540)
หน่วย : บาทต่อลิตร
ปัจจัยเบนซินดีเซล
1. อัตราแลกเปลี่ยน (25.5:40.1)+2.73+2.63
2. ภาษี+1.79+0.57
3. กองทุน+0.38+0.18
4. ค่าการตลาด-0.63-0.20
5. ราคาตลาดโลก (โดยประมาณ)+2.19+1.55
รวม+6.46+4.73
ราคาขายปลีก (1) เบนซินออกเทน 95 เมื่อ 15 ก.ค. 43 : 15.89 บาท/ลิตร /30 มิ.ย. 40 : 9.43 บาท/ลิตร
(2) ดีเซลหมุนเร็ว เมื่อ 15 ก.ค. 43 : 12.99 บาท/ลิตร /30 มิ.ย. 40 : 8.30 บาท/ลิตร
ราคาขายปลีกน้ำมันเชื้อเพลิงของไทย
หน่วย : บาทต่อลิตร
ชนิดน้ำมัน25412542254325422543
ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4ไตรมาส 1ไตรมาส 2
เบนซินออกเทน 9511.8611.9914.7910.4011.2812.7213.5114.6314.94
เบนซินออกเทน 9111.1911.1813.879.5310.4811.9212.7113.8013.94
เบนซินออกเทน 8711.1810.7213.459.1110.0511.5012.2913.3813.52
ดีเซลหมุนเร็ว9.188.9711.807.578.459.4110.4111.7111.88
2.4 ค่าการตลาดและค่าการกลั่น ระดับค่าการตลาดของผู้ค้าน้ำมันในปัจจุบัน อยู่ในระดับต่ำสุด นับตั้งแต่ยกเลิกควบคุมราคาน้ำมันเชื้อเพลิงเป็นต้นมา ทั้งนี้เนื่องจากการปรับราคาขึ้นในระดับที่ต่ำ และช้ากว่าการปรับขึ้นของราคาน้ำมันในตลาดโลก ซึ่งเป็นผลจากการแข่งขันที่สูงในตลาดน้ำมัน ค่าการตลาดเฉลี่ยทุกผลิตภัณฑ์ของประเทศ โดยปกติแล้วอยู่ในระดับ 1.20 - 1.30 บาท/ลิตร แต่ในปี 2542 เคลื่อนไหวในระดับเพียง 0.50 - 1.10 บาท/ลิตร และครึ่งแรกของปี 2543 เคลื่อนไหวในระดับ 0.70 - 1.00 บาท/ลิตร ส่วนทางด้านค่าการกลั่นก็อยู่ในระดับที่ต่ำเช่นกัน เนื่องจากกำลังการกลั่นที่มีมากเกินความต้องการในภูมิภาคเอเซีย ทำให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปสูงขึ้นน้อยกว่าน้ำมันดิบ ค่าการกลั่นของโรงกลั่นในปี 2542 จึงอยู่ในระดับต่ำโดยเคลื่อนไหว ในระดับ 0.30 - 0.60 บาท/ลิตร แต่ในปี 2543 ค่าการกลั่นมีการเคลื่อนไหวขึ้นลงในระดับกว้าง จากความ ผันผวนของราคาน้ำมัน โดยเคลื่อนไหวในระดับ 0.40 - 0.90 บาท/ลิตร ในขณะที่ค่าการกลั่นเฉลี่ยของปี 2541 เคยอยู่ในระดับ 0.76 บาท/ลิตร
ค่าการตลาดและค่าการกลั่นของประเทศไทย
หน่วย : บาทต่อลิตร
ชนิดน้ำมัน25412542254325422543
ไตรมาส 1ไตรมาส 2ไตรมาส 3ไตรมาส 4ไตรมาส1ไตรมาส 2
ค่าการตลาด         
เบนซินออกเทน 951.69681.45231.63161.41061.47031.20611.71521.67031.5930
ดีเซลหมุนเร็ว1.15340.71270.81410.56960.78610.57630.91480.71540.9129
ค่าการตลาดเฉลี่ย1.26110.84420.94900.72140.89880.69831.0534089151.0065
ค่าการกลั่นรวม0.76620.49490.74100.68860.41390.48660.41210.93800.5441
2.5 แนวโน้มราคาน้ำมัน สถาบัน EIA (Energy Information Administration) ของสหรัฐอเมริกาวิเคราะห์ราคาน้ำมันในช่วงครึ่งหลังของปี 2543 โดยใช้ข้อเท็จจริงการประกาศเพิ่มปริมาณการผลิตของโอเปค ในเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา และการประกาศของซาอุดิอารเบีย ที่จะเพิ่มการผลิตจากเพดานใหม่อีก 500,000 บาร์เรลต่อวัน เมื่อรวมกับปริมาณการผลิตนอกกลุ่มโอเปคที่เพิ่มขึ้น 1 ล้านบาร์เรลต่อวัน จะทำให้มีน้ำมันดิบ ไหลเข้ามาในตลาดมากขึ้น ซึ่งจะทำให้มีการสะสมสต๊อก เพิ่มขึ้นสู่ระดับปกติ และพอเพียงกับความต้องการของโลก ดังนั้นจึงคาดว่า ราคาน้ำมันดิบในช่วงครึ่งหลังของปีนี้ เมื่อเทียบกับระดับปลายเดือนมิถุนายน ราคาจะอ่อนตัวลงในระดับ $4-5 ต่อบาร์เรล โดยราคาน้ำมันดิบ WTI จะอยู่ในระดับ $27 ต่อบาร์เรล (เทียบเท่าราคา น้ำมันดิบเบรนท์ $26 ต่อบาร์เรล)
สำหรับการคาดการณ์ของแหล่งอื่น นักวิเคราะห์บางกลุ่ม มองว่าขณะนี้ตลาดอยู่ในภาวะสมดุล ราคาน้ำมันที่สูงขึ้นมาก ทำให้ความต้องการใช้ในช่วงครึ่งหลังของปี จะอ่อนตัวลงและอยู่ในระดับต่ำกว่าที่คาดการณ์ไว้เดิม บริษัท Dresdner Kleinwort Benson และบริษัท Purvin & Gertz เห็นว่าจากความต้องการที่อ่อนตัวลง ปริมาณการผลิตที่เพิ่มขึ้นทั้งของโอเปค และนอกกลุ่มโอเปค จะพอเพียงกับการเพิ่มปริมาณน้ำมันสำรอง ให้กลับมาอยู่ในระดับปกติ นักวิเคราะห์มองว่าในปีนี้การผลิตนอกกลุ่มโอเปค จะเพิ่มในระดับ 1.4 - 1.6 ล้าน บาร์เรล/วัน สำหรับภาพของโอเปค จะมีผลต่อการคาดการณ์ราคาของตลาด นักวิเคราะห์โดยรวม คาดว่าครึ่งปีหลังราคาน้ำมันดิบ จะอ่อนตัวลงจากระดับกลางปี $4-5 ต่อบาร์เรล โดยภาพรวมราคายังทรงตัวในระดับสูง สำหรับราคาน้ำมันสำเร็จรูปคาดว่า ราคาน้ำมันเบนซินจะอ่อนตัวลงหลังฤดูร้อน และหากการเพิ่มปริมาณสำรอง สำหรับฤดูหนาวของน้ำมันดีเซลไม่ทันการณ์ ราคาน้ำมันดีเซล อาจถีบตัวสูงขึ้นมากเหมือนราคาน้ำมันเบนซิน ในฤดูร้อนที่ผ่านมา
หน่วย : บาทต่อลิตร
บริษัทการคาดการณ์ราคาน้ำมันดิบเบรนท์
ครึ่งหลังปี 2543ปี 2543ปี 2544
CGES26.7526.7524.40
Purvin & Gertz26.5026.5023.50
RIE26.4026.60NA
Honey Well26.3326.51NA
Warburg Dillon Read26.2526.5021.50
EIU26.1026.4021.00
ABN Amro25.3026.0022.00
Dentsche Bank24.5025.5021.00
PFC24.2525.50NA
D Kleinwort Benson22.3324.5119.00
ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ (ก.ค. 2543)28.8028.8028.80
ที่มา : Petroleum Argus; Vol 26 (3 July 2000)
โครงสร้างราคาน้ำมันเชื้อเพลิง (เปรียบเทียบก่อน/หลังลอยตัวค่าเงินบาท)
หน่วย : บาทต่อลิตร
 เบนซินออกเทน 95น้ำมันดีเซลหมุนเร็ว
มิ.ย. 4015 ก.ค.43มิ.ย. 4015 ก.ค. 43
ราคา ณ โรงกลั่น4.25539.17744.05748.2381
 - ราคาตลาดโลก24.31 $/bbl37.98 $/bbl22.87$/bbl32.53 $/bbl
 - อัตราแลกเปลี่ยน25.84 บาท/$40.13 บาท/$25.84 บาท/$40.132 บาท/$
ภาษีสรรพสามิต2.44003.68502.07002.3050
ภาษีเทศบาล0.24400.36850.20700.2305
กองทุนน้ำมันฯ0.08000.45000.08000.2500
กองทุนอนุรักษ์0.03000.04000.03000.0400
ราคาขายส่ง7.049313.72096.462411.0636
ภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT)0.49350.96050.45240.7745
ราคาขายส่ง + VAT7.542814.68146.914811.8381
ค่าการตลาด1.76381.12791.29461.0754
ภาษีมูลค่าเพิ่ม0.12340.07890.09060.0753
ราคาขายปลีก9.4315.898.3012.99

3. สถานการณ์การผลิต การใช้และการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ ปี 2542 และแนวโน้ม ปี 2543

3.1 ภาพรวมพลังงาน ปี 2542
ภาวะเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2542 และต่อเนื่องมาจนถึงปลายปี 2542 การขยายตัวของเศรษฐกิจ กระจายตัวไปเกือบทุกสาขาการผลิต โดยเฉพาะภาคอุตสาหกรรม ดังจะเห็นได้จากดัชนีผลผลิตภาคอุตสาหกรรม ในปีนี้เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 12.5 โดยมีอุตสาหกรรมหลายหมวดที่ขยายตัวสูง ได้แก่ หมวดยานยนต์ หมวดวัสดุก่อสร้าง โดยเฉพาะการผลิตปูนซีเมนต์ ปูนเม็ด ส่งผลให้ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ ของประเทศเริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่ไตรมาสที่สอง หลังจากที่ได้ชะลอตัวลงมาตั้งแต่ปลายปี 2540 โดยความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศในปี 2542 เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.3 เมื่อเทียบกับปีก่อน การใช้ก๊าซธรรมชาติ และลิกไนต์/ถ่านหินยังคงเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ในขณะที่การใช้น้ำมันเชื้อเพลิง และไฟฟ้าพลังน้ำยังคงลดลงเล็กน้อย การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์เพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 ส่วนการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับปีก่อน สัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศอยู่ในระดับร้อยละ 62.2
3.2 แนวโน้มสถานการณ์พลังงาน ปี 2543
จากแนวโน้มภาวะเศรษฐกิจ ที่เริ่มฟื้นตัวอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2542 และหากในปี 2543 เศรษฐกิจขยายตัวอยู่ในระดับร้อยละ 4.5 การใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศในปี 2543 คาดว่าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.8 การผลิตเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.3 การนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์สุทธิ จะเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.5 การนำเข้าที่เพิ่มสูงขึ้น ส่วนหนึ่งมาจากการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสหภาพพม่า ขณะที่การนำเข้าน้ำมันดิบลดลงร้อยละ 8.1 สัดส่วนการพึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ อยู่ในระดับร้อยละ 59.6 ซึ่งต่ำกว่าปีก่อน
การใช้ก๊าซธรรมชาติ ลิกไนต์/ถ่านหิน และไฟฟ้าพลังน้ำและไฟฟ้านำเข้า คาดว่าจะเพิ่มขึ้นในอัตราที่สูง ส่วนการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะยังคงลดลงร้อยละ 0.1 เนื่องจากการใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนน้ำมันเตา ในการผลิตไฟฟ้าของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) และในภาคอุตสาหกรรม นอกจากนี้ในปี 2543 ราคาน้ำมันดิบ มีราคาขึ้นสูงมากทำให้ราคาน้ำมันเตาสูงขึ้น กลุ่มโรงกลั่นน้ำมันที่มีโรงไฟฟ้าขนาดเล็กของตนเอง ซึ่งแต่เดิมใช้น้ำมันเตาที่ผลิตได้เป็นเชื้อเพลิง ได้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทน และนำน้ำมันเตาไปขาย หรือส่งออก
การผลิต การใช้และการนำเข้าพลังงานเชิงพาณิชย์ (1)
หน่วย : เทียบเท่าพันบาร์เรลน้ำมันดิบต่อวัน
การผลิต/การใช้/การนำเข้า25422543การเปลี่ยนแปลง (%)
25422543
การใช้ (2)1,125.01,178.73.34.8
การผลิต549.3600.64.89.3
การนำเข้า (สุทธิ)699.2702.59.00.5
การนำเข้า/การใช้ (%)62.259.6  
อัตราการขยายตัวของเศรษฐกิจ (%)4.24.5  
(1) พลังงานเชิงพาณิชย์ ประกอบด้วย น้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ คอนเดนเสท ผลิตภัณฑ์น้ำมันสำเร็จรูป ไฟฟ้าจากพลังน้ำและถ่านหิน/ลิกไนต์
(2) การใช้ไม่รวมการเปลี่ยนแปลงสต็อก และการใช้ที่ไม่เป็นพลังงาน (Non-Energy use) ได้แก่ การใช้ยางมะตอย NGL Condensate LPG และ Naptha เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี
3.3 สถานการณ์พลังงานแต่ละชนิดในปี 2542 และปี 2543
 ก๊าซธรรมชาติ ปริมาณการผลิตและการใช้ก๊าซธรรมชาติปี 2542 เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้ เนื่องจากก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง ที่ไม่ก่อให้เกิดปัญหาด้านมลภาวะ ทำให้ภาครัฐบาลสนับสนุน ให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติ ในการผลิตไฟฟ้าเพิ่มมากขึ้น โดย กฟผ. ได้เพิ่มการใช้ก๊าซธรรมชาติเพื่อทดแทนการใช้น้ำมันเตา การผลิตก๊าซธรรมชาติในปี 2542 อยู่ในระดับ 1,868 ล้านลูกบาศก์ฟุต/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 10.1 สำหรับในปี 2543 คาดว่าการใช้ก๊าซธรรมชาติจะเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 9.0 เนื่องจากมีการนำเข้าก๊าซธรรมชาติจากสหภาพพม่า มาใช้เพิ่มมากขึ้นในโรงไฟฟ้าราชบุรี ซึ่งจะเริ่มการผลิตไฟฟ้าได้ตั้งแต่กลางปี 2543 นอกจากนั้น การใช้ก๊าซธรรมชาติของภาคอุตสาหกรรม มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นมาก เนื่องจากในปีนี้ราคาน้ำมันเตาสูงมาก ทำให้อุตสาหกรรมที่สามารถใช้ก๊าซธรรมชาติทดแทนได้ หันมาใช้ก๊าซธรรมชาติเพิ่มขึ้น เช่น กลุ่มโรงกลั่นน้ำมัน ที่มีเครื่องกำเนิดไฟฟ้าขนาดเล็กของตนเอง โดยปกติจะใช้น้ำมันเตา และก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าได้เปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติแทน
 น้ำมันดิบ ปริมาณการผลิตในปี 2542 อยู่ในระดับ 34,006 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 15.6 แหล่งผลิตที่สำคัญ คือ แหล่งสิริกิติ์ผลิตได้ 23,384 บาร์เรล/วัน หรือร้อยละ 68.8 ของการผลิตทั้งหมด และแหล่งทานตะวันผลิตได้ 5,056 บาร์เรล/วัน หรือร้อยละ 14.9 ของการผลิตทั้งหมด สำหรับในปี 2543 คาดว่าจะมีการผลิตน้ำมันดิบในระดับ 53,117 บาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 56.2 แหล่งผลิตที่สำคัญยังคงเป็นแหล่งสิริกิติ์ของบริษัทไทยเชลล์ รองลงมาได้แก่ แหล่งเบญจมาศที่เริ่มผลิตกลางปี 2542 สามารถผลิตได้เต็มที่ในปีนี้ที่ระดับ 18,000 บาร์เรล/วัน และแหล่งทานตะวันที่ผลิตได้ในระดับ 9,000 บาร์เรล/วัน
 ลิกไนต์/ถ่านหิน ปริมาณการผลิตลิกไนต์ปี 2542 อยู่ในระดับ 18.3 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 8.7 จากปีที่แล้ว ในจำนวนนี้ประมาณร้อยละ 65.6 ผลิตจากเหมืองแม่เมาะของ กฟผ. การใช้ลิกไนต์/ถ่านหินในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ.และผู้ผลิตไฟฟ้ารายเล็ก (SPP) มีจำนวนทั้งสิ้น 15.4 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับปีก่อน เนื่องจากปัญหามลภาวะทำให้ กฟผ. ต้องลดการใช้ลิกไนต์ในการผลิตไฟฟ้า และจำเป็นต้องซื้อลิกไนต์คุณภาพดี มีปริมาณกำมะถันต่ำจากเหมืองเอกชน มาผสมกับลิกไนต์ที่ผลิตจากเหมืองแม่เมาะ มาใช้เพื่อลดผลกระทบ จากมลภาวะที่เกิดขึ้น
ในปี 2542 การใช้ลิกไนต์/ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรมมีจำนวน 6.8 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 8.5 เมื่อเทียบกับปีที่ผ่านมา การใช้ที่เพิ่มขึ้นนี้เป็นผลมาจากการใช้ในอุตสาหกรรมปูนซีเมนต์ ซึ่งปริมาณการผลิตปูนเม็ดในปีนี้เพิ่มขึ้นประมาณร้อยละ 28.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2541
สำหรับในปี 2543 คาดว่าปริมาณการผลิตลิกไนต์ จะใกล้เคียงกับปีที่แล้ว คือ ในระดับ 18.3 ล้านตัน การผลิตจากเหมืองแม่เมาะของ กฟผ. จะอยู่ในระดับ 13.4 ล้านตันซึ่งเพิ่มขึ้นจากปีก่อนร้อยละ 11.4 ส่วนการผลิตลิกไนต์ของภาคเอกชนคาดว่าจะลดลงมาก การใช้ลิกไนต์/ถ่านหินเพื่อผลิตไฟฟ้าในปีนี้ คาดว่าจะเพิ่มจากปีก่อนคืออยู่ในระดับ 16.3 ล้านตัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.6 เพราะว่าการติดตั้งหน่วยกำจัดก๊าซซัลเฟอร์ ไดออกไซด์แล้วเสร็จ จึงสามารถเดินเครื่องได้เต็มที่อีกครั้ง โดยเป็นการใช้ลิกไนต์ประมาณ 14.4 ล้านตัน ที่เหลือประมาณ 1.9 ล้านตันใช้ถ่านหินนำเข้าจากต่างประเทศ การใช้ลิกไนต์/ถ่านหินในภาคอุตสาหกรรม ในปี 2543 คาดว่าจะอยู่ในระดับ 6.7 ล้านตัน ลดลงร้อยละ 2.0 ในขณะเดียวกันการผลิตลิกไนต์ภายในประเทศ จากภาคเอกชนลดลง เนื่องจากลิกไนต์ภายในประเทศมีคุณภาพต่ำ และราคาถ่านหินนำเข้ามีแนวโน้มลดลง ดังนั้น จึงคาดว่าการนำเข้าถ่านหินเพื่อใช้ในอุตสาหกรรม จะอยู่ในระดับ 2.8 ล้านตัน
 น้ำมันสำเร็จรูป การใช้น้ำมันสำเร็จรูปในปี 2542 อยู่ในระดับ 630.4 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.1 จากปีก่อน โดยการใช้ได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่กลางปีเป็นต้นมา เมื่อเทียบกับการใช้ในปี 2541 ซึ่งได้ลดลงอย่างมากถึงร้อยละ 10.0 การผลิตน้ำมันสำเร็จรูปในปี 2542 ยังคงสูงกว่าความต้องการใช้ในประเทศ แม้ว่าคลังเก็บน้ำมันเชื้อเพลิง ของโรงกลั่นไทยออยล์ ได้รับความเสียหายจากสาเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งทำให้ไม่สามารถกลั่นน้ำมันได้ในช่วงเดือนธันวาคมก็ตาม ในปีนี้มีการส่งออกสุทธิจำนวน 76.1 พันบาร์เรล/วัน โดยมีการส่งออกสุทธิของน้ำมันทุกชนิด ยกเว้นน้ำมันเตาซึ่งยังมีการนำเข้าในระดับ 10.3 พันบาร์เรล/วัน
สำหรับในปี 2543 คาดว่าการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะอยู่ในระดับ 631.7 พันบาร์เรล/วัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.2 แต่ถ้าหากคิดเฉพาะน้ำมันเชื้อเพลิงที่ไม่รวมน้ำมันเตา ที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. แล้วจะพบว่า การใช้น้ำมันเชื้อเพลิงจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.7 โดยการใช้น้ำมันดีเซลจะเริ่มปรับตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.3 หลังจากลดลง อย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ปี 2541 - 2542 ส่วนการใช้น้ำมันเตาคาดว่าจะลดลงร้อยละ 8.7 ทั้งนี้ เนื่องมาจากการลดการใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. จากระดับ 64.8 พันบาร์เรล/วัน ในปี 2542 เหลือ 53.2 พันบาร์เรล/วัน ในปี 2543 ในขณะที่การผลิตน้ำมันเชื้อเพลิงทั้งหมด คาดว่าจะต่ำกว่าปีที่แล้วเล็กน้อย คือ อยู่ในระดับ 687.4 พันบาร์เรล/วัน แม้ว่าโรงกลั่นไทยออยล์ จะไม่สามารถผลิตได้ตั้งแต่ปลายปี 2542 จนถึงกลางเดือนมกราคม 2543 ก็ตาม โรงกลั่นอื่นๆ ที่เหลือสามารถเพิ่มการผลิตมาทดแทนโรงกลั่นไทยออยล์ได้จำนวนหนึ่งในช่วงที่ขาดไป โดยเฉพาะโรงกลั่นระยองและสตาร์ฯ จะสามารถผลิตได้เต็มกำลังการผลิต การผลิตน้ำมันในปี 2543 คาดว่าจะยังคงสูงกว่าความต้องการใช้ประมาณ 55.7 พันบาร์เรล/วัน โดยคาดว่าจะมีการส่งออกน้ำมันเบนซิน ดีเซล และก๊าซหุงต้มในระดับ 12.3, 7.2, และ 23.1 พันบาร์เรล/วัน ตามลำดับ
 ธุรกิจการกลั่น ปัจจุบันประเทศไทยมีโรงกลั่นน้ำมันจำนวน 6 โรง มีกำลังการกลั่นรวม 830 พันบาร์เรล/วัน แต่ปริมาณการผลิตจริงของปี 2542 อยู่ในระดับ 742 พันบาร์เรล/วัน หรือร้อยละ 89 ของกำลังการกลั่น ในขณะที่ความต้องการใช้น้ำมันในประเทศ (ไม่รวมการใช้เป็นวัตถุดิบในอุตสาหกรรมปิโตรเคมี) มีอยู่เพียง 630 พันบาร์เรล/วัน ที่เหลือจึงต้องส่งออก ราคาส่งออกมีแนวโน้มต่ำกว่าราคาในประเทศ เนื่องจากความต้องการ ยังไม่ฟื้นตัวและกำลังการกลั่นมีมากเกินความต้องการ ค่าการกลั่นจึงอยู่ในระดับต่ำ 0.30 - 0.60 บาท/ลิตร
จากอุบัติเหตุไฟไหม้คลังน้ำมัน ของโรงกลั่นไทยออยล์เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2542 มีผลให้ โรงกลั่นไทยออยล์ต้องหยุดผลิตในเดือนดังกล่าว และสามารถผลิตได้ในระดับปกติอีกครั้งในเดือนกุมภาพันธ์ 2543 อย่างไรก็ตามความสามารถในการกลั่นในช่วง 3 เดือนแรก จะยังคงอยู่ในระดับต่ำ ทำให้โรงกลั่นอื่นๆ พยายามเร่งการผลิตเพื่อชดเชยส่วนที่ขาดหายไปของโรงกลั่นไทยออยล์ โดยโรงกลั่นน้ำมันระยองและโรงกลั่นสตาร์ปิโตรเลียม รีไฟนิ่งสามารถกลั่นรวมกันได้ 300 พันบาร์เรล/วัน โรงกลั่นเอสโซ่ โรงกลั่นบางจาก และ TPI สามารถกลั่นได้ 145 , 100 และ 65 พันบาร์เรล/วัน ตามลำดับ
 ไฟฟ้า กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าของ กฟผ. และกำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าของผู้ผลิตไฟฟ้าอื่น เพื่อจำหน่ายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. ณ สิ้นเดือนธันวาคม 2542 มีจำนวนทั้งสิ้น 18,880 เมกะวัตต์ แยกเป็นกำลังการผลิตไฟฟ้าติดตั้งของ กฟผ. จำนวน 15,140 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 80.2 กำลังการผลิตติดตั้งไฟฟ้าของเอกชน จำนวน 3,400 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 18 และการรับซื้อกระแสไฟฟ้าจากต่างประเทศ จำนวน 340 เมกะวัตต์ คิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 1.8
ในปี 2542 ปริมาณการผลิตพลังงานไฟฟ้าของประเทศ มีจำนวนทั้งสิ้น 92,472 ล้านหน่วย (GWh) เพิ่มขึ้นจากปีก่อนในอัตราร้อยละ 1.4 โดยการผลิตพลังงานไฟฟ้าได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นทุกเดือน ในอัตราร้อยละ 4 - 5 ตั้งแต่กลางปี 2542 เป็นต้นมา ในขณะที่ความต้องการพลังไฟฟ้าสูงสุดอยู่ที่เดือนมีนาคม อยู่ในระดับ 13,712 เมกะวัตต์ ลดลงร้อยละ 3.3 จากความต้องการสูงสุดในปีที่แล้วที่อยู่ในระดับ 14,180 เมกะวัตต์
การใช้พลังงานไฟฟ้าของปีนี้อยู่ในระดับ 80,798 GWh เพิ่มขึ้นร้อยละ 1.1 จากปีก่อน การใช้เริ่มปรับตัวสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง ตั้งแต่เดือนมีนาคมเป็นต้นมา โดยเฉพาะการใช้ในช่วงครึ่งหลังของปี 2542 ได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 5.3 โดยการใช้ในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรมได้เริ่มปรับตัวสูงขึ้น
สำหรับในปี 2543 คาดว่าความต้องการพลังงานไฟฟ้าจะเพิ่มขึ้นร้อยละ 7 ซึ่งจะใกล้เคียงกับการพยากรณ์ความต้องการไฟฟ้า ชุดเศรษฐกิจฟื้นตัวปานกลาง กำลังการผลิตไฟฟ้าสำรองต่ำสุดในปี 2542 อยู่ในระดับร้อยละ 22.1 จากการคาดการณ์ตามแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. (PDP 99-02) คาดว่ากำลังผลิตไฟฟ้าสำรองต่ำสุดในปี 2543 จะอยู่ในระดับร้อยละ 19.1 เพราะว่าในช่วงที่ผ่านมาการก่อสร้างโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ไม่ได้เป็นไปตามแผนฯ ที่กำหนดไว้ โดยเฉพาะในปี 2542 ได้มีการชะลอโครงการโรงไฟฟ้าของ กฟผ. ไปแล้ว และคาดว่าจะชะลอออกไปอีกหลายโครงการ เช่น โรงไฟฟ้าลำตะคองเครื่องที่ 3 และ 4 เลื่อนจากปี 2546 ออกไปประมาณ 4 ปี โรงไฟฟ้าพลังความร้อนกระบี่เครื่องที่ 2 เลื่อนจากปี 2548 ออกไปอีกหนึ่งปี จากความต้องการไฟฟ้าที่มีแนวโน้มขยายตัว ตามภาวะเศรษฐกิจที่ฟื้นตัว และการชะลอโครงการต่างๆ ทั้งของ กฟผ. และเอกชน ปริมาณกำลังผลิตไฟฟ้าที่เคยคาดว่าจะอยู่ในระดับร้อยละ 40 - 50 ในช่วง 4 - 5 ปีข้างหน้านี้ จะอยู่ในระดับที่ไม่สูงอย่างที่คาดไว้

4. การดำเนินนโยบายและมาตรการในปี 2542 ถึงกลางปี 2543

ภาวะเศรษฐกิจไทยเริ่มฟื้นตัวตั้งแต่ไตรมาสที่สองของปี 2542 เป็นต้นมา โดยมีอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจในปี 2542 เฉลี่ยร้อยละ 4.2 การขยายตัวของภาวะเศรษฐกิจ ได้ส่งผลให้ความต้องการพลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศปรับตัวสูงขึ้น อย่างไรก็ตามในปี 2542 ราคาน้ำมันได้ปรับตัวสูงขึ้นตั้งแต่เดือนเมษายนเป็นต้นมา และต่อเนื่องมาจนถึงปี 2543 ส่งผลให้ราคาน้ำมันสำเร็จรูปในประเทศปรับตัวสูงขึ้น รัฐบาลจึงมีนโยบายให้มีการปรับเปลี่ยนการใช้น้ำมัน เป็นก๊าซธรรมชาติให้มากขึ้น และเร่งรัดการดำเนินการตามมาตรการอนุรักษ์พลังงาน ให้เป็นรูปธรรมมากขึ้น ซึ่งการดำเนินนโยบายและมาตรการทางด้านพลังงานในช่วงปี 2542 ถึงกลางปี 2543 มีความก้าวหน้าในหลายเรื่อง ดังนี้
4.1 ด้านการจัดหาพลังงาน
เนื่องจากปริมาณความต้องการพลังงานของประเทศ ได้ชะลอตัวลงมากตั้งแต่ปี 2540 ส่งผลให้แผนการจัดหาพลังงานของประเทศ ที่ได้กำหนดไว้เดิม มีส่วนเกินพลังงาน เหลืออยู่ในระบบเกินความจำเป็น ประกอบกับรัฐบาลได้ปรับลดกรอบการลงทุน ของทั้งภาครัฐและเอกชนลง เพื่อให้สอดคล้องกับสภาวะเศรษฐกิจของประเทศ จึงส่งผลให้การดำเนินนโยบาย และมาตรการด้านการจัดหาพลังงาน ต้องมีการปรับเปลี่ยน เพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ดังกล่าว โดยได้มีการดำเนินการที่สำคัญ ดังนี้
(1) ได้มีการเจรจาเลื่อนการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว) ตามกรอบบันทึกความเข้าใจในปริมาณ 3,000 เมกะวัตต์ จากเดิมที่กำหนดไว้ภายในปี 2549 ออกไปเป็น 2 ช่วง คือ รับซื้อไฟฟ้า จำนวน 1,600 เมกะวัตต์ ภายในปี 2549 และอีกจำนวน 1,700 เมกะวัตต์ ภายในปี 2551 เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจ รวมทั้ง ให้มีการติดตาม ทบทวนแผนการซื้อขายไฟฟ้าจากโครงการใน สปป.ลาว อย่างใกล้ชิด ปัจจุบันมีโครงการที่จำหน่ายกระแสไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. แล้ว 2 โครงการ คือ โครงการน้ำเทิน-หินบุน และโครงการห้วยเฮาะ ส่วนโครงการที่ได้ตกลงราคาซื้อขายไฟฟ้าแล้ว คือ โครงการน้ำเทิน 2 และคาดว่าจะมีการลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้ภายในปี 2543 นี้
(2) ได้มีการหารือในรายละเอียดการรับซื้อไฟฟ้าจากสาธารณรัฐประชาชนจีน จำนวน 3,000 เมกะวัตต์ ภายในปี 2560 และได้ข้อสรุปว่าโครงการโรงไฟฟ้าจิงหงขนาด 1,500 เมกะวัตต์ จะส่งมอบไฟฟ้าให้ไทยได้ในปี 2556 ส่วนโครงการอื่นๆ อีก 1,500 เมกะวัตต์ จะส่งมอบไฟฟ้าให้ไทยได้ในปี 2557 โดยทั้งสองฝ่ายได้รับทราบเงื่อนไขว่าภายในปี 2546 ประเทศไทยจะนำระบบการซื้อขายไฟฟ้าแบบ Power Pool มาใช้
(3) ได้มีการลงนามบันทึกความเข้าใจเรื่อง โครงการความร่วมมือด้านพลังงานไฟฟ้ากับรัฐบาลกัมพูชาเมื่อวันที่ 18 มกราคม 2543 โดยทั้งสองฝ่ายจะสนับสนุนให้มีการซื้อขายไฟฟ้าระหว่างทั้งสองประเทศ โดยฝ่ายไทยตกลงที่จะให้ความช่วยเหลือในด้านวิชาการ และการฝึกอบรมในสาขาไฟฟ้า ให้แก่หน่วยงานที่เกี่ยวข้องของรัฐบาลกัมพูชา และให้มีการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าแบบ Power Pool ขึ้นในแต่ละประเทศ ตลอดจนร่วมมือกันในการวางแผน และก่อสร้างระบบสายส่งเชื่อมโยงระหว่างทั้งสองประเทศ รวมทั้ง กำหนดนโยบายเปิดให้เข้าถึงเครือข่าย ของระบบสายส่งเพื่อการซื้อขายกับประเทศอื่นๆ ในอนาคต
(4) ได้มีการปรับปรุงแผนการลงทุนของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง ให้มีความเหมาะสม โดยในส่วนของ กฟผ. ได้มีการปรับแผนพัฒนากำลังผลิตไฟฟ้าของ กฟผ. พ.ศ. 2542-2554 โดยใช้ค่าพยากรณ์ความต้องการ ไฟฟ้าเมื่อเดือนกันยายน 2541 กรณีเศรษฐกิจฟื้นตัวปานกลางเป็นฐานในการจัดทำ เพื่อไม่ให้กำลังผลิตไฟฟ้าสำรองของประเทศสูงเกินความจำเป็น โดยการชะลอโครงการที่ได้รับอนุมัติ แต่ยังไม่ผูกพันการก่อสร้างออกไป และเจรจาผ่อนปรนกำหนดวันจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบ ของโครงการผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่และรายเล็ก รวมทั้งปรับลดเงินลงทุนจาก 420,900 ล้านบาท เหลือ 175,000 ล้านบาท ในส่วนของการไฟฟ้านครหลวง (กฟน.) ได้มีการปรับลดการลงทุนในแผนปรับปรุง และขยายระบบจำหน่ายพลังไฟฟ้า ฉบับที่ 8 ปีงบประมาณ 2539-2544 จากเดิม 57,099 ล้านบาท คงเหลือ 39,077 ล้านบาท และในส่วนของการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค (กฟภ.) ได้มีการปรับลดการลงทุนในแผนงาน และโครงการพัฒนาระบบไฟฟ้าในช่วงแผนพัฒนาฯ ฉบับที่ 8 เช่นกัน จากเดิมมีการลงทุน 80,070 ล้านบาท คงเหลือ 48,281 ล้านบาท เพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการใช้ไฟฟ้า ที่ลดลงตามภาวะเศรษฐกิจถดถอยของประเทศ
(5) ได้มีการกำหนดมาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟน. และ กฟภ. โดย กฟน. ได้ดำเนินการ จัดทำระเบียบเกี่ยวกับการจ่ายค่าปรับ ตามมาตรฐานคุณภาพบริการ พ.ศ. 2543 รวมทั้ง ดำเนินการออกประกาศ กฟน. เรื่อง มาตรฐานคุณภาพบริการของการไฟฟ้านครหลวง ในส่วนของ กฟภ. ได้จัดทำระเบียบการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค ว่าด้วยมาตรฐานคุณภาพบริการ พ.ศ. 2543 รวมทั้ง ออกประกาศ กฟภ. เรื่อง มาตรฐานการให้บริการที่ กฟภ. รับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้า ซึ่งมาตรฐานคุณภาพบริการของ กฟน. และ กฟภ. ดังกล่าวมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2543 เป็นต้นมา ประกอบด้วย
  • มาตรฐานทางด้านเทคนิค (Technical Standards) ประกอบด้วย มาตรฐานแรงดัน ไฟฟ้า มาตรฐานการจ่ายไฟฟ้า และมาตรฐานความเชื่อถือได้ของระบบไฟฟ้า
  • มาตรฐานการให้บริการ (Customer Service Standards) ประกอบด้วย มาตรฐานการให้บริการทั่วไป (Overall Standards) และมาตรฐานการให้บริการที่การไฟฟ้ารับประกันกับผู้ใช้ไฟฟ้า (Guaranteed Standards) ซึ่งในส่วนหลังนี้มีบทลงโทษ โดยคิดเป็นค่าปรับ ที่การไฟฟ้า จะต้องจ่ายให้ผู้ใช้ไฟ ในกรณีที่ไม่สามารถปฏิบัติตามมาตรฐานที่กำหนด โดยค่าปรับจะอยู่ระหว่าง 50 - 2,000 บาท
ทั้งนี้ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ (สพช.) ทำหน้าที่กำกับดูแลและติดตามการดำเนินงาน รวมทั้ง ประเมินผลการดำเนินงานให้เป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนด
4.2 ด้านการส่งเสริมการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัด
ในปี 2542 ความต้องการใช้ไฟฟ้าของประเทศเริ่มปรับตัวสูงขึ้น อันเนื่องมาจากการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ อย่างไรก็ตาม ในปี 2542 เป็นปีที่ประเทศไทยได้รับผลกระทบจากราคาน้ำมันดิบและราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว (LPG) ในตลาดโลกที่ปรับตัวสูงขึ้นมาก ซึ่งเป็นผลมาจากการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของกลุ่มโอเปคและประเทศนอกกลุ่มโอเปค รวมทั้ง การอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท ดังนั้นเพื่อให้สอดคล้องกับสถานการณ์ที่ประเทศเผชิญอยู่ รัฐบาลจึงได้กำหนดมาตรการต่างๆ เพื่อบรรเทาผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น ในขณะเดียวกันก็กำหนดมาตรการที่มุ่งเน้นให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและประหยัดควบคู่กันไป โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการดำเนินมาตรการดังนี้
(1) ได้มีการกำหนดค่าตัวประกอบกำลังไฟฟ้าที่เหมาะสมของระบบไฟฟ้าไทย (Power Factor : P.F.) ให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของระบบไฟฟ้า โดยค่า P.F. ที่เหมาะสมระหว่างการไฟฟ้าฝ่ายผลิต และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายในปี 2544 มีค่าระหว่าง 0.875 - 0.925 และในปี 2548 มีค่าระหว่าง 0.900 - 0.950 โดยให้มีการกำหนดบทปรับเมื่อมีค่า P.F. ต่ำกว่าที่กำหนด 5 บาท/kVar/เดือน
(2) สพช. ได้จ้างบริษัทที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ เพื่อให้สอดคล้องกับภาวะวิกฤตเศรษฐกิจ ความต้องการใช้ไฟฟ้าที่ลดลง และลักษณะการใช้ไฟฟ้าที่เปลี่ยนแปลงไป รวมทั้ง ปรับปรุงสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติให้สะท้อนถึงต้นทุนที่แท้จริง ซึ่งขณะนี้การจัดทำร่างรายงานการศึกษาฉบับสมบูรณ์ได้แล้วเสร็จ และคาดว่าจะมีการประกาศใช้โครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ประมาณปลายปี 2543
(3) ได้มีการปรับค่าไฟฟ้าตามสูตรการปรับค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ (Automatic Adjustment Mechanism : Ft) อันเป็นผลจากการเปลี่ยนแปลงระบบอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของประเทศเป็นอัตราแลกเปลี่ยนลอยตัวเมื่อวันที่ 2 กรกฎาคม 2540 และการเปลี่ยนแปลงของค่าใช้จ่ายอื่นๆ ที่อยู่นอกเหนือการควบคุมของการไฟฟ้า โดยคณะอนุกรรมการกำกับสูตรการปรับอัตราค่าไฟฟ้าโดยอัตโนมัติ ได้มีการพิจารณาปรับค่า Ft สำหรับค่าไฟฟ้าที่เรียกเก็บเป็นระยะ เพื่อให้สอดคล้องกับอัตราแลกเปลี่ยนและราคาเชื้อเพลิงที่เป็นจริง โดยครั้งล่าสุดได้มีการปรับค่า Ftสำหรับการเรียกเก็บในช่วงเดือนสิงหาคม - ตุลาคม 2543 เท่ากับ 64.52 สตางค์/หน่วย หรือเพิ่มขึ้นจากเดิม 3 สตางค์/หน่วย อันเป็นผลมาจากราคาน้ำมันเตา น้ำมันดีเซล และก๊าซธรรมชาติปรับตัวสูงขึ้น การปรับค่า Ft ดังกล่าวจะทำให้ผู้ใช้ไฟประเภทบ้านอยู่อาศัยขนาดเล็ก จำนวนร้อยละ 65 (8.6 ล้านราย) ซึ่งมีปริมาณการใช้ไฟเฉลี่ย 65 หน่วย/เดือน ต้องจ่ายค่าไฟเพิ่มขึ้นประมาณ 1.95 บาท/เดือน
สรุปการปรับค่า Ft (ไม่รวม VAT) ในช่วงที่ผ่านมา
ปี สตางค์/หน่วย
2540เฉลี่ย27.93
2541มกราคม - มีนาคม42.40
 เมษายน - กรกฎาคม50.45
 สิงหาคม - พฤศจิกายน55.77
 ธันวาคม 2541 - มีนาคม 254250.71
2542เมษายน - กรกฎาคม32.61
 สิงหาคม - พฤศจิกายน37.92
 ธันวาคม 2542 - มีนาคม 254356.32
2543เมษายน - กรกฎาคม61.52
 สิงหาคม - ตุลาคม64.52
(4) คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้มีมติเห็นชอบการปรับโครงสร้างราคาขายส่ง ไฟฟ้า โดยพิจารณาจากฐานะการเงินของการไฟฟ้าทั้ง 3 แห่ง และให้มีการปรับส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้าระหว่าง กฟผ. และการไฟฟ้าฝ่ายจำหน่ายให้มีผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 ไปจนกว่าจะมีการปรับโครงสร้างอัตราค่าไฟฟ้าใหม่ ดังนี้
ส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้า (ไม่รวมภาษีมูลค่าเพิ่ม)
หน่วย : บาท/หน่วย
 ม.ค. - มิ.ย. 2540ก.ค. 2540 - ปัจจุบัน
กฟผ. ขาย กฟน.0.25070.2577
กฟผ. ขาย กฟภ.(0.1461)(0.1005)
ทั้งนี้ กฟผ. ได้ดำเนินการปรับส่วนเพิ่ม (ส่วนลด) ราคาขายส่งไฟฟ้าตั้งแต่ใบแจ้งหนี้ค่าไฟฟ้าประจำเดือนมีนาคม 2543 และ กฟภ. ได้ปรับราคาขายส่งย้อนหลังตั้งแต่เดือนตุลาคม 2541 - กุมภาพันธ์ 2543 โดยได้ดำเนินการจ่ายเงินคืนให้แก่ กฟน. เป็นเงินจำนวน 1,304.14 ล้านบาท
(5) กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) ได้จัดทำมาตรการป้องกันการนำเอาเครื่องปรับอากาศเก่า ที่ถูกถอดออกกลับมาใช้อีก โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้มอบหมายให้ พพ. เร่งดำเนินการศึกษาวิธีการทำลายเครื่องปรับอากาศเก่า โดยไม่ให้เกิดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมให้แล้วเสร็จ ภายในเดือนกันยายน 2543 และห้ามหน่วยงานราชการและรัฐวิสาหกิจ ที่เข้าร่วมโครงการอาคารของรัฐ ที่ได้ดำเนินการอนุรักษ์พลังงานแล้ว นำเครื่องปรับอากาศเก่า ที่ถูกถอดออกแล้วกลับมาใช้อีก แต่ให้เก็บไว้เพื่อรอการทำลาย หรือจัดการตามแนวทาง ที่ได้รับจากผลการศึกษาของ พพ. และห้ามโอนเครื่องปรับอากาศเก่า ที่ถูกถอดออกไปให้ส่วนราชการอื่นที่ยังขาดแคลน รวมทั้ง ให้สำนักงบประมาณอนุมัติงบประมาณค่าใช้จ่าย ในการบำรุงรักษาเครื่องปรับอากาศที่แต่ละหน่วยงานของรัฐเสนอมา
(6) สพช. ได้มีการพิจารณาปรับอัตราเงินกองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ในช่วงเวลาที่เหมาะสมเพื่อให้กองทุนน้ำมันฯ มีฐานะอยู่ในระดับที่เพียงพอ สำหรับการตรึงราคาขายปลีกก๊าซหุงต้ม เนื่องจากกองทุนฯ มีภาระต้องจ่ายเงินชดเชยราคาก๊าซหุงต้มในระดับ 1,026 ล้านบาท/เดือน โดยกองทุนฯ มีรายรับจากน้ำมันชนิดอื่นประมาณ 583 ล้านบาท/เดือน และมีเงินไหลออกจากกองทุนฯ สุทธิ 443 ล้านบาท/เดือน จึงทำให้ฐานะกองทุนฯ ลดลงมาอยู่ในระดับ 1,860 ล้านบาท ดังนั้น สพช. จึงได้ดำเนินการปรับเพิ่ม/ลดอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันเบนซินและดีเซล ในช่วงเวลาที่เหมาะสมในช่วงที่ผ่านมา ดังนี้
  • น้ำมันเบนซิน ได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ จากเดิม 0.15 บาท/ลิตร เพิ่มเป็น 0.25 บาท/ลิตร ตั้งแต่วันที่ 12 เมษายน 2543 และต่อมาได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันเบนซินออกเทน 95 จาก 0.25 บาท/ลิตร เพิ่มเป็น 0.45 บาท/ลิตร ส่วนน้ำมันเบนซินออกเทน 91 และ 87 เป็นอัตราเดิม 0.25 บาท/ลิตร โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา
  • น้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนช้า ได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ จากเดิม 0.00 บาท/ลิตร เพิ่มเป็น 0.15 บาท/ลิตร โดยมีผลในช่วงวันที่ 24 - 27 เมษายน 2543 และต่อมาได้มีการปรับเพิ่มอัตราเงินส่งเข้ากองทุนฯ ของน้ำมันดีเซลหมุนเร็วและดีเซลหมุนช้าจาก 0.15 บาท/ลิตร เป็น 0.25 บาท/ลิตร โดยเริ่มมีผลตั้งแต่วันที่ 28 เมษายน 2543 เป็นต้นมา แต่เนื่องจากราคาน้ำมันที่ยังคงปรับตัวเพิ่มสูงขึ้น และเพื่อเป็นการบรรเทาผลกระทบต่อประชาชนทั่วไป คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติจึงได้มีมติให้ปรับลดอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ จาก 0.25 บาท/ลิตร เหลือ 0 บาท/ลิตร เป็นการชั่วคราว โดยให้มีผลตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน 2543 เป็นต้นไป
(7) คณะกรรมการพิจารณานโยบายพลังงานได้มอบหมายให้ สพช. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกายกร่างคำสั่งนายกรัฐมนตรี ที่ 1/2540 เพื่อแก้ไขเพิ่มเติม ในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินคดีตามกฎหมาย ว่าด้วยการแก้ไขและป้องกันการขาดแคลนน้ำมันเชื้อเพลิง เมื่อผู้มีหน้าที่ส่งเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง ไม่ส่งเงินเข้ากองทุนฯ หรือส่งไม่ครบถ้วน หรือไม่ส่งภายในระยะเวลาที่กำหนด เนื่องจากบทลงโทษรุนแรงเกินไป โดยออกเป็นคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 2/2543 และได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2543 ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 28 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา
(8) สพช. และ พพ. ได้มีการดำเนินการอนุรักษ์พลังงาน ตามพระราชบัญญัติการส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน พ.ศ. 2535 ภายใต้แผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2538 - 2542 และได้ทำการประเมินศักยภาพการอนุรักษ์พลังงาน ในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งประกอบด้วย การดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานในอาคารของรัฐ จำนวน 413 อาคาร และการสนับสนุนการใช้พลังงานหมุนเวียน และการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ ภายใต้แผนงานภาคความร่วมมือ จำนวน 91 โครงการ การดำเนินการดังกล่าวคาดว่า จะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน และสามารถทดแทนพลังงานสิ้นเปลืองได้ คิดเป็นเงินประมาณ 525 ล้านบาท/ปี และสามารถชะลอการลงทุน ในการสร้างโรงไฟฟ้าได้คิดเป็นมูลค่า 2,115 ล้านบาท และเนื่องจากแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 1 ได้สิ้นสุดลงในวันที่ 30 กันยายน 2542 สพช. จึงได้จัดทำแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 ปีงบประมาณ 2543 - 2547 เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานอนุรักษ์พลังงานให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โดยให้ความสำคัญกับนโยบายต่อไปนี้มากขึ้น เช่น การสนับสนุนการใช้เซลล์แสงอาทิตย์ การอนุรักษ์พลังงานในสาขาขนส่ง การกำหนดราคารับซื้อไฟฟ้าที่ผลิตจากพลังงานหมุนเวียน และการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพขั้นต่ำของอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น ซึ่งแผนอนุรักษ์พลังงาน ระยะที่ 2 นี้คาดว่าจะก่อให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน โดยสามารถทดแทนพลังงานไฟฟ้าและเชื้อเพลิงได้ คิดเป็นเงินประมาณ 12,870 ล้านบาท/ปี และสามารถลดความต้องการไฟฟ้าได้ คิดเป็นเงินประมาณ 38,085 ล้านบาท
(9) การดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำมันราคาสูง โดยคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้กำหนดมาตรการเพื่อบรรเทาผลกระทบ จากราคาน้ำมันสำเร็จรูปที่เพิ่มสูงขึ้น เพื่อบรรเทาผลกระทบต่อสาขาการผลิตต่างๆ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ได้มีการดำเนินการตามมาตรการต่างๆ ดังนี้
 มาตรการอนุรักษ์พลังงานโดยใช้กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงานให้การสนับสนุน ได้มีการดำเนินการดังนี้
  • กรมพัฒนาและส่งเสริมพลังงาน (พพ.) ได้ดำเนินการปรับปรุงการใช้พลังงานในอาคารของรัฐแล้วเสร็จ 413 อาคาร ในส่วนของโรงงานควบคุม และอาคารควบคุมส่วนใหญ่ อยู่ระหว่างการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงาน เพื่อดำเนินการปรับปรุงต่อไป โดยในปีงบประมาณ 2543 ได้ดำเนินการตรวจวิเคราะห์การใช้พลังงาน ในอาคารควบคุมไปแล้ว 148 แห่ง และโรงงานควบคุม 256 แห่ง
  • กระทรวงอุตสาหกรรมได้จัดทำโครงการอนุรักษ์พลังงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม โดยอยู่ระหว่างการพิจารณากลั่นกรอง ของคณะผู้เชี่ยวชาญกลั่นกรองโครงการ ได้แก่ โครงการลดต้นทุนอุตสาหกรรมขนาดกลาง - ขนาดย่อม และสนับสนุนฐานการผลิตเทคโนโลยีประหยัดพลังงาน, โครงการปรึกษาแนะนำและสร้างผู้เชี่ยวชาญการบริหารการจัดการพลังงาน แก่โรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม, โครงการกระตุ้นให้เกิดการอนุรักษ์พลังงาน ในโรงงานอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม, โครงการติดตั้งหม้อไอน้ำสำหรับเตาเผาอุตสาหกรรม, และโครงการสนับสนุนการติดตั้งอุปกรณ์ เพื่อนำพลังงานที่เหลือทิ้งมาใช้ประโยชน์ในโรงงานอุตสาหกรรม
  • สพช. ได้ดำเนินการศึกษาการกำหนดมาตรฐานประสิทธิภาพ การใช้พลังงานขั้นต่ำในอุปกรณ์ 6 ประเภทแล้วเสร็จ ได้แก่ ตู้เย็น เครื่องปรับอากาศ มอเตอร์ หลอดคอมแพคฟลูออเรสเซนต์ หลอดฟลูออเรสเซนต์ และบัลลาสต์ ซึ่งต่อมาคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ได้เห็นชอบให้สำนักงานมาตรฐานอุตสาหกรรม รับไปดำเนินการให้อุปกรณ์ดังกล่าว เป็นอุปกรณ์ควบคุมมาตรฐานประสิทธิภาพ การใช้พลังงานไฟฟ้าขั้นต่ำต่อไป โดยกำหนดให้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ปี 2547 และเพิ่มความเข้มข้นของมาตรฐานทุก 3 ปี โดยคาดว่า ผลการดำเนินการในช่วงปี 2547 - 2554 จะสามารถประหยัดพลังงานไฟฟ้าได้ 3,213 ล้านหน่วย และประหยัดเชื้อเพลิง ได้ประมาณ 2,900 ล้านบาท
  • ปตท. ได้ดำเนินโครงการปรับแต่งเครื่องยนต์เพื่อประหยัดพลังงาน (Tune-up) ระยะที่ 1 โดยจัดตั้งศูนย์บริการตามสถานที่ราชการ เพื่อให้บริการแก่รถราชการ และที่กรมการขนส่งทางบก เพื่อให้บริการแก่ประชาชนทั่วไป ตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคม 2543 คาดว่าจะให้บริการรถยนต์ได้ประมาณ 17,000 คัน ภายใน 6 เดือน และจะมีโครงการระยะที่ 2 ขยายบริการไปยังต่างจังหวัด โดยคาดว่าจะให้บริการรถยนต์ได้ประมาณ 49,000 คัน ในระยะเวลา 3 ปี ซึ่งหลังจากการปรับแต่งเครื่องยนต์แล้ว คาดว่าจะสามารถลดปริมาณการใช้น้ำมันลงได้ร้อยละ 5 - 10 ต่อคัน
  • สพช. ได้ดำเนินโครงการทางเดียวกันไปด้วยกัน (Car pool) เพื่อรณรงค์ให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนตัว โดยจะจัดให้มีกิจกรรม Car Free Day ในวันที่ 22 กันยายน 2543 ซึ่งจะช่วยลดการใช้น้ำมันลง
  • สพช. ได้ดำเนินโครงการรณรงค์วิธีประหยัดน้ำมัน โดยจัดทำแผ่นพับเสนอวิธีประหยัดน้ำมัน จำนวน 300,000 ชุด เพื่อให้ความรู้เกี่ยวกับวิธีการประหยัดน้ำมันแบบง่ายๆ ด้วยตนเองสำหรับผู้ใช้รถทุกประเภท โดยจะแจกจ่ายประมาณปลายเดือนสิงหาคม 2543 รวมทั้ง เผยแพร่ผ่านทาง Website ของ สพช.
 มาตรการปรับเปลี่ยนการใช้พลังงานในภาคการผลิตไฟฟ้า อุตสาหกรรม และภาคขนส่ง ได้มีการดำเนินการดังนี้
  • การเร่งดำเนินการก่อสร้างโรงไฟฟ้าราชบุรีให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และการปรับเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติในโรงไฟฟ้าของ กฟผ. เพิ่มขึ้น จากเดิมมีการใช้ก๊าซธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง 1,137 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในปลายปี 2542 เพิ่มขึ้นเป็น 1,350 ล้านลูกบาศก์ฟุตต่อวัน ในเดือนพฤษภาคม 2543
  • การส่งเสริมให้มีการใช้ก๊าซธรรมชาติในภาคอุตสาหกรรมเพิ่มขึ้น โดย ปตท. ได้จัดจ้างที่ปรึกษาดำเนินการศึกษาความเป็นไปได้ ของโครงการระบบท่อก๊าซธรรมชาติรอบกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้ง จัดทำการออกแบบเบื้องต้นทางด้านวิศวกรรม และการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมเบื้องต้น แล้วเสร็จเมื่อเดือนมิถุนายน 2543 และจะเสนอขออนุมัติดำเนินโครงการ ต่อสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ภายในเดือนตุลาคม 2543 นอกจากนี้ ปตท. ได้มีการทบทวนแผนแม่บทการลงทุนขยายโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติของ ปตท. และได้บรรจุไว้ในแผนวิสาหกิจ ปตท. ปี 2544 - 2548 ขณะนี้อยู่ระหว่างการพิจารณาของ สศช. เพื่ออนุมัติงบลงทุนต่อไป
  • ปตท. ได้จัดทำโครงการก่อนการขยายตลาดของยานยนต์ใช้ก๊าซธรรมชาติ โดยได้ดำเนินการดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วม (Dual - fuel System) รวม 16 คัน และดัดแปลงเครื่องยนต์เบนซินเป็นระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (Bi - fuel System) รวม 12 คัน แล้วเสร็จเมื่อเดือนมีนาคม 2543 โดยขณะนี้อยู่ระหว่างการประเมินผลโครงการ คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายเดือนสิงหาคม 2543
  • ปตท. ได้จัดทำโครงการทดสอบ เพื่อติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซธรรมชาติ แบบให้เปล่า ให้กับรถแท๊กซี่อาสาสมัคร จำนวน 100 คัน ในปลายปี 2543 และในระยะต่อไปจะขยายการติดตั้งอุปกรณ์ใช้ก๊าซธรรมชาติ ให้รถแท๊กซี่อีกจำนวน 1,000 คันเป็นโครงการนำร่อง โดยคาดว่าจะทดแทนการใช้น้ำมันเบนซินได้ประมาณ 50,000 ลิตรต่อวัน หรือเทียบเท่าก๊าซธรรมชาติ 36,000 กิโลกรัมต่อวัน
  • ปตท. จะสร้างสถานีบริการก๊าซธรรมชาติ 6 สถานี ภายในปี 2543/2544 เพื่อให้บริการแก่กลุ่มรถแท๊กซี่ ที่จะเปลี่ยนมาใช้ก๊าซธรรมชาติ
 มาตรการช่วยเหลือผู้ประกอบการรายสาขา ได้มีการดำเนินการดังนี้
  • ปตท. ได้ลดราคาเบนซินและดีเซลให้แก่เกษตรกรที่เป็นสมาชิกธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร โดยจากเดิมลดลง 0.15 บาทต่อลิตร เป็น 0.25 บาทต่อลิตร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 30 กันยายน 2543 โดยจำหน่ายน้ำมันผ่านเครือข่ายสถานีบริการน้ำมัน ปตท. ครอบคลุม 64 จังหวัด และจะขยายการดำเนินงานให้ครอบคลุมสถานีบริการน้ำมันทั่วทุกจังหวัดต่อไป
  • ปตท. ได้ขยายระยะเวลาขายน้ำมันราคาถูกให้กลุ่มประมงผ่านจุดจ่าย 100 แห่ง จนถึงสิ้นปี 2543 โดยให้ส่วนลด 0.60 บาทต่อลิตร นอกจากนี้ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 8 สิงหาคม 2543 เห็นชอบตามมติคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) อนุมัติให้ใช้เงินจากกองทุนรวมช่วยเหลือเกษตรกรในวงเงิน 321 ล้านบาท เพื่อชดเชยการขาดทุนให้แก่ชาวประมงที่ร่วมโครงการเป็นระยะเวลา 4 เดือน โดยการจ่ายชดเชยราคาน้ำมันให้ไม่เกินลิตรละ 3 บาท
  • ปตท. ได้จำหน่ายน้ำมันราคาถูก ให้แก่ผู้ประกอบอุตสาหกรรมขนาดกลางและขนาดย่อม ที่จดทะเบียน ขอรับส่วนลดจากกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม รวมทั้งหมด 305 ราย จนถึงสิ้นปี 2543 โดยให้ส่วนลดเพิ่มเติมจากส่วนลดการค้าปกติสำหรับน้ำมันดีเซลและน้ำมันเตา 0.15 และ 0.07 บาท/ลิตร ตามลำดับ โดย ณ วันที่ 31 กรกฎาคม 2543 มีผู้ประกอบการได้รับการลดราคาน้ำมันแล้ว 21 ราย เป็นความต้องการใช้น้ำมันดีเซล 61,500 ลิตรต่อเดือน และน้ำมันเตา 1,367,000 ลิตรต่อเดือน
  • ให้กระทรวงคมนาคม ชดเชยราคาน้ำมันให้กับผู้ประกอบการขนส่ง ที่ไม่ประจำทาง ด้วยรถที่ใช้ขนส่งสัตว์ หรือสิ่งของ ที่จดทะเบียนกับกรมการขนส่งทางบก (ป้ายเหลือง) จำนวน 72,609 คัน โดยชดเชยให้ประมาณ 1.20 บาท/ลิตร คันละ 40 ลิตร/วัน เป็นระยะเวลาประมาณ 3 เดือน โดยให้กระทรวงการคลัง จัดหาเงินงบประมาณที่ต้องชดเชยให้ในวงเงินประมาณ 313.7 ล้านบาท
 มาตรการอื่นๆ ได้มีการดำเนินการดังนี้
  • สพช. ได้ดำเนินโครงการส่งเสริมการใช้น้ำมันเบนซิน ให้เหมาะสมกับเครื่องยนต์ โดยใช้มาตรการจูงใจให้ประชาชน เปลี่ยนมาใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 91 มากขึ้น โดยปรับอัตราการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับเบนซินออกเทน 95 เพิ่มขึ้น 0.20 บาท/ลิตร และลดค่าการตลาดของเบนซินออกเทน 91 ลง 0.20 บาท/ลิตร โดยมีผลตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2543 เป็นต้นมา นอกจากนี้ ได้มีการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อต่างๆ โดยในช่วงที่ผ่านมาพบว่าสัดส่วนการใช้น้ำมันเบนซินออกเทน 91 ได้เพิ่มขึ้นตามลำดับ จากร้อยละ 33 ในปี 2542 เป็นร้อยละ 37 , 38 , 45 , 47 และ 51 ในเดือนมกราคม , กุมภาพันธ์ , เมษายน , พฤษภาคม และมิถุนายน 2543 ตามลำดับ
  • ได้มีการตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว โดยใช้กองทุนน้ำมันเชื้อเพลิง เพื่อจ่ายชดเชยราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลวจนถึงสิ้นปี 2543
  • ปตท. ได้มีการเจรจาให้โรงกลั่นปรับลดราคา ณ โรงกลั่น 1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล เป็นการชั่วคราว ตั้งแต่วันที่ 17 มีนาคม 2543 และเมื่อวันที่ 16 สิงหาคม 2543 ปตท. ได้มีการเจรจากับโรงกลั่นไทยออยล์ เพื่อขอให้ปรับลดราคา ณ โรงกลั่นลง 1 เหรียญสหรัฐต่อบาร์เรล
  • ในช่วงที่ภาวะตลาดน้ำมันผิดปกติให้ ปตท. และโรงกลั่นไทยออยล์ ใช้หลักการบริหารค่าการกลั่นและค่าการตลาด โดยนำส่วนลดค่าการกลั่นมาช่วยตรึง หรือลดราคาขายปลีกน้ำมันมิให้สูงขึ้น เพื่อบริหารความผันผวนของตลาดเป็นการชั่วคราว จนกว่าตลาดน้ำมันเข้าสู่ภาวะปกติ
4.3 ด้านการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงาน
รัฐได้มีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้ภาคเอกชน เข้ามามีบทบาทในกิจการพลังงานมากขึ้น เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงาน และช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐ รวมทั้ง ยังช่วยให้ผู้บริโภคได้รับคุณภาพบริการที่ดีขึ้น โดยในช่วงที่ผ่านมามีความก้าวหน้าในการดำเนินการ ดังนี้
(1) การดำเนินการตามขั้นตอนการยกเลิก การควบคุมราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัย ได้มีการดำเนินการปรับราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว ให้เปลี่ยนแปลง ตามกลไกราคาในตลาดโลกเป็นระยะๆ เพื่อให้ตลาดในประเทศมีการปรับตัว นอกจากนี้ได้มีการปรับปรุงขั้นตอนการส่งเสริมการแข่งขัน โดยการแก้ไขกฎระเบียบ เพื่อให้ผู้ค้าก๊าซรายใหม่เข้าสู่ตลาดมากขึ้น และมีจุดจำหน่ายปลีกเพิ่มขึ้น รวมทั้ง มีการแก้ไขความไม่เป็นธรรมในระบบการค้า การออกกฎระเบียบเพื่อคุ้มครองผู้บริโภค การออกคำสั่งเพื่อปรับปรุงมาตรฐานความปลอดภัย และการปรับปรุงระบบความปลอดภัย โดยกำหนดให้การบรรจุก๊าซใส่ถังก๊าซหุงต้ม จะต้องมีการปิดผนึกลิ้นหรือวาล์วของถังก๊าซ พร้อมแสดงเครื่องหมายประจำตัว ของผู้บรรจุถังก๊าซไว้ที่ฝาปิดผนึกลิ้นด้วย เพื่อเป็นหลักประกันให้ประชาชนได้รับก๊าซอย่างครบถ้วน และเพื่อให้สามารถเอาผิดแก่ผู้บรรจุก๊าซได้ หากมีการบรรจุไม่ครบถ้วน รวมทั้ง การห้ามบรรจุก๊าซหุงต้มลงถังขาวอย่างเด็ดขาด โดยได้ผ่อนผันระยะเวลาให้ผู้ประกอบการโรงบรรจุก๊าซปิโตรเลียมเหลว สามารถบรรจุก๊าซฯ ลงถังขาวจากวันที่ 1 มีนาคม 2543 ออกไปอีก 1 ปี
(2) สพช. ทำหน้าที่เป็นศูนย์รวมในการประสานงานปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง ทั้งทางบกและทางทะเล ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การดำเนินการปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงมีเอกภาพและประสิทธิภาพ โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีความคืบหน้าในการดำเนินการ ดังนี้
 ได้มีการจัดรูปองค์กรการประสานงานปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยให้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการประสานงานการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม (คปปป.) และให้มีศูนย์ประสานงานการป้องกัน และปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับปิโตรเลียม (ศปปป.) ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการของ คปปป. เพื่อให้การป้องกันและปราบปราม การกระทำความผิดเกี่ยวกับน้ำมันเชื้อเพลิง เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ
 ศปนม. ได้จัดทำแผนป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงทางทะเล และได้จัดชุดปฏิบัติการทางทะเล รวมทั้งได้จัดชุดปฏิบัติการทางบก เพื่อดำเนินการป้องกันและปราบปรามการลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิง โดยในช่วงที่ผ่านมา (20 พ.ย. 42 - 31 ก.ค. 43) สามารถจับกุมผู้กระทำผิดคดี ลักลอบนำเข้าน้ำมันเชื้อเพลิงได้จำนวนทั้งสิ้น 127 ราย มีผู้ต้องหาจำนวน 158 คน มีปริมาณน้ำมันที่จับกุมได้ ทั้งสิ้น จำนวน 1,232,534 ลิตร เป็นน้ำมันเบนซิน น้ำมันดีเซล สารโซลเว้นท์ และน้ำมันเตา 211,709 ; 785,956 ; 95,000 และ 139,869 ลิตร ตามลำดับ
 กรมศุลกากรได้ดำเนินการออกคำสั่งกรมศุลกากร ที่ 44/2542 เพื่อรองรับกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนน ระหว่างไทยและลาว เป็นผลให้สินค้าผ่านแดนทุกชนิด รวมถึงน้ำมันผ่านแดนของลาว ที่ตกค้างอยู่ในไทยครบ 90 วัน นับแต่วันนำเข้าเป็นของตกค้าง เพื่อให้ฝ่ายไทยสามารถดำเนินการกับสินค้า ดังกล่าวได้ และในช่วงที่ผ่านมา (20 พ.ย. 42 - 31 ก.ค. 43) กรมศุลกากรสามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ จำนวน 37 ราย ผู้ต้องหา 23 คน ปริมาณน้ำมันดีเซลที่จับกุมได้ จำนวนทั้งสิ้น 396,344 ลิตร
 กรมสรรพสามิตอยู่ระหว่างดำเนินการโครงการติดตั้งมิเตอร์เพิ่มเติมพร้อมเชื่อมโยง เครือข่ายระบบข้อมูล โครงการเติมสาร Marker ในน้ำมันดีเซลหมุนเร็ว และโครงการควบคุมการใช้สารละลายประเภทไฮโดรคาร์บอน (Solvent) มิให้นำไปปลอมปนในน้ำมันเชื้อเพลิง รวมทั้ง ได้มีการจัดการฝึกอบรมให้แก่เจ้าหน้าที่ตำรวจและเจ้าหน้าที่สรรพสามิตที่เกี่ยวข้อง และจัดชุดปฏิบัติการตรวจของจังหวัด โดยในช่วงที่ผ่านมา (20 พ.ย. 42 - 31 ก.ค. 43) สามารถจับกุมผู้กระทำผิดได้ 32 คดี มีปริมาณสารละลายที่จับกุมได้จำนวน 547,100 ลิตร นอกจากนี้ ได้มีการเพิกถอนใบอนุญาตของผู้ประกอบการที่มิได้ดำเนินการตามวัตถุประสงค์ที่แจ้งไว้ รวมทั้งดำเนินมาตรการด้านคดี รวม 81 ราย และได้มีการปรับปรุงแก้ประกาศราคาที่ใช้เป็นฐานในการเก็บภาษีโซลเว้นท์จาก 7.50 บาท/ลิตร เป็น 12 บาท/ลิตร เพื่อลดแรงจูงใจในการปลอมปนน้ำมัน ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 28 ธันวาคม 2542
 กรมทะเบียนการค้าได้ส่งหน่วยตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเคลื่อนที่ ตามแผนปฏิบัติการประจำปี ตรวจสอบใน 12 จังหวัด จำนวน 668 ราย พบผิด 26 ราย หรือคิดเป็นร้อยละ 3.9 และจากจำนวน ตัวอย่าง 1,834 ตัวอย่าง พบผิด 35 ตัวอย่าง หรือคิดเป็นร้อยละ 1.9 นอกจากนี้ ได้ออกตรวจสอบคุณภาพน้ำมันภายใต้โครงการธงเขียว ร่วมกับ ศปนม. รวมทั้ง ได้ทำการตรวจสอบคุณภาพน้ำมันเชื้อเพลิงตามคำร้องเรียนของผู้บริโภค ตรวจสอบแหล่งต้องสงสัย ร่วมกับ ศปนม. สืบหาเบาะแสแหล่งปลอมปนน้ำมันเชื้อเพลิง และดำเนินคดีสถานีบริการน้ำมันเชื้อเพลิงที่มีคุณภาพไม่ได้มาตรฐาน
(3) การแก้ไขปัญหาการรับซื้อไฟฟ้าจากผู้ผลิตไฟฟ้าเอกชนรายใหญ่ (Independent Power Producers : IPP) และรายเล็ก (Small Power Producers : SPP) ที่ได้รับผลกระทบจากปัญหาวิกฤติเศรษฐกิจของประเทศ และการเปลี่ยนแปลงอัตราแลกเปลี่ยนเป็นระบบลอยตัว โดยได้มีการพิจารณาให้เลื่อนวันเริ่มต้นจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. เป็นรายๆ ไปตามความเหมาะสม ขณะนี้โครงการ IPP บางโครงการอยู่ระหว่างทดสอบการเดินเครื่อง และหลายโครงการก็สามารถจัดหาเงินกู้ได้เรียบร้อยแล้ว อย่างไรก็ตามมีโครงการ IPP จำนวน 2 ราย ที่ใช้ถ่านหินเป็นเชื้อเพลิงมีสถานที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอีก 1 ราย ซึ่งใช้ก๊าซ ธรรมชาติเป็นเชื้อเพลิง มีสถานที่ตั้งอยู่ที่จังหวัดสมุทรปราการ ยังไม่สามารถดำเนินโครงการต่อไปได้ เนื่องจากได้รับการคัดค้านจากประชาชนในพื้นที่ จึงต้องรอผลการจัดทำประชาพิจารณ์ และการตัดสินใจจากรัฐบาลในขั้นสุดท้าย ส่วนโครงการ SPP ขณะนี้สามารถจ่ายไฟฟ้าเข้าระบบของ กฟผ. แล้ว 41 ราย มีปริมาณพลังไฟฟ้าที่เสนอขาย 1,580.77 เมกะวัตต์ (ณ พฤษภาคม 2543)จากจำนวนที่ลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 50 ราย และยังอยู่ระหว่างการเจรจาลงนามในสัญญาซื้อขายไฟฟ้า 2 ราย
(4) การแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน แบ่งออกเป็น 3 สาขา คือ สาขาไฟฟ้า สาขาก๊าซ ธรรมชาติ และการแปรรูป ปตท. ซึ่งขณะนี้มีความก้าวหน้า สรุปได้ดังนี้
 สาขาไฟฟ้า : ได้มีการจัดทำแผนระดมทุน จากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี และกำหนดแนวทางการระดมทุนที่เหมาะสม ซึ่งได้รับความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีแล้วเมื่อวันที่ 30 พฤศจิกายน 2542 โดยแผนดังกล่าวให้มีการระดมทุนจากประชาชนทั่วไป ร้อยละ 40 และจัดสรรหุ้นของบริษัท ราชบุรีโฮลดิ้งที่จะจัดตั้งขึ้นให้แก่พนักงาน กฟผ. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ (ถ้ามี) ร้อยละ 15 และให้ กฟผ. ร้อยละ 45 ซึ่งขณะนี้ได้มีการจัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด แล้วเมื่อวันที่ 7 มีนาคม 2543 มีทุน จดทะเบียน 300 ล้านบาท และมีการจัดตั้งบริษัทในเครือ คือ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด เมื่อวันที่ 20 มีนาคม 2543 ทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท นอกจากนี้ กฟผ. ได้มีการว่าจ้างบริษัทที่ปรึกษาทางการเงิน เทคนิค กฎหมาย และประเมินราคาทรัพย์สิน รวมทั้ง ได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการระดมทุน จากภาคเอกชนในโครงการโรงไฟฟ้าราชบุรี เพื่อทำหน้าที่กำกับดูแลการดำเนินงานตามแผนระดมทุนฯ ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย ซึ่งการประเมินราคาทรัพย์สิน การกำหนดอัตราค่าไฟฟ้า ร่างสัญญาจะซื้อจะขายทรัพย์สิน และร่างสัญญาซื้อขายไฟฟ้าได้จัดทำแล้วเสร็จ และได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้ว เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2543 โดยจะมีการขายหุ้นโรงไฟฟ้าราชบุรีให้แก่ประชาชนทั่วไปในเดือนตุลาคม 2543 ในส่วนของการปฏิรูปโครงสร้างอุตสาหกรรมไฟฟ้า สพช. ได้ดำเนินการศึกษาเรื่อง “โครงสร้างตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้าและโครงสร้างกิจการไฟฟ้า ระยะที่ 1” เพื่อศึกษาแนวทางการแบ่งแยกกิจการผลิตและระบบส่ง รวมทั้ง กฎเกณฑ์ในการจัดตั้งตลาดกลางซื้อขายไฟฟ้า ซึ่งการศึกษาได้แล้วเสร็จและได้รับความเห็นชอบ จากคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติแล้วเมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2543 ขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการศึกษาในรายละเอียดต่อไป
 สาขาก๊าซธรรมชาติ : ได้มีการจัดทำโครงสร้างอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติในระยะยาวแล้วเสร็จ ซึ่งโครงสร้างดังกล่าวได้ส่งเสริมให้มีการแข่งขันอย่างเสรี ในกิจการก๊าซธรรมชาติ ควบคู่ไปกับการปรับโครงสร้าง และการแปรรูป ปตท. โดยเปิดให้มีการซื้อขายก๊าซธรรมชาติจากแหล่งก๊าซธรรมชาติใหม่ (New Gas Supply) ได้โดยตรงระหว่างผู้ผลิตและผู้ใช้ก๊าซธรรมชาติ และการให้สัมปทานเอกชน เข้าร่วมในการลงทุนและดำเนินการ ในระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติหลัก (Transmission Pipeline) เส้นใหม่ทั้งหมด และระบบท่อจำหน่ายก๊าซธรรมชาติปลายทาง (Down Stream) รวมทั้ง การให้บริการขนส่งก๊าซธรรมชาติทางท่อแก่บุคคลที่สาม (Third Party Access : TPA) ซึ่งกรมทรัพยากรธรณีได้จ้างที่ปรึกษา Pricewaterhouse Cooper เพื่อศึกษาในเรื่องการเปิดให้บุคคลที่สามสามารถใช้บริการระบบท่อส่งก๊าซฯ ได้ โดยเริ่มตั้งแต่วันที่ 22 กันยายน 2542 ขณะนี้รายงานการศึกษาเสร็จสมบูรณ์แล้ว และอยู่ระหว่างการพิจารณาเพื่อนำเสนอคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติต่อไป
 การแปรรูป ปตท. : ได้มีการจัดทำแนวทางการแปรรูป ปตท. ซึ่งได้รับความเห็นชอบจาก รัฐบาลแล้ว โดยรูปแบบการแปรรูป ปตท. จะเป็นแบบรวมกิจการ (Integrated Initial Public Offering) และมีการจัดโครงสร้างแบบ Operating Holding Company เพื่อให้ ปตท. สามารถประสานผลประโยชน์ของกิจการหลักของ ปตท. ที่ดำเนินการผ่านหน่วยธุรกิจก๊าซฯ น้ำมัน และอินเตอร์เนชั่นแนลได้ และจะช่วยให้ ปตท. มี ความน่าเชื่อถือทางการเงินสูง ซึ่งการจัดโครงสร้างแบบ Operating Holding นี้ กิจการก๊าซฯ และน้ำมัน จะถูกดำเนินการโดยหน่วยธุรกิจ ที่อยู่ภายใต้องค์กรทางกฎหมายเดียวกันดังเช่นในปัจจุบัน และจะมีการปรับปรุงโครงสร้าง ให้สอดคล้องกับแนวโน้มการเปิดเสรีธุรกิจก๊าซฯ ที่ต้องแยกธุรกิจท่อส่งก๊าซฯ ออกจากธุรกิจการจัดหาและจำหน่ายก๊าซฯ การแปรรูป ปตท.ดังกล่าวจะใช้แนวทางตามร่าง พรบ. ทุนรัฐวิสาหกิจซึ่งได้ผ่านความเห็นชอบจากรัฐสภา และการวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญแล้ว เพื่อแปรสภาพจาก ปตท. รัฐวิสาหกิจเป็นบริษัท ปตท. จำกัด/(มหาชน) และเมื่อภาวะตลาดมีความเหมาะสม ก็จะดำเนินการจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยต่อไป
 การจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน : คณะกรรมการกำกับนโยบายด้านรัฐวิสาหกิจ ได้นำเสนอแนวทางการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ ต่อรัฐบาลพิจารณาให้ความเห็นชอบแล้ว เมื่อวันที่ 19 ตุลาคม 2542 เพื่อใช้เป็นกรอบในการจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระ รายสาขาต่อไป โดยในส่วนของสาขา พลังงาน คณะรัฐมนตรีได้เห็นชอบ ให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ และกระทรวงอุตสาหกรรมจัดตั้งคณะทำงาน เพื่อดำเนินการยกร่างกฎหมายจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน เพื่อเสนอต่อรัฐสภาให้ทันกับการพิจารณาในเดือนพฤศจิกายน 2543 และเพื่อให้สามารถจัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงานได้ในปี 2545 ตามกำหนดเวลาในแผนแม่บทการปฏิรูปรัฐวิสาหกิจ ขณะนี้ได้มีคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี ที่ นร 198/2542 ลงวันที่ 21 ธันวาคม 2542 แต่งตั้งคณะทำงานยกร่างกฎหมาย จัดตั้งองค์กรกำกับดูแลอิสระสาขาพลังงาน เพื่อดำเนินการยกร่างกฎหมายดังกล่าวแล้ว ซึ่งการยกร่างกฎหมายได้แล้วเสร็จ และได้จัดให้มีการสัมมนา เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2543 เพื่อนำข้อคิดเห็นมาพิจารณาปรับปรุงร่างกฎหมายให้มีความเหมาะสมต่อไป
4.4 การป้องกันและแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อม
การผลิตและการใช้พลังงานมักก่อให้เกิดปัญหาผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะคุณภาพอากาศ ซึ่งหากจำแนกการใช้พลังงานเป็นรายสาขาแล้ว สาขาคมนาคมขนส่งมีการใช้พลังงานมากกว่าสาขาอื่น คือ ประมาณร้อยละ 40 ของการใช้พลังงานโดยรวม ภาคอุตสาหกรรมประมาณร้อยละ 30 ภาคธุรกิจและที่อยู่อาศัยประมาณร้อยละ 20 ส่วนที่เหลือใช้ในภาคเกษตรกรรมและเหมืองแร่ ดังนั้น เพื่อช่วยลดปัญหาสิ่งแวดล้อม ที่เกิดจากการใช้พลังงานในภาคการผลิตต่างๆ โดยเฉพาะในการผลิตไฟฟ้าและภาคคมนาคมขนส่ง จึงได้มีการดำเนินการที่สำคัญดังนี้
(1) กฟผ. ได้นำก๊าซธรรมชาติมาใช้ในการผลิตไฟฟ้าเพื่อทดแทนน้ำมันเตามากขึ้น โดยในปี 2542 กฟผ. ใช้น้ำมันเตาในการผลิตไฟฟ้าเพียง 3,762 ล้านลิตร หรือลดลงร้อยละ 12 จากปี 2541 ในส่วนของโรงไฟฟ้าแม่เมาะซึ่งใช้ลิกไนต์เป็นเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้า กฟผ. ได้ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์กำจัดก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์ (Flue Gas Desulphurization : FGD) ในเครื่องที่ 4 - 7 แล้วเสร็จ นอกจากนั้น กฟผ. ได้ซื้อลิกไนต์ที่มีกำมะถันต่ำ จากเหมืองเอกชน มาผสมกับลิกไนต์ที่เหมืองแม่เมาะ เพื่อลดปัญหาผลกระทบ จากก๊าซซัลเฟอร์ไดออกไซด์
(2) กองทุนเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน ได้สนับสนุนค่าใช้จ่าย เพื่อนำพลังงานหมุนเวียนมาใช้ในการผลิตไฟฟ้า โดยเฉพาะการผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ซึ่งมีหลายโครงการที่ได้ดำเนินการไปแล้ว ได้แก่ โครงการจัดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ สำหรับโรงเรียนตำรวจตระเวนชายแดน ที่ไม่มีระบบจำหน่ายไฟฟ้าเข้าถึง และฐานปฏิบัติการกองร้อยตำรวจตระเวนชายแดนที่ 336 และ 337 โครงการสาธิตระบบผลิตและจำหน่ายไฟฟ้า จากเซลล์แสงอาทิตย์บนหลังคาอาคารศาลากลางจังหวัด ที่ชนะการประกวดตามโครงการประกวดการประหยัดพลังงาน ในปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน การติดตั้งระบบผลิตไฟฟ้าด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ ให้แก่หมู่บ้านรอบศูนย์ศึกษาพัฒนาห้วยฮ่องไคร้อันเนื่องมาจากพระราชดำริ การติดตั้งระบบประจุแบตเตอรี่ ด้วยเซลล์แสงอาทิตย์ในโครงการพัฒนาดอยตุง อันเนื่องมาจากพระราชดำริ โครงการขยายเขตติดตั้งระบบไฟฟ้าให้เกาะต่างๆ ที่ยังไม่มีไฟฟ้าใช้จำนวน 20 เกาะ โดยใช้เซลล์แสงอาทิตย์และพลังงานลม เป็นต้น
(3) ปตท. ได้ดำเนินโครงการก่อนการขยายตลาดการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์ โดยดำเนินการดัดแปลงเครื่องยนต์ดีเซลเป็นระบบเชื้อเพลิงร่วม (Dual Fuel System) ซึ่งใช้ได้ทั้งก๊าซธรรมชาติและน้ำมันดีเซล ประกอบด้วย รถโดยสารประจำทางของ ขสมก. รถโดยสารสนามบิน รถเก็บขยะของกรุงเทพมหานคร รวมทั้งหมด 16 คัน และการดัดแปลงเครื่องยนต์เบนซินเป็นระบบเชื้อเพลิงสองชนิด (Bi-fuel System) ซึ่งใช้ได้ทั้งน้ำมันเบนซินและก๊าซธรรมชาติ ประกอบด้วยรถยนต์นั่งส่วนบุคคลของ ปตท. และของเอกชน รวมทั้งหมด 12 คัน โดยจะประเมินผลการทดสอบแล้วเสร็จในเดือนสิงหาคม 2543 นอกจากนั้น มูลนิธิสถาบันประสิทธิภาพพลังงาน (ประเทศไทย) ได้ดำเนินการปรับแต่งเครื่องยนต์ (Tune-up) ด้วยเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ และทำการตรวจวัดมลภาวะที่เกิดจากเครื่องยนต์ ที่มีการปรับแต่ง ว่าสามารถลดมลภาวะได้มากน้อยเพียงใด รวมทั้ง จัดให้มีการฝึกอบรมแก่สถาบันการศึกษาต่างๆ และส่วนราชการที่สนใจเข้าร่วมโครงการ เพื่อพัฒนาความรู้เกี่ยวกับเครื่องยนต์ และการซ่อมบำรุงรักษาเครื่องยนต์ ให้ถูกต้อง เพื่อประหยัดค่าใช้จ่าย ด้านน้ำมันเชื้อเพลิง และลดมลภาวะ
(4) คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 28 มีนาคม 2543 เห็นชอบให้มีการผ่อนผัน การติดตั้งอุปกรณ์ควบคุมไอระเหย ของน้ำมันเบนซินในคลังน้ำมัน รถบรรทุกน้ำมัน และสถานีบริการน้ำมัน ในเขตกรุงเทพมหานคร นนทบุรี ปทุมธานี และสมุทรปราการ จากเดิมกำหนดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 1 มกราคม 2543 เลื่อนออกไปอีก 18 เดือน เป็นภายในวันที่ 1 กรกฎาคม 2544 เนื่องจากปริมาณการใช้น้ำมันลดลง ส่งผลให้มลพิษทางอากาศไม่รุนแรงอย่างที่คาดการณ์ไว้ และเพื่อเป็นการช่วยเหลือผู้ค้าน้ำมันในภาวะที่เศรษฐกิจของประเทศถดถอย ซึ่งการติดตั้งอุปกรณ์ดังกล่าวต้องนำเข้ามาจากต่างประเทศ
4.5 ความร่วมมือด้านพลังงานกับต่างประเทศ
ในการพัฒนาและส่งเสริมความร่วมมือกับต่างประเทศด้านพลังงาน สพช. ในฐานะที่เป็น ผู้ประสานงานด้านพลังงานในกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจ ในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิค (APEC) และกลุ่มสมาคมประชาชาติแห่งเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ (ASEAN) ได้ดำเนินการพัฒนาความสัมพันธ์ และความร่วมมือกับกลุ่มองค์กรดังกล่าว รวมทั้ง มีบทบาทในการกำหนดท่าทีฝ่ายไทยในการเจรจา และพัฒนาแนวทางความร่วมมือด้านพลังงาน โดยในช่วงที่ผ่านมาได้มีการพัฒนาความร่วมมือที่สำคัญ ดังนี้
(1) สพช. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมประชุมกลุ่มความร่วมมือทางเศรษฐกิจในภูมิภาคเอเซีย - แปซิฟิค (APEC) ด้านพลังงาน ซึ่งมีการประชุมต่างๆ ดังนี้
  • การประชุม APEC Natural Gas Reform Workshop ระหว่างวันที่ 8 - 10 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งประเทศไทยเป็นเจ้าภาพ โดยที่ประชุมได้มีการนำเสนอถึงสถานภาพการดำเนินการ ปฏิรูปอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติของประเทศไทย บทเรียน การท้าทาย และความสำเร็จในการดำเนินการปฏิรูปอุตสาหกรรมก๊าซธรรมชาติ ของประเทศสมาชิก ซึ่งต่อมาคณะผู้แทนไทยได้รายงานผลการประชุมดังกล่าว ต่อที่ประชุม APEC Energy Working Group (EWG) ครั้งที่ 18 ณ กรุงเวลลิงตั้น ประเทศนิวซีแลนด์ ระหว่างวันที่ 18 - 19 พฤศจิกายน 2542 ซึ่งที่ประชุม EWG เห็นว่าการประชุมที่จัดในประเทศไทย นับเป็นกรณีทดสอบที่ประสบความสำเร็จ และเห็นควรให้มีการจัดประชุมเช่นนี้ในประเทศอื่นๆ ต่อไป
  • การประชุมเตรียมการเพื่อจัดการประชุมรัฐมนตรีพลังงาน APEC และการประชุมคณะทำงานด้านพลังงานของ APEC (Energy Working Group : EWG) ครั้งที่ 19 ณ กรุงบันดาร์ เสรี เบกาวัน ประเทศบรูไน ระหว่างวันที่ 6 - 7 เมษายน 2543 โดยมีประเด็นที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับประเทศไทย 2 ประเด็น คือ ที่ประชุม EWG เห็นชอบให้ประเทศไทยจัดโครงการสัมมนาเรื่อง “Clean Fossil Energy Technical Seminar” ซึ่งเป็นโครงการที่ประเทศไทยรับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง โดยกำหนดการสัมมนาจะมีขึ้นประมาณต้นเดือนพฤศจิกายน 2543 ที่กรุงเทพฯ นอกจากนั้น ที่ประชุมเห็นชอบให้ประเทศไทย เป็นเจ้าภาพจัดการประชุม EWG ครั้งที่ 23 ประมาณเดือนพฤษภาคม 2545
  • การประชุมรัฐมนตรีพลังงานและเจ้าหน้าที่อาวุโสของกลุ่ม APEC ครั้งที่ 4 ณ เมืองซานดิเอโก มลรัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ระหว่างวันที่ 10 - 12 พฤษภาคม 2543 โดยที่ประชุมเห็นชอบร่วมกันที่จะผลักดันให้เกิดความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ความมั่นคงด้านพลังงาน การพัฒนาและการใช้พลังงานอย่างสะอาด ยั่งยืน และมีประสิทธิภาพ รวมทั้ง คำนึงถึงผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ซึ่งจะช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก โดยเฉพาะอย่างยิ่งก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ นอกจากนี้ ที่ประชุมได้เห็นชอบให้คณะทำงานด้านพลังงาน ติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินการตามแนวคิดริเริ่มด้านต่างๆ และรายงานประสิทธิผลของการปฏิบัติตามแนวทางการดำเนินการแนวใหม่ ซึ่งเน้นความร่วมมือในการพัฒนา และการใช้เทคโนโลยีพลังงานหมุนเวียนและพลังงานใหม่ การแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับตลาดน้ำมัน และการลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมอันเนื่องมาจากการผลิต การขนส่ง และการใช้พลังงาน ตลอดจนการประหยัดให้รัฐมนตรีพลังงานทราบในการประชุมครั้งต่อไป
(2) รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี (นายสาวิตต์ โพธิวิหค) และคณะผู้แทนไทยได้เดินทางไปร่วมประชุมรัฐมนตรีพลังงานอาเซียน ครั้งที่ 18 ณ กรุงฮานอย ประเทศเวียดนาม เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 2543 ซึ่งที่ประชุมได้เห็นชอบร่วมกัน ในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางด้านพลังงาน การกระจายแหล่งพลังงาน การใช้เทคโนโลยีด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน การเร่งดำเนินการจัดทำแผนแม่บทระบบสายส่งไฟฟ้า และท่อส่งก๊าซธรรมชาติ การเร่งระดมทุนทั้งจากภายในและภายนอก เพื่อสนับสนุนการดำเนินการของโครงการด้านพลังงาน ให้แล้วเสร็จโดยเร็ว รวมทั้งได้มีการรายงานถึงความสำเร็จ และความก้าวหน้าในการดำเนินการ ตามแผนปฏิบัติการอาเซียนสำหรับความร่วมมือด้านพลังงาน (พ.ศ. 2542 - 2547) ในรอบระยะเวลา 1 ปี นอกจากนั้น ที่ประชุมได้ให้ความเห็นชอบต่อกิจกรรมความร่วมมือระหว่างอาเซียนและญี่ปุ่น โดยครอบคลุมด้านความมั่นคงทางด้านพลังงาน ด้านประสิทธิภาพพลังงานและการอนุรักษ์พลังงาน ตลอดจนด้านพลังงานใหม่และพลังงานทดแทน
(3) สพช. ได้จัดสัมมนาเชิงปฏิบัติการและศึกษาดูงานโครงการ Energy Conservation and Renewable Energy Utilization for Rural Development ขึ้น ในระหว่างวันที่ 29 กุมภาพันธ์ ถึง 3 มีนาคม 2543 โดยเป็นโครงการที่ได้รับการสนับสนุนจากกรมวิเทศสหการในนามของรัฐบาลไทย และองค์กรเพื่อการพัฒนาระหว่างประเทศแห่งแคนาดาในนามของรัฐบาลแคนาดา (Canadian International Development Agency - CIDA) โครงการดังกล่าวมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และการใช้ประโยชน์จากพลังงานทดแทนอย่างเต็มที่ รวมถึงการถ่ายทอดความรู้ และเทคโนโลยีด้านการอนุรักษ์พลังงา นและพลังงานทดแทน จากประเทศไทยให้กับผู้แทนจาก สปป.ลาว เวียดนาม และกัมพูชา
(4) สพช. ได้ส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมระดับเจ้าหน้าที่อาวุโส สาขาพลังงานในการประชุมกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจ บังกลาเทศ - อินเดีย - พม่า - ศรีลังกา - ไทย (Bangladesh - India - Myanmar - Sri Lanka - Thailand Economic Cooperation : BIMST - EC) ณ กรุงย่างกุ้ง ประเทศสหภาพพม่า ระหว่างวันที่ 5 - 6 มิถุนายน 2543 โดยที่ประชุมได้มีมติเห็นชอบให้จัดทำฐานข้อมูลด้านพลังงานขึ้นที่พม่า และจัดตั้งคณะทำงานเพื่อกำหนดกรอบความร่วมมือด้านการพัฒนาก๊าซธรรมชาติ และการพัฒนาแหล่งพลังงานใหม่ และแหล่งพลังงานที่สามารถนำกลับมาใช้ได้ โดยความร่วมมือในชั้นต้นจะเน้นเรื่องการแลกเปลี่ยนข้อมูล ประสบการณ์ และความรู้ด้านเทคโนโลยี และการหาแหล่งสนับสนุนเงินทุน สำหรับกิจกรรมความร่วมมือด้านการพัฒนาพลังงานในภูมิภาค

5. บทสรุป

โดยภาพรวมการผลิต และการใช้พลังงานเชิงพาณิชย์ของประเทศ มีแนวโน้มที่จะปรับตัวสูงขึ้นเล็กน้อยในปี 2543 หลังจากที่ได้ชะลอตัวลงมาตั้งแต่ปลายปี 2540 อย่างไรก็ตาม ประเทศไทยยังคงมีการพึ่งพาพลังงาน จากต่างประเทศในอัตราที่สูงโดยเฉพาะน้ำมัน ดังนั้น ในปี 2542 ประเทศไทยจึงได้รับผลกระทบจากภาวะราคาน้ำมันที่เพิ่มสูงขึ้น อันเป็นผลมาจากการลดปริมาณการผลิตน้ำมันดิบ ของกลุ่มโอเปคและนอกโอเปค ในขณะที่ความต้องการน้ำมันของโลกเพิ่มสูงขึ้น ประกอบกับการอ่อนตัวลงของค่าเงินบาท จึงทำให้ประเทศไทยได้รับผลกระทบต่อเนื่องมาจนถึงปี 2543 อย่างไรก็ตาม รัฐบาลมิได้นิ่งนอนใจต่อปัญหาดังกล่าว และได้พยายามผลักดันให้มีมาตรการต่างๆ ออกมาเพื่อบรรเทาผลกระทบที่เกิดขึ้น ซึ่งประกอบด้วย มาตรการอนุรักษ์พลังงาน การส่งเสริมการใช้น้ำมันให้เหมาะสม กับความต้องการของเครื่องยนต์ การตรึงราคาก๊าซปิโตรเลียมเหลว และการพิจารณาให้ความช่วยเหลือ โดยชดเชยราคาน้ำมันให้เป็นรายสาขา ตลอดจนการส่งเสริมให้มีการเลือกใช้พลังงานทดแทนอื่นเป็นต้น ในขณะเดียวกันก็ได้มีการติดตามสถานการณ์ราคาน้ำมัน รวมทั้ง วิเคราะห์และประเมินผลกระทบต่อเศรษฐกิจและสังคมอย่างใกล้ชิด
ในส่วนของการดำเนินนโยบายและมาตรการด้านพลังงาน ของประเทศในช่วงที่เหลือ ของแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 8 ก็ได้มีการดำเนินการต่อเนื่องจากปีก่อน และได้มีการปรับเป้าหมาย และแนวทางการพัฒนาพลังงาน ให้สอดคล้องกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ และสถานการณ์ทางด้านพลังงาน ที่เปลี่ยนแปลงไป มาตรการส่งเสริมให้มีการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพ และประหยัด ในภาวะที่น้ำมันมีราคาสูงขึ้นอยู่ในขณะนี้ กลายเป็นมาตรการที่มีความสำคัญเป็นอันดับแรก ในขณะเดียวกันการส่งเสริมให้มีการแข่งขันในกิจการพลังงาน โดยเร่งรัดการดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจด้านพลังงาน ให้เป็นไปตามกรอบของแผนแม่บทการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ก็เป็นมาตรการที่ควรเร่งดำเนินการ เพื่อช่วยลดภาระการลงทุนของภาครัฐ และเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการดำเนินงานด้านพลังงานของประเทศ ซึ่งในที่สุดแล้วจะทำให้ประชาชนได้รับบริการที่มีคุณภาพและในราคาที่เป็นธรรม

ตารางประกอบ

  1. ตารางที่ 1 การผลิต การบริโภค และการนำเข้า (สุทธิ) พลังงานเชิงพาณิชย์
  2. ตารางที่ 2 การผลิตพลังงานเชิงพาณิชย์
  3. ตารางที่ 3 แหล่งผลิตและการนำเข้าก๊าซธรรมชาติ
  4. ตารางที่ 4 แหล่งผลิตคอนเดนเสท
  5. ตารางที่ 5 แหล่งน้ำมันดิบ
  6. ตารางที่ 6 การใช้น้ำมันสำเร็จรูป
  7. ตารางที่ 7 การผลิตน้ำมันสำเร็จรูป
  8. ตารางที่ 8 การนำเข้าสุทธิน้ำมันสำเร็จรูป
  9. ตารางที่ 9 การผลิต การใช้ลิกไนต์ และการนำเข้าถ่านหิน
  10. ตารางที่ 10 การผลิตไฟฟ้าแยกตามชนิดของเชื้อเพลิง และปริมาณเชื้อเพลิงที่ใช้ในการผลิตไฟฟ้า





สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
2 ตุลาคม 2543

วันพุธที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2558

ปฏิรูปพลังงานด้วยกลุ่มทุนพลังงาน จะทำเพื่อคนไทยหรือ!?

กรกช วัฒนศาสตร์ทวงคืน ปตท.
ถึงวันนี้ คนไทยเริ่มเห็นไส้เห็นพุงคส
ช.มากขึ้น แต่ที่จริงถ้าดูจากการตั้งบริวารมานั่งตำแหน่งสำคัญตั้งแต่เข้ามาใหม่ๆ ก็จะเห็นภาพนานแล้วว่างานนี้ คสช.คิดไม่ซื่อแน่ๆ โดยเฉพาะ ด้านพลังงาน ตั้ง นาย ปิยสวัสดิ์ ตัวพ่อกลุ่มทุนพลังงาน มานั่งประธานบอร์ดปตท. ตั้งนาย ณรงค์ชัย อดีตขุนพลเศรษฐกิจทักษิณ มานั่งรมว.พลังงาน ตั้ง พล.อ.อ.ประจิน คนของยิ่งลักษณ์ และเป็นกรรมการปตท. เข้ามาคุมพลังงาน ตอนหลังได้เป็น รมว.คมนาคม เดินหน้ารถไฟความเร็วสูง 4 แสนล้าน สานต่อนโยบายยิ่งลักษณ์




และในการตั้งคณะกรรมการสรรหา สมาชิกสภาปฏิรูป(สปช.)ด้านพลังงาน ก็ตั้งคนของยุคทักษิณเข้ามามากมายถึง 6 คน จากทั้งสิ้น 7 คน

1. นาย พละ สุขเวช

อดีตผู้ว่า การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย เป็นกรรมการ ปตท.,ไทยออยล์,ไทยโอเลฟินส์ และอะโรเมติกส์ และในตำแหน่งหน่วยงานรัฐ เป็นกรรมการบริหารกองทุนพลังงาน ในปี 2549 และยังมีบทบาทสำคัญในการเป็นผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการ “ทีพีไอ” จนในที่สุด ปตท. เข้าเทกโอเวอร์ทีพีไอในที่สุด

2.นาย บรรพต หงษ์ทอง

เป็นปลัดกระทรวงเกษตรฯและสหกรณ์ของรัฐบาลทักษิณ นายบรรพต เคยถูกคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ชี้มูลความผิดในคดีทุจริตที่เกี่ยวข้องกับในการดำเนินโครงการลำไยอบแห้ง และถูกบันทึกว่าเป็นผลงานชิ้น "โบว์ดำ" ของกระทรวงเกษตรฯ ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร อดีตนายกรัฐมนตรี มาจนถึงทุกวันนี้

3. นาย ประเสริฐ บุญสัมพันธ์

ในยุคทักษิณ เขาคนนี้คือ "สัญญลักษณ์ของปตท."

4.นาย วิเศษ จูภิบาล

เป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในระหว่างปี พ.ศ. 2544 - พ.ศ. 2546 และในปี พ.ศ. 2548 ได้เข้ามาทำงานการเมือง โดยดำรงตำแหน่งผู้ช่วยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน (นายแพทย์พรหมินทร์ เลิศสุริย์เดช) และได้รับตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน เมื่อปี. 2548

5. นาย จักรทณฑ์ ผาสุกวนิช

เป็นเลขาธิการคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในปี พ.ศ. 2544 ในยุค ทักษิณ และย้ายไปดำรงตำแหน่งเลขาธิการคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ในปีถัดมา จากนั้นจึงได้ดำรงตำแหน่งปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม

เป็นกรรมการบริษัททำเหมืองทอง อัคราฯ ล่าสุดลาออกจากกรรมการบริษัท ก็ได้เป็น รมว.อุตสาหกรรม ในรัฐบาลนี้ แค่ดำรงตำแหน่ง 3 เดือนแรก เดินหน้าออกใบอนุญาติไปแล้วกว่า 6,000 ฉบับ อนุมัติประทานบัตรไปแล้วกว่า 100 แปลง และเรื่องเหมืองทองคำนั้น ก็พัวพันทักษิณด้วย เดี๋ยวจะเผิดเผยข้อมูลในโอกาสต่อไป

6. นาย การุณ กิตติสถาพร

ปลัดก.พานิชย์ ยุคทักษิณ อยู่ยาวตั้งแต่ปี 2544 จนถึงทักษิณถูกรัฐประหาร

**********************************************************************

เมื่อตั้งคนเหล่านี้เป็นกรรมการ สุดท้ายจึงได้สปช.ที่เป็นคนของกลุ่มทุนพลังงานเข้ามาถึง 13 คน จากทั้งสิ้น 14 คน

แฉ14คีย์แมนสปช.พลังงานกลุ่มทุนยึดหมด'รสนา'หนึ่งเดียวต้านเปิดสัมปทาน



คุณรสนา เข้ากันได้นะครับ







แฉ14คีย์แมนสปช.พลังงานกลุ่มทุนยึดหมด'รสนา'หนึ่งเดียวต้านเปิดสัมปทาน


โดย ASTVผู้จัดการรายวัน3 พฤศจิกายน 2557 22:39 น.




เจาะประวัติสมาชิกสภาปฏิรูปด้านพลังงานทั้ง 14 คน พบกลุ่มทุนพลังงาน-อุตสาหกรรม ปตท. นักการเมือง ยึดเกือบหมด ชี้"ศิริ จิระพงษ์พันธ์" อยู่ในกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนของนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในช่วงรุ่งเรืองสุดขีดของรัฐบาลทักษิณ ขณะที่ "พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช" นายทหารที่มีชื่อเสียงและมีบทบาทในทางการเมือง มีแนวคิดการหาพลังงานทางเลือกเสริมความแข็งแกร่งให้ปท. ส่วน"น.ส.รสนา โตสิตระกูล"หนึ่งเดียวต้านการเปิดสัมปทานปิโตรฯรอบที่21 จับตาเข็มทิศชี้อนาคตพลังงานหลังยุค คสช. ไม่น่าจะข้ามพ้นกลุ่มเดิม
     
       นับวันกระแสตื่นตัวเกี่ยวกับเรื่องพลังงานของประชาชนมีมากขึ้นจนกลายเป็นประเด็นร้อนแรงระดับชาติขึ้นมาทันที โดยเฉพาะกระแสความเคลื่อนไหวคัดค้านการที่รัฐบาล โดยกระทรวงพลังงานอนุญาตให้เปิดสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 จำนวน 29 แปลงทั้งบนบกและในทะเล ซึ่งมีระยะเวลารวมเบ็ดเสร็จไม่ต่ำกว่า 35 ปีนับจากนี้ ถึงขนาดที่ว่าหากรัฐบาลไม่ยอมชะลอเรื่องนี้เอาไว้ก่อน จะมีการออกมาชุมนุมประท้วง
     
       ทำให้ล่าสุด พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา หัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) และนายกรัฐมนตรี ต้องสั่งให้นำเรื่องดังกล่าวเข้าไปถกเถียงเพื่อหาข้อสรุปในสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.)ด้านพลังงานภายในเวลา 2 เดือน แล้วนำความเห็นที่ได้มาเสนอรัฐบาลอีกครั้งหนึ่ง
     
       วันนี้ ASTVผู้จัดการ จึงพาไปรู้จักสภาปฏิรูปด้านพลังงานทั้ง 14 คน ประวัติความเป็นมาแต่ละคน โดยทั้งหมดถือเป็นกลไกสำคัญที่จะชี้ชะตา อนาคตด้านพลังงานของประเทศไทย
     
       1.นายทองฉัตร หงส์ลดารมย์ อดีตผู้ว่าการการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย มาจากสายบริษัทพลังงานโดยตรง โดยในปี 2521 เมื่อครั้งมีการก่อตั้งการปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. ขึ้นนั้น ได้รับการเชิญชวนจาก พล.อ.เกรียงศักดิ์ ชมะนันทน์ นายกรัฐมนตรีในขณะนั้นให้เข้ามาดำรงตำแหน่งผู้ว่าการ ปตท.คนแรก ซึ่งในฐานะผู้ว่าการปตท. คนแรก
     
       นอกจากนี้เมื่อครั้งคณะรัฐมนตรีได้มีมติให้ก่อตั้ง บริษัท ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ. ขึ้นเพื่อทำหน้าที่สำรวจและผลิตปิโตรเลียมทั้งในและต่างประเทศ ดร.ทองฉัตร หงศ์ลดารมภ์ เป็นคนแรกที่ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการบริษัท ปัจจุบันดำรงตำแหน่งประธานกรรมการ / กรรมการอิสระ/ กรรมการตรวจสอบ บมจ.สามารถคอร์ปอเรชั่น นอกจากนี้ยัง เคยเป็นที่ปรึกษาอาวุโส บมจ. พีทีที โกลบอล เคมิคอลและที่ปรึกษาคณะกรรมการบริษัท บมจ. ปตท. สำรวจและผลิตปิโตรเลียม
     
       2.นายคุรุจิต นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน มาจากสายบริษัทพลังงานโดยตรง ประสบการณ์การทำงานด้านพลังงาน เคยเป็นวิศวกรปิโตรเลียม ระดับ 8/9 วช. กรมทรัพยากรธรณี/กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ หัวหน้าเจ้าหน้าที่ฝ่ายบริหาร ขององค์กรร่วมไทย - มาเลเซีย ณ กรุงกัวลาลัมเปอร์, มาเลเซีย เป็นผู้อำนวยการสำนักวิชาการ กรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ปฏิบัติหน้าที่ผู้อำนวยการสำนักความร่วมมือระหว่างประเทศ กระทรวงพลังงาน รักษาการหัวหน้าสำนักงานรัฐมนตรี กระทรวงพลังงาน รองอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติรองปลัดกระทรวงพลังงาน (12 ธ.ค.2549 - 21 ก.ย.2551) และอธิบดีกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ (22 ก.ย.2551 - 3 พ.ย. 2553)
     
       ตั้งแต่ปี 2550 ถึงปัจจุบัน เป็นกรรมการบริษัท เอสโซ่ (ประเทศไทย) จำกัด (มหาชน) เคยนั่งบอร์ดรัฐวิสาหกิจ ทั้งหมด 11 ตำแหน่ง เช่น กรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย สมัยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ และยิ่งลักษณ์ ชินวัตร และยังเป็นโฆษกกระทรวงพลังงาน และเป็นผู้หนึ่งที่ออกมาหนุน ให้กระทรวงพลังงานหนุนเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ปัจจุบันดำรงตำแหน่ง กรรมการบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน)
     
       3.นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน มาจากสายมาบริษัทพลังงานโดยตรง เป็นอดีตผู้บริหารบริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) เป็นคอลัมนิสต์ผู้ทรงคุณวุฒิด้านพลังงาน มีคอลัมม์ประจำอยู่ในหลายสื่อ มักพบเห็นเป็นประจำตามงานสัมมนาของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เป็นหนึ่งในตัวยืนของ “กลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน” ที่มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นหัวเรือใหญ่
     
       4.นายศิริ จิระพงษ์พันธ์ ผู้อำนวยการสถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ปัจจุบันอยู่ในกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนของนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ อดีตเป็นผู้หนึ่งที่อยู่ในช่วงรุ่งเรืองสุดขีดของรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร เคยเป็นหนึ่งคณะผู้บริหารแผนฟื้นฟูกิจการทีพีไอ ที่มาจากตัวแทนของกระทรวงการคลัง มีข่าวโด่งดังในช่วงรัฐบาลทักษิณ ชินวัตร กรณีประเด็นการโอนเงินของทีพีไอไปให้กับบริษัท ซินเนอจี โซลูชั่น จำกัด และกรณีการขายหุ้นทีพีไอให้กับพันธมิตรของกระทรวงการคลัง ทั้งบริษัท ปตท. จำกัด(มหาชน) กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ(กบข.) กองทุนวายุภักษ์1 ซึ่งล้วนเกี่ยวข้องกับผลประโยชน์กิจการทางด้านพลังงานและอุตสาหกรรมปิโตรเคมีของทีพีไอในสมัยนั้น
     
       5.นายดุสิต เครืองาม มาจากสายการเมือง มีคอนเนคชั่นคือเป็นน้องชายคนสุดท้องของนายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรีด้านกฎหมาย และที่ปรึกษาคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ประวัติการทำงานของนายดุสิต เป็นที่น่าสนใจทางด้านพลังงาน พบว่าเป็นผู้นำการออกแบบ ก่อสร้างโซลาร์รูฟ และเป็นผู้ก่อตั้ง บริษัท ไทยโซลาร์ฟิวเจอร์ จำกัด
     
       ทั้งยังเคยเป็นผู้บริหารระดับสูง เป็นศาสตราจารย์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นักวิจัยดีเด่นแห่งชาติ อดีตที่ปรึกษานโยบายรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ผู้ชำนาญการของคณะกรรมาธิการการพลังงาน สภาผู้แทนราษฎร รองประธานกลุ่มอุตสาหกรรมพลังงานทดแทน สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
     
       6.นายวิบูลย์ คูหิรัญ มาจากสายข้าราชการ เคยเป็นสมาชิกวุฒิสภา และอดีตผู้ว่าการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค จบการศึกษาระดับ Master of Science (Electrical Engineering) จาก Illinois Institute of Technology สหรัฐอเมริกา ผ่านหลักสูตรหลักประจำ รุ่นที่ ชุดที่ 34 จาก (วิทยาลัยการทัพบก) หลักสูตรปริญญาบัตรการป้องกันราชอาณาจักร (วปอ.) รุ่นที่ รุ่นที่ 37 จาก วิทยาลัยป้องกันราชอาณาจักร
     
       เคยดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโครงการเร่งรัดพัฒนาไฟฟ้าชนบท และผู้ว่าการการไฟฟ้าส่วนภูมิภาค เคยได้รับการสรรหาเป็นสมาชิกวุฒิสภาจากภาคเอกชน เมื่อปี พ.ศ.2554 ปัจจุบันนายวิบูลย์ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษามูลนิธิโครงการหลวงและประธานกรรมการมูลนิธิโรงพยาบาลโพธาราม จ.ราชบุรี และยังคงติดตามความเคลื่อนไหวในประเด็นพลังงานอย่างใกล้ชิด
     
       7.นายพรายพล คุ้มทรัพย์ มาจากสายนักวิชาการ อาจารย์ประจำคณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในช่วงปี 2548 - 2549 เคยทำโครงการวิจัยให้กับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ มีความเชี่ยวชาญในด้านทฤษฎีเศรษฐศาสตร์จุลภาค เศรษฐศาสตร์ระหว่างประเทศ เศรษฐศาสตร์การพัฒนา และเศรษฐศาสตร์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เคยเป็นกรรมการอิสระ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ในปี พ.ศ.2550 ดำรงตำแหน่งผู้ช่วย รมว.พลังงาน ซึ่งตำแหน่งดังกล่าว นายณรงค์ชัย อัครเศรณี รมว.พลังงาน เป็นผู้เสนอชื่อเอง
     
       8.นายอลงกรณ์ พลบุตร มาจากสายการเมือง อดีตรองหัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์และอดีตรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ โดยในปี พ.ศ. 2551 พรรคประชาธิปัตย์ได้จัดตั้ง ครม.เงา ขึ้นเป็นครั้งแรก นายอลงกรณ์ พลบุตร ได้รับเลือกจากที่ประชุมพรรคประชาธิปัตย์ ให้ทำหน้าที่ รองนายกรัฐมนตรีเงา ดูแลตรวจสอบ กระทรวงคมนาคม และกระทรวงพลังงาน
     
       ในด้านพลังงาน เคยเป็นประธานคณะกรรมการโครงการผลิตแอลกอฮอล์จากมันสำปะหลังและพืชอื่นๆ (โครงการเอทานอล) ปี พ.ศ. 2543 และกรรมการในคณะกรรมการเอทานอลแห่งชาติ กันยายน ปี พ.ศ. 2543
     
       9.นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล มาจากสายบริษัทพลังงาน ดำรงตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ปี2549-2551 เป็น กรรมาธิการและเลขานุการคณะกรรมาธิการพลังงาน สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
     
       สำหรับนายอนุสรณ์ ถือเป็นลูกหม้อทำงานที่บางจากกว่า 30 ปี หลังจากเรียนจบจากประเทศออสเตรเลียได้เข้ามาทำงานที่บริษัท เอสโซ่ จำกัด ในช่วงเวลาสั้นๆ จากนั้นเข้าทำงานเป็นวิศวกรโรงกลั่นน้ำมันบางจาก จนก้าวสู่ตำแหน่งผู้บริหารสูงสุด และดำรงตำแหน่งดังกล่าวมา 2 วาระ วาระละ 4 ปี ครบกำหนด 8 ปีเต็ม
     
       10.พล.อ.เลิศรัตน์ รัตนวานิช มาจากสายทหาร ถือเป็นนายทหารคนหนึ่งที่มีชื่อเสียงและบทบาทในทางการเมืองเคยเป็นประธานคณะกรรมาธิการการพลังงาน วุฒิสภาและยังเคยนั่งเป็นบอร์ด ปตท.สผ. (บมจ.ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม) มานานถึง 12 ปี
     
       มีแนวคิดทางด้านพลังงานในประเทศว่า ปริมาณสำรองพลังงานในประเทศไม่ได้มีอยู่เยอะก๊าซในอ่าวไทยที่มีการสำรวจได้ มีปริมาณสำรองได้เพียง 6-8 ปีเท่านั้น ตอนนี้ต้องเริ่มศึกษาหาพลังงานทางเลือกเพื่อมารองรับการใช้พลังงานของประเทศในอนาคต โดยพลังงานทางเลือกเป็นหัวใจสำคัญที่จะทำให้การใช้พลังงานของประเทศเติบโตได้อย่างยั่งยืน โดยเฉพาะพลังงานแสงอาทิตย์และพลังงานลม
     
       11. พล.อ.ประสูติ รัศมีแพทย์ มาจากสายทหารเป็นหนึ่งใน ส่วนของสมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ(สปช.) ที่ได้รับการโปรดเกล้าฯ เมื่อวันที่ 2 ต.ค. 2557 ซึ่งมีสัดส่วนของอดีตนายทหารเกษียณอายุราชการ จำนวน 31 คน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นนายทหารบก จำนวน 21 คน รองลงมาคือทหารเรือ จำนวน 5 คน และทหารอากาศจำนวน 5 คน ตามลำดับ ในอดีตเคยดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม
     
       12.น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีตสมาชิกวุฒิสภา มาจากสายเอ็นจีโอ เป็นนักรณรงค์ด้านสุขภาพและสิทธิผู้บริโภคผลงานในด้านการเคลื่อนไหวทางสังคม ยับยั้งการแปรรูปการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) ยื่นเรื่องต่อศาลปกครองในการยับยั้งการแปรรูปของ กฟผ. อันนำมาสู่คำสั่งเพิกถอนพระราชกฤษฎีกาแปรรูป กฟผ. ทั้ง 2 ฉบับ[ต้องการอ้างอิง]เป็นหนึ่งในแกนนำฟ้องร้องคดีของบริษัทปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย หรือ ปตท. จนส่งผลให้ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยได้รับความเสียหายเป็นมูลค่าหลายพันล้านบาท
     
       ถูกตั้งฉายาให้ว่าเป็นแกะดำในกลุ่มสภาปฏิรูปพลังงาน เนื่องจากเป็นแนวหน้าในการเคลื่อนไหวต่อต้านการเปิดสัมปทานสำรวจปิโตรเลียมรอบที่ 21 เป็นหนึ่งในแกนนำกลุ่มจับตาปฏิรูปพลังงานไทย ที่อยู่ตรงข้ามกับกลุ่มปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน” ที่มีนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็นหัวเรือใหญ่
     
       13.นายอนนต์ สิริแสงทักษิณ มาจากสายบริษัทพลังงาน ทำงานให้กับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) มาอย่างยาวนาน จนได้ขึ้นเป็นประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน)
     
       14.นายเจน นำชัยศิริ มาจากสายอุตสาหกรรม เคยดำรงตำแหน่งรองประธานคณะกรรมการบริหาร สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย สถาบันพลังงานเพื่ออุตสาหกรรม สถาบันบูรณาการพลังงาน