วันอังคารที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปูมหลัง กลุ่ม ทวงคืน ปตท. เพจ ทวงคืนพลังงานไทย ในเฟสบุ๊ค!!!


วันอังคารที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2556

ปูมหลัง กลุ่ม ทวงคืน ปตท. กลุ่ม ทวงคืน พลังงานไทย ในเฟสบุ๊ค!!!

เหตุมันมาจากเรื่องนี้...ที่สื่อมวลชน ภาคประชาชน องค์กรเอกชน และคนที่อาสาทำเพื่อ ประชาชน หุบปากเงียบกันหมด !!!



คุณล่ะ เชื่อแบบไหน ... โรงงานอื่นๆ เขาตอกเสาเข็มกันทั้งหมด แต่ ปตท.ไม่ ต้องตอกเสาเข็ม แค่อ้างว่า ดินแข็งกว่า ... ศาลปกครองเชื่อ คุณล่ะเชื่อมั้ย !!?? ตุลาการศาล จบ วิศวะ ครับ แป่วส์!!!

๐ ทั้งหมดที่เห็น หอแยกก๊าซ หอ กลั่น หอสูง 40-50 ม. สูงกว่าตึก 10 ชั้น ทรุดฮวบ แค่ 2-3 นิ้ว ท่อ ข้อต่อ วาล์ว ก้อแตก แล้วบอกว่า จะปิดได้ปิดทัน จริงๆ หรือ ถ้าวาล์วแตก !!! - โรงงานที่อยู่ติดกัน กับโรงงาน ปตท.เค้าตอกเสาเข็มกันทั้งหมด ดูตรงนี้ครับ - http://maptaphut-news.blogspot.com/2012/09/blog-post.html

ความจริงที่ต้องยอมรับกันได้ ว่าอะไรเกิดขึ้น!!!
กลุ่ม ทวงคืน ปตท. - เกิดขึ้นเมื่อ กลางเดือนสิงหาคม 2554 หลังจากข่าว การฟ้องเรื่องการกระจายหุ้นไม่ชอบ ของ ปตท. เงียบหายไปจากหน้าเวบ ASTV ผู้จัดการ ซึ่งก่อนหน้านี้ ทางกลุ่มพิทักษ์อากาศสดชื่น มาบตาพุด ได้นำเรื่อง โรงแยกก๊าซใหม่ ปตท. และโรงงานวัตถุอันตราย ของ ปตท. หลายแห่งไม่ตอกเสาเข็มทั้งหมด ร้องเรียนไป แต่ข่าวคราวกลับเงียบหายไปหมด ก็เข้าใจดีว่า สื่อต้องการค่าโฆษณา...การเปิดกลุ่ม ทวงคืน ปตท.ในเฟสบุ๊ค ก็ต้องการทวงคืน ความชอบธรรม เพราะในเมื่อ ปชช. ไม่มีสื่อตรงไหน ที่จะเป็นที่พึ่งได้...ความวิตกอีกอย่างหนึ่งคือ "การเสื่อมศรัทธาในธรรมความดีความถูกต้อง" ... เพราะสื่อเห็นแก่ค่าโโหษณามากกว่า ปัญหา ปชช. จากการเปิดกลุ่ม และมีสมาชิกกลุ่มเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วมากถึง 4 พันคน และสุดท้าย นายปานเทพ พัวพงษ์พันธ์ ได้นำแกนนำ พธม. 4 คน ไปร่วมยื่น ฟ้อง ปตท.เมื่อ 22 กันยายน 2554 ที่ศาลปกครอง แจ้งวัฒนะ และศาลปกครอง มีมติรับคำร้องไว้พิจารณาอย่างรวดเร็ว โดยใช้เวลาเพียง 2 สัปดาห์ คือ โดยรับคำฟ้องเมื่อ 7 ตุลาคม 2554 เพื่อที่จะได้ไม่ต้องเปิด "พยานเอกสาร" ... ตามคำร้องขอ !!!???

นานาอารยะ ปชช. เค้าใช้ สื่อออนไลน์ นี่แหระครับ กดดันให้มีการเปลี่ยนแปลง เรื่องต่างๆ ไม่ต้องไปนั่งปิดถนน ทำชาวบ้านเดือดร้อน บ้างก้อได้ครับ คดี มูลนิธิ ต้องไปฟ้องศาลปกครอง ... พวกเรา ก้อใช้ เฟสบุ๊ค นั่งบ่นปนด่า คนที่อ้างว่า จะทวงคืน ปตท. แต่ คดี ไปไม่ถึงศาลเสียที สุดท้ายทนโดนด่าไม่ไหว นายปานเทพ ต้องหอบ แกนนำ พธม. 4 คน ไปศาลปกครอง 22 ก.ย.54 ไม่เชื่อลองไปถาม นายปานเทพสิครับ ว่า จริงป่ะ - "ต้องบอกความจริงชาวบ้าน พูดความจริงให้หมด"




มาบตาพุด ร่วมทวงคืน ปตท. เพราะอะไร

ทำไม ... คนมาบตาพุด ต้องร่วมทวงคืน ปตท.
  
ทวงคืน ปตท. จาก บริษัท ที่มุ่งเน้นแต่กำไร มาเป็น การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย ที่ดำเนินการเพื่อประเทศชาติ ประชาชน และอีกหลายเหตุผล ที่ ปตท. สร้างผลกระทบ ใหญ่หลวงกับคนมาบตาพุด เพราะการเป็น บริษัท จึงประมาท มักง่ายรีบเร่งแสวงหากำไร และเพื่อประโยชน์โภชผลส่วนตนของแต่ละกลุ่มแต่ละฝ่าย นอกจาก ปตท. เป็นต้นตอ ให้พลังงานแพงแล้ว ยังสร้างผลกระทบรุนแรงต่อสภาพแวดล้อม เสี่ยงที่จะก่อเหตุหายนะ ให้ชาวบ้านและชุมชน โดยรอบอีก 
  
การสร้างโรงงาน ไม่แข็งแรงมั่นคง ความไม่มีเสถียรภาพ ของฐานเครื่องจักร และระบบท่อส่ง ต่างๆ ทำให้ขบวนการผลิต ไม่เสถียรด้วย แกนเครื่องจักรเอียง ประสิทธิภาพลดลง ระบบท่อส่งมีปัญหา การรั่ว การซ่อม ก๊าซที่ผลิตเพื่อเป็นวัตถุดิบของโรงงานอื่นๆ 6-7 โรงนั้น  จึงไม่ได้มาตรฐาน การเผาก๊าซทิ้งจึงมากมาย อากาศเสียถูกปลดปล่อยที่ปลายปล่อง มายาวนานหลายเดือน ... 
สร้างผลกระทบเดือดร้อน // หน้าโรงแยกก๊าซใหม่ กลิ่นก๊าซแอลพีจีรั่วไหล เหม็นคุ้ง น่ากลัว เพราะเป็นก๊าซไวไฟ // มีคลังก๊าซขนาดใหญ่ ระหว่างโรงแยกก๊าซใหม่ 2 โรง ที่ไม่ได้ตอกเสาเข็มฐานรากทั้งหมด ก๊าซไวไฟรั่วรุนแรง ถ้าเกิดระเบิดลุกลาม เสี่ยงสร้างหายนะใหญ่หลวง ฯ
เพราะ เป็น บริษัท จึงมุ่งหา กำไร เร่งรีบเร่งร้อน จนมักง่ายประมาท สร้างความเสี่ยงหายนะ ... เหตุผลที่ทำไม ต้องทวงคืน ปตท. ของ คนมาบตาพุด ที่ไม่ใช่แค่เรื่อง พลังงานแพง เท่านั้นฯ
... นี่แหระครับ ปูมหลังสั้นๆ ...

รายละเอียดเพิ่มเติมอีกมากมาย ดูรูปแล้วบางคนอาจสงสัย ที่จะทำให้เกิดความด่างพร้อยของภาคประชาชน ด้วยหรือไม่ เมื่ออาสาทำหน้าที่ แล้วไม่ทำหน้าที่ สื่อไหนๆ ก็ไม่สนใจจะเอาความ ปตท. มันก็เป็นเรื่องที่ ต้องทำงานหนักขึ้นและหนักขึ้น...จนวันหนึ่งเกิดกระแสหมั่นใส้ ปตท.ขึ้นมา (ทั้งๆที่ ก็ทำเรื่องนี้ มานานมาก มีคนสนใจกันแล้วก็หายกันไป ทิ้งปัญหากันไว้อีก)






วันเสาร์ที่ 16 สิงหาคม พ.ศ. 2557

อันตราย!! ไทยเสียเอกราชให้นายทุนเรียบร้อยแล้วหรือยัง

อันตราย!! ไทยเสียเอกราชให้นายทุนเรียบร้อยแล้วหรือยัง พึงระวัง ความมั่นคงของรัฐ และเอกราชของรัฐ ทรัพยากรธรรมชาติ กรรมสิทธิของประชาชน จะตกเป็นของเอกชน ไทยจะเป็นทาส ที่ต้องส่งส่วย ให้นายทุน และชนชั้นปกครอง ไม่ใช่ทาส ต่างชาติ ประเทศใด แต่เป็นคนไทยด้วยกัน ระหว่างชนชั้นปกครอง และชนชั้นถูกปกครอง ที่ต้องส่งส่วยทางอ้อมทุกๆวัน ปัจจุบันก็ต้องส่งส่วยให้เจ้าของโรงกลั่น เจ้าของผู้ถือหุ้นปตท รายใหญ่ และ กรรมการผู้บริหาร ปตท ผ่าน เงินกองทุนน้ำมัน ราคาน้ำมัน ด้วยนโยบายที่ภาครัฐร่วมกันฉ้อฉล และกฟผ ผ่านการผูกขาด การขายก๊าซธรรมชาติที่ ปตท เจ้าเดียว ที่ขึ้นราคาเท่าไรก้ได้ ให้กับการไฟฟ้า ซึ่งโยนภาระมาให้ประชาชน



Trans ASEAN Gas Pipeline Project (TAGP)
A TAGP Masterplan has been prepared and this serves as the blue print and/or plan of action in undertaking the gas pipeline project in the region.
ลองตามไปดูเรื่องท่อก๊าซ http://www3.pttplc.com/en/about-ptt-business-operations-gas-unit-transmission-pipeline.aspx

โครงการเชื่อมโยงท่อส่งก๊าซธรรมชาติอาเซียน อาเซียนได้ลงนาม Memorandum of Understanding on the Trans-ASEAN Gas Pipeline (TAGP) ปี 2545 เพื่อเป็นแนวทางในการก่อสร้างระบบเครือข่ายท่อส่งก๊าซธรรมชาติเชื่อมโยงกัน ระหว่างประเทศสมาชิก รวมถึงส่งเสริมการค้าก๊าซธรรมชาติอย่างเสรีผ่านระบบเครือข่ายท่อก๊าซระหว่าง ประเทศสมาชิก ปัจจุบันอาเซียนมีการเชื่อมโยงโครงข่ายท่อก๊าซธรรมชาติในอาเซียน 8 โครงการ รวมระยะทาง 2,300 กม. และมีแผนการที่จะก่อสร้างเพิ่มเติมอีก 7 โครงการในอนาคต โดยแหล่งก๊าซนาทูน่าตะวันออกของอินโดนีเซียจะเป็นแหล่งก๊าซหลักที่จะ สนับสนุนโครงการท่อก๊าซในอาเซียน โดยในส่วนของไทยมีอยู่ 5 โครงการhttp://www.aseancorner.com/ความร่วมมือของอาเซียน/

ดังนั้น หากคสช หลวมตัวไม่ระวัง จะมีทำให้มีการสูญเสียความมั่นคงของรัฐ และเอกราช ของคนไทยชนชั้นถูกปกครอง เนื่องจาก 1 ทั้งแหล่งพลังงาน ขุมทรัพย์ ของไทย ใช้แบบระบบการให้สัมปทาน คือยกกรรมสิทธิในแหล่งน้ำมันและแหล่งปิโตรเลี่ยม ให้เอกชน การรายงานให้เอกชนรายงาน ปริมาณ น้ำมันดิบ และก๊าซธรรมชาติที่ขุดได้ แต่ประเทศอื่นๆ ใช้ระบบแบ่งปันผลผลิต ซึ่งให้รัฐรายงานและตรวจสอบได้ และเป็นกรรมสิทธิของรัฐ 2 ระบบท่อก๊าซ ที่จะจัดสรรให้เอกชน หากเอกชนรายอื่นทำแข่งขัน กับเจ้าของท่อก๊าซ เจ้าของท่อก๊าซ จะหยุดส่งวัตถุดิบ เพราะฉะนั้น เจ้าของท่อก๊าซ จะเป็นผู้ผูกขาดพลังงานทั้งหมดของประเทศ ซึ่งอาจจะมีการเชื่อมโยงกับท่อก๊าซไปประเทศเพื่อนบ้าน 3 การวางระบบโครงสร้างพื้นฐาน ระบบรางคู๋ เชื่อมโยงจากแหลมฉบัง แทนที่จะเชื่อมโยงจากศูนย์กลาง จากกทม เพื่อขนส่งทั้งคน และสินค้า กลับกลายเป็นว่ารัฐลงทุน เงินภาษีประชาชนทั้งประเทศ เพื่อ ทำโครงสร้างพื้นฐานให้ลดต้นทุนเอกชน ในการขนส่งสินค้า ซึ่งแน่นอน รวมถึงน้ำมันดิบ ก๊าซธรรมชาติ ฯลฯ แถม ยังตรวจสอบปริมาณขุดเจาะไม่ได้ ดังนั้นแหล่งปิโตรเลี่ยมไทยที่ประชาชนตรวจสอบไม่ได้ ท่อก๊าซที่เอกชนเป้นเจ้าของ ระบบโครงสร้งพื้นฐานที่รัฐจะลทุนให้เอกชนขนส่สินค้า ท่านลองพิจารณากันว่า ทั้งหมดนี้ คนไทยเสีเอกราชหรือยัง อีกทั้ง ยังมีการนำเข้าส่งออกน้ำมันดิบของโรงกลั่น และน้ำมันสพเร็จรูปของผู้ค้าน้ำมันบางราย ที่ไม่มีหลักฐานมาจากไหน เท่าไร ไทยเราจะยิ่งต้องส่งส่วยเพิ่มมากขึ้นอีกเท่าใดในอนาคต จึงจะพอใจของเจ้าของทุนสามานย์ พวกเราคนไทย ผู้รักชาติโปรดลอง ตรองดูคะ ว่าจะทำอย่างไรที่จะรักษาอธิปไตยของคนไทย ชนชั้นถูกปกครอง โปรดช่วยกันเผยแพร่ให้คนไทยช่วยกันปกป้องอำนาจอธิปไตยของตนเอง อย่าให้ใครมากดขี่ข่มเหง อีกต่อไป 1LikeLike · · Share Umiko Miyaki likes this. Kamolpan Cheewapansri นายมอน ขอบอกว่า เรื่องโครงข่ายท่อก๊าซมิใช่แค่เรื่องระดับชาติ นะขอรับท่าน มันเป็นเรื่องโครงข่ายสัมพันธ์โยงใยกันทั่วโลก โชคดีของไทย มีแหล่งก๊าซธรรมชาติขนาดใหญ่ (จนผบ.ทบ. ประเทศไทยมองไม่เห็น !?!) และตำแหน่งทางภูมิศาสตร์ของประเทศไทยก็เป็นศูนย์กลางอำนาจใหม่ เป็น "หัวใจ" ของ ASEAN และ ของโลก โชคดีมักจะมีมาพร้อมเคราะห์ร้าย ไอ้พวกฉิบหายกลุ่มทุนสามานย์ ก็เร่งรัดสั่งการให้ลิ่วล้อบริวารเดินหน้าเต็มกำลัง - พังเป็นพัง รบเป็นรบ - กูต้องกินให้ครบทั้งท่อทั้งสัมปทาน ครบเครื่องคาวหวาน ยาวนานสิบชั่วโคตร !!!! สาวกโจรกลุ่มหนึ่งกุมอำนาจ สาวกโจรอีกกลุ่มหนึ่งอยู่สภานิติบัญญัติแห่งชาติ และซูเปอร์บอร์ดรัฐวิสาหกิจ สาวกโจรอีกส่วนหนึ่งเนียนสนิทในกระทรวงพลังงาน สาวกอีกกลุ่มหนึ่งรอเก้าอี้ในรัฐบาล และ สปช !!!! ผู้ครอบครองโครงข่ายท่อน้ำมันและก๊าซ คือผู้กุมอำนาจทางเศรษฐกิจ เป็นเจ้าชีวิตอาณาประชาชน ประเทศไทยต้องไม่ยอมให้ทุรชน เป็นคนควบคุมโครงข่ายท่อก๊าซ นี่คือความมั่นคงแห่งชาติ คือฐานอำนาจของรัฐ คือสมบัติของปวงชน เลิกปล้น เลิกขายชาติ รีบส่งมอบท่อก๊าซ ... ไอ้ชาติชั่ว !!! นายมอน ราษฎรหนุ่ม ๑๓ สิงหา ๕๗ ๐๙.๑๗ น. Transmission and Distribution Pipeline www.pttplc.com บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัทพลังงานแห่งชาติ ประกอบธุรกิจก๊าซธรรมชาติครบวงจร รวมถึง ธุรกิจน้ำมัน ธุรกิจการค้าระหว่างประเทศ การลงทุนในธุรกิจสำรวจและผลิตปิโตรเลียม ธุรกิจปิโตรเคมีและการกลั่น และธุรกิจอื่นๆที่เกี่ยวข้องทั้งในและต่างประเทศ ผ่านบริษัทในกลุ่ม ปตท.

วันอาทิตย์ที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สื่อผู้จัดการ ASTV รับเงิน ปตท.หลังโรงงานมาบตาพุดระเบิด


โฆษณาของ ปตท.ปี 2555 เฉียด 1,000 ล้าน บริษัทเล็ก ใหญ่กลุ่มอมตะ มวยไทยไฟต์ ทีวีบูรพา ช่อง 3 5 7 9 วอยซ์ทีวี ไร่ส้ม รับอื้อ สูงกว่าปี 2554 กว่า 300 ล้าน 

     บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ได้ใช้งบประมาณในการประชาสัมพันธ์กิจกรรมองค์กรและกิจการที่เกี่ยวข้องเกือบ 1,000 ล้านบาท ในรอบปีงบประมาณ 2555
     สำนักข่าวอิศรา www.isranews.org รายงานว่า ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน 2554 –กรกฎาคม 2555 บริษัท ปตท จำกัด (มหาชน) ได้ทำสัญญาว่าจ้างเอกชนในการประชาสัมพันธ์สร้างภาพลักษณ์องค์กรผ่านสื่อประชาสัมพันธ์ประเภทต่างๆและผ่านการจัดการแข่งขันกีฬา อาทิ กอ์ลฟ เทนนิส และมวย รวมเป็นเงิน 957 ล้านบาท
     บริษัทที่ได้รับว่าจ้างมากที่สุด ได้แก่
     บริษัท ทีบีดับบลิวเอ(ประเทศไทย) จำกัด 3 ครั้ง 270 ล้านบาท แบ่งเป็นจ้างวันที่ 31 ม.ค. 2555 จำนวน 190 ล้านบาท และวันที่ 30 มี.ค.จำนวน 2 ครั้ง 80 ล้านบาท
     รองลงมา บริษัท สปา-ฮาคูโฮโด 2 ครั้ง 70 ล้านบาท ได้แก่ โฆษณาประชาสัมพันธ์สำหรับกลุ่มผลิตภัณฑ์หล่อลื่นปตท. และผลิตภัณฑ์ ก๊าซหุงต้ม ประจำปี 2555
     บริษัท บีอีซี-เทโร เอ็นเตอร์เทนเม้นท์ จำกัด (ช่อง 3) 2 ครั้ง 67.2 ล้านบาท เฉพาะโฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขันเทนนิสเอทีพี รายการ “พีทีที ไทยแลนด์ โอเพ่น 2011” 60 ล้านบาท
     บริษัท ทีวีบูรพา จำกัด 2 ครั้ง 20,592,000 บาท (กลุ่มบริษัท เจ เอส แอล โกลบอล มีเดีย จำกัด ร่วมหุ้นกับนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ ) และ บริษัท บ้านบันดาลใจ จำกัดของนายสุทธิพงษ์ ธรรมวุฒิ 1 ครั้ง ผ่านรายการ"2012 เวลาเพื่อโลก" 12,600,000 บาท
     บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ หรือ ทีวีสีช่อง 7 จำนวน 20 ล้านบาท ผ่านการจัดแข่งขันกอล์ฟ Honda LPGA Thailand 2012
     อื่นๆ ที่น่าสนใจ อาทิ
     บริษัท วอยซ์ ทีวี จำกัด 1 ครั้ง จำนวน 6 ล้านบาท บมจ. มติชน 10 ล้านบาท บริษัท ไร่ส้ม จำกัด 1 ครั้ง 16,560,000 บาท บริษัท 3เอ.มาร์เก็ตติ้ง จำกัด 2 ครั้ง (ทีวีช่อง 5) 10,800,000 บาท 
    บริษัท มินต์ เน็ตเวิร์ก จำกัด (นายภาคภูมิ อินทร์พยุงถือหุ้นใหญ่) 2 ครั้ง โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ทางโทรทัศน์ในรายการ"รวมพลังรักษ์สิ่งแวดล้อมไทยกับ ปตท" ทางโทรทัศน์โลกสีขาวหัวใจสีเขียว รวม 16,160,000 บาท 
    บมจ.เนชั่น บรอดแคสติ้ง คอร์ปอเรชั่น 1 ครั้ง 10 ล้านบาท 
    บริษัท ไทยเดย์ด็อท คอม จำกัด ผ่านสื่อโทรทัศน์ในเครือผู้จัดการ 1 ครั้ง 10 ล้านบาท 
    บริษัท เมเจอร์ ซีนีแอด จำกัด โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท ในการจัดกิจกรรม “PTT World Bowling Tour 2011” 10 ล้านบาท
    บริษัท อมตะ สปริงดี เวลลอปเม้นท์ จำกัด โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท. ในการสนับสนุนแข่งขันกอล์ฟ “Thailand Golf Championship 2011” วงเงิน 15,900,000 บาท
    บริษัท สปอร์ต อาร์ต จำกัด (นายนพพร วาทิน นายชฎิล มาลีนนท์ ร่วมถือหุ้น)โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขันมวยไทย “THAI FIGHT” 30 ล้านบาท 
    บริษัท ยูนิเวอร์แซลสปอร์ต แมเนจเมนท์ จำกัด (นายพงษ์พัฒน์ รุ่งวานนท์ชัย ถือหุ้นใหญ่ นายอุทัย อุดมเดชวัฒน์ เป็นกรรมการ)โฆษณาประชาสัมพันธ์ ปตท.ในการจัดการแข่งขัน “ไทยแลนด์ฟุตซอลลีก 2011” 6 ล้าน บาท (ดูตารางประกอบ) 
    ทั้งนี้ไม่รวม จ้างทำงานโฆษณาประชาสัมพันธ์โครงการบัตรเครดิตพลังงาน NGV 33,801,350.00 บาท
    จ้างจัดงาน THAILAND NIGHT ระหว่างการประชุมประจำปีของ WORLD ECONOMIC FORUM ปี 2555 จำนวน 29,100,000.00 บาท
    จัดงานเลี้ยงต้อนรับผู้เข้าร่วมสัมมนาหอการค้าทั่วประเทศ ประจำปี 2554 จ.ระยอง 6 ล้านบาท 
    ดำเนินการออกแบบ จัดสร้างตกแต่งบริหารร้านนิทรรศการกลุ่ม ปตท.และสื่อแสดงต่าง ๆ ในงานมหกรรมพืชสวนโลกเฉลิมพระเกียรติฯราชพฤกษ์ 9,999,500 บาท
    ที่ปรึกษาพัฒนาชุมชนโครงการรักษ์ป่า สร้างคน 84 ตำบล วิถีพอเพียง 7,631,580 บาท
    หากรวมเม็ดเงินส่วนนี้ด้วย รวมประมาณ 1,044 ล้านบาท 
   ก่อนหน้านี้ในปีงบประมาณ 2554 (ตัวเลขทั้งปี) ปตท. ใช้เม็ดเงินในการประชาสัมพันธ์ 44 รายการรวม 651,119,969 บาท ในจำนวนนี้ใช้ผ่าน บมจ.อสมท.มากสุด 107 ล้านบาท รองลงมากลุ่มบีอีซี-เทโรและบริษัท ไร่ส้ม จำกัดประมาณ 45.5 ล้านบาท บริษัท กรุงเทพโทรทัศน์และวิทยุ จำกัด (ช่อง 7) จำนวน 20 ล้านบาท


วันเสาร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2557

สาเหตุที่ ปตท.ต้องการมีกำไรมหาศาล !!!

สาเหตุที่ ปตท.ต้องการมีกำไรมหาศาล !!!
เพื่อเปิดช่องฉ้อฉล กับการลงทุนที่ไร้การตรวจสอบดูแล จากหน่วยงานใดๆ นั่นเอง!
(อย่าลืมว่า..กำไรของ ปตท.มาจากน้ำตา ปชช.)


บริษัท ปตท.นอกจากมีบริษัทลูกหลานในเกาะเคย์แมนถึง 30-32 บริษัทแล้ว ยังมีการเปิดบริษัทในที่อื่นๆ ได้แก่ เกาะไซปรัส เกาะมอร์ริเชียส เกาะบาฮามาส และเกาะเบอร์มิวด้า ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งทางการเงินโพ้นทะเลซึ่งถูกระบุไว้ในรายงานของสหประชาชาติว่าเป็นแหล่งฟอกเงิน แหล่งที่มาของรูปแบบการฉ้อฉลทางการเงินระดับสูงและแหล่งหลีกเลี่ยงภาษีทั่วโลก http://www.manager.co.th/AstvWeekend/ViewNews.aspx?NewsID=9570000090578

รายงานพิเศษ
       
       การออกมาโกหกคำโตของ นายไพรินทร์ ชูโชติถาวร ซีอีโอ ปตท.ที่ให้สัมภาษณ์แทบลอยด์ไทยโพสต์ เมื่อวันที่ 20 ก.ค. ถึงเรื่องการไปตั้งบริษัทที่เกาะเคย์แมนและเงินเดือนค่าตอบแทนในตำแหน่งซีอีโอ โดยแขวะคนที่ตั้งคำถามตรวจสอบ ปตท.และบริษัทในเครือว่าเป็นพวกที่ชอบโกหกบ่อยๆ จนตัวเองเชื่อว่าเป็นความจริง สุดท้ายซีอีโอปตท.ก็เจอ “งานเข้า” ทำเอาบริษัทลูกหลานในเครือเดือดร้อน ต้องรีบชิงปิดกิจการบนเกาะสวรรค์ดินแดนแห่งการฟอกเงิน ก่อนที่เรื่องราวจะลุกลามบานปลายถูกตรวจสอบไปมากกว่านี้
       
       ถึงนาทีนี้ การที่ ปตท.จะใช้อำนาจเงินและอำนาจการเมืองมาปิดฟ้าด้วยฝ่ามืออย่างที่เคยทำกันมาดูท่าจะยาก ยิ่งปิด ยิ่งบิดเบือน ก็ยิ่งถูกขุดคุ้ย และกลุ่มที่เป็นหัวหอกในการตรวจสอบ ปตท. คราวนี้ ได้เคยพิสูจน์ตัวเองมาแล้วจากคดีทุจริตจัดซื้อยาและเวชภัณฑ์ ที่ทำให้นายรักเกียรติ สุขธนะ ซึ่งเป็นนักการเมืองระดับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ติดคุกมาแล้ว กรณีของปตท.อาจจะไม่ถึงขั้นนั้น แต่ประเมินได้ว่าอยู่ไม่เป็นสุขแน่ถ้าหากปตท.ยังมีปัญหาเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อน ผูกขาดตัดตอน ขูดรีดประชาชนเกินควร แต่กลับสร้างภาพฉาบหน้าด้วยธรรมาภิบาลระดับโลก
       
       สำหรับกรณีล่าสุดที่ นางสาวรสนา โตสิตระกูล อดีตส.ว.กรุงเทพมหานคร ตามเช็กบิลจับโกหกซีอีโอปตท. ก็คือเรื่องที่นายไพรินทร์ ให้สัมภาษณ์ไทยโพสต์ โดยผู้สื่อข่าวถามว่า "ปตท.มีการไปตั้งบริษัทหรือทำบัญชีอะไรที่เกาะเคย์แมนและเรื่องเงินเดือนนายไพรินทร์ที่ได้" นายไพรินทร์ตอบว่า "ปตท.มีบริษัทในเคย์แมนหนึ่งบริษัท ซึ่งเป็นเพราะเราไปซื้อบริษัทในฟิลิปปินส์เมื่อหลายปีที่แล้ว เราก็จะปิดบริษัทนี้ก็จะจบเรื่องนี้ .......ต้องถามสังคมว่าทำไมสังคม social network ยังยอมให้คนพวกนี้อยู่ต่อได้ พวกที่โกหกคำโต โกหกบ่อยๆ โกหกจนตัวเองก็เชื่อว่าเป็นความจริง"
       
        เมื่อถูกดิสเครดิตกล่าวหาว่าโกหกคำโต แม้นายไพรินทร์จะไม่ได้ออกชื่อเสียงเรียงนาม แต่ก็พอจะรู้ๆ กันว่าซีอีโอปตท.หมายถึงใคร ด้วยเหตุฉะนี้ นางสาวรสนา ไม่รอช้าที่จะขุดรายงานของผู้ตรวจสอบบัญชีและงบการเงินของบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทย่อย สำหรับปีสิ้นสุดวันที่ 31 ธ.ค. 2556 ออกมาแฉต่อสาธารณชน โดยสิ่งที่เธอค้นพบ ปรากฏว่า มีบริษัทลูกของปตท. ที่จดทะเบียนในเกาะเคย์แมนถึง 32 บริษัท แต่ยกเลิกไป 2 บริษัทในปี 2556
       
       “สาธารณชนคงเห็นแล้วว่า ใครกันแน่ที่ชอบโกหกคำโตและนึกว่าคนอื่นจะเชื่อไปด้วย ขนาดมีเอกสารงบการเงินของบริษัทให้ตรวจสอบได้ทั่วไป ยังกล้าให้ข้อมูลเท็จ แล้วข้อมูลอื่นที่สังคมเข้าไม่ถึง จะเชื่อได้ละหรือ?” อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ ตอกกลับซีอีโอ ปตท.
       
       นางสาวรสนา ตั้งคำถามว่า ปตท.เปิดบริษัทในหมู่เกาะเคย์แมน (Cayman) ถึง 30 บริษัท ทำไมต้องปิดบัง ทำไมต้องอ้อมแอ้มก็เพราะว่าหมู่เกาะเคย์แมน เป็นที่ทราบกันดีว่าเป็นหนึ่งในเกาะฟอกเงิน ในทะเลแคริบเบียน เช่นเดียวกับ หมู่เกาะบริติช เวอร์จิ้น (British Virgin Island) เกาะฟอกเงินเหล่านี้ เป็นดินแดนพิเศษที่มีออกแบบกฎหมายภายในเกี่ยวกับภาษีที่เอื้อต่อการโยกย้าย จึงเป็นที่นิยมของกลุ่มทุนข้ามชาติที่นำเงินมาเก็บซ่อนจากการถูกตรวจสอบ หรือกลุ่มธุรกิจการเมืองผิดกฎหมายสามารถนำเงินจากการทุจริตคอร์รัปชั่นมาเก็บและฟอกเงินได้ หรือบริษัทธุรกิจที่เปิดบัญชีเพื่อทำธุรกรรมทางการเงินเพื่อหลีกเลี่ยงภาระภาษีระหว่างประเทศ หรือธุรกิจมิจฉาชีพที่ได้เงินมาจากการค้ายาเสพติด การค้ามนุษย์และการค้าของเถื่อนอื่นๆ จนถูกเรียกว่าเป็นเกาะสวรรค์สำหรับนักหลีกเลี่ยงภาษี (Tax Havens)
       
       ปัจจุบันมีบริษัทที่จัดตั้งบนหมู่เกาะแห่งนี้กว่า 20,000 บริษัท โดยบริษัทเหล่านั้นจะได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้ ไม่มีข้อผูกมัดให้ต้องมีการประชุมคณะกรรมการ หรือการประชุมผู้ถือหุ้นที่นั่นแปลว่า บริษัทดังกล่าวไม่จำเป็นต้องมีตัวตนเป็นเพียงบริษัทกระดาษ (Paper Company) ก็ได้
       
       “เกาะฟอกเงินเหล่านี้ในสมัยพ.ต.ท ทักษิณ ชินวัตร เป็นนายกรัฐมนตรี เคยด่าออกสื่อมวลชนว่า "บริษัทใดที่เอาเงินไปฝากในเกาะฟอกเงินเหล่านี้เป็นพวกคนไม่รักชาติ" เพราะเป็นที่หลีกเลี่ยงภาษี และเป็นที่ฟอกเงินทุจริตผิดกฎหมาย และเป็นที่ผ่องถ่ายกำไรออกไปให้กับกลุ่มการเมือง......   บริษัทปตท.เป็นบริษัทที่รัฐถือหุ้น 51%ถือเป็นรัฐวิสาหกิจตามระบบงบประมาณ และเป็นบริษัทที่ได้รับรางวัลธรรมาภิบาลมากมาย คนที่ให้รางวัลธรรมาภิบาลเขาดูคุณสมบัติอะไรกันบ้าง การที่ปตท. มีบริษัทที่จดทะเบียนอยู่ในเกาะฟอกเงินถึง 30 บริษัท มีธรรมาภิบาลได้อย่างไร? ปตท. เป็นรัฐวิสาหกิจ เหตุใดจึงได้รับอนุญาตให้ไปเปิดบัญชีในเกาะฟอกเงินที่เคย์แมนได้ถึง 30 บริษัท โดยหน่วยงานตรวจสอบของภาครัฐไม่หือไม่อือกันเลยเรอะ?”
       
         "ส่วนที่นายไพรินทร์ บอกว่าจะแก้ปัญหา ปตท.มีบัญชีในเกาะเคย์แมนด้วยการปิดบัญชีนั้น ก็แสดงว่าเขารู้มาโดยตลอดว่าเกาะแห่งนั้นไม่ใช่ที่ที่บริษัทดีๆ จะไปเปิดบัญชีที่นั่น ขอถามว่า ทำไมจึงปล่อยบัญชีของปตท.นั้นไว้หลายปีโดยไม่ปิดมาก่อนหน้าที่คนเขาจับได้ และเมื่อใดจะปิดบัญชีมืดนั้นสักที แต่เครื่องหมายคำถามตัวโตๆ ในที่นี้ก็คือ ซีอีโอคนนี้ไม่เคยรู้เลยหรือว่าปตท.มีบัญชีซุกอยู่ในเกาะเคย์แมนถึง 30 บริษัท ถ้ารู้แล้วทำไมจึงไม่บอกความจริงในการสัมภาษณ์ไทยโพสต์ครั้งนั้น
       
       “แต่ถ้าท่านเพิ่งรู้จากดิฉันในวันนี้ว่า ปตท.ไม่ได้มีแค่บริษัทเดียวในเกาะฟอกเงินที่บังเอิญติดมาจากการไปซื้อบริษัทที่ฟิลิปปินส์เมื่อหลายปีก่อน แต่มีบริษัทลูกและหลานของปตท.ที่ไปจดทะเบียนอยู่ในเกาะฟอกเงินถึง30 บริษัท แล้วจะทำอย่างไรกับบัญชีมืดเหล่านั้นต่อไป ใคร่ขอคำตอบ”
       
       อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ ยังเชื่อมั่นว่า ถึงสื่อกระแสหลักทั่วไปไม่สนใจติดตามความจริงเรื่องนี้ ได้แต่เชื่อตามที่เขาหลอก แต่ประชาชนนับล้านผู้เป็นเจ้าของปตท.ตัวจริง ย่อมสนใจเจาะความจริงเรื่องนี้แน่ๆ อย่าสมคบคิดกันแปรรูปปตท.รอบสอง เพื่อหนีการตรวจสอบจากประชาชนโดยเด็ดขาด ขอให้รู้ไว้เถิดว่าสมบัติของแผ่นดินนั้นตกน้ำไม่ไหลตกไฟไม่ไหม้
       
        “การที่ซีอีโอของ ปตท.ให้ข้อมูลต่อสาธารณชนว่ามีบริษัทบนเกาะสีเทาแห่งนั้นแค่บริษัทเดียว จะเพราะว่าเป็นซีอีโอที่ไม่ได้สนใจดูงบการเงินของตัวเอง หรือว่าจงใจให้ข้อมูลเท็จต่อสาธารณชนกันแน่? อย่างนี้ควรเรียกว่าเป็นการโกหกคำโต โดยใช้สื่อกระแสหลักแบบฮิตเลอร์ ดังที่กล่าวหาผู้อื่นหรือไม่?” อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ ตั้งคำถามกับผู้บริหารระดับสูงของ ปตท.
       
       ไม่ใช่แค่ ปตท. เท่านั้น ที่ต้องถูกตรวจสอบและทำเรื่องนี้ให้กระจ่างแจ้งต่อสังคม หน่วยงานที่มีหน้าที่ตรวจสอบธรรมาภิบาลขององค์กรรัฐวิสาหกิจ อย่างเช่น สำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) คณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ก็ต้องเข้ามาตรวจสอบด้วยเช่นกัน
       
       โดยนางสาวรสนา ได้ตั้งคำถามว่า เป็นที่รู้กันทั่วไปว่าการเปิดบริษัทบนเกาะฟอกเงินอย่างเคย์แมน เพื่อหลบเลี่ยงภาษี ฟอกเงิน และเป็นการดูดเงินออกจากการควบคุมภายในระบบ และตรวจสอบไม่ได้ การที่บริษัทในเครือปตท.มีบริษัทบนเกาะเคย์แมน 30 - 32 บริษัท สตง. เคยตรวจสอบไหม? กระทรวงการคลังที่ถือหุ้น 51% ไม่หือไม่อือเลยหรืออย่างไร? กรรมการบอร์ดแต่ละคนที่มานั่งเป็นตัวแทนผู้ถือหุ้นภาครัฐ 51% รับโบนัสปีละหลายล้านบาท ไม่มีใครมีคำถาม หรือตรวจสอบความไม่ชอบมาพากลเหล่านี้กันเลยหรือ? ป.ป.ช. ว่าอย่างไรบ้าง? ไม่สนใจตรวจสอบบ้างหรือไร?
       
       “คณะกรรมการตลาดหลักทรัพย์ฯ (กลต.) ว่าอย่างไรบ้างที่บริษัทชั้นดีในตลาดหลักทรัพย์อย่างเครือบริษัท ปตท.ไปเปิดบัญชีบนเกาะฟอกเงิน ไม่ขัดหลักบรรษัทภิบาลของตลาดหลักทรัพย์หรืออย่างไร? ปตท. ช่วยตอบชัดๆ หน่อยว่านี่คือการหลบเลี่ยงภาษีหรือไม่? การเปิดบริษัทจำนวนมากบนเกาะฟอกเงินเช่นนี้เป็นการดำเนินงานอย่างมีบรรษัทภิบาลต่อผู้ถือหุ้นแล้วละหรือ? มีใครเป็นผู้ตรวจสอบการใช้จ่าย และผลกำไรขาดทุนของบริษัทเหล่านั้นบ้าง ? ขอถามดังๆ ไปถึงองค์กรตรวจสอบทั้งหลายในบ้านเมืองนี้ ว่าเหตุใดไม่มีใครตรวจสอบเรื่องใหญ่ขนาดนี้? หวังว่าคำถามนี้จะไม่หายไปกับสายลม...”
       
       นอกจากออกมาแฉการลงทุนของเครือ ปตท.ที่เกาะเคย์แมนแล้ว นางสาวรสนา ยังเปิดโปงอีกว่า เครือ ปตท.หอบเงินไปเปิด 3 บริษัทในไซปรัส เกาะฟอกเงินที่เคยเจอวิกฤตเกือบล้มละลายมาแล้ว โดยเธอโพสต์ข้อความผ่านเฟสบุ๊คส่วนตัว เมื่อวันที่ 6 ส.ค. 2557ในหัวข้อ “ปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืน หรือคือการแปรรูปขายสมบัติชาติเพื่อความมั่นคงของกลุ่มทุน?” ดังนี้
       
         “บริษัท ปตท.นอกจากมีบริษัทลูกหลานในเกาะเคย์แมนถึง 30-32 บริษัทแล้ว ยังมีการเปิดบริษัทในที่อื่นๆ ได้แก่ เกาะไซปรัส เกาะมอร์ริเชียส เกาะบาฮามาส และเกาะเบอร์มิวด้า ซึ่งรายชื่อเหล่านี้ล้วนเป็นแหล่งทางการเงินโพ้นทะเลซึ่งถูกระบุไว้ในรายงานของสหประชาชาติว่าเป็นแหล่งฟอกเงิน แหล่งที่มาของรูปแบบการฉ้อฉลทางการเงินระดับสูงและแหล่งหลีกเลี่ยงภาษีทั่วโลก
       
       บริษัท ปตท.ได้แจกแจงกำไรในปี 2555 และ 2556 ว่านำไปลงทุนอะไรบ้าง ในปี 2555 กำไรสุทธิของ ปตท.104,700 ล้านบาท นำมาปันผลให้ผู้ถือหุ้นเพียง 35% เท่ากับ 37,100 ล้านบาท และนำกำไรอีก 65% ไปลงทุนในกิจการต่างๆ และในจำนวนเงินที่นำไปลงทุนประมาณ 60,000 ล้านบาท นำไปซื้อแหล่งสัมปทานในประเทศโมซัมบิกด้วยการประมูลซื้อกิจการบริษัท Cove Energy
       
       ปรากฏในรายงานการเงินของ ปตท.ว่ามีการไปเปิดบริษัท Cove Energy ในไซปรัส 3 บริษัท ทั้งๆ ที่โมซัมบิกอยู่ในแอฟริกา เหตุใดเลือกไปเปิดบริษัท Cove Energy ในไซปรัสซึ่งเป็นเกาะฟอกเงินในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน และวิกฤตการณ์ด้านการเงินในไซปรัสเมื่อปี 2556 เกือบทำให้ไซปรัสต้องหลุดจากยูโรโซน และล้มละลาย เป็นความปลอดภัยแล้วหรือที่นำเงินกำไรของรัฐและผู้ถือหุ้นไปเปิดบริษัทในประเทศที่มีความเสี่ยงสูงทางด้านการเงินแบบนี้?
       
       นอกจากนี้ การเปิดบริษัทท่อส่งก๊าซในเบอร์มิวดา โดยบริษัทลูกหลาน ปตท.มีหุ้นอยู่ 25% เปิดบริษัทท่อส่งก๊าซ 2 บริษัทในเคย์แมนที่ถือหุ้น 19.3178% และอีกบริษัท 80% ส่วนบริษัทที่เปิดที่เกาะบาฮามาส เป็นธุรกิจให้เช่าเรือถือหุ้นเพียง 13.11%
       
       เป็นเรื่องน่าสังเกตว่า หุ้นที่เหลือใครเป็นผู้ถือบ้าง มีนักการเมือง ข้าราชการ หรือกรรมการ ปตท.ไปถือหุ้นด้วยหรือไม่? หรือการถือหุ้นแบบนี้เป็นเพียงเรื่องอุปโลกน์ขึ้นมาเพราะเป็นเพียงบริษัทกระดาษอย่างที่นิยมทำกัน มีรายละเอียดให้ตรวจสอบได้หรือไม่? เพราะเงินทุนที่นำไปลงทุนมาจากกำไรของผู้ถือหุ้นที่ถูกแบ่งเอาไปลงทุนมากว่าที่เอามาปันผล และอาจเป็นการ “ถ่ายเทผลประโยชน์” เพื่อนำไปขาดทุนแบบเดียวกับที่เอาไปขาดทุนในการปลูกปาล์มน้ำมันในอินโดนีเซียหรือไม่?
       
       นางสาวรสนา เรียกร้องอีกครั้งให้องค์ตรวจสอบทั้งหลายทั้ง สตง., ป.ป.ช., ก.ล.ต.,กระทรวงการคลัง ต้องออกมาตอบคำถามสังคมว่า จะปล่อยให้บริษัท ปตท.ที่เป็นรัฐวิสาหกิจที่รัฐถือหุ้น 51% มีเสรีภาพในการถ่ายเทผลประโยชน์จากกำไรของรัฐและผู้ถือหุ้นไปยังเกาะฟอกเงินเหล่านี้ต่อไป โดยไม่ตรวจสอบเรื่องนี้อย่างจริงจังหรืออย่างไร?
       
       “ดิฉันเชื่อว่าประชาชนต้องการได้ยินคำตอบดังๆ จากท่านทั้งหลายว่าจะดำเนินการตรวจสอบเรื่องนี้อย่างไร? อย่าปล่อยให้ต้องขาดทุนแบบกรณีที่เกิดที่อินโดนีเซียเสียก่อน ค่อยมาตรวจสอบไล่เบี้ยกัน และเพราะต้องการหนีการตรวจสอบใช่ไหม? ที่เป็นเหตุให้บอร์ดชุดนี้ต้องการเร่งรีบจะแปรรูป ปตท.ให้สิ้นสภาพการเป็นรัฐวิสาหกิจโดยเร็วโดยใช้อำนาจของ คสช.ดำเนินการให้เสร็จสิ้นก่อนมีรัฐบาลจากการเลือกตั้ง โดยอ้างวาทกรรมว่าต้องการหนีนักการเมืองล้วงลูก และเข้าสู่การแข่งขันเสรี ทั้งที่ในความเป็นจริงนั้น กลุ่มนักการเมือง กับกลุ่มทุนที่ชอบขายสมบัติชาติ มักใช้กลุ่มข้าราชการเดิมๆ แสวงหาประโยชน์จากการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่มีลักษณะผูกขาดทำกำไรงามแก่ผู้ถือหุ้นเอกชนรายใหญ่
       
       พร้อมกันนั้น อดีต ส.ว.กรุงเทพฯ ยังตั้งคำถามด้วยว่า การแปรรูป ปตท.รอบสองเท่ากับเป็นการต่อยอดให้กับการแปรรูปในยุครัฐบาลทักษิณซึ่งแสดงเจตนาชัดเจนในสมัยรัฐบาลยิ่งลักษณ์ ถ้าขาย ปตท.ให้เอกชนทั้งหมดได้ ต่อไปก็คงขาย กฟผ.ทั้งหมดให้เอกชนได้เช่นกัน อันเป็นการสืบทอดนโยบายขายสมบัติชาติของทักษิณนั่นเอง ใช่หรือไม่? ที่แท้นั้น การปฏิรูปพลังงานเพื่อความยั่งยืนก็มีความหมายเพียงการขาย ปตท.ทั้งหมดให้เอกชนแบบชุบมือเปิบ ทั้งที่แต่เดิม ปตท.เคยเป็นสาธารณูปโภคพื้นฐานของประชาชนและเป็นสมบัติแผ่นดิน
       
       “ขอถามว่าการขายสมบัติชาติรอบสองนี้ ทำไปเพื่อประโยชน์ของใคร? เพื่อความยั่งยืนทางพลังงานของประชาชน หรือเพื่อกำไรอันยั่งยืน (บนหลังของประชาชน) ของผู้ถือหุ้นเอกชน และเพื่อต้องการหนีการตรวจสอบของประชาชนที่ยังเป็นเจ้าของ ปตท.อยู่ครึ่งหนึ่ง ใช่หรือไม่?”
       
       เมื่อถูกจับโกหกคำโตและตั้งคำถามรุกไล่แถมยังเรียกร้องให้หน่วยงานตรวจสอบเข้ามาจัดการ ทำให้ผู้บริหารเครือ ปตท.ต้องออกมาชี้แจงแถลงไขต่อสาธารณชน โดยนายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) (PTTEP) เปิดเผยว่า ตามที่กระแสข่าวระบุกลุ่ม ปตท.มีบริษัทย่อยในเคย์แมน์ประมาณ 30 บริษัทนั้น ปตท.สผ.ขอชี้แจงว่าบริษัทในเคย์แมนส่วนใหญ่เป็นบริษัทในเครือ ปตท.สผ. และเป็นของ ปตท.เพียง 1 บริษัท ไม่ได้มีวัตถุประสงค์ที่จะฟอกเงินหรือหลบเลี่ยงภาษี แต่เพื่อความคล่องตัวในการบริหารจัดการลงทุน และลดความเสี่ยงของการลงทุนในต่างประเทศ
       
       ขณะนี้ บริษัทฯ อยู่ระหว่างการปรับโครงสร้างและมีแผนที่จะปิดบริษัทที่จดทะเบียนในเคย์แมนเพิ่มอีก 5-10 บริษัทหากพบว่าบริษัทใดไม่มีความจำเป็น จากเดิมที่ได้ปิดไปแล้ว 4 บริษัท เนื่องจากมีการคืนแปลงสัมปทานปิโตรเลียมให้กับรัฐหลังจากไม่ประสบความสำเร็จในการสำรวจฯ ที่อียิปต์ อิหร่าน และบาห์เรน เป็นต้น และ ปตท.สผ.จะพยายามที่จะไม่เปิดบริษัทย่อยใหม่ในเคย์แมนเพิ่มเติมด้วย
       
       “การมีบริษัทย่อยในเคย์แมน เกาะไซปรัส และที่อื่นๆ บางครั้งไม่สามารถเลี่ยงได้ เนื่องจากการซื้อกิจการแปลงปิโตรเลียมในต่างประเทศได้มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทในเกาะเคย์แมนหรือเกาะไซปรัสมาก่อนอยู่แล้ว เช่น การซื้อโคฟ เอนเนอร์ยี ก็มีการตั้งบริษัทย่อยในไซปรัสถึง 3 บริษัท บางครั้งการยกเลิกบริษัทย่อยเหล่านี้ทำได้ยุ่งยากเพราะต้องได้รับความเห็นชอบจากรัฐบาลที่บริษัทได้ไปลงทุนก่อน และไม่เห็นว่าประเทศเหล่านี้จะมีผลเสียอะไร เพราะบริษัทน้ำมันข้ามชาติก็เปิดบริษัทในประเทศเหล่านี้อยู่แล้ว โดยบริษัทไม่ได้มุ่งหวังที่จะจดทะเบียนบริษัทในประเทศเหล่านี้เพื่อให้ไกลหูไกลตา ลักลอบทำโน่นทำนี่”
       
       นายเทวินทร์ อธิบายว่า แม้ว่าเคย์แมนมีกฎหมายการจัดตั้งบริษัท การเพิ่มทุน การลดทุน และการปิดบริษัทที่ไม่ยุ่งยาก รวมทั้งมีค่าใช้จ่ายในการจัดการที่ต่ำ ซึ่งเป็นแนวทางปฏิบัติทั่วไปของบริษัทน้ำมันนานาชาติรายใหญ่ทั่วโลก โดย ปตท.สผ.มีการเสียภาษีทั้งในประเทศไทยและประเทศที่ลงทุนอย่างถูกต้องตามกฎหมาย   
       
       สำหรับด้านธุรกรรมการเงิน ปตท.สผ.ไม่มีการเปิดบัญชีธนาคารในเคย์แมน โดยบัญชีของบริษัทในเคย์แมนเป็นบัญชีที่เปิดในประเทศไทยหรือในประเทศที่บริษัทไปลงทุน ซึ่งขั้นตอนการเปิดบัญชีและธุรกรรมทางการเงินที่เกิดขึ้นเป็นไปตามข้อกำหนดของธนาคารแห่งประเทศไทย หรือธนาคารกลางของประเทศนั้นๆ โดยมี ปตท.สผ. สำนักงานใหญ่เป็นผู้บริหารจัดการและดูแลบัญชีดังกล่าว และมีคณะกรรมการบริษัทเป็นผู้กำกับดูแลเพื่อความถูกต้องและโปร่งใส รวมทั้งมีสำนักงานการตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ให้การตรวจสอบและรับรองงบการเงินของบริษัทในเคย์แมนทุกบริษัท เว้นบริษัท Taninthayi Pipeline Company LLC ซึ่งเป็นกิจการที่ควบคุมร่วมกัน โดย ปตท.สผ. ถือหุ้น 19.3178% และมีบริษัท Ernst & Young เป็นผู้ตรวจสอบบัญชี
       
       ทั้งนี้ ปตท.สผ.ได้มีการจดทะเบียนตั้งบริษัทย่อยที่เคย์แมนเมื่อปี 2541 เป็นครั้งแรก เนื่องจากได้มีการเข้าไปร่วมลงทุนในพม่า ซึ่งพาร์ตเนอร์ก็มีการจดทะเบียนบริษัทที่นั่นเช่นกัน
       
       ถึงแม้จะออกมาชี้แจงต่อสาธารณชน แต่นางสาวรสนา ก็ยังรุกไล่ต่อโดยตั้งข้อสังเกตว่า “การรีบร้อนปิดบริษัทในเกาะเคย์แมนที่ถูกค้นพบ มีคนตั้งข้อสังเกตว่าคือการทำลายหลักฐานเพื่อไปหาที่ซ่อนเงินไกลตาใหม่หรือเปล่า? ไหนว่ามีธรรมาภิบาลเป็นเลิศ และที่พูดเองเออเองว่าโปร่งใสนั้น ที่จริงต้องให้คนที่ไม่มีผลประโยชน์ตรวจสอบ และการันตีให้จึงจะถูกต้องไม่ใช่รีบมาออกตัวเอาเองว่าตัวเองโปร่งใส ถ้าอยากพิสูจน์ว่าตัวเองโปร่งใส ก็แค่เอาbook bank ที่ไปเปิดบัญชีที่เคย์แมนมาวางให้สื่อและทุกฝ่ายตรวจสอบ อุปมาคนมีพิรุธว่าขโมยของในห้าง หากถูกจับได้ก็ต้องขอตรวจค้นกระเป๋าก่อนออกจากห้าง ไม่ใช่เดินลอยหน้าลอยตาออกไปเฉยๆ”
       
       เปิดศึกแลกกันหมัดต่อหมัดขนาดนี้ ดูเหมือนการพยายามสร้างภาพพจน์ให้ ปตท.กลับมาเป็นที่รักของประชาชนอีกครั้ง ตามความตั้งใจของนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันท์ ประธานบอร์ด ปตท. คงจะยังอีกยาวไกล

วันพฤหัสบดีที่ 7 สิงหาคม พ.ศ. 2557

ปิยสวัสดิ์ ฟ้องแอดมินเพจ ทวงคืนพลังงานไทย (สำเนาคำฟ้อง)



วิธีปกป้องตัวเองของคนแอบดี คนฉ้อฉล ก็จะใช้ กม.นี่แหระครับ ปิดความชั่วฉ้อฉลของตน
โจรแจ้งตำรวจจับโจร เรื่องแบบนี้ ก็มีมาทุกยุคสมัย
คนลำบาก ก็คนน้อยๆ คนด้อยโอกาสของสังคม เอาเถอะจะลองสู้ดูสักตั้ง
อยากรู้ว่า ตุลาการศาล วินิจฉัยแบบไหนกัน