วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555

รวมรูป พระมหาชนก

จากที่ได้พยายามหารูป เกี่ยวกับพระมหาชนก ในอินเตอร์ไม่มีเวบไซด์ที่ทำรูปไว้ ที่สามารถ ดูรายละเอียดได้เลย จึงได้จัดทำลงไว้ เพื่อประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจ (กดที่รูปเพื่อเข้าสู่โหมด สไลด์โชว์)
















































ความอิสระของศาลยุติธรรม



ความอิสระของศาลยุติธรรม
โดย สราวุธ เบญจกุล / รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทั้งนี้ศาลยุติธรรมจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 คือต้องเป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
    
       อย่างไรก็ดี การจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยยุติธรรมได้นั้น ผู้พิพากษาต้องมีอิสระเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม และต้องไม่ถูกแทรกแซงการใช้อำนาจจากบุคคลหรือองค์กรใด ซึ่งหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษานั้นมีการรับรองไว้ทั้งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
    
       ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการดุลและคานกัน ทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถมีอำนาจในการให้คุณให้โทษฝ่ายตุลาการได้ ในการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาจะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
    
       นอกจากนี้ผู้พิพากษาต้องมีความเป็นกลาง และสามารถใช้ดุลพินิจในการมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายและพยาน หลักฐานที่เกี่ยวข้อง จากการรับรองหลักความเป็นอิสระของตุลาการ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างเต็มที่นี้เอง จึงเป็นหลักการสากลที่ว่าผู้พิพากษาได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ (Judicial Immunity)
    
       หลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการเป็นแนวคิดอันมีที่มาจากประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดของประเทศอังกฤษ ที่ว่า “the King can do no wrong” ซึ่งมีหลักการในการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มครองแก่พระมหากษัตริย์และ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เช่นตุลาการ เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางการเมืองและตามกฎหมายใด ๆ ไม่ว่าจะในฐานะส่วนพระองค์หรือ ในฐานะประมุขของรัฐและไม่อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
    
       จากแนวคิดดังกล่าวนี้เอง ต่อมาจึงได้มีการพัฒนามาเป็นหลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ เพราะผู้พิพากษาถือเป็นบุคคลที่ใช้อำนาจตุลาการภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มกันทางกฎหมายแก่ผู้พิพากษาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาพิพากษาคดี จากการถูกดำเนินคดีในการใช้อำนาจทางตุลาการซึ่งกระทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาคดีได้อย่างเป็นธรรม โดยไม่จำต้องกังวลถึงภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของตน ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำพิพากษา
    
       สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในคดี Randall v Brigham, 74 US (7 Wall.) 523 (1868) ได้เคยมีคำพิพากษาในกรณีผู้พิพากษามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตว่าความของทนายความ ทนายความผู้นั้นจึงฟ้องผู้พิพากษา ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าทนายความไม่สามารถฟ้องผู้พิพากษาได้ เพราะผู้พิพากษาไม่ต้องรับผิดหากเป็นการใช้อำนาจทางตุลาการ เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
    
       แม้ผู้พิพากษาจะได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การใช้อำนาจดังกล่าวจะไม่มีขอบเขตจำกัด หรือไม่สามารถตรวจสอบความชอบธรรมได้ ผู้พิพากษาจึงไม่อาจใช้อำนาจได้ตามความพอใจของตน การตรวจสอบการใช้อำนาจทางตุลาการของผู้พิพากษาสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การอุทธรณ์ ฎีกา อันเป็นวิธีการตรวจสอบดุลพินิจในการรับฟ้องพยานหลักฐานและการทำคำพิพากษาโดยให้คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจคำพิพากษา สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาต่อศาลสูงซึ่งได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ผู้มีหน้าที่กลั่นกรองคำพิพากษาของศาลล่างอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นสิทธิของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเป็นต้น
    
       นอกจากหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการตามลำดับชั้นศาลแล้ว ผู้พิพากษาอาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการได้หากผู้พิพากษาผู้นั้นได้กระทำความผิดวินัย แต่องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องทางวินัยของผู้พิพากษานั้นมีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 220 ว่าให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒซึ่งวุฒิสภาเลือกจากบุคคลที่ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2 คน
    
       ก.ต. จึงมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบผู้พิพากษาทางวินัย โดยการให้ความเห็นชอบในการเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม และการให้ความเห็นชอบดังกล่าวของ ก.ต. ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว
    
       การได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการนั้นมีขอบเขตจำกัด ผู้พิพากษา จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อได้กระทำภายในกรอบอำนาจหน้าที่ทางตุลาการของตนเท่านั้น เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นการกระทำนอกกรอบอำนาจหน้าที่ หรือเป็นการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่นการเรียกรับสินบน ผู้พิพากษาย่อมต้องรับผิดในการกระทำของตนโดยอาจถูกดำเนิน คดีอาญาได้
    
       ดังนั้น ความอิสระและเป็นกลางของศาลยุติธรรม เป็นหลักการสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ที่จะนำมาซึ่งความปลอดภัยและมั่นคงในสังคม ทั้งยังเป็นการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนที่ให้สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกด้วย
    
       สราวุธ เบญจกุล
       รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม

คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม




- สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม


รายชื่อ ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิ

รายชื่อ ก.ต.ผู้ทรงคุณวุฒิ 

 
รายชื่อคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรมผู้ทรงคุณวุฒิ
วาระการดำรงตำแหน่ง ตั้งแต่  22 มี.ค. 2553  - 21 มี.ค. 2555

ประธาน ก.ต.
นายไพโรจน์ วายุภาพ
ปธ.ฏีกา

ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลฎีกา
๑. นายธานิศ เกศวพิทักษ์
รองประธานศาลฎีกา
๒. นายมานัส เหลืองประเสริฐ
รองประธานศาลฎีกา
๓. นายประทีป เฉลิมภัทรกุล
รองประธานศาลฎีกา
๔. นายดิเรก  อิงคนินันท์
รองประธานศาลฎีกา
๕. นายวีระพล  ตั้งสุวรรณ
หน.ฎีกา

ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลชั้นอุทธรณ์
๑. นายชีพ  จุลมนต์ปธ.อุทธรณ์ภาค ๓
๒. นายบุญชู ทัศนประพันธ์ปธ.แผนกคดีสิ่งแวดล้อม ฯ อุทธรณ์ภาค 3
๓. นายโชติวัฒน์ เหลืองประเสริฐหน.อุทธรณ์
๔. นายวิบูลย์ แสงชมภูหน.อุทธรณ์

..ผู้ทรงคุณวุฒิในชั้นศาลชั้นต้น
๑. นายนิรัตน์  จันทพัฒน์อธภ. ๘
๒. นายจุมพล  ชูวงษ์รอง อธ.อาญา

ก.ต. ผู้ทรงคุณวุฒิจากวุฒิสภา
1. นายสามขวัญ  พนมขวัญ 
2.  นายนเรศ  จิตสุจริตวงศ์ 

เลขานุการ ก.ต.
นายวิรัช ชินวินิจกุล      
เลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม