คนไทยก้อเป็นแบบที่เป็น ลืมง่าย แค้นสั้น หลงกระแส ชอบแห่ทำตามๆกัน เชื่อตามๆกัน คิดตามๆกัน ชอบดูละครน้ำเน่า ชอบดูตลก ชอบดูเกมโชว์ ...
วันอาทิตย์ที่ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ประมวลข่าว “ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหาร”
รายละเอียดคำตัดสิน
• เสียดินแดนเพิ่ม! ศาลโลกสั่งไทยถอนกำลังรอบปราสาทพระวิหาร(อ่านคำพิพากษาคำต่อคำ)
• คำต่อคำ “ทูตวีรชัย” รับกลางสภา ไทยเสียดินแดนเกินเส้นมติ ครม.ปี 05
• ดูชัดๆ “ฟิฟทีนมูฟ” แฉไทยเสียเกือบครึ่งของ 4.6 ตร.กม.เขมรจ่อได้ “มออีแดง” เพิ่ม
• ดาวน์โหลดคำพิพากษา : REQUEST FOR INTERPRETATION OF THE JUDGMENT OF 15 JUNE 1962 IN THE CASE CONCERNING THE TEMPLE OF PREAH VIHEAR (CAMBODIA v. THAILAND) ไฟล์สกุล PDF เป็นภาษาอังกฤษ
• ประมวลข่าว สถานการณ์เขาพระวิหาร และชายแดนไทย-กัมพูชา
ข่าว
ก่อนอ่านคำพิพากษา
• “ลุงจำลอง” ประกาศไม่รับศาลโลก พร้อมนำมวลชนต้านคำตัดสิน “พระวิหาร” (ชมคลิป) - 11 พ.ย.
• “สนธิ” ซัดมหาอำนาจขุดคดีพระวิหารฮุบพลังงาน ลั่นต้องปฏิรูปเลิกการเมืองถอนทุน แฉมีคนขอลี้ภัยไปอังกฤษ (ชมคลิป) - 11 พ.ย.
• “ยิ่งลักษณ์” โพสต์เฟซบุ๊กก่อนตัดสินพระวิหาร ให้มั่นใจรัฐปกป้องชาติ ขอ ปชช.อยู่ในความสงบ - 11 พ.ย.
• “ปู” เล็งแถลงหลังคำตัดสินพระวิหาร 40 นาที-มท.1 สั่งผู้ว่าฯรับมือ จ่อฟัน ปชป.กบฏ - 11 พ.ย.
หลังอ่านคำพิพากษา
• “สื่อนอก” ระบุ “ศาลโลก” ตัดสินให้ “กัมพูชา” เป็นเจ้าของดินแดนรอบปราสาทพระวิหาร - 11 พ.ย.
• “ศาลโลก” ตัดสินให้ “พื้นที่ตั้งปราสาทพระวิหาร” เป็นของ “กัมพูชา” - 11 พ.ย.
• ศาลโลกยกพื้นที่ 4.6 ตร.กม.รอบปราสาทพระวิหารเป็นของเขมร - เอเอฟพี - 11 พ.ย.
• เขมรตีปีกพอใจศาลโลกยืนยันอธิปไตย “ทั่วทั้งบริเวณ” พระวิหาร - 11 พ.ย.
• “ทูตวีรชัย” แจงคำสั่งศาลโลกไทยไม่เสีย 4.6 ตร.กม.แต่เขมรได้จุดที่แคบมาก สั่ง 2 ฝ่ายร่วมดูแลปราสาท - 11 พ.ย.
• “ปู” แถลง อ้างคำสั่งศาลโลกเป็นคุณกับไทย - 11 พ.ย.
• “ปานเทพ” ยันคำตัดสินศาลโลกไทยเสียดินแดนมากกว่าเดิม หวั่นกัมพูชาชอบธรรมรุกล้ำ - 11 พ.ย.
• ผู้ชุมนุมสุดทนไทยเสียดินแดนจุดไฟเผาตัวเอง-กปท.ท้า “ปู” พักงาน-ผบ.เหล่าทัพมาพบ - 11 พ.ย.
• “คำนูณ” ตีความไทยเสียพื้นที่เพิ่ม เสนอ 4 ทางออกให้รัฐบาลตัดสินใจ - 11 พ.ย.
• “ทีมทนาย” ยันศาลโลกตัดสินเป็นคุณกับไทย ใกล้เคียงมติ ครม.ปี 05 - 11 พ.ย.
• “ดร.สมปอง” ชี้ยังไม่เสียดินแดน เว้นแต่พี่ไทยใจดีโมเมยกให้เขมรเอง - 11 พ.ย.
• กกล.สุรนารี พบ ผบ.ทหารเขมร ยันสัมพันธ์แนบแน่น ไร้เหตุปะทะ - 12 พ.ย.
• ทหารไทย-กัมพูชา เปิบมื้อกลางวันร่วมกันในปราสาทตาควาย หลังพิพากษาพระวิหารวานนี้ - 12 พ.ย.
• “ปู” ประชุม ครม.ถกคำตัดสินศาลโลก ขอเปิดสภาแก้วิกฤตม็อบ ทหารยันไม่ถอนกำลังพ้นพระวิหาร - 12 พ.ย.
• ฝ่ายค้านกังขารัฐบาลนัดรัฐสภาถกปราสาทพระวิหาร แทนสถานการณ์บ้านเมือง - 12 พ.ย.
• “มาร์ค” ชี้ไทยส่อเสียดินแดน 0.3 ตร.กม.ให้เขมร จี้ ตร.ล่าชายชุดดำจ้องป่วนม็อบ - 12 พ.ย.
• “ปู” ชี้ผลพิพากษาชัยชนะ 2 ชาติ รอถามเสียแดนให้เขมรเท่าใด อ้างศาลไม่วินิจฉัยแผนที่เป็นคุณ - 12 พ.ย.
• “นพดล” ตีความเอง ศาลโลกตัดสินคดีพระวิหารเป็นคุณกับไทย - 12 พ.ย.
• กมธ.ตปท.หวั่นศาลโลกทำเสียท่าเขมร ย้ำเจรจาต้องเข้าสภา-วุฒิฯ ลงมติ ป.ป.ช.ใหม่
• 40 ส.ว.ย้ำไทยเสียดินแดนชะง่อนผาให้เขมร ซัดรัฐบาลแถลงแต่ด้านดี-เตือนระวังโทษประหาร - 12 พ.ย.
• “บิ๊กตู่” ถามเสียดินแดนตรงไหน! อ้างศาลไม่ได้พูดชัด ลั่นไม่ถอนกำลัง - 12 พ.ย.
• กห.เน้นสงบสุข รักษาสัมพันธ์เพื่อนบ้าน ไม่สร้างความตึงเครียด - 12 พ.ย.
• นักวิชาการจุฬาฯ อ้างไทยเสียดินแดนแค่รู้สึกไปเอง แนะจับมือเขมรเน้นสันติวิธี - 12 พ.ย.
• “ปานเทพ” ชี้ไทยเสียเกือบพันไร่ให้เขมร แฉ 5 ข้อ “รัฐบาลปู” พูดไม่หมด - 13 พ.ย.
• “ทูตวีรชัย” อ้างศาลไม่ได้ตัดสินตามคำขอเขมร ปชช.เข้าใจได้ใครแพ้ ใครชนะ - 13 พ.ย.
• “ปู” ขอบคุณทีมสู้คดีพระวิหาร ฝากแจง ปชช. ย้ำคำพิพากษาเป็นผลบวกกับไทย - 13 พ.ย.
• “รสนา” ค้าน รบ.เปิดรัฐสภาหารือพระวิหาร ชี้คำพิพากษายังไม่ชัด ส่อมีเงื่อนงำ - 13 พ.ย.
• “มาร์ค” จวกรัฐไม่แจงคำพิพากษาพระวิหาร เตือน ตร.อย่าเลือกข้างลุยม็อบ - 13 พ.ย.
• สภาทนายฯ ยันศาลโลกให้ไทยแพ้คดีพระวิหาร สูญเสียอธิปไตยเหนือพื้นที่ 4.6 ตร.กม. - 13 พ.ย.
• “ทูตวีรชัย” รับแล้วไทยเสียดินแดนพระวิหาร เกินเส้นมติ ครม.-“ยิ่งลักษณ์” โผล่สภา - 13 พ.ย.
• “ปานเทพ” ฉะรัฐปกปิดส่อเสียดินแดนเพียบ จี้ประชามติถามใจ ปชช.รับศาลโลกหรือไม่ - 13 พ.ย.
• กห.รอรัฐตีความพระวิหารให้ชัด ย้ำสัมพันธ์ทหารเขมรดี - 13 พ.ย.
• คปท.ยื่น 7 ข้อ จี้รัฐไม่ทำตามคำสั่งศาลโลก ชะลอทูลเกล้าฯ ม.190-จวก ตร.หาเรื่องจับรถติดธงชาติ - 13 พ.ย.
• “คำนูณ” ยันไทยเสียดินแดน 600 กว่าไร่บวกลบ จี้รัฐเจรจาเขมรต้องเข้าสภาฯ ทุกขั้นตอน - 13 พ.ย.
• ร.ร.ภูมิซรอลเปิดเรียนวันแรก หลังศาลโลกตัดสิน “เขาวิหาร” - 13 พ.ย.
• “อภิสิทธิ์” จี้นายกฯ ระงับทูลเกล้าฯ ม.190 “ปู-ปึ้ง” อ้างไม่เคยพูดยอมรับอำนาจศาลโลก - 13 พ.ย.
• “ทูตวีรชัย” ของขึ้นซัด “ศิริโชค” ยกเมฆอ้างแผนที่พระวิหารทำไทยเสียดินแดน - 14 พ.ย.
• “ปู” สร้างภาพยุติความรุนแรง! จี้หยุดจ้อพระวิหาร แนะรอฟัง กต.โวยทำเจรจาลำบาก - 14 พ.ย.
• “ตรึงใจ” โต้ “นพเหล่” ชี้ไทยพลาดลงนามยกพระวิหารมรดกโลกให้เขมร แนะรัฐไม่ควรโอ๋มากเกิน - 14 พ.ย.
• “ทูตวีรชัย” โอดอย่าด่วนสรุปไทยเสียกี่ไร่ คดีเขาพระวิหารจะเสียประโยชน์คุยกับเขมร - 15 พ.ย.
• ปลัด กห.วอนหยุดพูดพระวิหารหวั่นเข้าทางเขมร จี้ม็อบตอบอยู่ไปเพื่ออะไร - 16 พ.ย.
รายงานพิเศษ
• ย้อนรอยเขาพระวิหาร “ใครทำไทยเสียแผ่นดิน”
• รายงานพิเศษ : สำรวจ “ชายแดนไทย-เขมร” ในห้วงเวลาชี้ชะตาพระวิหาร
• ส่องกล้องคำวินิจฉัยศาลโลก : ชาวเขมรเข้าใจว่าพื้นที่ 4.6 ตร.กม.ตกเป็นของกัมพูชา
• เรื่องที่ทูตวีรชัยอาจยังไม่ทราบ ..“ฮุนเซน” ยันศาลโลกตีความตามแผนที่ 1/200,000
• เปิดสภาผ่านคดีเขาพระวิหาร “ตบตา” คนไทยเลี่ยง “ม.190”
• ถอดรหัสคดีพระวิหาร ไทยแพ้ กัมพูชาชนะ ใครว่า win – win?
• “ทักษิณ-สมัคร-นพดล” 3 คนบาปแห่งเขาพระวิหาร
• “มาร์ค-ปู” ดื้อตาใส ทำไทยเสียดินแดน??
บทความ
• ศาลโลกตัดสินแล้ว...เอาไงต่อ?
• ต้องลงประชามติ และเอามาตรา 190 คืนมา ข้อเรียกร้องที่อาจหยุดยั้งการเสียดินแดน !
• ใครทำให้ไทยเสียดินแดนให้เขมร
วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
ศาลโลก บรรยาย “ชะง่อนผา” เขาพระวิหารเกินขอบเขต
“ฟิฟทีนมูฟ” แฉนิยามวรรค 98 คำตัดสินศาลโลก บรรยาย “ชะง่อนผา” เขาพระวิหารเกินขอบเขต รวมเอาพลาญอินทรีย์ สถูปคู่ เข้าไปด้วย พบไทยต้องเสียให้กัมพูชาเกือบครึ่งหนึ่งของ 4.6 ตร.กม.แถมเขมรอาจตีความเอาภาพสลักนูนต่ำบนผามออีแดง ซ้ำยังให้ใช้แผนที่ 1 ต่อ 2 แสนกำหนดแนวทิศเหนือของชะง่อนผา เท่ากับศาลให้ใช้เส้นนี้กำหนดเขตแดนไทย-กัมพูชา
เขาพระวิหาร ที่สื่อไทย นักการเมือง ทหารใหญ่ ทำให้คนไทย เข้าใจอะไรผิดๆ ไม่มีพื้นที่ทับซ้อน บนเขาพระวิหาร มีแต่ พื้นที่ ที่ถูกเขมรยึดไว้!!!
หลังจากศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ หรือ ศาลโลก ได้อ่านคำพิพากษาคดีการตีความคำตัดสินคดีปราสาทพระวิหารปี 2505 เมื่อวันที่ 11 พ.ย.ที่ผ่านมา โดยมีเนื้อหาสรุปได้ว่า พื้นที่บริเวณชะง่อนผา หรือ ยอดเขา (promontory) ตามที่ศาลได้อธิบายไว้ในวรรคที่ 98 ของคำตัดสินนี้ เป็นพื้นที่ของกัมพูชา และไทยมีพันธกรณีที่จะถอนกำลังทหารและเจ้าหน้าที่ตำรวจออกมาจากบริเวณนั้นทั้งหมด ซึ่งทำให้เกิดการถกเถียงว่า ชะง่อนผา หรือ ยอดเขา ตามวรรค 98 กินพื้นที่แค่ไหนกันแน่ ล่าสุดเว็บไซต์ “ฟิฟทีนมูฟ” ซึ่งได้เกาะติดการเสียดินแดนบริเวณปราสาทพระวิหารมาอย่างใกล้ชิดและต่อเนื่องยาวนาน ได้นำเสนอรายงานพิเศษเรื่อง คำตัดสินคดีพระวิหาร “เล็ก แคบ จำกัด” แค่ไหนโดยการแปลคำนิยามของวรรคที่ 98 ของคำตัดสินศาลโลกวันที่ 11 พ.ย.56 แล้วนำไปวางจุดบนแผนที่จริงและคำนวณพื้นที่ ซึ่งพบว่าขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหาร ตามคำนิยามวรรค 98 มีพื้นที่ใกล้เคียงครึ่งหนึ่ของพื้นที่ 4.6 ตร.กม.และบรรยายขอบเขตกินความไกลเกินกว่าคำว่าชะง่อนผา คือรวมเอาพื้นที่หุบเขาพลาญอินทรีย์ เนินที่ตั้งของสถูปคู่และธงชาติไทย เข้าไว้ด้วย ทั้งนี้ ไม่นับรวมว่าอาจมีการตีความกินพื้นที่ผามออีแดงที่มีรูปสลักนูนต่ำและอื่นๆ เข้าไปด้วย
นอกจากนี้ แม้ศาลโลกจะพยายามบอกว่าไม่ได้ตีความเรื่องเขตแดน แต่การให้ใช้เส้นในแผนที่ภาคผนวก 1 (มาตราส่วน 1 ต่อ 200,000) กำหนดขอบเขตล่วงเลยไปไกลกว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะบอกว่าศาลโลกให้ใช้เส้นนี้แบ่งเขตระหว่างไทย-กัมพูชา
คำตัดสินคดีพระวิหาร “เล็ก แคบ จำกัด” แค่ไหน
(โดย เว็บไซต์ “ฟิฟทีนมูฟ”)
จากคำตัดสินของศาลโลกเมื่อวันที่ ๑๑ พฤศจิกายน ๒๕๕๖ ในคดีที่กัมพูชาขอให้ตีความคำตัดสินเมื่อวันที่ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๕๖ ศาลโลกได้มีมติเป็นเอกฉันท์ รวมผู้พิพากษาสมทบ (Judge ad hoc) ชาวฝรั่งเศสที่ไทยแต่งตั้งด้วย มีสาระคัญ ๒ เรื่อง คือ ส่วนแรกศาลคิดว่าศาลมีอำนาจในการตีความ และส่วนที่สอง ตีความว่า คำตัดสินเมื่อ ๑๕ มิถุนายน ๒๕๐๕ ได้ตัดสินว่ากัมพูชามีอธิปไตยเหนือพื้นที่ทั้งหมดของชะง่อนผาหรือยอดเขา (promontory) พระวิหาร ดังกำหนดไว้ในวรรค ๙๘ ของคำตัดสินปัจจุบัน
คำตัดสินที่ “เป็นคุณแก่ไทย” ตามที่นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ณ กรุงเฮก ประเทศเนเธอร์แลนด์ ในฐานะหัวหน้าทีมกฎหมายต่อสู้คดีปราสาทพระวิหาร ระบุว่า “เล็ก แคบ จำกัด” นั้นกินพื้นที่แค่ไหน จำเป็นต้องไปดูการบรรยายขอบเขตที่วรรค ๙๘ ซึ่งระบุไว้ดังนี้
98. From the reasoning in the 1962 Judgment, seen in the light of the pleadings in the original proceedings, it appears that the limits of the promontory of Preah Vihear, to the south of the Annex I map line, consist of natural features. To the east, south and south-west, the promontory drops in a steep escarpment to the Cambodian plain. The Parties were in agreement in 1962 that this escarpment, and the land at its foot, were under Cambodian sovereignty in any event. To the west and north-west, the land drops in a slope, less steep than the escarpment but nonetheless pronounced, into the valley which separates Preah Vihear from the neighbouring hill of Phnom Trap, a valley which itself drops away in the south to the Cambodian plain (see paragraph 89 above). For the reasons already given (see paragraphs 92-97 above), the Court considers that Phnom Trap lay outside the disputed area and the 1962 Judgment did not address the question whether it was located in Thai or Cambodian territory. Accordingly, the Court considers that the promontory of Preah Vihear ends at the foot of the hill of Phnom Trap, that is to say: where the ground begins to rise from the valley.
In the north, the limit of the promontory is the Annex I map line, from a point to the north-east of the Temple where that line abuts the escarpment to a point in the north-west where the ground begins to rise from the valley, at the foot of the hill of Phnom Trap.
The Court considers that the second operative paragraph of the 1962 Judgment required Thailand to withdraw from the whole territory of the promontory, thus defined, to Thai territory any Thai personnel stationed on that promontory.
การบรรยายขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหารตามวรรค ๙๘ แจกแจงได้ดังนี้
(๑) ทิศตะวันออก ทิศใต้ และทิศตะวันตกเฉียงใต้ ชะง่อนผาชันดิ่งจากขอบผาลงไปยังตีนเขาและพื้นราบของกัมพูชา (ซึ่งขอบผาที่ว่าก็คือเส้นสันปันน้ำที่เป็นเส้นเขตแดนอย่างที่ควรจะเป็น)
(๒) ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ พื้นดินลาดต่ำแต่ไม่สูงชันลงไปยังหุบเขา (พลาญอินทรีย์) ที่แยกพระวิหารออกจากภูมะเขือ (Phnom Trap) ซึ่งเป็นเนินเขาใกล้เคียง หุบเขาที่ว่าลาดต่ำไปทางทิศใต้ลงไปยังพื้นราบของกัมพูชา ขอบเขตตามทิศนี้ศาลโลกชี้ว่าชะง่อนผาพระวิหารสิ้นสุดที่ตีนเขาของภูมะเขือ และเจาะจงว่าคือแนวที่พื้นดินเริ่มยกตัวสูงขึ้นจากหุบเขา (ฝั่งภูมะเขือ)
(๓) ทิศเหนือ ขอบเขตของชะง่อนผาคือเส้นในแผนที่ภาคผนวกหนึ่ง (Annex I map line) โดยบรรยายว่าเริ่มต้นจากจุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวปราสาทคือจุดที่เส้นจรดกับที่ลาดชัน/หน้าผา (escarpment) ไล่แนวไปยังจุดในทิศตะวันตกเฉียงเหนือที่พื้นดินเริ่มยกตัวจากหุบเขา (พลาญอินทรีย์) ที่ตีนเขาภูมะเขือ
คำบรรยายขอบเขตชะง่อนผาหรือยอดเขาพระวิหาร ศาลโลกได้ใช้แผนที่ภาคผนวก ๑ และเส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ เป็นเส้นแบ่ง ส่วนที่เหลือใช้ลักษณะทางภูมิศาสตร์และระดับสูงต่ำของพื้นที่ ประเด็นที่ต้องพิจารณาหลักคือ เส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ อยู่ตรงไหนของภูมิศาสตร์จริงหรือในแผนที่ปัจจุบัน เป็นที่ทราบว่าแผนที่ดังกล่าวคือแผนที่ต่อท้ายคำฟ้องคดีปราสาทพระวิหารเมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๒ มาตราส่วน ๑ ต่อ ๒๐๐,๐๐๐ ระวางดงรัก จัดทำขึ้นตั้งแต่ประมาณ พ.ศ.๒๔๕๐ (ค.ศ. ๑๙๐๗) ที่มีความคลาดเคลื่อนทางภูมิศาสตร์อย่างมาก และไม่สามารถมาวางทาบในแผนที่ปัจจุบันได้ การกำหนดพิกัดให้ใกล้เคียงเป็นเรื่องยาก ภายหลังกัมพูชาได้มีการนำแผนที่ภาคผนวก ๑ มาขยาย เช่น Map sheet 3 attached to annex 49 (มาตราส่วน ๑ ต่อ ๕๐,๐๐๐) หรือในรูปแบบอื่นที่อ้างว่าเป็นส่วนขยายของแผนนี้ เช่น ที่ยื่นต่อคณะกรรมการมรดกโลกและเอกสารตอบโต้คำชี้แจงของฝ่ายไทยที่ส่งไปยังศาลโลก เป็นต้น ไทยก็ได้มีการจัดทำแผนที่ลักษณะคล้ายกัน คือ แผนที่เขาพระวิหาร มาตราส่วน ๑ ต่อ ๑๕,๐๐๐ (ปรากฎในเอกสารที่กัมพูชายื่นขอจดทะเบียนปราสาทพระวิหาร)
จากแผนที่ส่วนขยายของแผนที่ภาคผนวก ๑ เท่าที่รวบรวบได้ พอที่จะกำหนด “เส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑” ที่มีความเป็นไปได้ และขอบเขตของพื้นที่ “เล็ก แคบ จำกัด” ของชะง่อนผาหรือยอดเขาพระวิหาร ได้ดังนี้
| ||||
| ||||
(๑) ศาลโลกให้นับรวมหุบเขาซึ่งคือส่วนที่เป็นพลาญอินทรีย์ เข้าเป็นส่วนเดียวกับชะง่อนผาเขาพระวิหาร (ดูคำอธิบายที่ส่วนแจกแจง ทิศตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือ) บริเวณนี้เป็นจุดสำคัญทางยุทธศาสตร์ที่มีการปะทะเกิดขึ้นหลายครั้ง (๒) จุดทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ (บริเวณผามออีแดง) ที่อธิบายจุดเริ่มของเส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ มีความเป็นไปได้ ๒ แนวทาง คือ จุดแดงที่อยู่เหนือศูนย์วัฒนธรรมขึ้นไปซึ่งเป็นบริเวณจุดบรรจบที่พบในแผนที่ต่างๆ กับ จุดสีเหลืองอยู่บริเวณขอบผาของศาลาจุดชมวิว ซึ่งสอดคล้องกับการบรรยายของศาลโลก จากการคำนวณเบื้องต้นขอบเขตของชะง่อนผาพระวิหารมีพื้นที่ใกล้เคียง ๑/๒ ของพื้นที่ ๔.๖ ตร.กม.ที่เขมรรุกล้ำเข้ามา นอกจากนี้มีความชัดเจนว่าการบรรยายขอบเขตกินความไกลเกินกว่าคำว่าชะง่อนผา คือรวมเอา (๑) พื้นที่หุบเขาพลาญอินทรีย์ (๒) เนินที่ตั้งของสถูปคู่และธงชาติไทย เข้าไว้ด้วย ทั้งนี้ ไม่นับรวมว่าอาจมีการตีความกินพื้นที่ผามออีแดงที่มีรูปสลักนูนต่ำและอื่นๆ เข้าไปด้วย หากจะจำกัดพื้นที่ของชะง่อนผาให้ตรงตามภูมิศาสตร์จริง เส้นแบ่งสำคัญทางทิศเหนือควรเป็นห้วยตานี และใช้ห้วยนี้เป็นแนวเริ่มจากทิศตะวันออกเฉียงเหนือไปยังทิศตะวันตกเฉียงเหนือสิ้นสุดที่หุบซึ่งอยู่ใต้สมบกคะมุม (ทิศเหนือของวัดแก้วฯ) แม้ศาลโลกจะพยายามบอกว่าไม่ได้ตีความเขตแดน แต่การใช้เส้นในแผนที่ภาคผนวก ๑ กำหนดขอบเขตล่วงเลยไปไกลกว่าสภาพทางภูมิศาสตร์ หลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะเอ่ยว่าศาลโลกให้ใช้เส้นนี้แบ่งเขตระหว่างไทย-กัมพูชา คือการชี้เขตแดนโดยนัย ส่วนที่ศาลขอให้ทั้งสองประเทศร่วมกันดูแลมรดกโลกนั้น เห็นว่าศาลโลกทะลึ่งพูดเลยเถิดไปไกลเกินกว่าคำขอของกัมพูชาและเกินขอบเขตหน้าที่ของตัวเอง |
วันจันทร์ที่ 11 พฤศจิกายน พ.ศ. 2556
“ปานเทพ” ยันคำตัดสินศาลโลกไทยเสียดินแดนมากกว่าเดิม หวั่นกัมพูชาชอบธรรมรุกล้ำ
ตัดสินคดีพระวิหาร ไทยไม่เสียดินแดน 4.6 ตร.กม.-ไทยรัฐ
ตัดสินคดีพระวิหาร ไทยไม่เสียดินแดน4.6ตร.กม.
98. From the reasoning in the 1962
Judgment, seen in the light of the pleadings in the original proceedings, it
appears that the limits of the promontory of Preah Vihear, to the south of the
Annex I map line, consist of natural features. To the east, south and south-west,
the promontory drops in a steep escarpment to the Cambodian plain. The Parties
were in agreement in 1962 that this escarpment, and the land at its foot, were
under Cambodian sovereignty in any event. To the west and north-west, the land
drops in a slope, less steep than the escarpment but nonetheless pronounced,
into the valley which separates Preah Vihear from the neighbouring hill of Phnom
Trap, a valley which itself drops away in the south to the Cambodian plain (see
paragraph 89 above). For the reasons already given (see paragraphs 92-97
above), the Court considers that Phnom Trap lay outside the disputed area and
the 1962 Judgment did not address the question whether it was located in Thai
or Cambodian territory. Accordingly, the Court considers that the promontory of
Preah Vihear ends at the foot of the hill of Phnom Trap, that is to say:
where the ground begins to rise from
the valley. In the north, the limit of the promontory is the Annex I map line,
from a point to the north-east of the Temple where that line abuts the
escarpment to a point in the north-west where the ground begins to rise from
the valley, at the foot of the hill of Phnom Trap.
The Court considers that the second
operative paragraph of the 1962 Judgment required Thailand to withdraw from the
whole territory of the promontory, thus defined, to Thai territory any Thai
personnel stationed on that promontory
104. In these circumstances, the Court
does not consider it necessary further to address the
question whether the 1962 Judgment
determined with binding force the boundary line between Cambodia and Thailand. In a dispute concerned
only with sovereignty over the promontory of Preah Vihear, the Court concluded
that that promontory, extending in the north to the Annex I map line but not
beyond it, was under Cambodian sovereignty. That was the issue which was in
dispute in 1962 and which the Court considers to be at the heart of the present
dispute over interpretation of the 1962 Judgment.
"วีรชัย พลาศรัย"
สรุปคำพิพากษาศาลโลก เบื้องต้น ศาลไม่ได้ตัดสิน พื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. ภูมะเขือเป็นของกัมพูชา แนะทั้ง 2 ฝ่าย
หารือ พื้นที่พิพากษาโดยมียูเนสโกเป็นตัวประสาน ในฐานะเป็นมรดกโลกร่วมกัน
วันที่ 11 พ.ย.
ที่ศาลโลก กรุงเฮก เนเธอร์แลนด์ นายวีรชัย พลาศรัย เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงเฮก
ประเทศเนเธอร์แลนด์ แถลงข่าวครั้งแรกหลังรับทราบคำพิพากษา คดีปราสาทพระวิหาร
ระหว่างไทย-กัมพูชา ของศาลโลก ว่า เบื้องต้นศาลโลกไม่ได้ตัดสินให้กัมพูชา
ได้รับพื้นที่ทับซ้อน 4.6 ตร.กม. พื้นที่
"ภูมะเขือ" ศาลไม่ได้ตัดสินเรื่องเขตแดนหรือ ให้ใช้มาตราส่วน 1 ต่อ 2 แสน และประเด็นสุดท้าย ศาล ยังแนะนำให้ทั้ง 2 ฝ่ายร่วมมือกัน ในฐานะเป็นมรดกโลก โดยมียูเนสโก ร่วมหารือ
สำหรับคำพิพากษาบางส่วน
ที่ศาลได้อ่านระหว่างขึ้นบัลลังก์ พิจารณาคดี ปราสาทพระวิหารตั้งอยู่บนหน้าผา
บนทือกเขาดงรัก เป็นพรมแดนระหว่างไทยและกัมพูชา เมื่อเดือน ก.พ. ปี2504 กัมพูชาได้ อ้าง เส้นสันปันน้ำ ตามสนธิสัญญาไทย-ฝรั่งเศส
ตามเขตแดนที่กรรมการทั้งสองฝ่ายกำหนด และได้มีการออกแผนที่ 17 ระวางครอบคลุมชายแดน ไทย-กัมพูชา โดยคณะกรรมการปักปันเขตแดนระหว่างอินโดจีนและสยาม
ในขณะนั้น
จากแผนที่นั้น ทำให้ปราสาทพระวิหาร
ตกเป็นของกัมพูชา แต่คณะกรรมการก็ยุติหน้าที่ไปก่อนที่จะมีการทำแผนที่ฉบับสมบูรณ์
จากแผนที่นั้น เส้นในแผนที่ภาคผนวก 1
ก็กลายเป็นพรมแดนระหว่างสองประเทศ แต่ไทยบอกว่า ไม่ยอมรับแผนที่นั้น
และนำมาสู่ข้ออ้างว่า ปราสาทพระวิหาร อยู่ในฝ่ายไทย
ศาลเห็นว่า บทปฏิบัติการ กล่าวว่า
ปราสาทพระวิหาร อยู่ในดินแดนอธิปไตยของกัมพูชา ไทยมีพันธะในการถอนทหารออกมา
หลังจากที่มีคำพิพากษา ปี 2505
ไทยก็ถอนทหารออกจากปราสาทพระวิหาร และมีการทำรั้วลวดหนามล้อมรอบปราสาทพระวิหาร
หลังจากนั้นจนถึงวันนี้ กัมพูชาก็ได้ยื่นตีความ โดยธรรมนูญศาลโลก มาตรา 60 ศาลฯ สามารถรับคำร้องในการตีความได้ ถ้ามีข้อพิพาทในคำพิพากษาจริง
โดยสิ่งที่เกิดขึ้นตั้งแต่คำพิพากษา ไทยมองว่า
ไทยออกจากปราสาทพระวิหารแล้ว และไทยได้กำหนดแต่ฝ่ายเดียวว่า เขตของปราสาทพระวิหาร
ตามมติ ครม. 2505 ซึ่งทางกัมพูชา
ไม่ยอมรับการถอนกำลังของไทย กัมพูชาแย้งว่า
รั้วลวดหนามได้รุกล้ำเข้ามาในดินแดนกัมพูชา ถือเป็นมุมมองที่แตกต่างกัน
ความเห็นที่แตกต่างเกิดขึ้นอีกครั้ง
เมื่อกัมพูชา พยายามยื่นขอขึ้นทะเบียนปราสาทพระวิหารเป็นมรดกโลก แปลว่า
ทั้งสองฝ่าย มีข้อพิพาทในคำพิพากษาจริงศาลเห็นว่า ทั้งสองฝ่ายมีความเห็นขัดแย้งกัน
และเส้นตามแผนที่ 1:200,000
ก็มีมุมมองที่ต่างกันว่า จะเป็นเขตแดน หรือไม่ และศาลก็เห็นว่า
ทั้งสองฝ่ายก็มีมุมมองที่แตกต่างกันจริงในมุมมองของปราสาทและดินแดนของกัมพูชาตามบทปฏิบัติการข้อสองในคำพิพากษา
2505
ศาลเข้าใจว่า ปราสาทอยู่ในดินแดนของกัมพูชา
นอกจากนั้น ศาลยังดูถึงเรื่องการถอนทหารของไทย จากตัวปราสาท และบริเวณใกล้เคียง
รวมถึงกรณีการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกและการปะทะกัน แสดงว่า
มีความเข้าใจที่ต่างกันจริงว่า ไทยต้องถอนทหารไปที่ใด
ซึ่งยืนยันด้วยการให้การเป็นลายลักษณ์อักษร และการให้การโดยวาจาของทั้งคู่
ศาลเห็นว่า มีข้อพิพาท 3 ข้อ
1) คำพิพากษาปี 2505
ถือว่า เส้นเขตแดน ตามแผนที่ 1:200000
เป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ หรือไม่
2) บริเวณของกัมพูชา ตามบทปฏิบัติการที่ 2 อยู่ที่ใด ซึ่งเป็นผลที่ต่อเนื่องจากข้อบทปฏิบัติการที่ 1
3) พันธกรณีของไทยที่ต้องถอนทหารตามข้อบทปฏิบัติการที่สอง
ต้องถอนไปที่ใด
จากทั้ง 3 ข้อ
ศาลจึงเห็นว่า ต้องรับตีความคำพิพากษาของบทปฏิบัติการที่ 2
และผลทางกฎหมายของภาคผนวกที่ 1 ดังนั้นศาลโลก
รับตีความคำพิพากษาตามคำร้องของกัมพูชา
ต่อมา ศาลจะอ่านข้อปฏิบัติการ
และจะอยู่ในข้อพิพากษาเดิมอย่างเคร่งครัด จะไม่หยิบยก
เรื่องที่ไม่ได้พิพากษาเอาไว้เมื่อปี 2505
มาพิจารณา อาจพิจารณาเหตุผลเพื่ออธิบายการตีความข้อปฏิบัติการได้ตามเหตุผลของ
การพิพากษาในปี 2505
เพราะจะแสดงให้เห็นพยานหลักฐานในช่วงนั้น
ไทยตีความสู้ว่า
ศาลโลกห้ามตีความเกินกว่าคำพิพากษาในปี 2505
ซึ่งถือเป็นบรรทัดฐานอยู่แล้ว ซึ่งศาลจะไม่สามารถตีความขัดแย้งกับคำพิพากษาในปี 2505 ได้ ตามธรรมนูญศาลโลกมาตรา 60
ศาลไม่สามารถนำบทสรุปมาตีความได้ เพราะไม่ถือว่า เป็นส่วนหนึ่งของคำพิพากษา
ศาลไม่ถือว่าบทสรุปของคำพิพากษาในปี 2505
ว่าสามารถนำมาตีความได้
โดยเมื่อปี 2551
ไทยอ้างว่า การปะทะกันเกิดจากคำพิพากษา ซึ่งคำพิพากษาไม่ใช่สนธิสัญญา
คำพิพากษามีผลผูกพันตามธรรมนูญศาล อยู่ที่ว่าศาลพิพากษาอะไร
ไม่ใช่ความเข้าใจของคู่ความที่เข้าใจกันเอง
ตรงนี้มีลักษณะ 3 ประการของคำพิพากษาในปี 2505 คือ
1) ศาลพิจารณาว่า
นี่คือข้อพิพาทของอำนาจอธิปไตยของที่ตั้งปราสาท ศาลฯไม่ได้ทำหน้าที่ปักปันเขตแดน
เมื่อกลับไปดูคำพิพากษา 2505
ประเด็นนี้เป็นเรื่องของเขตอธิปไตยมากกว่าเขตแดน
แต่ศาลจะรับพิจารณาเฉพาะในส่วนของเหตุผล โดยไม่จำเป็นที่จะต้องกล่าวถึงแผนที่ 1:200000 ไม่มีการแนบแผนที่ไปกับคำพิพากษา ดังนั้นศาลไม่ต้องตีความตรงนี้
2) แผนที่ 1:200,000
เป็นเหตุผลหลักในการพิพากษา ประเด็นหลักคือ คู่ความได้รับรองแผนที่ 1:200,000 และเส้นแบ่งเขตแดนแล้ว หรือไม่
ศาลได้ดูพฤติการณ์แล้วเห็นว่า ไทยยอมรับทางอ้อมในแผนที่
1:200000 และเส้นแบ่งเขตแดนบนแผนที่นั้นไปแล้ว เพราะไทยได้ยอมรับว่า แผนที่นี้ คือ
แผนที่ที่เกิดจากคณะกรรมการเขตแดน และยอมรับเขตแดนตามแผนที่ 1:200000 ไปแล้ว
3) กัมพูชากล่าวว่า
ขอบเขตของพื้นที่พิพาทนั้น มีขนาดเล็กมาก ซึ่งในทันทีหลังจากศาลได้พิพากษา
ศาลได้อธิบายบริเวณนั้นว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ด้านตะวันออกของเทือกเขาดงรัก
ซึ่งถือเป็นเขตแดนของทั้งสองประเทศ ในขณะที่แผนที่ 1:200000
กลับวางเขตแดนยาวหลายร้อยกิโลเมตร ดังนั้น
ศาลจะพิจารณาเฉพาะพื้นที่พิพาทเท่านั้นเมื่อศาลไปดูบทปฏิบัติการทั้ง 3 นั้น ศาลเห็นว่า บทปฏิบัติการทั้ง 3
เป็นบทปฏิบัติการเดียวกัน ไม่ถือว่าแยกจากกัน
บทปฏิบัติการข้อ 1 นั้นชัดเจนว่า ปราสาทพระวิหารอยู่ภายใต้อธิปไตยของกัมพูชา
แต่ศาลก็เห็นว่า เมื่อพิจารณาบทปฏิบัติการที่ 2-3 นั้น
เห็นว่า บทปฏิบัติการที่ 2
ไม่ได้พูดถึงดินแดนของกัมพูชาที่ไทยจะต้องถอน รวมถึงบริเวณใกล้เคียง
รวมถึงไม่ได้กำหนดว่า จะต้องถอนเจ้าหน้าที่ใดเนื่องจากบทปฏิบัติการที่ 2 บอกว่า ไทยจะต้องถอนทหารและผู้ดูแลจากปราสาทพระวิหารและพื้นที่ใกล้เคียง
โดยไทยมีผู้เฝ้ายามอยู่ 1 คน บ้านพัก และแคมป์ขนาดเล็กเท่านั้น ซึ่งไทยบอกว่า สถานีตำรวจอยู่ทางใต้
แผนที่ 1:200000 แต่อยู่เหนือสันปันน้ำกัมพูชาต่อสู้ในปี 2505 ว่า ต้องใช้เส้นสันปันน้ำในการปักปันเขตแดน อย่างไรก็ตาม
ศาลไม่เห็นว่าต้องพิจารณาเส้นสันปันน้ำบริเวณนั้น
แต่สันปันน้ำ มีความสำคัญ
เพราะไทยต่อสู้ว่าเส้นสันปันน้ำนั้นใกล้เคียงกับเส้นสันปันน้ำของกัมพูชา
ดังนั้นสถานีตำรวจนั้นจึงอยู่เหนือเส้นสันปันน้ำเมื่อไทยดำเนินการถอนทหารนั้น
ไม่มีหลักฐานว่ามีเจ้าหน้าที่ไทยอื่นอีกแล้วในบริเวณนั้น ดังนั้น
บริเวณใกล้เคียงของปราสาทพระวิหารจึงควรนับไปถึงสถานีตำรวจของไทยที่ถอนไปนั้น
และไม่ถือว่า เส้นตามมติครม. 2505 เป็นเส้นเขตแดน
เมื่อพิจารณาภูมิศาสตร์ หน้าผาสูงซึ่งกัมพูชา
สามารถขึ้นสู่ปราสาทได้ ดังนั้น ศาลเห็นว่าเขตแดนกัมพูชาในทางเหนือนั้น
ไม่เกินเส้นแบ่งของแผนที่ 1:200000
และสถานีตำรวจนั้นก็อยู่ไม่ไกลไปทางทิศใต้ของเส้นนั้น ศาลพิจารณาเห็นว่า
พื้นที่ตามบทปฏิบัติการที่ 2 ต้องขยายครอบคลุมหน้าผา
แทนที่จะเป็นมติครม. 2505
แต่ศาลไม่สามารถรับคำจำกัดความของกัมพูชาที่ขยายเขตแดนไปไกลจนถึงภูมะเขือ
หรือไกลกว่านั้น ซึ่งไม่ถูกต้อง ในปี 2505
กัมพูชาไม่ได้ถือว่า ภูมะเขือและดงรัก อยู่ในพื้นที่ปราสาทพระวิหาร ดังนั้น
จึงไม่ถือว่า ภูมะเขือ คือ ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร
ไม่มีข้อเชื่อมโยงของทั้งสองสถานที่กับการถอนทหารของไทยและอธิปไตยของกัมพูชา
เมื่อพิจารณาบริเวณปราสาทพระวิหารด้านใต้
และตะวันตกเฉียงใต้นั้น ดังนั้นศาลจึงพิจารณาว่า ภูมะเขืออยู่นอกข้อพิพาท
และคำพิพากษาปี 2505 ก็ไม่ได้บอกว่าภูมะเขือ
อยู่ในเขตแดนของใคร
คำพิพากษากำหนดว่า การถอนทหารของไทย
จะกำหนดพื้นที่ที่ชัดเจนในการถอนทหาร อย่างไรก็ตาม
ศาลไม่สามารถตีความคำพิพากษานั้น ได้เพราะไม่เกี่ยวข้อง
คำพิพากษา 1
ศาลโลกรับตีความคำพิพากษาตามคำร้องของกัมพูชา คำพิพากษา 2: ภูมะเขือและหน้าผาอยู่นอกบริเวณปราสาทพระวิหาร
3) ศาลไม่เห็นว่า จะต้องตอบคำถามว่า
จะต้องพิจารณาเส้นเขตแดนระหว่างไทยและกัมพูชา หรือไม่ ในการให้การ
ไทยได้ยอมรับที่จะเคารพอธิปไตยของกัมพูชา ศาลเห็นว่าทั้งสองฝ่ายจะต้องเจรจากันเอง
โดยมียูเนสโกเป็นตัวกลาง ด้วยมติเอกฉันท์ การขอตีความนั้น ศาลสามารถตีความได้
ด้วยมติเอกฉันท์ คำพิพากษาในปี 2505 กัมพูชามีอธิปไตยในดินแดนของปราสาทพระวิหาร
และไทยต้องถอนทหารออกจากเขตดังกล่าว
จบการพิจารณาคดี สรุป ศาลรับตีความ
ปราสาทพระวิหารอยู่ในอธิปไตยของกัมพูชา
และไทยต้องถอนทหารออกจากปราสาทและบริเวณใกล้เคียง แต่ภูมะเขือ
และผาใกล้เคียงไม่ใช่ส่วนหนึ่งของปราสาทพระวิหาร การจะถอนทหารออกไปตรงที่ใด
ให้ทั้งสองประเทศกำหนดเอง เพื่อรักษามรดกโลกโดยมียูเนสโกร่วมหารือ
อ่านคำพิพากษาฉบับเต็มได้ที่ http://www.icj-cij.org/docket/files/151/17704.pdf
ไทยรัฐออนไลน์
โดย ไทยรัฐออนไลน์
11 พฤศจิกายน 2556, 18:32 น.
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)