เอามาไว้ตรงนี้ อีกที่ กันคนไทยหลงลืม ...
กระชากหน้ากากใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์...? ที่นี่ที่เดียว
ขณะที่ฝ่าย ค้านเปิดคลิปวิดีโอเพื่อหวังจะ “ขึงพืด”
ประกอบการอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาลในสภาต่อเนื่องเป็นวันที่ 2
ซึ่งประเด็นที่ทำให้สังคมไทยต้องกลับมาถกเถียงเรื่องคลิปที่ว่าด้วยความ
กังขาอย่างหนักก็คือ 2 เรื่องหลัก 1.ใครยิง 6 ศพ ในวัดปทุมฯ กับ
2.ใครเผาเซ็นทรัลเวิลด์
ทีม ข่าวไทยรัฐ ออนไลน์ เปิดปฏิบัติการวีรบุรุษสีกากีกลุ่มหนึ่ง
อย่าเรียกว่าปิดทองหลังพระ แต่เป็นการทำด้วยจิตวิญญาณ
ของความเป็นตำรวจไทยน้ำดีผู้พิทักษ์สินติราษฎร์ของแท้
ไม่ใช่ของเทียมอย่างที่เห็นชอบโชว์เอาหน้าออกโทรทัศน์ กันอยู่เป็นประจำ
ช่วงมีเหตุการณ์รุนแรงก็กบดาน พอสถานการณ์สงบก็ออกทีวีลอยหน้าลอยตา
มี มืด ก็มีสว่าง มีรวย ก็มีจน มีตำรวจเลว ก็มีตำรวจดี เมื่อพูดถึงตำรวจ
เหตุการณ์ความวุ่นวายทางการเมืองทำให้ตำรวจถูกหาว่าเกียร์ว่าง
บางคนก็ว่าไม่ใช่เกียร์ว่าง
แต่เข้าเกียร์ถอยหลังต่างหากแถมเป็นตำรวจมะเขือเทศ แต่อย่างที่ว่า
เมื่อมีมืด ก็ย่อมต้องมีสว่าง มีตำรวจเลวก็ต้องมีตำรวจดี
นี่คือเหตุการณ์จริงๆ ก่อนและหลังห้างเซ็นทรัลเวิลด์ถูกเผาที่ “นักการเมือง” ไม่กล้าเล่าในสภา…!
ภารกิจลับที่ 1 ความจริงวันนี้... เปิดโฉมหน้าคนเผา ช่วยตัวประกันเซ็นทรัลเวิลด์
ก่อน ศึกการอภิปรายเพื่อลงมติไม่ไว้วางใจรัฐบาลจะเริ่มขึ้นไม่กี่
วันเรามีโอกาสได้พูดคุยกับ พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ
รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6 เจ้าของพื้นที่ สน.ปทุมวัน และ พล.ต.ต.วิทยา
รัตนวิชช์ ผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6
เล่าเบื้องหลังการลุยไปช่วยตัวห้างเซ็นทรัลเวิลด์เมื่อวันที่ 19 พ.ค. 53
ให้ฟังว่า
ภารกิจลับนี้เริ่มขึ้นเมื่อเวลา 14.00 น.หลัง
จากที่ได้รับแจ้งจากที่พนักงานของห้างเซ็นทรัลเวิลด์ตกอยู่ในอันตราย
โทรมาขอความช่วยเหลือ เพราะพวกเขาไม่สามารถหลบหนีลงมาที่ด้านนอกห้างได้
เนื่องจากมีผู้ที่ไม่หวังดีบางกลุ่มที่อยู่บริเวณชั้นหนึ่ง
ซึ่งมีท่าว่าจะเข้ามาปล้น เผาห้าง ยิง-โยนระเบิดสกัดไม่ให้หลบหนี
ซึ่งแรงระเบิดทำให้ทีม รปภ.ที่เข้าไปขัดขวางทำให้บาดเจ็บหลายคน
หลังจากได้รับ แจ้งแล้ว พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ
ซึ่งทำหน้าที่คุ้มกันอยู่ที่วังสระปทุม ร่วมกับ พ.ต.ท.สุรกาญจณ์ นาคสิงห์
รอง ผกก (จร.) สน.ยานนาวาจึงได้ตัดสินใจกับ พ.ต.ท.ธนันท์ธร รัตนสิทธิภาคย์
รอง ผกก.ปป.สน.พลับพลาไชย 1 แบ่งกำลังหนึ่งหมวด (ราว 40 นาย)
รุดไปที่เกิดเหตุเพื่อช่วยเหลือทันที
พอเขาเห็นพวกเรา ปรากฏว่าเขาใช้ระเบิดปิงปองและประทัดยักษ์สู้
เราก็ใช้ระยะเวลารุก ทั้งหมอบคลานเพื่อยิงปืนรุกเรื่อยๆ ชุลมุนอยู่นาน
หลังจากที่รุกหนักจนเขาถอยร่น
ที่สุดแล้วก็สามารถจับกุมผู้ก่อเหตุร้ายที่เตรียมจะเผาห้าง
ซึ่งหลบอยู่ตามชั้นในห้างเวิลด์เทรดมาได้ถึง 9 คน
กับของกลางเช่นสายกระสุนปืนกล
เครื่องประดับที่โจรกรรมภายในห้างมาอย่างมากมาย
เมื่อภารกิจบุกเข้า ไปเสร็จสิ้น พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ
ได้คุ้มกันพนักงานของห้างที่หลบอยู่ที่ลานจอดรถชั้น 3 รวมแล้วมากถึง 471 คน
ซึ่งของที่อยู่ในห้างนั้นก็โดนรื้อ-ทุบกระจุยกระจายตำรวจก็ยิงเปิดทางนำ
พนักงานที่ติดอยู่ในนั้นกลับออกมาจากเซ็นทรัลเวิลด์
หนีออกมาทางด้านหลังโรงแรมแล้วก็มาทะลุหลังพารากอนมาเรื่อยๆ จนออกมาสู่
ถนนพระราม 1
ท่ามกลางห่ากระสุนและความร้อนจากไฟที่กำลังโหมไหม้ห้างบริเวณราชประสงค์
ซึ่งตอนนั้นยังไม่มีรถดับเพลิงเข้ามาวิ่งวนอยู่รอบๆ ตัวด้วยความปลอดภัย
ภารกิจลับบทที่ 2 : ฝ่าห่ากระสุน ลุยดับไฟเพลิง...!
หลัง จากคืนอิสรภาพและความปลอดภัย ให้กับพนักงานเซ็นทรัลเวิลด์ ภารกิจของ
พ.ต.อ.ฤชากร จรเจวุฒิ รองผู้บังคับการตำรวจนครบาล 6
ผู้มีส่วนสำคัญในการปฏิบัติฝ่าห่ากระสุนที่บริเวณราชประสงค์เพื่อกรุยทางนำ
รถดับเพลิงเข้าไปดับไฟที่โหมแรงที่ห้างเซ็นทรัลเวิลด์ และ บิ๊กซี
ก็ต้องเริ่มต้นต่อ
“ขณะเรานำกำลังกลับไปประจำการที่เดิม
ตอนนั้นเราเริ่มได้ข่าวว่ามีการเผาเซ็นทรัลเวิลด์ที่ด้านล่าง โรงหนังสยาม
และที่ใกล้ๆ ละแวกนั้นหลายแห่ง
แต่รถดับเพลิงที่เข้าไปดับเพลิงบริเวณนั้นไม่สามารถเข้าไปได้
เนื่องจากพอเข้าไปก็โดนยิงสวนจากคนที่อยู่บริเวณนั้นกลับมาทันที
อีกทั้งยังมีกลุ่มฮาร์ดคอร์ที่อยู่ในวัดปทุมฯ มากมาย
ตำรวจก็ทำอะไรไม่ได้มาก คือนำกำลังออกไปแต่ต้องล่าถอยกลับ
เนื่องจากผู้ดูแลพื้นที่คือทหารยังไม่เคลียร์
ฉะนั้นเราไม่รู้ว่าจะมีผู้ก่อเหตุซุ่มยิงอยู่หรือไม่ การประสานงาน ณ
ขณะไฟไหม้นั้นก็สับสน ทำให้ไม่มีหน่วยงานไหนเป็นเจ้าภาพ”
พ.ต.อ.ฤชากร เล่าต่อว่า เหตุการณ์ตอนนั้นมันมั่วมากๆ (เน้นเสียง) รถดับเพลิงก็เข้าไปดับไฟไม่ได้เพราะว่า พนักงานดับเพลิงที่เข้าไปบริเวณนั้นโดนกลุ่มผู้ชุมนุมเอาปืนจ่อหัวไม่ให้ เข้าไป จึง
ตัดสินใจเข้าไปในพื้นที่ แต่ทหารบอกว่ายังเคลียร์พื้นที่ไม่ได้
แต่ก็ทนไม่ได้ที่จะเห็นไฟไหม้ต่อหน้าเช่นกัน
ที่สุดแล้วก็ต่อโทรศัพท์นานมากจนได้คุยโทรศัพท์กับท่านสุเทพ เทือกสุบรรณ
ท่านถามว่าต้องการอะไร ก็บอกว่ารถดับเพลิงและกำลังทหาร จากนั้น 1
ชั่วโมงรถดับเพลิงก็มา
“ผมก็เดินหน้านำกองร้อยนำรถดับเพลิงไปเลย ทั้งๆ ที่มืดแบบนั้น
ถามว่ากลัวไหมบอกได้เลยแบบไม่อายว่ากลัวเหมือนกัน รอบๆ ตัวผมได้ยินเสียงปืน
มีควันไฟเต็มไปหมด เดินทะลุประตูน้ำ เข้าแยกราชดำริ
แต่ละย่างก้าวที่พวกเราจะเดินไปมันลำบากมากๆ (เสียงสั่น)
นี่เล่าแล้วยังสั่นอยู่ ซึ่งความรู้สึกว่าระยะทางข้างหน้าใกล้ๆ
เท่านั้นแต่เรารู้สึกว่าไกลมากๆ (เน้นเสียง) มือหนึ่งถือปืน
อีกมือถือไฟฉายส่องนำทาง แต่สิ่งหนึ่งที่เชื่อที่ผ่านมา
ตำรวจไม่ได้เป็นศัตรูกับใคร ดังนั้นไม่น่าจะมีใครมาดักทำร้ายเรา
ที่สำคัญมีกำลัง 150 คนถ้าโดนยิงก็ไม่น่าจะตายฟรีแน่
ที่สำคัญบ้านเมืองและทรัพย์สินของประชาชนรออยู่ข้างหน้า
และทนไม่ได้จริงๆที่สถานที่ต่างๆจะไหม้ไปต่อหน้าต่อตาและประชาชนเดือดร้อน”
ที่ สุดแล้วแม้ภารกิจจะผ่านพ้นไปโดยไม่มีใครเสียชีวิต แต่สิ่งที่ พ.ต.อ.
ฤชากร จรเจวุฒิ เสียใจก็คือช่วยห้างบิ๊กซีไม่ทัน
เนื่องจากนักผจญเพลิงบอกว่าอาคารบิ๊กซีเหมือนเป็นเตาอบ
ไม่รู้ว่าจะฉีดน้ำไปด้านไหนก็เลยต้องถอย ตนอยู่ตรงนั้นจนถึงตี 4
ถึงจะสกัดแนวไฟได้แล้วถึงกลับมานอนเพราะว่า 8
โมงเช้าหลังจากนั้นประชุมเพื่อคลี่คลายปัญหาต่อ...!?!
“ถามว่าเสี่ยง
ชีวิตไปแล้วได้อะไรกลับคืนมาบ้างนอกจากถูกตีตราว่าเป็นตำรวจมะเขือเทศ จริงๆ
ผมขอแค่ให้ประเทศชาติและประชาชนไม่เป็นอะไร
และประเทศไทยสงบดังเดิมก็เพียงพอ” นักปิดทองหลังพระผู้พิทักษ์สันติ
ราษฎร์กล่าวทิ้งท้าย
มาฟังความจริงอีกฝ่ายจากปาก ของผู้บริหารของเซ็นทรัลเวิลด์อยู่ในเหตุการณ์
เผยความรู้สึกว่าก่อนหน้าจะเกิดการเผาได้มีการเตรียมถังดับเพลิง
และคนเฝ้าระวังประจำ FIRE MAN ตลอด 24 ชั่วโมง
แต่ที่สุดแล้วก็ต้องแพ้พ่ายต่อความบ้าคลั่งของผู้ชุมนุมบางคน
“พอได้ รับข่าวแกนนำมอบตัวก็ปรากฏว่ามีเอ็ม 79 ถึง 1 ลูก (ม็อบเทวดาไม่เคยมี เอ็ม-79 ลงไปเลย มีแต่คนอื่นโดน)ลงมาที่หน้าห้าง หลัง
จากนั้นผู้ชุมนุมก็กรูเข้ามาในห้างก็กรูเข้าไปทุบกระจกอย่างบ้าคลั่ง
บางคนก็ถือถังแก๊สดับเพลิงและถังน้ำมันอยู่
เริ่มทำการจุดไฟเผาห้างต่อหน้าต่อตา รปภ. และพนักงานหลายคนจะวิ่งเข้าไปดับ
แต่ปรากฏว่า โดนไล่ยิง จนต้องหนี และติดอยู่ในห้าง คิดว่าต้องตาย
จนกระทั่งตำรวจมาช่วยเหมือนกับตายแล้วเกิดใหม่จริงๆ” ผู้บริหารเล่า
เสียงสั่นเครือด้วยความกลัว
และนี่เป็นเรื่องราว เบื้องหน้าเบื้องหลัง
ภารกิจลับทั้งหมดของผู้พิทักษ์สันติราษฎร์ในวันที่ 19 พ.ค. 53 หรือ
“วันเผาเมือง” ที่นักการเมืองในสภาไม่เคยรู้
หรือถึงรู้ก็อาจจะไม่กล้าเล่า... เพราะการหยิกเล็บก็เจ็บเนื้อตัวเอง...!
ที่ มา - http://www.thairath....tent/life/86712
แถมให้ มี ภาพ ด้วย อิอิ
http://forum.seritha...php?f=2&t=24984
จาก http://webboard.serithai.net/topic/14113-%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%B5%E0%B8%AB%E0%B8%A5%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%90%E0%B8%B2%E0%B8%99%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%87%E0%B9%83%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%9C%E0%B8%B2-central-world-%E0%B9%84%E0%B8%AB/
คนไทยก้อเป็นแบบที่เป็น ลืมง่าย แค้นสั้น หลงกระแส ชอบแห่ทำตามๆกัน เชื่อตามๆกัน คิดตามๆกัน ชอบดูละครน้ำเน่า ชอบดูตลก ชอบดูเกมโชว์ ...
วันพฤหัสบดีที่ 1 พฤศจิกายน พ.ศ. 2555
วันอังคารที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2555
รวมรูป พระมหาชนก
จากที่ได้พยายามหารูป เกี่ยวกับพระมหาชนก ในอินเตอร์ไม่มีเวบไซด์ที่ทำรูปไว้ ที่สามารถ ดูรายละเอียดได้เลย จึงได้จัดทำลงไว้ เพื่อประโยชน์ สำหรับผู้ที่สนใจ (กดที่รูปเพื่อเข้าสู่โหมด สไลด์โชว์)
ความอิสระของศาลยุติธรรม
ความอิสระของศาลยุติธรรม
โดย สราวุธ เบญจกุล / รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
ศาลเป็นหนึ่งในอำนาจอธิปไตยซึ่งพระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ ศาลยุติธรรมมีอำนาจพิจารณาพิพากษาคดีทั้งปวง เว้นแต่คดีที่มีรัฐธรรมนูญหรือกฎหมายบัญญัติให้อยู่ในอำนาจของศาลอื่น ทั้งนี้ศาลยุติธรรมจะต้องดำเนินการพิจารณาพิพากษาอรรถคดีดังที่บัญญัติไว้ในมาตรา 197 คือต้องเป็นไปโดยยุติธรรม ตามรัฐธรรมนูญ ตามกฎหมาย และในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์
อย่างไรก็ดี การจะพิจารณาพิพากษาอรรถคดีให้เป็นไปโดยยุติธรรมได้นั้น ผู้พิพากษาต้องมีอิสระเพื่อให้การพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเป็นไปโดยถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม และต้องไม่ถูกแทรกแซงการใช้อำนาจจากบุคคลหรือองค์กรใด ซึ่งหลักความเป็นอิสระของผู้พิพากษานั้นมีการรับรองไว้ทั้งตามรัฐธรรมนูญและกฎหมาย
ตามหลักการแบ่งแยกอำนาจกำหนดให้มีการแบ่งแยกอำนาจตุลาการออกจากอำนาจของฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติเพื่อให้มีการดุลและคานกัน ทำให้ฝ่ายบริหารและฝ่ายนิติบัญญัติไม่สามารถมีอำนาจในการให้คุณให้โทษฝ่ายตุลาการได้ ในการแต่งตั้ง การพ้นจากตำแหน่ง การเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาจะต้องได้รับความเห็นชอบของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
นอกจากนี้ผู้พิพากษาต้องมีความเป็นกลาง และสามารถใช้ดุลพินิจในการมีคำพิพากษาหรือมีคำสั่งโดยชอบด้วยกฎหมายได้อย่างเหมาะสม โดยพิจารณาจากบทบัญญัติของกฎหมายและพยาน หลักฐานที่เกี่ยวข้อง จากการรับรองหลักความเป็นอิสระของตุลาการ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาพิพากษาอรรถคดีเพื่ออำนวยความยุติธรรมให้แก่ประชาชนได้อย่างเต็มที่นี้เอง จึงเป็นหลักการสากลที่ว่าผู้พิพากษาได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ (Judicial Immunity)
หลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการเป็นแนวคิดอันมีที่มาจากประเทศที่ใช้ระบบกฎหมาย Common Law โดยมีรากฐานมาจากแนวคิดของประเทศอังกฤษ ที่ว่า “the King can do no wrong” ซึ่งมีหลักการในการให้เอกสิทธิ์และความคุ้มครองแก่พระมหากษัตริย์และ ผู้ปฏิบัติหน้าที่ภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เช่นตุลาการ เพราะพระมหากษัตริย์ไม่ต้องรับผิดชอบทั้งทางการเมืองและตามกฎหมายใด ๆ ไม่ว่าจะในฐานะส่วนพระองค์หรือ ในฐานะประมุขของรัฐและไม่อาจถูกฟ้องร้องดำเนินคดีได้
จากแนวคิดดังกล่าวนี้เอง ต่อมาจึงได้มีการพัฒนามาเป็นหลักความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ เพราะผู้พิพากษาถือเป็นบุคคลที่ใช้อำนาจตุลาการภายใต้พระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อให้ความคุ้มกันทางกฎหมายแก่ผู้พิพากษาหรือบุคคลที่เกี่ยวข้องในการพิจารณาพิพากษาคดี จากการถูกดำเนินคดีในการใช้อำนาจทางตุลาการซึ่งกระทำในพระปรมาภิไธยของพระมหากษัตริย์ เพื่อให้ผู้พิพากษาสามารถพิจารณาคดีได้อย่างเป็นธรรม โดยไม่จำต้องกังวลถึงภยันตรายที่อาจเกิดขึ้นนอกเหนือจากการกระทำตามอำนาจหน้าที่ของตน ในขณะเดียวกันก็เพื่อปกป้องผู้พิพากษาจากการกระทำอันมิชอบด้วยกฎหมายของผู้ที่อาจเสียประโยชน์จากคำพิพากษา
สำหรับในประเทศสหรัฐอเมริกา ศาลฎีกาในสหรัฐอเมริกาในคดี Randall v Brigham, 74 US (7 Wall.) 523 (1868) ได้เคยมีคำพิพากษาในกรณีผู้พิพากษามีคำสั่งเพิกถอนใบอนุญาตว่าความของทนายความ ทนายความผู้นั้นจึงฟ้องผู้พิพากษา ศาลฎีกามีคำพิพากษาว่าทนายความไม่สามารถฟ้องผู้พิพากษาได้ เพราะผู้พิพากษาไม่ต้องรับผิดหากเป็นการใช้อำนาจทางตุลาการ เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย
แม้ผู้พิพากษาจะได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการ แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า การใช้อำนาจดังกล่าวจะไม่มีขอบเขตจำกัด หรือไม่สามารถตรวจสอบความชอบธรรมได้ ผู้พิพากษาจึงไม่อาจใช้อำนาจได้ตามความพอใจของตน การตรวจสอบการใช้อำนาจทางตุลาการของผู้พิพากษาสามารถกระทำได้หลายวิธี เช่น การอุทธรณ์ ฎีกา อันเป็นวิธีการตรวจสอบดุลพินิจในการรับฟ้องพยานหลักฐานและการทำคำพิพากษาโดยให้คู่ความฝ่ายที่ไม่พอใจคำพิพากษา สามารถใช้สิทธิอุทธรณ์ ฎีกาต่อศาลสูงซึ่งได้แก่ ศาลอุทธรณ์ และศาลฎีกา ผู้มีหน้าที่กลั่นกรองคำพิพากษาของศาลล่างอีกชั้นหนึ่ง อันเป็นสิทธิของคู่ความตามที่บัญญัติไว้ในกฎหมายว่าด้วยวิธีพิจารณาความเป็นต้น
นอกจากหลักการตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการตามลำดับชั้นศาลแล้ว ผู้พิพากษาอาจถูกตรวจสอบการใช้อำนาจตุลาการได้หากผู้พิพากษาผู้นั้นได้กระทำความผิดวินัย แต่องค์กรที่ทำหน้าที่พิจารณาเรื่องทางวินัยของผู้พิพากษานั้นมีรัฐธรรมนูญบัญญัติไว้ชัดเจนในมาตรา 220 ว่าให้เป็นหน้าที่ของคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม (ก.ต.) ซึ่งประกอบด้วยประธานศาลฎีกา กรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากศาลฎีกา 6 คน ศาลอุทธรณ์ 4 คน ศาลชั้นต้น 2 คน และกรรมการ ผู้ทรงคุณวุฒซึ่งวุฒิสภาเลือกจากบุคคลที่ไม่เป็นข้าราชการฝ่ายตุลาการศาลยุติธรรม 2 คน
ก.ต. จึงมีอำนาจหน้าที่ในการตรวจสอบผู้พิพากษาทางวินัย โดยการให้ความเห็นชอบในการเลื่อนตำแหน่ง การเลื่อนเงินเดือน และการลงโทษผู้พิพากษาในศาลยุติธรรม และการให้ความเห็นชอบดังกล่าวของ ก.ต. ต้องคำนึงถึงความรู้ความสามารถและพฤติกรรมทางจริยธรรมของบุคคลดังกล่าว
การได้รับความคุ้มกันจากการใช้อำนาจตุลาการนั้นมีขอบเขตจำกัด ผู้พิพากษา จะได้รับความคุ้มครองก็ต่อเมื่อได้กระทำภายในกรอบอำนาจหน้าที่ทางตุลาการของตนเท่านั้น เว้นแต่ว่าการใช้อำนาจดังกล่าวจะเป็นการใช้อำนาจโดยทุจริตหรือไม่ชอบด้วยกฎหมาย หากเป็นการกระทำนอกกรอบอำนาจหน้าที่ หรือเป็นการกระทำความผิดทางอาญาที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติหน้าที่ เช่นการเรียกรับสินบน ผู้พิพากษาย่อมต้องรับผิดในการกระทำของตนโดยอาจถูกดำเนิน คดีอาญาได้
ดังนั้น ความอิสระและเป็นกลางของศาลยุติธรรม เป็นหลักการสำคัญของสังคมประชาธิปไตย ที่จะนำมาซึ่งความปลอดภัยและมั่นคงในสังคม ทั้งยังเป็นการเคารพหลักสิทธิมนุษยชนที่ให้สิทธิที่จะได้รับการพิจารณาคดีอย่างเป็นธรรมอีกด้วย
สราวุธ เบญจกุล
รองเลขาธิการสำนักงานศาลยุติธรรม
คณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
- สำนักคณะกรรมการตุลาการศาลยุติธรรม
|
|
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)