วันอังคารที่ 30 กันยายน พ.ศ. 2557

“รสนา” แฉเล่ห์เขมือบพลังงานไทย กำลังโรดแมปเข้าสู่โหมดถ่ายโอนเป็นของเอกชน 100%


“รสนา” ส่งสัญญาณอันตราย โรดแมปผูกขาดทรัพยากรปิโตรเลียมกำลังเบ็ดเสร็จ ชี้ทุกอย่างเชื่อมโยง ปตท. แยกท่อก๊าซตั้งบริษัทใหม่ให้เป็นของเอกชน 100% และกำลังเร่งเร้าให้เปิดสัมปทานรอบใหม่ ขณะที่บิ๊ก ก.พลัง เล็งสมนาคุณแก้กฎหมายต่ออายุบ่อน้ำมัน 2 แหล่งใหญ่ให้กอบโกยต่อ 
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์1 ตุลาคม 2557 05:36 น.
      
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันนี้ (1 ต.ค.) เมื่อเวลาประมาณ 01.00 น. น.ส.รสนา โตสิตระกูล อดีต ส.ว.กทม. โพสต์ข้อความผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว รสนา โตสิตระกูล หัวข้อ “โรดแมปการปฏิรูปพลังงานของกลุ่มทุนคือการถ่ายโอนโครงข่ายท่อส่งก๊าซและทรัพยากรปิโตรเลียมให้เป็นของเอกชน 100%” ตามข้อความดังนี้..
      
       “การมีน้ำมันในประเทศมากหรือน้อยไม่เกี่ยวกับ “ระบบ” ที่รัฐจะนำมาใช้ในการให้สิทธิสำรวจ และผลิตปิโตรเลียมแก่เอกชน ว่าควรเป็น “ระบบสัมปทาน” หรือ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” แต่เวลานี้การพูดว่าประเทศไทยมีปริมาณปิโตรเลียมมาก เกือบจะกลายเป็น “อาชญากรรม” ร้ายแรง ชนิดที่เอามาดิสเครดิตว่าใครพูดคือพวกไสยศาสตร์ จนไม่สมควรรับฟังประเด็นอื่นๆ ทั้งหมด
      
       สิ่งที่ภาครัฐให้ข่าวว่าประเทศไทยมีปิโตรเลียมน้อยมาก จุดมุ่งหมายของคนพูดคือ เพื่อสื่อสารไปสู่ประเด็นว่า “ระบบสัมปทาน” เหมาะสมกับประเทศไทยที่สุดเท่านั้นเอง หรือกล่าวอ้างไปในทำนองว่า การที่เรามีน้อย จึงไม่ควรใช้ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” และทำให้สาธารณชนเข้าใจว่าการใช้ “ระบบแบ่งปันผลผลิต” รัฐต้องลงทุน ทำให้มีความเสี่ยง ซึ่งเป็นการจงใจให้ข้อมูลเท็จโดยสิ้นเชิง
      
       ขอให้ดูเอกสารที่กระทรวงพลังงานใช้ประกอบการประชุมครั้งที่ 4 เรื่อง เปิดสัมปทานรอบ 21 ใน 3 ช่องที่วงไว้ 2 ข้อแรกคือ 1) ความเสี่ยงในการสำรวจ 2) การลงทุน กระทรวงพลังงานระบุว่าเป็นภาระของบริษัทน้ำมัน ไม่ว่าจะเป็นระบบสัมปทาน หรือระบบแบ่งปันผลผลิต ส่วนข้อ 3) ระบุไว้ชัดเจนว่ากรรมสิทธิ์ปิโตรเลียม ในระบบสัมปทานเป็นของผู้รับสัมปทาน ส่วนในระบบแบ่งปันผลผลิต ปิโตรเลียมเป็นกรรมสิทธิ์ของรัฐ นี่เป็นข้อมูลของกระทรวงพลังงานเอง แต่เวลาพูดด้วยวาจาจะพูดอีกอย่าง
       



       

      
       การรีบร้อนจะเปิดสัมปทานรอบ 21 โดยไม่รอสภาปฏิรูปนั้น ทราบมาว่าจะผนวกเอาสัมปทานเก่าคือแหล่งบงกช กับแหล่งอาทิตย์ ที่จะหมดสัมปทานในปี 2565-2566 เอาไว้ในการเปิดสัมปทานรอบ 21 ด้วย ซึ่งตามกฎหมายแล้ว สัมปทาน 2 แหล่งนั้นเมื่อหมดอายุลง ตามกฎหมายจะต่อสัมปทานอีกไม่ได้ ต้องตกเป็นของรัฐ แม้แต่นักวิชาการในกรมเชื้อเพลิงธรรมชาติ ก็ยังเสนอว่า รัฐควรใช้ระะบบจ้างผลิต เพราะประโยชน์จะตกเป็นของรัฐเต็มเม็ดเต็มหน่วย เนื่องจากเป็นแหล่งที่ไม่มีความเสี่ยงแล้ว แต่ในระดับผู้บริหารของ ก.พลังงาน กลับคิดจะแก้ไขกฎหมายเพื่อให้สัมปทาน 2 แหล่งนี้แก่เอกชนเจ้าเดิมต่อไปอีก ซึ่งเป็นการไม่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวมเลย
      
       การอ้างว่าถ้าไม่รีบเปิดสัมปทานรอบ 21 ก๊าซจะหมดใน 8 ปี ค่าไฟจะแพงขึ้น และประเทศจะขาดรายได้ปีละ 2 แสนล้านบาท (ซึ่งหมายถึงรายได้จากค่าภาคหลวง และภาษีเงินได้จากสัมปทานที่จะหมดอายุในปี 2565-2566) ทั้งที่ถ้ารัฐจ้างผลิตในแหล่งที่สัมปทานหมดอายุแล้ว แต่ยังมีปิโตรเลียมเหลืออยู่ ผลประโยชน์จะเป็นของรัฐทั้งหมด เชื่อว่ารัฐจะได้รายได้มากกว่าปีละ 2 แสนล้านบาท เพราะแต่ละปีมูลค่าปิโตรเลียมที่ได้ปีละ 4-5 แสนล้านบาทนั้น รัฐได้ส่วนแบ่งเพียง 1 ใน 3 เท่านั้น
      
       ดังตัวอย่างส่วนแบ่งรายได้จากปิโตรเลียมในปี 2554 มูลค่าปิโตรเลียมจากแผ่นดินไทย มีมูลค่า 421,627 ล้านบาท รัฐได้ค่าภาคหลวงและภาษี 136,808 ล้านบาท ส่วนเอกชนที่รับสัมปทานได้รับค่าใช้จ่ายในการลงทุนคืน 144,878 ล้านบาท และได้ส่วนแบ่งกำไรไปอีก 139,941 ล้านบาท เท่ากับเอกชนที่ได้รับสัมปทานในประเทศไทย ได้กำไรจากเงินที่ลงทุนใน 1 ปี ถึง 97%
      
       มูลค่าปิโตรเลียมในปี 2555 เพิ่มเป็น 524,858 ล้านบาท รัฐได้ค่าภาคหลวง, ผลประโยชน์ตอบแทนพิเศษและภาษี 177,645 ล้านบาท ส่วนเอกชนลงทุนในปีนั้น 159,870 ล้านบาท และได้รับคืนบวกกำไรอีก 187,343 ล้านบาท เท่ากับเอกชนได้รับกำไรจากการลงทุนใน 1 ปี ถึง 117.2% สูงกว่าปี 2554 ส่วนรัฐได้ผลตอบแทนต่อมูลค่าทรัพยากรเพียง 33.85% เท่านั้น
      
       ทางภาคประชาชนขอให้มีการเปลี่ยนระบบการให้สิทธิเอกชนในการสำรวจ ขุดเจาะและผลิตปิโตรเลียมจาก “ระบบสัมปทาน” เป็น “ระบบแบ่งปันผลผลิต” หรือ “จ้างผลิต” ในแหล่งที่หมดสัมปทานและไม่มีความเสี่ยงแล้ว เพราะระบบแบ่งปันผลผลิต ปิโตรเลียมเป็นกรรมสิทธิของรัฐ เหมือนเจ้าของสวนยาง ให้คนมารับจ้างกรีดยาง น้ำยางทั้งหมดที่กรีดได้ ต้องเป็นกรรมสิทธิ์ของเจ้าของก่อน และเจ้าของสวนยางเป็นคนแบ่งให้ตามข้อตกลง ไม่ใช่ยกน้ำยางให้คนกรีดยาง แล้วให้คนกรีดยางจ่ายส่วนแบ่งให้เจ้าของสวน ฉันใดก็ฉันนั้น กรรมสิทธิ์ปิโตรเลียมจะเป็นของรัฐจะเป็นความมั่นคงทางพลังงานของประเทศมากกว่า
      
       แต่กระทรวงพลังงานไม่ยอม การยืนหยัดจะเปิดสัมปทานรอบ 21 ให้ได้โดยไม่แก้ไขกฎหมายเพื่อเปลี่ยนมาใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต และการจ้างผลิตเสียก่อน แต่กลับจะไปแก้กฎหมายต่ออายุสัมปทานให้อีก จึงเป็นการไม่รักษาผลประโยชน์ของชาติและประชาชน
      
       การเปิดสัมปทานรอบ 21 เป็นการเชื่อมโรดแมปของเอกชน ที่ต้องการถ่ายโอนทั้งระบบท่อส่งก๊าซที่กำลังจะแยกไปตั้งบริษัทใหม่ให้เป็นของเอกชน 100% และเมื่อยืนหยัดใช้ระบบสัมปทานต่อไป ก็คือยืนหยัดให้ทรัพยากรปิโตรเลียมในประเทศ ตกเป็นกรรมสิทธิ์ของเอกชนผู้รับสัมปทานต่อไป เมื่อทั้งระบบท่อส่งก๊าซ และทรัพยากรปิโตรเลียมที่เป็นกิจการต้นน้ำตกเป็นของเอกชนโดยสมบูรณ์ ในสภาพที่โครงข่ายท่อส่งก๊าซมีสภาพผูกขาดตามธรรมชาติ เอกชนก็จะผูกขาดทรัพยากรปิโตรเลียมได้เบ็ดเสร็จเด็ดขาด ต่อไปประชาชนต้องซื้อทรัพยากรในบ้านของตนเองในราคาตลาดโลก ไม่ว่าจะเป็นราคาก๊าซธรรมชาติเพื่อผลิตไฟฟ้า ก๊าซ LPG, ก๊าซ NGV ในราคาที่พูดเสมอว่าต้องสะท้อนต้นทุนตลาดโลก ไม่ว่าจะขายแพงแค่ไหน ประชาชนจะไม่สามารถต่อรองได้อีก ถ้าเป็นธุรกิจของเอกชน 100%
      
       ที่จะหวังพึ่งรัฐบาลมาคุ้มครองให้ประชาชนได้ใช้ราคาพลังงานที่เป็นธรรม คงยากจะหวังได้ เพราะตอนที่รัฐยังถือหุ้น 51%อยู่นี้ ก็ยังกำกับไม่ดีเท่าที่ควรเพื่อให้ราคาน้ำมัน ก๊าซหุงต้มมีราคาที่เป็นธรรมต่อประชาชน ดูได้จากที่รัฐมนตรีกระทรวงพลังงานคนปัจจุบันประกาศขึ้นราคาก๊าซแอลพีจี เอ็นจีวี ต้นเดือนตุลาคม 2557 นี้โดยไม่พิจารณาโครงสร้างราคาที่เป็นธรรมต่อประชาชนผู้เป็นเจ้าของทรัพยากรเสียก่อน
      
       การประกาศขึ้นราคาดีเซลอีก 2.40 บาทต่อลิตร เพื่อไปใส่กองทุนน้ำมัน ที่ติดลบอยู่ แต่ไม่เก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันจากปิโตรเคมีให้เท่ากับที่เก็บจากอุตสาหกรรมอื่น ถือว่าเป็นการเลือกปฏิบัติของทุกรัฐบาลแม้แต่รัฐบาล คสช. เอง เป็นการเพิ่มกำไรให้ธุรกิจเอกชน แต่ให้ประชาชนแบกรับภาระแอลพีจีราคาตลาดโลกแทนธุรกิจปิโตรเคมี และธุรกิจปิโตรเคมีไม่ต้องจ่ายภาษีใดๆ ทั้งที่เป็นอุตสาหกรรมที่สร้างขยะพลาสติกจำนวนมากซึ่เป็นภาระทางงบประมาณของประเทศในการกำจัด อีกทั้งบริษัทปิโตรเคมีของ ปตท. ยังได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ 100% เป็นเวลา 8 ปี และลดภาษีเงินได้เหลือ 50% อีก 5 ปี หลังจากนั้น การดำเนินนโยบายด้านพลังงานของรัฐบาล คสช. ในขณะนี้ก็ไม่ต่างจากรัฐบาลที่ผ่านๆมา ที่มักจะอุ้มคนรวย แต่ทิ้งภาระไว้บนหลังของคนจน
      
       ถ้าธุรกิจพลังงานเป็นของเอกชน 100% ก็ลองคิดดูก็แล้วกันว่าใครจะปกป้องประชาชนได้
      
       ที่อ้างว่าแหล่งปิโตรเลียมของไทยเป็นกะเปาะเล็ก ต้นทุนสูง ขุดเจาะยาก ลองดูกำไรจากธุรกิจต้นน้ำของ ปตท. ดูก็ได้ว่าเท็จจริงเป็นอย่างไร กิจการสำรวจ ผลิตปิโตรเลียมของ บมจ.ปตท. ในปี 2556 มีสัดส่วนรายได้เพียง 7% ของรายได้รวม แต่ทำกำไรให้ บมจ.ปตท. ในสัดส่วน 74% ของกำไรทั้งหมดของ ปตท. ธุรกิจก๊าซธรรมชาติมีสัดส่วนรายได้ 17% แต่ทำกำไรในสัดส่วน 21% รวมแล้วกำไรจากธุรกิจสำรวจผลิตปิโตรเลียม และธุรกิจก๊าซ ถือได้ว่าเป็นกำไรเนื้อๆ ของ บมจ.ปตท กำไรจาก 2 กิจการนี้ รวมเป็นกำไรถึง 95% ของกำไรทั้งหมดของ บมจ.ปตท. ส่วนรายได้จากการค้าระหว่างประเทศมียอดรวมถึง 53% มากกว่าครึ่งหนึ่งของรายได้ทั้งหมดของ บมจ.ปตท. ในปี 2556 แต่แทบไม่มีกำไรเลยเหมือนตำน้ำพริกละะลายแม่น้ำให้ต่างประเทศ (แต่กำไรก้อนโตล้วนได้จากภายในประเทศ) ในขณะที่การลงทุนในกิจการสำรวจและผลิต ลงทุนต่ำแต่ได้กำไรเป็นกอบเป็นกำ และกำไรส่วนใหญ่ก็มาจากการลงทุนอยู่ในประเทศไทยนี่เอง


      
       

      
       ดิฉันเห็นว่าโรดแมปของกลุ่มทุนพลังงาน และข้าราชการในกระทรวงพลังงาน คือ มุ่งไปสู่การถ่ายโอนทั้งเครื่องมือคือระบบท่อส่งก๊าซธรรมชาติ และทรัพยากรปิโตรเลียมไปเป็นของเอกชน 100% เริ่มด้วยการแยกท่อก๊าซมาตั้งบริษัทใหม่ให้เป็นของเอกชน 100% และยืนหยัดจะต้องเปิดสัมปทานปิโตรเลียมรอบ 21 ให้ได้โดยผนวกพื้นที่สัมปทาน 2 แหล่งใหญ่ที่กำลังจะหมดอายุสัมปทานไปในการเปิดสัมปทานรอบที่ 21 ด้วย
      
       ดังนั้น เรื่องดิสเครดิตประชาชนด้วยการชวนทะเลาะเรื่องปริมาณมากน้อยของปิโตรเลียมในประเทศไทย อาจเป็นการเบี่ยงเบนจุดสนใจ จากการที่กลุ่มทุนกำลังจะเขมือบผลประโยชน์ใหญ่ของประชาชนกระมัง”

วันอาทิตย์ที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2557

ทำไมต้อง ตรวจสอบ โรงงาน ปตท.ในมาบตาพุด ที่สร้างภัยเสี่ยงก่อเหตุหายนะ

วันอาทิตย์ที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2556


ปตท.มักง่าย สร้างโรงงานนับสิบแห่ง เสี่ยงทรุดพังสร้างหายนะภัย


๐ ทำไมต้อง ตรวจสอบ โรงงาน ปตท.ในมาบตาพุด ที่สร้างภัยเสี่ยงก่อเหตุหายนะ ๐


เมื่อหมดความไว้ใจในการทำงานของ ภาครัฐ ที่ปล่อยให้มีการดำเนินการอย่างมักง่าย-ประมาท ของ ปตท. แบบไม่น่าให้อภัย ทั้งที่ พรบ.โรงงาน และวัตถุอันตราย ปี 2535 ก็เขียนไว้ชัดเจนว่า "การสร้างทำต้องแข็งแรงมั่นคงเหมาะสม และไว้วางใจได้" - คำว่าเหมาะสมนั้น คือการอิงมาตรฐานของอุตสาหกรรมนั้นๆ (ไม่ใช่แค่ ถูกต้องตาม พรบ.ควบคุมอาคาร) และต้องอิงกับรายงานการประเมินอันตรายรุนแรง ซึ่งอันตรายรุนแรงของโรงแยกก๊าซที่ 5 คือ คนในพื้นที่รัศมีอันตราย 3 ถึง 8 พันไร่ ครอบคลุมทั้งตลาดมาบตาพุด และโรงงานต่าง คนจะตายภายในเวลาไม่มีกี่นาที บ้านเรืือน-โรงงานติดต่อกัน จะเกิดไฟไหม้ (มีโอกาสก่อให้เกิดการระเบิดต่อเนื่อง) คณะ กก.ตรวจสอบติดติาม ถูกนำเสนอในการประชุมร่วม ปตท.โรงแยกก๊าซ+กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด (ทั้งนี้ ปตท. โดย นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ตั้งคณะ กก.ตรวจสอบ ของ ปตท. แล้ว แต่ไม่มาร่วมประชุมฯ อ้างว่าเป็นผู้บริหารระดับสูง...การดำเนินการต่างๆ จึงไปไม่ได้)

กรอบและการทำงานเบื้องต้น - ของคณะตรวจสอบ-ติดตาม

องค์ประกอบคณะกรรมการ
1. ส่วนของ ปตท. - เจ้าภาพ
2. ส่วนของ การนิคมแห่งประเทศไทย - ผู้ประสานงาน
3. ส่วนของ คณะผู้ตรวจสอบ-ติดตามฯ ของ กลุ่มพิทักษ์อากาศฯ เสนอ

คณะผู้ตรวจสอบ-ติดตาม ประกอบด้วย กลุ่มวิศวกรโยธา (Civil Engineer)
1. หัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบ-ติดตาม Civil Engineer
2. รองหัวหน้าคณะผู้ตรวจสอบ-ติดตาม Civil Engineer
3. วิศวกรโยธา ฝ่ายตรวจสอบและงานวิชาการ Civil Engineer
4. วิศวกรโยธา ฝ่ายตรวจสอบและงานความปลอดภัย Civil Engineer
5. วิศวกรโยธา ฝ่ายตรวจสอบและงานเอกสาร Civil Engineer
6. ผู้ช่วยวิศวกรโยธา – จำนวนตามความเหมาะสม – Supervisor/ Technician
(รายการ 1- 6 กลุ่มพิทักษ์อากาศฯ เสนอ)
7. คณะผู้ตรวจสอบร่วม ของ ปตท. ในโครงการ (ตามที่ ปตท.เห็นสมควร)"

ขั้นตอนและการดำเนินการเบื้องต้น
1. จัดรวบรวมเอกสารเกี่ยวกับงานเตรียมพื้นที่ก่อสร้าง, รายการคำนวณ แบบแปลน และแบบฐานรากส่วนที่ไม่มีเสาเข็ม ทั้งหมดของโครงการ
2. เอกสาร หมุดหลักฐาน แนว-ระดับ ของโครงสร้างต่างๆ
3. ประวัติการซ่อมและประวัติการทรุดตัว เดิม
4. การตรวจสอบแนวระดับ ระยะแรก ระยะกลาง
5. การติดตามโครงสร้างรับแรงสั่นไหว (Dynamics Load / Horizontal Load)
6. การติดตามหลังจากฝนตกติดต่อกันหลายวัน
7. การซ่อมแซม-เพิ่มความแข็งแรงฐานราก
8. การติดตามส่วนที่เสริมความแข็งแรง-แก้ไข
9. การวิเคราะห์ศึกษาพฤติกรรมโครงสร้างเดี่ยวที่มีความสูง บนฐานรากตื้น
10. การทดสอบดินและทดสอบความแข็งแรงเพิ่มเติม
11. รายงานการประเมินผล รายการเสริมความแข็งแรงและการติดตาม

ระยะเวลาในการตรวจสอบ-ติดตาม
1. ระยะแรก – ก่อนและหลัง การทดสอบระบบ / ก่อนเปิดใช้โรงงาน
2. ระยะกลาง – ระหว่างการเปิดดำเนินงานของโรงงาน ระยะเวลา 3 ปี (คณะกก.ตรวจสอบ-ติดตามร่วม)
3. ตลอดอายุการดำเนินการของโรงงาน หรือ 10 ปี (ปตท. และกนอ.ต้องตรวจสอบ-ติดตามร่วมกันต่อ)

เงื่อนไขการทำงาน
ปตท จะจัดหา พื้นที่สำนักงานที่เหมาะสมในแต่ละโครงการ พร้อมอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อการทำงาน-จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้อง และ ปตท ต้องจัดหา-จัดจ้าง บริษัทฯ สำรวจ และบริษัทฯ เสริมความแข็งแรงและแก้ไขการทรุดตัวของฐานราก ให้ตรงตามที่มีความเห็นชอบร่วมกัน

ค่าตอบแทน คณะผู้ตรวจสอบ-ติดตามฯ (เสนอให้วิศวกรสนาม บ.อิตาเลี่ยนไทย ลาออกมาเป็น ผู้ร่วมตรวจสอบ เพราะเคยทำงานในพื้นที่ที่ก่อสร้าง โรงงานต่างๆของ ปตท.)
1. เงินเดือนและเบี้ยเลี้ยง ในอัตราเปรียบเทียบปกติกับพนักงานของ ปตท. ตามคุณวุฒิ-
สาขาวิชา หรือประสบการณ์การทำงาน (โดยมีสัญญาจ้างจาก ปตท.)
2. ค่าเดินทาง-ยานพาหนะ
3. ค่าที่พัก หรือเบี้ยประชุม กรณีที่ต้องไปร่วมประชุม นอกเขตพื้นที่
4. อื่นๆ เปรียบเทียบปกติกับพนักงานของ ปตท. เช่น ประกันสังคม การรักษาพยาบาลฯ

การแต่งตั้ง กก.ตรวจสอบของ ปตท.





รางานการประชุมร่วม ของ ปตท. และ กลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่นมาบตาพุด



รูปการทดสอบดิน ที่อ้างว่า รับน้ำหนักได้มากถึง 90 ตัน/ม2

จดหมายของ ITD ที่ปฏิเสธค่าใช้จ่ายในการซ่อม-ไม่รับผิดชอบการทรุดของโครงสร้างในอนาคต เพราะการออกแบบต่างๆ เป็นการดำเนินการโดย SAMSUNG

วันพุธที่ 10 กันยายน พ.ศ. 2557

มหากาพย์ กลุ่มเครือข่ายทุนพลังงาน 9 กย 57

เริ่มตัวละคร ตั้งแต่สมัย อานันท์ ปันยารชุน และ ปิยสวัสดิ์  อัมระนัท์    ผู้ถนัด ในการแปรรูป
คณะรัฐมนตรี  รัฐบาล อานันท์ ปันยารชุน  คณะที่ 47 ของไทย (2 มีนาคม พ.. 2534 - 22 มีนาคม พ.. 2535   และ    10 มิถุนายน .. 2535  ถึง 23 กันยายน .. 2535       รัฐบาล แต่งตั้ง จากการปฏิวัติ 





 มี ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์    
27 กพ   2535 -  2537  เป็นรองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ
29 มีค   2537 -  27 พค 2543    เป็น เลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  

ผลงาน
มติ ครม  เมื่อ 6 สค 2534     (อานันท์ ปันยารชุน  )     ให้มีการระดมทุน บริษัทผลิตไฟฟ้า ของกฟผ  ( ระยอง และขนอม ) .  ผ่านตลาดหลักทรัพย์  ( แปรรูป)

มติครม  เมื่อ  วันที่ 12 .. 2535     (อานันท์ ปันยารชุน  ) มติ/ครั้งที่/วันที่    มติ กพช. ครั้งที่ 5/2535 (ครั้งที่ 39) เมื่อวันที่ 7 .. 2535  
 มติกพช.ซึ่งครม.เห็นชอบแล้ว เห็นชอบให้มีการดำเนินการดังต่อไปนี้   ( มี ปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์    27 กพ   2535 -  2537  เป็นรองเลขาธิการ สำนักงานคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ )
     “ครม. ได้มีมติเมื่อวันที่ 6 .. 2534 อนุมัติให้ กฟผ. ดำเนินการระดมทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยนำบริษัทที่ กฟผ. จัดตั้งขึ้นเพื่อรับซื้อโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมระยองของ กฟผ. เข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ และให้ดำเนินการกับโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมขนอม และโครงการโรงไฟฟ้าพลังความร้อนอ่าวไผ่โดยวิธีเดียวกัน

 มติ กพช. ซึ่ง ครม.   12  กย  2537    มติ ครม 15 กพ  2537      และ  มติ ครม เมื่อ 31พค 2537    รัฐบาล  ปชป.   เห็นชอบแล้ว มีดังนี้ เห็นชอบในหลักการการดำเนินงานตามแผนงานและแนวทาง ดังนี้
ขั้นตอนที่ 1 ปี 2535/36
  • สัญญาซื้อขายระหว่าง กฟผ. กับ กฟน. และ กฟภ. ต้องดำเนินการในเชิงธุรกิจมากขึ้น
  • จัดตั้งบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (บผฟ.) เพื่อรับซื้อโรงไฟฟ้าระยอง และให้กระจายหุ้นเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ
ขั้นตอนที่ 2 ปี 2536/37
  • บผฟ. รับซื้อโรงไฟฟ้าขนอมทั้งหมด
  • แปลง กฟน. และ กฟภ. เป็นรัฐวิสาหกิจที่ดี
ขั้นตอนที่ 3 ปี 2537/38
  • เปลี่ยนแปลง กฟผ. กฟน. และ กฟภ. เป็นบริษัทจำกัด โดยการแก้ไข พรบ. ของทั้ง 3 หน่วยงาน    ถูกตีตกไป  โดยศาลปกครองสูงสุด 
  • เปลี่ยนแปลง กฟผ. เป็นบริษัทมหาชน และเตรียมนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ
 วันที่     มีค 2537  นาย พรชัย  รุจิประภา   จดทะเบียน เป็นบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด  (ต่อมาคือ  EGCO  รองรับ โรงไฟฟ้า ระยอง และขนอม
มติ ครม  คณะรัฐมนตรี   (23 กันยายน พ.. 2535 - 13 กรกฎาคม พ.. 2538)    นายชวน หลีกภัย เป็นนายกรัฐมนตรี
ต่อมาเมื่อวันที่   23 มีค  2537  ได้แปรรูป  บผฟ  เป็นบริษัทมหาชน โดยกฟผ  .ได้ขายโรงไฟฟ้าระยองให้บริษัทในเครือ บผฟ  ​​​คือบริษัทผลิตไฟฟ้าระยองจำกัด  (บฟร)     และได้ให้สิทธิ แก่ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด บผฟ   หรือ บฟร   หรือบริษัทในเครือของบผฟ  เจรจาซื้อโรงไฟฟ้า ขนอม จาก กฟผ  ได้      
มติ กพช. ครั้ง ที่3/2538 (ครังที่ 51) เมื่อ วันที่ 31 .. 2538    และ มติ ครม. เมื่อวันที่  20 มิย. 2538   (ชวน หลีกภัย )
.กฟผ. ได้ดำเนินการ จัดตั้งบริษัทผลิตไฟฟ้า จำกัด (บผฟเพื่อให้เป็นไปตามมติครม  เมื่อวันที่  สค 2534  และเมื่อ 12  กย 2535  ตามลำดับ 
  มีการถ่ายโอนทรัพย์สิน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย  (โรงงานไฟฟ้า ระยอง ) ให้บริษัทผลิตกระแสไฟฟ้าจำกัด  EGCO จำกัด  เอกชน   ในสมัยที่ นาย ปิยสวัสดิ์  อัมระนันท์ เป็น เลขาธิการ คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ   ตามหนังสือ ที่นร (กพช๐๙๐๑/๑๓๑๔ ลงวันที่ ๑๙ เดือน สิงหาคม ๒๕๓๗   เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ   ลงวันที่ ๘ สิงหาคม ๒๕๓๗  ข้อ ๕ สัญญาจะซื้อ จะขาย ทรัพย์สิน และสัญญาซื้อขายไฟฟ้า    ที่อนุมัติให้กฟผ.ขาย โอนโรงงาน ไฟฟ้าระยอง ให้บริษัทผลิต ไฟฟ้าจำกัด (EGCO )  โดยมีนาย พรชัย รุจิประภา กับพวก ร่วมจดทะเบียนเป็นกรรมการบริษัท ผลิตไฟฟ้า จำกัด (บริษัทเอกชน ) รองรับการถ่ายโอน     ตามหนังสือรับรองกรมพัฒนา ธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์   ทะเบียน เลขที่    ๐๑๐๗๕๓๗๐๐๐๘๖๖  ใน วันที่ ๒๓  มีค ๒๕๓๗  ก่อนที่ จะมีมติ  กพช​​ให้ขายโอนบริษัทผลิตไฟฟ้าระยองให้แก่ บริษัทผลิต ไฟฟ้า จำกัด (EGCO )  ที่เป็นของเอกชน     วันที่ ๘ เดือน สิงหาคม ๒๕๓๗

ปี 2538  นายบรรหาร ศิลปอาชา นายกรัฐมนตรี เป็นประธานกรรมการ
นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เลขาธิการคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ เป็นกรรมการและเลขานุการ
มีค 2543   คุรุจิต  นาครทรรพ  ไปจดทะเบียนบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี   ขณะเป็นหัวหน้าคณะทำงานด้านวิชาการแหล่ง JDA  (ไทยมาเลเซีย ) ……กระทรวงพลังงาน
19 สค 2543      มี นาย  ปิยสวัสดิ์   อัมระนันท์      ( รัฐบาล ปชป ). เป็นเป็นกรรมการและเลขาธิการ   คณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ  มีนายเมตตาบันเทิงสุข เป็นรองเลขาธิการ คณะกรรมการ ฯ   ปัจจุบันคื อสำนักนโยบายและแผนพลังงาน  )      
คณะกรรมการนโยบายพลังงาน แห่งชาติมีมติที่ประชุมครั้งที่ 6 /2543 ครั้งที่76 เมื่อ  13 กค  2543  ให้ขายทรัพย์สินของโครงการโรงไฟฟ้า ราชบุรี ให้บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีจำกัด จำนวนเงิน 55772.950  ล้านบาท       โดยมีนาย คุรุจิต นาครทรรพ ไปจดทะเบียนบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด  ต่อมาคื อบริษัทผลิตไฟฟ้า ราชบุรี โฮลดิงค์ จำกัดมหาชน     ที่ปัจจุบัน มี คุรุจิต เป็นประธานกรรมการ บริษัท
 มีการเซ็นต์สัญญา โดยให้ กฟผ จ่ายต้นทุน เงินกู้  ดอกเบี้ย และค่าบริหารจัดการ ค่า บำรุงรักษา ค่าเชื้อเพลิงทั้งหมด  แทนบริษัทเอกชน
               การถ่ายโอนทรัพย์สิน ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิต แห่งประเทศไทย  (โรงงานไฟฟ้า ราชบุรี ) ให้บริษัทผลิตไฟฟ้า ราชบุรีจำกัด    ตามหนังสือ ที่นร (กพช) ๐๙๐๔/๑๘๑๓   ลงวันที่ ๑๙ เดือน กรกฎาคม ๒๕๔๓      เรื่องมติคณะกรรมการนโยบายพลังงานแห่งชาติ ครั้งที่   ๖/๒๕๔๓   ลงวันที่  ๑๓  กรกฎาคม ๒๕๔๓   ข้อ ๒    เรื่องแผนระดมทุนจากภาคเอกชนใน โครงการไฟฟ้าราชบุรี  ข้อ ๒.๑   เห็นชอบราคาทรัพย์สินของโครง การโรงไฟฟ้าราชบุรี    ที่การไฟฟ้า ฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย จะขายและโอนให้ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรีจำกัด      และมีนาย คุรุจิต นาครทรรพ  ร่วมจดทะเบียนเป็นบริษัท ผลิตไฟฟ้า ราชบุรีจำกัด (บริษัทเอกชน รองรับการ ถ่ายโอน    และ เป็นกรรมการในบริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรี เมื่อวันที่  ๒๐  มีนาคม ๒๕๔๓
     ตามหนังสือรับรอง  สำนักงาน ทะเบียนหุ้นส่วนบริษัท จังหวักราชบุรี     ทะเบียนเลขที่   ๐๑๒๕๕๔๓๐๐๒๒๘๘       ก่อนที่ จะมีมติ  กพช.​​ให้ขายโอนโรงไฟฟ้าราชบุรี ให้แก่ บริษัทผลิตไฟฟ้าราชบุรี จำกัด  ที่เป็นของเอกชน     วันที่ ๑๓   เดือน กรกฎาคม ๒๕๔๓
              นายพรชัย รุจิประภา เป็นกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย เมื่อ พ.. ๒๕๕๑  - ๒๕๕๖
            นาย คุรุจิต นาครทรรพ เป็นกรรมการการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทยเมื่อ พ..๒๕๕๓ ถึง  ปัจจุบัน
            ส่วนนายพรชัย รุจิประภา   เป็นประธานบอร์ด กฟผ. ปี ๒๕๔๙ จนถึง ๒๕๕๖​​  และเป็นประธานกรรมการ บริษัทผลิต ไฟฟ้า จำกัด (EGCO )  จนปัจจุบัน  ปี ๒๕๕๗    

           
และนายคุรุจิต  นาครทรรพ รองปลัดกระทรวงพลังงาน  เป็นประธาน กรรมการ บริษัทผลิตไฟฟ้า ราชบุรีโฮลดิงค์      จนปัจจุบัน    

                และเป็นผู้ล่วงรู้ข้อมูลภายในบริษัทที่ตนเองเป็นกรรมการ  และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย อย่างดี รวมทั้งมีส่วนในการร่างสัญญา ซื้อขายไฟฟ้าที่ ทำให้รัฐสูญเสียประโยชน์  ได้แก่ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่ง ประเทศไทย ได้ทำสัญญากับบริษัทเอกชน ที่ไม่เป็นธรรม  คือ ได้ตกลงจ่ายค่าไฟฟ้า ตามสัญญาซื้อขายไฟฟ้า (Power Purchase Agreement : PPA) ที่ กฟผ. ทำสัญญากับเอกชน รับผิดชอบแทน เอกชนคู่สัญญา แบ่งเป็น ๒ ส่วนด้วยกันคือ                   
              กคือ ค่าความพร้อมจ่ายไฟฟ้า (Availability Payment : AP)  เป็นค่าไฟฟ้าที่ผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนเสนอ สะท้อนมาจากต้นทุนการเงินของโรงไฟฟ้า เช่น เงินลงทุน ดอกเบี้ยเงินกู้     ค่าใช้จ่ายคงที่ในการผลิต เดินเครื่อง  และบำรุงรักษา ค่าอะไหล่ในการบำรุงรักษา  หลัก ค่าประกันภัย   และผลตอบแทนส่วนเงินลง ทุนของผู้ถือหุ้น   ค่าใช้จ่ายในการบริหาร  และต้องรับ ผิดชอบต่อการ จ่ายคืน เงินกู้และค่าใช้จ่ายต่างๆ ที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะมีการเดินเครื่อง โรงไฟฟ้าหรือไม่ก็ตาม                                                            
                ขค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) ค่าพลังงานไฟฟ้า (Energy Payment : EP) เป็นค่าไฟฟ้า ที่ที่ผู้ผลิตไฟฟ้า เอกชนเสนอ สะท้อนมาจากค่าใช้จ่ายผันแปรในการผลิตและบำรุงรักษา โดยจะเปลี่ยนแปลง ตาม ราคาเชื้อเพลิงและปัจจัยอื่นๆ ตามสัญญาฯ ครอบคลุมค่าใช้จ่ายในการผลิต                                             
                      สัญญาซื้อขายไฟฟ้ากับ กฟผ.   กฟผ.จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าต้นทุนราคาเชื้อเพลิง  เช่นบริษัทผลิต
ไฟฟ้าราชบุรี   จำกัด ( ทำสัญญาเมื่อ ๙ ตุลาคม พ.. ๒๕๔๓และบริษัทผลิตไฟฟ้าอื่นๆ   
                   ดังนั้น เอกชนผู้ผลิตไฟฟ้าจึงไม่มีปัจจัยเสี่ยงใดๆ แต่ กฟผ รับผิดชอบหมด   ทั้งเงินลงทุน ค่าจ้างผู้ บริหาร ค่าเงินเดือน ค่าเชื้อเพลิง รับอย่างเดียวคือกำไร เช่น สัญญาที่รัฐสูญเสียผลประโยชน์ แต่ เอกชนได้ ประโยชน์โดย นายพรชัย รุจิประภา และนายคุรุจิต นาครทรรพ เป็นผู้มีส่วนได้เสีย และล่วงรู้ ข้อมูลภายใน และจัดทำร่างสัญญา ที่เอกชนได้ประโยชน์ทั้งหมด     แต่รัฐเสียหาย            
                     สัญญาซื้อขายไฟฟ้า    ไม่เป็นธรรมกับประเทศชาติ เเละบอร์ดการไฟฟ้าที่ทำสัญญากับเอกชน ผู้ผลิตไฟฟ้า  ที่ต้องให้การไฟฟ้ารับผิดชอบทุกอย่างในปัจจัยเสี่ยงทั้งดอกเบี้ยเงินกู้เงินลงทุน ค่าจ้างค่าบริหาร ค่าซ่อมบำรุง      ซึ่งไม่มีบริษัทใดในโลกที่จะทำสัญญาให้กับบริษัทคู่สัญญา ให้ตนเองเสียเปรียบยกเว้น ไปมีส่วนได้เสีย  ซึ่งเป็นการกระทำที่ไม่รักษาผลแประโยชน์ชาติ                  
                       เอกชนที่มีบอร์ดการไฟฟ้าไปนั่งเป็นประธานกรรมการ กลับมีกำไรเพิ่มเช่น บริษัทราชบุรีโฮลดิงค์ มีกำไรโบนัสให้ตนเอง      การที่กำหนดอัตราค่าไฟฟ้าที่ซื้อขายแพงกว่า เอกชนรายอื่น และ กำไรของบริษัทผลิต ไฟฟ้าราชบุรี กำไรเพิ่มขึ้น  กรรมการได้โบนัสเพิ่มถือ เป็นผู้ที่มีส่วนได้เสีย และมีผลประโยชน์ทับซ้อนชัดเจน และกำไรบริษัทราชบุรีโฮลดิงค์  ก็เพิ่มขึ้นในปี ๒๕๕๔​​​​  กำไรสุทธิ ๔๘๔๐.๖๔ ล้านบาท  และปี๒๕๕๕ กำไร ,๗๒๖.๒๗ล้านบาท    ซึ่งกำไรเพิ่มขึ้นกว่า ๕๐%       แต่ค่าไฟฟ้าที่แพงขึ้นตกเป็นภาระแก่ประชาชน

ปี ๒๕๕๐  
 ปิยสวัสดิ   เป็น รมต พลังงาน
ตั้งกองทุนอนุรักษ์ พลังงานตั้งขึ้นตั้งแต่ ปี 2537   โดยรายได้มาจากการเก็บจากน้ำมันทุกลิตร  ลิตรละ ๒๕  สตางค์  ให้หน่วยงานต่างๆ      เช่นมูลนิธิ พลังงานเพื่อสิ่งแวดล้อม มี นายปิยสวัส เป็น ประธานกรรมการปัจจุบัน   (ตั้งขึ้นเมื่อ พศ 2543 )            มีกองทุนปัจจุบันอยู่ที่ 35,682.21    ล้านบาท   ข้อมูลณ วันที่  31 สิงหาคม 2557
และมีหนังสือจากสตง  เลขที่   ตผ 0015/4688 ลงวันที่ 29 ตค 2553  เรื่องการตรวจสอบประเมินผล กองทุนอนุรักษ์พลังงาน  ปี 2549-2551ของสำนักนโยบายและแผนพลังงานของกระทรวงพลังงานพบว่า มีการจ่ายเงินไม่เป็นไปตามวัตถุประสงค์ของกองทุน  เช่นซื้อรถยนต์  เครื่องแต่งกาย ฯลฯ      เช่นจ้างซ่อมเเซมอาคาร   จ้างดุแลต้นไม้  ซื้อรถยนต์ ฯลฯ   ที่มี นาย วีระพล จิรประดิษฐกุล  ผู้อำนวยการ กองทุน
  (   นาย วีระพล จิรประดิษฐกุล   ปี : ..2549 กรรมการโดยตำแหน่ง ผู้อำนวยการสำนักงานนโยบายและแผนพลังงาน สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน
ปี : ..2550 กรรมการ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีสมัยนายกรัฐมนตรี สุรยุทธ์ จุลานนท์
ปี : ..2551 กรรมการ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี (สมัยนายกรัฐมนตรี สมัคร สุนทรเวช ),(สมัยนายกรัฐมนตรี สมชาย วงศ์สวัสดิ์ ), (สมัยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
ปี : ..2551 เลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน สำนักงานคณะกรรมการกำกับกิจการพลังงาน -   http://www.tpd.in.th/person/dscper_ge.php?id=006490&politicianID#sthash.CluBmYXG.dpuf
ปี : ..2552 กรรมการ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีสมัยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ
ปี : ..2553 อธิบดี กรมธุรกิจพลังงาน ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรี   สมัยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)
ปี : ..2553 กรรมการ สถาบันบริหารกองทุนพลังงาน ดำรงตำแหน่งในคณะรัฐมนตรีชุดปี 59 (สมัยนายกรัฐมนตรี อภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ)


ตั้งแต่นายปิสวัสดิ์ได้ดำรงค์ตำแหน่งเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานเมื่อวันที่    ตั้งแต่ 9 ตุลาคม 2549  ถึง   กุมภาพันธ์    2551    
ในช่วงเวลาดังกล่าวได้ทำความเสียหายแก่แผ่นดินคือ

ปี 2550
สมัยรัฐบาลสุรยุทธ ที่มีนาย ปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เป็น รมว.พลังงาน ได้มีการต่อสัญญาสัมปทานให้กับบริษัท เชฟรอน แปลงสัมปทาน 10-13 และของ ปตท.สผ.แปลง 15-17 เป็นเวลา 10 ปี  ทั้งที่ยังเหลืออายุสัญญาอีก 10 ปี และก็พบว่าเป็นแหล่งที่มีการต่อสัญญาที่ใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์ชาติไทย

แปลง 15,16,17 ของ ปตท.สผ. มูลค่าปิโตรเลียมต่อปี คือ ประมาณ 1 แสนล้านเศษ 10 ปี จะได้ 1.2 ล้านล้านบาท ผลตอบแทน 13,950 ล้านบาท คิดเป็น 1.16% ของมูลค่าปิโตรเลียม

ส่วนแปลง 10 ,11,12,13 ของเชฟรอน มูลค่า 1.3 ล้านล้านบาท ได้ผลตอบแทนจากการต่ออายุ 23,250 ล้านบาท คิดเป็น 1.79% ของมูลค่าปิโตรเลียม

ต่อสัญญาทั้งที่เหลือเวลาสัมปทานอีก 10 ปี ให้เอกชน 2 บริษัทฟาดรายได้ 2.5 ล้านล้าน แต่รัฐได้แค่ 1 เปอร์เซนต์ !!!

 
อ้างอิง  http://www.manager.co.th/Politics/ViewNews.aspx?NewsID=9570000032407
 
2   ให้สัมปทานบริษัทต่างๆในครั้งที่20 จำนวน แปลงสัมปทาน  30  แปลง    มากที่สุดในทุกรัฐบาล  ทั้งๆที่อยู่ในวาระเพีบง 1 ปีเศษ   อ้างอิงรายงานกรมเชือ้เพลิงธรรมชาติ ปี 2554

3  นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทร์ รมต พลังงาน  ในสมัย พลเอกสุรยุทธ จุลานนท์  ได้แก้ไขพรบ ปิโตรเลี่ยม  พศ 2550     (มาตรา 22    อำนาจการให้สัมปทานเป็นของรมต พลังงาน มาตรา28  ขยายพื้นที่ให้สัมปทาน ไม่จำกัด       มาตรา 99 สามารถลดหย่อนค่าภาคหลวงได้ ไม่เกิน 90%)   จากเดิมลดได้ไม่เกิน 30 %   ให้เอื้อแก่เอกชน และให้อำนาจ รมต พลังงาน สามารถ ให้สัมปทาน  ลดค่าสัมปทาน     แก่เอกชน ได้ โดยไม่ผ่านความเห็นหรือการมี ส่วนร่วม ของประชาชน       หรือการแบ่งประโยชน์ อย่างเป็นธรรม ตาม รัฐธรรมนูญ  มาตรา 57   58   66  67  85(4)    


   ปี 2550  
นายพรชัย   รุจิประภา เป็นประธานคณะกรรมการ บริษัท PTTCH   มี ประเสริฐ บุญสัมพันธ์   รองประธาน   โอฬาร ไชยประวัติ เป็นกรรมการ      กำไรบริษัท 18,000 ล้านบาท
และ นาย พรชัย  รุจิประภา เป็นประธาน  PTTAR     จนปี 2552  เปลี่ยนเป็น นาย ณอคุณ   สิทธิพงษ์เป้นประธานแทน พรชัย
นายพรชัย รุจิประภา   ประธานกรรมการ  PTTCH  ปี 50   ขณะดำรงค์ตำแหน่ง    ปลัดกระทรวงพลังงาน  ที่มีปิยสวัสดิ์เป็นรมต พลังงาน
นายพรชัย รุจิประภา  ( ต่อ ) ยังเป็น ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ประธานกรรมการ    บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)  PTTAR 
รองเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ  และสังคมแห่งชาติ
กรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จํากัด (มหาชน)    EGCO
ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จํากัด (มหาชน)
ปี 2554 
PTTAR   และ  PTTCH  เป็น PTTGC  มีประเสริฐ บุญสัมพันธ์ เป็นประธานกรรมการ
สุเทพ เหลี่ยมศิริเจริญ   อดีตผอ  สนพ ผู้ชงแผน และสถิติพลังงานให้ครม และกพช   เป็น กรรมการ   กำไร ปี 2555  - 2556 รวม กว่า หกแสนล้านบาท    

ปี 2557
 นาย ปิยสวัสดิเป็น ประธาน บอร์ด ปตท   เสนอให้แยกท่อก๊าซ  ให้เป็นบริษัทเอกชน       อนุมัติ โดย  จาก กพช มีคุณประยุทธ เป็นประธาน กพช เสนอโดยประจินต์ จั่นตอง

มี พรชัย เป็น รมต ICT
คุรุจิต เป็น อธิบดี กรมเชือ้เพลิง      ดูแลราคา ก๊าซธรรมชาติ   และการมอบสัมปทาน ให้เอกชน
คนแก้ไขพรบปิโตรเบี่ยมคือสมัย ปิยสวัดิ์ เป็นรมต พลังงาน ปี 2550 ให้อธิบดี กรมเชือ้เพลิงมีอำนาจมากขึ้น

 l
http://www.vcharkarn.com/vblog/37277/22    โรงกลั่นน้ำมัน(Oil Refinery)
http://pttch-th.listedcompany.com/misc/ar/ar2007_th.pdf
PTTCH  เม็ดพลาสติค  ใย ผ้า  ผลิต-จําหน่าย เม็ดพลาสติกโพลิเอทิลีน  ผลิตภัณฑ์พลาสติก

 ผลิต-จําหน่ายเอทิลีนออกไซด์ (EO)  MEG ใช้ผลิตเส้นใยโพลีเอสเตอร์    เอทิลีนไกลคอล (EG)

ผู้ถือหุ้นใหญ่    PTT 49.33 %              SCG 20.26 %

 พรชัย รุจิประภา
  ประธานกรรมการ ปี 50   ขณะดำรงค์ตำแหน่ง    ปลัดกระทรวงพลังงาน
ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ประธานกรรมการ    บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
รองเลขาธิการ สํานักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจ  และสังคมแห่งชาติ
กรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ผลิตไฟฟ้า จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท โรงกลั่นน้ำมันระยอง จํากัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. เคมิคอล จํากัด (มหาชน)  ปี 2550 

นายประเสริฐ  บุญสัมพันธ 
รองประธานกรรมการ  บริษัท ปตท. เคมิคอล จํากัด (มหาชนปี 2550 
ขณะดำรงค์ตำแหน่ง   ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่   บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)  PTTAR
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มธุรกิจก๊าซธรรมชาติ  บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)


นายโอฬาร ไชยประวัติ
 กรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท เชียงใหม่ โฟรเซ่นฟูดส์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ สภามหาวิทยาลัยชินวัตร
กรรมการผู้จัดการใหญ่ ธนาคารไทยพาณิชย์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)

นายมนู  เลียวไพโรจน์
ประธานกรรมการกํากับดูแลกิจการ กรรมการตรวจสอบ
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์เพาเวอร์ จํากัด
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
ประสบการณ์
ปลัดกระทรวงอุตสาหกรรม
ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ   บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)


นายพละ   สุขเวช
กรรมการ  ประธานกรรมการกําหนดค่าตอบแทน
ประธานกรรมการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโอลีโอเคมี จํากัด
 ประสบการณ์
กรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)

นายเชิดพงษ์   สิริวิชช์
ประธานกรรมการ   บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
 ประสบการณ์ 
ปลัดกระทรวงพลังงาน
ประธานกรรมการ บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
ประธานกรรมการ บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
นายทองฉัตร  หงศ์ลดารมภ์   ตำแหน่งปี 2550 
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท บางกอกโพลีเอททีลีน จํากัด (มหาชน)
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยแฟตตี้แอลกอฮอล์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวมทหารไทย จํากัด
นายกสภามหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี
กรรมการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย

ประสบการณ์
ที่ปรึกษานโยบาย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน
ประธานกรรมการ การนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย
กรรมการอิสระ ประธานกรรมการตรวจสอบและกรรมการสรรหาและ
กําหนดค่าตอบแทน บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)
บริษัท ปตท. เคมิคอล จํากัด (มหาชน)

นายพิชัย  ชุณหวชิร
กรรมการ  
ประธานเจ้าหน้าที่บริหารการเงิน บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. สํารวจและผลิตปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จํากัด (มหาชน)
รองประธานกรรมการ บริษัท ทิพยประกันภัย จํากัด (มหาชน)
ประสบการณ์
กรรมการ บริษัท กฟผ. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ การไฟฟ้านครหลวง
กรรมการและกรรมการสรรหาและกําหนดค่าตอบแทน
บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)



นายปรัชญา  ภิญญาวัธน์
ประธานเจ้าหน้าที่ปฏิบัติการกลุ่มธุรกิจปิโตรเลียมขั้นปลาย   บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยออยล์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไออาร์พีซี จํากัด (มหาชน)


ประสบการณ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่กลยุทธ์และพัฒนาองค์กร
บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่บริหารองค์กร
บริษัท ปตท. จํากัด (มหาชน)
กรรมการและกรรมการกําหนดค่าตอบแทน
บริษัท ปิโตรเคมีแห่งชาติ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท อะโรเมติกส์ (ประเทศไทย) จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท โรงกลั่นน้ํามันระยอง จํากัด (มหาชน)

นายชลณัฐ  ญาณารณพ์
กรรมการ บริษัท ไทยพลาสติกและเคมีภัณฑ์ จํากัด (มหาชน)
กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท เอสซีจี โพลิโอเลฟินส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท ไทยโพลิโพรไพลีน จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จํากัด
ประธานกรรมการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการอํานวยการ สถาบันปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย
ประสบการณ์
รองกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เคมีภัณฑ์ซิเมนต์ไทย จํากัด
กรรมการ บริษัท ไทยโอเลฟินส์ จํากัด (มหาชน)

นายรุ่งโรจน   รังสิโยภาส   กรรมการ

ผู้ช่วยผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)
กรรมการ บริษัท ระยองโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท เอสซีจี โพลิโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท ไทยโพลิเอททีลีน จํากัด
กรรมการ บริษัท ไทยโพลิโพรไพลีน จํากัด
กรรมการ บริษัท เอสซีจี พลาสติกส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท เอสซีจี เคมิคอลส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท มาบตาพุดโอเลฟินส์ จํากัด
กรรมการ บริษัท สยามสไตรีนโมโนเมอร์ จํากัด
ผู้อํานวยการสํานักงานวางแผนกลาง  บริษัท ปูนซิเมนต์ไทย จํากัด (มหาชน)

การเข้าร่วมประชุมของกรรมการบริษัทกรรมการเฉพาะเรื่อง  และค่าตอบแทนในปี2550

1.  นายพรชัย รุจิประภา   ประธานกรรมการ      โบนัส  3,404,590.16
(ได้รับแต่งตั้งให้ดํารงตําแหน่งประธาน   กรรมการแทน นายเชิดพงษ์ สิริวิชช์    ตั้งแต่ 1 .. 2550 เป็นต้นไป)

2.  นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์   โบนัส 3,404,590.16  รองประธานกรรมการ


3. นายโอฬาร ไชยประวัติโบนัส 3,404,590.16   กรรมการ     ประธานกรรมการตรวจสอบ

 

ปตท.อะโรเมติกส์ฯ แต่งตั้งกรรมการบริษัท     วันที่ 23 มกราคม 2552       โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์

ปตท.อะโรเมติกส์ฯ แต่งตั้ง ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ เป็นกรรมการบริษัทฯ แทน ดร.พรชัย รุจิประภา
     บริษัท ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) ได้มีการประชุมคณะกรรมการบริษัทฯ ครั้งที่ 1/2552 เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2552 และที่ประชุมได้มีมติอนุมัติแต่งตั้ง ดร.ณอคุณ สิทธิพงศ์ เป็นกรรมการบริษัทฯ แทน ดร.พรชัย รุจิประภา ที่ลาออกตามการพิจารณาเสนอแนะของคณะกรรมการสรรหาและกำหนดค่าตอบแทน
    ทั้งนี้ ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2552 เป็นต้นไป

  

 โรงกลั่นน้ำมัน ปตท. อะโรเมติกส์และการกลั่น ( PTTAR Refinery)  

    PTTAR
เป็นโรงกลั่นน้ำมันและผลิตสารอะโรเมติกส์ครบวงจรที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งในภูมิภาคเอเชียโดยปัจจุบัน PTTAR มีหน่วยกลั่นน้ำมันจำนวน 2 หน่วย คือ โรง กลั่นน้ำมันดิบประเภท Complex Refinery ขนาด 145,000 บาร์เรล ต่อวัน และ หน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทเพื่อผลิต รีฟอร์เมท ขนาด 70,000 บาร์เรลต่อวัน ทั้งนี้ บริษัทฯ กำลังก่อสร้างโรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 ซึ่งคาดว่าจะแล้วเสร็จสามารถดำเนินการผลิตเชิงพาณิชย์ได้ภายในไตรมาส 1 ปี 2552 และจะทำให้ PTTAR มีกำลังการกลั่นเพิ่มขึ้นจากหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทอีก 65,000 บาร์เรลต่อวัน นอกจากนี้บริษัทยังเป็นผู้ผลิตสารอะโรเมติกส์รายใหญ่อันดับที่ 1 ในประเทศไทยโดยมีกำลังการผลิตสูงถึง 1,189,000 ตันต่อปี และเมื่อ โรงงานอะโรเมติกส์หน่วยที่ 2 แล้วเสร็จ PTTAR จะมีกำลังการผลิตสารอะโรเมติกส์เพิ่มขึ้นเป็น 2,228,000 ตันต่อปี
 
 มีความสามารถในการเลือกใช้วัตถุดิบหลากหลายที่มีคุณภาพและราคาที่เหมาะสม เพื่อให้ผลิตน้ำมันเบนซิน น้ำมันอากาศยาน น้ำมันดีเซล น้ำมันเตา สารเบนซีน สารพาราไซลีน สารไซโคลเฮกเซน ที่ครบถ้วนตรงกับความต้องการของตลาด 
 ภาพและข้อมูลจาก www.pttar.com

  
กำลังกลั่นน้ำมันดิบของโรงกลั่นน้ำมันระยอง 145,000 บาเรลต่อวัน(23 ล้านลิตรต่อวัน) แต่ถ้ารวมกำลังกลั่นของหน่วยกลั่นแยกคอนเดนเสทแล้ว กำลังกลั่นจะเป็น 280,000 บาเรลต่อวัน(44.5 ล้านลิตรต่อวันซึ่งจะมากกว่าโรงกลั่นไทยออย์ซึ่งมีกำลังกลั่น275,000 บาเรลต่อวัน(43.7 ล้านลิตรต่อวัน) เล็กน้อย
  
คอนเดนเสทเป็นน้ำมันดิบชนิดเบามาก กลั่นแล้วจะได้ผลิตภัณฑ์เบาชนิดแนฟทาเป็นส่วนใหญ่ซึ่งจะใช้เป็นวัตถุดิบขั้น ต้นในกระบวนการผลิตสารอะโรมาติกส์
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/finance/finance/20090407/31845/%E0%B8%9C%E0%B8%B9%E0%B9%89%E0%B8%96%E0%B8%B7%E0%B8%AD%E0%B8%AB%E0%B8%B8%E0%B9%89%E0%B8%99PTTAR%E0%B9%82%E0%B8%A7%E0%B8%A2%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B9%89%E0%B8%87%E0%B9%80%E0%B8%AA%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%9E%E0%B8%B4%E0%B8%A8%E0%B8%B8%E0%B8%97%E0%B8%98%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9B%E0%B9%87%E0%B8%99%E0%B8%81%E0%B8%A3%E0%B8%A3%E0%B8%A1%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3.html
ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 21 เม.. 54  ที่ผ่านมามีการประชุมผู้ถือหุ้นบริษัท ปตท. อะโรเมติกส์ และการกลั่น จำกัด (มหาชน) หรือ PTTAR และบริษัท ปตท.ปิโตรเคมีคอล จำกัด (มหาชน) (PTTCH) โดยมีวาระสำคัญ คือการขออนุมัติผู้ถือหุ้นควบรวมกิจการระหว่างกัน ซึ่งปรากฏว่าที่ประชุมผู้ถือหุ้นทั้ง 2 บริษัท ต่างโหวตอนุมัติการควบรวมกิจการด้วยมติเป็นเอกฉันท์ โดยนายณอคุณ สิทธิพงศ์ ประธานกรรมการ PTTAR กล่าวว่า ที่ประชุมผู้ถือหุ้นได้มีมติด้วยเสียงข้างมาก 99.65%


http://www.thairath.co.th/content/165824