วันพุธที่ 18 สิงหาคม พ.ศ. 2553

ความใส่ใจของ รัฐบาลอภิสิทธิ์


บอกนายกแล้ว ... จะต้องไปบอกใครอีก
เรื่องเดียวกับที่ดูกันอยู่ จะบอกไม่มีเวลา ไม่ได้แล้ว
หรือว่า รอให้ทรุดพังระเบิดลุกลาม บาดเจ็บล้มตายกันก่อน
จึงจัดงบเยียวยาให้ แต่ไม่ถึงมือชาวบ้าน

วันอังคารที่ 10 สิงหาคม พ.ศ. 2553

โกงเชิงนโยบาย กับกู้มาโกง อันไหนเสียหายมากกว่า !!!



ตอนนี้ ผมไม่รู้ เพราะไม่มีข้อมูลเชิงเปรียบเทียบ แต่ผมมีข้อมูลตัวหนึ่ง ให้ลองคิดดูกันเล่นๆ
ถ้ากดหาคำว่า กู้มาโกง จะพบ ถึง 1,330,000 รายการ วันที่ 2 ส.ค. ผ่านมา 15 วัน วันที่ 17 ส.ค. เพิ่มเป็น 1,440,000 รายการ แต่ โกงเชิงนโยบาย มีแค่ 109,000 รายการ (117,000) ถ้าเป็นคอรัปชั่นเชิงนโยบาย มีเพียง 31,400 รายการ (34,400) - โกงหนักมากขึ้นเรื่อยๆ ในความรุ้สึกของประชาชน เพิ่มแสนรายการ ภายใน 15 วัน

แสดงว่า คนเขียนคำว่า กู้มาโกง มันมากมาย จริงๆ อยากรู้ว่าเป็นแบบไหน กดหา แล้วอ่านไปเรื่อยๆ ครับ

วันจันทร์ที่ 9 สิงหาคม พ.ศ. 2553

คุณแม่ ของผม ... กับงานช่วยเหลือสังคม





คุณแม่ผม ทำงานกาชาดจังหวัดมานานกว่า 25 ปี จนผมเคยชินกับคำว่า จะต้องออกไปรับบริจาคโลหิต ไปแจกของ ไปช่วยน้ำท่วม ไปเยี่ยมทหาร มันก้อเลยไม่แปลกอะไรที่ผมจะใส่ใจสังคม สนใจเรื่องปัญหาบ้านเมือง บ่อยครั้งที่ผมออกไปร่วมกิจกรรมทางการเมือง การประท้วง และสุดท้ายกำลังทำงาน ด้านสิ่งแวดล้อมอีก ผมไม่ได้บอกว่าผมทำอะไร ผมกลัวถูกเป็นห่วงถูกห้ามปราม ผมจะแอบไปแบบไม่ให้รู้ แอบทำแบบไม่ให้รู้ ผมเคยไปกินอยู่หลับนอนบน ถนนหลายๆครั้ง แต่แปลกทำไม ผมไม่ค่อย ได้ไปในเวที คนใส่เสื้อเหลือง ผมจะไปอยู่แบบสั้นๆ 4-5 ชม. แล้วจะกลับบ้านที่ระยอง

ผมจำภาพเหตุการณ์ พฤษภาทมิฬ มันยังคงติดตา ติดหูอยู่ เสียงกระสุนปืนดังราวห่าฝน เสียงร้องของผู้คน ผมจำได้ว่า ผมชี้ชวนเชิญ ผู้คนจำนวนมาก ไปร่วมเห็นคนเจ็บถูกหามเข้ามาใน โรงแรมรัตนโกสินทร์ ผมนอนป่วยอยู่กับพื้นชั้นล่าง หลังโซฟา กลางดึกวันที่ 17 พ.ค.35 ผมเดินแทรกความวุ่นวายตรงหน้าโรงแรม ที่เสียงปืนยังไม่หยุดดัง เสียงผู้คนโหวกเหวกโวยวาย มีการดันรถเมล์ไปเผา มีการวิ่งหลบกระสุน ผมเดินลัดรั้วกระทรวงกลาโหม มีคน 4-5 จับกลุ่มคุยกัน จะเผากระทรวงกลาโหม ผมเดินไปไกลมา กว่าจะหารถเมล์เล็กได้ ผมเห็นสัญญาณไฟจราจรถูกทุบ ตู้ตำรวจจราจร ถูกทุบถูกเผา มีกลุ่มมอเตอร์ไชด์ ขับแล้วจอดทุบกันอยู่ ...

ผมพลาดการถูกจับกุม เพราะผมดันไม่สบาย แล้วกลับเข้ามาที่ห้องเช่า ไม่งั้นตี 3 คืนนั้น ผมคงถูกเหยียบให้นอนกับพื้น ถูกกระชากขึ้นรถยีเอ็มซี ... อีก 2-3 วันผมยังคงตระเวณไปตามที่ยังสามารถจับกลุ่มชุมนุมได้ แวะไปตามโรงพยาบาลบ้าง เพื่อตามข่าวผู้บาดเจ็บ และคืนนั้นในรามคำแหง ... ที่มหาจำลอง - พลเอกสุจินคา เข้าเฝ้า ทุกอย่างก้อจบลง ผมไปทำงานอีก 7-8 ผมก้อลาออกจากงาน วันที่ 31 พ.ค. 35 แม้พลเอกสุจินดา ลาออกไปแล้ว มีการเลือกรัฐบาลใหม่ แล้วผมไม่รู้สึกว่า ชนะหรือแพ้ ผมรู้ว่ามีคนตายจำนวนมาก มีผู้คนหายไปจำนวนมาก - "คนหายหายไปไหน ทำไมไม่กลับมา" - ในช่วงที่ร่วมชุมนุมแบบไม่มีเวที ไม่มีแกนนำชัดเจน ผมเขียนบทกลอนสั้น สดๆ ผมก้อจะยืนอ่าน หน้าทหารที่กำลังยืนกั้นอยู่ ชี้ชวนให้ผู้คนร่วมกันต่อสู้ แต่ผมไม่รู้ว่า กี่คนในนั้น เสียชีวิต และหายไปอย่างไร้ร่องรอย และทุกครั้งที่ย้อนกลับไปรู้สึก น้ำตามันก้อไหลออกมาเองเฉยๆ แบบนั้น และคงเป็นอีกสาเหตุหนึ่ง ที่ผมไม่ชอบวิธีการใช้มวลชน ในงานกิจกรรมต่างๆ แนวทางต่อสู้ผมจะทำโดยตัวหนังสือและกระดาษ มาตั้งแต่ 2544 ที่กลับมางานด้านสิ่งแวดล้อม และปีนี้ ปี 2548-2553 การติดต่อสื่อสารง่ายขึ้น ... จึงมาต่อสู้อยู่ในโลกอินเตอร์เนทแทน และวันนี้ วันที่ผมต้องเดินนำอีกครั้ง ที่ไม่อยากสู้ด้วยเอาประชาชนจำนวนมากมาชนกลับอะไรๆอีก